PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

นักศึกษารงณรงค์ หยุดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ชาวโรฮิงญา



นักศึกษารงณรงค์ หยุดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ชาวโรฮิงญา
กลุ่มผู้นำนักศึกษา รวมตัวกันรงณรงค์ หยุดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ชาวโรฮิงญา
วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เวลา 17.00 น. ตัวแทนผู้นำนักศึกษาร่วมเดินรงณรงค์เเละเเจกใบปลิวเรื่องกาฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวโรฮิงญา ชาวโรฮิงญาถูกทางการพม่าปฎิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เผาบ้านที่อยู่อาศัย จนชาวโรฮิงญาได้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ตัวแทนนักศึกษามองว่าการเลือกปฎิบัติทางชาติพันธ์และการกระทำที่ไร้ซึ้งมนุษยธรรมเช่นนี้เราไม่อาจอยู่นิ่งเฉยได้
ทางนักศึกษาเชื่อว่าหากทุกกลุ่มชนร่วมกันรณรงค์เพื่อยุติการฆ่าล้างเผาพันธุ์ต่อพีน้องเราชาวโรฮิงญา ให้เกิดกลไกการปกป้องและชาวโรฮิงญามีสิทธิขั้นพื้นฐานจนถึงมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินได้
ร่วมรงณรงค์ให้พี่น้องชาวโรฮิงญา
เพราะเราไม่อาจนิ่งเฉยต่อการปฎิบัติที่ไร้มนุษยธรรม
จัดโดย..เครือข่ายผู้นำนักศึกษาจังหวัดยะลา
Cr.Student Voice
#Wartani_NEWS #HUMANRIGHT #PATANI
---------------------------------------------------------------
Let us be the witnesses for peace in PATANI // ร่วมเป็นสักขีพยานเพื่อสันติภาพ ณ ปาตานี // Bersama kita menjadi saksi demi kedamaian di PATANI

เฮือกสุดท้าย! ไทม์ไลน์วิกฤตสื่อไทยปี 2559 สู่ภาวะ ‘ ขาลง’

HIGHLIGHTS:

  • ปี 2559 เป็นช่วงขาลงของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ เกิดการปรับโครงสร้างและปลดพนักงานในหลายองค์กร กระทั่งปิดตัวลง และปีที่สื่อทีวีดิจิทัลยังขาดทุนจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและปมปัญหาของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลไทย ทำให้กลุ่มบริษัทใหญ่เข้ามาถือหุ้นหลักแทนในฐานะ ‘สายป่าน’ ที่ต่อลมหายใจสื่อไทย
     “ช็อก! หนังสือพิมพ์… ประกาศปิดตัวอีกหัว”
     “สื่อไทยวิกฤตหนัก หลังทีวีดิจิทัลไม่ทำเงิน”
     “หรือนี่คือขาลงของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์?”
     เหล่านี้คือประโยคที่สะท้อนถึงภาพรวมของสถานการณ์ธุรกิจสื่อไทยในปี 2559 ได้ชัดเจน ข่าวการปิดตัวและยุติบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ปรากฏให้เห็นตลอดทั้งปีชวนให้ใจหาย แต่ก็มีผู้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มชาชินและมองเป็นเรื่องปรกติใหม่ หรือ New Normal ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยไปโดยปริยาย
     และคงไม่มีใครปฏิเสธอีกแล้วว่าเทคโนโลยีดิจิทัลได้เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้จำนวนผู้อ่านหนังสือพิมพ์และนิตยสาร รวมทั้งผู้ชมทีวีลดลงอย่างต่อเนื่อง จนสั่นคลอนภาคธุรกิจสื่อไทยและทั่วโลก The Momentum มองว่านี่คือปรากฏการณ์ที่ไม่ควรเพิกเฉย แต่ควรวิเคราะห์ ถอดบทเรียน และเรียนรู้ให้มากที่สุด
     เพราะหากเราถอยออกมามองภาพรวม และตั้งคำถามกับการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งอย่างละเอียด ก็อาจมองเห็นปลายทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้น





ภาพประกอบ: Karin Foxx

อ้างอิง:
     - นีลเส็น ประเทศไทย
     - http://www.daat.in.th/index .php/daat-digital2016/
     - http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/44955-iimmmeeddzz.html
     - http://isranews.org/isranews-scoop/item/51739-reportwwoofrfsddddeuu.html
     - http://www.rating.in.th/

ทางอออกของพระธัมมชโย และ DSI

ทางอออกของพระธัมมชโย และ DSI

คราวที่แล้วได้อธิบายการสั่งคดีของอัยการไปแล้วว่าทำไมต้อง “เห็นควรสั่งฟ้องพระธัมมชโย” วันนี้ขอเสนอแนวทางตามกฎหมายว่าเรื่องนี้ควรจะจบอย่างไร

การที่DSIจะใช้กำลังไม่ว่าจะเป็นเอาตำรวจหรือทหารเข้าไปทำการจับกุมพระธัมมชโย แม้เป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผลที่ตามมาน่าจะเสียหายมากกว่าดังที่ท่านนายกพูดนั่นแหละ ครั้นไม่ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวพระธัมมชโยตามคำสั่งของอัยการก็จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผล ไม่ว่าจะไปทางไหนไม่พ้นที่ DSI ไอจะตกเป็นจำเลยทางสังคมเป็นแน่แท้
สมมุติว่าถ้าเราได้ตัวพระธัมมชโยมาด้วย “การบุกเข้าไปจับกุม” หรือ “การมอบตัว” ของท่านเอง ขั้นตอนจะเป็นอย่างไร คำตอบอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เริ่มด้วย DSI ต้องแจ้งสิทธิตามมาตรา ๗ เช่น สิทธิในการปรึกษากับทนายเป็นการเฉพาะตัว ให้ทนายเข้าฟังการสอบปากคำของพระธัมมชโย ได้รับการเยี่ยมจากญาติตามสมควร ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย จากนั้นก็ถามชื่อตัว นามสกุล ที่อยู่ สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ทีเกิด และแจ้งให้ทราบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหา แล้วจึงแจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบ (มาตรา ๑๓๔ วรรคแรก) และ DSI “ต้องให้โอกาสพระธัมมชโยที่จะแก้ข้อกล่าวหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้” (มาตรา ๑๓๔ วรรคสาม) และต้องถามว่าท่านมีทนายหรือไม่ ถ้าไม่มีและต้องการ รัฐก็ต้องจัดหาให้ (มาตรา ๑๓๔/๑ วรรคสอง) แค่นี้ก็ใช่ว่าจะจบในวันเดียว ถ้า DSI รวบรัดไม่ดำเนินการให้ มีหวังโดนข้อหาละเว้นการปฏิบัติตามหน้าที่ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ แน่นอน ซึ่งถ้ายังสอบไม่เสร็จก็ยังส่งตัวให้อัยการไม่ได้ ดังนั้น DSI มีทางเลือกที่จะให้ปล่อยตัวชั่วคราว(ประกันตัว)เอง หรือจะส่งไปฝากขังที่ศาลก็ได้ ส่วนการปล่อยชั่วคราวก็เป็นเรื่องของศาล (มาตรา ๑๐๖) ตรงนี้ก็เป็นประเด็นอีก “จะจับสึกก่อนส่งศาล” หรือครับ คราวที่แล้วที่เป็นคดีก็ไม่มีการสึก หรือพระบางรูปท่าถูกดำเนินคดีก็อาจไม่จำเป็นต้องสึก เท่าที่เห็นที่ถูกจับสึกส่วนใหญ่จะเป็นความผิดคาหนังคาเขา เช่น ดื่มสุรา เสพยาบ้า หรือกระทำชำเรากันจะๆ เพราะการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อนำตัวไปฝากขังหรือฟ้องศาล เป็นอำนาจศาลที่พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต ถ้าจับสึกแล้วศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวล่ะ ใครจะรับผิดชอบ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องสึก กฎหมายมิได้บังคับ ทั้งนี้การปล่อยชั่วคราวเป็นหลักที่ผู้ต้องหาต้องได้รับ 

ส่วนการควบคุมหรือคุมขังเป็นข้อยกเว้น การที่ DSI หรือศาลจะสั่งไม่ปล่อยชั่วคราวต้องได้ความว่าพระธัมมชโยจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น หรือหลักประกันไม่พอ (มาตรา ๑๐๘/๑) เห็นหรือยังครับว่าพอได้ตัวมาใช่ว่าจะเอาตัวไปส่งอัยการได้ทันที พออัยการรับตัวมาหรือได้คำให้การพระธัมมชโย ก็ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะออกคำสั่งฟ้องตามความเห็นเดิมหรือจะสั่งไม่ฟ้องเพราะพยานหลักฐานที่พระธัมมชโยแสดงพิสูจน์ได้ว่าตนไม่ผิด ถ้าสั่งฟ้องและนำตัวไปฟ้องต่อศาล กระบวนการพิจารณากว่าจะพิสูจน์ว่า “พระธัมมชโยเป็นผู้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา” คงต้องใช่เวลาเป็นปีนะครับ เพราะนายศุภชัยถูกฟ้องตั้งหลายคดี มีการกระทำหลายกรรม มูลค่าความเสียหายเท่าที่ฟ้องแล้วเกือบสองพันล้าน พยานกี่ร้อยปาก เอกสารกี่พันฉบับ เอาล่ะครับนี่คือข้อเท็จจริง
ที่นี้ถ้าศิษยานุศิษย์ทั้งหลายและพระธัมมชโยเองจะแสดงความสง่างาม ก็ไม่ควรขัดขวางกระบวนการยุติธรรม การภาวนาเพื่อถวายอาลัยต่อเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ก็ทำไป ไม่เอามาอ้างเพื่อขวางการทำงานของ DSI การต่อสู้คดีของพระธัมมชโยซึ่งยังถือว่าเป็น “ผู้บริสุทธิ์” ตามรัฐธรรมนูญจนกว่าศาลจะพิพากษาก็ว่ากันไป ทั้งนี้เพื่อไม่เป็นเหตุให้วุ่นวายอันเป็นที่ระคายเคืองต่อการขึ้นครองราชย์ของเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ก็มอบตัวเสีย เอารถเข็นผู้ป่วยไปรับท่าน ส่วนบรรดาศิษย์ทั้งหลายาก็ตั้งแถวส่ง ติดตามไปดู แล้วใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลอย่างที่ว่า จากนั้นก็ดำเนินการไปตามปกติด้วยความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างภิกษุสงฆ์กับคาราวาสจะดีกว่ามั๊ย ท่านธัมมชโยก็ยังคงอยู่ในสมณะเพศได้อีกนาน ส่วนคนที่ชอบพูดชักใบให้เรือเสีย ข่มขู่อย่างโน้นอย่างนี้ก็เลิกเถอะ ยิ่งไม่รู้แล้วพูดมากก็วุ่นวายมาก อีกฝ่ายก็ไม่ไว้วางใจ ต้องเข้าใจนะครับการบังคับใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็เพื่อรักษาความสงบของบ้านเมืองและเพื่อความยุติธรรมครับ

ค่าเงินริงกิตมาเลเซียร่วงไม่หยุด

(Dec 2) ค่าเงินริงกิตมาเลเซียร่วงไม่หยุด: สกุลเงินริงกิตของมาเลเซียอ่อนค่าลงอย่างหนักเกือบ 7% ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความไม่แน่นอนของปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ส่งผลให้เกิดการไหลออกอย่างต่อเนื่องของเงินทุนจากต่างประเทศ
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ว่าสกุลเงินริงกิตซึ่งเป็นค่าเงินประจำชาติของมาเลเซียตกลงเกือบ 7% ระหว่างวันที่ 9 พ.ย.- 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแล้วอยู่ที่ 4.46 ริงกิต เมื่อช่วงเช้าของการซื้อขายในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น ถือเป็นการแข็งค่าที่สุดของเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเงินริงกิต นับตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว
ทั้งนี้ หลายฝ่ายเชื่อว่าปัจจุบันสำคัญที่ส่งผลให้ค่าเงินของมาเลเซียร่วงลงอย่างหนัก เป็นผลจากการที่นักลงทุนต่างชาติซึ่งถือครองพันธบัตรในตลาดเป็นสัดส่วนราว 40% พากันเทขายตราสารหนี้ด้วยความวิตกกังวลว่า นโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐในอนาคตภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง
ขณะเดียวกัน การที่ว่าที่ผู้นำสหรัฐยืนยันการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ( ทีพีพี ) ที่มาเลเซียเป็นหนึ่งใน 12 ประเทศสมาชิกด้วย ส่งผลให้ปริมาณทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศของมาเลเซีย ณ วันที่ 15 พ.ย. อยู่ที่ 98,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 3.44 ล้านล้านบาท ) ลดลงมากถึง 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับสถิติของปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ 141,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 4.9 ล้านล้านบาท )
นอกจากนี้ ปัญหาเรื้อรังภายในประเทศคือสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง จากกรณีอื้อฉาวเรื่องการคอร์รัปชั่นในกองทุนพัฒนาประเทศ "วันเอ็มดีบี" ของนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ถูกลงอย่างมากตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2557 ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกของมาเลเซียซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศส่งออกน้ำมันดิบ
Source: เดลินิวส์ออนไลน์
There seems to be no respite in sight for the Malaysian ringgit, which is already among Asia’s worst performing currencies. Is the central bank…
CHANNELNEWSASIA.COM

การค้าเสรีไม่มีจริงในโลก?

ปุจฉา
การค้าเสรีมีจริงในโลกหรือไม่ครับ?
วิสัชนา
การค้าเสรีไม่มีจริงในโลก ยกเว้นในประเทศที่ประชาชน ครูบาอาจารย์ นักวิชาการถูกครอบงำความคิดให้เชื่อว่ามีจริง และมีประโยชน์อย่างประเทศไทยของเราครับ
ทั้งนี้เพราะว่าโลกของเรามีประเทศต่างๆ หลายร้อยประเทศ มีรัฐบาลหลายร้อยรัฐบาล มีเขตแดนและอำนาจอธิปไตยแยกออกจากกันเป็นเอกเทศ และทุกๆประเทศก็ดูแลประชาชนของตนซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคสินค้าด้วยกฎเกณฑ์ และระเบียบที่แตกต่างกัน มิได้มีการอนุญาตให้คนในประเทศอื่นส่งสินค้าเข้ามาขาย หรือเข้ามาตั้งโรงงานผลิตสินค้าเพื่อขายในประเทศได้อย่างเสรี
สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศเจ้าของความคิดและเป็นประเทศที่ผลักดันแนวความคิดการค้าเสรีอย่างหนักแน่นและรุนแรงอยู่ในขณะนี้ ครั้งหนึ่งหลังการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1789 เพียง 2 ปี อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐในขณะนั้น ได้ทำข้อเสนอต่อสภาคองเกรสให้รัฐบาลปกป้องอุตสาหกรรมของสหรัฐฯจากการแข่งขันกับสินค้าอุตสาหกรรมที่ส่งมาขายจากประเทศต่างๆ ในยุโรปโดยการให้เงินอุดหนุนต่อสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตขึ้นในสหรัฐฯ และตั้งกำแพงภาษีไม่ให้สินค้านำเข้าจากยุโรปเข้ามาขายแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตขึ้นในสหรัฐฯ เพื่อเป็นการปกป้องโรงงานและผู้ผลิตสินค้าที่ยังอ่อนแอกว่าในสหรัฐฯขณะนั้น ทำให้สหรัฐอเมริกาในขณะนั้นเป็นประเทศที่ปกป้องสินค้าอุตสาหกรรมมากและรุนแรงที่สุดในโลก
ประเทศที่มีอุตสาหกรรมที่แข็งแรงในโลกขณะนี้ เช่น ประเทศเยอรมัน สวีเดน ฝรั่งเศส ออสเตรีย ญี่ปุ่น อังกฤษ ไต้หวัน ล้วนต้องปกป้องดูแลธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศในระยะเริ่มต้นที่ยังอ่อนแอด้วยกันทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นจึงไม่มีประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจให้ประชาชนกินดีอยู่ดี และธุรกิจภาคเกษตรและอุตสาหกรรมแข็งแรงได้โดยไม่มีการปกป้อง คุ้มครองจากการแข่งขันกับสินค้าในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าได้เลยแม้แต่ประเทศเดียวครับ