PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

‘อาชีวะช่วยชาติ’ ขู่จะรวมตัวแสดงพลัง หาก น.ศ.ไม่หยุดต้าน คสช.

‘อาชีวะช่วยชาติ’ ขู่จะรวมตัวแสดงพลัง หาก น.ศ.ไม่หยุดต้าน คสช.
Cr:สำนักข่าวเจ้าพระยา
30 มิ.ย.2558 เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘กลุ่มอาชีวะช่วยชาติ’ เผยแพร่แถลงการณ์ลงวันที่ 30 มิ.ย.2558 ระบุการเคลื่อนไหวของนักศึกษากลุ่มดาวดิน มีกลุ่มบุคคลที่เสียผลประโยชน์คอยให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง และเรียกร้องให้กลุ่มนักศึกษาหยุดการเคลื่อนไหวต่อต้านคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยระบุว่า หากไม่หยุดทำลายความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของชาติ กลุ่มอาชีวะทั้งศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าจะออกมาแสดงพลังเพื่อสนับสนุนการทำงานของ คสช.
………………….
แถลงการณ์ฉบับที่ 2/2558
กลุ่มอาชีวะช่วยชาติ ณ ราชดำเนิน 56
จากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เข้ามาบริหารประเทศ ทำให้ประเทศสงบขึ้นเป็นอันมาก แต่ก็มีบุคคลบางกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการทำงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยอยู่เบื้องหลังให้การสนับสนุนนักศึกษาบางกลุ่ม (กลุ่มดาวดิน) ดังนั้น ในนามนักศึกษาด้วยกันจึงอยากให้กลุ่มนักศึกษาดังกล่าวหยุดการกระทำ หากยังมีนักศึกษาที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ออกมาทำลายความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของชาติ ทางกลุ่มอาชีวะช่วยชาติที่ประกอบไปด้วยศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าจะออกมาแสดงพลังเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เช่นกัน
กลุ่มอาชีวะช่วยชาติ ณ ราชดำเนิน
30 มิถุนายน 2558


ม๊อบกำนันผู้ใหญ่บ้าน เชียร์ คสช ต้าน ดาวดิน จ.เลย พวกเขาคือใคร

ม๊อบกำนันผู้ใหญ่บ้าน เชียร์ คสช ต้าน ดาวดิน จ.เลย พวกเขาคือใคร
มิตรสหายท่านที่ 1 ให้ข้อมูลว่า
พวกที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน ดาวดิน ที่จังหวัดเลยวานนี้ ไม่ใช่กลุ่ม 6 หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมรอบๆบริเวณเหมือง แค่อยู่ ต.เขาหลวงเหมือนกันเฉยๆ
สรุปก็คือ เป็นคนนอกพื้นที่ แต่อยู่ใกล้ชิดบริเวณพื้นที่ ซึ่งถูกดึงเอามาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ให้สังคมมองว่าคนในพื้นที่ไม่ได้เดือดร้อน (ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็น่าจะไม่ได้เดือดร้อนจริงๆ เพราะไม่ได้เป็นคนในหมู่บ้านที่อยู่รอบเหมือง) แล้วทำให้เห็นว่ากลุ่มดาวดินไปยุให้ชาวบ้านกระด้างกระเดื่องต่อรัฐ
มิตรสหายท่านที่ 2 (ไม่รู้จักท่านที่ 1) ให้ข้อมูลว่า
ม็อบที่จังหวัดเลย ที่อ้างว่าเป็นคนเขาหลวงนั้น เป็นกลุ่มกันชนเหมืองทอง ที่ตั้งมานานแล้ว เพื่อชนกับชาวบ้านในพื้นที่และดาวดิน และเป็นการดำเนินการเพื่อเอาใจ คสช. โดยเป็นการจัดตั้งของผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เพื่อชเลียร์ คสช. (ถ้าผมมีหลักฐานผู้ว่าวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ อย่าฟ้องผมนะครับ เดี๋ยวผู้ว่าจะแพ้คดี)
มิตรสหายท่านที่ 3 (ไม่รู้จัก 1 และ 2)
มายืนยันอีกคนครับ มีรุ่นน้องที่เรียนด้วยมาจากกลุ่มดาวดินครับ เค้าบอกว่าตอนทำประชามติทำเหมืองก็ทำกันทั้งอำเภอแหละครับ คนที่อยู่ในรัศมีห่างจากเหมืองมากๆ (ไม่ยืนยันว่าใช้กลุ่มนี้ไหมนะครับเดี๋ยวโดนฟ้องหมิ่น) เขาก็เอาด้วย เพราะเหมืองให้สิ่งตอบแทน ให้ร่ม ให้จักรยาน ให้ยาอะไรพวกนี้ และเขาก็ไม่ได้รับผลกระทบมาก
ส่วนคนที่ต่อต้านเหมืองคือชาวบ้านที่เขาอยู่ติดเหมืองซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหมืองครับ ตอนนี้แหล่งน้ำที่อยู่รอบๆเหมืองปนเปื้อนโลหะหนักจนใช้ดื่มใช้อาบไม่ได้แล้ว ชาวบ้านต้องซื้อน้ำมาอาบครับ แล้วจะมีการระเบิดหินตอนกลางคืนครับ คืนไหนระเบิดชาวบ้านแถวนั้นนอนไม่ได้เลย แต่คนอยู่ไกลๆเขาคงไม่ได้ยินหรอกเนอะ
*****
ผมขอร้องให้ประชาชนที่รับฟังข่าวสาร มีความรอบคอบในการบริโภคข่าวสาร อย่ารับฟัง คสช. เพราะ พล.ต.สรรเสริญ (ไก่อู) เป็นบุคคลที่มีประวัติการโกหกมากกว่า 3 ครั้ง (ผังล้มเจ้า, GT200 และการยัดปืนใส่มือศพผู้บริสุทธิ์ 4 ศพที่ทุ่งยางแดง) และไก่อูล้วนโกหกจนเป็นเรื่องใหญ่ทั้งนั้น ใส่ร้ายคนอื่นจนเกิดความเข้าใจผิด และแตกร้าวกันในสังคมแทบเรียกว่าได้ว่า ยากที่จะปรองดอง ประชาชนที่มีสติปัญญาใครครวญทั้งหลาย โปรดอย่ารับฟังข่าวลวงจาก คสช. หรือหวั่นไหวต่อการหลอกลวงของ คสช. รวมทั้งอย่าหวั่นไหวต่อการสร้างข้อมูลเท็จของ คสช.

น.ศ.ดาวดินกับวาระซ้อนเร้น?

