PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

โปรดเกล้าฯ ถอดยศทหาร-ยึดเครื่องราชฯ"บุญสิทธิ์ ศรีพงษ์" | เดลินิวส์

โปรดเกล้าฯ ถอดยศทหาร-ยึดเครื่องราชอิสริยาภรณ์"บุญสิทธิ์ ศรีพงษ์" เหตุทำผิดวินัยทหาร-เป็นภัยต่อความมั่นคงสถาบัน 
วันพุธที่ 16 ธันวาคม 2558 

เวลา 18:31 น. เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดยศทหารและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยระบุว่า มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอด พ.อ.บุญสิทธิ์ ศรีพงษ์ ออกจากยศทหาร ตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค.2558 เนื่องจากกระทําผิดวินัยทหาร ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นภัยต่อความมั่นคงสถาบัน ทั้งนี้ ตามข้อ 2 ของระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยผู้ซึ่งไม่สมควรจะดํารงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ.2507 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ตริตาภรณ์ช้างเผือก ตริตาภรณ์มงกุฎไทย จัตุรถาภรณ์ช้างเผือกและจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย ที่บุคคลดังกล่าวได้รับพระราชทาน ตามข้อ 6 และข้อ 7(4) ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.2548 ประกาศ ณ วันที่ 16 ธ.ค.2558 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี.“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/politics/367463

19 ข้อเสนอ กมธ.ปราบโกง ชง กรธ.อุดช่องทุจริต-ป้องกันนักการเมืองหัวใส?

เปิด 19 ข้อเสนอ กมธ.ปราบปรามการทุจริต ชง กรธ. อุดช่องการทุจริต ให้ผู้สมัครนักการเมือง-องค์กรอิสระ โชว์ภาษีย้อนหลัง 3 ปี ห้าม ส.ส.แปรญัตติงบ ส.ส.-ส.ว.ไม่มีเอกสิทธิคุ้มครอง ถูกจับได้หากพันคดีทุจริต ถ้า รบ. ใช้งบรัฐเสียหาย ป.ป.ช.-สตง. ฟ้องศาลปกครองได้ ลดวาระ กก.ป.ป.ช. เหลือ 6 ปี ห้าม จนท.กระบวนการยุติธรรมนั่งบอร์ดรัฐวิสาหกิจ-ที่ปรึกษานักการเมือง
PIC krttt 16 12 58 1
เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาบ้างแล้ว สำหรับข้อเสนอในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายปัญหาสำคัญที่กัดกินประเทศไทยมาอย่างยาวนาน
โดยคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่มีนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ อดีตประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นประธานฯ ได้ทำข้อเสนอ 19 ข้อ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ส่งให้กับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ชุดนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานฯ 
เพื่อแก้ไขปัญหา-อุดช่องโหว่ในกฎหมาย ป้องกันไม่ให้มีการทุจริต และจะส่งข้อเสนออย่างเป็นทางการในวันที่ 18 ธ.ค. 2558 
ข้อเสนอดังกล่าวมีอะไรบ้าง ? สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รวบรวมไว้ ดังนี้
1.ประชาชนชาวไทยมีหน้าที่ในการป้องกัน ปฏิเสธ และต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งเป็นผู้เสียหายในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบอันส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
2.ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ติดตามและร้องขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้การจำกัดสิทธิดังกล่าวไม่อาจกระทำได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น
3.รัฐต้องจัดระบบการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารงานของรัฐ ให้มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ การบริหารราชการแผ่นดินต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สาธารณะ
4.กำหนดให้องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐหรืองบประมาณแผ่นดินต้องเปิดเผยแผนการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ผลการดำเนินงาน การจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงรายการงบการเงินและสถานะทางการคลังให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปโดยไม่รอช้า
5.ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกประเภทและทุกระดับ รวมทั้งผู้เข้ารับการสรรหาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ต้องแสดงสำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ย้อนหลังเป็นเวลา 3 ปี หากไม่แสดงหรือแสดงอันเป็นเท็จ ให้สมาชิกภาพหรือความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ทั้งนี้ให้เปิดเผยเอกสารดังกล่าว รวมถึงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณชนโดยเร็ว
6.ห้ามมิให้ผู้เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือกระทำการให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือไม่เที่ยงธรรม หรือให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะเหตุร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ รวมถึงบุคคลซึ่งเคยถูกปลดออก ไล่ออก หรือให้ออกจากราชการ เนื่องจากกระทำการทุจริต กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือร่ำรวยผิดปกติ มีสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้งหรือเข้าสรรหาเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง 
7.ห้ามมิให้ ส.ส. นำงบประมาณที่ลดหรือตัดทอนจากการแปรญัตติไปจัดสรรเป็นงบ ส.ส.
8.กำหนดให้สามารถจับกุม คุมขัง หรือออกหมายเรียกตัว ส.ส. หรือ ส.ว. ในระหว่างสมัยประชุมได้ ในกรณีเป็นผู้ต้องหาคดีอาญาอันเกี่ยวด้วยการทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือคดีความผิดเกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้งหรือการสรรหา (เอกสิทธิคุ้มครองสมาชิกรัฐสภาในระหว่างสมัยประชุม ไม่รวมถึงกรณีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่)
9.ให้สมาชิกฝ่ายค้านเป็นประธานกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และทำหน้าที่กำกับติดตามเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
10.ให้มีศาลชำนัญพิเศษคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นการเฉพาะ โดยให้เป็นระบบไต่สวนสามารถอุทธรณ์ได้ และมีเขตอำนาจในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง
11.ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ก่อให้เกิดการใช้จ่ายเงินแผ่นดินอันวิญญูชนพึงเห็นได้ว่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐอย่างร้ายแรง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนยื่นฟ้องต่อศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณและให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า
12.กระบวนการสรรหากรรมการในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ รวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรมอย่างแท้จริง 
13.กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีองค์ประกอบที่หลากหลาย มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี มีอำนาจการไต่สวนและวินิจฉัยคดีทุจริตต่อหน้าที่หรือร่ำรวยผิดปกติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับบริหาร (ระดับสิบขึ้นไป) และให้กำหนดระยะเวลาในการไต่สวนข้อเท็จจริงไม่ให้ล่าช้า สามารถมอบหมายให้กรรมการ ป.ป.ช. เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. หรือผู้ที่มีอำนาจเกี่ยวข้องทำการไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานแทนได้
14.กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นอิสระ และทำงานร่วมกับ ป.ป.ช. อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เนื่องจากคดีทุจริตมีความเกี่ยวพันกับข้าราชการหลายระดับ
15.กำหนดให้มีกลไกหรือระบบบูรณาการการทำงานขององค์กรที่มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และองค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐ รวมถึงหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้สามารถนำคนผิดมาลงโทษโดยเร็ว
16.การสอบสวนคดีทุจริตคอร์รัปชั่นและประพฤติมิชอบที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐ และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการไต่สวนข้อเท็จจริงและฟ้องดำเนินคดีโดยเร็ว และผู้เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสียหายในกรณีที่ล่าช้า และหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องรายงานความคืบหน้าต่อสาธารณะอย่างเป็นเปิดเผยเป็นระยะ
17.ให้มีเนื้อหาว่าด้วยการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ในรัฐธรรมนูญตามแนวทางในหมวดที่สอง ส่วนที่สอง ของร่างรัฐธรรมนูญปี 2558
18.เจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมต้องไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน รวมทั้งไม่เป็นที่ปรึกษาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือตำแหน่งในลักษณะเดียวกัน
19.ให้มีการปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล สร้างจิตสำนึกแก่ประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และให้กลไกในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีประสิทธิภาพ ตามแนวทางในมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ
ทั้งหมดคือข้อเสนอ-แนวทางของ กมธ.ปราบปรามการทุจริต ที่เสนอต่อ กรธ. เพื่อต้องการอุดช่องโหว่การคอร์รัปชั่น ป้องกันนักการเมืองหัวใส เข้ามาหากินอีก !
PIC กมธปราบโกง 1
PIC กมธปราบโกง 2

หมายเหตุ : ภาพประกอบ กรธ. จาก ASTVmanager

เฟซบุ๊กยอมแก้ไขนโยบายใช้ชื่อจริงหลังจากถูกประท้วงอย่างหนัก



เฟซบุ๊กยอมแก้ไขนโยบายใช้ชื่อจริงหลังจากถูกประท้วงอย่างหนัก
เฟซบุ๊กประกาศจะแก้ไขนโยบายใช้ “ชื่อจริง” ที่เป็นปัญหามากหลังจากเผชิญกับการประท้วงอย่างรุนแรงจากกลุ่มต่างๆ
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เฟซบุ๊กประกาศทดสอบใช้เครื่องมือใหม่ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้อธิบายเหตุผลที่ไม่สามารถใช้ชื่อจริงได้ในกรณีและสถานการณ์พิเศษ โดยระบุว่าเครื่องมือนี้มุ่งช่วยคนที่อาจประสบกับความรุนแรงในครอบครัวหรือกรณีที่การเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตนอาจจะทำให้เขาหรือเธอตกอยู่ในอันตรายได้
อย่างไรก็ตาม เฟซบุ๊กก็ยังยืนยันให้คนใช้ “ชื่อจริง” ยกเว้นในกรณีที่ไม่ปกติจริงๆ เท่านั้น “เรากำหนดให้คนใช้ชื่อที่เพื่อนฝูงและครอบครัวใช้เรียกตัวเอง” เฟซบุ๊กกล่าว “เมื่อคนใช้ชื่อที่ตนเป็นที่รู้จัก การกระทำและคำพูดของเขาก็จะมีน้ำหนักมากขึ้นเพราะจะมีความรับผิดชอบกับสิ่งที่ตนพูดมากขึ้น”
“แต่ว่าหลังจากได้รับเสียงสะท้อนความเห็นจากชุมชนผู้ใช้ เราก็เห็นความสำคัญที่นโยบายนี้จะต้องเหมาะกับทุกคนด้วย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ชายขอบหรือถูกเลือกปฏิบัติ”
บริษัทยังได้เพิ่มเครื่องมือใหม่ในการรายงานชื่อปลอม โดยกำหนดให้คนที่แจ้งเรื่องคนอื่นใช้ชื่อปลอมต้องให้ข้อมูลบริบทเพิ่มมากขึ้นด้วย เฟซบุ๊กระบุว่าบริษัทได้รับเรื่องร้องเรียนเรื่องชื่อปลอมสัปดาห์ละหลายแสนกรณี
“แต่เดิม ผู้ใช้สามารถแจ้งรายงานชื่อปลอมได้เลย แต่ตอนนี้จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใหม่สองสามขั้นตอนเพื่อให้รายละเอียดแก่เรามากขึ้น” เฟซบุ๊กกล่าว “ข้อมูลบริบทที่เพิ่มมานี้จะช่วยให้ทีมงานตรวจสอบของเราเข้าใจได้ดีขึ้นว่าทำไมจึงมีการร้องเรียน”
เฟซบุ๊กได้รับการกดดันอย่างมากจากกลุ่มรณรงค์ด้านสิทธิต่อนโยบายการใช้ชื่อจริงที่ทางบริษัทยืนยันหนักแน่นมาตลอด มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก ถูกวิจารณ์อย่างหนักหลังจากเสนอว่าคนที่ใช้สองชื่อหรือใช้นามแฝงนั้นแสดงถึง “การขาดความซื่อสัตย์”
เมื่อปีที่แล้ว กลุ่มชายที่นิยมแต่งตัวข้ามเพศในซาน ฟรานซิสโกถูกลบบัญชีเฟซบุ๊กไปเนื่องจากถูกพิจารณาว่าละเมิดนโยบายดังกล่าว
หลังจากเผชิญกับการต่อต้านอย่างมาก ทางบริษัทก็ยอมรับว่าได้กระทำผิดพลาดไปที่ไปลบบัญชีเหล่านั้น แต่ก็บอกว่าบริษัทต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายในการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้ในเครือข่าย
กลุ่มองค์กรที่ทำงานเรื่องสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองได้รวมตัวกันจัดตั้ง “เครือข่ายพันธมิตรไร้ชื่อ” ขึ้นมาเพื่อกดดันเฟซบุ๊กให้เปลี่ยนนโยบายนี้ เครื่องมือใหม่ที่เปิดตัวเมื่อวันอังคารนั้นยังห่างไกลจากข้อเสนอของกลุ่มดังกล่าวอยู่มาก แต่ผู้แทนจากเฟซบุ๊กก็ได้พบกับสมาชิกของเครือข่ายพันธมิตรไร้ชื่อแล้ว

เสียงเรียกร้องคว่ำบาตรกุ้งไทยจากกรณีแรงงานทาสมีมากขึ้น

เสียงเรียกร้องคว่ำบาตรกุ้งไทยจากกรณีแรงงานทาสมีมากขึ้น ด้านนักวิชาการชี้ให้รีบแก้ไข ก่อนจะกระทบมูลค่าการส่งออกหลายพันล้านบาท
หลังสำนักข่าวเอพีเผยแพร่รายงานการใช้แรงงานทาสในอุตสาหกรรมประมงและแปรรูปกุ้งของไทย ได้มีเสียงเรียกร้องให้คว่ำบาตรการนำเข้ากุ้งจากประเทศไทยมากขึ้นในหมู่องค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชนและนักการเมืองในสหรัฐฯ โดยล่าสุดนายคริส สมิธ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครีพับลิกัน และสมาชิกคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสภาคองเกรส ได้ออกมาเรียกร้องให้คว่ำบาตรสินค้าประมงที่มาจากแรงงานทาสในไทย โดยระบุว่าผู้บริโภคแต่ละคนมีความรับผิดชอบทางศีลธรรมที่จะตัดสินใจไม่ซื้อสินค้าดังกล่าว
ทั้งนี้ รายงานของเอพีระบุว่า มีแรงงานต่างชาติจำนวนมากในไทยที่ถูกหลอกหรือบังคับมาให้เป็นแรงงานทาสในอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้ง โดยต้องยืนทำงานนานถึง 16 ชั่วโมงต่อวันติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน โดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือได้รับน้อยมาก หลายรายถูกกักขังอยู่ในโรงงานเป็นเวลานานหลายปี
ก่อนหน้านี้ กรีนพีซได้ออกมาเรียกร้องให้คว่ำบาตรสินค้าจากบริษัทไทยยูเนี่ยน ซึ่งเป็นผู้ผลิตกุ้งส่งออกรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก ในกรณีมีการใช้แรงงานทาสที่โรงงานในอินโดนีเซียมาแล้ว โดยนายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานผู้บริหารของไทยยูเนี่ยนได้แถลงยอมรับว่า รายงานข่าวเรื่องการใช้แรงงานทาสในอุตสาหกรรมประมงของเอพี เป็นตัวกระตุ้นให้ทางบริษัทและอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าประมงตื่นตัวต่อปัญหาดังกล่าว และประกาศจะแก้ไขปัญหาแรงงานนี้ ด้วยนโยบายการจ้างงานใหม่ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มกราคม ปีหน้า
ด้านนายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า ไทยต้องเร่งชี้แจงและแก้ไขปัญหาโดยด่วน ก่อนที่กระแสการคว่ำบาตรของสหรัฐฯจะขยายวงกว้างและส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลจากไทยที่วางขายในเครือค้าปลีกยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้นของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ม. รังสิตพบว่า การคว่ำบาตรน่าจะมีผลกระทบเบื้องต้นต่อการส่งออกประมาณ 20-30% ของมูลค่าส่งออกเดิม ซึ่งน่าจะคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2,484 ล้านบาท

เฟซบุ๊ก กูเกิลและทวิตเตอร์ตกลงกับรัฐบาลเยอรมันจัดการเฮทสปีช

เฟซบุ๊ก กูเกิลและทวิตเตอร์ตกลงกับรัฐบาลเยอรมันจัดการเฮทสปีช
เฟซบุ๊ก กูเกิลและทวิตเตอร์ทำข้อตกลงกับรัฐบาลเยอรมันที่จะลบข้อความที่แสดงหรือสร้างความเกลียดชัง หรือที่เรียกว่าเฮทสปีชออกจากเว็บไซต์ของตัวเองภายใน 24 ชั่วโมง
รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของเยอรมันนี ไฮโก มาสกล่าวว่ามาตรการดังกล่าวจะเป็นการรับประกันว่ากฎหมายของเยอรมันจะมีผลบังคับใช้ในโลกออนไลน์ และโซเชียลมีเดียจะต้องไม่ “กลายเป็นมหกรรมบันเทิงสำหรับฝ่ายขวาจัด”
ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากมีรายงานถึงการเหยียดผิวที่พุ่งสูงขึ้นในโลกออนไลน์ในประเทศขณะที่เยอรมันกำลังจัดการรับมือกับการหลั่งไหลเข้ามาของผู้อพยพและผู้ลี้ภัยเกือบหนึ่งล้านคนในปี 2558 และการที่เยอรมันต้อนรับผู้อพยพหลายแสนคนที่ส่วนใหญ่มาจากซีเรีย อิรักและอัฟกานิสถานได้ก่อให้เกิดปฏิกริยาความไม่พอใจจากฝ่ายชาตินิยมที่รวมถึงนีโอนาซี
มาสบอกว่าการร้องเรียนเกี่ยวกับเฮทสปีชจะได้รับการพิจารณาโดย “คณะผู้เชี่ยวชาญ” ของบริษัททั้งสามที่ยังจะทำให้การร้องเรียนทำได้สะดวกมากขึ้นอีกด้วย คณะผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาข้อร้องเรียนโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของกฎหมายเยอรมัน “และไม่ใช่แค่เงื่อนไขการใช้งานของผู้ให้บริการแต่ละเจ้าอีกต่อไป”
มาสบอกว่า “เมื่อมีการละเมิดขอบเขตของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เมื่อเป็นการแสดงความเห็นในทางอาชญากรรม การปลุกปั่นก่อความไม่สงบ การยุยงให้กระทำความผิดที่ส่งผลคุกคามต่อผู้คน เนื้อหาเช่นว่านี้จะต้องถูกลบออกไปจากอินเตอร์เน็ต” และย้ำว่าเป็นข้อตกลงที่จะต้องดำเนินการภายในเวลา 24 ชั่วโมง
ก่อนหน้านี้มาสและนักวิจารณ์คนอื่นๆ ได้กล่าวหาเฟซบุ๊กว่าดำเนินการฉับไวในการลบภาพโป๊เปลือยออกจากหน้าเพจของผู้ใช้ แต่กลับปล่อยให้มีข้อความเหยียดผิวและเกลียดกลัวชาวต่างชาติอยู่ต่อไปได้ ขณะที่เฟซบุ๊กระบุว่าอาศัยผู้ใช้ในการรายงานหรือร้องเรียนเกี่ยวกับข้อความที่แสดงหรือสร้างความเกลียดชัง

สมรภูมิอิรัก กับกลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี”




