PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ศาลฎีกานัดพิพากษา "สมชาย –บิ๊กจิ๋ว-พัชรวาท คดีสลายม็อบ พธม. เช้า 2 ส.ค.นี้

ศาลฎีกานักการเมือง นัดพิพากษาคดี ป.ป.ช.ฟ้อง "อดีตนายกฯ สมชาย –บิ๊กจิ๋ว-พัชรวาท อดีต 

ผบ.ตร.-พล.ต.ท.สุชาติ อดีต ผบช.น." คดีสลายม็อบ พธม. เช้า 2 ส.ค.นี้

            30 มิ.ย. 60 ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ 
นายธนสิทธิ์ นิลกำแหง ประธานแผนกคดีเลือกตั้ง เจ้าของสำนวนคดีสลายการชุมนุมของกลุ่ม
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และผู้พิพากษาองค์คณะรวม 9 คน ได้นัดไต่สวน
พยานจำเลยนัดสุดท้าย คดีหมายเลขดำ อม.2/2558 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี , 
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. 
และพล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. เป็นจำเลยที่ 1-4  ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนัก
งานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหาย
แก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบ
ปรามการทุจริต พ.ศ.2542 กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 295 และ 
302 จากกรณีเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 รัฐบาลนายสมชายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจขอคืนพื้นที่การชุม
นุมจากกลุ่ม พธม.ที่ปิดล้อมทางเข้ารัฐสภา ซึ่งภายหลังมีการสลายการชุมนุมโดยมิชอบ ไม่
เป็นไปตามหลักสากล กระทั่งมีผู้เสียชีวิต 2 ราย และผู้บาดเจ็บ 471 ราย
            โดยวันนี้ นายสมชาย อดีตนายกฯ จำเลยที่ 1 , พล.ต.อ.พัชรวาท อดีต ผบ.ตร. จำ
เลยที่ 2  และพล.ต.ท.สุชาติ อดีตผบช.น. จำเลยที่ 3 เดินทางมาฟังการพิจารณา ขาดเพียง 
พล.ต.อ.ชวลิต จำเลยที่ 2 ที่มีอาการป่วยไม่ได้เดินทางมาศาล ซึ่งศาลอนุญาตให้ไต่สวนลับ
หลังจำเลยได้  
            ขณะที่ทนายความ ได้นำพยานจำเลยขึ้นเบิกความรวม 5 ปาก โดยพยาน 3 ปาก คือ 
พล.ต.ต.โกสินธ์ บุญสร้าง รอง ผบช.ตชด. (ตำแหน่งขณะเกิดเหตุปี 2551) , พ.ต.อ.นพศิลป์ 
พูลสวัสดิ์ หัวหน้าชุดหาข่าวกลุ่มผู้ชุมนุม (ตำแหน่งขณะเกิดเหตุปี 2551) และ พ.ต.อ.สมชาย 
เชยกลิ่น ผกก.สน.ดุสิต (ตำแหน่งขณะเกิดเหตุปี 2551) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในวันเกิดเหตุ ได้เบิก
ความถึงสถานการณ์เมื่อวันที่ 6-7 ต.ค.51 สรุปว่า กลุ่มผู้ชุมนุมต้องการเดินทางจากรัฐสภากลับ
ไปทำเนียบรัฐบาล โดยแกนนำได้เจรจาขอเดินผ่านหน้า บช.น. แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แนะนำ
ให้ไปอีกทาง เพราะกลัวกระทบกระทั่งกันทั้ง 2 ฝ่ายและเข้ามายึด บช.น. แต่ผู้ชุมนุมไม่ยอมและ
พยายามผลักดัน รื้อลวดหนามผ่านเข้าไป โดยตำรวจไม่ได้ทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุม ขณะที่ผู้ชุมนุม
ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย บางรายมีย่าม แต่ไม่ได้สังเกตว่า มีอาวุธหรือไม่ เนื่องจากช่วงเวลานั้นไม่มี
แสงสว่างเพียงพอ ซึ่งหลังเหตุการณ์สิ้นสุดลงได้ทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชา โดยไม่ปรากฏว่า 
มีเจ้าหน้าที่พบวัตถุระเบิดหรือเจ้าเหน้าที่บาดเจ็บจากการถูกวัตถุระเบิด แต่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ
บาดเจ็บจากกการถูกยิงด้วยอาวุธปืน  
            ส่วนพยานอีก 2 ปาก คือ พล.ต.ต.ภูวดล วุฑฒกนก ผบก.กองพลาธิการและสรรพาวุธ 
และ พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ ชาติเชื้อ สารวัตรงานคลังอาวุธและวัตถุระเบิด (ตำแหน่งขณะเกิดเหตุปี 2551) เบิกความถึงการใช้แก๊สน้ำตาสรุปว่า วันดังกล่าวไม่มีการสลายการชุมนุม แต่เป็นการป้องกันที่ตั้งสถานที่ราชการ 
โดยยอมรับว่า มีการใช้แก๊สน้ำตาที่ผลิตจากจีนเมื่อปี 2538 แต่ไม่มีผลรุนแรง เนื่องจากเป็นแก๊ส
น้ำตาที่หมดอายุ และแก๊สน้ำตาที่ผลิตจากจีนมีปริมาณดินระเบิด 7 กรัม เพื่อจุดระเบิด แต่ไม่
สามารถทำให้ถึงตายได้ ส่วนกรณีที่ยิงไปถูกจุดสำคัญของตัวบุคคลแล้วระเบิดก็อาจเกิดการฉีก
ขาดได้ แต่โอกาสเกิดน้อยมากเพียง 1 ใน 10,000 เท่านั้น
            ภายหลังไต่สวนพยานเสร็จสิ้น นายสมชาย อดีตนายกฯ จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำแถลง
ปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษรความยาว 20 หน้าพร้อมกับแถลงปิดคดีด้วยวาจาต่อศาล ระบุว่า 
คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีหน้าที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายใน 15 วันหลังได้รับการโปรดเกล้า 
โดยประธานรัฐสภาได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายในวันที่ 7 ต.ค.51 แต่ช่วงค่ำวันที่ 
6 ต.ค.51 ผู้ชุมนุมได้เริ่มเคลื่อนตัวมาปิดล้อมรัฐสภา มีจุดประสงค์ไม่ให้รัฐบาลแถลงนโยบาย 
ตนเห็นว่า เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ หากถูกขัดขวางคณะรัฐมนตรีก็ไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้า
ที่ได้ ซึ่งศาลปกครองเคยวินิจฉัยว่า การชุมนุมดังกล่าว ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ 
ที่โจทก์กล่าวหาว่า ตนกระทำผิดมาตรา 157 โดยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ตามที่ถูกกล่าวหา ซึ่งตนไม่ได้กระทำการอันใดที่มีเจตนาให้เกิดความเสียหายกับผู้ชุมนุม และ
จากการไต่สวนก็ไม่ปรากฏว่า โจทก์มีพยานใดชี้ว่า ตนกระทำการโดยมีเจตนาให้เกิดความบาด
เจ็บเสียหายกับผู้ชุมนุม
            นายสมชาย เเถลงต่อว่า ในวันที่ 6 ต.ค.51 ตนคาดหมายแล้วว่า หากมีการเเถลงนโยบาย
อาจการเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมจะเกิดความไม่สงบได้ จึงคิดว่า จะต้องมีการเปลี่ยนสถานที่หรือเลื่อน
การแถลงนโยบายออกไป  จึงให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีประสานไปยังประธานรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้
มีอำนาจสั่งการ ก็ได้รับคำตอบว่า ไม่สามารถทำได้ทั้งสองอย่าง เพราะล่วงเลยเวลาดำเนินการ
เเละขัดข้อบังคับของสภา ตนจึงเชิญ ครม. และพล.อ.ชวลิต ในฐานะนายกรัฐมนตรี มาประชุม
ปรึกษาหาทางออก  ขณะที่มี พล.ต.อ.พัชรวาท จำเลยที่ 3 และ พล.ต.ท.สุชาติ จำเลยที่ 4 ซึ่ง
เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดูแลสถานการณ์เพื่อรายงานครม.  โดยตนก็ไม่ได้สั่งการใดๆ เพิ่มเติม
 เนื่องจากเห็นว่า เป็นหน้าที่โดยตรงของตำรวจ เเละขณะนั้นไม่มีใครเสนอเรื่องการสลายการชุมนุม เเละไม่มีการสลายการชุมนุมเเต่อย่างใด โดยเมื่อ ครม. ทราบมีคำสั่งของประธานสภา จึงต้องมีการเตรียมความ
พร้อมในการเเถลงนโยบาย หากไม่สามารถเข้าไปในรัฐสภาได้ก็จะให้ฟังคำสั่งประธานสภาอีกครั้ง 
 และ ครม. มีมติให้พล.อ.ชวลิต จำเลยที่ 2 ประสานงานร่วมเพื่อให้คำปรึกษาแก้ปัญหาให้เกิด
ความเรียบร้อย โดยเรื่องดังกล่าวนั้นเป็นผลการประชุมร่วมเเละเป็นมติ ครม.ไม่ใช่คำสั่งของตน  
ในวันรุ่งขึ้นมีการประชุมตามนัดหมาย หลังตนแถลงนโยบายเสร็จมีการติดต่อให้ตนรีบออกจาก
รัฐสภา เพราะเกรงว่า จะไม่ปลอดภัย ตำรวจได้เจรจาผู้ชุมนุมขอให้เปิดทาง และแจ้งกับตนว่า 
หากไม่เปิดทางมีความจำเป็นต้องใช้แก๊สน้ำตา ซึ่งตนก็ได้ห้ามไว้ เพราะกลัวเกิดความโกลาหล
วุ่นวาย เเละเหตุการณ์บานปลาย พร้อมทั้งขอให้แก้ปัญหาด้วยความละมุนละม่อม ซึ่งทาง ผบ.ชน. 
ก็ได้เเจ้งว่า มีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตามขั้นตอนอยู่เเล้ว เเต่ถ้าไม่ใช้เเก๊สน้ำตาก็จะต้องใช้วิธีปีน
กำเเพงที่มีความสูงพอสมควรออกไป ซึ่งหลังการเจรจาไม่เป็นผล ตนก็ตัดสินใจที่จะต้องปีน
กำแพงออกไปฝั่งพระที่นั่งวิมานเมฆ ทั้งที่ตนมีสิทธิเสรีภาพของตนเช่นคนอื่น
            นายสมชาย กล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ดังกล่าวก็เเสดงให้เห็นว่า ตนมิได้มีเจตนาให้เกิด
ความเสียหาย ซึ่งหลังจากตนออกจากรัฐสภาแล้ว  คิดว่า ทุกอย่างจะคงจบ เพราะตนแถลงนโย
บายเสร็จ และออกจากรัฐสภาเดินทางไปที่กองบัญชาการกองทัพไทย โดยในช่วงที่เกิดเหตุตน
ไม่ได้อยู่ในสถานที่ดังกล่าว และไม่ได้รับรายงานเหตุรุนแรง เพราะเป็นหน้าที่โดยตรงเฉพาะหน้า
ของตำรวจ ไม่ใช่หน้าที่นายกฯ และที่ตำรวจไม่รายงานเข้ามาก็เป็นเรื่องปกติ ซึ่งคำพิพากษาศาล
ฎีกาเคยระบุว่า ผู้กระทำผิดตามมาตรา 157 ต้องเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรง ตน
ไม่ได้เกี่ยวข้อง เพราะเป็นอำนาจของตำรวจ ส่วนที่กล่าวหาว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทำให้มี
ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บนั้น พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี หรือสารวัตรจ๊าบ ผู้เสียชีวิตคนแรกขับรถบรร
ทุกระเบิดเข้ามาด้วยตัวเองและเกิดระเบิดขึ้น ส่วน น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือน้องโบว์ 
 เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งตำรวจบอกว่า มีสารซีโฟร์ไม่ใช่แก๊สน้ำตา จึงไม่มีความเกี่ยว
ข้องกับตน
            นายสมชาย กล่าวทิ้งท้ายว่า ที่ผ่านมาตนได้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รับราชการ
มาหลายปี เป็นทั้งฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ  ไม่เคยมุ่งร้ายให้ใครเดือดร้อน  
มีแต่ทำงานด้วยความประนีประนอม มีหน้าที่ดูแลประชาชนไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน และไม่ได้
เลือกปฏิบัติ จึงขอได้โปรดพิจารณาให้ความเป็นธรรมด้วย
            ภายหลังนายสมชาย อดีตนายกฯ แถลงปิดคดีเสร็จสิ้น ศาลได้กำหนดให้ พล.อ.ชวลิต 
รองนายกฯ , พล.ต.อ.พัชรวาท อดีต ผบ.ตร. และพล.ต.ท.สุชาติ อดีต ผบช.น.จำเลยที่ 2-4 ยื่น
คำแถลงปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันที่ ‪20 ก.ค.นี้ หากไม่ยื่นตามกำหนดถือว่าไม่ติดใจ
            โดยศาลกำหนดฟังคำพิพากษา‪ในวันที่ 2 ส.ค.นี้ ‪เวลา 09.30 น. ซึ่งศาลกำชับให้ 
พล.อ.ชวลิต จำเลยที่ 2 มาฟังคำพิพากษาตามนัด ทั้งนี้ศาลยังชี้แจงด้วย การนัดฟังคำตัดสินเกิน 
7 วัน เนื่องจากมีพยานและเอกสารจำนวนมากที่ต้องพิจารณา

            ต่อมานายสมชาย อดีตนายกฯ จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า คดีก็เป็นการต่อ
สู้ตามขั้นตอนปกติ เพราะเชื่อมั่นว่า ตนไม่ผิด ส่วนการสืบพยานดำเนินไปอย่างเรียบร้อย เพราะ
ทีมกฎหมายทำงานเต็มที่ ท้ายสุดการวินิจฉัยเป็นอำนาจของศาล อย่างไรก็ตามยืนยันว่า กระบวน
การดำเนินไปตามปกติ ไม่มีวิธีใดแตกต่างจากคดีอื่นเป็นพิเศษ ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายตนแสดง
ความบริสุทธิ์ตามพยานหลักฐาน โดยตนเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม

.

ระส่ำ ธุรกิจชายแดนแม่สอดกระอัก ต้องลอยแพแรงงานพม่ากว่า 400 คนหลัง กม.มีผลบังคับใช้

ตาก - นายกฯ สั่งการเร่งด่วนให้อธิบดีกรมจัดหางานไปศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบกฎหมายแรงงานต่างด้าวในไทย หลังแรงงานพม่าตามจังหวัดชายแดนระส่ำเพราะสถานประกอบการเลิกจ้างเกรงผิดกฎหมาย เอกชนชี้สวนทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากทำแรงงานป่วนหนัก
       
       วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่บริเวนชายแดนไทย-พม่า แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ประมาณ 400-500 คน ต้องเดินทางข้ามแม่น้ำเมยกลับไปยังจังหวัดเมียวดี ประเทศพม่า ตรงข้ามอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก หลังจากที่นายจ้าง และผู้ประกอบการไม่กล้าจ้างแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย และไม่สามารถนำแรงงานพม่าเข้ามาทำงานตรงกับอาชีพที่ระบุไว้ได้
       
       หลังจากที่ประเทศไทยได้ออกกฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ที่มีโทษรุนแรง ทำให้สถานประกอบการเริ่มได้ผลกระทบ และทางการพม่าต้องแบกรับภาระการหลั่งไหลกลับไปของแรงงานที่ได้รับความเดือดร้อน โดยซื้อข้าวห่อไปเลี้ยงแรงงานที่ตกงานทั้งหมด
       
