PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

การทำข่าว


style guide สำหรับ Collaborative Journalism (การทำข่าวแบบร่วมกันทำ)

โดย Paul Bradshaw

This article is the translation version of A style guide for collaborative journalism: what I’ve learned from the first weeks of Help Me Investigate: Networks. Thanks to useful article from Paul Bradshaw from onlinejournalismblog.com

Paul Bradshaw ได้ดำเนินการทำโปรเจ็ค Help Me Investigate: Networks project เพื่อหาวิธีการืที่จะสร้างความร่วมมือเป็นเครือข่ายระหว่างผู้สื่อข่าว และ community ในการทำข่าวสืบสวนสอบสวน จากโปรเจ็คดังกล่าว สิ่งหนึ่งที่ Paul Bradshaw สรุปออกมาได้คือ "แนวทางการเขียนที่จะดึงดูดให้คนอยากมามีส่วนร่วมกับกระบวนการทำข่าวแบบมีส่วนร่วม" ซึ่งเป็นการเขียนข่าวที่แตกต่างไปจากวิธีดั้งเดิม แต่ใกล้เคียงกับการเขียน blog ที่ดี โดยเขาสรุปไว้ 3 เรื่องหลักๆ ดังนี้

1 เขียน "ข่าวที่สามารถนำไปใช้ได้"

นำเสนอมุมของเรื่องที่ใช้งานได้จริง ถ้าเป็นการโพสต์ link ไปยังบทความที่ต่างๆ ก็ควรมีการดึง quote ข้อเท็จจริงที่มีประโยชน์ออกมาด้วย ถ้าเขียนเรื่องที่เป็นเชิงสืบสวนสอบสวน ก็ควรบอกว่า ขั้นตอน กระบวนการในการทำคืออะไร link ไปยังข้อมูลทั้งหมด แปลเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สิ่งสำคัญก็คือ ทำให้ข้อมูลที่เราเขียนนั้นมีประโยชน์สำหรับคนอ่าน นั่นจะทำให้คนอ่านต่อยอดหรือนำเสนอสิ่งอื่นๆ จากสิ่งที่เราเริ่มกลับมาให้เราได้

2. จบท้ายข้อความที่เขียนด้วยการส่งต่อความคิด / ข้อมูล / ประเด็นที่คนอื่นสามารถนำไปตามต่อได้

ถ้าเป็นเรื่องที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาประเด็น หรือเรื่อง คุณควรร่างคำถามทั้งหมดที่คุณต้องการหาคำตอบไว้ มันจะช่วยให้เราไม่หลงประเด็น และไม่ออกนอกทางที่เราต้องการทำ ถ้าเป็นการเขียนที่ลิ้งไปยังสิ่งอื่นๆ ต้องให้ความสำคัญกับช่องว่างของข้อมูลที่ยังต้องการการค้นคว้าทำเพิ่มเติม ซึ่งนี้จะทำให้สามารถต่อยอดไปสู่เรื่องใหม่ๆ มุมมองอื่นๆ ได้จากสิ่งที่เราเริ่มเขียนในตอนต้น

Paul Bradshaw บอกว่า การเขียนบทความออนไลน์ที่เป็นบทความที่ไม่จบ คือมีสิ่งที่คนอ่านต่อยอดได้ ก็จะเกิดการร่วมกันพัฒนาเรื่อง ทิศทางของเรื่อง และข้อมูลนั้นเพิ่มเติมจากของแต่ละมุมมองได้

3 สร้างสมดุลด้วยการเริ่มจากโพสต์ที่ละน้อยๆ แต่บ่อย เพื่อค่อยๆ พัฒนาให้เข้าสู่เป้าหมายของเรื่องที่วางไว้

ในการเขียนออนไลน์ แทนที่เราจะรอให้บทความ หรือ รายงานสืบสวนของเราเสร็จแบบสมบูรณ์ เราควรค่อยๆ เขียนข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ออกมาและเผยแพร่สู่สาธารณะ ทำแบบนี้จะเพิ่มโอกาสในการที่จะมีคนค้นมาเจอผลงานของเรา และเพิ่มช่องทางที่จะเข้ามาสู่เนื้อหาของเราจากความสนใจในประเด็นที่ต่างกัน และในเวลาที่ต่างกันนั่นเอง

นอกจากนั้น การทำแบบนี้ ยังทำให้เห็นชัดเจนว่า การสืบสวนในประเด็นนั้นๆ กำลังค่อยๆ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง คนอ่านจะรู้สึกอยากติดตาม และอยากช่วยแชร์ข้อมูล และร่วมกันทำข่าวกับเราในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในที่สุด

http://onlinejournalismblog.com/2011/12/13/style-guide-collaborative-journalism/

ไม่มีความคิดเห็น: