PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2560

รวมเรื่องปรองดองในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ

-ปรองดอง

''พลโทสรรเสริญ'' เผยนายกฯ ได้แนวคิดรวมเรื่องปรองดองในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เล็งดึงประชาชน ภาคประชาสังคม และกลุ่มการเมืองคู่ขัดแย้งเข้าร่วม

พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้ใช้เวลาคิดรูปแบบการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ โดยเห็นว่าควรเพิ่มสาระสำคัญในเรื่องการปรองดองเข้าไปในคณะกรรมการชุดดังกล่าวด้วย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ที่ประชุมร่วมกันระหว่างรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีความเห็นที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 จัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการการปฏิรูปประเทศขึ้น

พลโทสรรเสริญ ให้เหตุผลที่ต้องมีการเพิ่มเรื่องปรองดองเข้ามาในเวลานี้ว่า เชื่อว่านายกรัฐมนตรีได้รับข้อมูลข่าวสารจากทุกภาคส่วน และมีคำถามถึงการดำเนินงานเกี่ยวกับการปรองดองของรัฐบาลที่ยังไม่เกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องจัดทำเรื่องนี้ขึ้นมาให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ

พลโทสรรเสริญ กล่าวถึงโครงสร้างคณะกรรมการเตรียมการการปฏิรูปประเทศด้วยว่าเดิมมีคณะกรรมการ 19 คน แต่เมื่อมีการเพิ่มเรื่องปรองดองเข้ามาก็จะต้องเชิญผู้แทนภาคประชาชน หรือภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งส่วนตัวคาดว่า เมื่อมีการพูดถึงเรื่องปรองดอง ก็ควรจะมีการเชิญกลุ่มการเมืองคู่ขัดแย้งเข้ามาร่วมด้วย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการดังกล่าว
---------------
เมื่อวันที่ 4 มกราคม ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 ในที่ประชุมร่วมครม.และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ตามมาตรา 44 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. เห็นว่าควรจะเพิ่มเรื่องการสร้างความปรองดอง ให้เชื่อมโยงกับการปฏิรูปและคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คสช. โดยให้นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของทั้งคณะกรรมการปฏิรูปปรองดองและคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เพื่อนำประเด็นต่างๆมาจัดลำดับความเร่งด่วนว่ามีเรื่องอะไรสำคัญ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ หากเรื่องไหนแก้ไขกฎหมายนาน จำเป็นจะต้องดึงบางเรื่องออกมาประกาศเป็นมาตรา 44 หรือไม่

“พล.อ.ประยุทธ์ ได้คิดโมเดลนี้ขึ้นมาเพื่อให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่าโมเดลดังกล่าว กับโมเดลแบบเดิมที่แยกกันคนละส่วน โมเดลแบบไหนดีกว่ากัน เพื่อให้งานที่รัฐบาลทำไปไม่ว่าจะเป็นงานเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่สอดคล้องกับเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ อย่างไรก็ตามเรื่องการสร้างความปรองดองคงต้องให้แต่ละกลุ่มที่เห็นต่างมาพูดคุยกันก่อนเพื่อให้ตกผลึก คาดว่าอาจจะดึงภาคประชาชนต่างๆเข้ามาร่วมด้วย ส่วนกลุ่มการเมืองยังไม่ได้ลงรายละเอียด ซึ่งอาจจะเป็นไปได้”พล.ท.สรรเสริญ กล่าว
--------------------
นายกฯ สั่งตั้งคณะทำงานเตรียมการปฏิรูป และยุทธศาสตร์ชาติ ให้ "สุวิทย์ เมษินทรีย์" นั่งเลขาฯ เรียกร้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมทั้งภาคประชาชนและการเมือง แล้วกระบวนการสร้างความปรองดองจะเกิดขึ้น ปัดข้อเสนอใช้ ม. 44 นิรโทษกรรม ย้ำ สิ่งสำคัญสังคมไทยต้องยอมรับได้
     
       เมื่อเวลา 07.00 น. วานนี้ (4ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมด้วยนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 60รูป เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2560 โดยมีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ภายในทำเนียบรัฐบาล เข้าร่วมพิธี
     
       ทั้งนี้ภายหลังนายกรัฐมนตรีใส่บาตรแล้วเสร็จได้เดินทักทายครม. ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่มาร่วมงาน ก่อนเดินขึ้นตึกไทยคู่ฟ้า จากนั้นนายกรัฐมนตรี และครม.ได้เปลี่ยนชุดเป็นชุดปกติสีขาว เพื่อถ่ายภาพหมู่ร่วมกับครม.ทั้งหมด รวมถึงรัฐมนตรีใหม่ ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.59 ที่ผ่านมา จำนวน 12 ตำแหน่ง ที่บริเวณด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ก่อนที่จะประชุมครม.นัดแรกของปี 2560
     
       ** ตั้งคณะทำงานเตรียมการปฏิรูป 
     
       หลังการประชุมครม. พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ปี 2560 เป็นปีแห่งการเตรียมการปฏิรูป ซึ่งอยู่ภายใต้ร่มของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยรัฐบาลจะต้องสร้างกระบวนการการรับรู้ การมีส่วนร่วม ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีการร่างยุทธศาสตร์ชาติขึ้นมาเป็นเค้าโครงเบื้องต้น จากนี้ไปก็จะเป็นขั้นตอนการรับรู้ สร้างความเข้าใจ ซึ่งเป็นกรอบใหญ่ สิ่งที่จะตามมาคือ แผนการปฏิรูปประมาณ 128-138 กิจกรรม หรือ 37 วาระ ก็จะดำเนินการขับเคลื่อน มีหลายอย่างที่ทำไปบ้างแล้ว แต่ก็ต้องสร้างความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตนได้มีดำริที่จะตั้งคณะทำงานเตรียมการปฏิรูป เตรียมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วยงานทั้งด้านการปฏิรูป ยุทธศาสตร์ชาติ การปรองดองรวมอยู่ด้วย ซึ่งจะต้องเดินหน้าในเรื่องเหล่านี้ให้ได้ กฎหมายบางตัวก็ออกมา และใช้ประโยชน์ไปบ้างแล้ว ประชาชนบางส่วนอาจไม่เข้าใจ จึงมีการตั้งคำถามว่า ได้มีการปฏิรูปแล้วหรือยัง
     

       "ความจริงการปฏิรูปต้องเริ่มมาจากกระบวนการเตรียมการปฏิรูปมาก่อน โดยเอาปัญหาทั้งหมด ทั้งปัญหาทางด้านฟังก์ชั่น ปัญหาซ้ำซาก ที่ทับซ้อนกัน จะต้องแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการ ซึ่งทั้งหมดทำมาหมดแล้ว เพียงแต่ยังไม่ไปสู่จุดหมายที่ต้องการ ซึ่งมันต้องมีระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่าน จึงอยากให้สังคม และทุกคนเข้าใจว่า การปฏิรูปคือการทำใหม่ ในส่วนที่เป็นปัญหาทั้งหมด ซึ่งทางพระเรียกว่า อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งขั้นตอนใน 2 ปีแรก คือ การหาปัญหามา คือทุกข์ สมุทัย คือ การหาว่าสาเหตุของการเกิดทุกข์ คืออะไร ทั้งกับประชาชน ธุรกิจ เศรษฐกิจ ปัญหาของประเทศ จากนั้นก็นำมาสู่นิโรธ คือ การดับทุกข์ ในการสร้างกลไกต่าง ๆ ออกมา ซึ่งทุกอย่างก็ต้องเดินไปตามขั้นตอนทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา ส่วนมรรค คือ หนทางที่จะเดินไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน มั่นคง และมั่งคั่ง ซึ่งทุกคนน่าจะเข้าใจกันแล้ว เพราะได้สวดมนต์ข้ามปี ผมเองก็คิดแทบตาย เพื่อจะสร้างการรับรู้แบบง่ายๆ ผมเองก็ยังไม่รู้ว่าจะเข้าใจกันได้ง่ายๆ อยางไร แต่ขอให้เห็นใจบ้างว่า ผมเองก็คิดมาเยอะ วันหยุดราชการก็ไปนั่งคิด และเขียนเรื่องมากมายว่าจะทำงานอย่างไร เพื่อให้เกิดความรับรู้มากที่สุด ในช่วง
       ของปี 2560 ซึ่งเป็นปีแห่งการเตรียมการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วน ถ้าออกมาแล้วไม่มีส่วนร่วม ยังคงตีรันฟันแทง ทะเลาะ ขัดแย้งกันอยู่ทุกเรื่องมันก็เดินไมได้ การปรองดองก็สร้างไม่ได้ เพราะคนไม่พยายามเข้ามามีส่วนร่วมในการปรองดอง"
     
       **ปัดข้อเสนอให้ใช้ ม.44นิรโทษกรรม 
     
       นายกฯ กล่าวด้วยว่า ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และเดินหน้าประเทศ ไม่ใช่คิดแต่ยื่นนำหน้าในเรื่องของนิรโทษกรรม ยกโทษ ใช้มาตรา 44 ตนถามว่า สังคมทั้งประเทศรับได้หรือไม่ ถ้ารับได้ก็ค่อยมาว่ากัน แต่หากยังรับไม่ได้ ก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี แล้วจะไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการได้อย่างไร ในเรื่องการเดินหน้าประเทศ ไปสู่การเปลี่ยนผ่านที่เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ มันไปไม่ได้ หากทุกคนไม่ร่วมมือ วันนี้หลายคน หลายฝ่าย ออกมาพูดว่าจะไปสู่การเลือกตั้ง โดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น ถามว่าแล้วเคยพูดกันบ้างหรือยังว่าจะปฏิรูปประเทศอย่างไร
     
       "สำหรับข้อเสนอให้ใช้ มาตรา 44 นิรโทษกรรมนั้น ไม่ใช่เรื่องของผม ใครอยากเสนออะไร ก็เสนอไป อย่ามายุ่งกับ มาตรา 44 ของผม ไปหาวิธีการ สิ่งสำคัญคือ สังคมประเทศไทยยอมรับกันหรือ
ไม่" นายกรัฐมนตรี กล่าว
     
       **ตั้ง"สุวิทย์ เมษินทรีย์" นั่งเลขาฯ 
     
       พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมครม. ว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.59 ในที่ประชุมร่วมครม.และคสช. เห็นชอบออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ตามมาตรา 44 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. เห็นว่า ควรจะเพิ่มเรื่องการสร้างความปรองดอง ให้เชื่อมโยงกับการปฏิรูป และคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คสช. โดยให้ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของทั้งคณะกรรมการปฏิรูปปรองดอง และคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เพื่อนำประเด็นต่างๆ มาจัดลำดับความเร่งด่วน ว่ามีเรื่องอะไรสำคัญ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ หากเรื่องไหนแก้ไขกฎหมายนาน จำเป็นจะต้องดึงบางเรื่องออกมาประกาศเป็น มาตรา 44 หรือไม่
     
       "นายกฯคิดโมเดลนี้ขึ้นมาเพื่อให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่าโมเดลดังกล่าว กับโมเดลแบบเดิมที่แยกกันคนละส่วน โมเดลแบบไหนดีกว่ากัน เพื่อให้งานที่รัฐบาลทำไปไม่ว่าจะเป็นงานเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ที่สอดคล้องกับเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ เรื่องการปฏิรูปหรือการปรองดองโดยไม่ต้องรอให้ยุทธศาสตร์ออกมา ก็สามารถขับเคลื่อนบางเรื่องออกมาได้ก่อน อย่างไรก็ตาม เรื่องการสร้างความปรองดองคงต้องให้แต่ละกลุ่มที่เห็นต่างมาพูดคุยกันก่อนเพื่อให้ตกผลึก คาดว่าอาจจะดึงภาคประชาชนต่างๆเข้ามาร่วมด้วย ส่วนกลุ่มการเมืองยังไม่ได้ลงรายละเอียด คาดว่าอาจจะเป็นไปได้" พล.ท.สรรเสริญ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น: