PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ทางอออกของพระธัมมชโย และ DSI

ทางอออกของพระธัมมชโย และ DSI

คราวที่แล้วได้อธิบายการสั่งคดีของอัยการไปแล้วว่าทำไมต้อง “เห็นควรสั่งฟ้องพระธัมมชโย” วันนี้ขอเสนอแนวทางตามกฎหมายว่าเรื่องนี้ควรจะจบอย่างไร

การที่DSIจะใช้กำลังไม่ว่าจะเป็นเอาตำรวจหรือทหารเข้าไปทำการจับกุมพระธัมมชโย แม้เป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผลที่ตามมาน่าจะเสียหายมากกว่าดังที่ท่านนายกพูดนั่นแหละ ครั้นไม่ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวพระธัมมชโยตามคำสั่งของอัยการก็จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผล ไม่ว่าจะไปทางไหนไม่พ้นที่ DSI ไอจะตกเป็นจำเลยทางสังคมเป็นแน่แท้
สมมุติว่าถ้าเราได้ตัวพระธัมมชโยมาด้วย “การบุกเข้าไปจับกุม” หรือ “การมอบตัว” ของท่านเอง ขั้นตอนจะเป็นอย่างไร คำตอบอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เริ่มด้วย DSI ต้องแจ้งสิทธิตามมาตรา ๗ เช่น สิทธิในการปรึกษากับทนายเป็นการเฉพาะตัว ให้ทนายเข้าฟังการสอบปากคำของพระธัมมชโย ได้รับการเยี่ยมจากญาติตามสมควร ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย จากนั้นก็ถามชื่อตัว นามสกุล ที่อยู่ สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ทีเกิด และแจ้งให้ทราบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหา แล้วจึงแจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบ (มาตรา ๑๓๔ วรรคแรก) และ DSI “ต้องให้โอกาสพระธัมมชโยที่จะแก้ข้อกล่าวหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้” (มาตรา ๑๓๔ วรรคสาม) และต้องถามว่าท่านมีทนายหรือไม่ ถ้าไม่มีและต้องการ รัฐก็ต้องจัดหาให้ (มาตรา ๑๓๔/๑ วรรคสอง) แค่นี้ก็ใช่ว่าจะจบในวันเดียว ถ้า DSI รวบรัดไม่ดำเนินการให้ มีหวังโดนข้อหาละเว้นการปฏิบัติตามหน้าที่ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ แน่นอน ซึ่งถ้ายังสอบไม่เสร็จก็ยังส่งตัวให้อัยการไม่ได้ ดังนั้น DSI มีทางเลือกที่จะให้ปล่อยตัวชั่วคราว(ประกันตัว)เอง หรือจะส่งไปฝากขังที่ศาลก็ได้ ส่วนการปล่อยชั่วคราวก็เป็นเรื่องของศาล (มาตรา ๑๐๖) ตรงนี้ก็เป็นประเด็นอีก “จะจับสึกก่อนส่งศาล” หรือครับ คราวที่แล้วที่เป็นคดีก็ไม่มีการสึก หรือพระบางรูปท่าถูกดำเนินคดีก็อาจไม่จำเป็นต้องสึก เท่าที่เห็นที่ถูกจับสึกส่วนใหญ่จะเป็นความผิดคาหนังคาเขา เช่น ดื่มสุรา เสพยาบ้า หรือกระทำชำเรากันจะๆ เพราะการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อนำตัวไปฝากขังหรือฟ้องศาล เป็นอำนาจศาลที่พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต ถ้าจับสึกแล้วศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวล่ะ ใครจะรับผิดชอบ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องสึก กฎหมายมิได้บังคับ ทั้งนี้การปล่อยชั่วคราวเป็นหลักที่ผู้ต้องหาต้องได้รับ 

ส่วนการควบคุมหรือคุมขังเป็นข้อยกเว้น การที่ DSI หรือศาลจะสั่งไม่ปล่อยชั่วคราวต้องได้ความว่าพระธัมมชโยจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น หรือหลักประกันไม่พอ (มาตรา ๑๐๘/๑) เห็นหรือยังครับว่าพอได้ตัวมาใช่ว่าจะเอาตัวไปส่งอัยการได้ทันที พออัยการรับตัวมาหรือได้คำให้การพระธัมมชโย ก็ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะออกคำสั่งฟ้องตามความเห็นเดิมหรือจะสั่งไม่ฟ้องเพราะพยานหลักฐานที่พระธัมมชโยแสดงพิสูจน์ได้ว่าตนไม่ผิด ถ้าสั่งฟ้องและนำตัวไปฟ้องต่อศาล กระบวนการพิจารณากว่าจะพิสูจน์ว่า “พระธัมมชโยเป็นผู้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา” คงต้องใช่เวลาเป็นปีนะครับ เพราะนายศุภชัยถูกฟ้องตั้งหลายคดี มีการกระทำหลายกรรม มูลค่าความเสียหายเท่าที่ฟ้องแล้วเกือบสองพันล้าน พยานกี่ร้อยปาก เอกสารกี่พันฉบับ เอาล่ะครับนี่คือข้อเท็จจริง
ที่นี้ถ้าศิษยานุศิษย์ทั้งหลายและพระธัมมชโยเองจะแสดงความสง่างาม ก็ไม่ควรขัดขวางกระบวนการยุติธรรม การภาวนาเพื่อถวายอาลัยต่อเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ก็ทำไป ไม่เอามาอ้างเพื่อขวางการทำงานของ DSI การต่อสู้คดีของพระธัมมชโยซึ่งยังถือว่าเป็น “ผู้บริสุทธิ์” ตามรัฐธรรมนูญจนกว่าศาลจะพิพากษาก็ว่ากันไป ทั้งนี้เพื่อไม่เป็นเหตุให้วุ่นวายอันเป็นที่ระคายเคืองต่อการขึ้นครองราชย์ของเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ก็มอบตัวเสีย เอารถเข็นผู้ป่วยไปรับท่าน ส่วนบรรดาศิษย์ทั้งหลายาก็ตั้งแถวส่ง ติดตามไปดู แล้วใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลอย่างที่ว่า จากนั้นก็ดำเนินการไปตามปกติด้วยความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างภิกษุสงฆ์กับคาราวาสจะดีกว่ามั๊ย ท่านธัมมชโยก็ยังคงอยู่ในสมณะเพศได้อีกนาน ส่วนคนที่ชอบพูดชักใบให้เรือเสีย ข่มขู่อย่างโน้นอย่างนี้ก็เลิกเถอะ ยิ่งไม่รู้แล้วพูดมากก็วุ่นวายมาก อีกฝ่ายก็ไม่ไว้วางใจ ต้องเข้าใจนะครับการบังคับใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็เพื่อรักษาความสงบของบ้านเมืองและเพื่อความยุติธรรมครับ

ไม่มีความคิดเห็น: