PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

กมธ.พลังงานเสียงข้างมากหงายเงิบ! สปช. 130 เสียงไม่เอาด้วย เปิดสัมปทานรอบที่ 21

กมธ.พลังงานเสียงข้างมากหงายเงิบ! สปช. 130 เสียงไม่เอาด้วย เปิดสัมปทานรอบที่ 21

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
13 มกราคม 2558 19:42 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
กมธ.พลังงานเสียงข้างมากหงายเงิบ! สปช. 130 เสียงไม่เอาด้วย เปิดสัมปทานรอบที่ 21
ภาพจากแฟ้ม

ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ มีมติ 130 ต่อ 79 เสียง ไม่เห็นด้วยกับการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมากเป็นผู้เสนอ
       

      
       วันนี้ (13 ม.ค.) ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 19.32 น. ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ครั้งที่ 4/2557 โดยมีวาระพิจารณาศึกษาเรื่องการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมากเป็นผู้เสนอ ซึ่งดำเนินการประชุมมาตั้งแต่เวลา 10.00 น. หลังมีการอภิปรายมาอย่างยาวนานนั้น ได้มีการลงคะแนน โดยมี น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช. คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม
      
       โดยผลการลงมตินั้น มีมติไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. เสียงข้างมาก ที่จะให้มีการเดินหน้าสัมปทานพลังงานรอบที่ 21 ด้วยคะแนน 79 ต่อ 130 คะแนน งดออกเสียง 21 เสียง จากจำนวนผู้เข้าประชุม 230 คน
      
       ส่วนการเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่องจะทำอย่างไร ให้ประเทศไทยมีกลไกป้องกันและขจัดความทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มีประสิทธิภาพ ยกไว้พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป ก่อนที่ น.ส.ทัศนา สั่งปิดประชุมในเวลา 19.33 น.
       

ในหลวงเสด็จฯ

"ในหลวง" ทอดพระเนตรสวนเฉลิมพระเกียรติ และทัศนียภาพของริมฝั่งคลองบางกอกน้อย
Cr:ผู้จัดการ
วันนี้ (13 ม.ค.) เวลา 17. 29 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินจากอาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ไปยังสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บริเวณด้านข้างโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรบริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา และทัศนียภาพริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีคณะแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่ทราบข่าว ต่างพากันไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จกันเป็นจำนวนมาก
ในการนี้ ทรงวางพวงมาลัยถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และพระรูปสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2554โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สำนักช่างสิบหมู่ออกแบบและปั้นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชอิริยาบถทรงอุ้มสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรส อันแสดงถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก ประทับบนพระราชอาสน์ มีขนาด 1.25 เท่าของพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ลำลองแบบคอจีน เบือนพระพักตร์ออกไปทางฝั่งน้ำเจ้าพระยา
สวนสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ทรงอาภรณ์ผ้านุ่งอย่างเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ นักศึกษา และประชาชน ได้ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราชเมื่อปี 2431 และพระราชทานชื่อโรงพยาบาล "ศิริราช" ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะทรงพระเยาว์
สำหรับสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษานั้น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ปรับปรุงสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สร้างไว้บนพื้นที่ของสถานีรถไฟธนบุรีเดิม เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ปัจจุบันสวนแห่งนี้ได้มีการขยายพื้นที่เพิ่มเป็น 12 ไร่
โดยอยู่รอบอาคารของสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช มีการปลูกสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค และบรรเทาอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยไว้กว่า 150 ชนิด อาทิ นางแย้ม , สารภี , อบเชย, การบูร , กานพลู ซึ่งภูมิสถาปนิกได้ออกแบบให้ต้นสมุนไพรดังกล่าวปลูกอยู่ในสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ 3 แบบคือ ป่าทุ่งหญ้า ป่าโปร่ง และป่าที่สมบูรณ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน และประชาชนทั่วไป
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรทัศนียภาพ และวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณสองฝั่งของริมคลองบางกอกน้อย ซึ่งเป็นชุมชนที่ชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่อย่างเกื้อกูลกัน โดยมีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย ยังคงใช้เรือเป็นพาหนะในการสัญจร
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับ ณ
อาคารเฉลิมพระเกียรติโรงพยาบาลศิริราช ในเวลา 18.2 น. โดยมีประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทส่งเสด็จจำนวนมาก พร้อมเปล่งเสียงถวายพระพรดังกึกก้อง และต่างปลื้มปีติที่เห็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระพักตร์แจ่มใส และมีพระพลานามัยที่แข็งแรง


แก๊งค้าเด็กทารกในจีนโหด“โรงงานผลิตทารก” เลี้ยงด้วยมาม่า ขยะผัก รอลูกค้ามาซื้อ

“มารอำมหิตที่สุดในโลก” ผุด “โรงงานผลิตทารก” เลี้ยงด้วยมาม่า ขยะผัก รอลูกค้ามาซื้อไป..!
Cr:ผู้จัดการ
เอเจนซี--สถานีโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน รายงาน...ระหว่างปฏิบัติการกวาดล้างแก๊งลักลอบค้าเด็กเมื่อไม่นานมานี้ ตำรวจได้ช่วยเหลือทารก 37 คน และเด็กหญิงวัย 3 ขวบอีกคน พร้อมจับกุมผู้ต้องสงสัยฯ 103ราย
เฉิน สือชีว์ ผู้อำนวยสำนักงานปราบปรามการค้าเถื่อน สังกัดกระทรวงพิทักษ์สันติราษฏร์ เผยกับผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน(ซีซีทีวี) ว่าเกิดรูปแบบใหม่ล่าสุดของอาชญากรรมในการขบวนการลักลอบค้าเด็กในประเทศจีน โดยมีแก๊งค้าเด็กจัดหาหญิงตั้งครรภ์มาคลอดลูกในโรงงานร้างที่เขตจี้หนิง มณฑลซันตง โดยแก๊งค้าเด็กตามเขตต่างๆของมณฑลซันตง เสาะหาหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการขายลูกของตน จากนั้นก็นำตัวมาที่โรงงานร้างแห่งหนึ่ง เมื่อคลอดลูกแล้ว หญิงเหล่านี้ก็มิได้เลี้ยงดูลูกเลย ส่งเด็กทารกแรกเกิดให้แก่พวกแก๊งค้าเด็ก แล้วก็จากไป
รายงานข่าวของซีซีทีวีเมื่อวันจันทร์(12 ม.ค.) เผยว่า แก๊งค้าเด็กจะขนทารกไปซ่อนในห้องดับจิตของโรงพยาบาลโรคติดเชื้อบริเวณชานเมืองจี้หนิง พวกมันจะซ่อนเด็กๆไว้ที่นั่น จนกว่าจะหาผู้รับซื้อเด็กได้ ระหว่างนั้นก็เลี้ยงทารกด้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเศษขยะอาหาร เช่นผักที่ทิ้งแล้ว
สำหรับราคาเด็กทารกเพศชาย อยู่ระหว่าง 50,000 หยวน ถึง 80,000 หยวน (ราว 250,000-400,000 บาท) ส่วนทารกเพศหญิง ที่สังคมจีนให้ค่าน้อยกว่าชายนั้น ก็มีราคาถูกกว่าหน่อย
“เด็กๆถูกละเมิด พวกแก๊งค้าเด็กเลี้ยงเด็กด้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือไม่ก็ผักที่ถูกโยนทิ้งแล้ว จนกว่าจะหาผู้ซื้อได้” โหว จวิน เจ้าหน้าที่สอบสวน เล่า
รายงานข่าว เผยต่อว่า เมื่อทีมเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้าไปยังห้องดับจิต ก็พบเด็กทารกหลายคนที่สุขภาพย่ำแย่มาก บางคนเป็นผื่นแดง มีฝีหนอง เนื่องจากที่นอนสกปรก
พร้อมกันนี้ ตำรวจได้ช่วยเหลือเด็กหญิงวัย 3 ขวบ คนหนึ่ง ที่ถูกญาติตัวเองนำมาขาย ออกมาและพากลับไปหาพ่อแม่
ตำรวจนายหนึ่งเล่าแก่ผู้สื่อข่าวซีซีทีวีว่า ทารกคนหนึ่งที่ตำรวจได้ช่วยออกมา เกือบสิ้นลมหายใจ เนื่องจากพวกแก๊งค้าเด็กนำตัวไปซ่อนใต้ฟูกหนา
จากรายงานข่าวซีซีทีวี ผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับกุมตัว 103 คน มีแม่เด็กที่ขายลูก รวมอยู่ด้วย
เพีย แมคแร (Pia MacRae) ผู้อำนวยการประจำรายประเทศ ของ องค์กรพิทักษ์เด็ก Save the Children บอกกับ สื่อฮ่องกง เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ ว่า “ความยากจนเป็นรากเหง้าปัญหา ที่ทำให้เกิดการค้าเถื่อนเช่นนี้ เส้นทางการลักลอบฯ มาจากพื้นที่ห่างไกลและยากจน ไปยังเขตที่มีการพัฒนามากกว่า และเศรษฐกิจดีกว่า”
องค์กร NGO จากอังกฤษ ที่ทำโครงการต่อต้านการลักลอบค้าเด็กในมณฑลอวิ๋นหนัน (ยูนนาน) โดยจุดประสงค์ป้องกันการลักลอบฯ กล่าวว่าเด็กที่ถูกขายเหล่านี้ ส่วนใหญ่ถูกนำไปเป็นแรงงานทาส
เด็กบางคน ส่วนใหญ่เป็นเด็กชาย ก็มักถูกส่งขายให้แก่ครอบครัวที่ไม่มีบุตร หรือมีลูกผู้หญิงคนเดียว
ตามกฎหมายอาญาจีน ระบุโทษทัณฑ์สำหรับการลักลอบค้าเด็ก ได้แก่ โทษจำคุกอย่างน้อย 5 ปี ส่วนแก๊งค้าเด็กที่ขายเด็กอายุน้อยกว่า 14 ขวบ จำนวน 3 คน ขึ้นไป อาจต้องโทษจำคุกมากว่า 10 ปี ไปถึงโทษประหารชีวิต
การบุกกวาดล้างและจับกุมครั้งนี้ มิใช่ครั้งแรก ในปี 2555 มีแก๊งอาชญากรรมที่ประกอบด้วยแพทย์ และผู้ลักลอบค้าฯ รวม 7 คน ได้ขายเด็ก 6 คน ผ่านโรงพยาบาลในเมืองหลินอี้ มณฑลซันตง หลังจากที่ศาลดำเนินการพิจารณาคดี แก๊งขายเด็ก ทั้ง 7 คน ถูกตัดสินจำคุกระหว่าง 6-13 ปี จากรายงานข่าวของสื่อจีน กฎหมายรายวัน (Legal Daily)


ตั้ง 14กก.ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ คสช.บิ๊กป้อมเป็น ปธ.

13/1/58
หัวหน้า คสช. ออกคำสั่ง คสช.ที่ 2/58 ตั้งคณะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ คสช.14 คน ให้ "พล.อ.ประวิตร" เป็นประธาน พร้อมกำหนดกรอบ 7 ข้อ

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (คสช.) ได้ลงนามในคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 2/2558 ลงวันที่ 9 ม.ค. เรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อเร่งรัดขับเคลื่อนการดำเนินการของส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดการบูรณาการสอดคล้องรองรับกับยุทธศาสตร์ของ คสช.ทั้ง 9 ด้าน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิรูปและพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่เหมาะสม และยั่งยืน โดยนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติ

ทั้งนี้ คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้า คสช. เป็นประธาน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองประธาน มีกรรมการ ประกอบด้วย พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิช ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ.ถาวร มณีพฤกษ์ นายอำพน กิตติอำพล นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ (โดย หัวหน้า คสช. แต่งตั้งขึ้นมาอีกไม่เกิน 3 คน) พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ กรรมการและเลขานุการ

โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. ติดตามและประเมินผลการดำเนินการของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของ คสช. 2. รายงานผลดำเนินการตามข้อ1 รวมทั้งความเห็นหรือข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขต่อหัวหน้า คสช. เพื่อพิจารณาสั่งการให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป 3. กำหนดแนวทางและมาตรการหรือกลไกในการประสานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของ คสช. ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

และ 4. ในกรณีที่เห็นสมควรอาจแจ้งต่อหัวหน้า คสช.เพื่อขอให้มีการประชุมร่วมกันของ คสช.และ ครม.เพื่อปรึกษาหารือหรือพิจารณาแนวทางดำเนินการเพื่อให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของ คสช. มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือช่วยเหลือในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามความจำเป็น 6. เชิญข้าราชการเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อเท็จจริงความเห็น หรือ ข้อเสนอแนะ หรือเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น 7. ดำเนินการอื่นใดตามที่ หัวหน้า คสช.มอบหมาย

นอกจากนี้ ให้สำนักเลขาธิการ คสช.อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานตามคำสั่งนี้ และให้พิจารณาการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการอื่นๆที่จำเป็น เพื่อให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของ สำนักเลขาธิการ คสช.

แก้ไข รธน.ม.68 ยึดอำนาจหรือคานอำนาจ

"การไปพ่วงมาตรา 68 เข้ามาในร่างแก้ไขมาตรา 237 วรรคสองด้วยนี้ ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นฝีมือการร่างของนักกฎหมายประเภทเทคนิค คือนักกฎหมายที่ไม่มีจิตวิญญาณของนักกฎหมาย (legal mind) และไม่มีความเคารพในกฎของกฎหมาย (the Rule of Law)พวกนี้ร่างกฎหมายตามความประสงค์ของผู้มีอำนาจและมีความรู้ที่จะใช้เทคนิคทางกฎหมายอธิบายให้ดูเป็นเหตุผลได้"

 ที่มา แนวหน้า 1เม.ย.2556

เป็นที่ทราบกันดีว่าขณะนี้ สส.พรรครัฐบาลร่วมกับสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบันโดยแยกยื่น 3 ฉบับ แต่มีหลักการแก้ไขมากกว่า 3 เรื่องหรือ 3 ประเด็น
ถึงแม้ทุกฉบับจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับประชาชนและระบอบการปกครองของประเทศ แต่ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอยกฉบับที่อ้างในหลักการว่าจะแก้ไขมาตรา 237 วรรคสอง เรื่องการยุบพรรคการเมืองมาวิพากษ์วิจารณ์เท่านั้น
เหตุที่ยกฉบับนี้ขึ้นมาก็เพราะมีรายการหมกเม็ดด้วยเทคนิคการร่างกฎหมายโดยพ่วงมาตรา 68 ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นหัวใจของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เพราะเป็นบทมาตราที่ให้สิทธิแก่ประชาชนทุกคน ในการที่จะพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ผู้เขียนขอย้ำอีกที่นะครับว่า มาตรา 68 ไม่ได้หมายความถึงสิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่เป็นสิทธิของประชาชนคนไทยที่จะพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐธรรมนูญจะแก้ไขอย่างไรก็ได้ แต่จะไปเปลี่ยนระบอบการปกครองของประเทศไม่ได้
ไอ้ที่ไปเจรจาอะไรกันเรื่องจะตั้งรัฐปัตตานีอยู่ตอนนี้ก็ระวังให้ดีครับเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเมื่อไหร่เจอคนใช้สิทธิตามมาตรา 68 พ่วงด้วยความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความมั่นคงของรัฐแน่ๆ
การไปพ่วงมาตรา 68 เข้ามาในร่างแก้ไขมาตรา 237 วรรคสองด้วยนี้ ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นฝีมือการร่างของนักกฎหมายประเภทเทคนิค คือนักกฎหมายที่ไม่มีจิตวิญญาณของนักกฎหมาย (legal mind) และไม่มีความเคารพในกฎของกฎหมาย (the Rule of Law) พวกนี้ร่างกฎหมายตามความประสงค์ของผู้มีอำนาจและมีความรู้ที่จะใช้เทคนิคทางกฎหมายอธิบายให้ดูเป็นเหตุผลได้
มาตรา 68 จึงถูกแฝงเข้าไปร่วมด้วยช่วยกันในการแก้ไขมาตรา 237 วรรคสอง เพราะมาตรา 237 วรรคสองนี้ไม่มีพรรคการเมืองใดชอบแน่ๆ เนื่องจากเป็นบทที่ทำให้พรรคการเมืองถูกยุบได้โดยง่าย ผู้ร่างกฎหมายฉบับนี้จึงฉลาดมากที่พ่วงการแก้ไขมาตรา 68 เข้าไปอย่างแนบเนียน
ปรากฏว่ามีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 4-5 คนที่ไปลงชื่อเสนอร่างฉบับนี้เพราะเห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 237 วรรคสอง แต่พอรู้ความจริงว่ามีการพ่วงมาตรา 68 เข้าไปด้วยจึงพากันไปถอนชื่อจากการเป็นผู้เสนอร่าง
ซึ่งเป็นที่มาของวลีที่ว่า เป็นถึงสมาชิกวุฒิสภาให้เขาหลอกได้ก็สมควรไปตายเสีย
แต่ผู้เขียนเป็นห่วงประชาชนธรรมดามากกว่า เพราะถ้าประชาชนถูกหลอกแล้วคงไม่มีสิทธิที่จะไปบอกให้ประชาชนไปตายเสีย จึงได้เขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อชี้แจงในความรู้ด้านกฎหมายที่ผู้เขียนพอมีอยู่บ้าง
ก่อนอื่นผู้เขียนมีความเห็นส่วนตัวว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 237 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ เพราะมาตรานี้ไม่เป็นธรรมในการที่จะไปลงโทษพรรคการเมืองซึ่งเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญและมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกรรมการบริหารพรรค การยุบพรรคการเมืองทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ และถึงแม้จะถูกยุบแต่ก็ยินยอมให้ไปเข้าพรรคใหม่ที่เตรียมไว้ดูเป็นเรื่องแปลกในสายตาชาวโลก
แต่เมื่อมีการพ่วงการแก้ไขมาตรา 68 เข้ามาด้วยในการแก้ไขมาตรา 237 วรรคสองนี้ จึงเป็นเรื่องที่ต้องพูดจาทำความเข้าใจกันให้มากหน่อย หลักการที่เสนอใหม่คือ แก้ไขมาตรา 68
ให้การใช้สิทธิของประชาชนในการพิทักษ์รักษาระบอบการปกครองของประเทศต้องยื่นผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น ถ้าอัยการสูงสุดไม่เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นอันจบเรื่อง
ผู้เสนอร่างแก้ไขมาตรา 68 ฉบับนี้ออกมาให้เหตุผลต่างๆ นานา เป็นต้นว่า กฎหมายไม่ชัดเจน การให้อัยการสูงสุดมากลั่นกรองทำให้มีประสิทธิภาพขึ้น ถ้ายื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงแล้วจะกำหนดให้ยื่นต่ออัยการสูงสุดทำไม เป็นต้น
แต่ที่ผู้เขียนติดใจก็คือความเห็นของผู้เสนอร่างบางท่านที่บอกว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิที่จะพิจารณาเรื่องมาตรา 68 เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการขัดแย้งกันของผลประโยชน์ทางอำนาจ
นอกจากนั้นท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นประธานรัฐสภาด้วยได้ออกมาแสดงความเห็นด้วยว่า การแก้ไขมาตรา 68 เป็นเรื่องการคานอำนาจ
ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่าควรที่จะมีการทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องก่อนว่า อำนาจตามมาตรา 68 เป็นของผู้ใด
ต้องตอบปัญหาและทำความเข้าใจให้ได้เสียก่อนว่า อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 นั้นโดยแท้จริงแล้วเป็นของประชาชน
มาตรา 68 บัญญัติว่า บุคคลจะใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทาง
ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลใดหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
เมื่อพิเคราะห์มาตรา 68 ดังที่ได้ยกมาแล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่า มาตรา 68 เป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่ประชาชนเป็นหลักเพราะประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ ส่วนศาลรัฐธรรมนูญเป็นเพียงองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยเมื่อมีคำร้องขึ้นมา และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วมีผลเป็นที่สุด
ตามหลักกฎหมายเยอรมันเรียกว่าอำนาจของประชาชนเป็นประธานแห่งสิทธิ ส่วนอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเป็นอุปกรณ์แห่งสิทธิ ซึ่งทั้งสองอำนาจนี้ต้องประกอบกัน มิเช่นนั้นสิทธิย่อมไม่ได้รับการบังคับใช้อย่างสมบูรณ์
ตามหลักกฎหมายสหรัฐอเมริกา ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานในคดี Marbury v.Madison ว่า ศาลสูงสุดของสหรัฐย่อมมีอำนาจในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องสิทธิตามรัฐธรรมนูญเมื่อไม่ได้บัญญัติไว้ให้ชัดเจนว่าเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรใด เพราะมิฉะนั้นการบังคับใช้สิทธิและอำนาจตามรัฐธรรมนูญจะไม่สมบูรณ์
แต่ตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่เสนอมานี้ตัดอำนาจในการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นองค์กรที่จะมีการบังคับใช้สิทธิไปเลย แต่ไปให้เป็นอำนาจของอัยการสูงสุด หากอัยการสูงสุดไม่เสนอ ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีอำนาจทำอะไรทั้งสิ้น
ผลกระทบในเรื่องนี้คงไม่ใช่การคานอำนาจระหว่างอัยการสูงสุดกับศาลรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการยึดอำนาจตามมาตรา 68 ของประชาชนทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้อำนาจนี้ให้ไปถึงองค์กรตุลาการเพื่อทำหน้าที่พิทักษ์การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้
ผู้เขียนยอมรับว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 68 เขียนไว้บกพร่องและมีช่องโหว่ในการตีความเพราะให้อัยการสูงสุดเป็นผู้รับเรื่อง แต่ไม่ได้เขียนขั้นตอนต่อไปว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร และถ้าอัยการสูงสุดไม่ทำอะไรหรือไม่เห็นด้วยจะต้องทำอย่างไร เพราะโดยหลักการแล้วเรื่องจะยุติแค่อัยการสูงสุดไม่ได้เนื่องจากองค์กรอัยการเป็นเพียงองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ ซึ่งในปัญหาดังกล่าวนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยอุดช่องโหว่ไว้แล้วว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องรอหรือฟังความเห็นของอัยการสูงสุด
อย่างไรก็ตามหากไม่เห็นด้วยกับการวินิจฉัยอุดช่องโหว่ของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว และต้องการจะแก้ไขมาตรา 68ให้ชัดเจนในเรื่องอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุดว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ก็ย่อมอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ด้วยการถอนร่างมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ให้ถูกหลักการแล้วจึงเสนอใหม่เช่นนี้ ผู้เขียนคิดว่าผ่านฉลุยแน่
แต่ที่หักดิบใช้เทคนิคทางกฎหมายตัดตอนให้อำนาจหยุดอยู่ที่อัยการสูงสุดเช่นนี้เป็นการยึดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
น่ะใช่แน่ แต่ที่ใช่ยิ่งกว่าคือยึดอำนาจของประชาชนครับ
ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กับอภิมหากาพย์มาตรา 68 (รธน.)


ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กับอภิมหากาพย์มาตรา 68 (รธน.)

ด้วยความเคารพ หลังจากศาลมีคำสั่งพิจารณารับคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68  เกี่ยวเนื่องการใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลหรือพรรคการเมืองซึ่งมีผลทำให้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 (รธน.) อันเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สืบเนื่องจากการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 291 ของรัฐบาล รัฐสภา พรรคการเมือง และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ยื่นโดยกลุ่ม ส.ส. ส.ว. และประชาชน จำนวน 5 สำนวน ปรากฏตามข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข่าวที่ 16/2555 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2555
รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 68  “บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว...”
แม้ว่ามีนักวิชาการโดยเฉพาะนักกฎหมายจำนวนมากออกมาให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า การที่ศาลตีความว่าตนมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาตามมาตรา 68 นั้นเป็นการตีความที่ผิดหลักการ เป็นการกระทำที่ใช่ไม่เพียงทำเกินหน้าที่เท่านั้นแต่เป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจเลยในกรณีนี้
เพื่อปกป้องเกียรติยศและศักดิ์ศรีของสถาบันอันทรงเกียรตินี้ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกมาแถลงจุดยืนของตนถึงสองครั้งในช่วงเวลาไม่ถึงหนึ่งอาทิตย์โดยย้ำว่า “ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการถ่วงดุลในการตรวจสอบ” “ไม่ใช่การก้าวล่วงกำกับรัฐสภาแต่ให้มองในทางบวกว่าการรับคำร้องก็เพื่อทำให้ลดความตึงเครียด และความหวาดระแวงของสังคมที่มีต่อรัฐบาลและรัฐสภา” หรือแม้จากการให้สัมภาษณ์ครั้งล่าสุด ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญยังกล่าวอีกว่า “ส่วนการตีความมาตรา 68 นั้น ขอให้ไปดูรัฐธรรมนูญฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ จะชัดเจนว่าการยื่นคำร้อง เป็นเรื่องของผู้ทราบ ไม่ใช่เรื่องของอัยการสูงสุดเพียงอย่างเดียว”
การออกมาเน้นย้ำถึงสองครั้งของนักกฎหมายผู้ทรงคุณวุฒิผู้เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์การทำงานอย่างยาวนานเกือบจะทำให้นักกฎหมายทั้งหลายหลงเชื่อ หากแต่ไม่สามารถหาเหตุผลที่จะมาอธิบายตามตรรกะทางกฎหมายหรือแม้แต่หลักการทางรัฐศาสตร์ได้เลย และ/หรือหากจะมีกฎหมายให้อำนาจเช่นนั้นจริง ก็ยังต้องมาถกเถียงว่า เป็นการให้อำนาจที่ขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือไม่และเป็นการขัดกับอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเองหรือไม่ 
ยิ่งท่านประธานอ้างว่า “ก็เพื่อทำให้ลดความตึงเครียด และความหวาดระแวงของสังคมที่มีต่อรัฐบาลและรัฐสภาลงได้” แล้ว แม้เป็นที่เข้าใจในความหวังดี แต่ก็อดที่จะตั้งคำถามไม่ได้ว่าท่านมีอำนาจหน้าที่เช่นว่าตั้งแต่เมื่อไร หากท่านวินิจฉัยว่าการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยสภาในครั้งนี้ก่อให้เกิดความวุ่นวายและความขัดแย้งของคนในสังคม การรับไว้พิจารณาก็เพื่อลดความตึงเครียดและความหวาดระแวงของสังคม ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นความหวังดี แต่มีกฎหมายฉบับไหนให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจลดความตึงเครียดและความหวาดระแวงของคนในสังคมได้ การวิเคราะห์เหตุผลที่ท่านประธานให้ไว้ยิ่งทำให้เครียดและหวาดระแวงต่อพฤติกรรมที่ไม่อยู่ในร่องในรอยของท่านหนักเข้าไปใหญ่ เป็นการตีความให้มีอำนาจกว้างขวางอย่างไม่สามารถอธิบายได้โดยหลักวิชาการ 
หลักกฎหมายมหาชนทั่วไปโดยหลักแล้ว องค์กรที่ใช้อำนาจในทางมหาชนจะต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ ดังนั้น การกระทำการใดๆ จึงต้องเป็นขั้นเป็นตอนและเป็นไปตามกรอบที่กฎหมายกำหนด
ท่านยังอ้างต่อไปอีกว่า “ขอให้ไปดูรัฐธรรมนูญฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ” ผู้เขียนได้ตามไปศึกษาตามที่ท่านเสนอ จึงขอนำมาฝาก ดังนี้ 
ฉบับแปลของศาลปกครอง:
Article 68 para 2 “In case where a person or political party has committed an act under paragraph one, the person knowing of such an act shall have the right to request the Prosecutor General to investigate its facts and submit a motion to the Constitutional Court for ordering cessation of such act...”
ฉบับแปลของ IFES Thailand (ฉบับแปลทางการ): 
Where a person or political party acts under paragraph one, the witness thereof has the right to report the matter to the Prosecutor General to investigate facts and to submit a request to the Constitutional Court for decision to order cessation of such act...”
หากจะให้ตีความแบบที่อาจารย์เกษียร เตชะพีระนักรัฐศาสตร์ (ซึ่งน่าจะเอามาจากฉบับของศาลปกครอง) ได้ให้ไว้บนเฟสบุ๊คส่วนตัวแล้วว่า ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญคงเล่นตลกโดยการตีความเอาคำว่า "submit a motion/request to the Constitutional Court for ordering cessation of such act..." ไปขยายส่วน 1. right to request และ right to submit หรือ 2. to request และ to request to submit ซึ่งหากจะตีความแบบที่ท่านอาจารย์เกษียรเดา คือ ท่านประธานศาลตีความว่า บุคคลมีสิทธิยื่นได้ทั้งต่ออัยการและศาลรัฐธรรมนูญ (แบบแรก) ซึ่งหากจะตีความตามนั้นบวกกับการตีความตามหลักกฎหมายจะมีผลดังนี้ คือ การยื่นตามาตรา 68 นี้จะต้องกระทำพร้อมกันในสองลักษณะ (เนื่องจากกฎหมายใช้คำว่า “และ/and” เป็นตัวเชื่อมระหว่างประโยค) คือ 
1. เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และ (พร้อมกับ)
2. ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ
กล่าวคือยื่นพร้อมกันทั้งที่อัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญจึงจะเป็นการยื่นที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ตามการตีความของท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญ
คำถามต่อมาคือ แล้วใครเป็นผู้วินิจฉัยสั่งการ ก็ต้องตอบว่าเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น เพราะอัยการสูงสุดมีอำนาจเพียงการตรวจสอบข้อเท็จจริงเท่านั้น ส่วนตรวจสอบได้ข้อเท็จจริงแล้วอย่างไรต่อก็ต้องบอกว่าไม่ต้องทำอะไร เพราะรัฐธรรมนูญให้ตรวจสอบเฉยๆ แปลกดี
เพื่อความชัดเจนอีกครั้งสำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตาม ศาลรัฐธรรมนูญอ้างมาตรา 68 ในการรับคำร้อง นักวิชาการมองว่าศาลไม่มีอำนาจรับคำร้องเพราะอะไร ขออธิบายโดยสังเขปดังนี้ (ผู้อ่านสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้จากงานเขียนและบทสัมภาษณ์ของนักวิชาการหลายต่อหลายท่านที่ได้ให้ความเห็นในกรณีนี้ไว้แล้ว)
1. ฟ้องใครได้บ้าง? มาตรา 68 ระบุว่า “บุคคลหรือพรรคการเมือง จะใช้สิทธิเสรีภาพ (exercise the rights and liberties) เพื่อล้มล้างการปกครอง..” (วรรค 1) สภาไม่ใช่บุคคลแต่เป็นกระบวนการที่มาจากกลไกในการปกครองระบอบประชาธิปไตย และทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงเป็นหน้าที่ซึ่งสภามีอำนาจทำได้ตามมาตรา 291 กรณีนี้เป็นเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่ (duty ดูมาตรา 74) ไม่ใช่การใช้สิทธิเสรีภาพ (rights and liberties) กล่าวคือ มีกฎหมายให้อำนาจไว้และได้ทำตามกฎหมายที่ให้อำนาจไว้นั้น และกระบวนการดังกล่าวไม่ใช่การใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคลหรือพรรคการเมืองแต่เป็นการกระทำในรัฐสภาอันเป็นไปตามกรอบรัฐธรรมนูญ อีกทั้งหมวดดังกล่าวอยู่ในหมวดของ “สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย” (มาตรา 26-69) จึงไม่ควรเอามาปนกับเรื่องของหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
2. ใครยื่นได้บ้าง? มาตรา 68 ระบุว่า "ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ..." ดังนั้น บุคคลธรรมดาย่อมไม่สามารถยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้เอง หากจะตีความตามภาษาอังกฤษที่ท่านประธานอ้างคงจะต้องยื่นทั้งสองที่ตามที่ได้กล่าวแล้ว
3. ยื่นต่อใคร? มาตรา 68 ระบุ “ให้ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ..” กล่าวคือผู้ทราบการกระทำยื่นต่ออัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ามีการกระทำที่เข้าข่ายตามคำร้องจริง จากนั้นให้อัยการยื่นต่อไปยังศาลเพื่อวินิจฉัยสั่งการต่อไป การที่ศาลรับไว้พิจารณาจึงไม่ชอบเพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้
4. ศาลมีอำนาจมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่? เมื่อศาลไม่มีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาแล้วศาลจะมีอำนาจมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้อย่างไร ยิ่งกว่านั้นหากพิจารณาโดยตรรกะเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตามข้อกำหนดศาลฯ ข้อ 6 เพื่อใช้มาตรการชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ เป็นการเอากฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่ามาบังคับการกระทำตามกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า เป็นการใช้กฎหมายข้ามสายพันธ์เป็นหลักการที่หาคำอธิบายเชิงตรรกะได้ยากมาก
สรุปคือ ศาลไม่มีอำนาจ การมีคำสั่งรับไว้พิจารณาจึงไม่ชอบด้วยประการทั้งปวง อีกทั้งการมีคำสั่งเพื่อมีผลให้รัฐสภาชะลอการพิจารณาลงมติรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยอีกถือเป็นการออกคำสั่งที่ตนไม่มีอำนาจอย่างชัดเจน
เพื่อตอบคำถามว่าอัยการไม่ควรเป็นองค์กรเดียวที่ดำเนินการเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญเท่านั้น ประชาชนที่เห็นการกระทำดังกล่าวสามารถกระทำการใดเพื่อตอบโต้หากมีการกระทำเพื่อล้มล้าง รัฐธรรมนูญ ได้หรือไม่ คำตอบคือ “ได้” กล่าวคือปรากฏตามมาตรา 69 รัฐธรรมนูญ ซึ่งให้สิทธิประชาชนในการต่อต้านการกระทำเช่นว่าด้วยสันติวิธี ซึ่งเป็นหลักการที่สอดคล้องกับการใช้สิทธิและเสรีภาพชองประชาชนตามที่ปรากฎในชื่อหมวดของรัฐธรรมนูญส่วนนี้ อีกทั้งเป็นการเน้นย้ำว่ากระบวนการทางกฎหมายย่อมต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกลั่นกรองก่อนนำขึ้นสู่กระบวนการทางศาลต่อไป
พิจารณาโดยตรรกะ (อย่างคนที่ไม่มีความรู้กฎหมาย) หากประชาชนสามารถยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญอย่างพร่ำเพรื่อเช่นนี้โดยไม่มีกระบวนการกลั่นกรองก่อน บ้านเมืองจะไม่วุ่นวายหรือ เพราะศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเครื่องมือทางการเมืองชั้นดีในการกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามที่ทำไม่ถูกใจอีกฝ่ายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แล้วเสถียรภาพของรัฐในการบริหารจัดการจะอยู่ที่ไหน
ต่อบทบาทของตุลาการศาลรัฐธรรมยังคงเป็นที่เคลือบแคลง ล่าสุดได้มีเสียงสะท้อนจากพรรคประชาธิปัตย์โดยคุณเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.จังหวัดนครศรีธรรมราชแสดงความกังวลต่อการประชุมสภาที่จะมีขึ้นว่า “ตนมีความกังกลหากรัฐสภาจะพิจารณาคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ชลอการพิจารณาลงมติแก้ไขในวาระ 3 ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า อาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายในสภาได้เนื่องจากการอภิปรายส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายแต่เป็นความคิดเห็นทางการเมือง เกรงว่าคนที่ไม่รู้กฎหมายนำมาอภิปรายจะเป็นปัญหา ซึ่งตนทราบข่าวว่ามีการจองกฐินถล่มศาล ตนเห็นว่าไม่เหมาะเพราะจะไม่เป็นธรรมกับศาลที่ไม่สามารถชี้แจงได้” 
เพราะหากวิเคราะห์จากช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ที่นายสนธิ ลิ้มทองกุลออกมาให้สัมภาษณ์ว่าตราบใดที่ยังไม่เห็นเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญก็ถือว่าเป็นการยกประโยชน์ให้จำเลย นัยคือพันธมิตรไม่ต่อต้านการลงมติของสภาในการรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 (แต่ก็ไม่อาจชล่าใจเพราะพธม.เองหรือผู้ยื่นเองก็ยังมีจุดเกาะเกี่ยวกับประโยชน์ตรงนี้อยู่) อาการลอยเคว้งของศาลรัฐธรรมนูญจึงน่าเป็นห่วงเพราะขาดมวลชนหนุนหลัง การที่พรรคประชาธิปัตย์ออกตัวเช่นนี้จึงเป็นการสื่อความหมายบางประการต่อองค์กรตุลาการนี้
จากประวัติความเป็นมาของตุลาการตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี 50 คือผลสืบเนื่องจากการทำรัฐประหาร โดยการทำรัฐประหารมีธงในการทำลายอำนาจการเมืองของทักษิณ ดังนั้น ตุลาการที่ถูกแต่งตั้งจึงเป็นที่เคลือบแคลงว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่อยู่ฝั่งตรงข้ามคุณทักษิณและสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์แทบทั้งสิ้นสืบเนื่องจากผลการทำงานที่ผ่านมา ทั้งผลงานยุบพรรคไทยรักไทย ยุบพรรคพลังประชาชน และพรรคอื่นๆ ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ ทำไมประชาธิปัตย์ถึงรอด ในช่วงปี  2553 และปี 2554 จากสองคดีที่มีผู้ร้องยื่นยุบพรรคประชาธิปัตย์ ประชาธิปัตย์ชนะคดีด้วยเทคนิคทางกฎหมาย(แบบคลุมเครือ)แทบทั้งสิ้น มิได้พิเคราะห์ว่ามีความผิดตามข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างหรือไม่ ในช่วงเวลาดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญถูกประจานว่ามีตุลาการบางคนประชุมเตรียมการเพื่อช่วยพรรคประชาธิปัตย์ หลักฐานชัดเป็นวีดิทัศน์เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญประชุมช่วยเหลือคดีพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายอย่างร้ายแรงและขัดต่อหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา แต่ศาลไม่เพียงไม่ตั้งคณะกรรมสอบวินัยและลงโทษตุลาการที่ปรากฏในภาพวิดิทัศน์ดังกล่าว แต่กลับจะฟ้องเอาผิดผู้เผยแพร่วิดีโอดังกล่าวตาม พรบ.คอมพ์ฯ ว่าการเผยแพร่วีดิทัศน์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน และล่าสุดกรณีศาลสั่งให้นายจตุพร พรหมพันธ์พ้นสมาชิกภาพ ส.ส. เนื่องจากถูกจำคุกไม่สามารถไปเลือกตั้งได้ที่ยังคงเป็นข้อกังขาของนักกฎหมาย
ทำไมต้องรีบแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ต้องถามว่าเหตุการณ์ เมษา-พค. 53 เป็นผลสืบเนื่องมาจากบทบัญญัติที่บิดเบี้ยวอันเป็นผลิตผลจากอำนาจเผด็จการใช่หรือไม่ เพราะฝ่ายที่ไม่ชอบทักษิณต้องการทำทุกวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายโดยไม่สนหลักการสากลที่ทั่วโลกยอมรับเป็นเหตุให้ประชาชนออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมใช่หรือไม่ เป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่สามารถใช้ได้เป็นการทั่วไปใช่หรือไม่ โดยเฉพาะมาตรา 237 เห็นได้ชัด เพราะเป็นบทบัญญัติให้สามารถยุบพรรคการเมืองจากการที่บุคคลเพียงคนเดียวในพรรคการเมืองกระทำความผิด ซึ่งตามหลักสากลแล้ว “บุคคลที่ไม่ได้กระทำความผิดย่อมไม่ต้องรับโทษ” หลักการเช่นนั้นเป็นธรรมแล้วใช่หรือไม่ นี่ยังไม่นับรวมมาตรา 68 ที่กำลังถกเถียงกันแบบไม่มีทีว่าว่าจะจบสิ้นง่ายๆ แล้วมีเหตุผลใดที่จะไม่แก้กฎหมายสูงสุดที่ประกอบด้วยหลักการที่บิดเบี้ยวเช่นนี้อีก 
เพื่อให้เป็นที่เข้าใจเนื่องจากมาตรา 291 เปิดให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตราดังกล่าวจะต้องกระทำผ่าน “รัฐสภา” เท่านั้น จากการแก้มาตรา 291 ที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าการแก้ไขรัฐธรรมจำนวนหลายมาตราไม่สามารถทำได้โดยกลไกรัฐสภา ดังนั้นจึงต้องแก้มาตรา 291 ไปก่อนเพื่อตั้ง ส.ส.ร. มาแก้ทั้งฉบับ ซึ่งหากศาลชี้ว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือจะต้องกลับมาแก้รัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ที่ระบุว่า “ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม.. ให้สภาพิจารณาเป็นสามวาระ” จากการสังเกตการณ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ในช่วงเดือนที่ผ่านมาอาจจะกล่าวได้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับด้วยวิธีนี้อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 5-36 ปี (ขึ้นอยู่กับว่าแก้จำนวนกี่มาตรา) ในเวลานี้เป็นขั้นตอนของการรับร่างฯ วาระ 3 ของ ซึ่งการแก้ไขมาตรา 291 มาตราเดียวยังทำให้บ้านเมืองวุ่นวายได้ถึงเพียงนี้
แล้วอย่างไรต่อไป ด้วยเหตุผลประการทั้งปวง ผู้เขียนจะขอเรียกร้องที่รัฐสภาจะเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้ และ/หรือตอบโต้ด้วยการชี้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ และทำหน้าที่ของรัฐสภาต่อไป เพราะหากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ไม่ได้รับการแก้ไข ความขัดแย้งจะยิ่งเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่มีวันจบสิ้น 
แม้มีนักวิชาการบางท่านมีความเห็นตรงกันว่าไม่ควรปฏิบัติตามแต่เสนอให้รัฐสภารอจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย แล้วระหว่างเวลาดังกล่าวจะต้องทำอย่างไรในเมื่อมีคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาต้องมีหนังสือชี้แจงภายใน 15 วัน หากรัฐสภาทำหนังสือชี้แจงตามที่ศาลได้มีคำสั่งมานั้นและ/หรือไม่ดำเนินการลงมติรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 การกระทำดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในลักษณะนี้โดยนัยแล้วหรือไม่ เพราะการกระทำการใดที่เป็นการแสดงออกถึงการยอมรับว่าอำนาจดังกล่าวมีอยู่จริง ทั้งที่ไม่มีอยู่จริง จะถือเป็นการสถาปนาอำนาจนอกรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่หรือไม่ ถือเป็นการทำลายกลไกการปกครองระบอบประชาธิปไตย หลักการแบ่งแยกอำนาจ และเป็นการสร้างบรรทัดฐานขึ้นในสังคมไทย เพราะการไม่ปฏิเสธและไม่ตอบโต้เท่ากับเป็นการยอมรับ ซึ่งอาจจะถูกนำมาสร้างเป็นบรรทัดฐานต่อไปได้
เมื่อพิจารณาแล้วว่าการรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญเป็นการกระทำที่ไม่ชอบตามกฎหมายจริง เช่นนี้ ประชาชนควรออกมาแสดงพลัง/แสดงความคิดเห็นให้มากว่าอำนาจที่แท้จริงเป็นของประชาชน อำนาจตรวจสอบรัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน อย่าให้นักกฎหมายเพียงไม่กี่คนมาทำอะไรที่ลิดรอนอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยอีก
กรณีการรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้จึงถือเป็นอภิมหากาพ์ที่อาจจะไม่จบลงง่ายๆ จนกว่ามีีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดพ่ายแพ้กันไปในที่สุด ที่สำคัญเนื้อเรื่องตอนต่อไปฝ่ายประชาชนจะพ่ายแพ้ต่ออำนาจตุลาการเพื่อให้เกิดการสถาปนาอำนาจเหนืออำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยอย่างสมบูรณ์ หรือจะเป็นการช่วงชิงจังหวะจากการเพลี่ยงพล้ำเองของผู้มีอำนาจเพื่อการประกาศชัยชนะของประชาชน ตัวเล่นสำคัญที่จะทำให้เรื่องราวพลิกผันต่อไปหาใช่ใครอื่นแต่คือคนไทยทุกคนที่จะร่วมกันต่อสู้บนเส้นทางประชาธิปไตยเส้นนี้ ส่วนบทสรุปจะลงเอยอย่างไรคงต้องเฝ้าติดตามกันต่อไป

ทหารคุมเองทีมยุทธศาสตร์

ทหารคุม....
"พล.อ.ประยุทธ์" ตั้ง บิ๊กทหาร คสช.ติดตามงานทุกส่วนราชการ /สวมหมวก หัวหน้า คสช. ลงนามคำสั่ง คสช.ตั้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ คสช. ให้ "พล.อ.ประวิตร" เป็นประธาน "สมคิด" นั่งรองฯ พร้อม ปลัดกห. ผบ.เหล่าทัพ ติดตาม ประเมินการดำเนินงานของส่วนราชการ ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์
บิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ หัวหน้าคสช. ลงนามในคำสั่งคสช.ที่ 2/2558 ลงวันที่ 9 ม.ค. แต่งตั้ง" คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ" เพื่อเร่งรัดขับเคลื่อนการดำเนินการของส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดการบูรณาาการ สอดคล้องรองรับกับยุทธศาสตร์ของ คสช.ทั้ง 9 ด้าน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิรูปและพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่เหมาะสมและยั่งยืน โดยนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติ
โดย คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มี บิ๊กปัอม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะรองหัวหน้า คสช. เป็นประธาน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองประธาน
และมีกรรมการ ที่เป็น ผบ.เหล่าทัพ สมาชิก คสช. เช่น พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกลาโหม พล.อ.วรพงษ์ สว่างเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผบ.ทบ. พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผบ.ทร.พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ผบ.ทอ. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ.ถาวร มณีพฤกษ์ ที่ปรึกษา พล.อ.ประวิตร และ นายอำพน กิตติอำพล นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ (โดย หัวหน้า คสช. แต่งตั้งขึ้นมาอีกไม่เกิน 3คน) พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ เป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการชุดนึ้มีหน้าที่ 1.ติดตามและประเมินผลการดำเนินการของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของ คสช.
2.รายงานผลดำเนินการตามข้อ 1.รวมทั้งความเห็นหรือข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขต่อ หัวหน้า คสช. เพื่อพิจารณาสั่งการให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
3. กำหนดแนวทางและมาตรการหรือกลไกในการประสานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของ คสช. ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
4.ในกรณีที่เห็นสมควรอาจแจ้งต่อหัวหน้า คสช.เพื่อขอให้มีการประชุมร่วมกันของ คสช.และ ครม.เพื่อปรึกษาหารือหรือพิจารณาแนวทางดำเนินการเพื่อให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของ คสช. มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือช่วยเหลือในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามความจำเป็น
6.เชิญข้าราชการเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อเท็จจริงความเห็น หรือข้อเสนอแนะ หรือเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
7.ดำเนินการอื่นใดตามที่ หัวหน้า คสช.มอบหมาย
นอกจากนี้ยังให้สำนักเลขาธิการ คสช. อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานตามคำสั่งนี้
และให้พิจารณาการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักเลขาธิการ คสช.


'เทสโก้' ปิด 43 สาขา ไม่มีในประเทศไทย

เทสโก้ เปิดเผยแผนกู้วิกฤตโดยขายทั้งสินทรัพย์ ปิดสำนักงานใหญ่ และ 43 สาขาที่ไม่ทำกำไร ซึ่งเป็นสาขาในอังกฤษไม่มีสาขาในประเทศไทย    

แผนฟื้นบริษัทที่นายเดฟ ลูอีส ซีอีโอของเทสโก้ ประกาศออกมาส่วนใหญ่เน้นไปที่การรัดเข็มขัด โดยลดรายจ่ายการลงทุนในปีนี้(58) เหลือ 1 พันล้านปอนด์ หรือประมาณ 4 หมื่น 9 พันล้านบาท และลดรายจ่ายประจำปีลงอีก 250 ล้านปอนด์ หรือราว 1 หมื่น 2 พัน 4 ร้อยล้านบาท ทำให้ราคาหุ้นเทสโก้ ดีดตัวขึ้นถึง 10% หลังการประกาศแผนนี้
มาตรการรัดเข็มขัด  นอกจากปิดสำนักงานใหญ่ และสาขาในอังกฤษที่ไม่ทำกำไร 43 แห่ง , ยกเลิกการจ่ายปันผล  , ยกเลิกเงินบำนาญพนักงาน ,  ขายธุรกิจบรอดแบนด์และธุรกิจสื่อบันเทิงออนไลน์ Blinkbox  ให้แก่ บริษัท TalkTalk และขายธุรกิจวิเคราะห์ข้อมูล "Dunnhumby" เทสโก้ ยังยุติแผนการเปิดสาขาขนาดใหญ่ อีก 49 สาขา ออกไปก่อน 
ส่วนสำนักงานใหญ่ใน Cheshunt ที่ปิดตัว จะย้ายไปอยู่ที่ Welwyn Garden City ซึ่งอยู่ใน Hertfordshire แทน ขณะที่ 43 สาขาที่ถูกปิดจะเป็นโมเดล Tesco  Express ด้าน Dunnhumby จะให้โกลด์แมน แซคส์ พิจารณาตัวเลือกต่างๆ ก่อนการขาย 
นอกจากนี้ จะลดค่าใช้จ่ายส่วนกลางลง 30% และลดทีมผู้บริหารลงจาก 17 คน  เหลือ 13 คน สำหรับธุรกิจบรอดแบนด์และสื่อบันเทิงออนไลน์  Blinkbox แม้ยังไม่มีการเปิดเผยวงเงิน แต่มีการคาดการณ์ว่าดีลนี้ จะใช้เงินสดอย่างน้อย 5 ล้านปอนด์ หรือเกือบ 250 ล้านบาท 
ทั้งนี้ ยอดขายของเทสโก้ ช่วง 6 สัปดาห์ก่อนถึงวันที่ 3 มกราคม 2558 ลดลง 0.3% และลดลง 2.9% ในช่วง 19 สัปดาห์ แต่น้อยกว่าไตรมาส 3 ที่ลดลงไปถึง 5.4% และดีกว่าคู่แข่งอย่าง Sainsbury ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ในอังกฤษ อย่างไรก็ตาม เทสโก้ ยังต้องเผชิญการแข่งขันกับร้านค้าปลีกขายสินค้าลดราคาจากเยอรมัน อย่าง Lid และ Aldi ที่ได้รับความนิยมมากในขณะนี้  

LGและSumsungเตรียมย้ายฐานการผลิตจากไทยไปเวียดนามปีนี้

LG และ SAMSUNG เตรียมย้ายฐานการผลิตโทรทัศน์จากไทย ไปเวียดนามภายในปีนี้ หลังมีต้นทุนธุรกิจสูงขึ้น ขณะที่ ธนาคารรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ เตรียมถอนการลงทุนในเอเชีย รวมทั้งไทย 
นายวิษณุ ลิ่มวิบูลย์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ผลิตโทรทัศน์จอแบน ได้แก่ แอลจีและซัมซุง เตรียมย้ายฐานการผลิตออกจากไทย โดยแอลจีจะย้ายออกไปทั้งหมดในเดือนพฤษภาคมปีนี้ จากที่มีกำลังการผลิตปีละ 3 แสนเครื่อง เพื่อขยายไลน์การผลิตในเวียดนาม
ส่วนซัมซุงได้ลดไลน์การผลิตในไทยแล้ว และคาดว่าจะย้ายไลน์การผลิตเฉพาะส่วนทีวีออกจากไทย ไปใช้ฐานผลิตในเวียดนามในปีนี้ เนื่องจากเวียดนามมีค่าแรงที่ต่ำกว่าไทย และการเปิดเออีซีไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า โดยปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทย มีการผลิตใช้ในประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท เป็นการผลิตโทรทัศน์ 2 แสน 5 หมื่นล้านบาท ส่วนตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่า 1 แสน 5 หมื่นล้านบาท
          
ด้านหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ ระบุว่า  นายรอสส์ แม็คอีวาน หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ กรุ๊ป หรือ อาร์บีเอส กรุ๊ป ซึ่งรัฐบาลอังกฤษถือหุ้นใหญ่อยู่ 81% เตรียมถอนธุรกิจคอร์ปอเรท แบงกิ้ง หรือธุรกิจขนาดใหญ่ออกจากเอเชีย รวมถึงไทย และสกอตแลนด์ ยกเว้น สิงคโปร์ที่มีการขายตราสารหนี้และมีความสามารถดำเนินกิจกรรมเพียงพอ โดยมีแนวโน้มจะยกเลิกสาขาในอีก 38 ประเทศทั่วโลก โดยอาร์บีเอสมีพนักงานปฏิบัติงานในเอเชียราว 2,000 คน หลังจากที่ประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักตั้งแต่ปี 2009 และปรับลดการดำเนินกิจกรรมนอกสหราชอาณาจักร ให้เหลือน้อยกว่า 1 ใน 4 ของสินทรัพย์ธนาคาร  รวมทั้งตกอยู่ภายใต้แรงกดดันให้หันมาเน้นธุรกิจปล่อยกู้ให้ภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจในอังกฤษแทน เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