PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ศาลฎีกานัดพิพากษา "สมชาย –บิ๊กจิ๋ว-พัชรวาท คดีสลายม็อบ พธม. เช้า 2 ส.ค.นี้

ศาลฎีกานักการเมือง นัดพิพากษาคดี ป.ป.ช.ฟ้อง "อดีตนายกฯ สมชาย –บิ๊กจิ๋ว-พัชรวาท อดีต 

ผบ.ตร.-พล.ต.ท.สุชาติ อดีต ผบช.น." คดีสลายม็อบ พธม. เช้า 2 ส.ค.นี้

            30 มิ.ย. 60 ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ 
นายธนสิทธิ์ นิลกำแหง ประธานแผนกคดีเลือกตั้ง เจ้าของสำนวนคดีสลายการชุมนุมของกลุ่ม
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และผู้พิพากษาองค์คณะรวม 9 คน ได้นัดไต่สวน
พยานจำเลยนัดสุดท้าย คดีหมายเลขดำ อม.2/2558 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี , 
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. 
และพล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. เป็นจำเลยที่ 1-4  ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนัก
งานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหาย
แก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบ
ปรามการทุจริต พ.ศ.2542 กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 295 และ 
302 จากกรณีเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 รัฐบาลนายสมชายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจขอคืนพื้นที่การชุม
นุมจากกลุ่ม พธม.ที่ปิดล้อมทางเข้ารัฐสภา ซึ่งภายหลังมีการสลายการชุมนุมโดยมิชอบ ไม่
เป็นไปตามหลักสากล กระทั่งมีผู้เสียชีวิต 2 ราย และผู้บาดเจ็บ 471 ราย
            โดยวันนี้ นายสมชาย อดีตนายกฯ จำเลยที่ 1 , พล.ต.อ.พัชรวาท อดีต ผบ.ตร. จำ
เลยที่ 2  และพล.ต.ท.สุชาติ อดีตผบช.น. จำเลยที่ 3 เดินทางมาฟังการพิจารณา ขาดเพียง 
พล.ต.อ.ชวลิต จำเลยที่ 2 ที่มีอาการป่วยไม่ได้เดินทางมาศาล ซึ่งศาลอนุญาตให้ไต่สวนลับ
หลังจำเลยได้  
            ขณะที่ทนายความ ได้นำพยานจำเลยขึ้นเบิกความรวม 5 ปาก โดยพยาน 3 ปาก คือ 
พล.ต.ต.โกสินธ์ บุญสร้าง รอง ผบช.ตชด. (ตำแหน่งขณะเกิดเหตุปี 2551) , พ.ต.อ.นพศิลป์ 
พูลสวัสดิ์ หัวหน้าชุดหาข่าวกลุ่มผู้ชุมนุม (ตำแหน่งขณะเกิดเหตุปี 2551) และ พ.ต.อ.สมชาย 
เชยกลิ่น ผกก.สน.ดุสิต (ตำแหน่งขณะเกิดเหตุปี 2551) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในวันเกิดเหตุ ได้เบิก
ความถึงสถานการณ์เมื่อวันที่ 6-7 ต.ค.51 สรุปว่า กลุ่มผู้ชุมนุมต้องการเดินทางจากรัฐสภากลับ
ไปทำเนียบรัฐบาล โดยแกนนำได้เจรจาขอเดินผ่านหน้า บช.น. แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แนะนำ
ให้ไปอีกทาง เพราะกลัวกระทบกระทั่งกันทั้ง 2 ฝ่ายและเข้ามายึด บช.น. แต่ผู้ชุมนุมไม่ยอมและ
พยายามผลักดัน รื้อลวดหนามผ่านเข้าไป โดยตำรวจไม่ได้ทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุม ขณะที่ผู้ชุมนุม
ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย บางรายมีย่าม แต่ไม่ได้สังเกตว่า มีอาวุธหรือไม่ เนื่องจากช่วงเวลานั้นไม่มี
แสงสว่างเพียงพอ ซึ่งหลังเหตุการณ์สิ้นสุดลงได้ทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชา โดยไม่ปรากฏว่า 
มีเจ้าหน้าที่พบวัตถุระเบิดหรือเจ้าเหน้าที่บาดเจ็บจากการถูกวัตถุระเบิด แต่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ
บาดเจ็บจากกการถูกยิงด้วยอาวุธปืน  
            ส่วนพยานอีก 2 ปาก คือ พล.ต.ต.ภูวดล วุฑฒกนก ผบก.กองพลาธิการและสรรพาวุธ 
และ พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ ชาติเชื้อ สารวัตรงานคลังอาวุธและวัตถุระเบิด (ตำแหน่งขณะเกิดเหตุปี 2551) เบิกความถึงการใช้แก๊สน้ำตาสรุปว่า วันดังกล่าวไม่มีการสลายการชุมนุม แต่เป็นการป้องกันที่ตั้งสถานที่ราชการ 
โดยยอมรับว่า มีการใช้แก๊สน้ำตาที่ผลิตจากจีนเมื่อปี 2538 แต่ไม่มีผลรุนแรง เนื่องจากเป็นแก๊ส
น้ำตาที่หมดอายุ และแก๊สน้ำตาที่ผลิตจากจีนมีปริมาณดินระเบิด 7 กรัม เพื่อจุดระเบิด แต่ไม่
สามารถทำให้ถึงตายได้ ส่วนกรณีที่ยิงไปถูกจุดสำคัญของตัวบุคคลแล้วระเบิดก็อาจเกิดการฉีก
ขาดได้ แต่โอกาสเกิดน้อยมากเพียง 1 ใน 10,000 เท่านั้น
            ภายหลังไต่สวนพยานเสร็จสิ้น นายสมชาย อดีตนายกฯ จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำแถลง
ปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษรความยาว 20 หน้าพร้อมกับแถลงปิดคดีด้วยวาจาต่อศาล ระบุว่า 
คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีหน้าที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายใน 15 วันหลังได้รับการโปรดเกล้า 
โดยประธานรัฐสภาได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายในวันที่ 7 ต.ค.51 แต่ช่วงค่ำวันที่ 
6 ต.ค.51 ผู้ชุมนุมได้เริ่มเคลื่อนตัวมาปิดล้อมรัฐสภา มีจุดประสงค์ไม่ให้รัฐบาลแถลงนโยบาย 
ตนเห็นว่า เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ หากถูกขัดขวางคณะรัฐมนตรีก็ไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้า
ที่ได้ ซึ่งศาลปกครองเคยวินิจฉัยว่า การชุมนุมดังกล่าว ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ 
ที่โจทก์กล่าวหาว่า ตนกระทำผิดมาตรา 157 โดยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ตามที่ถูกกล่าวหา ซึ่งตนไม่ได้กระทำการอันใดที่มีเจตนาให้เกิดความเสียหายกับผู้ชุมนุม และ
จากการไต่สวนก็ไม่ปรากฏว่า โจทก์มีพยานใดชี้ว่า ตนกระทำการโดยมีเจตนาให้เกิดความบาด
เจ็บเสียหายกับผู้ชุมนุม
            นายสมชาย เเถลงต่อว่า ในวันที่ 6 ต.ค.51 ตนคาดหมายแล้วว่า หากมีการเเถลงนโยบาย
อาจการเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมจะเกิดความไม่สงบได้ จึงคิดว่า จะต้องมีการเปลี่ยนสถานที่หรือเลื่อน
การแถลงนโยบายออกไป  จึงให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีประสานไปยังประธานรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้
มีอำนาจสั่งการ ก็ได้รับคำตอบว่า ไม่สามารถทำได้ทั้งสองอย่าง เพราะล่วงเลยเวลาดำเนินการ
เเละขัดข้อบังคับของสภา ตนจึงเชิญ ครม. และพล.อ.ชวลิต ในฐานะนายกรัฐมนตรี มาประชุม
ปรึกษาหาทางออก  ขณะที่มี พล.ต.อ.พัชรวาท จำเลยที่ 3 และ พล.ต.ท.สุชาติ จำเลยที่ 4 ซึ่ง
เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดูแลสถานการณ์เพื่อรายงานครม.  โดยตนก็ไม่ได้สั่งการใดๆ เพิ่มเติม
 เนื่องจากเห็นว่า เป็นหน้าที่โดยตรงของตำรวจ เเละขณะนั้นไม่มีใครเสนอเรื่องการสลายการชุมนุม เเละไม่มีการสลายการชุมนุมเเต่อย่างใด โดยเมื่อ ครม. ทราบมีคำสั่งของประธานสภา จึงต้องมีการเตรียมความ
พร้อมในการเเถลงนโยบาย หากไม่สามารถเข้าไปในรัฐสภาได้ก็จะให้ฟังคำสั่งประธานสภาอีกครั้ง 
 และ ครม. มีมติให้พล.อ.ชวลิต จำเลยที่ 2 ประสานงานร่วมเพื่อให้คำปรึกษาแก้ปัญหาให้เกิด
ความเรียบร้อย โดยเรื่องดังกล่าวนั้นเป็นผลการประชุมร่วมเเละเป็นมติ ครม.ไม่ใช่คำสั่งของตน  
ในวันรุ่งขึ้นมีการประชุมตามนัดหมาย หลังตนแถลงนโยบายเสร็จมีการติดต่อให้ตนรีบออกจาก
รัฐสภา เพราะเกรงว่า จะไม่ปลอดภัย ตำรวจได้เจรจาผู้ชุมนุมขอให้เปิดทาง และแจ้งกับตนว่า 
หากไม่เปิดทางมีความจำเป็นต้องใช้แก๊สน้ำตา ซึ่งตนก็ได้ห้ามไว้ เพราะกลัวเกิดความโกลาหล
วุ่นวาย เเละเหตุการณ์บานปลาย พร้อมทั้งขอให้แก้ปัญหาด้วยความละมุนละม่อม ซึ่งทาง ผบ.ชน. 
ก็ได้เเจ้งว่า มีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตามขั้นตอนอยู่เเล้ว เเต่ถ้าไม่ใช้เเก๊สน้ำตาก็จะต้องใช้วิธีปีน
กำเเพงที่มีความสูงพอสมควรออกไป ซึ่งหลังการเจรจาไม่เป็นผล ตนก็ตัดสินใจที่จะต้องปีน
กำแพงออกไปฝั่งพระที่นั่งวิมานเมฆ ทั้งที่ตนมีสิทธิเสรีภาพของตนเช่นคนอื่น
            นายสมชาย กล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ดังกล่าวก็เเสดงให้เห็นว่า ตนมิได้มีเจตนาให้เกิด
ความเสียหาย ซึ่งหลังจากตนออกจากรัฐสภาแล้ว  คิดว่า ทุกอย่างจะคงจบ เพราะตนแถลงนโย
บายเสร็จ และออกจากรัฐสภาเดินทางไปที่กองบัญชาการกองทัพไทย โดยในช่วงที่เกิดเหตุตน
ไม่ได้อยู่ในสถานที่ดังกล่าว และไม่ได้รับรายงานเหตุรุนแรง เพราะเป็นหน้าที่โดยตรงเฉพาะหน้า
ของตำรวจ ไม่ใช่หน้าที่นายกฯ และที่ตำรวจไม่รายงานเข้ามาก็เป็นเรื่องปกติ ซึ่งคำพิพากษาศาล
ฎีกาเคยระบุว่า ผู้กระทำผิดตามมาตรา 157 ต้องเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรง ตน
ไม่ได้เกี่ยวข้อง เพราะเป็นอำนาจของตำรวจ ส่วนที่กล่าวหาว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทำให้มี
ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บนั้น พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี หรือสารวัตรจ๊าบ ผู้เสียชีวิตคนแรกขับรถบรร
ทุกระเบิดเข้ามาด้วยตัวเองและเกิดระเบิดขึ้น ส่วน น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือน้องโบว์ 
 เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งตำรวจบอกว่า มีสารซีโฟร์ไม่ใช่แก๊สน้ำตา จึงไม่มีความเกี่ยว
ข้องกับตน
            นายสมชาย กล่าวทิ้งท้ายว่า ที่ผ่านมาตนได้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รับราชการ
มาหลายปี เป็นทั้งฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ  ไม่เคยมุ่งร้ายให้ใครเดือดร้อน  
มีแต่ทำงานด้วยความประนีประนอม มีหน้าที่ดูแลประชาชนไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน และไม่ได้
เลือกปฏิบัติ จึงขอได้โปรดพิจารณาให้ความเป็นธรรมด้วย
            ภายหลังนายสมชาย อดีตนายกฯ แถลงปิดคดีเสร็จสิ้น ศาลได้กำหนดให้ พล.อ.ชวลิต 
รองนายกฯ , พล.ต.อ.พัชรวาท อดีต ผบ.ตร. และพล.ต.ท.สุชาติ อดีต ผบช.น.จำเลยที่ 2-4 ยื่น
คำแถลงปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันที่ ‪20 ก.ค.นี้ หากไม่ยื่นตามกำหนดถือว่าไม่ติดใจ
            โดยศาลกำหนดฟังคำพิพากษา‪ในวันที่ 2 ส.ค.นี้ ‪เวลา 09.30 น. ซึ่งศาลกำชับให้ 
พล.อ.ชวลิต จำเลยที่ 2 มาฟังคำพิพากษาตามนัด ทั้งนี้ศาลยังชี้แจงด้วย การนัดฟังคำตัดสินเกิน 
7 วัน เนื่องจากมีพยานและเอกสารจำนวนมากที่ต้องพิจารณา

            ต่อมานายสมชาย อดีตนายกฯ จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า คดีก็เป็นการต่อ
สู้ตามขั้นตอนปกติ เพราะเชื่อมั่นว่า ตนไม่ผิด ส่วนการสืบพยานดำเนินไปอย่างเรียบร้อย เพราะ
ทีมกฎหมายทำงานเต็มที่ ท้ายสุดการวินิจฉัยเป็นอำนาจของศาล อย่างไรก็ตามยืนยันว่า กระบวน
การดำเนินไปตามปกติ ไม่มีวิธีใดแตกต่างจากคดีอื่นเป็นพิเศษ ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายตนแสดง
ความบริสุทธิ์ตามพยานหลักฐาน โดยตนเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม

.

ไม่มีความคิดเห็น: