PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

สิ่งดี อันงดงาม

สิ่งดีๆมีอยู่รอบตัว คิดดี ทำดี จะได้พบเจอแต่สิ่งดี

ความงดงามของโลก_

เมื่อเธอเป็นสมาชิกของโลกใบนี้เธอจงช่วยดูแลเป็นหูเป็นตา_เป็นธุระ

อย่าบอกว่าเธอไม่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ธุระ หากพบเห็น"ความผิดปกติ"ใดเกิดขึ้นะทำท่าจะเป็นภัยต่อ สังคมโลกใยนี้ เพราะยังไรเสีย เธอก็เป็นผู้ที่จะได้รับผลของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกนี้

สิ่งต่างๆ รวมไปถึงเรื่องราวความเป็นไปของ มนุษย์โลก ด้วย ก็เป็นสิ่งที่เธอจะช่วยกันดูแล ไม่ให้เกิดความผิดทางศีลธรรม การเห็นแก่ตัว การเบีดเบียน เบียดบัง ผลประโยชน์ ส่วนรวม มาเป็นส่วนตน

หากโลกปราศจากการแก่งแย่งช่วงชิงกัน สังคมทุกสังคมโลกมีแต่การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่มีใคร ทำร้าย เอารัดเอาเปรียบกัน

จากภายนอกสู่ภายใน สังคมโลก สู่ประเทศ สู่สังคมชุมชน สู่ครอบครัว พ่อ แม่ ลูก

จากมนุษย์ สู่ สรรพสัตว์ สิ่งมีชีวิตบนโลก ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ลำธาร สายลม แสงแดด ขุนเขา พืชพันธุ์ สัตว์ป่า

หากทุกคน ทุกสรรพชีวิต มีความเข้าใจในตรรกะ อยู่ในวัตรปฏิบัติ ซึ่งความพอเพียง พึ่งพาอาศัยและการอยู่ร่วมไม่เบียดเบียนกัน

สันติสุข ความสงบสุข ความยั่งยืนในการดำรงอยู่ร่วมของทุกเผ่าพันธุ์ จะบังเกิดและคงอยู่ยาวนาน

25/3/56

ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ดูภาพโป๊ไม่ผิด


วันที่ 27 มีนาคม 2556 (go6TV) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน ซึ่งมีการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ภายหลังคณะอนุกรรมการตรวจสอบจริยธรรมได้เสนอผลการตรวจสอบเพื่อให้ลงมติเห็นชอบ อาทิ เรื่องร้องเรียนนายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์
ที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ร้องเรียนมีพฤติกรรมขัดต่อประมวลจริยธรรม กรณีดูภาพไม่เหมาะสมในห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ซึ่งคณะอนุกรรมการมีมติเห็นว่าไม่ขัดต่อประมวลจริยธรรม เนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่ได้ตั้งใจและขาดเจตนา โดยที่ประชุมคณะกรรมการจริยธรรมมีมติให้ยกคำร้องเรื่องดังกล่าว เพราะเห็นว่านายณัฏฐ์ไม่มีเจตนาในการกระทำดังกล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติไม่รับคำร้องกรณีที่ให้ตรวจสอบเรื่องนายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ที่ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ ด่าทอ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่อภิปรายพาดพิงนายกรัฐมนตรีเรื่อง ว.5 โฟร์ซีซั่นส์ แม้คณะอนุกรรมการจะเห็นว่าเป็นการกระทำผิดจริยธรรม เนื่องจากเสียงไม่ถึง 3 ใน 5 จึงทำให้ต้องจำหน่ายเรื่องนี้ออกไป

ขณะเดียวกันที่ประชุมมีมติให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมกรณีที่นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย กล่าวหาผู้ว่าฯกทม.เรื่องทุจริตติดตั้งกล้องซีซีทีวีและการติดตั้งกล้องดัมมี่ รวมทั้งให้รับเรื่องร้องเรียนที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ก่อเหตุความวุ่นวายปาแฟ้มเอกสารในที่ประชุมสภา เมื่อครั้งที่มีการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ไว้พิจารณาด้วย


http://www.go6tv.com/2013/03/blog-post_5911.html

การทำข่าว


style guide สำหรับ Collaborative Journalism (การทำข่าวแบบร่วมกันทำ)

โดย Paul Bradshaw

This article is the translation version of A style guide for collaborative journalism: what I’ve learned from the first weeks of Help Me Investigate: Networks. Thanks to useful article from Paul Bradshaw from onlinejournalismblog.com

Paul Bradshaw ได้ดำเนินการทำโปรเจ็ค Help Me Investigate: Networks project เพื่อหาวิธีการืที่จะสร้างความร่วมมือเป็นเครือข่ายระหว่างผู้สื่อข่าว และ community ในการทำข่าวสืบสวนสอบสวน จากโปรเจ็คดังกล่าว สิ่งหนึ่งที่ Paul Bradshaw สรุปออกมาได้คือ "แนวทางการเขียนที่จะดึงดูดให้คนอยากมามีส่วนร่วมกับกระบวนการทำข่าวแบบมีส่วนร่วม" ซึ่งเป็นการเขียนข่าวที่แตกต่างไปจากวิธีดั้งเดิม แต่ใกล้เคียงกับการเขียน blog ที่ดี โดยเขาสรุปไว้ 3 เรื่องหลักๆ ดังนี้

1 เขียน "ข่าวที่สามารถนำไปใช้ได้"

นำเสนอมุมของเรื่องที่ใช้งานได้จริง ถ้าเป็นการโพสต์ link ไปยังบทความที่ต่างๆ ก็ควรมีการดึง quote ข้อเท็จจริงที่มีประโยชน์ออกมาด้วย ถ้าเขียนเรื่องที่เป็นเชิงสืบสวนสอบสวน ก็ควรบอกว่า ขั้นตอน กระบวนการในการทำคืออะไร link ไปยังข้อมูลทั้งหมด แปลเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สิ่งสำคัญก็คือ ทำให้ข้อมูลที่เราเขียนนั้นมีประโยชน์สำหรับคนอ่าน นั่นจะทำให้คนอ่านต่อยอดหรือนำเสนอสิ่งอื่นๆ จากสิ่งที่เราเริ่มกลับมาให้เราได้

2. จบท้ายข้อความที่เขียนด้วยการส่งต่อความคิด / ข้อมูล / ประเด็นที่คนอื่นสามารถนำไปตามต่อได้

ถ้าเป็นเรื่องที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาประเด็น หรือเรื่อง คุณควรร่างคำถามทั้งหมดที่คุณต้องการหาคำตอบไว้ มันจะช่วยให้เราไม่หลงประเด็น และไม่ออกนอกทางที่เราต้องการทำ ถ้าเป็นการเขียนที่ลิ้งไปยังสิ่งอื่นๆ ต้องให้ความสำคัญกับช่องว่างของข้อมูลที่ยังต้องการการค้นคว้าทำเพิ่มเติม ซึ่งนี้จะทำให้สามารถต่อยอดไปสู่เรื่องใหม่ๆ มุมมองอื่นๆ ได้จากสิ่งที่เราเริ่มเขียนในตอนต้น

Paul Bradshaw บอกว่า การเขียนบทความออนไลน์ที่เป็นบทความที่ไม่จบ คือมีสิ่งที่คนอ่านต่อยอดได้ ก็จะเกิดการร่วมกันพัฒนาเรื่อง ทิศทางของเรื่อง และข้อมูลนั้นเพิ่มเติมจากของแต่ละมุมมองได้

3 สร้างสมดุลด้วยการเริ่มจากโพสต์ที่ละน้อยๆ แต่บ่อย เพื่อค่อยๆ พัฒนาให้เข้าสู่เป้าหมายของเรื่องที่วางไว้

ในการเขียนออนไลน์ แทนที่เราจะรอให้บทความ หรือ รายงานสืบสวนของเราเสร็จแบบสมบูรณ์ เราควรค่อยๆ เขียนข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ออกมาและเผยแพร่สู่สาธารณะ ทำแบบนี้จะเพิ่มโอกาสในการที่จะมีคนค้นมาเจอผลงานของเรา และเพิ่มช่องทางที่จะเข้ามาสู่เนื้อหาของเราจากความสนใจในประเด็นที่ต่างกัน และในเวลาที่ต่างกันนั่นเอง

นอกจากนั้น การทำแบบนี้ ยังทำให้เห็นชัดเจนว่า การสืบสวนในประเด็นนั้นๆ กำลังค่อยๆ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง คนอ่านจะรู้สึกอยากติดตาม และอยากช่วยแชร์ข้อมูล และร่วมกันทำข่าวกับเราในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในที่สุด

http://onlinejournalismblog.com/2011/12/13/style-guide-collaborative-journalism/

อุดมการณ์ โจเซฟ พูลิตเซอร์

โจเซฟ พูลิตเซอร์


"ข้าพเจ้าตระหนักดีว่า โพสต์ ดิสแพตช์ จะต้องดำเนินต่อไปตามอุดมการณ์ที่วางไว้ คือจะต่อสู้เพื่อดำรงไว้ซึ่งความดีงามและสนับสนุนให้อยู่แล้วดีเยี่ยมยิ่งๆขึ้นอีก โพสต์ ดิสแพตช์ จะถวายหัวกำจัดการทุจริตคิดมิชอบฉ้อราษฎร์บังหลวงกินโกงจนถึงที่สุดและจะเป็นปากเสียงให้กับความยุติธรรมแก่ประชาชนย่างแท้จริง หนังสือพิมพ์นี้จะไม่ค้อมศรีษะให้พรรคการเมืองใด แต่จะรับใช้สาธารณชนโดยเฉพาะคนยากจน เพื่อความเจริญขอบ้านเมือง อย่างเป็นอิสระและบริสุทธิ์ใจ"

โจเซฟ พูลิตเซอร์
10เม.ย.1907

@@@


"รางวัลพูลิตเซอร์" นับเป็นรางวัลอันทรงเกียรติในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหลาย โดย ผู้ก่อตั้งรางวัลนี้ ก็คือ นายโจเซฟ พูลิตเซอร์ นักหนังสือพิมพ์คนสำคัญ ชาวฮังการี - อเมริกัน อย่างไรก็ตาม การก่อตั้งรางวัลดังกล่าวนั้น ก่อตั้งขึ้นหลังจากที่เขาเสียชีวิต ไปแล้ว คือ เป็นไปตามพินัยกรรมของเขาที่ได้มอบเงินจำนวน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่ ทางมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สำหรับการตั้งรางวัลนี้ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนสำหรับก่อตั้ง สถาบันวิชาการหนังสือพิมพ์ของทางมหาวิทยาลัย ในการมอบรางวัลครั้งนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2460 ก่อนที่จะปรับ เปลี่ยนมาเป็นช่วงเดือนเมษายน อันเป็นเดือนเกิดของนายพูลิตเซอร์ โดยผู้รับรางวัลนอก จากได้เกียรติบัตรแล้วก็ยังได้รับเงินจำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ

             อีกด้วย ปัจจุบัน รางวัลมีทั้งสิ้น 21 ประเภทด้วยกัน เช่น รางวัลข่าวสอบสวนสืบสวน เป็นต้น สำหรับประวัติของนายพูลิตเซอร์นั้น เกิดในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2390 หรือ วันนี้เมื่อ 162 ปีที่แล้ว ที่เมืองมาโก ประเทศฮังการี ก่อนอพยพมายังสหรัฐฯ ตั้งรกราก เมืองเซนต์หลุยส์ และมาทำงานด้านหนังสือพิมพ์จนมีฐานะคนหนึ่ง โดยแนวทางการทำ หนังสือพิมพ์ของเขานั้น เน้นข่าวอื้อฉาวและตื่นเต้นเร้าใจ พูลิตเซอร์เสียชีวิตเมือวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2454 สิริรวมอายุ 64 ปี

ให้-รับ



ให้-รับ

โดย Sakda Ji (บันทึก) เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2012 เวลา 1:09 น.
เหล่าบรรดา..สิ่งมีชีวิตอันวุ่นวาย..แห่งโลก..
กำลังเคลื่อนผ่านวันเวลาอันทุรน..
ความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนย้าย..ในห้วงกาล...
การเดินทางอันเคว้งคว้างใจ"จุดหมาย"ของหลายชีวิต..

อาการทุรนทนทุกข์ของสรรพสัตว์..
บทดำเนินแห่งมุนษย์..ดำเนินต่อ
ก้าวเดินของเหล่าผู้กล้า..กับกร้าวกร้านของผู้ทน..
เส้นตรงของ จุดหมาย..กับเส้นโค้งอันไร้หมายหมุด..

เหล่าปุถุชน..ครุ่นคิด..คำนึงถึง"อำนาจ"...ผลประโยชน์การดำรง..
วัตถุฉาบฉวย..มุมมองจากกว้างไกลจากหัวใจของ"ผู้ให้"หดแคบสั้น..
หลงเหลือเพียง..ความว่างเปล่าจากใจอันแห้งผาก ของเหล่าบรรดา"ผู้รับ"..

กรุงเทพฯ พ.ศ.2506

กรุงเทพมหานคร | Bangkok
ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1963 (พ.ศ.๒๕๐๖)
Photographer: Burt Glinn
Image Source: Magnum Photos

คันกั้นน้ำมีชีวิต..

คันกั้นน้ำมีชีวิต..ภาพทหาร ชาวบ้านช่วยกันใช้ตัวกันน้ำหลังกระสอบทรายพัง..ในช่วงเหตุการณฺน้ำท่วมใหญ่

ปรองดอง(ชั่วคราว)..มาร์ค ปู


ภาพความร่วมมือเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ ที่น่าจะเห็นได้ยากสหลังจากนี้ำสำหรับการเมืองแบ่งขั้วแยกฝ่าย