PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ขุดสาแหรก “พงศ์เทพ” เจ้าของไอเดีย “ยุบโรงเรียน” ส่งลูกเรียนอินเตอร์ปีละ 2 ล้าน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 พฤษภาคม 2556 14:26 น.

“สำนักข่าวอิศรา” เผย รมว.ศึกษาธิการ เจ้าของไอเดียยุบโรงเรียนขนาดเล็กตามชนบทโดยอ้างไร้คุณภาพ พบบ้านรวยสองพันล้าน ส่งลูกเข้า “บางกอกพัฒนา” โรงเรียนนานาชาติชื่อดัง ค่าเทอมสี่แสน
เรียนสามเทอมต่อปี ตกปีละล้านสอง สองคนสองล้านสี่ ขณะที่เสียงวิจารณ์โลกออนไลน์ไม่เห็นด้วยกระหึ่ม
     
       หลังจากที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ และ รมว.ศึกษาธิการ ออกมาเปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษานำไปดำเนินการ ถ้าโรงเรียนขนาดเล็กแห่งใดอยู่ในข่ายไม่จำเป็นต้องคงอยู่ก็ให้ยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กแห่งนั้น โดยเป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน เป็นโรงเรียนที่ด้อยคุณภาพ และมีโรงเรียนใกล้เคียงที่มีคุณภาพรองรับ ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง พร้อมตั้งคำถามว่านายพงศ์เทพ รวมทั้งบรรดารัฐมนตรีมีบุตรหลานเรียนที่ไหน
     
       วันนี้ (9 พ.ค.) สำนักข่าวอิศราได้สืบค้นข้อมูลนายพงศ์เทพ พบว่า นายพงศ์เทพยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ระบุว่ามีบุตรในสมรส 4 คน ประกอบด้วย บุตรสาวคนโต ชื่อ น.ส.ญาภา เทพกาญจนา อายุ 24 ปี ศึกษาที่ FERNOD RICARD HONGKONG COMPANY คนที่ 2 ชื่อ น.ส.พิริยา เทพกาญจนา อายุ 21 ปี ศึกษาที่มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ส่วนคนที่ 3 เป็นบุตรสาว อายุ 17 ปี ศึกษาที่โรงเรียนบางกอกพัฒนา และคนที่ 4 เป็นเด็กหญิง อายุ 12 ปี เรียนอยู่ที่โรงเรียนบางกอกพัฒนา
     
       ทั้งนี้ โรงเรียนบางกอกพัฒนา ที่บุตรสาวทั้งสองของนายพงศ์เทพกำลังศึกษาอยู่ เป็นโรงเรียนนานาชาติ ที่อยู่เลขที่ 643 สุขุมวิท 105 แขวงบางนา เขตบางนา กทม. เปิดสอนตั้งแต่อนุบาล-ปี 13 มี
ผู้ให้ข้อมูลในกระทู้ว่าโรงเรียนดังกล่าวค่าเทอมละประมาณ 400,000 บาท (1 ปีมี 3 เทอม)
     
       ในส่วนของนายพงศ์เทพเกิดจังหวัดสมุทรสาคร บิดาคือนายสุรินทร์ เทพกาญจนา อดีต รมว.อุตสาหกรรม และ ส.ส.สมุทรสาคร สังกัดพรรคกิจสังคม มารดาคือนางวรารัตน์ เทพกาญจนา อยู่บ้านเลขที่ 1000 ต.วิเชียรโชฎก ต.มหาชัย อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 35 (เพื่อนร่วมรุ่น นางปรางทิพย์ นพรัมภา ภรรยานายธีรพล นพรัมภา
เลขาธิการนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช)
     
       ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิต (สอบได้อันดับที่ 2 ของรุ่นที่ 34) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และปริญญาโท Master of
Comparative Law จากมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ภรรยาชื่อ นางพนิดา เทพกาญจนา (วัธนเวคิน) เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งสองคนแจ้ง ป.ป.ช.มีทรัพย์สินรวมกัน 2,921,347,996 บาท ไม่มี
หนี้สิน
     
       นายพงศ์เทพกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยเฉพาะทางสังคมออนไลน์กรณีมีนโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนน้อยมากและที่ด้อยคุณภาพ ปัจจุบันโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อย
กว่า 120 คน มีทั้งหมด 14,816 โรง น้อยกว่า 60 คน มีทั้งหมด 5,962 โรง แยกเป็นโรงเรียน ขนาดไม่เกิน 20 คน 709 โรง จำนวนนักเรียนไม่เกิน 21-40 คน 2,090 โรง และ จำนวนนักเรียนไม่เกิน 41-60
คน 3,163 โรง โรงเรียนที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) มีเป้าหมายยุบรวมเป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน ซึ่งคนจำนวนไม่น้อย แสดงความไม่เห็นด้วยกับนโยบายดัง
กล่าว
     

อำนาจหน้าที่ศาลฎีกา


           ศาลฎีกาเป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ภายใต้เงื่อนไขของ
กฎหมายว่าด้วยการฎีกา  และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายเฉพาะ  เช่น
คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น  และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นที่สุด (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓)

              ศาลฎีกามีเพียงศาลเดียวตั้งอยู่ ณ อาคารเลขที่ ๖ ถนนราชดำเนินใน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย ๓ คน
(พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๗) แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ  เมื่อประธานศาลฎีกาเห็นว่าควรให้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ หรือเมื่อเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะว่าให้คดีเรื่องใดวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๐ วรรคสอง) ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด

              ศาลฎีกามีแผนกคดีพิเศษทั้งสิ้น ๑๑ แผนก เพื่อประโยชน์ในด้านการวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่อาศัยความชำนาญพิเศษ โดยประธานศาลฎีกาแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกามาประจำแผนก ๆ ละประมาณ ๑๐ คน  แผนกคดีพิเศษในศาลฎีกาประกอบด้วยแผนกคดีที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ๑๐ แผนก ได้แก่

              ๑) แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว

              ๒) แผนกคดีแรงงาน

              ๓) แผนกคดีภาษีอากร

              ๔) แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

              ๕) แผนกคดีล้มละลาย

              ๖)  แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

              ๗) แผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจ

              ๘) แผนกคดีสิ่งแวดล้อม

              ๙) แผนกคดีผู้บริโภค

              ๑๐) แผนกคดีเลือกตั้ง

              และแผนกคดีที่ศาลฎีกาแบ่งเป็นการภายใน ๑ แผนกคือ

              ๑๑) แผนกคดีปกครอง (ภายใน)

              นอกจากผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีแล้ว ศาลฎีกามีกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและค้นคว้าปัญหาข้อกฎหมาย ตลอดจนช่วยตรวจและแก้ไขปรับปรุงร่างคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อเป็นหลักประกันในด้านความถูกต้องความรวดเร็ว และความเป็นธรรมแก่ประชาชน

              นอกจากอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต่าง ๆ คือ

              ๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๕๕ บัญญัติให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีหน้าที่คัดเลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน ๕ คน ไปเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

              ๒) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๓๘ (๒) บัญญัติให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีหน้าที่สรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๕ คน เสนอต่อ
ประธานวุฒิสภา เพื่อเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้งต่อไป

              ๓) พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๕ (๑) บัญญัติให้ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีหน้าที่คัดเลือกผู้มีความรู้ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม จำนวน ๑ คน ไปเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล

              ๔) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาไว้รวม ๒ กรณี

              กรณีแรก  เป็นกรณีตามมาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้วินิจฉัยว่ามีสิทธิรับเลือกตั้งหรือไม่  และศาลฎีกาต้องพิจารณาและมีคำวินิจฉัยให้แล้วเสร็จก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน เมื่อศาลฎีกามีคำวินิจฉัยเช่นใด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลฎีกาโดยเร็ว

              กรณีที่สอง  เป็นกรณีตามมาตรา ๓๔/๑ วรรคหนึ่ง ก่อนวันเลือกตั้งถ้าปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดำเนินการสอบสวนโดยเร็ว ถ้าเห็นว่าผู้สมัครผู้นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น ซึ่งในกรณีที่สองนี้หากถึงวันเลือกตั้ง ถ้าปรากฏว่าไม่มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาตามวรรคหนึ่งหรือมีการยื่นคำร้องแล้ว แต่ศาลฎีกายังไม่มีคำวินิจฉัย ให้การพิจารณาเป็นอันยุติและให้ดำเนินการเลือกตั้งไปตามประกาศการรับสมัครที่มีผลอยู่ในวันเลือกตั้ง

              สำหรับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกานั้น จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๗๒ วรรคสองและวรรคสาม, มาตรา
๓๐๘ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งกรณีบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย

              องค์คณะผู้พิพากษาในแผนกนี้ประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน ๙ คน ที่คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ขึ้นนั่งพิจารณาคดีเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น แต่การพิจารณาคดีจะแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปเนื่องจากเป็นระบบไต่สวน ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ตามวิธีพิจารณาคดีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