ประเด็นสุดท้ายที่ผมจะพูดเกี่ยวกับนักศึกษาที่ถูกจับ
โดยผมจะขอพูดถถึง ‪#‎กลุ่มดาวดิน‬ โดยตรงเลยในโพสนี้
คือ ขอให้พิจารณาตามความจริงและหลักฐานด้วยนะครับ
ว่านักศึกษาเหล่านี้ไม่ได้มาชุมนุมเรื่องสิ่งแวดล้อม
หรือช่วยชาวบ้านเรื่องเหมืองแร่ อีกต่อไป...
สิ่งที่เค้าทำตอนนี้คือ ‪#‎การเคลื่อนไหวทางการเมือง‬
โดยมีกลุ่มทุนและสื่อบางประเภทหนุนหลังอยู่
- ก่อนเหตุการณ์ที่เค้าจะชุมนุมเพื่อล่อให้ถูกจับ
(และไม่ขอประกันตัวด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเจตนา)
คนเหล่านี้ได้เดินสายไปฟ้อง UN และสถานทูตอังกฤษ
เพื่อให้ช่วยตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของพวกเค้า
ในวันที่ 16 มิ.ย. 2558 ที่ผ่านมานี้เอง
http://www.prachatai.com/journal/2015/06/59803
http://thaienews.blogspot.com/2015/06/7.html
- ซึ่งคนพาเข้าพบหรือดำเนินการให้ก็คือ พิญช์ พงษ์สวัสดิ์
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และพิธีกรช่อง VOICE TV ของนายพานทองแท้ ชินวัตร
ส่วนอีกคนคือ นาย ประวิตร โรจนพฤกษ์ บก.อาวุโสเครือเนชั่น
(คนที่ออกมาด่าว่าคนไทยคลั่งชาติ ตอนเชียร์ฟุตบอลนั่นแหละ)
- หมายเหตุ: ทั้งสองคนนี้เป็นสื่อ 2 ใน 3 ราย
(อีกคนคือ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บก.เวปประชาไท)
ที่นาย สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย
และอดีตประธานสภาณสมัยรัฐบานางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
อ้างว่าพาไปดูงานที่ประเทศอังกฤษพร้อมกับไปดูฟุตบอล
โดยใช้เงินงบประมาณ 7 ล้านบาทจากสภาฯเพื่อไปดูงานในครั้งนี้
http://news.voicetv.co.th/thailand/52439.html
http://www.thairath.co.th/content/292553
http://www.posttoday.com/…/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B…
- จากหลักฐานที่ปรากฎจะเห็นได้ว่าจริงๆแล้วเด็กเหล่านี้
เค้าไม่ได้ "ซื่อไร้เดียงสา" หรือแค่มาต่อสู้ให้ชาวบ้าน
อย่างที่หลายๆคนคิด แต่มันเป็นการเคลื่อนไหวที่มี
‪#‎วาระทางการเมืองแฝง‬ (Political Hidden Agenda) อยู่เต็มๆ
ที่ผมประหลาดใจก็คือ ยังมีผู้ใหญ่บางคน
ที่ทำตัวไร้เดียงสาไม่รู้เรื่องรู้ราวกันอยู่เลยว่า
กลุ่มดาวดินได้เปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็น
‪#‎กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง‬ เต็มรูปแบบ 100% ไปแล้ว
แถมยังเคลื่อนไหวไปพร้อมกับเครือข่าย
ที่อุดหนุนโดยนักการเมืองอีกต่างหาก
***ก่อนจะจบโพสนี้ ผมขอ "ตั้งคำถาม" ถึงกลุ่มดาวดินสักเล็กน้อย
ผมอยากทราบว่าเค้ารู้เรื่อง ‪#‎การเมืองระหว่างประเทศ‬ บ้างหรือไม่?
ว่าองค์กรบางองค์กรที่เค้าไปเรียกร้องนั้นมีจุดประสงค์อะไร
และเคยทำอะไรไว้บ้างกับประเทศเล็กๆที่ไม่เชื่อฟังมหาอำนาจ
เค้าอาจจะนึกว่าเค้ากำลังทำเพื่อสังคม ทำเพื่อสิ่งที่ถูกต้อง
แต่เค้าไม่รู้ตัวหรอกว่าเค้ากำลังเปิดทางให้มีการแทรกแซง
อำนาจอธิปไตยจากต่างชาติ ที่มักจะเข้าไปปล้นทรัพยากร
ประเทศเล็กๆที่ไม่มีทางสู้โดยอาศัยเรื่องสิทธิมนุษยชนมาบังหน้า
และใช้มวลชนขับไล่รัฐบาลที่ไม่สนองประโยชน์พวกเค้า
- หมายเหตุ: และผมก็ไม่รู้ว่าเค้ารู้บ้างหรือไม่ว่า...
กลุ่มนายทุนเหมืองแร่หรือปิโตรเลียมที่เค้าต่อต้านนั้น
ก็มีทุนจากประเทศมหาอำนาจที่เค้าไปเรียกร้องนั้นแหละรวมอยู่ด้วย...
***สุดท้ายเลย ผมก็ไม่รู้หรอกนะว่าลึกๆแล้วกลุ่มดาวดินเค้าคิดอะไร
ถ้าเค้ามีเจตนาที่ช่วยเหลือชาวบ้านจริงๆ ด้วย ‪#‎ความบริสุทธ์ใจ‬
ผมก็ขอยกย่องในความเสียสละกล้าหาญของพวกเค้าที่ทำเช่นนั้น
แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าผมจะต้องเห็นดีเห็นงาม
ไปกับ "วาระแฝงทางการเมือง" ที่พวกเค้ากำลังทำอยู่ตอนนี้
และยิ่งการที่เค้าทำถึงขั้นนี้ ก็ยิ่งทำให้สังคมยิ่งสงสัยเข้าไปใหญ่ว่า
ตกลงลึกๆแล้วคนพวกนี้มี "เจตนา" อะไรกันแน่ หรือจะเป็นเพียงแค่
‪#‎เอาชาวบ้านมาเป็นเครื่องมือในการถีบตัวเอง‬
ให้ขึ้นมาเป็น "คนเด่ดคนดังในทางการเมือง" ก็เท่านั้น?

รองอธิการบดี มธ.ชี้ การจับกุม14 นศ.ทำให้คนกลางๆหันหลังให้ คสช.มากขึ้น

วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 10:37:40 น.


นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวผ่านรายการเจาะลึกทั่วไทย ทางสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ ถึงกรณีการเคลื่อนไหวของนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตย จนถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครว่า กลุ่มนักศึกษาเคลื่อนไหวเรียกร้องเราจะเห็นด้วยหรือไม่ แต่ไม่สมควรได้รับความผิดถึงกับขนาดที่ต้องเอาไปขัง โดยเฉพาะยังไม่เริ่มต้นตั้งสำนวนสอบสวนและส่งฟ้องต่อศาล แต่ตำรวจเอาไปขังก่อนที่จะมีคำสั่งฝากขัง เนื่องจากเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี อันนี้มันเยอะไป อีกทั้งควรจะต้องขึ้นศาลธรรมดา จะผิดถูกอย่างไรก็ว่ากันไป อยากรู้เหตุผลทำไมถึงขั้นต้องขึ้นศาลทหาร ต่อให้ศาลทหารเที่ยงธรรม แต่คนไม่เชื่อว่าศาลทหารเที่ยงธรรมอยู่ดี เนื่องจากความเที่ยงธรรมไม่ใช่แค่มี แต่ต้องทำให้เกิดความเชื่อถือด้วย ดังนั้น คสช.ไม่ควรไปยุ่งกับฝ่ายตุลาการ 

ทั้งนี้ ในช่วงเวลานี้กำลังมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ และต่อให้มีการทำประชามติก็ต้องถูกวิจารณ์แน่นอน แม้จะไม่มีกฎอัยการศึก แต่ประกาศที่มาจากมาตรา 44 มันคือกฎอัยการศึก ที่ห้ามไม่ให้ความเห็นต่างทางการแสดงออก ตรงนี้รัฐต้องเปิดกว้างมากขึ้น แม้มีคนที่วิจารณ์ถึงการเคลื่อนไหวของนักศึกษาเยอะ แต่การจับกุมนักศึกษาทำให้คนกลางๆที่เคยนิ่งๆมาอยู่ข้างนักศึกษาเยอะขึ้น ส่วนสถานการณ์จะบานปลายหรือไม่ ทหารคงมีบทเรียนจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่ทราบดีว่ามันลุกลามมาจากอะไร แต่ต้องรอดูเรื่องร่างรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์ก่อน ถึงตัดสินได้ว่าสถานการณ์จะบานปลายหรือไม่

