PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2560

กางพิมพ์เขียว ไทยแลนด์4.0 ในมือ”สุวิทย์ เมษินทรีย์”

หมายเหตุ – พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการจัดทำแผนปฏิบัติการ ทั้งนี้ การปรับคณะรัฐมนตรีล่าสุดได้ให้นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อรับงานขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 เต็มตัว ?มติชน? จึงนำรายละเอียดของแผนดังกล่าวมาเผยแพร่
ปัจจุบันแม้ประเทศไทยอยู่ภายใต้ “Thailand 3.0” แล้ว แต่เศรษฐกิจที่เติบโตต้องเผชิญกับกับดักประเทศรายได้ปานกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง และกับดักความไม่สมดุลในการพัฒนา ซึ่งเป็นประเด็นที่นำประเทศไทยไปสู่การปฏิรูปโครงสร้างเพื่อก้าวข้ามจากไทยแลนด์ 3.0 สู่ไทยแลนด์ 4.0 นำไปสู่ “ประเทศในโลกที่หนึ่ง” ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งจะมีปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม สอดรับแนวทางแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่ได้กำหนดสร้างความเข้มแข็งจากภายในคู่ไปกับการเชื่อมโยงกับประชาคมโลก ตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
ทั้งนี้ กับดักที่ประเทศไทยกำลังเผชิญในปัจจุบัน การพัฒนาทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ 70-80% ยังอยู่ในไทยแลนด์ 1.0 และ 2.0 บางส่วนพัฒนาสู่ไทยแลนด์ 3.0 ตามแรงกดดันของกระแสโลกาภิวัตน์ เปิดกว้าง มีการหลั่งไหลของทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมไทยมีความซับซ้อนมากขึ้น มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต จากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าเป็นการส่งเสริมการผลิตเพื่อส่งออก คํานิยมชุดใหม่ว่าจะเป็นวัตถุนิยม แทนที่คํานิยมดั้งเดิม ที่เน้นการเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ช่วงต้นของการขับเคลื่อนไทยแลนด์ 3.0 อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยปีละ 7-8% และในความเป็นจริง ไทยแลนด์ 3.0 เป็นโมเดลการพัฒนาที่ค่อนข้าง “เปราะบาง” เป็นการเร่งการเจริญเติบโต การพัฒนาแบบปักชำ ไม่มีกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างจริงจัง เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 การเติบโตขยายตัวเหลือ 3-4% มาเกือบ 20 ปี เกิดความเหลื่อมล้ำ คือ ช่องว่างของรายได้และโอกาสของคนจนกับคนรวยที่ถ่างออกมากขึ้น 10% ของคนรวยสุด
มีส่วนแบ่งรายได้คิดเป็น 36.81% ของรายได้ทั้งหมด 10% ของคนจนสุด มีส่วนแบ่งรายได้ 1.06% ของรายได้ทั้งหมด, 10% ของคนรวยสุด ถือครองที่ดินจำนวน 58.33 ล้านไร่ 10% ของคนจนสุด ถือครองที่ดินจำนวน 0.07 ล้านไร่, 10% ของคนรวยสุด มีหนี้สินต่อรายได้ครัวเรือน คิดเป็น 13.14 เท่า 10% ของคนจนสุด มีหนี้สินต่อรายได้ครัวเรือน คิดเป็น 40.52 เท่า ทั้ง 3 กับดักในไทยแลนด์ 3.0 จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยไม่สามารถสร้างความมั่งคั่งแบบยั่งยืน
ทั้งนี้ การขับเคลื่อนจะผ่านกลไก “ประชารัฐ” ไทยแลนด์ 4.0 ที่มีเป้าหมายครอบคลุม 4 มิติ ประกอบด้วย
1.ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เป็น “ระบบเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างมูลค่า” ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์
2.ความอยู่ดีมีสุขทางสังคม เป็น “สังคมที่เดินหน้าไปด้วยกันไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ด้วยการเติมเต็มศักยภาพของผู้คนในสังคม เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม และฟื้นความสมานฉันท์และความเป็นปึกแผ่นของคนในสังคมให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง
3.การยกระดับคุณค่ามนุษย์ ด้วยการพัฒนาคนไทยให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ควบคู่ไปกับการเป็น “คนไทย 4.0 ในโลกที่หนึ่ง”
4.การรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็น “สังคมที่น่าอยู่” มี “ระบบเศรษฐกิจที่สามารถปรับสภาพตามภูมิอากาศ” ควบคู่ไปกับการเป็น “สังคมคาร์บอนต่ำ” อย่างเต็มรูปแบบ
โดย มิติที่ 1.ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เป็นระบบเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างมูลค่าที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เป้าหมายให้พ้นจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง โดยมีรายได้ต่อหัวประชากรทีเพิ่มขึ้นจาก 5,410 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2557 เป็น 15,000 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2575 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจาก 3-4% เป็น 5-6% ภายใน 5 ปี การเติบโตของจีดีพีจาก 1.3%
ในปี 2556 เป็นมากกว่า 5% ต่อปี ต่อเนื่องภายใน 10 ปี ผลักดันไทยเป็นชาติการค้าและศูนย์กลางธุรกิจของภูมิภาคภายใน 10 ปี ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางตลาดทุนของอาเซียนภายใน 10 ปี มี 5 บรรษัทข้ามชาติระดับโลกสัญชาติไทย ภายใน 10 ปี มีความง่ายในการประกอบธุรกิจอยู่ใน 10 ลำดับแรกของโลก ภายใน 10 ปี เพิ่มระดับการวิจัยและพัฒนา จาก 0.25% ของจีดีพี ปี 2553 เป็น 4.0% ของจีดีพีเทียบจีดีพีเกาหลีใต้ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาให้แข็งแกร่ง เพื่อปรับเปลี่ยนสัดส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองต่อการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอก จาก 10 ต่อ 90 ในปัจจุบัน เป็น 30 ต่อ 70 ภายใน 10 ปี และปรับขึ้นเป็น 60 ต่อ 40 ภายใน 20 ปี
มิติที่ 2.ความอยู่ดีมีสุขทางสังคม เป็น “สังคมที่เดินหน้าไปด้วยกัน ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ด้วยการเติมเต็มศักยภาพของผู้คนในสังคม เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม และฟื้นความสมานฉันท์และความเป็นปึกแผ่นของคนในสังคมให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ระดับความเหลื่อมล้ำในสังคม (วัดผลจาก Gini Coefficient) จาก 0.465 ในปี 2556 เป็น 0.36 ภายในปี 2575 สัดส่วนประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลงเหลือ 7.4% ภายใน 5 ปี และเหลือ 5% ภายใน 10 ปี ปรับเปลี่ยนสู่ระบบสวัสดิการสังคมอย่างสมบูรณ์ ภายใน 20 ปี เปลี่ยนเกษตรกรให้เป็น Smart Farmers จำนวน 20,000 ครัวเรือน ภายใน 5 ปี และ 100,000 ครัวเรือน ภายใน 10 ปี เกษตรกรมีรายได้เงินสดสุทธิทางการเกษตรเพิ่มขึ้น เป็น 60,000 บาทต่อครัวเรือน ภายใน 5 ปี และเป็น 100,000 บาทต่อครัวเรือน ภายใน 10 ปี ยกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ให้เป็นสมาร์ทเอสเอ็มอี จำนวน 100,000 สถานประกอบการ ภายใน 5 ปี และเพิ่มเป็น 500,000 ราย ภายใน 10 ปี พัฒนาวิสาหกิจชุมชนและต่อยอดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และสามารถเข้าสู่ตลาดได้ตามแนวทางประชารัฐจำนวน 20,000 ราย ภายใน 5 ปี และเพิ่มเป็น 100,000 ราย ภายใน 10 ปี
มิติที่ 3.การยกระดับคุณค่ามนุษย์ ด้วยการพัฒนาคนไทยให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ควบคู่ไปกับการเป็น “คนไทย 4.0 ในโลกที่หนึ่ง” ไอคิวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 100 ภายใน 5 ปี ร้อยละ 70 ของเด็กไทยมีคะแนน EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ภายใน 5 ปี ทั้งระบบ PISA Score จากลำดับที่ 47 จาก 76 ประเทศ เป็น 1 ใน 20 ประเทศแรก ภายใน 20 ปี ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) จาก 0.722 (ในปี 2556) หรืออันดับที่ 89 เป็น 0.80 (กลุ่ม Very High Human Development) หรือ 50 อันดับแรก ภายใน 10 ปี ยกระดับคุณภาพฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการและทิศทางการพัฒนาของประเทศ จำนวน 500,000 คน ภายใน 5 ปี มหาวิทยาลัยไทยติด 100 อันดับแรกของโลก จำนวน 5 สถาบัน ภายใน 20 ปี และนักวิทยาศาสตร์ไทยได้รับรางวัล Nobel Prize อย่างน้อย 1 ท่าน ภายใน 20 ปี
มิติที่ 4.การรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็น “สังคมที่น่าอยู่” มี “ระบบเศรษฐกิจที่สามารถปรับสภาพตามภูมิอากาศ” ควบคู่ไปกับการเป็น “สังคมคาร์บอนต่ำ” อย่างเต็มรูปแบบ มี 10 เมืองที่น่าอยู่ของโลก ภายใน 5 ปี มี 5 เมืองอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ ภายใน 10 ปี อันดับความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ต่ำกว่าอันดับ 10 ของโลก ภายใน 5 ปี และต่ำกว่าอันดับ 5 ภายใน 10 ปี อันดับความเสี่ยงจากการ
ก่อการร้ายต่ำกว่าอันดับที่ 20 ของโลก ภายใน 5 ปี และต่ำกว่าอันดับ 10 ของโลก ภายใน 10 ปี มีการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สัดส่วนพื้นที่อนุรักษ์ต่อพื้นที่ประเทศเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 20.44 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 30 ภายใน 5 ปี และเพิ่มเป็นร้อยละ 40 ภายใน 10 ปี มีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นจาก 30.48 ล้านไร่ ในปี 2558 เป็น 40 ล้านไร่ ภายใน 5 ปี และเป็น 60 ล้านไร่ ภายใน 10 ปี พื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเพิ่มขึ้น เป็น 500,000 ไร่ ภายใน 5 ปี และเป็น 2,000,000 ไร่ ภายใน 10 ปี มีการจัดการขยะ ทั้งขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน มีอัตราการจัดการขยะชุมชนถูกหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 31 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 50 ภายใน 5 ปี และเป็นร้อยละ 80 ภายใน 10 ปี

ส่วนแนวทางปฏิบัติการขับเคลื่อนในไทยแลนด์ 4.0 ประกอบด้วย

1.การเตรียมคนไทย 4.0 เพื่อก้าวสู่โลกที่หนึ่ง 2.การพัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 3.การบ่มเพาะผู้ประกอบการและพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 4.การเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ ผ่านกลไกของ 18 กลุ่มจังหวัด และ 76 จังหวัด และ 5.บูรณาการอาเซียน เชื่อมประเทศไทยสู่ประชาคมโลก
เพื่อให้สามารถเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 อย่างเต็มประสิทธิภาพ ต้องมีการปฏิรูปปรับเปลี่ยนกลไกภาครัฐใน 7 มิติ ประกอบไปด้วย 1.การสร้างรัฐที่นําเชื่อถือ 2.แหล่งที่มาของนโยบายสาธารณะ 3.การปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจ อำนาจหน้าที่ และรูปแบบการปฏิบัติราชการ 4.การสร้างภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคส่วนต่างๆ 5.การยกระดับขีดความสามารถในการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง 6.การบริหารจัดการการเงินและทรัพยากร 7.การสร้างระบบราชการแบบไร้รอยต่อ
โดย แนวทางปฏิบัติที่ 1 : การเตรียมคนไทย 4.0 เพื่อก้าวสู่โลกที่หนึ่ง จะครอบคลุมการปรับเปลี่ยนใน 4 มิติดังนี้ 1.โลกกำลังปรับเปลี่ยนจาก “One Country, One Destiny” เป็น “One World, One Destiny” ดังนั้นต้องปรับเปลี่ยนคนไทยจากแบบ Thai-Thai เป็นคนไทยแบบ Global Thai 2.โลกกำลังปรับเปลี่ยนจาก “Analog Society” เป็น “Digital Society” ต้องปรับเปลี่ยนคนไทยจาก Analog Thai เป็นคนไทยที่เป็น Digital Thai เพื่อให้สามารถดำรงชีวิต เรียนรู้การทำงาน และประกอบธุรกิจ ได้ทั้งในโลกจริงและโลกเสมือนจริง 3.เพื่อให้สามารถอยู่ใน Global/Digital Platform ที่มีชุดของโอกาส ภัยคุกคาม เงื่อนไข และข้อจำกัดชุดใหม่ 4.เพื่อให้สามารถอยู่ในโลกศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นปกติสุข จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนคนไทย จากคนไทยที่มองเป็นประโยชน์ส่วนตน เป็นคนไทยที่มีจิตสาธารณะมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีความเกื้อกูลและแบ่งปัน
แนวทางที่ 2 : การพัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งรัฐบาลนำร่องด้วย 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยการต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม (The First S-Curves) เป็นอุตสาหกรรมซึ่งมีฐานที่แข็งแรงอยู่แล้วในระดับหนึ่ง แต่จำเป็นต้องต่อยอดให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และรังสรรค์นวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture & Biotechnology) อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food for the Future)
การสร้าง 5 อุตสาหกรรมใหม่ (The New S-Curves) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถให้มีศักยภาพรองรับการแข่งขันในอนาคต ประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (Robotics) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation & Logistics) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels & Biochemicals) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีการกำหนดเป้าหมายและแผนงานที่ชัดเจน ซึ่งกำลังร่างกฎหมาย 2 ฉบับนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มีการเพิ่มเครื่องมือใหม่ๆ ที่จะทำให้การส่งเสริมการลงทุนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และร่างพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็น พ.ร.บ.ที่ให้สิทธิประโยชน์ด้วยวิธีเจรจาต่อรองระหว่างรัฐกับบริษัท เพื่อแข่งขันกับประเทศต่างๆ ในการดึงดูดโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยมีคณะอนุกรรมการสรรหาและเจรจา โดยรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เป็นผู้เจรจา และมีคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ และจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ
แนวทางที่ 3 : การบ่มเพาะผู้ประกอบการและพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หลักคิดของการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน คือการเปลี่ยนการเจริญเติบโตแบบ “รากฝอย” เป็นการเจริญเติบโตแบบ “รากแก้ว” เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเอง ยืนอยู่บนขาของตนเอง รวมกันเป็นกลุ่มอย่างมีพลัง ทั้ง 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จะเป็นรากแก้วที่ค้ำลำต้นของผู้ประกอบการและเครือข่ายวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม อันประกอบด้วย 1.เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farmers) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farmers) 2.เปลี่ยนจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแบบดั้งเดิม (Traditional SMEs) ไปสู่การเป็นวิสาหกิจสมัยใหม่ (Smart Enterprises) 3.เปลี่ยนจากบริการแบบดั้งเดิม (Traditional Services) ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่บริการมูลค่าสูง (High Value Services) 4.ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง (High Potential Startups)
แนวทางที่ 4 : การเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ ผ่านกลไกของ 18 กลุ่มจังหวัด และ 76 จังหวัด ซึ่งการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและระบบตลาดภายในประเทศให้แข็งแกร่ง พบว่ากรุงเทพฯมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมถึงร้อยละ 30.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในขณะที่กลุ่มจังหวัด 18 กลุ่ม มีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมร้อยละ 69.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยกลุ่มจังหวัดแถบภาคกลางของประเทศและภาคตะวันออกเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงสุด ในขณะที่กลุ่มจังหวัดตามภูมิภาคต่างๆ ยังมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมค่อนข้างน้อย
ทั้งนี้ หนึ่งในเป้าหมายของไทยแลนด์ 4.0 คือการกระจายโอกาสและความมั่งคั่งลงสู่ระดับภูมิภาค ดังนั้นการวิจัยเชิงบูรณการสามารถพัฒนาเป็น Innovation Hub กระจายออกไปตามภูมิภาคต่างๆ ประกอบด้วย 1.Innovation Hub ด้านเกษตรและอาหาร 2.Innovation Hub ด้านสังคมสูงอายุ 3.เมืองอัจฉริยะ 4.Innovation Hub ด้าน Smart Energy 5.Creative Hub ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์
รัฐบาลได้มีนโยบายพัฒนาพื้นที่บริเวณชายแดนที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อกำหนด “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” 2 ระยะ ในพื้นที่ 90 ตำบล ใน 23 อำเภอ 10 จังหวัด ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา ตราด หนองคาย นราธิวาส เชียงราย นครพนม และกาญจนบุรี
แนวทางที่ 5 : บูรณาการอาเซียน เชื่อมประเทศไทยสู่ประชาคมโลก โดยการวางตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์เป็นชาติการค้าและเป็นหนึ่งในศูนย์กลางธุรกิจของภูมิภาคเอเชีย ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกัน 1) การส่งเสริมให้บรรษัทข้ามชาติจัดตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ และบริบทการค้าระหว่างประเทศในประเทศไทย 2) การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 3) การพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรม 4) การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดน โดยแต่ละยุทธศาสตร์มีการลงในรายละเอียดและเริ่มมีการปฏิบัติมาแล้ว
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “โมเดลการขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 จะสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา ครม.ได้เน้นในการวางรากหญ้าและการปฏิรูป แต่ในปีที่เหลือของรัฐบาลชุดนี้ แผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 จะถูกผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การใช้งบประมาณสู่ 18 กลุ่มจังหวัด กองทุนหมู่บ้าน หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะผลักดันผู้ประกอบการ ทั้งเอสเอ็มอี กลุ่มสตาร์ตอัพ และการยกระดับความสามารถ การเชื่อมโยงไทยสู่เพื่อนบ้าน บูรณาการทำงานของหน่วยงานระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือรัฐต่อเอกชน โดยในอีก 3 ปีจะเน้นความชัดเจนของแผนที่ได้ทำในปีหน้า คาดว่าจะบรรลุตามแผนและเป้าหมาย 70-80% ภายใน 5 ปี โดยเฉพาะเรื่องการเตรียมบุคลากร ทั้งการศึกษา เอสเอ็มอีหน้าใหม่ๆ ที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีศักยภาพเต็มที่ที่จะผลักดันให้ขยายตัวได้ 5-6% ปี ไม่แค่ขยายตัว 3-4% ต่อปีอย่างปัจจุบัน”

หลังปีใหม่นี้จะมีการประชุมนัดแรก โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่จะเห็นความคืบหน้าหลัก 2 ส่วนคือ เห็นชอบตามพิมพ์เขียว ที่จะนำไปสู่การลงรายละเอียดและการจัดสรรงบประมาณ และการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมากำกับดูแลโดยตรง

รวมเรื่องปรองดองในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ

-ปรองดอง

''พลโทสรรเสริญ'' เผยนายกฯ ได้แนวคิดรวมเรื่องปรองดองในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เล็งดึงประชาชน ภาคประชาสังคม และกลุ่มการเมืองคู่ขัดแย้งเข้าร่วม

พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้ใช้เวลาคิดรูปแบบการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ โดยเห็นว่าควรเพิ่มสาระสำคัญในเรื่องการปรองดองเข้าไปในคณะกรรมการชุดดังกล่าวด้วย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ที่ประชุมร่วมกันระหว่างรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีความเห็นที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 จัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการการปฏิรูปประเทศขึ้น

พลโทสรรเสริญ ให้เหตุผลที่ต้องมีการเพิ่มเรื่องปรองดองเข้ามาในเวลานี้ว่า เชื่อว่านายกรัฐมนตรีได้รับข้อมูลข่าวสารจากทุกภาคส่วน และมีคำถามถึงการดำเนินงานเกี่ยวกับการปรองดองของรัฐบาลที่ยังไม่เกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องจัดทำเรื่องนี้ขึ้นมาให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ

พลโทสรรเสริญ กล่าวถึงโครงสร้างคณะกรรมการเตรียมการการปฏิรูปประเทศด้วยว่าเดิมมีคณะกรรมการ 19 คน แต่เมื่อมีการเพิ่มเรื่องปรองดองเข้ามาก็จะต้องเชิญผู้แทนภาคประชาชน หรือภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งส่วนตัวคาดว่า เมื่อมีการพูดถึงเรื่องปรองดอง ก็ควรจะมีการเชิญกลุ่มการเมืองคู่ขัดแย้งเข้ามาร่วมด้วย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการดังกล่าว
---------------
เมื่อวันที่ 4 มกราคม ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 ในที่ประชุมร่วมครม.และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ตามมาตรา 44 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. เห็นว่าควรจะเพิ่มเรื่องการสร้างความปรองดอง ให้เชื่อมโยงกับการปฏิรูปและคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คสช. โดยให้นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของทั้งคณะกรรมการปฏิรูปปรองดองและคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เพื่อนำประเด็นต่างๆมาจัดลำดับความเร่งด่วนว่ามีเรื่องอะไรสำคัญ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ หากเรื่องไหนแก้ไขกฎหมายนาน จำเป็นจะต้องดึงบางเรื่องออกมาประกาศเป็นมาตรา 44 หรือไม่

“พล.อ.ประยุทธ์ ได้คิดโมเดลนี้ขึ้นมาเพื่อให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่าโมเดลดังกล่าว กับโมเดลแบบเดิมที่แยกกันคนละส่วน โมเดลแบบไหนดีกว่ากัน เพื่อให้งานที่รัฐบาลทำไปไม่ว่าจะเป็นงานเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่สอดคล้องกับเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ อย่างไรก็ตามเรื่องการสร้างความปรองดองคงต้องให้แต่ละกลุ่มที่เห็นต่างมาพูดคุยกันก่อนเพื่อให้ตกผลึก คาดว่าอาจจะดึงภาคประชาชนต่างๆเข้ามาร่วมด้วย ส่วนกลุ่มการเมืองยังไม่ได้ลงรายละเอียด ซึ่งอาจจะเป็นไปได้”พล.ท.สรรเสริญ กล่าว
--------------------
นายกฯ สั่งตั้งคณะทำงานเตรียมการปฏิรูป และยุทธศาสตร์ชาติ ให้ "สุวิทย์ เมษินทรีย์" นั่งเลขาฯ เรียกร้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมทั้งภาคประชาชนและการเมือง แล้วกระบวนการสร้างความปรองดองจะเกิดขึ้น ปัดข้อเสนอใช้ ม. 44 นิรโทษกรรม ย้ำ สิ่งสำคัญสังคมไทยต้องยอมรับได้
     
       เมื่อเวลา 07.00 น. วานนี้ (4ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมด้วยนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 60รูป เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2560 โดยมีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ภายในทำเนียบรัฐบาล เข้าร่วมพิธี
     
       ทั้งนี้ภายหลังนายกรัฐมนตรีใส่บาตรแล้วเสร็จได้เดินทักทายครม. ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่มาร่วมงาน ก่อนเดินขึ้นตึกไทยคู่ฟ้า จากนั้นนายกรัฐมนตรี และครม.ได้เปลี่ยนชุดเป็นชุดปกติสีขาว เพื่อถ่ายภาพหมู่ร่วมกับครม.ทั้งหมด รวมถึงรัฐมนตรีใหม่ ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.59 ที่ผ่านมา จำนวน 12 ตำแหน่ง ที่บริเวณด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ก่อนที่จะประชุมครม.นัดแรกของปี 2560
     
       ** ตั้งคณะทำงานเตรียมการปฏิรูป 
     
       หลังการประชุมครม. พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ปี 2560 เป็นปีแห่งการเตรียมการปฏิรูป ซึ่งอยู่ภายใต้ร่มของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยรัฐบาลจะต้องสร้างกระบวนการการรับรู้ การมีส่วนร่วม ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีการร่างยุทธศาสตร์ชาติขึ้นมาเป็นเค้าโครงเบื้องต้น จากนี้ไปก็จะเป็นขั้นตอนการรับรู้ สร้างความเข้าใจ ซึ่งเป็นกรอบใหญ่ สิ่งที่จะตามมาคือ แผนการปฏิรูปประมาณ 128-138 กิจกรรม หรือ 37 วาระ ก็จะดำเนินการขับเคลื่อน มีหลายอย่างที่ทำไปบ้างแล้ว แต่ก็ต้องสร้างความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตนได้มีดำริที่จะตั้งคณะทำงานเตรียมการปฏิรูป เตรียมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วยงานทั้งด้านการปฏิรูป ยุทธศาสตร์ชาติ การปรองดองรวมอยู่ด้วย ซึ่งจะต้องเดินหน้าในเรื่องเหล่านี้ให้ได้ กฎหมายบางตัวก็ออกมา และใช้ประโยชน์ไปบ้างแล้ว ประชาชนบางส่วนอาจไม่เข้าใจ จึงมีการตั้งคำถามว่า ได้มีการปฏิรูปแล้วหรือยัง
     

       "ความจริงการปฏิรูปต้องเริ่มมาจากกระบวนการเตรียมการปฏิรูปมาก่อน โดยเอาปัญหาทั้งหมด ทั้งปัญหาทางด้านฟังก์ชั่น ปัญหาซ้ำซาก ที่ทับซ้อนกัน จะต้องแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการ ซึ่งทั้งหมดทำมาหมดแล้ว เพียงแต่ยังไม่ไปสู่จุดหมายที่ต้องการ ซึ่งมันต้องมีระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่าน จึงอยากให้สังคม และทุกคนเข้าใจว่า การปฏิรูปคือการทำใหม่ ในส่วนที่เป็นปัญหาทั้งหมด ซึ่งทางพระเรียกว่า อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งขั้นตอนใน 2 ปีแรก คือ การหาปัญหามา คือทุกข์ สมุทัย คือ การหาว่าสาเหตุของการเกิดทุกข์ คืออะไร ทั้งกับประชาชน ธุรกิจ เศรษฐกิจ ปัญหาของประเทศ จากนั้นก็นำมาสู่นิโรธ คือ การดับทุกข์ ในการสร้างกลไกต่าง ๆ ออกมา ซึ่งทุกอย่างก็ต้องเดินไปตามขั้นตอนทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา ส่วนมรรค คือ หนทางที่จะเดินไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน มั่นคง และมั่งคั่ง ซึ่งทุกคนน่าจะเข้าใจกันแล้ว เพราะได้สวดมนต์ข้ามปี ผมเองก็คิดแทบตาย เพื่อจะสร้างการรับรู้แบบง่ายๆ ผมเองก็ยังไม่รู้ว่าจะเข้าใจกันได้ง่ายๆ อยางไร แต่ขอให้เห็นใจบ้างว่า ผมเองก็คิดมาเยอะ วันหยุดราชการก็ไปนั่งคิด และเขียนเรื่องมากมายว่าจะทำงานอย่างไร เพื่อให้เกิดความรับรู้มากที่สุด ในช่วง
       ของปี 2560 ซึ่งเป็นปีแห่งการเตรียมการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วน ถ้าออกมาแล้วไม่มีส่วนร่วม ยังคงตีรันฟันแทง ทะเลาะ ขัดแย้งกันอยู่ทุกเรื่องมันก็เดินไมได้ การปรองดองก็สร้างไม่ได้ เพราะคนไม่พยายามเข้ามามีส่วนร่วมในการปรองดอง"
     
       **ปัดข้อเสนอให้ใช้ ม.44นิรโทษกรรม 
     
       นายกฯ กล่าวด้วยว่า ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และเดินหน้าประเทศ ไม่ใช่คิดแต่ยื่นนำหน้าในเรื่องของนิรโทษกรรม ยกโทษ ใช้มาตรา 44 ตนถามว่า สังคมทั้งประเทศรับได้หรือไม่ ถ้ารับได้ก็ค่อยมาว่ากัน แต่หากยังรับไม่ได้ ก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี แล้วจะไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการได้อย่างไร ในเรื่องการเดินหน้าประเทศ ไปสู่การเปลี่ยนผ่านที่เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ มันไปไม่ได้ หากทุกคนไม่ร่วมมือ วันนี้หลายคน หลายฝ่าย ออกมาพูดว่าจะไปสู่การเลือกตั้ง โดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น ถามว่าแล้วเคยพูดกันบ้างหรือยังว่าจะปฏิรูปประเทศอย่างไร
     
       "สำหรับข้อเสนอให้ใช้ มาตรา 44 นิรโทษกรรมนั้น ไม่ใช่เรื่องของผม ใครอยากเสนออะไร ก็เสนอไป อย่ามายุ่งกับ มาตรา 44 ของผม ไปหาวิธีการ สิ่งสำคัญคือ สังคมประเทศไทยยอมรับกันหรือ
ไม่" นายกรัฐมนตรี กล่าว
     
       **ตั้ง"สุวิทย์ เมษินทรีย์" นั่งเลขาฯ 
     
       พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมครม. ว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.59 ในที่ประชุมร่วมครม.และคสช. เห็นชอบออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ตามมาตรา 44 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. เห็นว่า ควรจะเพิ่มเรื่องการสร้างความปรองดอง ให้เชื่อมโยงกับการปฏิรูป และคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คสช. โดยให้ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของทั้งคณะกรรมการปฏิรูปปรองดอง และคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เพื่อนำประเด็นต่างๆ มาจัดลำดับความเร่งด่วน ว่ามีเรื่องอะไรสำคัญ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ หากเรื่องไหนแก้ไขกฎหมายนาน จำเป็นจะต้องดึงบางเรื่องออกมาประกาศเป็น มาตรา 44 หรือไม่
     
       "นายกฯคิดโมเดลนี้ขึ้นมาเพื่อให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่าโมเดลดังกล่าว กับโมเดลแบบเดิมที่แยกกันคนละส่วน โมเดลแบบไหนดีกว่ากัน เพื่อให้งานที่รัฐบาลทำไปไม่ว่าจะเป็นงานเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ที่สอดคล้องกับเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ เรื่องการปฏิรูปหรือการปรองดองโดยไม่ต้องรอให้ยุทธศาสตร์ออกมา ก็สามารถขับเคลื่อนบางเรื่องออกมาได้ก่อน อย่างไรก็ตาม เรื่องการสร้างความปรองดองคงต้องให้แต่ละกลุ่มที่เห็นต่างมาพูดคุยกันก่อนเพื่อให้ตกผลึก คาดว่าอาจจะดึงภาคประชาชนต่างๆเข้ามาร่วมด้วย ส่วนกลุ่มการเมืองยังไม่ได้ลงรายละเอียด คาดว่าอาจจะเป็นไปได้" พล.ท.สรรเสริญ กล่าว

‘โมเดลประเทศไทย4.0’ ผลึกความคิด ‘สุวิทย์ เมษินทรีย์’

‘โมเดลประเทศไทย4.0’ ผลึกความคิด ‘สุวิทย์ เมษินทรีย์’

30803
Advertisement
1mp39-3083-a
ในงาน “สปช.รายงานประชาชน:เปลี่ยนประเทศไทยกับสปช.” จัดโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ สี่แยกราชประสงค์ 13 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศ สรุปผลงานและส่งมอบวาระการปฏิรูป 37 ประเด็น และ 6 วาระพัฒนาแก่รัฐบาล ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 นั้น
2A-81-(Large)
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคตประเทศไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ขณะนั้นกล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการปฏิรูปขนานใหญ่อย่างเป็นระบบเพียงครั้งเดียว ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 หลังจากนั้นก็ขาดการปฏิรูปขนานใหญ่อย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ เมื่อพัฒนาได้ถึงระดับหนึ่ง ประเทศไทยต้องเผชิญกับกับดักประเทศรายได้ขนาดปานกลาง เป็นประเทศที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมลํ้า ทุจริตคอร์รัปชัน กำลังเผชิญกับความขัดแย้งที่รุนแรงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หากปราศจาก “การปฏิรูปใหญ่ครั้งที่ 2” ประเทศไทยอาจกลายเป็นประเทศที่ล้าหลัง เป็นรัฐที่ล้มเหลวในที่สุด แต่ถ้าหากดำเนินการปฏิรูปครั้งใหญ่อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยการผนึกกำลังของทุกภาคส่วน ก็อาจเป็นไปได้ว่า ประเทศไทยจะสามารถปรับเปลี่ยน กลายเป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง เป็นประเทศที่มีความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน เฉกเช่นเดียวกับอารยประเทศอื่นในประชาคมโลก
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี “วิสัยทัศน์” เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับประเด็นท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยยึด “ผลประโยชน์ชาติ” เป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยังต้องกำหนด “กรอบยุทธศาสตร์ชาติ” เพื่อเป็นแนวทางขับเคลื่อนประเทศเพื่อไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ได้
ในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมดิจิตอลในศตวรรษที่ 21 หลายประเทศได้ดำเนินการปฏิรูปขนานใหญ่อย่างเป็นระบบ เพื่อรับมือกับชุดของโอกาส ความเสี่ยง และภัยคุกคามชุดใหม่ ทำการรื้อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสังคม โครงสร้างพื้นฐาน ปรับเปลี่ยนระบบคุณค่าและวัฒนธรรมการดำรงชีวิต การทำงาน และการเรียนรู้ โดยการยกระดับคุณภาพในทุกภาคส่วนและปรับเปลี่ยนให้เป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง ฉะนั้น เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของประเทศไทย ก็คือ การพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศในโลกที่หนึ่งภายในปี 2575 (หรือในวาระครบ 100 ปีการอภิวัฒน์การปกครอง-บ.ก.)
การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งในบริบทของประเทศไทยมีคุณลักษณะ 6 ประการด้วยกัน คือ
1. มีความภาคภูมิใจในความเป็นชาติและวัฒนธรรมของตน
2.พัฒนาคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
3. มีสังคมที่มีคุณภาพ
4. มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่
5. มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง
6. การมีบทบาทสำคัญในเวทีระดับภูมิภาคและระดับโลก
กลไกขับเคลื่อนความมั่งคั่งของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดจาก “โมเดลประเทศไทย 1.0” ที่เน้นการขับเคลื่อนด้วยเกษตรกรรม พัฒนาไปสู่ “โมเดลประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และ “โมเดลประเทศไทย 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมหนักตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 จะต้องเปลี่ยนผ่านจากโมเดลประเทศไทย 3.0 เป็น “โมเดลประเทศไทย 4.0” เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง ปรับเปลี่ยนจากประเทศ “รายได้ปานกลาง” เป็นประเทศ “รายได้สูง” ปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย “ประสิทธิภาพ” เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย“นวัตกรรม”
โมเดลประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย “กลไกการขับเคลื่อน” ชุดใหม่ (New Growth Engine) 3 กลไกสำคัญ คือ 1. กลไกขับเคลื่อนผ่านการสร้างและยกระดับผลิตภาพ (Productive Growth Engine) 2. กลไกขับเคลื่อนที่คนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Growth Engine) และ 3. กลไกการขับเคลื่อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Green Growth Engine)
ภายใต้ “โมเดลประเทศไทย 4.0” จำเป็นจะต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ จากเดิมที่มี “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ให้มี “ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน” เพื่อเปลี่ยนจากโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม “เพิ่มมูลค่า” ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม “สร้างมูลค่า” ซึ่งประกอบด้วย 5 กลุ่มหลักๆคือ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมทางชีวภาพ  2. กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน 3. กลุ่มอุตสาหกรรมด้านวิศวกรรมและการออกแบบ 4. กลุ่มอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับคุณภาพชีวิต และ5. กลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้ตั้งอยู่บนฐานของความได้เปรียบเชิง “ธรรมชาติ” และความได้เปรียบเชิง “วัฒนธรรม” ที่ประเทศไทยมีอยู่เดิม และต่อยอดด้วยการบริหารจัดการ องค์ความรู้สมัยใหม่ เทคโนโลยี มิเพียงเท่านั้น ทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่นี้ จะสอดรับกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงในประชาคมโลก ที่กำลังค่อยๆ เปลี่ยนผ่านจากยุคของสังคมที่เน้น “องค์ความรู้” มาสู่ยุคของสังคมที่เน้นการยกระดับ “คุณภาพชีวิต” มากขึ้น
ในอดีตประเทศไทยมุ่งเน้นการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญโดยขาดการพัฒนาในมิติอื่นให้มีความสอดคล้องกันโมเดลประเทศไทย 4.0 จึงเน้นการ “พัฒนาที่สมดุล” ใน 4 มิติ กล่าวคือ มีความสมดุลในความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีสังคมที่อยู่ดีมีสุข และการเสริมสร้างภูมิปัญญามนุษย์ โดยการพัฒนาที่สมดุลตั้งอยู่บนฐานคิดของ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” หลักการสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีอยู่ว่า “เมื่อพร่อง ต้องรู้จักเติม เมื่อพอ ต้องรู้จักหยุด เมื่อเกินต้องรู้จักปัน”
ในระดับจุลภาคการ “รู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน” จะทำให้ประชาชนมีหลักประกันในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม เกิดสังคมที่เกื้อกูลและแบ่งปัน ก่อให้เกิดการสร้างเสริมพลังทางสังคม และการสร้างความเป็นปึกแผ่นของคนในสังคมตามมา ในระดับมหภาค “การรู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน” จะทำให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงพลวัตโลก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการผนึกกำลังของทุกภาคส่วน การรู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน จึงเป็น “ระบบคุณค่าใหม่” ที่จะสามารถนำพาประเทศไทยไปสู่ความมั่งคั่ง ความมั่นคง และความยั่งยืนในโลกที่หนึ่งได้ในที่สุด
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งได้นั้นจำเป็นต้องมีความพร้อมในทุกด้านแต่ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในสภาวการณ์ที่ไม่เป็นปกติและไม่มีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งดังที่คาดหวังไว้เนื่องจากยังคงประสบกับปัญหาที่สะสมเรื้อรังในหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความขัดแย้งรุนแรงปัญหาความเหลื่อมลํ้าของคนในสังคมและปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน
ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีภารกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งอยู่ 2 วาระ ได้แก่ 1. วาระการปฏิรูป (Reform Agenda) คือ การปฏิรูปประเทศในประเด็นปัญหาที่สะสมเรื้อรังมานาน เพื่อทำให้ประเทศกลับเข้าสู่สภาวะปกติ และ 2. วาระการปรับเปลี่ยน (Transformation Agenda) คือการปรับเปลี่ยนเพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการพัฒนาเป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง
วาระการปฏิรูปและวาระการปรับเปลี่ยนจะมีลักษณะงานที่แตกต่างกันกล่าวคือ “วาระการปฏิรูป” จะมีลักษณะงานเป็นการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง ระบบ รวมถึงการปรับเปลี่ยนเชิงพฤติกรรม ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้มีการพิจารณาศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ จนได้ข้อเสนอวาระการปฏิรูปจำนวน 37 วาระด้วยกัน อาทิ ระบบงบประมาณ กระบวนการยุติธรรม การปฏิรูปที่ดิน การปรับโครงสร้างภาษี การจัดตั้งสมัชชาคุณธรรม เป็นต้น ส่วน “วาระการปรับเปลี่ยน” จะเป็นภารกิจใหม่ที่จะต้องดำเนินการ เพื่อตระเตรียมและเติมเต็มประเทศให้มีขีดความสามารถในการพัฒนาต่อไป เช่น กลไกการขับเคลื่อนประเทศชุดใหม่ การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ ระบบบริหารจัดการ นํ้าการปรับเปลี่ยนสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิตอล และการบริหารจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นต้น
ด้วยสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันยังคงต้องเผชิญกับปัญหารุมเร้าหลายประการด้วยเหตุนี้ในระยะแรก จำเป็นต้องเน้นการขับเคลื่อนวาระการปฏิรูปเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายให้ประเทศกลับคืนสู่สภาวะปกติ ซึ่งเมื่อปัญหาสำคัญหลายประการได้รับการแก้ไขจนประเทศกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว จุดเน้นจะขยับไปสู่การขับเคลื่อนวาระการปรับเปลี่ยน เพื่อให้ประเทศมีขีดความสามารถเพียงพอต่อการพัฒนาเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งต่อไป
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3083 วันที่ 30 สิงหาคม – 2 กันยายน พ.ศ. 2558

"สุวิทย์ เมษินทรีย์" เตือนภัยจุดเปลี่ยนประเทศ ปฏิรูป "คุณภาพคน" ก่อนไทยไร้ที่ยืน

อีกครั้งที่ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ นักเศรษฐศาสตร์จาก Kellogg School of Management ของ Northwestern University ศิษย์รักของ ศ.ดร.ฟิลิปส์ คอตเลอร์ นักการตลาดผู้มีชื่อเสียงโด่งดังของโลก ออกมาเตือนผู้คนในสังคมไทยว่า เราจะใช้ชีวิตกันในแบบเดิมๆอย่างที่กำลังเป็นอยู่ไม่ได้!
เมื่อมนุษย์ต้องพัฒนาตน ผู้คนบนโลกต้องได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น และมีศักยภาพสูงขึ้นเพื่ออยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงนานัปการให้ได้
ในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์ และออกแบบอนาคตประเทศไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ดร.สุวิทย์ได้ออกมาบอกกับพวกเรา และรัฐบาลในฐานะที่แต่งตั้งให้เขาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการออกแบบอนาคตของประเทศว่า คนไทยจะต้องอยู่บนโลกเบี้ยวใบนี้ให้ได้ โดยเฉพาะเมื่อโลกไม่ใช่ใบเดิมอีกต่อไป
สำคัญก็คือ ในขณะที่โลกเปลี่ยนไป ผู้คนทั่วโลกต่างแสวงหาความรู้เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพตน แต่สังคมไทย ประเทศไทย และคนไทย กลับใช้เวลาและทรัพยากรที่มีอยู่ไปในทิศทางตรงกันข้าม ไม่ก่อให้เกิดคุณภาพ ผลิตภาพ และประสิทธิภาพในทางเศรษฐกิจ
ทีมเศรษฐกิจ ขอนำเอาแนวคิด ผลการศึกษา และการออกแบบอนาคตประเทศไทยของ ดร.สุวิทย์มาถ่ายทอดให้ฟังในวาระที่ได้รับเชิญให้เป็นองค์ปาฐกในงานสัมมนาทางวิชาการผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั่วประเทศเมื่อสัปดาห์ก่อน
และ คน” คือหัวข้อใหญ่ที่ ดร.สุวิทย์เห็นว่า การออกแบบอนาคตประเทศไทย จะประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการ สร้างคน” รุ่นใหม่เป็นสำคัญ
3 อาการที่ฟ้องให้เห็นปัญหา
ปัญหาประเทศไทยมีมากจนพวกเราอาจไม่รู้ตัว และเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนหลายคนเห็นเป็นเรื่องปกติ Normal และไม่คาดหวังจะแก้ไข หรือจำเป็นต้องแก้ไข
ผมมองเห็น 3 อาการที่เริ่มฟ้องว่า ประเทศและสังคมไทยกำลังมีปัญหาในช่วง 10 ปีให้หลังมานี้ก็คือ
1.เป็นประเทศที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ HIV หรือเชื้อเอดส์มากที่สุดของเอเชียในปี 2552 ในเวลาเดียวกันก็เป็นประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมกันในด้านรายได้มากที่สุดของเอเชียในปี 2552
3.เป็นประเทศที่มีคุณแม่วัยใสมากที่สุดของอาเซียนในปี 2554 ขณะเดียวกันเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในโลกในปี 2553 ที่ร้ายกว่านั้น ขณะที่หลายประเทศพยายามหลุดพ้นจากระบอบการปกครองแบบเผด็จการทหาร ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีรัฐประหารมากที่สุดของปี และกลับมามีการทำรัฐประหารกันอีกครั้งในปี 2553
ถ้าลองมองไปดูประเทศเพื่อนบ้านที่เคยหายใจรดต้นคอกันมาอย่างมาเลเซีย จะพบว่าเขาข้ามผ่านการเป็นประเทศรายได้ปานกลางสู่ประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวสูงสำเร็จแล้ว แต่ไทยกลับอยู่ในตำแหน่งเดิม โดยมีประเทศที่เคยล้าหลังกว่า วิ่งขึ้นแซงหน้าไปเพื่อให้พ้นจากเส้นความยากจนสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้สูงโดยการพัฒนาคุณภาพของประชากรเป็นสำคัญ
คำถามคือ เราลงทุนเพื่อการพัฒนาสมองของประชากรผ่านระบบการศึกษามากเพียงไร หรือว่า หยุดอยู่กับที่ ถึงแม้จะเห็นว่ารัฐบาลยอมเจียดงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นจาก 0.12 เป็น 0.24% แต่ประเทศอื่นๆโดยเฉพาะคู่แข่ง อัดฉีดงบประมาณเพื่อการนี้สูงกว่าเรา
เฉพาะการเรียนรู้เรื่องภาษา ถ้าใครเปิด วิกิพีเดีย (สารานุกรมโลก) ดูจะพบว่า มีบทความทางวิชาการที่ถูกแปลเป็นภาษาเวียดนามมากกว่าภาษาไทยถึง 6 เท่า และคนเวียดนามใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าคนไทย 1.7 เท่า
ขณะที่ระบบการศึกษาของหลายประเทศในอาเซียนและในโลกนำเสนอให้ประชากรในวัยเรียนของเขาต้องมีความรู้ใน3 ภาษา ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศไทยที่เด็กไทยยังคงอ่านและเขียนภาษาไทยอย่างงูๆปลาๆ ส่วนความฉลาดในเรื่องของภาษาอังกฤษ ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 53 จาก 54 ชาติในเอเชีย ทั้งที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาจำเป็นที่ต้องใช้เพื่อการคบค้า และขายสินค้าของไทยในตลาดโลก
สิ่งนี้เป็นปัญหาที่ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แสดงความห่วงใย ขณะที่ทีมเศรษฐกิจได้รับการเปิดเผยจากผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการว่า ไทยขาดบุคลากรด้านการสอน โดยเฉพาะในวิชาสำคัญๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ อยู่มากถึง 60,000-80,000 คน แต่ด้วยเหตุที่งบมากกว่า 52% เป็นค่าจ้างครู ทำให้กระทรวงศึกษาธิการพยายามชะลอ และลดจำนวนบุคลากรใหม่ๆเข้าสู่ระบบการศึกษาไทย
จึงไม่ต้องแปลกใจที่แต่ละโรงเรียนเต็มไปด้วย ครูพละ” ที่เงินเดือนต่ำและสอนนักเรียนได้ทุกวิชา!
สิ่งบอกเหตุแห่งความเสื่อมถอย 
ปัญหาที่เกิดขึ้น และไม่เคยมีใครคิดจะแก้ไขเหล่านี้ เป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ไทยกำลังเดินไปสู่ความเสื่อมถอย ขณะที่เรามีแม่วัยใสที่ควรจะอยู่ในโรงเรียนเพื่อช่วยกันสร้างชาติแต่กลับต้องไปเลี้ยงลูก ในเวลาเดียวกัน
สังคมไทยก็มีคดีเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้น เมื่อเติบโตมาเป็นผู้ใช้แรงงาน ก็มีแต่แรงงานที่มีหนี้สินรุงรัง และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหา
สังคมที่ดี จะต้องเป็นสังคมที่มีความหวัง คือ HOPE มีความสุข HAPPINESS และมีความสมานฉันท์ HARMONY
แต่นั่นไม่ใช่สังคมไทยที่เราอยู่กัน สังคมวันนี้ คนจนยังคงจนดักดาน และคำว่า โง่ จน เจ็บ” ยังคงเป็นคำพูดที่สะท้อนถึงความเป็นจริงที่เราไม่สามารถออกจากกับดักเหล่านี้ได้ นี่จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ร่วมสัมมนาในฐานะNation Builder จะช่วยกันแก้ไข และการจะแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ได้ก็ต้องวางแผน สร้างคน” เป็นสำคัญ
เมื่อผมมองดูการบริหารจัดการของประเทศต่างๆในโลก ผมพบว่า หลายประเทศมีความทะเยอทะยานที่จะนำพาประเทศตนไปสู่ประเทศโลกที่ 1 ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้ว มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนถึงการค้าบนเวทีโลกอย่างมีเสถียรภาพ จาก
ชาติมหาอำนาจเดิมๆอย่างสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ทุกวันนี้ เราจะเห็นว่า มีสิงคโปร์ เกาหลีใต้ จีน และอินเดีย พาตัวเองไปสู่ความมั่งคั่งในประเทศโลกที่ 1
ส่วนเวียดนาม พม่า และลาว ซึ่งอยู่ในประเทศโลกที่ 3 ก็กำลังนำพาตัวเองทะยานสู่ประเทศกำลังพัฒนา จากประเทศยากจนสู่ประเทศที่ประชาชนมีรายได้ปานกลางเช่นเดียวกับประเทศไทย เพียงแต่เมื่อเทียบกับประเทศไทยในบริบทของการวางแผนเพื่อการพัฒนาชาติแล้ว ต้องบอกว่า ไทยเรากำลังปักหลักยืนอยู่กับที่
ความล้าหลัง และการไม่เคลื่อนตัวไปข้างหน้าพร้อมๆกับประเทศต่างๆซึ่งเคลื่อนตัวไปตามภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกจะทำให้เศรษฐกิจประเทศเปราะบาง ผู้คนอ่อนไหว สังคมแตกแยกและไร้ซึ่งเสถียรภาพในทุกๆด้าน ถ้าไม่ทำอะไรเลย ท้ายที่สุด ประเทศไทยจะยืนอยู่บนเวทีโลกไม่ได้
สิ่งที่ประเทศไทยต้องเจอก็คือ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งเป็นหลักในการสร้างความมั่งคั่งนั้น ติดอยู่บนกับดักที่ขึ้นไปข้างบนก็ไม่ได้ เพราะอุตสาหกรรมไทยไม่ได้พัฒนา หรือปรับโครงสร้างการผลิตให้ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ นั่นจึงทำให้เราแข่งขันด้วยเทคโนโลยีไม่ได้ ส่วนจะขยับลงล่างเพื่อสู้กับจีนและเวียดนามในเรื่องของค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าก็ไม่ได้ เพราะค่าจ้างแรงงานเราสูงกว่าแล้ว
ก็เหมือนนัทแครกเกอร์ที่ถูกบีบอยู่ตรงกลางทั้งบนและล่าง ขยับไปไหนไม่ได้ วันนี้เราจึงมีปัญหาเรื่องการส่งออก และถ้าไม่มีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกล่ะก็ ผมทำนายไว้เลยว่า ตัวเลขการส่งออกเราจะปรับลดลงเรื่อยๆ และท้ายสุดประเทศไทยจะสูญเสียตลาดส่งออกที่เราเคยเป็นเจ้าของไปหมด ถ้าไม่มีการปรับโครงสร้างทางการศึกษา และคุณภาพของคนเป็นสำคัญ
คุณภาพคน” สร้างปัญหามากมาย
เรื่องของคน ทำให้ปัญหาลามเลียไปถึงโครงสร้างส่วนต่างๆของประเทศซึ่งรวมไปถึงการลงทุน ที่ทำให้เราฝืดเคืองอย่างหนัก ทุกวันนี้การลงทุนใหม่ไม่มี หรือมีก็ไม่มากพอจะสร้างนัยสำคัญทางเศรษฐกิจได้ ขณะที่เพื่อนบ้านมีการลงทุนที่มีสีสันบรรยากาศ ที่สำคัญการลงทุนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่ใช่การลงทุนที่มีคุณภาพ
เราต้องการการลงทุนที่มี Knowlegde base มาขับเคลื่อนคน และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการผลิตใหม่ๆ
ที่แน่ก็คือวันนี้เราไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีพอจะทำให้คนเข้ามาลงทุน นั่นสะท้อนให้เห็นถึงความถดถอยของขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม
ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด อีก 15 ปี อินโดนีเซียจะกลายเป็นประเทศที่รวยที่สุด 1 ใน 10 ของโลก ถ้ามองในแง่จีดีพี (รายได้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ) และถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า กัมพูชา ลาว จะไม่ใช่ประเทศตลาดเกิดใหม่ หรือ Emerging Market อีกแล้ว คำถามคือ แล้วไทยเราจะอยู่ได้อย่างไร ขีดความสามารถในการแข่งขันเราจะอยู่ในระดับใด และวัดได้หรือไม่
แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดอีกเรื่องก็คือ ขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาวของประเทศไทยเราไม่เคยมีใครพูดถึง นั่นเป็นเรื่องน่ากลัว
ถ้าเราไม่ได้คิด หรือวางแผนไว้เลย และขีดความสามารถของประเทศในระยะยาวก็วัดกันตัวเดียวเท่านั้น คือ คุณภาพของคน คุณภาพของมนุษย์ในประเทศนั้นๆ
เมื่อพูดถึงคุณภาพของคน เราจะพบว่าประเทศไทยเราเจอปัญหา 2 อย่างพร้อมๆกัน เด้งที่ 1 คือ คนเราแก่ลง สังคมไทยกำลังเดินหน้าไปสู่สังคมสูงอายุ แต่หลายประเทศที่คุณภาพคนของเขาดี มีการศึกษาและการเรียนรู้ที่สูงขึ้น และยังคงเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไปข้างหน้าต่อไปได้ ต่อให้เขามีคนแก่เพิ่มขึ้น เขาก็อยู่ได้
เพราะคนรุ่นใหม่เขามีคุณภาพ มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี บางประเทศแม้จะดูเหมือนประเทศเขามีคนมากมาย เดินกันยั้วเยี้ยเต็มไปหมด แต่คนเหล่านั้นจะเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่มีคุณภาพแน่นอน
ส่วนประเทศไทย โชคร้ายก็ตรงที่คนแก่ลง แต่คุณภาพคนรุ่นใหม่ลดลงตามไปด้วย มันจะสะท้อนภาพอนาคตอีกสิบปีข้างหน้าว่า คนแก่เราที่คาดว่าจะมีราว 20 ล้านคน มีเด็กราว 8 ล้านคน มีพลังของคนหนุ่มสาวขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่35 ล้านคน จากที่มีอยู่ 43 ล้านคนวันนี้นั้น จะมีความสามารถในการแบกรับภาระคนแก่ได้ลดลง
อัตราการแบกรับภาระคนแก่จะลดลงตามลำดับจาก 8 ต่อ 1 คน เหลือแค่ 4 ต่อ 1 ในวันนี้ และจะเหลืออยู่แค่ 2 ต่อ 1คนเท่านั้นในอนาคต มันจึงเป็นภาระอันหนักหน่วงของสังคมครับ เพราะฉะนั้น วันนี้เราเป็นอย่างไร วันหน้าเราก็จะได้อย่างนั้น เช่นกัน วันนี้เราสร้างคนไว้อย่างไร เราก็จะได้คนอย่างนั้น
ทิ้งความคิดเก่าสู่ความคิดใหม่
เราอาจรวยขึ้นจากประเทศที่เคยเป็น Low Income มาเป็น Middle Income แต่จะรวยขึ้นกว่านี้อีกไม่ได้เพราะติดกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลางด้วยการเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงมาก ในเอเชียไทยเราเป็นประเทศที่เหลื่อมล้ำสูงสุด โดยเฉพาะคนรวยสุด 20% กับคนจนสุด 20% ซึ่ง ห่างกันมากเหลือเกิน
เมื่อความเหลื่อมล้ำสูงมาก สิ่งที่ตามมาด้วยไม่ใช่ความเหลื่อมล้ำทางรายได้เท่านั้น ยังมีความเหลื่อมล้ำของโอกาสสูง และมีอภิสิทธิ์ชนที่สูงมาก 3 ปัจจัยนี้ ทำให้ไทยเป็นสังคมที่เสื่อมถอย เต็มไปด้วยความขัดแย้งสูง และไม่Clean&Clear ไม่ Free&Fair ไม่ Care&Share ไม่สะอาดโปร่งใส ไม่ตรงไปตรงมา และไม่แคร์-ไม่เสียสละต่อกัน
สังคมเช่นนี้ ปล่อยต่อไปจะกลายเป็นสังคมที่เรียกว่า Fail State คือ สังคมที่ล้มเหลว
สิ่งที่ท้าทายก็คือ เราจะมีส่วนในการช่วยสร้างคนที่มีคุณภาพเพียงพอจะเปลี่ยนประเทศที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ การเอาเปรียบทางโอกาส และการมีแต่อภิสิทธิ์ชนได้อย่างไร ที่สำคัญจะทำอย่างไรให้ไทยหลุดพ้นกับดักต่างๆได้ แน่นอน ประเทศไทยจำเป็นต้องมั่งคั่งขึ้น แต่ความมั่งคั่งต้องไม่กระจุกตัวอยู่เฉพาะคนบางกลุ่ม สังคมต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเอื้ออาทรต่อกัน
ผมอยากเรียนว่า การปฏิรูปประเทศ ไม่ใช่เรื่องของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หรือรัฐบาลเท่านั้น เพราะ สปช. และรัฐบาลเป็นแค่ตัวตั้งเรื่องให้ ถ้าการปฏิรูปไม่เกิดขึ้นในหมู่ของมวลชนคนไทย หรือได้รับการเคลื่อนตัวไปข้างหน้าด้วยมวลมหาประชาชนแล้ว ผมไม่เชื่อว่ามันจะประสบความสำเร็จ
ทำไมเราต้องปฏิรูปประเทศ และเปลี่ยนแปลงตัวเองน่ะหรือ เหตุผลก็เพราะโลกเรากำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกของความเป็นดิจิตอล ที่มี 2 อารยธรรมทับซ้อนกันอยู่ระหว่างโลกความเป็นจริงกับโลกเสมือนจริงในอินเตอร์เน็ต ฉะนั้น เด็กรุ่นใหม่จะต้องได้รับการเรียนการสอนเพื่อให้อยู่ในโลกที่มีวัฒนธรรมใหม่ของการดำรงอยู่ให้ได้
เมื่อบริบทของโลกเปลี่ยนไป การติดต่อสื่อสารที่เคยแยกกันคนละที่ คนละวัน และคนละมุม กลับกลายเป็นการสื่อสารกับทุกคนในโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง เวลาใด ที่ไหน และเมื่อไหร่ก็ได้ โลกจึงเปลี่ยนไปทุกมิติ
โลกใบเก่าที่เราอยู่คือ 1 ประเทศ 1 ตลาด แต่วันนี้ไม่ใช่ วันนี้ คือ 1 โลก 1 ตลาด เราจะต้องทำให้เด็กของเรามองโลกเป็นตลาดให้ได้ ผมเคยถูกหลอกให้ถามสิงคโปร์ว่า เขาเตรียมพร้อมอย่างไรกับอาเซียน ผมได้รับคำตอบว่า สิงคโปร์ไม่เคยคิดเตรียมการอะไรกับอาเซียน แต่เตรียมกับโลกเพราะต้องอยู่กับโลก ไม่ใช่อยู่กับอาเซียน
เด็กไทยจึงต้องได้รับการเรียนการสอนให้อยู่กับโลกในบริบทใหม่ให้ได้ และต่อเชื่อมได้ทั้งในโลกอินเตอร์เน็ต ได้ด้วยความสามารถในการแยกแยะและคัดกรอง
ในโลกของอินเตอร์เน็ต ความน่ากลัวไม่ได้อยู่ที่ข้อมูล เพราะข้อมูลล้นทะลักเต็มไปหมด แต่อยู่ที่การคัดกรองที่ผู้ใหญ่จะสอนเด็กอย่างไรให้แยกแยะข้อมูลที่ดีออกจากข้อมูลที่ไม่ดี ข้อมูลจริง 100% ออกจากข้อมูลที่เป็น Half-Truth ได้ ทั้งหมดนี้คือ ความฉลาดในการสอนเด็กให้รู้จักกับการแยกแยะโลกที่เปลี่ยนไป
ที่สำคัญก็คือ ในอนาคตโลกจะเชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว และภัยคุกคามต่างๆจะเป็น Global to Global คือสุขจะสุขด้วยกัน ทุกข์ก็จะทุกข์ด้วยกัน เราจะเห็นว่าเรื่องของเศรษฐกิจ ภาวะโลกร้อน โรคระบาด หรือแม้แต่ภัยคุกคามการก่อการร้ายสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ง่ายๆ
เราจะสอนเด็กไทยอย่างไรให้อยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย มีทุกมิติ และการต่อรอง มีทั้งแรงเสริมและแรงต้าน ซ้ำยังมีกระแสโลกาภิวัตน์ของรัฐชาติ บรรษัทข้ามชาติ และกระแสโลกาภิวัตน์ของคน มีทั้งกระแสโลกาภิวัตน์ที่เป็นขาว และดำลบ และบวกอย่างไร
เราจะสอนคนไทยรุ่นใหม่ให้มีภูมิคุ้มกันอย่างไร เมื่อโลกต้องแชร์ทุกข์สุข และสิ่งต่างๆทั้งดีและเลวร่วมกัน นั่นเป็นโจทย์ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันตอบให้ได้.
ทีมเศรษฐกิจ
ที่มา นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม 2558

การเมืองว่าด้วยเลือกตั้ง

ยั้งจังหวะเร่ง 'ร่วมวง'

เห็นลีลาเตะตะกร้อของบิ๊กตู่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคสช. ทั้งจั่วลม ทั้งวืด ล้มก้นจ้ำเบ้า แปลูกไปโน่นไปนั่นไปนี่

ล้อมวงเล่น 5 นาที เตะโดนลูกตะกร้อไม่กี่หน ชนิดใช้เวลาเดินเก็บลูกเหนื่อยกว่า

อุทานภาษาอินเตอร์เน็ตก็ต้องบอกว่า แบบนี้ก็ได้ด้วยเหรอ

เอาเป็นว่า นอกจากท่านผู้นำออกตัว ผมแก่แล้ว และเพิ่งจะฟื้นไข้ มองในมุมบวกคิวออกกำลังกายทุกสัปดาห์ของบิ๊กตู่ ก็เป็นตัวอย่างที่ดี

แค่ได้ขยับแข้งขาก็เท่ากับออกกำลังกายแล้ว

ส่วนที่มีการโพสต์ข้อความพร้อมภาพ นายกฯเตะตะกร้อ ยืดแข้งยืดขา ขณะที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ชาวบ้านยังเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม ราคายางตก ฯลฯ นั่นก็น่าจะคนละเรื่องคนละฟีลกัน

แต่สไตล์ที่ไวต่อกระแส แค่โดนเหน็บนิดหน่อย บิ๊กตู่น่าจะรู้อารมณ์ผู้คนในสังคม

สั่งจัดโปรแกรมยกคณะ ครม.ลงพื้นที่ จ.นราธิวาส ทันทีทันควัน

นอกจากเยี่ยมชาวบ้าน แจกถุงยังชีพ ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย เบรกเกมตอดใส่แล้ว ยังถือโอกาสประชุมงาน ทั้งความมั่นคง การลงทุนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

โจทย์ของอำนาจพิเศษห้วงนี้ ต้องปั่นงาน ตรึงเรตติ้งสร้างภูมิคุ้มกันส่วนตัว

ไฟต์บังคับ เตะออก นอกวงไม่ได้

เหมือนปมร้อนๆในห้วงนี้ผู้นำจะโยนลูกออกจากตัว ทั้งคิวอดีตนายกฯปู ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โวยถูกตำรวจ-ทหารตามประกบ บิ๊กตู่ โยนให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง จำเป็นต้องรักษาความปลอดภัย

อดีตผู้นำ

หากเกิดอะไรขึ้นมาก็จะมาโทษรัฐบาลว่าไม่ดูแล ก็ต้องขออภัยไว้ด้วยแล้วกัน

อดีตคนกันเองฝากผ่านสื่อ ฉะนั้นอย่าโอดครวญ

รวมทั้งปมแหลมๆ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัยรองประธาน สนช. แง้มไต๋เลื่อนเลือกตั้งเพราะอาจปั๊มกฎหมายลูกไม่ทัน ทำเอาบิ๊กตู่ต้องย้ำธงโรดแม็ปเลือกตั้งปี 2560 ไม่เปลี่ยน-ไม่เลื่อน

โบ้ยให้เป็นเรื่องทีมปั๊มกฎหมาย สนช.ว่ากันไป

เช่นเดียวกับ ข้อเสนอร้อนของเก่าเจ้าเดิมมาได้จังหวะ คณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านการเมือง สปท.ทั้ง เสรี สุวรรณภานนท์ประธาน กมธ. และ สุชน ชาลีเครือ กมธ.ออกมากระตุกนายกฯใช้อำนาจ ม.44

ดันแผนนิรโทษกรรม ปรับสู่โหมดปรองดอง

ไม่ใช่เรื่องของผม ใครอยากเสนออะไรก็เสนอไป อย่ามายุ่งกับมาตรา 44

โยนลูก ไปหาวิธีกันมา

แต่ก็ไม่ได้เตะลูกทิ้งเสียทีเดียว กับประเด็นนิรโทษที่น่าจะมีที่มาที่ไป

สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง ธงเคลียร์เริ่มสะบัด

ทั้งหมดทั้งปวง แม้ถึงที่สุดหลายปมจะต้องเป็นไปตามโจทย์นั้น แต่สำหรับ บิ๊กตู่เล่นลูกมั่วๆไม่ได้

เพราะมีปัจจัยพิจารณาระดับ ตัวแปรพิเศษจนต้องยั้งจังหวะก้าว

เช่นเดียวกับกระแสข่าวที่มาช่วงท้ายปลายปีที่ผ่านมา พร้อมๆกับร่างกฎหมายหลายฉบับที่ผ่าน สนช.แบบปุบปับฉับไว ทั้ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ พ.ร.บ.สงฆ์

กับประเด็นที่พูดต่อกันอื้ออึงถึงสัญญาณให้ สนช.สแตนด์บายรองานใหญ่เรื่องสำคัญ

โยงไปกระทั่งเรื่องแก้กฎเกณฑ์กติกาใน ประเด็นสำคัญ

แต่ยังไม่ชัดจะออกมารูปแบบใด เริ่มศักราชใหม่ก็ยังเป็นแค่กระแสข่าว ผู้นำจึงต้องรั้งจังหวะรอ กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการ ในสถานการณ์บังคับ

ด้วยเงื่อนไขตัวแปรที่ บิ๊กตู่กำหนดเองไม่ได้

หลายประเด็น ทั้งโรดแม็ปเลือกตั้ง คิวนิรโทษ ปรองดอง ไปจนกระทั่งรายการรื้อปรับกฎกติกาใหญ่

ผู้นำจึงได้แค่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแม่น้ำแต่ละสาย

โยนให้รับลูกไป ตั้งเรื่องรอไว้ก่อน.

ทีมข่าวการเมือง
---------------------------

06012560 • บิ๊กตู่ใช้เวลาช่วงปีใหม่ร่างโมเดลแนวทางเดินหน้างานปฏิรูป....
ได้คิดและเขียนด้วยเป็นลายมือมาออกมา ได้มีการนำไปทำเป็นโมเดลและจัดพิมพ์ออกมา
ว่าทำอย่างไรถึงจะทำให้เกิดการปฏิรูปได้จริง ซึ่งได้มีการเพิ่มเรื่องการปรองดองเข้ามา
ออกมาเป็นมรรคเป็นผลให้เห็น
ไม่ต้องรอจนถึงวันที่ยุทธศาสตร์ชาติจะออก ก็สามารถขับเคลื่อนเป็นบางเรื่องบางอย่างได้
ซึ่งโมเดลนี้เน้นไปที่จะทำอย่างไรถึงจะทำให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวเนื่องกับ
เรื่องของการปฏิรูปและการปรองดองกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ได้มีการเชื่อมต่อกันได้
จากเดิมต่างฝ่ายต่างมีเรื่องที่ทำแยกกัน
ท่านนายกฯ คิดคอนเซ็ปต์ว่าควรจะมีสำนักงานสักสำนักงานหนึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการ และตกลงใจเลือกแล้วว่าควรจะเป็นรัฐมนตรีสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักสายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่

เรื่องนี้
ทำหน้าที่เป็นสำนักงานฝ่ายเลขาฯ
เพื่อหยิบประเด็นต่างๆ ขึ้นมาว่าวันนี้เรื่องปฏิรูปปรองดอง ยุทธศาสตร์ก็ดี มีอะไรเป็นเรื่องด่วน สำคัญ
จัดลำดับความเร่งด่วน และหยิบแต่ละเรื่องว่าเรื่องนี้มีหน่วยงานไหนเกี่ยวข้องบ้าง ต้องทำอะไรบ้าง
บางประการไม่สามารถดำเนินการได้เลยต้องแก้ไขกฎหมายก่อน แก้กฎหมายนานไปไหม
จำเป็นต้องดึงบางเรื่องบางส่วนออกมาเป็นออกมาตรา 44 ไหม"พล.ท.สรรเสริญ กล่าว
///////////
"ยึดโรดแมปเดิม ลดกระแสฝ่ายต้าน"

โดย...ทีมข่าวการเมืองโพสต์ทูเดย์

ข่าวสารการเมืองในช่วงวันหยุดส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ต้องยอมรับว่าทุกความสนใจจับจ้องอยู่ที่การส่งสัญญาณเพื่อขอเลื่อนการเลือกตั้งออกไปเป็นกลางปี 2561 จากเดิมกำหนด

ไว้ในปี 2560 ของสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1

การแสดงท่าทีดังกล่าวของ สนช. ส่งผลให้ฝ่ายการเมืองใช้โอกาสนี้รุกไล่แม่น้ำ 5 สายอย่างหนักด้วยการสอบถามว่าถ้าจะเลื่อนการเลือกตั้งขึ้นมาจริงๆ มีเหตุผลรองรับอย่างไร อีกทั้งยังโจมตีพาดพิง

ไปถึงการทำงานของแม่น้ำ 5 สายตลอด 2 ปีที่ผ่านมาด้วย

ขณะที่แต่ละฝ่ายในแม่น้ำ 5 สายยังคงสงวนท่าทีต่อเรื่องโรดแมปพอสมควร โดยส่วนใหญ่มองว่าเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นของ สนช.เท่านั้น ไม่ได้ผูกพันแม่น้ำ 5 สายทั้งหมด เพราะหากจะ

ตัดสินใจเลื่อนโรดแมปจริงๆ ต้องมาจากการตัดสินใจร่วมกันทั้งหมดเท่านั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 4 ม.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้ออกมาประกาศต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการว่าโรดแมปและการเลือกตั้งยังคงเป็นไปตามเดิม

ผมพูดมาตลอดว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง ซึ่งขั้นตอนคือ 1.มีรัฐธรรมนูญ 2.การทำกฎหมายลูก ส่วนมีกี่ฉบับผมไม่ทราบ แต่มีกรอบเวลาอยู่แล้ว ถ้าทำเกินเวลาแสดงว่าทำไม่ทัน ถ้าทำเสร็จเร็วก็คือทำทัน

และ 3.ขั้นตอนเตรียมการเลือกตั้ง มีการหาเสียง ซึ่งการหาเสียงจะวุ่นวายแค่ไหน ทุกคนก็รู้อยู่แล้ว จึงต้องดูว่าควรจะทำกันช่วงใด ซึ่งการหาเสียงและเลือกตั้งใช้เวลา 150 วัน และมาสู่ขั้นตอนการ

จัดตั้งรัฐบาลอีก 90 วัน

ทั้งหมดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาตลอด แล้วไปเลื่อนโรดแมปตรงไหน ถ้าทุกคนเอาเร็ว เอาเลือกตั้งตอนนี้ แล้วทุกอย่างจะเดินไปอย่างไร คนที่เร่งคือใครแล้วเขาต้องการอะไรพล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

ในภาพรวมของการยืนยันของ พล.อ.ประยุทธ์ นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลยังคงยึดตามโรดแมปเดิมทุกประการ ซึ่งการแสดงท่าทีแบบนี้แน่นอนว่าส่วนหนึ่งต้องการให้ตัดทอนกระแสของฝ่าย

ตรงข้ามไม่ให้บานปลายไปมากกว่านี้

ต้องยอมรับว่าการเลื่อนหรือไม่เลื่อนเลือกตั้งเป็นประเด็นที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนอยู่พอสมควร เพราะต้องยอมรับว่า คสช.ยืนยันมาตลอดว่าในปี 2560 ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้ง อีกทั้งยังประกาศ

ก่อนร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติในลักษณะว่า ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติหรือไม่ การเลือกตั้งก็จะยังคงมีตามเดิม จึงเป็น 2 แรงบวกที่ทำให้โรดแมปไม่สามารถเลื่อนออกไปได้โดย

ปริยาย

ดังนั้น การที่อยู่ดีๆ สนช.พยายามส่งสัญญาณและอ้างเหตุผลเพื่อให้คนไทยยอมรับการเลื่อนการเลือกตั้งออกไป ย่อมไม่ต่างอะไรกับการจุดระเบิดเวลา

ด้วยเหตุนี้เอง พล.อ.ประยุทธ์ จำเป็นต้องรีบประกาศเจตนารมณ์ในการยึดถือตามโรดแมปเดิม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำผึ้งหยดเดียวเหมือนกับในอดีตที่เคยมีกรณีเสียสัตย์เพื่อชาติ

อย่างไรก็ตาม จากการให้สัมภาษณ์ของนายกฯ ถ้ามองลึกลงไปจะพบว่ามีนัยทางการเมืองพอสมควรเช่นกัน

กล่าวคือ แม้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะยืนยันถึงโรดแมป แต่ปรากฏว่ามีบางคำพูดที่แสดงให้เห็นว่าพร้อมเลื่อนโรดแมปเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการระบุว่าถ้าทำเกินเวลาแสดงว่าทำไม่ทัน ถ้าทำเสร็จเร็ว

ก็คือทำทัน

แน่นอนว่าถ้า สนช.ให้ความเห็นชอบกับร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 4 ฉบับได้ทันภายใน 60 วัน ย่อมไม่กระเทือนถึงโรดแมป แต่หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ ก็

โยนหินถามทางล่วงหน้ามาว่าการเลือกตั้งย่อมต้องเลื่อนไปก่อนแบบช่วยไม่ได้

เหตุผลเดียวที่จะทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไป คือ การไม่เห็นชอบกับร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญของ สนช.ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญกำหนดว่าต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของ สนช.ขึ้นไป

ถ้า สนช.มีมติออกมาเช่นนั้น จะก่อให้เกิดปัญหาในทางกฎหมายพอดี เพราะร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดทางออกว่าหากเกิดกรณีดังกล่าวแล้ว ใครจะเป็นผู้ทำหน้าที่เสนอร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐ

ธรรมนูญกลับมาให้ สนช.อีกรอบ

ครั้นจะให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นฝ่ายเสนออีกครั้ง มีปัญหาว่าถ้าเป็นกรณีที่พ้นระยะเวลา 240 วัน นับตั้งแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว กรธ.ย่อมไม่มีอำนาจเสนอร่างกฎหมาย

เข้าสภาได้เป็นครั้งที่สอง

หรือจะใช้กระบวนการช่องทางตามปกติในการเสนอกฎหมาย เช่น ให้องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องเสนอกฎหมายมายัง สนช.โดยผ่านคณะรัฐมนตรี เป็นต้น ก็ยังมีปัญหาอีกเช่นกันว่าจะทำได้หรือไม่

เพราะการจัดทำร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญในปัจจุบันเป็นการดำเนินการในสถานการณ์พิเศษตามบทเฉพาะกาล

เพราะฉะนั้น ถ้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นมาจริงๆ ย่อมเป็นหนึ่งเงื่อนไขที่ คสช.สามารถหยิบเอามาเพื่อเป็นความชอบธรรมในการขอขยายโรดแมปออกไป ซึ่ง คสช.

ย่อมประเมินแล้วว่าเมื่อถึงเวลานั้น สังคมจะยอมรับและเห็นถึงความจำเป็นของการเลื่อนการเลือกตั้งไปเป็นปี 2561
//////////////
กรธ.แจงไม่มีการเร่งพิจารณากม.ลูก ระบุทำตามกรอบเวลา 240วัน

โฆษกกรธ.เผยไมมีการเร่งพิจารณากฎหมายลูกให้เสร็จในทันทีทันใด ระบุทำตามกรอบเวลา 240 วันตามโรดแมปรัฐบาล

นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)  กล่าวถึงการจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ฉบับสำคัญที่ใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการเลือกตั้ง ว่า กรธ. ได้นำ

ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มาพิจารณาเป็นเบื้องต้นแล้ว แต่ยังเป็นเพียงการกำหนดหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่การเขียนบทบัญญัติตามที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติกำหนด

เจตนารมณ์ไว้อาทิ การจัดการเลือกตั้งที่สุจริต เที่ยงธรรม การดำเนินการเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงระยะเวลาของการนับคะแนน การ

คำนวณผลคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งจะสัมพันธ์กับการได้มาซึ่งส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และเงื่อนไขที่จะโยงกับการเปิดประชุมรัฐสภานัดแรก เมื่อได้ส.ส.ครบ 95 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงมาตรการที่จะนำไปสู่

ความเป็นรูปธรรมของการป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง

นายอุดมกล่าวว่า ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. นั้น กรธ. จะไม่เร่งพิจารณาให้เสร็จในทันทีทันใด  เพราะต้องรอเวลาที่ให้พรรคการเมืองปรับตัวให้สอดคล้องกับกติกาใหม่ ตามที่ร่าง

พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองกำหนด ซึ่งกำหนดเวลา ไว้ 6 เดือน รวมถึงต้องรอให้ กกต. ได้ปรับองค์กรและกลไกให้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับใหม่ด้วยเช่นกัน โดย ตนยืนยันว่าการพิจารณาทำ

กฎหมายลูกจะเป็นไปตามกรอบที่รัฐธรรมนูญใหม่กำหนด คือ จัดทำภายใน 8 เดือน หรือ 240 วัน เพราะได้คำนวณบนฐานของโรดแมปของรัฐบาล คือ จัดการเลือกตั้งภายในปี 2560 ไม่ได้คิดใน

ประเด็นอื่นๆ แต่เมื่อมีสถานการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะความเหมาะสมระหว่างมีงานพระราชพิธีสำคัญ เป็นเรื่องที่ทราบกันอยู่ แต่จุดนี้การทำงานของกรธ. จะไม่เกินกว่าเวลาที่ร่างรัฐ

ธรรมนูญใหม่กำหนดแน่นอน

นายอุดม กล่าวด้วยว่าสำหรับการประชุมกรธ. ในวันที่ 9 ม.ค. นั้น ตามที่กำหนดไว้ คือจะเข้าสู่การพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  โดยการพิจารณาดังกล่าว

จะเปิดให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและกรธ. จะจัดเวทีเพื่อรับฟังเสียงของประชาชนด้วย
////////////////
อานิสงส์"หยั่งทาง"เลื่อนเลือกตั้ง

ที่ สนช.ออกมา "โยนหินถามทาง" เรื่องเลือกตั้ง นับว่าได้ผล!

เพราะทำให้รู้เลย....

ไฮยีนาฝูงไหน อยู่ในสภาพอดโซ "ซุ่มรอ" เลือกตั้ง ด้วยความกระหายหิว

ความจริง ถ้ามีสติซักนิด ปัญญาก็จะเกิด

เมื่อปัญญาเกิด ก็จะนับเลขเป็น

เมื่อนับเป็น ก็จะรู้ การเลือกตั้งตามโรดแมป "ไม่มีการเลื่อน" และ "เลื่อนไม่ได้"!

เพราะถูกล็อกไว้แล้วด้วยเงื่อนไขทั้งรัฐธรรมนูญชั่วคราว ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติ ใกล้ประกาศใช้

ตามมาตรา ๒๖๘ บอกว่า.......

ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๖๗ (๑) (๒) (๓) และ (๔) มีผล

บังคับใช้แล้ว

คือเมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้

จะโรดแมป-โรดตู่ ก็ต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ดังนั้น ถ้ามีอันผิดเพี้ยนไปจากนั้น ไปคอยดักตีกระบาล กรธ.กับ สนช.โน่น

ไม่ใช่เวียนหน้าออกมาไล่งับขากางเกงนายกฯ ตู่ ถ้าพลาด งับผิดที่นายกฯ เป็นหมันไปละก็ ใครจะรับผิดชอบ?

เพราะเลือกช้า-เลือกเร็ว หรือ เลือกได้-ยังเลือกไม่ได้ อยู่ที่ กรธ.กับ สนช.ผู้มีหน้าที่ทำคลอดกฎหมายลูก ๔ ฉบับ ว่าจะเสร็จตามเวลาโรดแมปหรือไม่?

รัฐบาลไม่เกี่ยว!

เพื่อช่วยเก็บอาการกระสัน พวกโจรประชาธิปไตยใส่สูท ยึดเทอมเวลานี้ไว้ จะได้ไม่ตื่นคอกจนน่ารำคาญ

ผมเคยบอกไปแล้วมิใช่หรือ นับจาก ๗ สิงหา.๕๙............

-กรธ.ร่างกฎหมายลูก ๔ ฉบับ ภายใน ๒๔๐ วัน

-สนช.พิจารณาร่างกฎหมายลูก ภายใน ๖๐ วัน

-เมื่อกฎหมายลูกบังคับใช้

กกต.จัดการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๖๘ ภายใน ๑๕๐ วัน

-รวมเวลาทั้งหมด ๔๘๐ วัน หรือ ๑ ปี ๔ เดือน

มองรวมๆ จะตกประมาณปลายตุลา.๖๐ โน่น!

แต่ยังไม่ใช่ทีเดียว ยังมีขั้นตอนตามกฎหมายอยู่อีก ค่อยๆ คุยกันไปก็จะรู้เอง

แต่เฉพาะขั้นตอนนี้ รอให้ครบกำหนด "ถึงวันนั้น" ซะก่อน ถ้ามันบิดเบี้ยวค่อยโวย

พวกโวยประเด็นเลื่อน-ไม่เลื่อนเลือกตั้งแต่เดี๋ยวนี้ จะเข้า ๓ ลักษณะ

กระสัน-พาล-สันดานชอบเห่า!

ขอดักหน้าไว้อีกนิด.........

อย่าสื่อสารถึงชาวบ้านแบบตีขลุม โดยใช้ความคลุมเครือหาประโยชน์ใส่พรรค คือพอกฎหมายลูกเสร็จ ก็จะโมเม ทึกทักนับจากวันนั้น ว่าภายใน ๑๕๐ วันต้องเลือกตั้ง

อ่านมาตรา ๒๖๘ ให้ทะลุก่อน อย่าแกล้งโง่ รัฐธรรมนูญบอกว่า

"ให้ดำเนินการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภาย ๑๕๐ วัน....

"นับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๖๗ (๑) (๒) (๓) และ (๔) มีผลบังคับใช้แล้ว"

นั่นคือ ๑๕๐ วัน ที่ว่านั้น ให้เริ่มนับจากกฎหมายลูก ๔ ฉบับ "มีผลบังคับใช้แล้ว" ไม่ใช่นับจากวันกฎหมายลูกเสร็จตามโรดแมป

แล้วใครจะบอกได้ล่ะว่า........

"กฎหมายลูก ๔ ฉบับ" จะมีผลบังคับใช้ เมื่อไหร่-วันไหน?

มีกรอบกว้างๆ เพียงว่า ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันไหน ก็นับ ๑ จากวันนั้นไป วันใด-วันหนึ่งใน ๑๕๐ วัน จะเป็นวันเลือกตั้ง

เรื่องนี้ ต้องแยกแยะให้ชัด มันมี ๒ ขั้นตอนอยู่

คือขั้นตอนร่างกฎหมายลูก ผ่านกฎหมายลูก จนถึงการประกาศใช้ ทำภายใต้เงื่อนไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว

ส่วนขั้นตอนเลือกตั้ง ทำภายใต้เงื่อนไขรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ที่กำลังจะประกาศใช้

ถ้าเข้าใจตามนี้..........

เซ่อ-สะเหล่อ-ง่าวจ๊าดแต้ ที่พวกกระสันเลือกตั้งไปเห่าหอนว่านายกฯ ตู่ ปูทางเลื่อนเลือกตั้ง

นายกฯ ปู น่ะ...มี แต่นายกฯ ปูทาง...ไม่มี เพราะกฎหมายมันล็อกเวลาไว้หมดแล้ว นายกฯ เบี้ยว แสดงว่านายกฯ ทำผิดรัฐธรรมนูญ

คนทำผิดรัฐธรรมนูญ ผลเป็นอย่างไร อยากรู้ใช่มั้ย?

ถ้าอยากรู้........

"ถามนายกฯ หญิงคนแรกดูซิเค้อะ!"

ฉะนั้น ขั้นตอนจัดทำกฎหมายไปสู่การเลือกตั้ง เรารู้แล้ว ยังไงๆ ก็ต้องเป็นไปตามโรดแมป ซึ่งมีกำหนดปลายปี

ปลายปี ก็เหมือนแม่ท้องครบ ๙ เดือน.......

แต่ ๙ เดือนปุ๊บ ใช่ว่าจะต้องคลอดปั๊บ!

อาจก่อนหน้า-ก่อนหลังได้ตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับว่า ปากมดลูกเปิดหรือยัง น้ำคร่ำแตกหรือยัง เมื่อทุกอย่างพร้อม ก็วันนั้นแหละ คลอดแน่!

ช่วง ๙ เดือน คือเทอมเวลาคลอด ก็คือ เทอมรอกฎหมายลูก ๔ ฉบับน้ำคร่ำแตกนั่นแหละ

และแตกแล้ว คลอดตอนไหน ก็เท่ากับรู้แล้วว่า มีผลบังคับใช้วันไหน?..........

จากนั้น ก็รอดูในพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งทั่วไปอีกที ว่ากำหนดวันไหน ให้เป็นวันเลือกตั้ง

อันที่จริง ถ้าคนพอมีความรู้สึก ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี อยู่บ้าง ไม่สถุลชาติเกินไปนัก ย่อมเป็นที่เข้าใจได้

"ปลายปี-ต้นปี" เป็นสันตติแห่งกาลเวลา เป็นเวลาเชื่อมต่อในเหตุและผลด้วยกัน ไม่ถือเป็นช้าหรือเร็วในลักษณะ "ถ่วง-ดึง" ที่ถือว่าผิดเวลาจนน่าเกลียด

ตรงนี้ "วิญญูชน" เข้าใจได้!

ฉะนั้น ครบตามโรดแมปตุลา.-พฤศจิกา.๖๐ แล้วไปเลือกตั้งเอาต้นปี ๖๑ มันไม่ต่างกันเลย

นับเป็นบรรยากาศมีกิจกรรมการเมืองต่อเนื่อง ไม่ถือเป็นการเลื่อน-ไม่เลื่อนตรงไหน?!

ยิ่ง "คุณจมูกถอก" ออกมาพูด ทำให้ "ต่างชาติไม่เชื่อถือ" ยิ่งทำให้รู้เจตนสันดานพวกนี้

ก็ช่างมันปะไร.......

คุณจะยกต่างชาติดุจบิดาที่ต้องแคร์ ก็แคร์ของคุณไปซี จะให้มาเกี่ยวกับบ้านผม-เมืองผมทำไม?

เลือกตั้งสหรัฐสดๆ ร้อนๆ มีไอ้กันซักคนมันบอกโอบามา-นางคลินตันบ้างมั้ยว่า สันดานประชาธิปไตย "แพ้แล้วพาล" อย่างนั้นน่ะ

"ต่างชาติเขาไม่เชื่อถือ"?

สรุปในสรุปอีกที ...........

ไม่มีอะไรเลื่อนจากโรดแมป ส่วนเลือกตั้งปลายปี จะกำหนดวันไหน หรือเหลื่อมไปต้นปี เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายที่ "กำหนดกรอบ" ไว้

ก็อย่างที่บอกแต่ต้น

การยกเรื่องเลือกตั้งที่อาจต้องเหลื่อมไปต้นปี ๖๑ มาพูด เท่ากับ "โยนหินถามทาง"

ก็รู้ทางนักเลือกตั้งทันที โดยเฉพาะนักเลือกตั้งซีกเพื่อไทย

จุดอ่อนเพื่อไทยอยู่ในจุดแข็งตัวเขาเอง!

พรรคการเมืองอื่น เขาเฉยๆ จะเลือกปลายปี-ต้นปีถัดไป ได้ทั้งนั้น เพราะเดิมพันชีวิตของเขา ไม่ได้อยู่ที่การเลือกตั้ง

มีแต่เพื่อไทยระบอบทักษิณ "พรรคเดียว" เท่านั้น ที่ยึดการเลือกตั้งเป็นเดิมพันชีวิต

ทำไมเป็นเช่นนั้น?

ก็พรรคอื่นๆ เขามีแนวนโยบาย การเมืองเพื่ออำนาจเข้าไปบริหารบ้านเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตย

ได้-ไม่ได้บริหาร ก็ไม่เดือดร้อนอะไร

แต่เพื่อไทย แนวนโยบายของเขา การเมืองเพื่ออำนาจเข้าไปบริหาร "ได้แล้วเอามาแบ่งกัน" สู่เป้าหมายเปลี่ยนประเทศไทยเป็น "แดงทั้งแผ่นดิน"!

ฉะนั้น ในความดำดิ่งกลิ้งลงเหวของระบอบทักษิณ

ทางรอด "ทางเดียว" ที่เหลืออยู่คือ "ทางเลือกตั้ง" เป็นเส้นทางหวัง จะได้กลับสู่เส้นทางอำนาจใหม่

เพราะมีแต่การได้อำนาจรัฐคืนมาเท่านั้น .......

จะช่วยให้สมุนที่ใกล้คุก-ในคุก...รอด จะช่วยให้วงศ์วานว่านเครือรวยแล้วเอามาแบ่งปันกัน...อีกรอบ

สำคัญสูงสุด..........

เป้าหมาย "แดงทั้งแผ่นดิน" ทักษิณสถาปนา จะสู่ไฟต์ล้างตา เพื่อการสถาปนากันอีกที!

เพราะอย่างนั้น พอบอกว่า "เลื่อนเลือกตั้ง" จึงเหมือนหมาถูกเหยียบหาง ร้องเอ๋งงง แล้วแว้งงับฉับเลย

จุดอ่อน กลัวไม่ได้เลือกตั้ง

จุดแข็ง เชื่อมั่นในละเมอว่า เลือกตั้งเมื่อไหร่ก็นอนมา!

นั่นเท่ากับ ตอนนี้รัฐบาล คสช.มีคำตอบแล้ว ๒ คำตอบ

คำตอบแรก.............

เพื่อไทย ต้องการเลือกตั้งเร็ว เพื่อระบอบทักษิณรอด

คำตอบที่สอง......

ประชาชน เลือกตั้งเมื่อไหร่ก็ได้ เพื่อบ้านเมืองรอด

แต่ผมคิดว่า นายกฯ ประยุทธ์มี "คำตอบที่ ๓ " เป็นทางเลือกใส่ซองไว้แล้วมากกว่า!?

ฤดูกาล เคลื่อนย้ายรถถัง..รถเกราะ..วันเด็ก วันกองทัพไทย

ฤดูกาล เคลื่อนย้ายรถถัง..รถเกราะ..วันเด็ก วันกองทัพไทย
บูรพาพยัคฆ์ เตรียมเคลื่อนย้ายรถถังและรถเกราะ 9มค.จากปราจีนบุรี เข้า ร.11รอ.เตรียมโชว์งานวันเด็ก 14 มค. และสวนสนามสาบานธง วันกองทัพบก18มค.
กองทัพบก แจ้งว่า ในวันที่ 9มกราคม 2560 ตั้งแต่เวลา 08.00-10.00น. กองทัพบกโดย กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ จะทำการเคลื่อนย้ายรถถังและยานเกราะล้อยาง จากที่ตั้งหน่วยทหารใน จ.ปราจีนบุรี มายัง กรมทหารราบที่ 11รักษาพระองค์ เขตบางเขน กทม. เพื่อเตรียมร่วมในพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล เนื่องในวันกองทัพบก และวันกองทัพไทย 18 มค. โดยจะมาโชว์วันเด็ก 14 มค. ที่พล.ม.2รอ. ด้วย
โดยใช้ เส้นทาง จาก จ ปราจีนบุรี มา รังสิต องครักษ์ เข้าถ.วิภาวดีฯและเลี้ยวซ้าย เข้าหลักสี่ วงเวียน และ ร.11รอ.
จึงขออภัยในความไม่สะดวกด้านการจราจรในช่วงที่มีการเคลื่อนย้าย ด้วย