PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562

สมชัย ร่ายกลอน ถึง กกต.หลังถึงทางตัน

2เม.ย.2562-นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตผู้สมัครส.ส.สมุทรสาคร พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)โพสข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Somchai Srisutthiyakorn ภายหลังกกต.มีมติส่งเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเพื่อจัดสรรจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองจะพึงมีได้ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ว่า 
เมื่อนั้น
ท้าวมาลีวราชรังสรรค์
ได้ฟังพระองค์วงศ์เทวัญ
ทรงธรรม์นิ่งนึกตรึกไป
อันว่ากติกาบ้านเมือง
แค้นเคืองขัดข้องเขียนไว้
ตีความแตกต่างสองนัย
เรื่องใหญ่ให้ใครถกกัน
หากหมายแบ่งให้พรรคเล็ก
เด็กๆจะได้สังสรรค์
สิบเอ็ดพรรคแบ่งตำแหน่งกัน
สุขสันต์ร่วมรถบทจร
แต่ความอาจถึงรามลักษณ์
ทศพักตร์จักกลุ้มรุ่มร้อน
พรรคใหญ่ให้คิดอุทธรณ์
แบ่งก้อนเค้กไรไม่เป็นธรรม์
เรื่องนี้ใช่เรื่องขี้หมูขี้หมา
แม้แวดวงศ์เทวาอาจอาสัญ
เผือกร้อนซ่อนไว้ให้รู้ทัน
ฉับพลันท้าวมีบัญชา
เมื่อเจ้าอาสาทำหน้าที่
ชั่วดีแบกรับกับหน้า
บางอย่างอาจขัดใจชาวพารา
ก้มหน้าก้มตารับไป
เป็นหลักเป็นกลางไม่ข้างถู
กฎหมายมีอยู่ให้รีบใช้
สื่อสารชาวบ้านบ้างปะไร
สงสัยเรื่องไหนให้จำนรรจา
เปิดเผยโปร่งใสใจต้องนิ่ง
สรรพสิ่งกดดันติดข้างฝา
ยึดหลักประโยชน์ปวงประชา
ใครจะมาทายท้าจักปราชัย
เมื่อนั้น
ท้าวมาลีวราชผู้เป็นใหญ่
พินิจนี้คดีไม่รับตีกลับไป
เรื่องอะไรถึงมาถามยามวันหยุดเอย

ถึงทางตัน!ประธานกกต.รับต้องส่งศาลรธน.วินิจฉัยสูตรคำนวณสส.ปาร์ตี้ลิสต์เหตุตัวบทกฎหมายขัดกัน


ถึงทางตัน!ประธานกกต.รับต้องส่งศาลรธน.วินิจฉัยสูตรคำนวณสส.ปาร์ตี้ลิสต์เหตุตัวบทกฎหมายขัดกัน

12เม.ย.62-นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)   ให้สัมภาษณ์ว่า เหตุที่  กกต. ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวิธีคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 ซึ่งเป็นวิธีที่ สำนักงานกกต.คำนวณ และสอดคล้องกับวิธีที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สามารถจัดสรร ส.ส.บัญชีรายชื่อพึงมีได้ครบ 150  คน  แต่การอาจไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 91 (4) ที่กำหนดหลักการจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจะเกินกว่าที่พึงมีไม่ได้   โดยการจัดสรรในจำนวนที่ต่ำกว่า 0 อาจถือได้ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
"และวิธีการคำนวณตามาตรา 128 ของกฎหมายลูกว่าด้วย ส.ส.จำเป็นต้องหาข้อยุติให้ชัดเจน แม้ว่าวิธีการคำนวณตามมาตรา 128 ของกฎหมายลูกว่าด้วย ส.ส. จะจัดสรรได้ครบ 150 คน แต่อาจติดขัดต่อประเด็นว่าการจัดสรรนี้ จะทำให้พรรคการเมืองบางพรรคได้ ส.ส.เกินพึงมีหรือไม่"  
นายอิทธิพร  ยืนยันว่า การส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นวิธีดำเนินการเหมาะสม  และจะไม่ส่งผลกระทบต่อการประกาศรับรอง ส.ส. ร้อยละ 95 ตามที่กฎหมายกำหนด  แต่จะไม่ขอก้าวล่วงอำนาจวินิจฉัยของศาลว่าจะวินิจฉัยแล้วเสร็จก่อนวันที่ 9 พฤษภาคมนี้ หรือไม่ ตามกรอบกำหนดวันประกาศรับรอง ส.ส.
ประธาน กกต. ระบุถึงกรณีที่สำนักงาน กกต.เปิดเผยว่าจะมีอย่างน้อย 25 พรรคการเมืองได้รับการจัดสรรว่าเป็นวิธีการคำนวณเบื้องต้น ตามที่ปรากฏในรับธรรมนูญซึ่งเป็นวิธีที่กรรมการร่างรับธรรมนูญเสนอไว้และมากำหนดเป็นมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ  และมาตรา 128 ของพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. ซึ่งในมาตรา 91 วรรค 3 กำหนดว่าหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณคิดอัตราส่วนให้เป็นไปตามพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. และการคำนวณของสำนักงานก่อนหน้านี้เป็นการคำนวณจากคะแนนเบื้องต้นที่มีอยู่ของแต่ละพรรคการเมือง ไม่ใช่คะแนนสุดท้าย ทั้งนี้นอกจากวิธีการที่สำนักงานคำนวณมา รวมถึงวิธีการอื่นก็อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่
นายอิทธิพร กล่าวด้วยว่า หากคำนวณตามวิธีการของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 128  ของพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ซึ่งจะทำให้จัดสรรส.ส.บัญชีรายชื่อได้ครบ 150 คน เพราะนำเศษทศนิยมมาคิด ทั้งนี้ทราบมาว่าในการคำนวณส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของกรธ.นั้น ได้วางหลักคิดคำนวณไว้ส.ส.บัญชีรายชื่อไว้ก่อน และเมื่อหารือกันแล้วเห็นพ้องกันว่าหลักคิดคำนวณดังกล่าวเป็นวิธีการคำนวณส.ส.พึงมี จึงนำไปเขียนให้เป็นมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ  เพราะฉะนั้นวิธีการคำนวณที่กรธ.คุยกันจึงเป็นที่มาของมาตรา 91  ไม่ใช่มีการบัญญัติมาตรา 91 ก่อนและค่อยหาวิธีคำนวณ โดยในการร่างมาตรา 91 นั้น เหตุที่วิธีการคำนวณมีความยาวกรธ.จึงนำไปใส่ไว้ในกฎหมายลูกแทน
 “ยังมีข้อถกเถียงกันถึงเลขทศนิยม ที่น้อยกว่า 1 เช่น 0.8 จะถือว่าเกินกว่าจำนวนส.ส.ที่พึงมีหรือไม่  เพราะศูนย์อยู่ข้างหน้า ผู้รู้คณิตศาสตร์บอกว่าเลขศูนย์ก็เป็นเลขที่นำมาคำนวณได้ แล้วอยู่ๆจะไปตัดทิ้ง  ทั้งนี้การคำนวณมาตรา 91 ในครั้งนั้นไม่มีใครคิดว่าจะมีพรรคใดได้จำนวนส.ส.มากกว่าจำนวนส.ส.พึงมี ซึ่งวิธีการนี้ก็มีวิธีติดไว้ข้างฝานานแล้ว”ประธาน กกต.ระบุ
 ผู้สื่อข่าวถามว่าเหตุใดถึงไม่สามารถคำนวณตามเจตนารมณ์ได้อย่างเดียว ประธานกกต. กล่าวว่า เมื่อนำ 2 มาตรามาพิจารณา ซึ่งความจริงแล้ว มาตรา 128 ของพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. มีที่มาจากมาตรา 91 แห่งรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อมาตรา 91 อนุ 4 ตัวอักษรเขียนไว้เช่นนี้ ปัญหาเกิดขึ้นว่าจะต้องยึดสิ่งใด  ซึ่งกกต.คงต้องถือตัวอักษรที่ระบุในกฎหมาย ส่วนการตีความตามเจตนารมณ์เป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา ดังนั้นเมื่อตัวอักษรเขียนแบบนี้คงถึงทางตันที่ไม่สามารถตัดสินในเรื่องนี้เองได้จึงต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญช่วยวินิฉัย เพราะเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ ซึ่งการที่กกต.จะประกาศผลนั้นจะต้องมีความมั่นใจในเรื่องนี้ว่าสิ่งที่เราจะดำเนินการขัดหรือไม่