คำนูน:เรื่องผู้ว่าฯแบงก์ชาติคนใหม่

คำนูน สิทธิสมาน โพสในเฟสบุ๊ส่วนตัว ถึงผู้ว่าแบงค์ชาติคนที่ผ่านมา
//////

ไม่ได้เขียนอะไรยาว ๆ มานาน วันนี้จะขอเขียนสักหน่อย แต่ไม่ใช่เรื่องการเมือง เป็นเรื่องการเงิน
เรื่องผู้ว่าฯแบงก์ชาติคนใหม่
คุณความดีประการสำคัญที่สุดของผู้ว่าฯประสาร ไตรรัตน์วรกุลตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง 5 ปีคือรักษาแบงก์ชาติไว้ให้เป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองได้ในระดับสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ตามใจฝ่ายการเมืองที่พยายามจะเข้ามาล้วงทุนสำรองระหว่างประเทศออกที่มีอยู่ประมาณ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 6 ล้านล้านบาทออกไปจำนวนหนึ่งเพื่อตั้งกองทุนโดยไม่เอาเงินบาทมาแลกไปตามครรลอง จนฝ่ายการเมืองคืบคลานเข้ามาในบอร์ดแบงก์ชาติและพยายามหาหนทางให้ท่านพ้นตำแหน่งโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการต่อสู้ที่ดุเดือดทั้งทางกฎหมายระเบียบข้อบังคับรวมทั้งข้อมูลข่าวสารและวาทกรรมที่แสดงต่อสาธารณะ
ฝ่ายการเมืองพยายามบอกว่าทุนสำรองฯเรามีมากไป เก็บไว้เฉย ๆ เป็นการไม่ฉลาด ควรตัดบางส่วนออกไปหาประโยชน์ที่สูงกว่า
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติที่ใกล้เวลาจะมีคำว่าอดีตนำหน้าตอบโต้ว่าทุนสำรองฯไม่ใช่ความมั่งคั่งของเรา แต่เป็นเสมือนเงินที่เรารับฝากจากนักลงทุนที่นำเงินตราต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทไปลงทุนในประเทศ ต้องมีพร้อมไว้ในกรณีที่เขามาแลกคืนเพื่อนำเงินออกนอกประเทศ แค่ไหนถึงจะเรียกว่ามีมากไปต้องคิดให้ดี
จะตัดไปตั้งกองทุนฯอะไรก็ได้ แต่ขอให้คำนึงหลักการข้างต้น และที่สำคัญที่สุดคือจะเอาดอลลาร์สหรัฐในทุนสำรองฯออกไปเท่าไรรัฐบาลต้องเอาเงินบาทมาแลกไป เอาไปเฉย ๆ ไม่ได้
เพราะหากเอาไปเฉย ๆ ก็ไม่ต่างกับรัฐบาลพิมพ์เงินบาทใช้เอง จะเป็นอันตรายในหลายมิติ
ฝ่ายการเมืองเลยเงียบ ๆ ไป
ทุนสำรองฯรอดปลอดภัยมาตลอด 5 ปีเพราะคนชื่อประสาร ไตรรัตน์วรกุล และคนอื่น ๆ ที่ร่วมแรงร่วมใจกันสนับสนุนในทุกทาง
แล้วว่าที่ผู้ว่าฯแบงก์ชาติคนใหม่จะเดินตามหนทางว่าที่อดีตผู้ว่าฯไหม ?
เป็นประเด็นที่น่าสนใจยิ่ง !
แคนดิเดทที่ตอนนี้เหลือ 2 คนแม้ไม่ได้พูดเรื่องนี้โดยตรง แต่จากแนวความคิดก็น่าจะพอมองเห็นได้ในระดับหนึ่ง
คนหนุ่มกว่าที่โซเชี่ยลมีเดียคาดว่าน่าจะเข้าวิน ถึงขั้นเผยแพร่ประวัติออกมาล่วงหน้าเป็นอาทิตย์ ๆ นั้นดูจากแนวคิดแม้จะไม่ได้พูดเรื่องทุนสำรองฯโดยตรง ก็น่าจะเดินแนวทางอนุรักษ์นิยมทางเศรษฐกิจมากกว่า ทุนสำรองฯน่าจะปลอดภัยในระดับหนึ่ง
คนหนุ่มใหญ่กว่ามาจากภาคธุรกิจการเงินโดยตรง น่าจะมีแนวคิดโลดโผนเร้าใจกว่า และที่สำคัญเท่าที่จำได้ท่านเคยมีแนวคิดให้สัมภาษณ์ในทำนองควรนำทุนสำรองฯออกมาใช้ให้เกิดดอกออกผลมากกว่าเก็บไว้เฉย ๆ แต่จะนำออกมาในลักษณะใดนั้นผมจำรายละเอียดไม่ได้ชัด
ใครจะเป็นผู้ว่าฯแบงก์ชาติคนใหม่จึงน่าจะมีผลต่อทุนสำรองฯแตกต่างกัน
อย่างน้อยก็ในด้านแนวคิด
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติมีเทอม 5 ปี เป็นแล้วเปลี่ยนไม่ได้ง่ายนัก เพราะกฎหมายวางหลักไว้ให้เป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองในระดับสำคัญ
เทอม 5 ปีนี้น่าจะยาวเกินยุครัฐบาลคสช.ไปแล้วด้วย
ฝ่ายการเมืองในยุคหน้า ไม่ว่าจะปีหน้าปีโน้นหรืออีกเกิน 2 หรือ 3 หรือ 4 ปีข้างหน้า ถ้ามาจากกลุ่มที่มีแนวคิดนำทุนสำรองฯออกมาตั้งกองทุนโน่นนี่นั่น ก็คงคุยกับผู้ว่าฯคนใหม่ง่ายกว่าผู้ว่าฯคนเก่าแน่ในกรณีที่แคนดิเดทคนหลังที่อาวุโสกว่าเข้าวิน
ถ้าเป็นแคนดิเดทคนแรกที่หนุ่มกว่าเข้าวิน ทุนสำรองฯน่าจะปลอดภัยกว่าในระดับสำคัญ
รัฐบาลนี้ช่วยตัดสินใจให้รอบคอบรอบด้านด้วยนะ
ประวัติศาสตร์จะได้ไม่เกิดขึ้นซ้ำรอยอีกครั้ง !

นายกฯยันจับจริงประมงไม่ขึ้นทะเบียน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่ครั้ง 2/2558 

"ปัญหาคือการไม่ร่วมมือ เขาดีเดย์มาตั้งนานแล้ว และวันนี้ต้องปฏิบัติเหมือนกันหมด"
“ผมถามว่า ผมจะเลือกอันไหน ท่านจะเลือกกี่พันลำที่ยังไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายที่เรียกร้องให้รัฐบาลชะลอ ผมบอกถ้าไม่ออกก็ไม่ออก ถ้าผิดกฎหมายก็ดำเนินคดี เราปล่อยกันมานานแล้ว เพราะความยากจนทำร้ายคนจนที่ผ่านมามันก็เลือกปฏิบัติไม่ได้ วันนี้ต้องปฏิบัติเหมือนกันหม

แผ่นดินนี้กฏหมายประเทศไทยก็ต้องใช้กฏหมายเหมือนกันทั้งหมด ไม่ใช่เลือกปฏิบัติ ผมอธิบายให้เข้าใจ ไม่ใช่ไปรังแกเขา ผมให้โอกาสเขามานานแล้ว แล้วท่านจะทำอย่างไร จะต้องผ่อนผันกันอีกเท่าไร พอสามเดือนวันหน้าก็ขอต่ออีกมันก็เป็นแบบนี้ไปตลอด เพราะประกาศไป 3 – 6 เดือนมาแล้ว วันนี้ต้องมาดูกติกาประเทศ ซึ่งถ้าท่านจับปลามาแล้วขายไม่ได้จะไปขายกับใคร วันหน้าก็ราคาตก ท่านก็มาเรียกร้องให้ผมมาอุดหนุนราคาปลา มันเละไปหมดทุกเรื่อง ต้องสอนคนให้คิดใหม่


