PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศาลรัฐธรรมนูญกับบทบาท "คนดี" ของมีชัย

ศาลรัฐธรรมนูญกับบทบาท "คนดี" ของมีชัย

1
หนึ่งในประเด็นที่สังคมให้ความสนใจก็คือ "อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ" เพราะนับตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอย่าง บวรศักดิ์ อุววรณโณ จนถึง มีชัย ฤชุพันธ์ ทั้งสองร่างก็ให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกลไกหนึ่งที่มีอำนาจควบคุมการบริหารประเทศ อย่างเช่น อำนาจวินิจฉัยเพื่อหาทางออกในประเทศเข้าสู่วิกฤติและไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เป็นต้น โดยเราได้ทำการรวมเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญไว้ ดังนี้
 
ที่มาของศาลรัฐธรรมนูญ เพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนราชการ 2 คน
 
อ้างอิงตามมาตรา 195 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของ มีชัย ฤชุพันธ์ ซึ่งกำหนดว่า
 
สัดส่วนของผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาจาก ผู้พิพากษาศาลฎีกา 3 คน ผู้พิพากษาศาลปกครองสูงสุด 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์อีก 1 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากส่วนราชการอีก 2 คน ซึ่งแต่เดิมในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 กำหนดว่าให้สัดส่วนมาจาก ผู้พิพากษาศาลฎีกา 3 คน ผู้พิพากษาศาลปกครองสูงสุด 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ 2 คน และรัฐศาสตร์สังคมศาสตร์อีก 2 คน ซึ่งจะเห็นได้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดนี้ได้ลดผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ไป แต่แทนที่ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนราชการแทน
 
เปิดประชุมฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ และองค์กรอิสระแก้วิกฤติการเมือง
 
อ้างอิงตามมาตรา 5 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของ มีชัย ฤชุพันธ์ ซึ่งกำหนดว่า
 
ถ้าไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญจัดให้มีการประชุมร่วมระหว่าง ประธานสภาผู้แทนราษฎร / ผู้นำฝ่ายค้าน / ประธานวุฒิสภา / นายกรัฐมนตรี / ประธานศาลฎีกา-ศาลปกครองสูงสุด-ศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ เพื่อวินิจฉัย และให้คำวินิจฉัยของที่ประชุมเป็นที่สุดและผูกพันรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงงานของรัฐ
 
ทั้งนี้ มาตราดังกล่าว เป็นหลักการที่แก้ไขเพิ่มเติมมาจากมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และมาตรา 207 ของรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย (ร่างแรก) ที่เขียนไว้ใกล้เคียงกันว่า ถ้าไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่จะยกมาปรับแก่กรณีใดได้ ก็ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีนั้นตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
 
การปรับปรุงแก้ไขมาตราดังกล่าว ผู้ร่างได้ยกเหตุผลว่าเพื่อให้การบริหารประเทศมีทางออกในยามที่ต้องเจอกับวิฤติทางการเมือง และไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาบังคับใช้ได้ แต่ทว่าก่อนหน้านี้ มาตรา 207 ในร่างรัฐธรรมนูญของมีชัย ที่เปิดเผยออกมาครั้งแรก ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญจนถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก ดังนั้น ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด สำหรับการลงประชามตินี้ จึงลดอำนาจการตีความของศาลรัฐธรรมนูญเดิม และเพิ่มฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการและองค์กรอิสระ เข้ามาช่วยกันวินิจฉัยด้วย ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการแก้ไขล่าสุดก็คือ "สัดส่วนของที่ประชุมมีศาลและองค์กรอิสระเป็นส่วนมาก"
 
 
ไม่ว่าใครก็สามารถร้องศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง เพื่อสั่งให้เลิกการกระทำที่ล้มล้างการปกครองฯ ได้
 
อ้างอิงตามมาตรา 49 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของ มีชัย ฤชุพันธ์ ซึ่งกำหนดว่า 
 
บุคคลจะใชสิทธิหรือเสรีภาพเพื่อลมลางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุขมิได ถ้าผูใดทราบวามีการกระทําดังกล่าวยอมมีสิทธิรองตออัยการสูงสุดเพื่อรองขอใหศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการใหเลิกการกระทําดังกลาวได แต่ถ้าอัยการสูงสุดมีคําสั่งไมรับดําเนินการตามที่รองขอหรือไมดําเนินการภายในสิบหาวันนับแตวันที่ไดรับคํารองขอ ผูรองขอจะยื่นคํารองโดยตรงตอศาลรัฐธรรมนูญก็ได 
 
ทั้งนี้ มาตราดังกล่าวเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 จะพบว่า การยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงนั้นเป็นเรื่องใหม่ เพราะแต่เดิมการใช้สิทธิดังกล่าวต้องถูกกลั่นกรองโดยอัยการสูงสุดก่อน แต่ทั้งนี้ ถ้าเปรียบเทียบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์ ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติไม่เห็นชอบ ก็จะพบว่า ร่างรัฐธรรมนูญมีชัยตีกรอบอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญไว้แคบกว่า กล่าวคือให้สั่งเลิกการกระทำได้เท่านั้น แต่ร่างฉบับบวรศักดิ์ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งเป็นอย่างอื่นได้ และถ้าพรรคการเมืองเป็นผู้กระทำการล้มล้างการปกครองฯ ก็ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจยุบพรรคการเมืองได้อีกด้วย
 
ให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระร่วมกันเขียน "มาตรฐานทางจริยธรรม" ภายในหนึ่งปีหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้
 
อ้างอิงตามมาตรา 219 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของ มีชัย ฤชุพันธ์ ซึ่งกำหนดว่า
 
ให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระร่วมกันกําหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นใช้บังคับแก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ทั้งนี้ มาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าวต้องครอบคลุมถึงการรักษาเกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ และต้องระบุให้ชัดแจ้งด้วยว่า การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมใดมีลักษณะร้ายแรง
 
โดยในการจัดทํามาตรฐานทางจริยธรรม ให้รับฟังความคิดเห็นของ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย และเมื่อประกาศใช้บังคับแล้ว ให้ใช้บังคับแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีด้วย แต่ไม่ห้ามสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะรัฐมนตรีที่จะกําหนดจริยธรรมเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับมาตรฐานทางจริยธรรมที่เขียนไว้ก่อนหน้านี้
 
นอกจากนี้ ในส่วนของบทเฉพาะกาล ในมาตรา 276 ยังกำหนดอีกว่าการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมต้องเสร็จสิ้นภายในหนึ่งปีหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ มิเช่นนั้น ให้ผู้ดำรงตำแหน่งศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระพ้นจากตำแหน่งไป
 
อำนาจวินิจฉัยให้ ครม. ที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรือฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรงพ้นไปจากตำแหน่ง
 
อ้างอิงตามมาตรา 170 วรรค 3 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของ มีชัย ฤชุพันธ์ ซึ่งกำหนดว่า
 
รวมอยู่ด้วย ดังนั้น ส.ส. หรือ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา สามารถเข้าชื่อร้องต่อประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิกและให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ได้ว่า รัฐมนตรีคนใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา 160 คือ ไม่มีความ "ซื่อสัตย์สุจริต" และ "มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง" 
 
นอกจากนี้ในมาตรา 170 วรรค 3 ยังกำหนดให้คณะกรรมการเลือกตั้งมีอำนาจในการยื่นเรื่องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญได้อีกด้วย
 
++ อำนาจถอดถอนและตัดสิทธิการเลือกตั้งของ ส.ส. ส.ว. และ ครม. ที่คอร์รัปชั่นเงินแผ่นดิน ++
 
อ้างอิงตามมาตรา 144 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของ มีชัย ฤชุพันธ์ ซึ่งกำหนดว่า
 
ส.ส. และ ส.ว. จะเสนอแปรญัตติ หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้ใช้งบประมาณรายจ่ายเพื่อประโยชน์ส่วนตัวไม่ได้ นอกจากนี้ ถ้า ครม. มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น การอนุมัติใหกระทําการหรือรูวามีการกระทําดังกลาวแลวแตมิไดสั่งยับยั้ง ก็จะมีความผิดไปด้วย
 
โดย ถ้ามีผู้กระทำการดังกล่าวให้เป็นอำนาจของ ส.ส. หรือ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา และให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ซึ่ง ส.ส. ส.ว. หรือ ครม. ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าผิดต้องพ้นจากตำแหน่ง และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นด้วย

พล.อ.ประวิตร ตั้ง 'ปฏิคม วงษ์สุวรรณ' น้องชาย เป็นกรรมการ กฟภ.


เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 4 มี.ค. 59 
โดยระบุว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (25 พ.ย.57) อนุมัติให้แต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (เพิ่มเติม) จํานวน 7 คน ซึ่งมีนายสมพร ใช้บางยาง เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการดังกล่าวด้วย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และได้มีประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 พ.ย. 57 นั้น
บัดนี้ นายสมพร ใช้บางยาง กรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้พ้นจากตําแหน่ง เนื่องจาก มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ 7 ก.ย.58 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 ก.พ.59 อนุมัติให้แต่งตั้งนายปฏิคม วงษ์สุวรรณ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แทน นายสมพร ใช้บางยาง ที่พ้นจากตําแหน่ง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ.59 เป็นต้นไป
/////////
ก่อนหน้านี้ช่วงปี 2557 ก็มีข่าวในท่วงทำนองเดียวกัน โดยมีการโยกย้ายครั้งใหญ่ในกรมราชทัณฑ์และมีการตั้งให้ นายปฏิคม วงษ์สุวรรณ ที่ขณะนั้น เป็น ผบ.เรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา น้องชายพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ไปรักษาการแทนผบ.เรือนจำกลางคลองเปรม  
อธิบดีราชทัณฑ์เซ็นย้ายล้างบาง 6 ผบ.เรือนจำใหญ่ น้องชาย "ประวิตร วงษ์สุวรรณ" ผงาดคุมคุกคลองเปรม

(ส.ค.2557)นายวิทยา สุริยะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า เมื่อกลางดึกของวันที่ 4 ส.ค.2557ที่ ผ่านมา ตนได้ลงนามคำสั่งที่ 894/2557 เรื่องแต่งตั้งข้าราชการให้รักษาราชการแทน เป็นระดับผู้บัญชาการเรือนจำ 6 ราย ทั้งนี้เป็นการโยกย้ายเพื่อความเหมาะสมในปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 1. นายชาตพล อาภาสัตย์ จากผบ.เรือนจำกลางพิษณุโลก ให้รักษาราชการแทนผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ สำนักผู้ตรวจการกรมราชทัณฑ์ 2. นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ ผบ.เรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา ให้รักษาราชการแทน ผบ.เรือนจำกลางพิษณุโลก 3. นายภักดี ตั้งธรรม ผบ.เรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้รักษาราชการแทน ผบ.เรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา 4. นายณรงค์ ยงณรงค์เดชกุล ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ สำนักผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ ให้รักษาราชการแทน ผบ.เรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 5.นายสรสิทธิ์ จงเจริญ ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ให้รักษาราชการแทน ผบ.เรือนจำกลางบางขวาง และ6.นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ ผบ.เรือนจำกลางบางขวาง ให้รักษาราชการแทน ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โดยคำสั่งดังกล่าวให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับการแต่งตั้งภายใน 7 วัน

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวต่อว่า การโยกย้ายผบ.เรือนจำถือเป็นการหมุนเวียนเพื่ออุดช่องโหว่การทำงานของบางเรือนจำที่ยังปล่อยปละละเลยให้มีการลักลอบนำสิ่งของต้องห้าม โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือเข้าไปในเรือนจำ เช่น ที่เรือนจำกลางพิษณุโลกมีการจู่โจมตรวจค้นพบโทรศัพท์มือถือจำนวนมาก จำเป็นต้องสลับให้บุคคลอื่นเข้าไปทำหน้าที่แทน

ก่อนหน้านี้มีการย้ายนายประเสริฐ อยู่สุภาพ ผบ.เรือนจำกลางคลองเปรม มารักษาราชการแทนผอ.สำนักทัณฑปฏิบัติ ให้นายกิตติพัฒน์ เดชะพหุล ผอ.สำนักทัณฑปฏิบัติ ไปรักษาราชการแทนผบ.เรือนจำกลางระยอง และให้นายปฏิคม วงษ์สุวรรณ ผบ.เรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา น้องชายพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ไปรักษาการแทนผบ.เรือนจำกลางคลองเปรม ส่วนนายธนัช หริการบัญชร ผบ.เรือนจำกลางระยอง ย้ายไปรักษาราชการแทนผู้ตรวจราชการรมราชทัณฑ์ สำนักผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์

กรธ.ไม่ ‘ขัดใจ’ ยกให้ คสช. เลือก ส.ว. 250 คนเอง


กรธ.ไม่ ‘ขัดใจ’ ยกให้ คสช. เลือก ส.ว. 250 คนเอง
http://ilaw.or.th/node/4069
เรื่องที่เป็นประเด็นร้อนและมีการถกเถียงของสังคม ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อนลงประชามติ คงหนีไม่พ้นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา 250 คน ในวาระแรกเริ่ม ที่มาจากข้อเสนอของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็ตอบสนองข้อเสนอนี้ โดยกำหนดในบทเฉพาะกาล มาตรา 269 สรุปได้ว่า
ในวาระเริ่มแรก ให้ ส.ว. ประกอบด้วยสมาชิก 250 คน โดยให้ คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาที่มีความรู้ ประสบการณ์ด้านต่างๆ เป็นกลางทางการเมือง 9-12 คน ทำหน้าที่สรรหาผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่ง ส.ว. จำนวนไม่เกิน 400 คน เพื่อให้ คสช. คัดเลือกให้เหลือ 194 คน และคัดชื่อสำรองอีก 50 คน
อีกส่วนหนึ่ง มาจากผู้ที่เป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง 6 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
และส่วนสุดท้ายได้จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการจัดให้มีการเลือก ส.ว. โดยให้ผู้มีความรู้ ประสบการณ์หลายด้าน กลุ่มวิชาชีพ หรือกลุ่มผลประโยชน์ เลือกกันเองให้ได้ 200 คน แล้วนำรายชื่อให้ คสช. เลือกให้เหลือ 50 คน และคัดชื่อสำรองไว้อีก 50 คน จากที่มาสามทางนี้ก็จะได้ ส.ว.ครบ 250 คนพอดี
ส.ว.ชุดนี้จะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีอำนาจหน้าที่ติดตาม เสนอแนะ เร่งรัดการปฏิรูปประเทศ จัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ดูแลกฎหมายที่จะกระทบต่อการดำเนินการกระบวนการยุติธรรม
อ่านต่อที่ >>>> http://ilaw.or.th/node/4069
ดาวโหลดร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติได้ที่http://www.parliament.go.th/…/draftconstit…/ewt_dl_link.php…

ศาลอาญา ยกฟ้อง "ศักดิ์ชัย กาย" ฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ์ปลอม กรณีเบิกถอนเงิน 158 ล้านบาท


ศาลอาญารัชดา อ่านคำพิพากษาในคดีที่ พล.ต.ต.เพ็ชร์ ณ ป้อมเพ็ชร์ โดย น.ส.นพมาศ ณ ป้อมเพ็ชร์ ฐานะผู้อนุบาล เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายศักดิ์ชัย กาย บรรณาธิการนิตยสารชื่อดัง เป็นจำเลย ในความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ์ และใช้เอกสารสิทธิ์ปลอม รวมเป็นเงินกว่า 158 ล้านบาท จากกรณีเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2543 จำเลยได้ปลอมใบถอนเงิน ธ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีลายมือชื่อของโจทก์ แล้วนำ
ไปถอนเงินจำนวนทั้งสิ้น 158,330,000 บาท ในรูปของแคชเชียร์เช็ค และนำไปเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย ศาลพิเคราะห์ แล้วเห็นว่า ทางนำสืบโจทก์ยังไม่พอฟังได้ว่า เป็นใบถอนเงินปลอม และที่ น.ส.นพมาศ เบิกความว่า ในช่วงขณะเกิดเหตุจำเลยได้ดูแลโจทก์ซึ่งป่วยมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ พยานหลักฐานดังกล่าวไม่อาจบ่งชี้ได้ว่าโจทก์ป่วยถึงขั้นไม่ยินยอมให้ผู้อื่นกรอกข้อความในใบถอนเงินและเช็คตามฟ้องอย่างไร คดีจึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานปลอม และใช้เอกสารปลอม และคดีขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง

จับหญิงไทยพกโคเคน2กก.

วานนี้ ที่สนามบินนานาชาติพนมเปญ หลังจากทางเจ้าหน้าที่ได้สังเกตการณ์ และพบสตรีผู้หนึ่งที่เป็นผู้น่าสงสัยภายในสนามบิน จึงได้ขอตรวจค้นตรวจสอบพบกล่องช็อคโกแลต 4 กล่อง ภายในบรรจุยาเสพติดชนิดโคเคนจำนวน 2.6 กิโลกรัม
ตรวจสอบหนังสือเดินทาง ทราบว่าเป็นชาวไทย ตามหนังสือเดินทางหมายเลข AA5812431 เดินทางมาจาก Doha เมืองหลวงของกาตาร์กับสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ เที่ยวบินที่ QR970 ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กัมพูชาได้กักตัวเพื่อทำการขยายผลต่อไป