PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยร้องศาลรธน.

ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยร้องศาลรธน.

12 มี.ค. 57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.40 น. ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายสิงห์ทอง บัวชุม คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้พิจารณาวินิจฉัยยกคำร้อง3 คำร้อง ประกอบด้วย

1.คำร้องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้ง วันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะหรือไม่
เพราะมองว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจยื่นเรื่องดังกล่าว เนื่องจากผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจในการยื่นเรื่อง ที่เป็นการขัดกันของข้อกฎหมาย แต่กรณีนี้เกิดจากการกระทำของบุคคล ดังนั้นผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงไม่มีอำนาจ

2.กรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยกรณีปัญหา 28เขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัคร ว่าควรออก พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เลือกตั้งใหม่ ทั้งที่ พ.ร.ฏ.เลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. ยังมีผลใช้บังคับอยู่นั้น ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 68 ว่า กกต.กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งการปกครองประเทศ โดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรับธรรมนูญหรือไม่ จากกรณีที่ไม่สามารถจัดการเลือกให้ตั้งครบทุกเขต และไม่สามารถประกาศรายชื่อ ส.ส. ได้ร้อยละ 95 ภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้ง

และ3.กรณีที่นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส.ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการสิ้นสุดสถานะของรัฐบาลรักษาการ และให้มีนายกรัฐมนตรีคนกลางตามรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่
“ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดเนื่องจาก กลุ่ม กปปส. ขัดขวางการเลือกตั้ง รวมถึงมองว่า กปปส. องค์กรอิสระ และพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ได้แบ่งหน้าที่กันทำ รุมสะกำรัฐบาล บอกว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ รัฐบาลรักษาการหมดสภาพ เพราะไม่สามารถเปิดสภาได้ภายใน30 วันหลังจากวันเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 127

ทั้งที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัด ว่ารัฐบาลจะหมดสภาพต่อเมื่อมีรัฐบาลใหม่เข้ามาทำหน้าที่ ดังนั้น นอกจากขอให้ศาลยกคำร้องทั้ง 3 แล้ว ยังขอให้วินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์พร้อมเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา5 ปี ด้วย” นายสิงห์ทอง กล่าว


ย้อนไปอ่าน" โภคิน พลกุล" โต้แย้งศาลรัฐธรรมนูญ ไว้ล่วงหน้า อย่างแม่นยำ

ย้อนไปอ่าน" โภคิน พลกุล" โต้แย้งศาลรัฐธรรมนูญ ไว้ล่วงหน้า แม่นยำ

"ในวันที่ 2 ตุลาคม 2552 กระทรวงการคลังในสมัยนายอภิสิทธิ์ได้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกว่า การใช้จ่ายเงินตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งตามพระราชกำหนด "ไทยเข้มแข็ง" สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 หรือไม่ โดยกระทรวงการคลังให้ความเห็นทำนองเดียวกันกับบันทึกชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญของนายอภิสิทธิ์ เมื่อ 25 พฤษภาคม 2552 กล่าวคือ เห็นว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ประกอบกับกฎหมายวิธีการงบประมาณ มาตรา 23 และมาตรา 24

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 12) ที่มีศาสตราจารย์พนัส สิมะเสถียร เป็นประธาน (ขณะเดียวกันท่านก็เป็นประธานคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ซึ่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2552) ได้ตอบข้อหารือสรุปว่า พระราชกำหนด "ไทยเข้มแข็ง" ได้บัญญัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินโดยไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง จึงไม่เป็นเงินแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ดังนั้น การใช้จ่ายเงินตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จึงไม่ใช่การจ่ายเงินแผ่นดินตามนัยมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญ"
/////////
"โภคิน พลกุล" - พรบ.กู้เงิน 2ล้านล. ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา169 หรือไม่ ?

วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 21:00:04 น.

 โภคิน พลกุล

(ที่มา:มติชนรายวัน 22 ก.ย.2556)

หมายเหตุ - นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา ได้เขียนบทความ "ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ.... ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่" เสนอมุมมองทางกฏหมาย โต้แย้งกรณีพรรคประชาธิปัตย์ที่ระบุว่าร่างกม.ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ

ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจฯ หรือที่เรียกกันแบบง่ายๆ ว่า ร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ "ให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อนำไปใช้จ่ายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ทั้งนี้ ตามยุทธศาสตร์และแผนงาน และภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้" (มาตรา 5) ทั้งนี้ เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการเพิ่มขึ้นของประชากรที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การขยายตัวด้านการค้า การลงทุน และเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รัฐบาลจึงต้องการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั้งในพื้นที่ชนบท พื้นที่เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ รวมทั้งเป็นการเชื่อมโยงฐานการผลิตกับฐานการส่งออกระหว่างภาคต่างๆ ของประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งในระดับภูมิภาค เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและลดต้นทุนค่าขนส่ง ซึ่งการจะดำเนินการที่กล่าวมาได้จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องมีแหล่งเงินแน่นอนที่จะนำมาใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง โดยมีการวางแผนการเงินระยะยาวที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศและเสริมสร้างความมั่นใจของภาคเอกชนในการจัดทำแผนการลงทุนของตนเองควบคู่ไปกับแนวทางการลงทุนของรัฐที่กล่าวมา

การลงทุนในวงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาทนั้น จะสิ้นสุดกำหนดเวลากู้เงินไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 นั่นก็คือถ้าร่างกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ภายใน พ.ศ.2556 และเริ่มดำเนินการได้ใน พ.ศ.2557 การกู้เงินจะใช้ช่วงเวลาประมาณ 7 ปี ซึ่งคิดเฉลี่ยเป็นการกู้ปีละประมาณ 2.85 แสนล้านบาท ในขณะที่งบประมาณรายจ่ายของประเทศใน พ.ศ.2554 เท่ากับ 2,169,967.5 ล้านบาท พ.ศ.2555 เท่ากับ 2,380,000 ล้านบาท พ.ศ.2556 เท่ากับ 2,400,000 ล้านบาท และ พ.ศ.2557 ซึ่งจะเริ่มในเดือนตุลาคม พ.ศ.2556 เท่ากับ 2,525,000 ล้านบาท

ข้อดีของการกู้เงินเพื่อลงทุนในครั้งนี้ ซึ่งจะตกประมาณร้อยละ 11.3 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2557 นั้น คงไม่ต้องอธิบายกันมาก แต่ปัญหาที่คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายก็ดี พรรคฝ่ายค้านก็ดี เห็นว่าร่างกฎหมายนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ฟังขึ้นหรือไม่นั้น น่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่สุด และเป็นกรณีตัวอย่างกรณีหนึ่งในการสกัดกั้นการทำงานของรัฐบาลในเรื่องสำคัญๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน โดยอาศัยศาลรัฐธรรมนูญ

ดังจะเห็นได้จากปัญหาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือเป็นรายมาตรา หรือแม้แต่ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2557

1.การจ่ายเงินแผ่นดินกระทำได้กรณีใดบ้าง

เงินแผ่นดินที่รัฐนำมาใช้จ่ายในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น ได้มาจากภาษีอากร เงินกู้ หรือรายได้จากการประกอบกิจการของหน่วยงานของรัฐที่กฎหมายกำหนดให้ส่งเป็นรายได้แผ่นดินหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดิน การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำภายใต้รัฐธรรมนูญมาตรา 143 มาตรา 169 และมาตรา 170 ซึ่งเป็นหลักการที่ไม่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2489 เป็นต้นมา เพียงแต่รัฐธรรมนูญฉบับหลังๆ จะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น โดยมีช่องทางหลัก 4 ช่องทาง คือ

1) การจ่ายเงินแผ่นดินที่ดำเนินการโดยงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปี ซึ่งเป็นการจ่ายเงินแผ่นดินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญ โดยกรณีดังกล่าวต้องดำเนินการจัดทำเป็นกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปี กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ โดยวิธีการจ่ายจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.2491 มาตรา 5 และมาตรา 6 ซึ่งต้องจ่ายเงินจากบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 2 ทั้งนี้ เงินที่จะนำมาใช้จ่ายในกรณีนี้จะมาจากภาษีอากร ค่าปรับ หรือเงินกู้ที่มีการกำหนดให้สมทบเป็นเงินคงคลัง ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.2491

2) การจ่ายเงินแผ่นดินไปก่อนในกรณีที่มิได้มีการกำหนดไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญ กำหนดว่าในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายเงินไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกรณีดังกล่าวพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.2491 มาตรา 7 กำหนดให้สามารถสั่งจ่ายเงินจากบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 2 ได้ก่อนที่มีกฎหมายอนุญาตให้จ่าย โดยต้องเป็นไปตามเฉพาะกรณีที่กำหนดไว้ในมาตรา 7 เช่น กรณีมีกฎหมายใดๆ ที่กระทำให้ต้องจ่าย เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายนั้นๆ และมีความจำเป็นต้องจ่ายโดยเร็ว หรือมีข้อผูกพันกับรัฐบาลต่างประเทศ และมีความจำเป็นต้องจ่ายโดยเร็ว เป็นต้น ซึ่งการจ่ายเงินไปก่อนดังกล่าวจะต้องตั้งเงินรายจ่ายเพื่อชดใช้ในกฎหมายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยโอนงบประมาณรายจ่าย หรือกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีถัดไป

3) การจ่ายเงินแผ่นดินในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจ่ายจากเงินรายได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน เช่น กรณีพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 (ไทยพีบีเอส) หรือกรณีกองทุนหมุนเวียนของหน่วยงานของรัฐ เช่น พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 ที่จะมีการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐสามารถนำเงินที่ได้รับจากการจัดสรรจากภาษีอากรหรือการดำเนินกิจการของตนเองไปใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องมีการนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน โดยหน่วยงานของรัฐจะมีระเบียบว่าด้วยการใช้จ่ายเงินในกรณีดังกล่าวเป็นการเฉพาะ และกรณีดังกล่าวจะมีการกำหนดควบคุมโดยมาตรา 170 ของรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติให้หน่วยงานต้องจัดทำรายงานการรับและการจ่ายเงินดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นปีงบประมาณทุกปี และรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไปด้วย

4) การจ่ายเงินแผ่นดินโดยการตรากฎหมายกู้เงิน ซึ่งเป็นการจ่ายเงินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 142 และมาตรา 143 (3) ที่บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีสามารถเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน เกี่ยวกับการกู้เงินและการใช้เงินกู้ได้ หรือตามมาตรา 184 ที่บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจตราพระราชกำหนดเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศได้ ซึ่งมีการตราพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดโดยอาศัยรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจกู้เงินได้มาโดยตลอดตั้งแต่ พ.ศ.2476 เป็นต้นมา รวมถึงปัจจุบันนับได้ 36 ฉบับแล้ว

นอกจากนี้ การกู้เงินยังคงทำได้อีกทางหนึ่ง คือ ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยกเลิกกฎหมายหลายฉบับ ที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะของประเทศมีประสิทธิภาพ และมีการดูแลให้ภาระหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับฐานะการเงินการคลังของประเทศ กฎหมายนี้จึงอนุญาตให้กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ไม่เกินร้อยละ 20 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไม่เกินร้อยละ 10 เพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะไม่เกินจำนวนเงินกู้ที่ยังค้างชำระ เป็นต้น

ซึ่งถ้าเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณแล้ว เงินกู้นั้นต้องนำส่งคลัง ส่วนกรณีอื่นไม่ต้อง เงินกู้จึงเป็นเงินแผ่นดินโดยมีทั้งกรณีที่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายวิธีการงบประมาณและกฎหมายเงินคงคลัง และที่ไม่ต้องนำส่งคลัง กรณีการกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 (ไทยเข้มแข็ง) ซึ่งกู้เงินประมาณ 400,000 ล้านบาท สมัยพรรคประชาธิปัตย์ และร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน (ร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท) สมัยพรรคเพื่อไทยขณะนี้ ล้วนเป็นกรณีที่ไม่ต้องนำเงินกู้ส่งคลังหรือส่งเป็นรายได้แผ่นดินทั้งสิ้น

2."ร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท" ไม่ใช่การกู้เงินเพื่อจ่ายเงินแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การจ่ายเงินแผ่นดินนั้นกระทำได้โดยกรณีใดบ้างและแม้จะใช้วิธีการกู้เงินซึ่งเงินกู้นั้นจะเป็นเงินแผ่นดิน ก็มิได้หมายความว่าเงินกู้ดังกล่าวจะเป็นเงินแผ่นดินที่ต้องนำส่งคลังเพื่อใช้จ่ายภายใต้กฎหมาย 4 ฉบับ (กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง) ที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 169 บัญญัติไว้เสมอไป

ดังนั้นเงินกู้ไม่ว่าจะกู้โดยการตราพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 142 และมาตรา 143 (3) (กรณีร่างกฎหมาย 2 ล้านล้านบาท) หรือโดยการตราพระราชกำหนดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 (พระราชกำหนด "ไทยเข้มแข็ง" 2552) จึงเป็นการกู้เงินโดยอาศัยอำนาจตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับการจ่ายเงินแผ่นดินก็ต้องอาศัยกฎหมายที่ตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 คงต่างกันตรงที่ว่าเงินกู้ซึ่งเป็นเงินแผ่นดินนั้นจะมีการจ่ายไปตามลักษณะและวิธีการของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ถ้าต้องกู้เงินเพื่อใช้จ่ายชดเชยการขาดดุลงบประมาณตามกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี ก็ต้องกู้โดยอาศัยกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ และต้องจ่ายตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายเงินคงคลัง เพราะเงินกู้ในกรณีดังกล่าวต้องนำส่งคลัง หากไม่ต้องนำส่งคลังไม่ว่าจะเป็นการกู้ตามกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะหรือกฎหมายอื่นๆ ก็จะจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายในเรื่องการกู้นั้นๆ กำหนด เช่น พระราชกำหนด "ไทยเข้มแข็ง"สมัยพรรคประชาธิปัตย์ ที่มาตรา 4 ระบุว่า "เงินที่ได้จากการกู้ตามมาตรา 3 (400,000 ล้านบาท) ให้นำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ในการกู้โดยไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง..." ซึ่งก็เหมือนกันกับมาตรา 6 ของร่างพระราชบัญญัติ "กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท"

1) คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 11/2552 ประเด็นที่ว่าการกู้เงินแล้วนำไปจ่ายโดยไม่เป็นไปตามกฎหมาย 4 ฉบับ ที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 169 กำหนดนั้น มีผลตามกฎหมายเช่นใด เคยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 โดยเป็นปัญหามาจากการตราพระราชกำหนด "ไทยเข้มแข็ง" ของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 ที่ถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยร้องศาลรัฐธรรมนูญว่า การตราพระราชกำหนดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง บัญญัติไว้ และการที่พระราชกำหนด "ไทยเข้มแข็ง" บัญญัติให้การใช้จ่ายเงินกู้กระทำได้เลยตามวัตถุประสงค์ของการกู้โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ที่บัญญัติให้การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ตามกฎหมาย 4 ฉบับ เท่านั้น นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ลงนามเห็นชอบบันทึกคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญในกรณีดังกล่าว กรณีขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 มีข้อความดังนี้

3."การกล่าวอ้างที่ว่า การที่มาตรา 4 ของพระราชกำหนดบัญญัติให้การใช้จ่ายเงินกู้ไม่ต้องนำส่งคลังโดยให้นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ในการกู้ได้เลยนั้น

เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ที่บัญญัติให้การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง นั้น เห็นว่า โดยที่พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ยกเว้นกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 ตรี ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่น..." ประกอบกับมาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สิน หรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของราชการ ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้นนำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น" ดังนั้น การจ่ายเงินหรือการกู้เงินซึ่งเป็นการก่อหนี้ผูกพันจึงอาจกำหนดไว้เป็นพิเศษได้โดยกฎหมายเฉพาะอื่นได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายวิธีการงบประมาณ

การที่พระราชกำหนด มาตรา 4 กำหนดให้การใช้จ่ายเงินกู้ที่เกิดจากการกู้เงินตามพระราชกำหนดไม่ต้องนำส่งคลังโดยให้นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ในการกู้เงินได้ จึงเป็นการกำหนดโดยกฎหมายอื่นตามที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณอนุญาตไว้ ประกอบกับการกู้เงินของรัฐบาลไทยโดยกระทรวงการคลังที่ผ่านมาและตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะก็ยึดถือหลักการในลักษณะนี้มาโดยตลอดเช่นกัน จึงเป็นกรณีที่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ประกอบกับพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ มาตรา 23 วรรคหนึ่ง และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แล้ว" สรุปก็คือ นายอภิสิทธิ์เห็นว่ากฎหมายกู้เงินทั้งหลายที่กำหนดให้เงินกู้ซึ่งเป็นเงินแผ่นดินแต่ไม่ต้องนำส่งคลังนั้น เป็นกฎหมายที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ประกอบกับพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณฯ มาตรา 23 และมาตรา 24 เพราะมาตรา 23 วรรคแรก บัญญัติให้การจ่ายเงินสามารถกระทำได้ตามกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี กฎหมายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่น มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนำเงินนั้นส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น

นอกจากการตราพระราชกำหนด "ไทยเข้มแข็ง" แล้ว รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ.ศ.... (ไทยเข้มแข็ง 2) อีก 400,000 ล้านบาท โดยสาระสำคัญคล้ายกับพระราชกำหนด "ไทยเข้มแข็ง" และได้ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร จนสุดท้ายอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกันของทั้ง 2 สภา แต่คณะรัฐมนตรีสมัยนายอภิสิทธิ์ได้ขอถอนร่างดังกล่าวออกไป เนื่องจากเห็นว่าภาวะทางเศรษฐกิจและสถานะทางการคลังของประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น (หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0503/7615 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2553) ซึ่งร่างพระราชบัญญัตินี้ก็มีบทบัญญัติที่กำหนดให้เงินกู้ไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังเช่นเดียวกัน