       นอกจากนี้ ยังมีบรรดานายหน้าที่เคยส่งแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ก็ไม่รับแรงงานต่างด้าวอีกเกรงว่าจะถูกจับกุม และได้รับโทษที่รุนแรง
       
       เจ้าหน้าที่พม่า ที่จังหวัดเมียวดี รายหนึ่งแจ้งว่า แรงงานพม่าที่กลับไปต่างบอกว่าไม่ได้ไปก่ออาชญากรรม และกระทำผิดกฎหมายความมั่นคงของไทย ทำไมต้องมากำหนดโทษรุนแรง
       
       สำหรับเรื่องนี้กำลังเป็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนายจ้างคนไทย และผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าว โดยการออกกฎหมายลักษณะเช่นนี้ไม่สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการค้า การลงทุนของไทย และยังสวนทางกับนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากด้วย
       
       นายจ่อ อายุ 25 ปี แรงงานพม่ารายหนึ่งที่กลับไปยังจังหวัดเมียวดี บอกว่า ต้องจ่ายเงินค่านายหน้าวิ่งหางานทำให้ในราคา 3,000 บาท พอไปถึงโรงงานนายจ้างไม่กล้ารับเพราะกลัวถูกจับ จึงกลับไปฝั่งพม่าเพื่อกลับบ้าน แต่ที่สำคัญไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เงินหมดเพราะจ่ายให้นายหน้าไปหมดแล้ว
       
       ล่าสุดกระทรวงแรงงานกำลังหามาตรการที่ใช้ผ่อนปรนให้ใช้แรงงานต่างด้าวเป็นการชั่วคราวใน 3 กลุ่มแรงงานต่างด้าว คือ กลุ่มแรงงานที่ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SME กลุ่มแรงงานก่อสร้าง และกลุ่มคนรับใช้ในบ้านและครัวเรือน โดยมีมาตรการชั่วคราวในการผ่อนผัน คือ
       1. สามารถเปลี่ยนชื่อนายจ้างใหม่ได้ หากชื่อแรงงานไม่ตรงกับนายจ้าง
       2. ขยายการทำ MOU คือขยายระยะเวลาของการขออนุญาตทำงาน
       3. ไทยจะออกวีซ่าให้แรงงานที่มีพาสปอร์ตสามารถทำงานได้ชั่วคราว
       
       โดยมาตรการผ่อนผันนั้นนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ นายวรานนท์ ปิติวรรณ อธิบดีกรมจัดหางาน เร่งไปศึกษาแนวทางแล้ว 
ระส่ำ ธุรกิจชายแดนแม่สอดกระอัก ต้องลอยแพแรงงานพม่ากว่า 400 คนหลัง กม.มีผลบังคับใช้
        
ระส่ำ ธุรกิจชายแดนแม่สอดกระอัก ต้องลอยแพแรงงานพม่ากว่า 400 คนหลัง กม.มีผลบังคับใช้
        
ระส่ำ ธุรกิจชายแดนแม่สอดกระอัก ต้องลอยแพแรงงานพม่ากว่า 400 คนหลัง กม.มีผลบังคับใช้

ปูเสื่อรอครองอำนาจต่อ

ปูเสื่อรอครองอำนาจต่อ

ตัวเลขยังไหลออกต่อเนื่อง

ตามหน้าฉากที่เหล่าสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ชิงทิ้งเก้าอี้กันล่วงหน้า แต่งตัวรอลงสนามเลือกตั้ง ก่อนครบเดดไลน์ 90 วัน ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ

ไล่ดูจากชื่อชั้นมีตั้งแต่ระดับหัวแถวไปถึงพวกโนเนม

แต่ละคนโร่หาป้อมค่ายในสังกัด บางคนยังไม่มีค่ายใหม่ชัดเจน แต่ก็ออกมาแสดงตัวพร้อมลงเล่นการเมือง ประกาศจับขั้ว ฟอร์มทีมงานกันแต่หัววัน

อย่างที่เห็นๆจากซีนเรียกราคาในรายของ นายสมพงษ์ สระกวี และ พ.อ.สุชาติ จันทรโชติกุล สมาชิก สปท. ที่แบไต๋กลยุทธ์รวบรวมพรรคเล็กๆมาตั้งเป็นพรรคขนาดกลาง ไว้สู้กับพรรคใหญ่ในสนามเลือกตั้ง

เตรียมพร้อมรับมือระบบไพรมารีโหวตตามกติกาฉบับใหม่

รวมพลังพรรคเล็กให้มีหนทางอยู่รอดในสนาม ภายใต้กฎเกณฑ์ที่พรรคเล็กตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบทั้งเรื่องการหาสมาชิกพรรค การตั้งสาขาพรรค

ยกชื่อชั้นระดับบิ๊กเนมอย่าง “บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และพรรคขนาดกลางอย่างพรรคชาติไทยพัฒนา อยู่ในข่ายการดิวประสานงาน เพื่อขายฝันมาจับขั้วร่วมกันทำงาน

พ่วงออปชั่นสำคัญ ไม่รังเกียจหากจะต้องทำงานร่วมกับทหาร

หงายหน้าไพ่ให้เห็นล่วงหน้า ขอเป็นพันธมิตรกับฝ่ายท็อปบูตในอนาคต ทอดสะพานพา “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เป็นนายกฯ 2 สมัยติด

นั่นคือโปรเจกต์ในฝันของระดับพวก “นกแล” ที่ต้องเร่งตีปี๊บ สร้างราคาโปรโมตให้ตัวเองดังๆ ผิดกับระดับ “พญาอินทรี” พวกมืออาชีพที่ยังอยู่นิ่งๆ ไม่กระโตกกระตาก ชิงเปิดตัวเร็วให้เจ็บตัวก่อน

ในสภาวะที่สองขั้วใหญ่อย่าง “เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์” ยังออกตัวเพียงแค่การออกแอ็กชั่นคัดค้านระบบไพรมารีโหวต กระตุกเรตติ้งเลี้ยงกระแสให้ตัวเองมีชื่อติดตามหน้าสื่อเท่านั้น

ไม่กล้าโหมโรงเปิดตัวลงสนามอย่างจริงๆจังๆ

เพราะสภาพความเป็นจริงในสถานการณ์ปัจจุบันยังต้องลุ้นหนักว่า จะมีคิวเข้าคูหาหย่อนบัตรเลือกตั้งเกิดขึ้นตามโปรแกรมเดิมปลายปี 2561 หรือไม่

ตามท้องเรื่องที่ยังวุ่นกันไม่เลิก กรณีการงัดข้อร่างกฎหมายลูก 2 ฉบับสำคัญ โดยเฉพาะ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ที่ส่อเค้าความขัดแย้งบานปลายออกไปเรื่อยๆ
ในประเด็นระบบไพรมารีโหวตที่แต่ละฝ่ายยังเถียงกันหน้าดำคร่ำเครียด จูนกันไม่ลงตัว มีแนวโน้มต้องตั้งกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย มาหาข้อสรุปใหม่

เหล่าทีมงานแม่น้ำ 5 สาย และองค์กรอิสระ ต่างแข่งกันอวดวิชา หาเหตุผลยืนกรานความถูกต้องในเนื้อหากฎหมายลูกของฝ่ายตัวเองจนมั่วไปหมด

ขั้วอำนาจพิเศษล่อกันเองจนฝุ่นตลบ เส้นทางไปสู่สนามเลือกตั้งฉายแววถูกทอดเวลาจนถึงที่สุด

ต้องรอลุ้นกันยาวๆว่า จะเคลียร์อาการคาใจกันลงตัวหรือไม่

แต่คิวแทรกเฉพาะหน้าที่น่าห่วงเวลานี้คือ อาการสะดุดของ ร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ที่ สนช.เพิ่งประทับตราเห็นชอบวาระ 3 ไปเมื่อเร็วๆนี้

เจอแท็กทีมจาก “ประชาธิปัตย์-เพื่อไทย” ไล่เจาะยาง ขวางการประกาศใช้เป็นกฎหมายทุกวิถีทาง ถึงขั้นเตรียมจองกฐินส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ

จับผิดส่อขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 ขาดการรับฟังความเห็นจากประชาชนในการยกร่างกฎหมาย

ดูตามยอดคลิกจากประชาชนที่อ่านเนื้อหาร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวในเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล มีประมาณ 3,000 คน แต่ตอบคำถามแสดงความคิดเห็นแค่ 8 คน เป็นอะไรที่อ้างได้ไม่เต็มปากว่าผ่านการฟังความเห็นจากชาวบ้านอย่างทั่วถึง

นักเลือกตั้งอาชีพทุกค่ายพากันขวางลำเต็มตัว ไม่ให้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ถูกตีตรวนต้องเดินตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่ถูกออกแบบโดยทีมงานฝ่ายอำนาจพิเศษ

และตามรูปการณ์หนีไม่พ้นที่ “บิ๊กตู่” ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จะนั่งหัวโต๊ะคุมเกมการเขียนแผนยุทธศาสตร์ กำหนดทิศทางขับเคลื่อนประเทศในอนาคตด้วยตัวเอง

สบโอกาสวางเกมยาวล่วงหน้า รองรับการอยู่ขี่หลังเสือต่อ เพื่อสานต่องานให้เป็นเนื้อเดียวกัน

ยังไม่วางมือ ส่งไม้ต่อให้นักเลือกตั้งมารับช่วงกำหนดนโยบายตามใจชอบ

ปูเสื่อรอเป็นผู้นำอีกรอบ กดฝ่ายการเมืองเป็นเบี้ยล่างอีกยาว.
ทีมข่าวการเมือง

ซ้อมแผนเผชิญเหตุ CMEX2017

(29/6/60)"ศูนย์ต่อต้านก่อการร้าย" บก.ทัพไทย ซ้อมแผนเผชิญเหตุ CMEX2017 ป้องกันเกิดเหตุบน"รถไฟฟ้าใต้ดิน"
ด้าน "พลเอกเฉลิมชัย" ยัน ฝ่ายความมั่นคงไม่ประมาท เตรียมรับมือ"ก่อการร้าย"/ เผย ซ้อมแผนเตรียมพร้อม. วันนี้ ส่งทหารรบพิเศษฝร่วมซ้อมป้องกันเหตุ "รถไฟฟ้า"รองรับภัยคุกคาม ลามมาภูมิภาคอาเซียน
บิ๊กปุย พลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ผบ.สูงสุด บิ๊กเจี๊ยบ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. พร้อม ตัวแทนเหล่าทัพ พร้อม บิ๊กแดง พลโท อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อ
แม่ทัพภาค1 และ พลตรีณรงค์พันธุ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.พล.1รอ. ร่วมชมการฝึกด้วย ที่สถานีรถไฟฟ้าพระราม9

พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ.กล่าวถึงการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ก่อการร้ายและความมั่นคงภายในว่า บ่ายวันนี้ (29 มิ.ย.) จะมีการทดสอบการเตรียมพร้อมกลไกต่อต้านการก่อการร้าย ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ไปเมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้การก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามที่สำคัญ ขณะนี้มีสถานการณ์เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งทางด้านยุโรป และฝั่งตะวันตก อีกส่วนหนึ่งก็เข้ามาทางภูมิภาคอาเซียน
ขณะที่ประเทศไทยเอง แม้จะไม่มีหลักฐานยืนยัน เรื่องการก่อเหตุร้าย หรือเหตุรุนแรงในประเทศไทยก็ตาม แต่ในภาพรวม ส่วนงานด้านความมั่นคงก็ไม่ได้ประมาท ได้เตรียมการไว้อย่างต่อเนื่อง

พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า ประเด็นหลักของการการป้องกันการก่อการร้ายสากลคือ เตรียมการของหน่วยประชาคมข่าว ที่ต้องติดตามเรื่องนี้มาตลอด ทั้งในประเทศและการประสานงานจากต่างประเทศ ในกรณีที่มีผู้ต้องสงสัย เกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวพันก็ต้องดำเนินการ ที่ผ่านมาดำเนินการมาโดยตลอด เช่น การเชิญออกนอกประเทศ
ในส่วนที่สองคือ การเตรียมกำลังเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ ส่วนที่ 1 การเตรียมการด้านกำลังพล หน่วยที่รับผิดชอบหลักคือ ศูนย์ต่อต้านการก่อการร้าย (ศตก.) กองบัญชาการกองทัพไทย มีกำลังจากทุกภาคส่วน และกำลังจากทุกกองทัพเข้าไปร่วมด้วย
ซึ่งตนเห็นใจกำลังพลเหล่านี้เพราะต้องมีความพร้อมตลอดเวลา หมุนเวียนเพื่อเตรียมพร้อมหรือสแตนด์บาย 24 ชั่วโมง เพราะไม่รู้ว่า จะเกิดเหตุเมื่อไหร่
ส่วนที่ 2 เป็นความพร้อมของยุทโธปกรณ์ ซึ่งขณะนี้มีความพร้อมอยู่แล้ว ส่วนที่ 3 คือ แผนเผชิญเหตุที่จะมีการทดสอบในช่วงนี้ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ภายใต้การดำเนินการของ ศตก.
ถือเป็นการดำเนินการตามวงรอบประจำปี และหมุนเวียนไปตามการกำหนดสมมุติฐานของแต่ละพื้นที่ ปีนี้ก็จะเป็นพื้นที่รถไฟฟ้า ปีก่อนหน้านี้จะเป็นสถานการณ์บนเครื่องบิน ถือเป็นการเตรียมการทุกปีอยู่แล้ว เพราะเป็นการบูรณาการทุกภาคส่วน สำหรับกองทัพบกเอง ก็ส่งส่วนที่สำคัญเข้าไปคือ กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และหน่วยEOD ของกรมสรรพาวุธทหารบก รวมถึงหน่วยของกรมวิทยาศาสตร์ทหารบก และหน่วยแพทย์ทหารด้วย

ยัง ไม่มีพรรคทหาร

ยัง ไม่มีพรรคทหาร
"บิ๊กป้อม" ยัน ไม่ตั้งพรรค ยัง ไม่มีพรรคทหาร แม้มี สปท. ลาออก ไปตั้งพรรค ก็เป็นเรื่องของเขา ใครจะไปอยู่พรรคไหน ก็ไป แต่ยังไม่เห็นมี คสช.ร่วม.....ปัดเป็น "ผู้จัดการรัฐบาล"ในอนาคต เปรย "คิดกันไปเอง ใครจะนั่งเป็น ผู้จัดการ มาถามแบบนี้ได้ไง
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีการความเห็นแย้ง การร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง เรื่องPrimary vote 
อาจทำให้เลื่อนเลือกตั้ง ว่า ยืนยันว่ายึดตามโรดแมพ
ส่วนเรื่องPrimary vote ก็ว่ากันไป ขณะนี้อยู่ระหว่างการถกเถียงของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมกรธ. และส่วนที่เกี่ยวข้อง ยังไม่ได้ความชัดเจน คงต้องรอดูว่าจะดำเนินการอย่างไรให้ชัดเจน
"ยืนยันว่า การเลือกตั้ง ยังเหมือนเดิม ไม่เลื่อน"
เมื่อถามถึง กรณีกลุ่มการเมืองเรียกร้องให้คสช.ลงเลือกตั้ง พลเอกประวิตร กล่าวว่า ผมไม่มีความคิดเห็น ขอให้ติดตามกันต่อไป
ส่วนกรณีสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ลาออกมาลงเล่นการเมืองนั้น พลเอกประวิตร เขามีพรรคการเมืองของตนเองอยู่แล้ว จะไปอยู่กับใคร สังกัดพรรคไหน ก็เรื่องของเขา แต่จะไม่สังกัดพรรคทหาร เพราะพรรคทหารไม่มีอยู่แล้ว
"ในส่วนตัวของไม่เล่นการเมืองแน่นอน สื่อก็ถามหลายครั้ง"
ส่วนที่มองว่า จะนั่งเป็นผู้จัดการรัฐบาล พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "พูดกันไปเอง ใครจะไปนั่งเป็นผู้จัดการ มาถามแบบนี่ได้อย่าไร
ทั้งนี้หากมีรัฐบาลใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้ง ขอยืนยันว่า คสช.ก็หมดอำนาจไป
พล.อ.ประวิตร กล่าวถึงกรณีพรรคการเมืองเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ ลงเลือกตั้ง ว่า "นายกฯบอกอยู่แล้วว่าไม่เล่นการเมือง และที่ระบุว่านายกฯพูดไม่ชัดเชนนั้น ผมอยากให้ไปฟังอีกครั้ง
"ในอนาคตหากสถานการณ์เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านนายกฯอาจจะต้องลงก็ได้ เราก็ไม่รู้ ถือเป็นเรื่องส่วนตัวท่านนายกฯ "
"เมื่อถามว่า นายกฯลงเลือกตั้ง ในฐานะที่เป็นพี่ จะเชียร์ไหม ไม่ขอออกความคิดเห็น ถือเป็นเรื่องของนายกฯ ท่านจะเป็นอย่างไรท่านรู้ตัวท่านดี

'บิ๊กป้อม' ชี้ แล้วแต่สถานการณ์"บิ๊กตู่" ลงเลือกตั้ง เปรย "นายกฯจะต้องลงไปเป็นก็ได้"

'บิ๊กป้อม' ชี้ แล้วแต่สถานการณ์"บิ๊กตู่" ลงเลือกตั้ง เปรย "นายกฯจะต้องลงไปเป็นก็ได้" อ้าง ผมไม่รู้ เรื่องส่วนตัว ออกตัว "ไม่มีความเห็น" เชียร์นายกฯ เลือกตั้งมั้ย นายกฯรู้ตัวเอง‬‬
‪พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีกลุ่มการเมืองท้าให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีลงเลือกตั้ง ว่า นายกฯบอกแล้วว่า ไม่เล่นการเมือง ได้ฟังนายกฯพูดรึเปล่า
ส่วนการที่ นายกฯ ยังพูดไม่ชัด บอก แล้วแต่วถานการณ์ นั้น พลเอกประวิตร กล่าวว่า ให้ไปรอฟังให้ชัดเจน ‬
‪ส่วนที่นายกรัฐมนตรีระบุว่าอยู่ที่สถานการณ์ในอนาคตนั้น หรือจะลงส.ส.หรือไม่นั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า สถานการณ์. ก็พูดไป
"นายกฯจะต้อง ลงไปเป็น ก็ได้ ผมไม่รู้ เพราะเป็นเรื่องส่วนตัว ‬"
‪เมื่อถามว่า ในฐานะพี่ชาย จะเชียร์พล.อ.ประยุทธ์ ลงเลือกตั้ง หรือไม่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ไม่มีความคิดเห็น"
ส่วนจะมีโอกาสหรือไม่ พลเอกประวิตร เลี่ยงตอบว่า ผมไม่มีความคิดเห็น. เป็นเรื่อง. ของนายกฯว่าจะทำอย่างไร ท่านรู้ตัวท่านดี"‬

ยิ้มอย่างมีเลสนัยจากบิ๊กป้อมเมื่อถามนายกฯจะลงการเมืองไหม

ดู.....บิ๊กป้อม ยิ้มอมพะนำ เปรย"สถานการณ์ ต่อไป นายกฯจะต้อง ลงไปเป็น...ก็ได้ ....เราไม่รู้"
‪'บิ๊กป้อม' ชี้ แล้วแต่สถานการณ์"บิ๊กตู่" ลงเลือกตั้ง เปรย "นายกฯจะต้องลงไปเป็นก็ได้" ชี้เป็น เรื่องส่วนตัว ออกตัว "ไม่มีความเห็น" เชียร์นายกฯ เลือกตั้งมั้ย นายกฯรู้ตัวเอง‬‬
‪พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีกลุ่มการเมืองท้าให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีลงเลือกตั้ง ว่า นายกฯบอกแล้วว่า ไม่เล่นการเมือง ได้ฟังนายกฯพูดรึเปล่า
ส่วนการที่ นายกฯ ยังพูดไม่ชัด บอก แล้วแต่วถานการณ์ นั้น พลเอกประวิตร กล่าวว่า ให้ไปรอฟังให้ชัดเจน ‬
‪ส่วนที่นายกรัฐมนตรีระบุว่าอยู่ที่สถานการณ์ในอนาคตนั้น หรือจะลงส.ส.หรือไม่นั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า สถานการณ์ ต่อไป
"นายกฯจะต้อง ลงไปเป็น ก็ได้ เราไม่รู้ เพราะเป็นเรื่องส่วนตัว ‬"
‪เมื่อถามว่า ในฐานะพี่ชาย จะเชียร์พล.อ.ประยุทธ์ ลงเลือกตั้ง หรือไม่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ไม่มีความคิดเห็น"
ส่วนจะมีโอกาสหรือไม่ พลเอกประวิตร เลี่ยงตอบว่า ผมไม่มีความคิดเห็น. เป็นเรื่อง. ของนายกฯว่าจะทำอย่างไร ท่านรู้ตัวท่านดี"‬

เครือข่ายแรงงานข้ามชาติยื่นจม.เปิดผนึกถึงนายกฯ

เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ ส่งจดหมายเปิดผนึก 6 หน้า เรื่อง ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ....

         จดหมายเปิดผนึก....เครือข่ายองค์กรด้านประชากรเเรงงานข้ามชาติ 6 หน้า ถึง นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ข้อความว่า ...
         ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 ตามข้อเสนอของกระทรวงแรงงาน หลังจากที่กระทรวงแรงงานได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว
       โดยได้มีการรวมเนื้อหาของกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 และพระราชกำหนดการการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้าง พ.ศ.2559 ไว้เป็นฉบับเดียวกัน
          เครือข่ายประชากรข้ามชาติ เห็นว่าร่างพระราชกำหนด นี้ เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิทธิทางเศรษฐกิจและสิทธิแรงงาน จึงได้จัดเวทีแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชกำหนด โดยมีผู้เข้าร่วมซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนได้ตัวแทนผู้ประกอบการ ตัวแทนลูกจ้าง สภาอุตสาหกรรม ฝ่ายวิชาการ ผู้นำแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชน นักกฎหมาย เพื่อจัดทำเป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงแรงงานโดยเฉพาะการป้องกันการขยายตัวของปัญหาที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานหรือการกระทำอันเป็นการค้ามนุษย์ต่อคนต่างด้าว ในประเด็นดังต่อไปนี้
          กระบวนการตราร่างพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ...
          การตราพระราชกำหนดฉบับนี้ อาศัยช่องทางตามมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติไว้ให้คณะรัฐมนตรีสามารถออกพระราชกำหนดได้ในกรณี”เพื่อ ประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ...” โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะ “เป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้”
         เครือข่ายประชากรแรงงานข้ามชาติเห็นว่า กรณีการจัดการแรงงานต่างด้าว มิได้เป็นหนึ่งใน “กรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้” ซึ่งจำเป็นต้องตราเป็นพระราชกำหนด ประกอบกับแนวทางการตราพระราชกำหนดภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า จะเห็นได้ชัดว่าฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีจะใช้ช่องทางนี้อย่างจำกัด เเละเป็นข้อยกเว้นเฉพาะประเด็นที่เสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศด้านอื่น เช่น กรณีมีเหตุความไม่สงบอันอาจกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ก่อการร้ายกรณีเกิดอุทุกภัยอย่างกระทันหันซึ่งต้องมีกฎหมายเร่งด่วนออกมาป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ เป็นต้น
       ข้อเสนอ รัฐบาลควรทบทวนในการออกกฎหมายในรูปแบบของพระราชกำหนดภายใต้เงื่อนไขของมาตรา 172 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 อีกทั้งควรเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆอย่างรอบด้าน รวมถึงการออกงานวิชาการออกมารองรับ เพื่อเเสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องใช้ช่องทางดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐในการบัญญัติกฎหมายให้ครอบคลุมการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้ทั้งระบบและการส่งเสริมงานที่มีคุณค่าและการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเเท้จริง
       หมวด 1 บททั่วไป    
       การประกาศกำหนดให้งานใดเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำได้หรือไม่ และในท้องที่ใดนั้น ตัวแทนผู้ประกอบการ และเครือข่ายประชากรข้ามชาติมีความเห็นว่าเป็นการย้อนกลับไปใช้แนวทางการกำหนดกิจการที่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำตามกฎหมายเดิม คือ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ดังนั้น รัฐมนตรีโดยความเห็นของคณะกรรมการควรออกประกาศกำหนดงานที่แรงงานสามารถทำได้เท่านั้น
       การออกแบบระบบจัดสรรจำนวนคนต่างด้าวเข้าทำงาน หรือการออกโควต้าของประเภทอาชีพตามมาตรา 12 และ 13 ทางเครือข่ายประชากรข้ามชาติเห็นว่ามีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดช่องทางทุจริต จึงควรยกเลิกระบบจัดสรรจำนวนคนต่างด้าวเข้าทำงาน
      การประกาศเขตที่พักอาศัยสำหรับผู้รับอนุญาตให้ทำงาน เฉพาะจำพวกใดหรือท้องที่ใด ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แม้ไม่มีบทลงโทษกรณีฝ่าฝืน แต่ยังเป็นข้อบัญญัติที่เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ รวมทั้งอาจจะมีผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ดังนั้น เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติจึงเสนอให้มีการยกเลิกบทบัญญัติในมาตรา 15
         หมวดที่ 1 และหมวดที่ 3 ส่วนที่ 3 หน้าที่และความรับผิดชอบ ยังมีความคลุมเครือของถ้อยคำอาจก่อให้เกิดปัญหาการบังคับใช้
        เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติเห็นว่าแม้ในมาตรา 16 จะกำหนดขอบเขตการบังคับใช้กับเฉพาะบุคคลสามประเภท คือ นายจ้าง คนต่างด้าว เเละผู้ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน
       เเต่ในส่วนของบทบัญญัติที่กำหนดว่าจะใช้กับคดีที่เป็นข้อพิพาทในประเด็นสิทธิหรือหน้าที่ตามร่างพระราชกำหนดนี้ หรือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านเเรงงานนั้น เครือข่ายเเรงงานประชากรข้ามชาติเห็นว่า เเม้รายละเอียดในร่างพระราชกำหนด จะมีการเเบ่งหมวดหมู่เรื่องหน้าที่เเละความรับผิดไว้ในส่วนที่ 3 เเต่ในทางปฏิบัติ ประเด็นข้อพิพาทจริงๆมิได้เกิดจากความสัมพันธ์เชิงนายจ้างเเละลูกจ้าง แต่เกิดจากการกำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคคลทั้งสามฝ่ายก่อนที่จะมีการจ้างงานเกิดขึ้นจริงหรือหลังจากการจ้างงานเเล้ว เมื่อบัญญัติให้ประเด็นดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจศาลเเรงงาน
     ซึ่งใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อคงความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างเเละนายจ้างไว้ จึงยังไม่มีความเหมาะสม เเละอาจเกิดการตีความการบังคับใช้มาตรานี้เกินกว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายครอบคลุมไปยังความผิดอาญาอื่นซึ่งมิได้กระทบเเต่เพียงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งสามฝ่ายเท่านั้น เเต่ยังก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบการจ้างงานเเละภาคเศรษกิจอีกด้วย เช่นกรณีการยึดหนังสือเดินทางลูกจ้าง การหลอกลวงว่ามีการจ้างงาน เป็นต้น
       ข้อเสนอ ขอให้ทบทวนเนื้อความตามมาตราดังกล่าวควบคู่ไปกับปัญหาในทางปฏิบัติของการใช้ศาลเเรงงานเข้ามาไกล่เกลี่ย ทั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างนายจ้าง คนต่างด้าวเเละผู้ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานมากที่สุด
       หมวดที่ 2 ว่าด้วย คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
       เครือข่ายประชากรแรงงานข้ามชาติเห็นว่า คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ยังขาดผู้แทนองค์กรนายจ้าง อีกทั้งในมิติของการคุ้มครองแรงงานนั้น มีเพียงตัวแทนของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเท่านั้นที่เป็นคณะกรรมการ
        ข้อเสนอ ควรทบทวนในการการเพิ่มสัดส่วนคณะกรรมการที่มีตัวแทนขององค์กรนายจ้าง เพิ่มอีก 1 คน เนื่องจากมีตัวแทนสภาหอการค้า และสภาอุตสาหกรรมแล้ว และตัวแทนองค์กรลูกจ้างเพิ่มอีก 1 คน เป็นฝ่ายละสามคนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักไตรภาคี รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองลูกจ้างด้วย
       หมวดที่ 3 ว่าด้วย การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ส่วนที่ 3 หน้าที่และความรับผิดชอบ
        มาตรา 50 การเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติเห็นว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน ควรกำหนดแนวการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร และให้สิทธิลูกจ้างในการลาออกได้ โดยกำหนดให้กรณีที่ลูกจ้างประสงค์ลาออกเองเพื่อเปลี่ยนย้ายไปทำงานกับนายจ้างใหม่ ให้นายจ้างใหม่เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่นายจ้างคนเดิมได้จ่ายไปให้กับลูกจ้างเกี่ยวกับการนำเข้าแรงงาน โดยคำนวนค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาการได้รับอนุญาตทำงานที่เหลือ
          มาตรา 51 และ 53 กรณีที่ลูกจ้าง ประสงค์ทำงานกับนายจ้างคนใหม่ กำหนดให้ลูกจ้างต้องทำงานกับนายจ้างรายอื่นภายใน 15 วัน เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติเห็นว่า ไม่สอดคล้องกับความสามารถของลูกจ้างในการหางานใหม่ ดังนั้น ทบทวนระยะเวลาให้ลูกจ้างสามารถหานายจ้างใหม่ภายใน 90 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2534
         มาตรา 54 กรณีนายจ้างขอรับค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมา
ทำงาน ให้สามารถเรียกเก็บคืนได้ภายใน 30 วัน เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติเสนอ ให้นายจ้างสามารถเรียกเก็บคืนได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่นายจ้างขอรับค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืน และขอให้อธิบดีกรมการจัดหางานกำหนดมาตรฐานของสัญญาระหว่างผู้รับใบอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้าง
        มาตรา 57 กรณีที่คนต่างด้าวได้รับความเสียหายจากการที่นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำ
คนต่างด้าวมาทำงาน ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติเสนอให้เพิ่ม มาตรา 57 วรรคสอง ว่า “กรณีที่มีคนต่างด้าวดำเนินการร้องเรียนกรณีที่มีการละเมิดสิทธิตามกลไกการคุ้มครองสิทธิ ให้คนต่างด้าวสามารถอยู่และสามารถหางานใหม่ได้ในประเทศไทยได้จนกว่ากระบวนการพิจารณาการคุ้มครองสิทธิจะถึงที่สุด”
       หมวดที่ 4 ว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว
        มาตรา 71 เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติเสนอให้มีการเพิ่มเติมในตอนท้ายว่า กรณีที่เป็นลักษณะกิจการที่มีลักษณะการเคลื่อนย้ายพื้นที่ในการทำงานที่ค่อนข้างสูง เช่น กิจการขนส่งทั้งทางเรือทางบก และกิจการก่อสร้าง ให้มีสามารถขอเปลี่ยนหรือเพิ่มท้องที่ หรือลักษณะการทำงานให้เป็นไปตามเงื่อนไขการทำงาน
        มาตรา 74 บัญญัติให้นายจ้างต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตให้ทำงานออก
จากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติเสนอให้เปลี่ยนกำหนดระยะเวลาแจ้งจาก 7 วัน เป็นภายใน 15 วัน
       หมวด 5 ว่าด้วยกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
       ก. มาตรา 76 เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติเสนอให้ค่าปรับที่กำหนดไว้ในร่างพระราชกำหนด เงินที่อยู่ในกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
       ข. บทบัญญัติของมาตรา 78 ให้มีคณะกรรมการกองทุนเพื่อบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวนั้น ประกอบไปด้วยตัวแทนของเจ้าหน้าที่จากภาครัฐจากหลายหน่วยงาน แต่ยังขาดองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานและการทำงาน เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติจึงเสนอให้เพิ่มตัวแทนองค์กรลูกจ้างและนายจ้าง อยู่ในคณะกรรมการกองทุนบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
        หมวด 6 ว่าด้วย มาตรการทางปกครอง
        ส่วนที่ 1 เรื่องการพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน การเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน และการเพิกถอนใบอนุญาต
       มาตรา 91 เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติเสนอให้ศาลเป็นผู้มีอำนาจประกาศรายชื่อนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานซึ่งได้รับโทษเพราะฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้
        หมวดที่ 7 ว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่
          มาตรา 98 กำหนดอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจค้น แต่มิได้กำหนดช่วงเวลาในการเข้าไปตรวจค้น ซึ่งทางเครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติเห็นว่า ควรพิจารณาบทบัญญัติของกฎหมายเดิมที่ใช้มาตรการเดียวกับวิธีพิจารณาความอาญา ที่กำหนดเวลาในค้นว่า สามารถทำได้ในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นถึงตกดินเท่านั้น หรือจะมีการค้นในช่วงกลางวันต่อเนื่องไปถึงกลางคืน เป็นต้น
        หมวดที่ 8 ว่าด้วยบทลงโทษ
        เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติเห็นว่านิตินโยบายของร่างกฎหมายฉบับนี้ มีบทลงโทษมากกว่ากฎหมายทุกฉบับที่ผ่านมา ซึ่งการที่รัฐมีมาตรการในการเพิ่มโทษ เช่น การเพิ่มจำนวนเงินค่าปรับ หรือโทษจำคุก จะยิ่งเป็นช่องทางในการทำผิดกฎหมาย การทุจริตในวงราชการ
      นอกจากนี้กระบวนการลงโทษระหว่างลูกจ้างและนายจ้างยังมีความแตกต่างกัน เช่น กรณีลูกจ้างทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับ กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืน กำหนดบทลงโทษไว้เฉพาะโทษปรับ อาจจะกลายเป็นประเด็นในการเลือกปฏิบัติอีกได้ด้วย
      เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติจึงเสนอให้ ความผิดใดๆที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานให้เป็นไปตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 และให้ยกเลิกโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ให้ยืนตามเงื่อนไขร่างพระราชกำหนด หรือบทลงโทษในเชิงการระงับสิทธิ
     อัตราค่าธรรมเนียม เครือข่ายประชากรเเรงงานข้ามชาติเสนอให้เป็นไปตามกฎหมายเดิม
ด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์    เครือข่ายองค์กรด้านประชากรเเรงงานข้ามชาติ 
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ นายอดิศร เกิดมงคล 
089-788-7138 

เขมรแห่กลับบ้านหลังนายจ้างลอยแพหวั่นกม.ใหม่แรง


30 มิ.ย.60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.00 น. พ.ต.อ.เบญจพล รอดสวาสดิ์ ผกก.ตม.จว.สระแก้ว ได้สั่งการให้ จนท.ตม.ประจำอาคารที่พักรอการส่งกลับแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา นำตัวแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาจำนวน 143 คน ที่ จนท.ตม.จากหลายจังหวัดโดยเฉพาะ จ.พระนครศรีอยุธยา,จ.สระบุรี,ฉะเชิงเทรา และ ลพบุรี นำมาส่งเพื่อให้ ตม.จว.สระแก้ว ทำการผลักดันกลับประเทศต้นทาง โดย จนท.ตม.จว.สระแก้ว ได้นำแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาทั้ง 143 คนที่ควบคุมอยู่ที่ห้องกักกันแรงงานต่างด้าว ออกมาทำประวัติและถ่ายภาพก่อนนำขึ้นรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ ติดลูกกรงของ ตม.จว.สระแก้ว นำไปผลักดันกลับประเทศกัมพูชาที่ ด่าน ตม.ปอยเปต ประเทศกัมพูชา โดย จนท.ตม.จว.สระแก้ว ได้ประสาน จนท.ด่าน ตม.ปอยเปต มารอรับและดำเนินการรับการผลักดันแรงงานกัมพูชาที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายไทย
ทั้งนี้ พ.ต.อ.เบญจพล  รอดสวาสดิ์  ผกก.ตม.จว.สระแก้ว เผยว่าตั้งแต่ พ.ร.บ.แรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ของไทย ประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 60 ซึ่งมีโทษรุนแรงกว่าฉบับเดิม ทำให้แรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายแล้ว ลักลอบไปทำงานในสถานที่ต่างๆในหลายจังหวัดเกิดความกลัว จึงยอมเดินทางเข้ามามอบตัวกับ จนท.ตม.ประจำจังหวัดต่างๆเพื่อนำมาผลักดันกลับประเทศ ทั้งนี้การมอบตัวของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา ถือว่าเป็นการยอมรับที่จะเดินทางกลับประเทศต้นทางจึงได้มีการผ่อนปรนไม่ถูกส่งดำเนินคดี แต่ถ้าหาก จนท.จับกุมได้เองจะมีโทษตาม พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ทันที คาดว่าช่วงนี้จะมีแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายมาแสดงตัวมอบตัวกับ จนท.เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทาง ตม.จว.สระแก้ว ได้ประสานทำความเข้าใจกับ จนท.ตม.ปอยเปต ของกัมพูชาแล้ว
ซึ่งนอกจากดำเนินการนำแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาไปผลักดันกลับประเทศต้นทางแล้ว ตม.จว.สระแก้ว ยังต้องเร่งประชาสัมพันธ์และอธิบายให้กับแรงงานชาวกัมพูชา ได้เข้าใจถึง พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว ฉบับใหม่ถึงโทษที่รุนแรงขึ้น โดยแนะนำให้แรงงานชาวกัมพูชาที่ต้องการจะกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทย ต้องไปทำพาสปอร์ตและขออนุญาติทำงานในประเทศไทยตาม MOU อย่างถูกต้อง แต่หากทำงานอยู่ในจังหวัดสระแก้ว ก็สามารถทำบอเดอร์พาสแรงงาน หรือหนังสือเดินทางทำงานท้องถิ่น ได้ครั้งละ 30 วัน อย่าได้ลักลอบเข้ามาทำงานโดยผิดกฎหมายไทย เพราะมีอัตราโทษสูงและค่าปรับรุนแรง
ทั้งนี้ พ.ต.อ.เบญจพล  รอดสวาสดิ์  ผกก.ตม.จว.สระแก้ว ยังเผยอีกว่าจากการสอบถามแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาบางคนให้รายละเอียดว่า ถูกนายจ้างลอยแพเนื่องจาก พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ โทษของนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายจะมีโทษรุนแรงและค่าปรับสูงมาก จึงทำให้นายจ้างเกิดความกลัวสั่งยกเลิกการจ้างแรงงานกัมพูชากระทันหันทันทีและให้แรงงานกัมพูชารีบเดินทางกลับประเทศ ทำให้แรงงานกัมพูชาบางส่วนได้รับความเดือดร้อน ต้องรีบเดินทางกลับประเทศโดยไม่ได้ตั้งตัว
ต่อมาเวลา 12.00 น.วันเดียวกัน พ.ต.อ.เบญจพล  รอดสวาสดิ์  ผกก.ตม.จว.สระแก้ว ได้รับแจ้งจากตำรวจรถไฟสาย กทม.-อรัญประเทศ ขบวน ที่จะเข้าสถานีอรัญประเทศ จ.สระแก้ว เวลา 12.00 น.ว่า จนท.ตำรวจรถไฟ ได้ควบคุมตัวแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาที่ไม่มีหนังสือเดินทางบนขบวนรถไฟ ได้จำนวน กว่า 100 คน จึงได้สั่งการ จนท.ชุดสืบสวนปราบปราม ตม.จว.สระแก้ว นำกำลังไปรับตัวแรงงานต่างด้าวชาวเขมรกว่า 100 คน จากตำรวจรถไฟ ที่สถานีรถไฟอรัญประเทศ เพื่อนำมาดำเนินการตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ก่อนนำไปผลักดันกลับประเทศต่อไป

พ.ร.ก.ต่างด้าวพ่นพิษพม่าหนีกลับวันละ2พัน

นายจ้าง หวั่นแรงงานต่างด้าว หนีกลับถิ่นหลังพ.ร.ก. รัฐประกาศใช้ พ.ร.ก.ต่างด้าว 60พม่าเดินทางกลับบ้านวันละ 2,000 คน ขณะที่กัมพูชากลับวันละ15 คันรถ

     พลันที่รัฐบาลได้ประกาศราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ “พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. 2560 เป็นต้นไป เป็นการรวมกฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ. การทำงนของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 และ พ.ร.ก. การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559 ปรับปรุงกฎหมายให้บทบัญญัติครอบคลุมการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวทั้งระบบ โดยเน้นการให้ความคุ้มครอง อำนวยความสะดวกให้กับทั้งนายจ้างและแรงงานต่างด้าว รวมถึงมีการเพิ่มโทษนายจ้างที่กระทำผิดกฎหมาย พร้อมดึงประชาคนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
    ประเด็นหลักๆ ที่ทำให้เหล่านายจ้าง หวั่นวิตก เกิดภาวะแรงงานต่างด้าวหนีกลับถิ่น เหตุด้วยนายจ้างส่งกลับ และขอกลับเอง คือ การเพิ่มโทษให้มีอัตราที่สูงขึ้น โดยเฉพาะโทษปรับ “นายจ้าง” จากเดิมหากกระทำผิดเกี่ยวกับการจ้างงานแรงงานต่างด้าว ไม่ว่าจะทำผิดต่อแรงงานต่างด้าวกี่คนจะรับรวมเป็นกรณีเดียว แต่ พ.ร.ก. ฉบับนี้ จะปรับนายจ้างแยกตามจำนวนแรงงานต่างด้าวรายคน ทำให้โทษสูงขึ้น
      เช่น นายจ้างที่จ้างต่างด้าวทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ หรือรับต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานกับตนเข้าทำงาน มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000 - 800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หรือนายจ้างให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 400,000 บาท ต่อต่างด้าว 1 คน เป็นต้น
    นายอดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวว่าพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาแรงงานต่างด้าว ไม่ว่าจะเป็นพม่า หรือกัมพูชา เริ่มทยอยกลับบ้านของตนเองมากขึ้น ซึ่งตั้งแต่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก. มีแรงงานพม่าเดินทางกลับบ้านวันละ 2,000 คน ขณะที่กัมพูชา จากเดิมมาทำงานในไทย ประมาณ 4 คันรถ ก็กลายเป็นจำนวนลดน้อยลง แต่เดินทางกลับไปกัมพูชาประมาณ 15 คันรถ หากเกิดภาวะการไหลออกของแรงงานต่างด้าวมากขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการผลิต อุตสาหกรรม และการขาดแคลนแรงงานระดับล่างของประเทศอย่างแน่นอน
   “สิ่งที่แรงงานต่างด้าว และนายจ้างเห็นจากพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว คือ การปรับโทษให้รุนแรงมากขึ้น ตามความเชื่อของรัฐที่มองว่าหากมีบทลงโทษรุนแรง จะทำให้นายจ้างเกรงกลัว แต่ในความเป็นจริงยิ่งส่งผลให้ช่องทางลัด การกระทำที่ไม่ถูกต้องมากขึ้น เช่น การแอบเอาแรงงานต่างด้าวเข้ามา การจ่ายส่วย เป็นต้น เพราะเมื่อต้องจ่ายค่าปรับแพงมากขึ้น การจ้างหรือการทำให้มันไม่ถูกต้องเป็นทางออกที่ดี ดังนั้น ตอนนี้เกิดความหวั่นวิตกของนายจ้างแรงงาน และแรงงานต่างด้าวจากการประคอมของภาครัฐที่พูดแต่เรื่องบทลงโทษ อยากให้ทบทวนการออกกฎหมายดังกล่าว การมีบทลงโทษรุนแรงเป็นทางช่วยแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวจริงหรือไม่”
   ผู้ประสานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวว่า อยากทราบว่า “มีความจำเป็นที่ต้องออกพ.ร.ก. ซึ่งถือเป็นกฎหมายเร่งด่วนที่ต้องแก้ปัญหาเรื่องนี้ หรือควรทบทวน ออกเป็นบทเฉพาะกาล หรือกลับไปทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นให้รอบด้าน ถามผู้ที่ได้รับผลกระทบ นายจ้าง แรงงานต่างด้าว… แล้วค่อยออกกฎหมายหรือมองหาแนวทางที่เหมาะสมว่าควรจะทำอย่างไร”
    นายอดิศร กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน มีการแรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมาย ประมาณ 2 ล้านคน และไม่ถูกกฎหมาย ประมาณ 1 ล้านคน ตอนนี้อยากให้มาดูในเรื่องของการจ้างงานที่ถูกกฎหมาย การลงนามความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศต่างๆว่าการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาในไทยนั้น สามารถดำเนินการให้ถูกต้องได้อย่างไร น่าจะดีกว่ามีบทลงโทษที่รุนแรงจนเกิดกระแสต่อต้าน เกิดผลกระทบต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น แรงงานต่างด้าวเริ่มออกจากประเทศไทย มีผลต่อฐานการผลิตทั่วไป โรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมการเกษตร การประมง ก่อสร้าง และงานรับใช้ในบ้าน เป็นต้น
   “พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดี คือ เป็นการวางแผนจัดการระยะยาว มีการคุ้มครองแรงงานมากขึ้น แต่ตอนนี้ที่ทุกคนล้วนมองแต่ข้อเสีย ฉะนั้น หลังจากนี้ ในกลุ่มของผมจะยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี 4 ประเด็น ดังต่อไปนี้ 1. การออกพ.ร.ก. ฉบับกล่าว มีความจำเป็นที่ต้องประกาศเป็น พ.ร.ก.หรือไม่ 2.บทลงโทษที่รุนแรงมากขึ้น อยากให้มีการรับฟังความคิดเห็นรอบด้านไม่ใช่ความเห็นจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว 3. เสนอให้มีการยุติกระบวนการในการจับกุมแรงงานต่างด้าวชั่วคราว เพื่อให้นายจ้างและแรงงานได้เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ให้รับความคิดเห็นชัดเจน ไม่กระทบต่อ การจ้างแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ และ4. มีมาตรการในการคุ้มครอง เพราะพ.ร.ก.ดังกล่าว ส่งผลให้นายจ้างหลายคน ต้องมีการเลิกจ้างแรงงาน ทำให้ต้องมีแนวทางในการจัดการค่าจ้างคงค้างต่างๆ คาดว่าจะยื่นจดหมายเปิดผนึกได้เร็วๆ นี้”  นายอดิศร กล่าว 
http://www.komchadluek.net/news/edu-health/285385