ย้อนกลศึกทักษิณ : ยิ่งดิ้น - ยิ่งรัดคอตัวเอง

ย้อนกลศึกทักษิณ : ยิ่งดิ้น - ยิ่งรัดคอตัวเอง
ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ตกต่ำทางด้านเศรษฐกิจโลกในห้วงเวลานี้ เป็นปัจจัยที่เป็นคุณต่อการเคลื่อนไหวของระบอบทักษิณเพื่อดิสเครดิตและหาทางล้มล้างอำนาจรัฐบาล คสช.ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างยิ่ง ประเทศคู่ค้ารายใหญ่จากซีกโลกตะวันตกตั้งแต่สหรัฐอเมริกา และยุโรปล้วนมีปัญหาจากมรสุมเศรษฐกิจระลอกแล้วระลอกเล่า กระทั่งกรณีล่าสุดวิกฤตการชำระหนี้ของกรีซที่มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ และอาจจะเป็นปัญหาใหญ่ของทั่วทั้งทวีปยุโรป และทั่วโลกได้
ย้อนพิเคราะห์สถานการณ์ทั้งทางด้านการเมืองและด้านเศรษฐกิจของประเทศในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา เรียงร้อยต่อภาพจิ๊กซอว์การต่อสู้-ห้ำหั่นกันอย่างดุเดือด ระหว่างระบอบทักษิณกับฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณแล้ว แม้สถานการณ์โลกภายนอกจะเอื้ออวย-เป็นคุณกับฝ่ายทักษิณ แต่รูปธรรมการต่อสู้แต่ละช็อต,แต่ละแผนจะพบร่องรอยแห่งความพ่ายแพ้อย่างหมดรูปของระบอบทักษิณหลายครั้ง-หลายเวที !!
เริ่มตั้งแต่ภาพกว้าง ยุทธศาสตร์โลกล้อมประเทศ ระบอบทักษิณได้ทุ่มเม็ดเงินมหาศาลจ้างนักกฎหมายใหญ่อย่าง โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม วางแผนไกลที่จะเล่นงานรัฐบาลไทยตั้งแต่อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ ข้อหาสั่งฆ่าสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงหวังจะนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่สุดท้ายก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า เสียเงินเปล่าๆไปอักโข
ย้อนกลับมาที่สถานทูตสหรัฐฯประจำกรุงเทพฯ ตัวละครโปรทักษิณบรรดาศักดิ์ ระดับผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกาอย่าง แดเนียล รัสเซล หรือเอกอัคราชทูตและอุปทูตประจำประเทศไทยอย่าง คริสตี้ เคนนีย์, แพทริค เมอร์พี ที่ทำตัวรุ่มร่าม ไร้มารยาททางการทูต ออกโรงเชียร์ทักษิณอย่างโจ่งแจ้งถึงขั้นออกเดินสายตระเวนไปเยี่ยมหมู่บ้านเสื้อแดงในภาคอีสาน และภาคเหนือ ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมที่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทยหลายเรื่อง-หลายวาระ ที่สุด ก็ถูก นายกฯ พล.อ,ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ ดอน ปรมัตวินัย และนักวิชาการไทยหลายคน รุมคัดค้านเปิดโปงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไร้มารยาททางการทูตอย่างถึงลูกถึงคน
ผลพวงจากการดำเนินนโยบายการทูต-การต่างประเทศที่ผิดพลาด ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯมีคำสั่งย้ายคริสตี้ เคนนีย์ กลับไปประจำที่วอชิงตัน ดี.ซี. และก่อแรงผลักให้ไทยหันไปฟื้นสัมพันธ์อันดีกับสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทำให้ความฝันที่สหรัฐอยากจะหวนฟื้นความเป็นมหาอำนาจในทะเลจีนใต้ครั้งใหม่ริบหรี่ลง
ต่อเนื่องมาถึง แผนประเคนแหล่งพลังงานธรรมชาติใต้ทะเล ให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกัน และประเทศในตะวันออกกลาง ก็ถึงการสะดุดหยุดลง ต้องมีการรื้อ สังคายนา พ.ร.บ.ปิโตรเลียมปี 2514 ที่ล้าสมัย เอื้อประโยชน์ให้ต่างชาติมากจนเกินไป แนวโน้มร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่จะเปิดให้มีทางเลือกที่กว้างขวางขึ้น ทั้งระบบสัมปทานแบบเก่า,ระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบว่าจ้างผลิต ที่จะเอื้อประโยชน์ และเป็นธรรมกับประชาชนคนไทยผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติที่แท้จริง
แผนทุบทำลายอุตสาหกรรมส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาดประชาคมยุโรป(อี.ยู.) ด้วยการโหมประโคมข่าวธุรกิจประมงเถื่อน-ค้ามนุษย์ที่อินโดนีเซียต่อเนื่องมาถึงข่าวขบวนการเรือมนุษย์ โรฮิงยากำลังจะถูกดับฝันลงไปด้วยผลสำเร็จของทีมทำงานที่เอาจริงเอาจัง-โปร่งใส และยึดหลักนิติธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทย ที่คาดว่าจะสามารถเอาชนะใจอี.ยู.ได้ ส่งผลทำให้ แผนที่จะยั่วยุให้อี.ยู.บอยคอตสินค้าส่งออกไทยสู่ยุโรปก็จะล้มเหลว
แผนบอนไซ “การบินไทย”-สายการบินแห่งชาติ และสร้างรอยด่างให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการบินพาณิชย์ของไทย ตั้งแต่การพยายามทำให้การบินไทยขาดทุน, การเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง ผุดสายการบินโลว์คอสต์แอร์ไลน์ รวมไปถึงการออกใบอนุญาตสายการบินใหม่อีก 60 กว่าบริษัท ซึ่งในจำนวนนี้รวมไปถึงสายการบินยู แอร์ไลน์ ของอริสมันต์ พงศ์เรืองรองที่มีโครงสร้างทุนถือหุ้นไขว้ไปถึงสหกรณ์ เครดิต ยูเนี่ยน คลองจั่น และวัดธรรมกาย
จนกระทั่งกรณีฉาวโฉ่ล่าสุด คือ การจับปืนจิ๋วในกระเป๋าสัมภาระของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ที่สนามบินนาริตะของญี่ปุ่นก่อนจะบินกลับไทย ก่อให้เกิดคำถามจากคนทั่วโลกว่า ปืนนี้มาจากไหน? หลุดจากการตรวจสอบของสนามบินสุวรรณภูมิไปถึงญี่ปุ่นได้อย่างไร? คำถามค้างคาใจคือ เป็นความพลั้งเผลอ ซุกปืนในกระเป๋าแล้วโหลดกระเป๋าขึ้นเครื่องของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง โดยไม่เจตนา หรือมีนัยยะลึกมากกว่านี้ หรือไม่?
ต่อเนื่องด้วยแผนเคาะกะลาหาทุนตั้งพรรคการเมืองใหม่ ผุดไอเดียบรรเจิด “คาสิโน & เอนเตอร์เทนเม้นท์ คอมเพล็กซ์” ป่าวประกาศให้ทุนยักษ์ใหญ่ข้ามชาติทั้งจาก ลาสเวกัส มาเก๊า สิงคโปร์ และทั่วโลกให้ตาลุก อยากเข้ามาร่วมลงทุน หากแผนนี้ผลักดันสำเร็จ ก็จะสามารถผนึกแนวร่วมทุนขนาดใหญ่ ทั้งในและนอกประเทศ ให้รวมตัวกันได้บรรลุผลสำเร็จทั้งทางธุรกิจ และทางการเมือง สามารถเชื่อมประสานทุกกลุ่ม-ทุกฝ่ายให้เข้ามา รวมตัวกันได้สำเร็จ แต่ข่าวประกาศออกไปไม่ทันไร เสียงคัดค้าน-วิพากษ์ วิจารณ์-ไม่เห็นด้วย จากประชาชนทุกภาคส่วน ก็ดังกระหึ่มประเทศจน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องออกมา “เบรก” ความฝันนี้ไว้เสียก่อน
กระทั่งกรณีล่าสุดคือการพยายามอิงแอบโหนกระแสการจับ 14 นักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลเปิดเผยว่า มีขบวนการชักใยอยู่เบื้องหลังการต่อสู้ของเยาวชนนิสิตนักศึกษา และพยายามโหมประโคมเรื่องให้บานปลายกลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลาฯรอบใหม่ให้ได้ ซึ่งล่าสุด รัฐบาลก็จัดการปัญหานี้อย่างละมุนละม่อมเพื่อไม่ให้สถานการณ์บานปลาย แนวโน้มจึงทำท่าจะกลายเป็น “กระสุนด้าน-จุดไม่ติด” ของขบวนการเชิดชูทักษิณ ครั้งล่าสุดอีก
พิเคราะห์จากเหตุการณ์รายล้อมทั้งหมด บ่งชี้ว่า ระบอบทักษิณได้ทุ่มเท และโหมสรรพปัจจัย พยายามจะก่อกระแสให้เกิดการลุกฮือครั้งใหญ่ แต่แนวโน้มสุดท้าย ก็คาดว่าจะจบลงด้วยการพ่ายแพ้-ล้มเหลวซ้ำอีก เพราะการต่อสู้ของเขาไม่เป็นธรรม, ไม่ได้ยืนอยู่ข้างความถูกต้อง และไม่ได้ยืนอยู่ข้างผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน.
--------
ราชดำเนินอเวนิว
ณรงค์ฤทธิ์ ศรีรัตโนภาส
วัน พุธ ที่ ๑ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
----------------


เมื่อจีนใช้ apps ให้ชาวบ้าน ช่วยปราบคอร์รัปชัน

 เมื่อจีนใช้ apps ให้ชาวบ้าน ช่วยปราบคอร์รัปชัน
โดย : กาแฟดำ
@ จีนเขาตามไล่ล่าผู้หนีคดีโกงกินไปทั่วโลก
เขาออกกฎเหล็กให้คนมีตำแหน่งและบารมีประพฤติตนอย่างประหยัด ถ่อมตน และสัตย์ซื่อต่อจริยธรรม
และเขากำลังใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เจ้าของประเทศร่วมกันจัดการคนโกงอย่างกว้างขวาง
@ แต่วันนี้บ้านเรากำลังจะแก้ปัญหาชาติด้วยวิธีคิด ที่สุ่มเสี่ยงต่อศีลธรรมและความถูกต้องชอบธรรม
ด้วยการพยายามจะทำให้อบายมุขทุกอย่างเป็นของถูกกฎหมาย!
การปราบคอร์รัปชันของข้าราชการและนักการเมือง ให้สำเร็จได้จริงจัง
ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนทุกหัวระแหง
เพราะผู้เสียประโยชน์ที่แท้จริง จากพฤติกรรมฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้นคือ
เจ้าของประเทศและผู้เสียภาษีอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ทุกคน
เทคโนโลยีทันสมัยทุกวันนี้จึงควรถูกนำมาใช้เพื่อให้ประชาชนที่เป็น “ตาสับปะรด” อยู่แล้ว
สามารถช่วยสอดส่องว่าใครไปแอบทำอะไรที่ส่อไปในทางทุจริต หรือกระทำการใด ๆ
ที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองไม่อาจจะเห็นได้หมด
หรือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเองนั่นแหละเป็นผู้ทำความผิดนั้นเสียเอง
ทำให้ไม่มีใครสอดส่องดูแลผู้มีหน้าที่สอดส่องดูแลผลประโยชน์ของชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง
ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ของจีนเอาจริงกับเรื่องการปราบคนฉ้อฉลในวงราชการ
ไม่เพียงแต่จะจัดการกับเจ้าหน้าที่รัฐระดับล่าง ๆ หรือปลาซิวปลาสร้อยเท่านั้น
แต่ยังสอบสวนและเอาผิดกับระดับสูง ๆ ในพรรคและรัฐบาลอย่างไม่ไว้หน้าอินทร์หน้าพรหมอีกด้วย
วันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมานี้ นายโจวหย่งคัง อดีตกรรมการกรมการเมืองระดับใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ดูแลกลไกความมั่นคงสูงสุดของประเทศ ถูกศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิตด้วยข้อหาคอร์รัปชัน และใช้อำนาจหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์ของตนและพรรคพวก
ถือเป็นคดีอื้อฉาวที่สุดในการรณรงค์ปราบคอร์รัปชันของจีนวันนี้
เขาไม่หยุดแค่นี้ ล่าสุดหน่วยงานปราบคอร์รัปชันระดับชาติที่ปักกิ่งออก app ใหม่ให้ประชาชนทั่วไปสามารถส่งรูปและเบาะแส เกี่ยวกับความประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ทุกระดับไม่ว่าจะเป็นการเรียกสินบนหรือการฝ่าฝืน “กฎเหล็ก” ของรัฐบาลและพรรค
ที่ห้ามเจ้าหน้าที่รัฐใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยและเอารัดเอาเปรียบประชาชน
แอพใหม่นี้อนุญาตให้สาธารณชนทุกคน สามารถส่งรูปได้สองรูปและข้อความไม่เกินตัว 500 อักษร
เพื่อจะได้ร่วมกับรัฐบาลและพรรค ในการจับผิดเจ้าหน้าที่รัฐทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น
ในกรณีที่กระทำผิดต่อกติกาว่าด้วยการเป็นผู้ปกครองที่ดี มีจริยธรรม
และไม่ใช้เงินและเวลาของหลวงเพื่อประโยชน์แห่งตน
ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ยืนยันว่าการปราบคนโกงและฉ้อฉลในรัฐบาลและพรรค
จะไม่เล่นงานเฉพาะระดับล่างเท่านั้น แต่จะเอาคนใหญ่คนโตที่โกงกินติดคุกให้หมด
“ตีทั้งแมลงวันและปราบทั้งเสือ” คือคำขวัญของการรณรงค์ต่อต้านคอร์รัปชัน ที่ดังกระหึ่มไปทั่วจีนวันนี้
App นี้แบ่งพฤติกรรมอันไม่พึงปรารถนาของเจ้าหน้าที่เป็น 11 ประเภท
ซึ่งรวมถึงการกินเลี้ยงด้วยข้าวปลาอาหารหรูหราเกินกว่าเหตุ
หรือใช้รถยนต์ทางการและเครื่องอำนวยความสะดวกทั้งหลายทั้งปวงเพื่อกิจกรรมส่วนตัว
คำประกาศเรื่องให้ชาวบ้านใช้ app ใหม่นี้ เพื่อรายงานความไม่ชอบมาพากลของเจ้าหน้าที่รัฐ
บอกว่าผู้รายงานไม่จำเป็นต้องบอกชื่อจริงเพื่อปกป้องประชาชน
ที่ต้องการจะร่วมมือกับรัฐบาลในการกวาดล้าง ความสกปรกโสมมในแวดวงข้ารัฐการ
แน่นอนว่าการใช้ social media มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
เพราะอาจจะใช้กลั่นแกล้งหรือใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นอย่างไม่เป็นธรรมได้
แต่ขณะเดียวกัน หากระดับผู้นำของประเทศรู้จักใช้เทคโนโลยีเพื่อการระดมสรรพกำลังของประชาชน
ในการจัดการกับความชั่วร้ายของสังคม จากพฤติกรรมของคนมีตำแหน่งและบารมี
ก็จะเป็นการสร้างอาวุธทางสังคมที่ได้ผลอย่างชะงัดอีกด้านหนึ่ง
จีนเขาตามไล่ล่าผู้หนีคดีโกงกินไปทั่วโลก
เขาออกกฎเหล็กให้คนมีตำแหน่งและบารมีประพฤติตนอย่างประหยัด ถ่อมตน และสัตย์ซื่อต่อจริยธรรม
และเขากำลังใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เจ้าของประเทศร่วมกันจัดการคนโกงอย่างกว้างขวาง
วันนี้บ้านเรากำลังจะแก้ปัญหาชาติด้วยวิธีคิด ที่สุ่มเสี่ยงต่อศีลธรรมและความถูกต้องชอบธรรม
ด้วยการพยายามจะทำให้อบายมุขทุกอย่างเป็นของถูกกฎหมาย!
- See more at:
การปราบคอร์รัปชันของข้าราชการและนักการเมือง ให้สำเร็จได้จริงจัง ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนทุกหัวระแหง
BANGKOKBIZNEWS.COM