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การตราพระราชกำหนด "ไทยเข้มแข็ง" ไม่ขัดต่อเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง คือ เป็นเรื่องเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ โดยไม่แตะประเด็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 หรือไม่ ซึ่งก็ต้องแปลความว่า ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าสามารถตรากฎหมายอื่นนอกเหนือจากกฎหมาย 4 ฉบับดังกล่าว เพื่อกำหนดการจ่ายเงินแผ่นดินโดยกฎหมายนั้นๆ ได้ ข้อต่อสู้ของนายอภิสิทธิ์จึงมีเหตุผลและเป็นหลักการที่ถูกต้อง สอดคล้องกับที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2476 แล้ว

อนึ่ง ในการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ "กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท" เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2556 สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์บางท่านได้ยอมรับว่าทำได้ แต่ต้องตราเป็นพระราชกำหนดเท่านั้น และที่ผ่านมาก็เป็นพระราชกำหนดทั้งสิ้น ความเห็นนี้คงไม่ถูกต้องและขัดต่อคำชี้แจงของนายอภิสิทธิ์เองที่ไม่ได้ระบุเลยว่า ต้องเป็นกรณีตามพระราชกำหนดเท่านั้นจึงจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 และจากประวัติศาสตร์ที่มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับการกู้เงินทั้งหมด 36 ฉบับ ตั้งแต่ พ.ศ.2476 นั้น เป็นประกาศคณะปฏิวัติ 2 ฉบับ พระราชกำหนด 6 ฉบับ อีก 24 ฉบับ เป็นพระราชบัญญัติ และแม้แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์เองก็เสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติในการกู้เงิน "ไทยเข้มแข็ง 2" เพราะคงเห็นว่าไม่มี "ความจำเป็นเร่งด่วน" ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขให้ตราพระราชกำหนดดังเช่นกรณี "ไทยเข้มแข็ง 1"

2) ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 888/2552

ในวันที่ 2 ตุลาคม 2552 กระทรวงการคลังในสมัยนายอภิสิทธิ์ได้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกว่า การใช้จ่ายเงินตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งตามพระราชกำหนด "ไทยเข้มแข็ง" สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 หรือไม่ โดยกระทรวงการคลังให้ความเห็นทำนองเดียวกันกับบันทึกชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญของนายอภิสิทธิ์ เมื่อ 25 พฤษภาคม 2552 กล่าวคือ เห็นว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ประกอบกับกฎหมายวิธีการงบประมาณ มาตรา 23 และมาตรา 24

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 12) ที่มีศาสตราจารย์พนัส สิมะเสถียร เป็นประธาน (ขณะเดียวกันท่านก็เป็นประธานคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ซึ่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2552) ได้ตอบข้อหารือสรุปว่า พระราชกำหนด "ไทยเข้มแข็ง" ได้บัญญัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินโดยไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง จึงไม่เป็นเงินแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ดังนั้น การใช้จ่ายเงินตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จึงไม่ใช่การจ่ายเงินแผ่นดินตามนัยมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญ

ความหมายก็คือ การจ่ายเงินแผ่นดิน หากเป็นเงินที่นำส่งคลังก็ต้องจ่ายภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมาย 4 ฉบับ แต่ถ้าไม่ใช่เงินที่ต้องนำส่งคลัง ก็จ่ายตามกฎหมายอื่น ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับบันทึกคำชี้แจงของนายอภิสิทธิ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว การจ่ายเงินแผ่นดินนอกจากจะกระทำได้ตามกฎหมาย 4 ฉบับ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 แล้วยังสามารถกระทำได้ตามกฎหมายที่ตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 142 และมาตรา 143 รวมทั้งมาตรา 184 ดังที่กล่าวมาข้างต้น และการจ่ายเงินตามกฎหมายอื่นที่ตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 142 และมาตรา 143 รวมทั้งมาตรา 184 นั้น เป็นกรณีที่สอดคล้องกับกฎหมายวิธีการงบประมาณ มาตรา 23 และมาตรา 24 อันทำให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 อีกด้วย จึงไม่มีเหตุใดๆ เลยที่จะทำให้กฎหมายกู้เงินทั้งหลายที่กำหนดให้เงินกู้ไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายวิธีการงบประมาณและกฎหมายเงินคงคลัง จะถูกโต้แย้งว่าขัดรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 169 ได้ และยิ่งหากการโต้แย้งมาจากพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีความเห็นเช่นนี้มาก่อนยิ่งไม่น่าเชื่อถือและเป็นไปได้เลย

3.ทำไมรัฐบาลจึงเลือกใช้ช่องทางตรากฎหมายกู้เงินแทนที่จะดำเนินการผ่านกระบวนการตามกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี กระทรวงการคลังชี้แจงในประเด็นสำคัญที่สุดคือ หากนำเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ซึ่งต้องใช้เงิน 2 ล้านล้านบาท ใน 7 ปี ไปบรรจุเป็นโครงการในกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว จะมีปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ความต่อเนื่องและความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้นเป็นการใช้จ่ายเงินในโครงการต่างๆ จำนวนมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นรายจ่ายประจำ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าสวัสดิการต่างๆ บำนาญ ถึงเกือบร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 นั้น ร้อยละ 2-3 เป็นการชำระหนี้ งบลงทุนจะเหลืออยู่ประมาณ ร้อยละ 17-18 เท่านั้น สำหรับงบลงทุนตามกฎหมายงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2557นั้น อยู่ที่ 441,510 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 17.5

จริงอยู่ รัฐบาลอาจจัดทำงบประมาณขาดดุลได้อีกร้อยละ 20 ตามกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะ หรือเป็นเงิน 505,000 ล้านบาท ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2557 เพราะกฎหมายนี้ตั้งไว้ขาดดุลอยู่แล้ว 250,000 ล้านบาท ดังนั้น จึงเหลืออีก 255,000 ล้านบาท ที่จะนำมาใช้ทำโครงการตามร่างกฎหมาย 2 ล้านล้านบาทได้ แต่นั่นหมายความว่า จะต้องทำเช่นนี้ไปอีก 7 ปี ในขณะที่ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์มีการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงการคลังกับสำนักงบประมาณ โดยมีนายอภิสิทธิ์ลงนามเป็นพยาน เมื่อ 9 สิงหาคม 2553 "กำหนดแผนปฏิบัติการสู่งบประมาณสมดุลภายในระยะเวลา 5 ปี" นั่นคือ งบประมาณรายจ่ายปี 2560 จะเป็นงบประมาณสมดุล เพราะตั้งแต่ พ.ศ.2550 ประเทศไทยใช้งบประมาณแบบขาดดุลมาโดยตลอด ซึ่งเข้าใจว่าเป็นความปรารถนาดีของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เพราะหากประเทศมีงบประมาณสมดุล เครดิตของประเทศในสายตานานาชาติจะดี แสดงว่าเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ ภาครัฐไม่ต้องใช้งบประมาณขาดดุลด้วยการกู้เงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคเอกชนเข้มแข็ง ต่างประเทศอยากมาลงทุน และการขาดดุลงบประมาณเป็นระยะเวลานานๆ อาจถูกมองได้ว่าไม่ค่อยมีวินัยการเงินการคลัง

ดังนั้น ถ้าจะให้งบประมาณสมดุลในปี 2560 ตามที่กล่าวมา แต่พรรคประชาธิปัตย์กลับเสนอให้การกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม (กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท) ไปใช้ระบบงบประมาณปกติ ด้วยการกู้เงินเพิ่มโดยอาศัยกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะในวงเงินไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณดังที่กล่าวมาข้างต้น งบประมาณแผ่นดินจะไม่มีทางเข้าสู่ภาวะสมดุลได้เลย

จริงอยู่ การกู้เงินนอกระบบงบประมาณแผ่นดินเช่นกรณี "ไทยเข้มแข็ง" และ "2 ล้านล้านบาท" นี้ ย่อมเป็นหนี้ของประเทศโดยรวม ซึ่งช่วง 3 ปี (2552-2554) สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ระดับหนี้สาธารณะได้เพิ่มจาก 3,409,231 ล้านบาท เป็น 4,448,798 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,040,567 ล้านบาท โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกรณ์ จาติกวณิช ได้ปรับเพดานหนี้สาธารณะจากไม่เกินร้อยละ 50 ของ GDP เป็นร้อยละ 60 ของ GDP ในเดือนสิงหาคม 2552 ช่วง พ.ศ.2555-2556 สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หนี้สาธารณะได้เพิ่มไปอีก 776,168 ล้านบาท รวมเป็น 5,224,966 ล้านบาท แต่คิดแล้วเท่ากับร้อยละ 44.1 ของ GDP ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ซึ่งยังต่ำกว่ามาตรฐานเดิมก่อนสิงหาคม 2552 อยู่เกือบร้อยละ 6 และต่ำกว่ามาตรฐานใหม่ถึงเกือบร้อยละ 16 และจากการประมาณการของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง แม้จะมีการกู้เงินตามร่างกฎหมาย 2 ล้านล้านบาท อีกเฉลี่ยปีละ 2.85 ล้านบาท ไปอีก 7 ปีนั้น หนี้สาธารณะก็จะอยู่ระหว่างร้อยละ 45-48.4 หรือไม่เกินร้อยละ 50 ตามมาตรฐานเดิม

ดังนั้น วิธีการใช้เงินกู้ที่แยกต่างหากจากกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี จึงน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ หนึ่ง ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการให้งบประมาณของประเทศเข้าสู่ภาวะสมดุลในปี 2560 สอง สัดส่วนหนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับไม่สูงกว่าร้อยละ 50 ซึ่งยังเหลือช่องว่างอีกถึงร้อยละ 10 ตามมาตรฐานที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เคยกำหนดไว้ สาม โครงการต่างๆ ตามกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะมีความต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นแนวทางให้ภาคเอกชนจัดทำแผนการค้าและการลงทุนของตนให้สอดคล้องกับแผนการลงทุนด้านคมนาคมของรัฐบาลในช่วง 7 ปี ซึ่งจะทำให้การเติบโตและการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจมีพลวัตสูง ประสบการณ์ในทางลบของการลงทุนโดยผ่านระบบงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้นมีมากมาย เช่น โครงการรถไฟทางคู่ คณะรัฐมนตรีอนุมัติตั้งแต่ 16 มีนาคม 2536 โดยมีเป้าหมายจัดสร้าง 2,744 กม. แต่ปัจจุบันแล้วเสร็จเพียง 358 กม. หรือร้อยละ 13 รถไฟฟ้า 10 สาย คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตั้งแต่ 7 กันยายน 2537 ระยะทาง 291 กม. ปัจจุบันแล้วเสร็จ 80 กม. หรือร้อยละ 27 ดังนั้น "เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท" จำนวนร้อยละ 82 จึงเน้นที่การคมนาคมระบบราง ซึ่งพัฒนาได้น้อยมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

สรุป

การกู้เงินโดยการตราพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 142 และมาตรา 143 หรือตราพระราชกำหนดตามมาตรา 184 สามารถกระทำได้นอกเหนือจากมาตรา 169 และเป็นการชอบด้วยมาตรา 169 อีกด้วย เมื่อพิจารณาประกอบกับกฎหมายวิธีการงบประมาณ มาตรา 23 และมาตรา 24 ทั้งเป็นวิธีการที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้งบประมาณรายจ่ายของประเทศต้องอยู่ในภาวะขาดดุลเป็นเวลานาน โดยที่ระดับหนี้สาธารณะไม่เกินร้อยละ 50 ของ GDP ตามมาตรฐานเดิม และยังห่างจากร้อยละ 60 ของ GDP ตามมาตรฐานที่พรรคประชาธิปัตย์ปรับปรุงเมื่อสิงหาคม 2552

นอกจากนี้ เมื่อตรวจสอบถึงสภาพคล่องของประเทศแล้ว ในการจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะปี 2557 ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานว่ามีสภาพคล่องในตลาดตราสารเหลือกว่า 1.2 ล้านล้านบาท อันเพียงพอกับการกู้เงินตามแผนบริหารหนี้สาธารณะปี 2557 ซึ่งมีความต้องการกู้ประมาณ 660,000 ล้านบาท

ดังนั้น การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ในช่วง 7 ปี นับแต่นี้ไป หากรัฐบาลกู้เงินภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังยืนยันว่าจะกู้เงินในประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 นั้น ก็จะหมายความว่า รัฐบาลไทยยืมเงินคนไทยไปลงทุนให้คนไทย และใช้เงินต้นและดอกเบี้ยให้คนไทย แต่ผลผลิตที่ได้คือระบบสาธารณูปโภคของประเทศที่จะอยู่กับลูกหลานคนไทยต่อไปอีกเป็น 100 ปี คนไทยจึงได้ประโยชน์ทุกด้าน

สุดท้ายก็คือ การกู้เงิน 2 ล้านล้านนี้ มีระบบตรวจสอบที่มีมาตรฐานหรือไม่ เห็นว่า การกู้เงินนี้นอกจากต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งๆ ไปแล้ว ยังต้องดำเนินการโดยนำพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย จึงทำให้มีกระบวนการตรวจสอบที่มีวินัยทางการเงินการคลัง ดังนี้

1.ก่อนการกู้เงิน การกู้เงินโดยวิธีการออกตราสารหนี้จะต้องมีการประกาศจำนวนเงิน ระยะเวลา และวิธีการออกตราสารหนี้

2.ภายหลังการกู้เงิน แต่ละครั้งจะต้องมีการประกาศแหล่งเงินกู้ เงื่อนไขเงินกู้ สกุลเงินกู้ จำนวนเงินกู้ การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย ระยะเวลาการชำระเงินต้นคืน วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ เงื่อนไข วิธีการและสาระสำคัญอื่นใดที่จำเป็น ลงในราชกิจจานุเบกษาภายในระยะเวลา 60 วัน ให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน

3.ภายใน 120 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ คณะรัฐบาลจะต้องรายงานตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้กระทำในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว ผลการดำเนินงานและการประเมินผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ อันเป็นการยึดโยงกับผู้แทนปวงชนชาวไทย และให้ฝ่ายนิติบัญญัติใช้อำนาจตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล (ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน มาตรา 19)

ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับพระราชกำหนด "ไทยเข้มแข็ง" แล้ว กรอบการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดดังกล่าวมีการกำหนดประมาณการความต้องการเงินทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (ปี 2551-2553) อยู่เพียง 1 หน้า ไม่มีการระบุถึงแผนงานและพื้นที่ดำเนินการเลย มีเพียงระบุสาขา เช่น สาขาขนส่ง Logistic สาขาพลังงาน สาขาสื่อสาร ฯลฯ และวงเงิน ในขณะที่ร่างกฎหมาย 2 ล้านล้านนี้ ระบุถึงยุทธศาสตร์และแผนงาน ตลอดจนพื้นที่ดำเนินการและวงเงิน พร้อมกับเสนอเอกสารรายละเอียดของโครงการประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวให้แก่สภาผู้แทนราษฎรอีกถึง 231 หน้า

ได้แต่หวังว่าทุกฝ่ายจะพิจารณากันด้วยเหตุด้วยผล และช่วยกันตรวจสอบในชั้นดำเนินการต่อไป เพื่อให้ทุกอย่างโปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติและประชาชน



กรณ์ จาติกวณิช:ก้าวข้าม ๒ ล้านล้าน


ก้าวข้าม ๒ ล้านล้าน
เมื่อสักครู่ผมเดินทางกลับจากการไปศึกษาเรื่องระบบนํ้าที่อิสราเอล พอเครื่องบินลงผมสูดลมหายใจลึกๆหนึ่งครั้งก่อนที่จะเปิด ipad เพื่อเช็คข่าวเรื่องพรบ. ๒ ล้านล้าน
ต้องขอขอบคุณทุกๆคนที่ได้ช่วยกันแสดงออกถึงความกังวลต่อเรื่องนี้ โดยเฉพาะนักวิชาการ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญทางการคลังทุกท่าน การตัดสินของศาลวันนี้เป็นการวินิจฉัยที่เป็นคุณต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของเราอย่างมาก และไม่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนแต่อย่างใด แหล่งเงินในระบบงบประมาณจัดหาได้ ที่ทำไม่ได้คือการงุบงิบผลักดันโครงการที่ขาดความพร้อมและไม่มีการตรวจสอบเท่านั้น
วันนี้เป็นตัวอย่างการทำงานของระบบถ่วงดุลที่มีฝ่ายค้านทำหน้าที่ในสภาฯ มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสรีในสื่อต่างๆ และมีฝ่ายตุลาการที่มีหน้าที่เป็นกรรมการ ใครมากล่าวหาว่าการตัดสินวันนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะเป็นการแทรกแซงอำนาจเสียงข้างมาก คนผู้นั้นคงต้องไปศึกษาความหมายที่แท้จริงของคำว่า 'ประชาธิปไตย' ใหม่ครับ
รัฐบาลหยุดโทษคนอื่นและพิจารณาตนเองได้แล้วครับ ไม่มีใครเขาเสียบบัตรแทนส.ส. ท่านนอกจากพวกท่านเอง ไม่มีใครเขาทำให้ขาดเงินจ่ายชาวนานอกจากท่านที่ไม่ระบายข้าว ไม่มีใครเขาผลักดันท่านให้ออกกฎหมายที่ใครๆก็เห็น (และเตือน) แต่แรกว่าขัดรัฐธรรมนูญ ทุกอย่างท่านทำเองทั้งนั้น
ส่วนคืนนี้ใครว่าง ผมจะออกรายการ 'ตอบโจทย์' เวลาประมาณ ๔ ทุ่ม ช่อง TPBS เพื่อชี้ให้เห็นว่าเราควรต้องเดินหน้าเรื่องการลงทุนอย่างไรครับ หลังจากที่ต่อสู้มายาวนาน เราก้าวข้าม ๒ ล้านล้านนี้กันได้แล้วครับ

ม็อบไสยเวทย์ ชาวนาบุรีรัมย์นำหมอผีเขมรทำพิธีไล่ปู

เช้าวันนี้
ชาวนาที่ปักหลักชุมนุมบริเวณกระทรวงพานิชย์ได้ทำพิธีทางไสยศาสตร์เผาหุ่นฟาง นายกิติติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกฯและรมว.กระทรวงการคลัง และนายนิวัฒน์ธำรงค์ บุญทรงไพศาล รักษาการ รมว.กระทรวงพาณิชย์ โดยตัวแทนชาวนาได้ใช้เคียวเกี่ยวฟันคอหุ่นฟางและจุดไฟเผา พร้อมทั้งตะโดนก่อนเผาว่า"จะจ่ายหรือไม่จ่าย จะออกหรือไม่ออก"

นอกจากนี้ชาวนายังได้ทำพิธีเชิญดวงวิญญาณลงหม้อดินและสวดส่งวิญญาณ โดยมีหมอเขมร ชาวบุรีรัมย์เป็นผู้ทำพิธี ซึ่งหม้อดินที่ทำคุณไสยมี 2 หม้อ เป็นของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ นายกิติติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกฯและรมว.กระทรวงการคลัง จากนั้นได้นำหม้อทั้งสองใบนำมาลอยถ่วงแม่น้ำเจ้าพระยา

ทั้งนี้สาเหตุที่ชาวนาต้องทำพิธีเชิงสัญลักษณ์ดังกล่าวเนื่องจากว่า ทนไม่ไหวที่รัฐบาลไม่ยอมทำอะไรเลย ไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการจ่ายเงินจำนำข้าว รอมาหลายเดือนแล้วก็ยังไม่มีวี่แววจะได้เงิน อยากให้รัฐบาลมีจิตสำนึกบ้างว่าชาวนาเดือดร้อนและอยากให้รัฐบาลลาออก ชาวนาไม่เอารัฐบาลอีกต่อไป

(คลิป)นาทีระทึกวงจรปิด หมวดเจี๊ยบถูกการ์ด กปปส.นับสิบคุมตัว!!

)



นาทีระทึกวงจรปิด หมวดเจี๊ยบถูกการ์ด กปปส.นับสิบคุมตัว!!

ศาลฎีกาก2ปีตัดสิทธิ์ทางการเมือง10ปี"สลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช"หลุดนายกอบจ.เชียงราย

ศาลฎีกา พิพากษาสั่งจำคุก2ปีตัดสิทธิ์ทางการเมือง"สลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช"10 ปี หลุดตำแหน่งนายก อบจ.เชียงราย ทันที


ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 14 ศาลจังหวัดเชียงราย ผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดเชียงราย ได้ออกบัลลังก์ เพื่อ
อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา กรณี นางรัตนา จงสุทธนามณี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นโจทย์ยื่นฟ้อง นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช นายก อบจ.เชียงราย คนปัจจุบัน ซึ่งเป็นภรรยาของ นายยงยุทธติยะไพรัช ในคดีแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 137 ประมวลกฎหมายอาญา และกระทำการอันเป็นเท็จตาม พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือบริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 ทางด้าน นางรัตนา ได้ส่งทนายความมาเป็นตัวแทน เช่นเดียวกับ นางสลักจฤฎดิ์ ก็ส่งทนายความมารับฟังคำพิพากษาเช่นกัน

โดยศาลเชียงราย ได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา พิพากษาให้จำคุก นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช เป็นระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี ปรับเงิน 50,000 บาท และเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 10 ปี หลังศาลอ่านคำพิพากษาการเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมือง ทำให้ นางสลักจฤฎดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่ง นายก อบจ.เชียงราย ทันที ด้าน กกต.เชียงราย ระบุว่า หลังจากนี้ไปอีก 60 วัน ทาง กกต.เชียงราย จะได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายก อบจ. ขึ้นมาใหม่

อย่างไรก็ตาม มีสมาชิกสภาจังหวัดเชียงราย และกลุ่มสตรีเชียงราย นำป้ายผ้ามีข้อความให้กำลังใจ นางสลักจฤฎดิ์ บริเวณหน้าศาลเป็นจำนวนมาก

e-ir.info เซบทความลากไส้ กปปส ใน e-ir.info

บทความลากไส้ กปปส ใน e-ir.info

e-ir.info เป็น website ที่รวบรวมบทความวิชาการด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากนักรัฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ ในมหาวิยาลัยชั้นนำทั่วโลก และเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาหลักของ assignment ที่นักศึกษา IR ทั่วโลกต้องอ่าน ... บทความนี้เขียนโดย Dr.Michael Nelson นักวิจัยที่ทำการศึกษาการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นเวลานาน

Nelson เขียนถึง
- ข้อเสนอที่ไม่เป็นประชาธิปไตยแม้แต่น้อยของ กปปส เรียกร้องหาสภา ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดย มีวิธีสรรหาคนที่เอาแต่ใจพวกตัวเอง
- การที่ กปปส พยายามขัดขวางการเลือกตั้ง ถึงขนาดบุกไปทำร้ายร่างกายผู้ที่ไปเลือกตั้ง
- การที่ศาล ทหาร องค์กรอิสระ แสดงตัวชัดเจนมากขึ้นจนถึงขั้นสูงสุด ว่า เป็นเพียงเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มอำนาจเก่า ไม่ได้เป็น Facilitator ของรัฐที่ประชาชนเลือกมา แบบที่ควรจะเป็น
- ทัศนคติการดูถูกคนของ กลุ่มชนชั้นกลาง ที่คิดว่าตัวเองไม่สามารถพยายามริดรอนสิทธิในการเลือกตั้งของคนส่วนใหญ่ในประเทศ พยายามสร้างวาทกรรมที่ทำให้คนมีสิทธิไม่เท่ากัน

นอกจากนี้ Nelson สรุปวิกฤตการเมืองไทยในช่วง 5-6 เดือนมานี้ โดยบอกว่ามันเป็นการต่อสู้ของความคิดสองแบบ แบบแรก คือ แนวความคิดแบบ top-down ที่ใช้ความชอบธรรมผ่าน การโหนสถาบันกษัตริย์ ทหาร และข้าราชการ ภายใต้ framework อุดมคติ "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" ที่เน้นการควบคุมแบบเบ็ดเสร็จ ไม่มองคนว่าเป็นพลเมือง แต่มองคนเป็นเพียง ผู้ที่ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม กับ แบบที่สอง คือ แนวคิด ที่เน้น framework ของรัฐธรรมนูญ และทุกๆคนเท่าเทียมกันภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น เน้นความคิดของปัจเจกที่หลากหลายในการสร้างสังคม

สรุปง่ายๆคือ เป็นการปะทะกันระหว่าง แนวความคิดแบบ collectivism (ลัทธิส่วนรวม) แบบในเกาหลีเหนือ เยอรมันช่วงนาซี สเปนช่วงฟรังก์โก้ ฯลฯ กับแนวคิด pluralism (พหุนิยม) ที่เป็นกระแสหลักในการเมืองโลกปัจจุบัน

แต่เท่าที่ผมอ่านบทความนี้ ผมถอด subtext ในบทความช่วง The genesis of the protests ได้ว่า Nelson เองก็น่าจะเห็นด้วยว่าการออกมาประท้วงต้าน พรบ.นิรโทษกรรม แต่หลังจากที่มีการยกระดับการชุมนุม เขาก็ไม่เห็นด้วยแล้ว

http://www.e-ir.info/2014/03/04/protesters-in-thailand-try-a-civilian-coup-detat/

Fedexfc Humanist

Posted by Maitri 

ที่มา: http://bit.ly/16KQSU2            

รายชื่อผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาทั่วประเทศ 468 คน


« เมื่อ: มีนาคม 10, 2014, 09:53:21 AM »

เผยรายชื่อผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาทั่วประเทศ 468 คน หลังเปิดการรับสมัครวันที่ 4-8 มี.ค.ที่ผ่านมา พบผู้สมัครกรุงเทพมหานครมากที่สุด 18 คน ต่างจังหวัดหนองบัวลำภูมากที่สุด 15 คน ส่วนอุทัยธานี สระแก้ว อ่างทอง และพะเยามีเพียง 2 คน
     
       กรุงเทพมหานคร 1. พลตำรวจตรี สุพิศาล ภักดีนฤนาถ 2. นายศรีสุวรรณ จรรยา 3. นางลีน่า จังจรรจา 4. ว่าที่ พ.ต. อาชว์ โครงกาพย์ 5. นายอรุณ คนหลัก 6. นางสาวปิยะสุดา แพ่งสภา 7. นางตรีรัตน์ เซ่งไพเราะ 8. คุณหญิง จารุวรรณ เมณฑกา 9. นายโฆษิต สุวินิจจิต 10. นายปิยชาติ วีรเดชะ 11. นายมงคล ประสาทเสรี 12. นายกรสัณห์ กันยะพงศ์ 13. นางพรทิพย์ ลยานันท์ 14. นายมงคล กิมสูนจันทร์ 15. นายพรชัย รัศมีแพทย์ 16. นายชาญชัย โกศลธนากุล 17. นายประทีป พุทธรักษ์ภักดี 18. นายวิทยา จังกอบพัฒนา
     
       สมุทรปราการ 1. นายดุสิต พันธุ์เสือ 2. นางสาลี่ คี่ตะนิธิพันธ์ 3. นายประสันศิลป์ พิพัท 4. นายนิพนธ์ ผดุงสินไพรโรจน์ 5. นายพงษ์ศักดิ์ พัฒนศักดิ์ภิญโญ 6. นายสมฤทธิ์ ฐิติเจริญชัย 7. นายเสรี หนูวงศ์ 8. นายสมบัติ คุ้มภู 9. นางสาววราภรณ์ อัศวเหม 10. นางสุวรรณณี บวรศุภกิจกุล 11. นายณัฏฐกิตติ์ พลประสิทธิ์ 12. นายจัตุรงค์ เสริมสุข
     
       สุพรรณบุรี 1. นายวิทวัส โพธสุธน 2. นายจองชัย เที่ยงธรรม 3. ทันตแพทย์ อนุศักดิ์ คงมาลัย 4. นายไพรรัตน์ ภู่แก้ว
     
       ปทุมธานี 1. นางมาลา หาญสวัสดิ์ 2. พันจ่าเอก วิชัย หัสดี 3. นางเอมอร ซำศิริพงษ์ 4. นายสุพจน์ ศรีสุวรรณ 5. พันตำรวจเอก ประทีป เจริญกัน 6. นายสุชาติ โสมเกตุสรินทร์ 7. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา 8. นางสาวอิสรา สงวนพงศ์ 9. นายเอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ 10. นายพรหมชยารัฐ ธนัฒศิริวรรณ
     
       นนทบุรี 1. นายจักรชัย อุ่นใจ 2. นายพรชัย สาเมือง 3. นายธนพงศ์ ธนเดชากุล 4. นายวรเศรษฐ์ พัชรปรีชารัตน์ 5. นายชาลี โกมลสุทธิ์ 6. นายวัชรพล บุษมงคล 7. นายยวด แก้วแดง 8. นางพิมพร ชูรอด 9. นางพรพิมล บุญนิมิตร 10. นายรวีโรจน์ ธนบดีธนไพศาล 11. นายรังสรรค์ ทองทา 12. นายกิตติชัย ปฏิภาณประเสริฐ
     
       นครปฐม 1. นายธงชัย ศรีสุขจร 2. นายธนาวัติ เขียวรุ้งเพชร 3. นายไพบูลย์ เสถียรปกิรณกรณ์ 4. พ.ต.อ.มโนรถ สิทธานนท์
     
       สมุทรสงคราม 1. นายธนาวุฒิ โมทย์วารีศรี 2. พลเอก ดำรง ศรีประเสริฐ 3. นายสัมพันธ์ พงษ์พรรณากูล 4. นางสาวบุญยืน ศิริธรรม 5. นายณรงค์ เวชการ 6. ร้อยตำรวจตรี ศิลป์ชัย บุญเจริญ 7. นายอภิชาติ กิตติศักดิ์นาวิน 8. นางมาลัย ลิปิสุนทร 9. พันโท วิทยา รุ่งกระจ่าง
     
       เพชรบุรี 1. นายมนู อุดมเวช 2. พลอากาศโท ชนนนาถ เทพลิบ 3. นางลักขณา สุภาแห่ง 4. นายสุชาติ อุสาหะ 5. นายชวน มินศิริ 6. นางสาวนฤมล สุตะวิริยะวัฒน์ 7. นายหัสพันธ์ เสมเถื่อน 8. นางปภังกร จรรยงค์
     
       สมุทรสาคร 1. นายสุนทร วัฒนาพร 2. นายเกรียงศักดิ์ แสงสว่าง 3. นายวันชัย แสงสุขเอื่ยม 4. พันตรี ธนพงษ์ จันทร์ทอง 5. นางสาวเอ็นดู ชอบชื่น 6. นางสาวจิราพร วัฒนชัย
     
       กาญจนบุรี 1. พลเอก องอาจ พงษ์ศักดิ์ 2. นายเสนาะ ศิลาแรง 3. นางมนรัตน์ สารภาพ 4. นายศรชัย พวงลำเจียก 5. นายมานพ อินทะบุตร 6. นายวิมล พนมศักดิ์
     
       ราชบุรี 1. นางเพียงเพ็ญ ศักดิ์สมบูรณ์ 2. นายสมบัติ เรืองกฤษ 3. นายอุดม ฐิตวัฒนะสกุล 4. นายนิมิต จันทร์วิมล 5. นายสุทน ขำเจริญ 6. ว่าที่ ร.อ. อำนาจ ขำวิเศษ 7. นายพิทยา อังกูรจารุชัย 8. นายกฤตธน สุนทรสเจริญ
     
       ชลบุรี 1. นายแสงศร สุนทรศิลป์ชัย 2. นายสุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ 3. นายกำพล ตั้งเอกชัย 4. ผศ.สมชาย พัฒนะเอนก 5. พ.ต.ต.บัณฑิต คุณจักร์ 6. นายวิชัย จุลวนิชย์พงษ์
     
       ฉะเชิงเทรา 1. นายสุนันต์ อรุณนพรัตน์ 2. นายสุเชน ทั่วทิพย์ 3. นายแพทย์ เชาวลิต เจริญพร
     
       อุทัยธานี 1. นายไพโรจน์ ทุ่งทอง 2. นางแสงนิล คร้ามใจ
     
       จันทบุรี 1. นายสุรพงษ์ สุวรรณหิตาธร 2. นางพจนา กิจกาญจน์ 3. นายสันติ พลอยล้อมเพชร
     
       สระแก้ว 1. นายประพันธ์ บัวศรี 2. นางดวงพร เทียนทอง
     
       ตราด 1. นายบุญส่ง ไข่เกษ 2. นายมงคล หวลถนอม 3. นายสิงห์หา คร่ำศิลป์
     
       ลพบุรี 1. นางประไพพิศ วงษ์สุวรรณ์ 2. นายประยุทธ คงเฉลิมวัฒน์ 3. นายสุรชัย ศรีแสงอ่อน 4. นายประทวน สุทธิอำนวยเดช 5. นางปวีณา อุ้ยลี 6. นายเอกราช กำเนิดสุข 7. นายพรชัย นันทวีชัยกุล 8. นางสาวศรีรัตน์ ฤกษ์พิชัย 9. นายชัยรัตน์ มาตยานุมัตย์ 10. ด.ต.ลออ สดเอี่ยม
     
       ปราจีนบุรี 1. นายสฤษดิ์ บุตรเนียร 2. นายสมาน พูนสวัสดิมงคล 3. นางไพรินทร์ จิรัฐิติเจริญ 4. นายเดชฤทธิ์ ปัญจะมูล
     
       ชัยนาท 1. นางสาววรรณอนงค์ ทรัพย์รวงทอง 2. นายมณเฑียร สงฆ์ประชา 3. นายจุติพงษ์ พุ่มมูล 4. นายจำลอง โพธิ์สุข 5. นางจิณาภา ทรัพย์วิสุทธิ์
     
       อ่างทอง 1. นายชูศักดิ์ ศรีราชา 2. นางมะลิ เริงฤทธิ์
     
       สิงห์บุรี 1. นายไสวรินทร์ ศรีชำนิ 2. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ 3. นายพิภพ ใจเพียร 4. นางสาวนิชดา ตันติลักษณ์ 5. นายพิบูลย์ ฤทธิ์มาก 6. นายยุทธิพันธ์ นุชธุรี
     
       สระบุรี 1. นายอำนวย ปิ่นพิลา 2. นายบุญส่ง เกิดหลำ 3. นายบุรินทร์ วิจิตรศิริ 4. นายสำราญ เปสลาพันธ์ 5. นายสุนทร โพนโต
     
       ระยอง 1. นายนิคม อ่อนละมัย 2. นายพฤกษ์ พลายเวช 3. นายสุรชัย ปิตุเตชะ 4. ว่าที่ร้อยโท สรสุชาติ บุญปลื้ม 5. นาวาโท ดร.ภานุพงศ์ จิตดล 6. นายรฐชาย ยอดมาลัย 7. นายภีมเดช อมรสุคนธ์
     
       นครนายก 1. นายพงศ์เดช วิบูลย์ธนสาร 2. นายมารุต โรจนาปิยาวงศ์ 3. นางสาวธัญธารีย์ จารุจิตติวัฒน์
     
       พระนครศรีอยุธยา 1. นายนพดล อมรเวช 2. นายเฟื่องวิทย์ ชูตินันท์ 3. นายคณิพงษ์ แขวัฒนะ 4. พลตำรวจโท ไพฑูรย์ ชูชัยยะ
     
       ประจวบคีรีขันธ์ 1. นายสืบยศ ใบแย้ม 2. นายสนิท บุญก่อสกุล 3. นายสุรศักดิ์ ดุสิตสิทธิพร
     
       ปัตตานี 1. นายสมหวัง อภิชัยรักษ์ 2. พลโทมนตรี อุมารี 3. นายอับดุลฮามิด จะปะกียา 4. นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา 5. นายประมุข ลมุล
     
       สตูล 1. นายณฤเบศวร์ โอภาโส 2. นายอิบรอเหม อาดำ 3. นายไพศาล หลีเส็น 4. นายอัครินทร์ เลิศกิจชัยศิริ 5. พ.ต.ท.สุริยา บาราสัน 6. นายฮารูณ พูนสิน
     
       ยะลา 1. นายอับดุลเล๊าะ อาเย๊าะแซ 2. นายจิรภัฏ ฤกษ์มณีรัตน์ 3. นายอับดุลอายี สาแม็ง 4. นายสันติ เจริญปัญญาศักดิ์
     
       นครศรีธรรมราช 1. นายมนัส เพ็งสุทธิ์ 2. พันตำรวจเอก ธรรมนูญ ไฝจู 3. นายสุวัฒน์ ตั้งตระกูล 4. นายมงคล อินทสุวรรณ์ 5. นายอรุณ ชนะคช 6. นายเฉลิมศักดิ์ บุญนำ 7. นายณัฏฐวัฒน์ สุดประเสริฐ 8. พันจ่าอากาศเอก อากร ณ นคร
     
       ตรัง 1. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ 2. นายดำรง สินชัย 3. นายเนติวิทย์ ขาวดี 4. นายชวลา สัมพันธรัตน์ 5. นายถนัด ขวัญนิมิตร 6. นายพิมล ณ นคร 7. นายสมนึก บัวทอง 8. นายณรงค์ฤทธิ์ เพชรฤทธิ์
     
       พัทลุง 1. นายประภาศ ปานเจี้ยง 2. นายอภินันท์ ชูดำ 3. นายทวี ภูมิสิงหราช 4. พ.ต.อ. จรงค์ ภักดีวานิช 5. นางวรวรรณี บุญนวล 6. นายสานันท์ สุพรรณชนะบุรี
     
       สุราษฎร์ธานี 1. พลอากาศเอก สุจินต์ แช่มช้อย 2. นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล 3. นายไสว สงศรี
     
       กระบี่ 1. นายอภิชาต ดำดี 2. นายสมเกียรติ กิจธรรมเชษฐ์ 3. ว่าที่ ร.ต. ศรีศักดิ์ คำฝอย 4. นายอดิเรก เอ่งฉ้วน 5. นายแสงชัย วสุนธรา 6. นายชำนาญวิทย์ บางทอง 7. นายวิรัช สีหมุ่น
     
       ระนอง 1. นายศักดา ศรีวิระยะไพบูลย์ 2. นายนิรุตติ สุทธินนท์ 3. นายไชยันต์ ปฏิยุทธ 4. นายคำนึง โสตถิอุดม 5. นายสิทธิชัย ชูรัก
     
       พังงา 1. นายกระจ่าง เพชรบูรณ์ 2. นายเนรมิตร มีเพียร 3. นายอารักษ์ นุณยัษเฐียร 4. นายวระชาติ ทนังผล 5. นายวาณิช วัฒนกิจ
     
       ภูเก็ต 1. นายบำรุง รุ่งเรือง 2. นายชัยยศ ปัญญาไวย 3. นายทรงวุฒิ หงษ์หยก 4. นายชัยเยนทร์ เมืองแมน 5. นายมาโนช พันธ์ฉลาด 6. นายเชิดชัย วงศ์เสรี 7. นายเชิดชู แซ่เอี่ยว 8. นายแนบ สินทอง
     
       นราธิวาส 1. นายนิมันซูร จียี่งอ 2. นายมะฮูนเซ็น มะสุยี 3. นายนิรันดร์ บุญบ้านเกิด 4. นายชูไหรี่ นิฮะ
     
       สงขลา 1. นายอนุมัติ อาหมัด 2. นายยศศักดิ์ โกไศยกานนท์ 3. นายอมรเทพ วัชรอดิศัย 4. นายมานะ ศรีพิทักษ์ 5. นายสมยศ โชติเกษมศรี 6. นางรัชนีพร รัตนถาวร 7. นายสุนันท์ เทพศรี
     
       ชุมพร 1. พลตำรวจเอก นรินทร์ บุษยวิทย์ 2. นางสาววรรณา แซ่ตึ้ง 3. นายสุทรรศ พะลัง 4. นายพงศา ชูแนม 5. พันตำรวจเอก เอกวัฒน์ โพธิ์เย็นญาติ 6. นายสายัณห์ ปานสวี
     
       มุกดาหาร 1. นายเจษฎาพล คำภูษา 2. นายนรัชชา ศรีเจริญ 3. นายวิริยะ ทองผา 4. นายประจักร เทพศรีหา 5. นายอนุสรณ์ ตั้งปณิธานนท์ 6. นายโมช แก่นงาม 7. นายคำมูล วาปีกุลเศรษฐ์
     
       อุดรธานี 1. นางอาภรณ์ สาราคำ 2. นางอมร ชัยนาม 3. นายสมคิด หอมเนตร 4. นายวัลลภ จันดาเบ้า 5. นายสัญชัย ปิยะพงษ์กุล 6. ม.ว.ต.หญิง ยงฤดี พูลทรัพย์ 7. นายประจญ กิ่งมิ่งแฮ
     
       ร้อยเอ็ด 1. นายเกรียงศักดิ์ หลักคำ 2. นางจิรภา ธีระกนก 3. นางสุภาพ ติณรัตน์ 4. นายสมเกียรติ พื้นแสน 5. นายวรชาติ กองเมธี 6. นายพิชัย คามวัลย์ 7. นายนิรันดร์ คลังบุญวาสน์ 8. นายวิรัตน์ นาเมืองรักษ์ 9. นายธนบรรณ น้ำกระจาย 10. นายจาตุรันต์ แก่นวงศ์คำ 11. ว่าที่พันตรี สามารถ แท่นประยุทธ
     
       หนองคาย 1. นายอุทรห์ เกฐสิทธิ์ 2. นายสุรพงษ์ ผลบูรณ์ 3. นายอาทิตย์ ศรีตะบุตร 4. นางจิรัชยา โกรศวร
     
       นครราชสีมา 1. นายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ 2. นายปรีชา กำพุฒกลาง 3. พลเอก วีรวุธ ส่งสาย 4. นางเพ็ญศรี จารุกำเนิดกนก 5. นายไพลิน ภูวสวัสดิ์ 6. นายสุรัตน์ จุลวรวงศ์
     
       หนองบัวลำภู 1. นายวิเชษฐ คำก้อย 2. นายวินัย เสียงเสนาะ 3. นายประไว คงอาษา 4. นายวินิตย์ ผลดี 5. นายศุภโชค ศรีอุดม 6. นายประพาส นวนสำลี 7. นายลิขิต พิบูลย์ดิษฐ์ 8. นางณัฐพิชา นามพรหม 9. นายสมพาน ศรีหอม 10. นายคงศักดิ์ สวัสดิภาพ 11. นายสงกรานต์ อาจนนท์ลา 12. นางสุมาลี เมืองนาง 13. นายประดิษฐ์ พลเยี่ยม 14. นายดำสิงห์ ศรีลาวงศ์ 15. นายบัญชา สุปัญญา
     
       ขอนแก่น 1. นายวัน สุวรรณพงษ์ 2. นายโกเมศ ทีฆธนานนท์ 3. นายฐิตินันท์ แสงนาค 4. นายศุภสิธ เตชะตานลท์ 5. นายสุธน สอนคำแก้ว 6. ผศ.สุวิทย์ นามบุญเรือง 7. นายประเสริฐ สัจจาวิริยะ
     
       บึงกาฬ 1. นายบุญมา พันดวง 2. นายอัคเนย์ แถวบุญตา 3. นายณัฐพล เนื่องชมภู 4. นางกันยา แต้เจริญวิริยะกุล 5. นายวิทยา บุติมุลตรี
     
       เลย 1. นายทนง สุวรรณสิงห์ 2. นายสมศักดิ์ ขจรเฉลิมศักดิ์ 3. นายสุเครื่อง บุรินทร์กุล 4. นายภิชา ผลเรือง 5. นายเสถียรพงศ์ บารมีธรรมสรณกุล 6. นายนิพนธ์ โกษาจันทร์ 7. นายกฤษณ์ ฤทธิ์มนตรี 8. พันเอก กาจพสุ เพชรสงคราม
     
       มหาสารคาม 1. นายศรีเมือง เจริญศิริ 2. นายรังสรรค์ เพียรอดวงษ์ 3. นายวิทยา มะเสนา 4. นายมานิศ พิมพ์ดี
     
       สุรินทร์ 1. นายประดุจ มั่นหมาย 2. นายสุชีพ แข่งขัน 3. รองศาสตราจารย์ ศิริพร สุเมธารัตน์ 4. นายนุรุทธิ เจริญพันธ์ 5. ร้อยเอก สมพร สาลีงาม 6. นายสุชีพ พฤฒิพันธ์พิศุทธิ์ 7. นายเสกสรร นิสัยกล้า
     
       นครพนม 1. นายสมนาม เหล่าเกียรติ 2. นายวัชรินทร์ เจียวิริยบุญญา 3. นายจำลอง รัตนโกเศศ 4. นายพงษ์เสกสรร แสนสุข 5. นายโอภาส สุมนารถ
     
       สกลนคร 1. นายรองสมจิตร การุญ 2. นายประจักษ์ พรหมโคตรวงศ์ 3. นางสาวมาลินี จรูญธรรม 4. นายเพิ่มศักดิ์ จันทร์แดง 5. นายสัลวิทย์ นวมโคตร 6. นายดำเกิง วงศ์กาฬสินธุ์ 7. ส.อ.หญิง วรางคณา สุดตะมา 8. นางภัทราวดี เอี่ยมประเสริฐ 9. นายไพจิตร กุลตังวัฒนา
     
       ชัยภูมิ 1. นายสุดตา วงศ์นรา 2. พลตำรวจโทสุกิจ อุดมเศรษฐ์ 3. นายอุปกรณ์ วงศ์นรา 4. พันตำรวจโท วรินทร์ สวัสดิ์โรจน์ 5. นายบัณฑูรย์ เกียรติก้องชูชัย 6. นางลัดดา วงศ์ใหญ่ 7. นายสมมิตร รื่นรวย
     
       ยโสธร 1. นายวิฑูรย์ วงษ์ไกร 2. นางประยูร เหล่าสายเชื้อ 3. นายอนุสรณ์ โพธิ์ไพร 4. นายศราวุธ พลพาล
     
       อำนาจเจริญ 1. นางญาณีนาถ เข็มนาค 2. นายชาญณรงค์ คณาเสน 3. นายคชาเทพ ดอกไม้ 4. นายธนกร อิงคินันท์
     
       บุรีรัมย์ 1. นายการุณ ใสงาม 2. นายยืนยง ทิพย์โภชน์ 3. นายเสริมศักดิ์ ทองศรี
     
       อุบลราชธานี 1. นายไสว ศรีจันทร์ 2. นายธีระพงษ์ มุสะกะ 3. นายสมชาย เหล่าสายเชื้อ 4. นางณัชณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์ 5. นายวัฒนา จันทศิลป์ 6. นายวีรพจน์ เพชราเวช 7. นายเกียรติก้อง จันทรสาขา 8. นางอรไท ทิพย์โอสถ
     
       ศรีสะเกษ 1. นางสาววิลดา อินฉัตร 2. นายชัยธัช มานะศรีสุริยัน 3. นายไสว สดใส 4. นายธนกฤต กุศลสมบูรณ์ 5. นายสมภพ มั่นคง 6. นายวนิชย์ ฤทธิ์เดช
     
       กาฬสินธุ์ 1. นายวิรัช พิมพะนิตย์ 2. นายประยงค์ โมคภา 3. นายวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ 4. นายแพน พรไตรศักดิ์ 5. นายทิวา แจ้งสุข
     
       พิษณุโลก 1. นายสุรินทร์ ฐิติปัญญา 2. นางเปรมฤดี ชามพูนท 3. นายฐิติพงษ์ชาญ ทรัพย์เพิ่มพูนทวี 4. นายสันติ ศิริสินเลิศ 5. นายวชิระ แสงสิงห์ 6. นายยอด นาคหวัง 7. นายนิธิทนันท์ ก้าวศรีสุริยะธรดา 8. นายสำเริง สุขรุ่งเรือง 9. นายเศรษฐา สุทธิหล่อ
     
       เพชรบูรณ์ 1. นายพิพัฒน์ ภัครัชตานนท์ 2. นายณรักษ์ มณีราช 3. นายวีรศักดิ์ เหล่าบุตรสา 4. นายณรงค์ จันทร์เชื้อ 5. นายเสถียร เม่นบางผึ้ง 6. นายโสภา เปรมโสภณ
     
       เชียงราย 1. นางเตือนใจ ดีเทศน์ 2. นายปรีชา พัวนุกุลนนท์ 3. นายมงคลชัย ดวงแสงทอง 4. นายศักดิ์ชัย จงสุทธนามณี 5. นางสาวพนิดา มะโนธรรม 6. นายประสิทธิ์ บุญยืน
     
       แพร่ 1. ด.ต.บุหลัน ราษฎรณ์คำพรรณ์ 2. นายสามขวัญ พนมขวัญ 3. นายบุญทอง ปัญญาสว่างจิตร 4. นายดอนเมืองแพร่ หริ่มรักษาทรัพย์
     
       สุโขทัย 1. นายภูมิสิทธิ์ มั่นคง 2. นางบุญพา ลิมปะพันธุ์ 3. นายไพศาล ช. ศิริสนธิ 4. นายประเสริฐ์ จันทร์แยง
     
       ลำพูน 1. นายสมคิด ปัญญาแก้ว 2. นายตรี ด่านไพบูลย์ 3. นายดิเรก ก้อนกลีบ 4. นายนพพร นิลณรงค์ 5. นางกฤษฏาภรณ์ รุจิธำรงกุล
     
       ตาก 1. นายฟรีอี เละเซ็น 2. พ.ต.ท.อนุรักษ์ จิรจิตร 3. พล.ท.ไกรสีห์ โสภโภดร 4. พลตรี พรชัย เอี่ยมสนิทอมร
     
       ลำปาง 1. นายวราวุฒิ หน่อคำ 2. นายอำนวย เงินกระแชง 3. นายธนชัย พงษ์โสภาวิจิตร 4. นายบุญชู ตรีทอง 5. ดาบตำรวจกิจชนะชัย ปะละ
     
       พิจิตร 1. ดร.กิตติ์ธเนศ โภคินบุญญารัศมิ์ 2. นายวิชัย ด่านรุ่งโรจน์ 3. นายมาโนช นิลนาก 4. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช 5. นางสาววารุณี ด่านรุ่งโรจน์ 6. นายสมเกียรติ ศรีม่วง
     
       อุตรดิตถ์ 1. นายโปรย สมบัติ 2. นายพีรศักดิ์ พอจิต 3. นายวรนุพงศ์ ลภัสจารุนันท์
     
       กำแพงเพชร 1. นายจุลพันธ์ ทับทิม 2. นายอุดม วราหะ 3. นายธนทัต ประเสริฐนู 4. นายออมสิน สุขภิการนท์ 5. นายพเยาว์ เมฆพันธุ์
     
       นครสวรรค์ 1. เรืออากาศเอกจักวาล ตั้งภากรณ์ 2. นายธรรมรัฐ เนียมณรงค์ 3. นายบูรพา ผู้ภักดี 4. นายวุฒิพงษ์ ชวนประสงค์ 5. นายนิกร รักษ์พุก 6. นางลัดดาวัลย์ เดชเจริญรุ่งเรือง
     
       เชียงใหม่ 1. นายสมพงศ์ ค่ายคำ 2. นายเพทาย เตโชฬาร 3. นายอดิศร กำเนิดศิริ 4. นายชำนาญ จันทร์เรือง 5. นายพงศ์พันธุ์ ไชยวัณณ์ 6. นายถาวร เกียรติไชยากร 7. นายกฤษณพงษ์ พรมบึงรำ 8. นายพรศักดิ์ สังข์สังวาลย์ 9. นายอภิวัฒน์ คุณารักษ์ 10. ร้อยตำรวจตรีสมพล เกษมมาลา 11. นายสัมพันธ์ ฉัตรมงคลพันธ์ 12. นายวชิระ เรืองพรวิสุทธิ์ 13. นายบุญพา ชัยเลิศ
     
       แม่ฮ่องสอน 1. นายจำลอง รุ่งเรือง 2. นายสุพล สันติโชตินันท์ 3. นายสุเทพ นุชทรวง 4. พล.อ.อ.ยุทธนา สุกุมลจันทร์ 5. นายนพดล ปัญญา 6. ว่าที่ ร.ต.โชติปฐมพนต ธีรพลสังข์ภิรมย์
     
       พะเยา 1. นายไพรัตน์ ตันบรรจง 2. นายเสถียร เชื้อประเสริฐศักดิ์
     
       น่าน 1. นายชัยวุฒิ คูอาริยะกุล 2. นายศรีสุรินทร์ จำปา 3. นายเสรี พิมพ์มาศ 4. นายอานนท์ ตันตระกูล