นายกฯ ยันคุมเข้มกม.หลังประเดิมใช้กฎหมายประมงใหม่วันแรก

นายกฯ ยันคุมเข้มกม.หลังประเดิมใช้กฎหมายประมงใหม่วันแรก พร้อมหามาตรการช่วยเหลือแรงงานประมง หากได้รับผลกระทบ ขออย่าประท้วง
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงการบังคับใช้กฎหมายประมงใหม่ว่า ยงไม่ได้รับรายงานความไม่เรียบร้อย
ทั้งนี้สื่อต้องช่วยดูด้วยว่า สิ่งที่ทำนั้นทำตามข้อกฎหมายหรือไม่ ถ้าไปเขียนว่า มันเดือดร้อน ไม่มีสินค้าประมงบริโภควันนี้ดีกว่าไม่มีวันข้างหน้า แล้วถ้าวันข้างหน้าไม่ผ่านการประเมินจะทำอย่างไร มูลค่าธุรกิจเหล่านี้เกิดขึ้นมาตั้ง 2 แสนกว่าล้าน ถ้าหายไปทั้งหมดจะทำอย่างไร
ทุกคนต้องช่วยเหลือกัน โดยรัฐบาลก็จะดูแลในทุกมิติ
แต่ในส่วนของผู้ประกอบการก็ต้องรวมมือด้วย จะให้ผ่อนผันไปถึงเมื่อไร และตอนนี้กำลังหามาตรการว่า จะดูแลคนที่มีอาชีพเหล่านี้อย่างไร ซึ่งคนที่เดือดร้อน คือ ลูกเรือ และชาวประมง จึงต้องดูแล แต่จะดูแลได้แค่ไหน กำลังดูอยู่แต่ถ้ากดดันมากขอให้ชะลอ ถ้าไม่ผ่านประเมินจะรับผิดชอบด้วยกันหรือไม่ ว่าสินค้า 2 แสนกว่าล้าน ที่ขายทั้งโลกไม่ได้ก็เท่ากับเรือประมงทั้งหมด ไม่สามารถออกทำมาหากินได้ วันนี้อันไหนที่ถูกก็สามารถออกได้ อย่ามาประท้วง อยากขุดคุ้ยให้เป็นเรื่อง


เป็นทางการ! IMF ประกาศกรีซคือประเทศพัฒนาชาติแรกที่ “ผิดนัดชำระหนี้”

เป็นทางการ! IMF ประกาศกรีซคือประเทศพัฒนาชาติแรกที่ “ผิดนัดชำระหนี้”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
1 กรกฎาคม 2558 06:04 น. (แก้ไขล่าสุด 1 กรกฎาคม 2558 11:00 น.)
เป็นทางการ! IMF ประกาศกรีซคือประเทศพัฒนาชาติแรกที่ “ผิดนัดชำระหนี้”
ท้องฟ้ามึดมนเหนือธรงชาติกรีซในกรุงเอเธนส์ บ่งบอกถึงสถานะของประเทศแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี หลังล่าสุดผิดนัดชำระหนี้ไอเอ็มเอฟแน่นอนแล้ว
        เอเอฟพี/รอยเตอร์ - กรีซ เมื่อวันอังคาร (30 มิ.ย.) กลายเป็นประเทศพัฒนาชาติแรกในประวัติศาสตร์ที่ผิดนัดชำระหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หลังไม่สามารถจ่ายคืนหนี้ 1,500 ล้านยูโร ที่ครบกำหนดไปเมื่อเวลา 22.00 จีเอ็มที (ตรงกับเมืองไทย 05.00 น.ของวันพุธ)
      
       การพลาดจ่ายเงินดังกล่าวถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีค่าเท่ากับผิดนัดชำระหนี้ รวมทั้งส่อนัยถึงการละเมิดพันธสัญญาของเอเธนส์ โดยทางแกร์รี ไรซ์ โฆษกของไอเอ็มเอฟบอกว่า “เราได้แจ้งแต่คณะกรรมการบริหารแล้วว่าตอนนี้กรีซค้างชำระหนี้ และจะได้รับเงินทุนเพิ่มเติมจากไอเอ็มเอฟก็ต่อเมื่อเคลียร์หนี้ค้างชำระแล้วเท่านั้น”
      
       หลังจากพยายามตลอดทั้งวันในการกู้ชีพข้อตกลงช่วยเหลือทางการเงินกับสหภาพยุโรป แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ กรีซได้ร้องขอนาทีสุดท้ายไปยังไอเอ็มเอฟ สำหรับขอขยายเวลาชำระหนี้ที่ครบกำหนดตอน 22.00 จีเอ็มที (ตรงกับเมืองไทย 05.00 น.ของวันพุธ) ออกไป โดยไรซ์ยืนยันว่ามีคำขอดังกล่าวมาจริงและตอนนี้บอร์ดบริหารก็ยังไม่ตัดความเป็นไปได้ “คำร้องขอยืดเวลาชำระหนี้จะถูกส่งไปยังคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม”
      
       กรีซพยายามทาบทามเหล่าเจ้าหนี้นานาชาติในนาทีสุดท้ายเพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงินในวันอังคาร (30 มิ.ย.) แต่มันก็ไม่เพียงพอที่จะปกป้องพวกเขาจากการกลายเป็นประเทศพัฒนาชาติที่ผิดนัดชำระหนี้ไอเอ็มไอฟ
      
       รัฐบาลฝ่ายซ้ายของกรีซร้องขอคู่หูยุโรปสำหรับแพกเกจช่วยเหลือ 2 ปีเพื่อชดเชยความจำเป็นทางการเงิน และในช่วงค่ำวันอังคาร (30 มิ.ย.) นายยานิส วารูฟาคิส รัฐมนตรีคลังกรีซ บ่งชี้ในคำร้องขอต่อเหล่ารัฐมนตรีคลังยุโรปว่าบางทีเอเธนส์อาจยอมยกเลิกการจัดประชามติในวันที่ 5 กรกฎาคม หากบรรลุข้อตกลง
      
       ความโกลาหลทางการทูตดังกล่าวคือความพยายามดึงเหล่าเจ้าหนี้คืนสู่การเจรจา หลังการหารือที่ยืดเยื้อมานานกว่า 5 เดือนพังครืนลงโดยไม่ได้ข้อสรุปใดๆ กระพือความเป็นไปได้ว่ากรีซอาจต้องออกจากยูโรโซน
      
       แม้สุดท้ายจะเป็นไปตามคาดหมายที่กรีซไม่สามารถจ่ายหนี้คืนแก่ไอเอ็มเอฟ แต่กระนั้นเหล่าเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปส่งสัญญาณว่าจะไม่ยอมแพ้ในการหาทางออกแก่กรีซง่ายๆ ด้วยเหล่ารัฐมนตรีคลังจะประชุมกันในวันพุธ (1 ก.ค.) เพื่อหารือถึงคำร้องขอเงินกู้ยืมล่าสุดของซีปราส ซึ่งผลก็คือดึงทุกฝ่ายคืนสู่โต๊ะเจรจาอีกครั้ง
      
       แหล่งข่าวคาดหมายว่าในวันพุธ เหล่าเจ้าหนี้ที่จะหารือคำร้องขอของนายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ ที่ขอเงินกู้ยืมรอบใหม่ 2 ปีเพื่อจ่ายหนี้ เป็นจำนวนเกือบ 30,000 ล้านยูโร นอกจากนี้ นายซีปราสยังต้องการปรับโครงสร้างหนี้ ประเด็นที่เหล่าเจ้าหนี้ไม่สู้เต็มใจประนีประนอม
       
       ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการประชุมในวันพุธจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เนื่องจากความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างเอเธนส์กับสหภาพยุโรปอยู่ในภาวะขาดรุ่งริ่งตามหลังการเจรจาอันเผ็ดร้อน ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองก็เสื่อมทรามลงไปอีก หลังจากเมื่อวันเสาร์ (27 มิ.ย.) ตัดสินใจนำข้อเสนอปฏิรูปแลกเงินช่วยเหลือของเหล่าเจ้าหนี้ไปให้ประชาชนลงประชามติในวันที่ 5 กรกฎาคม

ชุมพร-เมืองคอน ทยอยจอดเรือประมงนับพันลำ อาหารทะเลเริ่มแพง

ชุมพร-เมืองคอน ทยอยจอดเรือประมงนับพันลำ อาหารทะเลเริ่มแพง

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 1 ก.ค. 2558 10:55

เรือประมงชุมพรนับพันลำ จอดสนิท หลังรัฐบาลดีเดย์ ตรวจเข้มเรือเข้า-ออกท่า ขณะอาหารทะเลเมืองนครศรีธรรมราช เริ่มแพง แม่ค้าข้าวแกง ใช้เนื้อ สุกร-ไก่ แทน ...
วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 เรือประมงส่วนใหญ่ในจังหวัดชุมพร หลายร้อยลำ ที่ไม่มีอาชญาบัตรต้องจอดลอยลำเทียบท่า บริเวณปากน้ำชุมพร ไม่สามารถออกทำการประมงได้ หลังครบกำหนดผ่อนผันของศูนย์ตรวจเรือประมง เข้า-ออก ขณะที่ชาวประมงเตรียมเคลื่อนไหว หากรัฐบาลยังไม่มีมาตรการช่วยเหลือจากมาตรการตรวจเข้มของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มอีกหลายล้านบาทต่อลำ
เรือประมงจำนวนมากหลายร้อยลำเข้าจอดอยู่บริเวณท่าเทียบเรือประมงปากน้ำชุมพร และแพปลาต่างๆ ในปากน้ำชุมพร หลังต้องหยุดการออกเรือเนื่องจากมาตรการตรวจเข้มของศูนย์ตรวจเรือประมงเข้า-ออก (Port in-Port out หรือ PI-PO) ที่มีการตรวจละเอียดทั้งทะเบียนเรือ อาชญาบัตร การใช้แรงงานในเรือประมง โดยเรือประมงส่วนใหญ่นั้น ไม่มีอาชญาบัตร หรือมีอาชญาบัตร แต่ไม่ตรงกับเครื่องมือทำการประมงภายในเรือ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการผ่อนผันมาแล้วถึง 3 ครั้ง แต่เมื่อครบกำหนดเส้นตาย ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ เป็นต้นไป เรือส่วนใหญ่ที่ผิดกฎหมายจึงไม่สามารถออกทำการประมงได้ เพราะจะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างถูกต้องทุกขั้นตอนก่อนออกเรือ
ด้าน นายพิศาล ศันติวิชยะ นายกสมาคมประมงปากน้ำชุมพร กล่าวว่า ในส่วนของเรือประมงในพื้นที่ จ.ชุมพร ซึ่งมีอยู่มากกว่า 1 พันลำ ส่วนใหญ่ไม่มีอาชญาบัตรไม่ตรงกับเครื่องมือทำการประมง เนื่องจากหากจะทำให้ถูกต้อง ก็จะต้องเปลี่ยนเครื่องมือทำการประมงใหม่ ต้องลงทุนอีกอย่างน้อยลำละกว่า 2-3 ล้านบาท ชาวประมงคงไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีเงิน สัตว์น้ำหายากขึ้น รายได้ลดลง จึงต้องขอให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องผ่อนผันออกไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อให้ชาวประมงตั้งตัวได้ เพราะต้องใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้เรือประมงจำนวนนับพันลำ เข้ามาจอดเทียบท่าต่างๆ ในพื้นที่ จ.ชุมพร โดยจะมีการประชุมกันเพื่อกำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวต่อไป
ขณะที่ ผู้สื่อข่าวรายงาน บรรยากาศโดยทั่วไปตามตลาดสดในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช โดยทั่วไปพบว่า พ่อค้า-แม่ค้า ที่ขายอาหารทะเลสด ได้ทยอยหยุดการขายอาหารทะเล เนื่องจากเรืออวนลากได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ว่า จะหยุดออกเรือ ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย.เป็นต้นไป ตามมติของชาวประมงทั่วประเทศ
นางกรรณิกา ยอดคุณ แม่ค้าขายอาหารทะเล ตลาดเย็น เขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นตลาดค้าส่งปลาทะเลแหล่งใหญ่ของนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ทางแผงได้รับแจ้งจากแพปลาแล้ว ในห้วงเวลาดังกล่าว จะไม่มีอาหารทะเลจำหน่าย และหากยังพอมีเหลืออยู่ก็อาจจะต้องปรับราคาสูงขึ้น เนื่องจากอาหารทะเลมีน้อย และคาดว่า หลังวันที่ 2 ก.ค.แล้ว ในพื้นที่นครศรีธรรมราช จะไม่มีอาหารทะเลจำหน่ายอย่างแน่นอน ส่วนปลาน้ำจืดที่เลี้ยงในกระชัง ก็ยังคงมีจำหน่ายอยู่เช่นเดิม แต่ราคาอาจจะสูงขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากอาหารทะเลขาดแคลน
“ขณะนี้ตนได้จัดส่งอาหารทะเลสดให้กับลูกค้าประจำตามร้านซีฟู้ด ซึ่งเป็นขาประจำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเช่นกัน และหากว่าหยุดยาวมีผลกระทบต่อการส่งออกอาหารทะเลอย่างแน่นอน” นางกรรณิกา กล่าว
เรือประมงทยอยจอดเทียบท่า หวั่นถูกจับ
ขณะที่ในโลกโซเชียล “ร้านคนจับปลานครศรีฯ” เว็บไซต์ที่จัดจำหน่ายอาหารทะเลในอ่าวทองคำ บ้านในถุ้ง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ได้บอกบรรดาสมาชิก ว่า เรืออวนลากจะหยุดออกหาปลาในวัน-เวลา ดังกล่าว ด้วยเช่นกัน
นางสาวสิริรักษ์ สุขสวัสดิ์ ผู้ประกอบการร้านอาหาร เปิดเผยว่า ตนได้แจ้งลูกค้าแล้ว ว่า อาหารทะเลไม่มี ขาดตลาดเนื่องจากมีราคาแพง มากๆ จนต้องนำอาหารประเภทอื่น มาขายทดแทน อย่างเช่น เนื้อสุกร เนื้อไก่ จะทำให้อาหารลดความหลากหลายลง ส่วนข้าวแกงก็คงต้องลดปริมาณประเภทของอาหารลงบ้าง
ที่บริเวณท่าเทียบเรือในพื้นที่ อ.ขนอม สิชล ท่าศาลา เมืองปากพนัง หัวไทร เรือประมงขนาดใหญ่หลายร้อยลำ ทยอยเทียบท่า เพื่อรับมือมาตรการเข้มกฎหมายประมง ได้เริ่มเข้ามาจอด ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา โดยในวันที่ 1 กรกฎาคม ไม่มีเรือวิ่งหาปลาในทะเลทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
นายประเทือง ทิพยมาศ นายกสมาคมประมง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ชาวประมงไม่ได้ต่อต้านหรือประท้วง แต่เรือประมงต้องหยุดทำประมงก่อน เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม เนื่องจากข้อหา และระวางโทษนั้นรุนแรงมาก เป็นความเข้าใจ ที่ไม่เข้าใจ เพราะรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายอย่าง ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ทันในคราวเดียวกัน ภาครัฐเองมีไม่เพียงพอที่จะดำเนินการต่ออาชญาบัตร การทำประมงที่ผิดประเภท ผู้ประกอบการเรือจึงไม่สามารถดำเนินการได้ทัน เราเพียงแต่ต้องการให้ชะลอ แต่ รบ.ดูเหมือนว่า จะทำตามกำหนดของ อียู ทุกคนเข้าใจ แต่สภาวะเช่นนี้หากเข้าใจว่า ผู้ประกอบการประมงเดือดร้อนตามๆ กัน เมื่อจูนไม่ตรงกัน ก็ต้องให้เป็นแบบนี้ เราไม่กดดันใคร และไม่มีใครกดดันเรา
“อุตสาหกรรมทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโรงน้ำแข็ง แพปลาใหญ่ แหล่งขายน้ำมันเรือ จะทยอยหยุดพร้อมกัน เรืออวนลากในทุกอำเภอ จะนำเรือมาจอดเทียบท่าในจุดเดียวกันทั้งหมด และหากว่าจะถูกจับก็ให้จับไปเลย ไม่ต้องไปดักจับเอาในทะเลอีก มาจอดให้จับแล้วเช่นกัน” นายประเทือง กล่าว
ต่อข้อถามมีการมอง ว่า อาชีพประมงคุยกันไม่รู้เรื่อง ไม่ฟังเสียง ว่า ย้อนถามไปว่า ที่ผ่านมาอาชีพประมงถูกเมินจากการช่วยเหลือจากรัฐบาลมาเนิ่นนาน และหากให้ย้อนถามและตรวจสอบในเรื่องของอาชญาบัตร หรือทำประมงให้ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นความผิดของพวกเรา แต่เป็นเพราะภาครัฐไม่เอาใจใส่ในการแก้ไขปัญหาเสียมากกว่า เวลาชอบรับ แต่เวลาผิดต้องช่วยแก้ไข และยอมรับผิดด้วย

ชาวกรีซ2หมื่นชุมนุมหนุนข้อตกลงเจ้าหนี้ แต่เอเธนส์ผิดนัดแน่แล้วหลังยุโรปปัดข้อเสนอนาทีท้าย

ชาวกรีซ2หมื่นชุมนุมหนุนข้อตกลงเจ้าหนี้ แต่เอเธนส์ผิดนัดแน่แล้วหลังยุโรปปัดข้อเสนอนาทีท้าย
เอเอฟพี - ประชาชนหลายพันคนเดินขบวนในเอเธนส์วันอังคาร(30มิ.ย.) เพื่อแสดงพลังสนับสนุนข้อตกลงช่วยเหลือตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้นานาชาติที่นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ปฏิเสธ ขณะที่กรีซน่าจะเข้าสู่ภาวะผิดนัดชำระหนี้ทางเทคนิคแน่นอนแล้ว หลังที่ประชุมทางไกลฉุกเฉินของรัฐมนตรีคลังยูโรโซน บอกปัดข้อเสนอใหม่ที่เอเธนส์ยื่นมาในนาทีสุดท้าย
มีประชาชนอย่างน้อย 20,000 คนโบกธงสหภาพยุโรป ธงชาติกรีซและเป่านกหวีด รวมตัวกันหน้ารัฐสภาในจัตุรัสซีนทักมาในวันอังคาร(30มิ.ย.) หรือ 5 วันก่อนการลงประชามติตัดสินชะตาว่าจะยอมรับข้อตกลงกู้ยืมหรือไม่
เสียงตะโกน ออกไป ออกไป! ดังขึ้นจากฝูงชนซ้ำๆ ขณะที่กลุ่มคนที่มารวมตัวกันในวันนี้ มีทั้งนักธุรกิจและคนเกษียณอายุ หรือยกขบวนกันมาทั้งครอบครัว เพื่อแสดงความไม่พอใจนายซีปราสและพรรคไซรีซา พรรคการเมืองซ้ายจัดของเขา
โต๊ะเจรจาระหว่างกรีซกับเจ้าหนี้พังครืนลง หลังนายซีปราส สร้างความตกตะลึงด้วยการประกาศจัดลงประชามติข้อตกลงช่วยเหลือ ขณะที่นายซีปราสต้องประกาศมาตรการควบคุมเงินทุน หลังจากข่าวดังกล่าวกระพือความตื่นตระหนกแก่ชาวกรีซที่แห่แหนกันไปถอนเงินตามตู้เอทีเอ็มต่างๆ เพื่อปกป้องเงินฝากของตนเองเผื่อในกรณีที่กรีซต้องออกจากยูโรโซน
วาซซิลิกี ซาลากา ทนายความรายหนึ่งที่เข้าร่วมการชุมนุมบอกว่าตอนนี้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกรีซไร้ซึ่งความสามารถ ขาดความเป็นกลุ่มก้อนและไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองต้องการอะไร
การเดินขบวนในวันอังคาร(30มิ.ย.) เกิดขึ้น 1 วันหลังจากมีประชาชนราว 17,000 คนรวมตัวกันบนท้องถนนในเอเธนส์และเทสซาโลนิกิ เพื่อสนับสนุนนายซีปราส โดยบอกว่าจะทำตามเสียงเรียกร้องของผู้นำรายนี้ที่ขอให้โหวตต่อต้านข้อตกลงล่าสุดในการลงประชามติวันอาทิตย์นี้(5ก.ค.) แม้เสี่ยงผลักให้ประเทศต้องออกจากยูโรโซนก็ตาม
เหตุชุมนุมในวันอังคาร(30มิ.ย.) ยังเกิดขึ้นท่ามกลางความพยายามแก้วิกฤตจนถึงวินาทีสุดท้าย โดยเหล่ารัฐมนตรีคลังยูโรโซนได้ประชุมทางไกลฉุกเฉินในวันอังคาร(30มิ.ย.) เพื่อพิจารณาข้อเสนอที่เอเธนส์ยื่นมา ไม่กี่ชั่วโมงก่อนโครงการช่วยเหลือปัจจุบันที่มีต่อกรีซจะหมดอายุลง
อย่างไรก็ตามในเวลาต่อว่า เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่าเหล่ารัฐมนตรีคลังยูโรโซน ปฏิเสธข้อเสนอขอขยายโครงการช่วยเหลือออกไป จึงเป็นไปได้อย่างสูงที่กรีซต้องผิดนัดชำระหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) กระนั้นก็ตามการเจรจาจะดำเนินต่อไปในวันพุธ(1ก.ค.)
นายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ ร้องขอข้อตกลงช่วยเหลือ 2 ปีกับสหภาพยุโรปเพื่อปกป้องประเทศที่กำลังเผชิญวิกฤตของเขา ไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้าโปรแกรมแพกเกจเงินกู้ปัจจุบัน ที่ยังเหลือเงินงวดสุดท้าย 7,200 ล้านยูโร จะหมดอายุลงตอนเวลา 22.00 จีเอ็มที(ตรงกับเมืองไทย 05.00น.)
นายกรัฐมนตรีซีปราส ยังร้องขอขยายโครงการช่วยเหลือปัจจุบันออกไปในระยะสั้น เพื่อหลีกเลี่ยง ผิดนัดชำระหนี้ทางเทคนิค หลังมีกำหนดต้องใช้หนี้คืนแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอ) จำนวน 1,500 ล้านยูโร ในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า
อย่างไรก็ตามหลังจากหารือทางไกลเพื่อพิจารณาข้อเสนอนาทีสุดท้ายจากกรีซ เหล่านักการเมืองอียูยืนยันว่าพวกเขาไม่ตอบตกลงด้วย เส้นตายสุดท้ายสำหรับขยายโครงการช่วยเหลือกรีซคือเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว สืบเนื่องจากกระบวนการในรัฐสภา จึงไม่สามารถขยายโครงการไปไกลกว่าวันนี้ได้ ปีเตอร์ คาซิมีร์ รัฐมนตรีคลังสโลวาเกียระบุบนทวิตเตอร์
ในถ้อยแถลงก่อนหน้านี้ในวันอังคาร(30มิ.ย.) รัฐบาลซ้ายจัดกรีซบอกว่าพวกเขายังอยู่บนโต๊ะเจรจาและร้องขอโปรแกรมช่วยเหลือใหม่ 2 ปีจากกองทุนช่วยเหลือของอียู หรือก็คือกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) แม้แนะนำให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงโหวต โน ต่อข้อเรียกร้องปฏิรูปของเหล่าเจ้าหนี้อียู-ไอเอ็มเอฟ