Cr:ไพศาล พืชมงคล
สมรภูมิอิรัก กับกลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี”
16 ธันวาคม 2558
ในสมรภูมิซีเรีย พันธมิตรรัสเซียใช้กลยุทธ์ตีโดยไม่ล้อม ประสานกับการวางกำลังเพื่อสกัดกำลังหนุนที่จะมาช่วยเหลือขบวนการก่อการร้าย ทำให้พันธมิตรรัสเซียสามารถยึดครองซีเรียได้โดยพื้นฐานแล้ว และกำลังเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูซีเรีย
สำหรับสมรภูมิอิรัก พันธมิตรรัสเซียใช้กลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี” และทนกับปฏิบัติการยั่วยุทางการทหารอย่างถึงที่สุด ทำให้ขบวนการก่อการร้ายหวั่นเกรงว่าหากล่าช้าต่อไปก็อาจจะหนีไม่ทัน จึงเคลื่อนย้ายกำลังหนีออกไปจากอิรักระลอกแล้วระลอกเล่า จนกำลังเหลืออยู่น้อยมาก ในขณะที่พันธมิตรรัสเซียวางกำลังล้อมอิรักกระชับเข้ามาทุกที ดังนั้นตุรกีจึงทำหน้าที่เป็นกองหน้าของนาโต้ส่งกำลังรถถังเข้าไปในอิรักโดยมีกำลังภาคพื้นดินจำนวนหนึ่งของสหรัฐสนับสนุน แต่แทนที่พันธมิตรรัสเซียจะใช้ปฏิบัติการทางทหารโจมตี กลับนิ่งเฉย และใช้สงครามเศรษฐกิจประสานกับการปฏิบัติการรุกรบของชาวเคิร์ดทางตอนใต้ของตุรกี รวมทั้งเปิดสมรภูมิทางการทูตในคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ให้มีมติจัดการกับผู้รุกรานอิรัก ทำให้ไม่มีชาติใดออกหน้าปกป้องการรุกรานนั้นได้
ในสมรภูมิอิรัก มีศูนย์กลางที่จะแตกหักชี้ขาดในสมรภูมินี้ที่เมืองโมซุล ทางตอนเหนือของอิรัก ใกล้กับชายแดนตุรกีและอิหร่าน แต่ถึงวันนี้พันธมิตรรัสเซียก็ยังไม่ปฏิบัติการทางทหารใด ๆ ยังคงเดินหน้าปฏิบัติการปิดล้อมให้กระชับและแน่นหนาขึ้น นั่นหมายถึงกระชับกลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี” ล่าสุดมีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจดังนี้
1. รัสเซียได้ขนย้ายรถถังรุ่นใหม่เข้าไปยังอิรัก โดยขนส่งไปอย่างเงียบ ๆ ทางเรือ ผ่านอ่าวโอมานเข้าไปยังอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แสนยานุภาพอิหร่านสามารถดูแลความปลอดภัยได้ และรัสเซียก็ได้วางกำลังจำนวนหนึ่งที่จะดูแลความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์ได้อย่างปลอดภัย รถถังชุดนี้ได้ส่งขึ้นที่ท่าเรือในพื้นที่อันเหมือนกับปากขวด ที่อยู่ปากอ่าวเปอร์เซีย ใกล้กับคูเวต ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าจะนำไปวางกำลังไว้ในพื้นที่ที่ใกล้ที่สุดกับเมืองโมซุล การนำรถถังเข้าไปทางพื้นที่นี้สะท้อนว่าพันธมิตรรัสเซียสามารถยึดครองพื้นที่ทางตอนใต้ของอิรักต่อเนื่องจากพื้นที่อ่าวเปอร์เซียไว้แล้ว และคงมีการเตรียมขีปนาวุธเพื่อคุ้มครองการเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์และกำลังภาคพื้นดินอีกด้วย ที่สำคัญคือ สะท้อนว่าพันธมิตรอาหรับที่นำโดยซาอุดิอาระเบียวางเฉยและปล่อยให้รัสเซียเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์ผ่านทางอ่าวเปอร์เซียได้โดยสะดวก ไฟเขียวตลอด ซึ่งอาจทำให้นาโต้ผวาหนักขึ้นไปอีก
2. จะเป็นเพราะการข่าวกรองที่ตุรกีรู้เอง หรือรู้จากชาติอื่น หรือโดยการคาดคะเนสถานการณ์เอาเอง ปรากฏว่าเมื่อวานนี้ (15 ธ.ค.58) ตุรกีได้ถอนกำลังรถถังออกจากเมืองโมซุลเป็นส่วนใหญ่แล้ว เพราะสภาพจากการวางกำลังของพันธมิตรรัสเซียนั้น ใคร ๆ ก็เห็นได้ชัดว่ากำลังรถถังและกำลังทหารของตุรกีรวมทั้งบางชาติแถบเมืองโมซุลไม่ครนามือที่จะรับมือกับการวางกำลังที่ปิดล้อมและกระชับเข้ามาได้เลย คงเหลือว่าวันไหนที่จะถอนออกไปทั้งหมด หรือจะถูกกวาดล้างทั้งหมด
3. โอบามาตัดสินใจส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางไปมอสโกเพื่อเจรจาหาทางยุติสงครามในซีเรียและอิรัก ซึ่งความเคลื่อนไหวนี้ใคร ๆ ก็รู้ได้แล้วว่าใครเป็นต่อ ใครเป็นรอง เพราะ “กำลังในการเจรจาขึ้นอยู่กับกำลังในสนามรบ” ดังนั้นการไปงอนง้อขอเจรจาครั้งนี้ จึงยากที่จะมีอะไรติดไม้ติดมือกับไปวอชิงตัน จึงต้องจับตาดูว่าตุรกีและอเมริกาจะถอนทหารออกไปจากอิรักหรือว่าจะเป็นผลให้รัสเซียตัดสินใจลงมือปฏิบัติการในอิรัก เพราะการเคลื่อนกำลังรถถังของรัสเซียเข้าอิรักนั้นส่อว่ารัสเซียได้ตอบรับคำขอของรัฐบาลอิรัก ในการขับไล่ผู้รุกรานแล้ว จึงคงเหลือแต่ว่าจะเป็นวันเวลาใดเท่านั้น
4. ในขณะที่เคลื่อนกำลังรถถังเข้าอิรัก รัสเซียก็ได้ส่งกำลังทหาร 7,000 คนเข้าไปที่อาร์เมเนีย ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของตุรกี เมื่อประกอบเข้ากับแนวดินแดนจอร์เจีย อาร์เมเนีย และอิหร่านถึงอิรักแล้ว ก็ก่อเป็นแนวปิดล้อมตุรกีทางด้านตะวันออกขึ้นมา ในขณะที่แนวดินแดนซีเรีย อิรัก ก็กำลังก่อตัวเป็นแนวปิดล้อมทางด้านใต้ของตุรกี โดยที่พันธมิตรรัสเซียยังวางกำลังทางนาวีไว้ที่ทะเลดำด้านเหนือของตุรกี และในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านตะวันตกของตุรกี โดยมีกรีกเป็นไม้เบื่อไม้เมากับตุรกีอยู่ทางด้านตะวันตกอีก สภาพทั้งหมดนั้นหากลากเส้นเชื่อมโยงกันก็จะกลายเป็นเส้นที่ปิดล้อมตุรกีให้เห็นชัดขึ้นทุกทีแล้ว สภาพดังกล่าวนี้ดูทีท่าว่ากลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี” ไม่เพียงแต่จะใช้ปฏิบัติในสมรภูมิอิรักเท่านั้น มันกำลังก่อตัวขึ้นต่อประเทศตุรกีด้วย
กลยุทธ์ “ตีแต่ไม่ล้อม” เป็นสภาพการสงครามที่เห็นได้โดยง่าย มีความรุนแรง และมีความเสียหายมาก ในขณะที่กลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี” เป็นสภาพการสงครามที่เห็นได้ยาก มีพลังแต่ไม่รุนแรง และอาจป้องกันความเสียหายได้โดยการเจรจายุติสงครามโดยไม่ต้องรบ กลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี” นี้แม้ไม่ต้องใช้ทหารรบ หรือยิงกระสุนสักนัดเดียว แต่เป็นกลยุทธ์ที่สามารถเอาชนะโดยไม่ต้องรบ ซึ่งพิชัยสงครามถือว่าเป็นชัยชนะชั้นเลิศด้วย
นักการทหารในอดีตที่นิยมและสันทัดในการใช้กลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี” ประสานกับ “ตีโดยไม่ล้อม” ที่เด่นชัดมากที่สุดก็คือจูกัดเหลียงขงเบ้ง ในยุคสามก๊ก และเหมาเจ๋อตุง ประธานคณะกรรมการการทหารกองทัพปลดแอกประชาชนจีน.

แดเนียล รัสเซล เข้าพบนายกฯ หารือความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ


แดเนียล รัสเซล เข้าพบนายกฯ หารือความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ
Cr:แนวหน้า
16 ธ.ค. 58 เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดโอกาสให้ นายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรี ด้านกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าเยี่ยมคารวะ ในโอกาสนำคณะผู้แทนสหรัฐฯ เข้าร่วมการประชุมหารือยุทธศาสตร์ไทย-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 5 โดยมี นายกลิน ทาวน์เซนด์ เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นายแพทริค เมอร์ฟี อุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าร่วมด้วย
โดยในเวลา 12.45 น. นายแดเนียล รัสเซล เปิดเผยภายหลังการเข้าพบว่า การพบปะกับพล.อ.ประยุทธ์ ในครั้งนี้ เป็นไปด้วยดีโดยเป็นการหารือที่เน้นด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ทั้งบทบาทของไทยในภูมิภาคนี้ และในเวทีโลกรวมถึงความร่วมมือด้านต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศ ซึ่งมีการพูดคุยอย่างเปิดอกในเรื่องของความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ และหนทางในอนาคตข้างหน้า ทั้งยังได้ชี้แจงแนวคิดของสหรัฐที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งความสัมพันธ์ของไทยกับสหรัฐถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าของสหรัฐ จึงอยากให้ไทยเฟื่องฟู มีความมั่นคงมากขึ้น และได้บอกไปยังพล.อ.ประยุทธ์ ว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ให้ความเคารพต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งวัฒนธรรมของไทย และให้ความสำคัญต่อ ด้านการค้าและเศรษฐกิจโดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านความมั่นคง

สหรัฐฯยืนยัน ความร่วมมือกับไทยจะกลับมาปกติ เมื่อไทยมีรัฐบาลประชาธิปไตย



updated: 16 ธ.ค. 2558 เวลา 18:43:41 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันนี้ (16 ธ.ค.2558) นายเเดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ภายใต้กฎหมายสหรัฐฯได้กำหนดถึงขอบเขตที่สหรัฐฯ จะสามารถจัดลำดับความสัมพันธ์ให้แต่ละประเทศ ซึ่งความร่วมมือต่างๆจะกลับมาได้ต่อเมื่อไทยมีรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยกลับคืนมา

ส่วนความร่วมมือทางการทหารนั้น ด้วยข้อจำกัดของสถานการณ์ในไทยจึงทำให้ยากต่อการสนับสนุน  แต่สหรัฐฯพยายามที่จะให้การสนับสนุนโดยพิจารณาเป็นกรณีไป เช่น การฝึกร่วมคอบบร้า โกลด์ ซึ่งจะเน้นให้การช่วยเหลือในเชิงมนุษยธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในอีกหลายมิติที่ไทยและสหรัฐฯจะทำได้ แต่สหรัฐฯ อยากฟื้นฟูความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีให้กลับคืนมาเป็นเหมือนเดิม  


ส่วนการเข้าพบนายกรัฐมนตรีนั้น นายกรัฐมนตรีได้อธิบายสถานการณ์การเมืองและโรดแม็พที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตยของไทย ขณะที่ตนระบุว่า สหรัฐฯยังคงย้ำจุดยืนเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เป็นหลักการสากลที่ทุกคนต้องการ ทั้งนี้ สหรัฐฯ อยากเห็นประเทศไทยมีรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย โดยสหรัฐฯจะเป็นเพื่อนเคียงข้างไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญทั้งภูมิภาคและระดับโลก

พบอีก! บริษัทจัดหารถเก็บขยะ-บรรทุกน้ำ กทม. รายเดียว ยุค'สุขุมพันธ์' 5.1 พันล.

งานเช่ารถเก็บขนมูลฝอย -รถบรรทุกน้ำ กทม.พบเอกชนรายเดียว ได้รับจ้างกว่า 13 สัญญา วงเงินกว่า 5.8 พันล้าน เฉพาะยุค ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร นั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯ 5.1 พันล้าน  

puyydddeedde7 12 15

นอกเหนือจากข้อมูล บริษัท เคพีเอ็น มิวสิค จำกัด ที่ปรากฎชื่อเป็นคู่สัญญาในการจัดหาเครื่องดนตรีให้กับสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาทักษะทางด้านดนตรี จำนวน 3 สัญญา เพียงรายเดียว นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา รวมวงเงินว่าจ้างทั้งหมด 732,100,000 บาท ตามที่สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบและนำมาเสนอไปก่อนหน้านี้ 

 (อ่านประกอบ : เบื้องหลัง! โครงการจัดซื้อเครื่องดนตรี กทม. 'เคพีเอ็น' คว้า 3 สัญญารวด 732 ล.)

งานเช่ารถเก็บขนมูลฝอย และ เช่ารถบรรทุกน้ำ ของ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ในยุคการบริหารงานของ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. นับตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน ก็กำลังถูกจับตามองเช่นกัน

เมื่อปรากฎรายชื่อบริษัทเอกชนรายเดียวเข้ามารับจ้างงานไปทั้งหมด จำนวนกว่า 12 สัญญา รวมวงเงิน 5.1 พันล้าน 

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 57 บริษัท อิทธิพร อิมปอร์ต จำกัด ปรากฎรายชื่อเป็นผู้รับสัญญาว่าจ้างเช่ารถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ ยี่ห้ออีซูซุ รุ่น FTR34Pxxxs จำนวน 220 คัน วงเงิน 1,372,035,060 บาท 

ขณะที่ในช่วงปี 2545 ถึง 2557 บริษัท อิทธิพร อิมปอร์ต จำกัด ปรากฎรายชื่อเป็นผู้รับจ้างจ้างเช่ารถเก็บขนมูลฝอย และ เช่ารถบรรทุกน้ำมาแล้วจำนวน 12 สัญญา รวมวงเงินกว่า 4,504,826.079 บาท (เท่าที่ปรากฎข้อมูลยืนยันเป็นทางการ) มีรายละเอียดดังนี้ 

สัญญาที่ 1 เช่ารถเก็บขนมูลฝอย ยี่ห้อ มิตซูบิชิ รุ่น FX 457 HSRGDH 3 จำนวน 147 คัน ขนาด 5 ตัน ในพื้นที่ กทม. (ฝั่งพระนคร) วงเงิน 732,964,050 บาท  ระยะเวลาสัญญาตั้งแต่ 27 ธ.ค. 45 -26 ธ.ค. 52 

สัญญาที่ 2 เช่ารถเก็บขนมูลฝอยแบบอัด ขนาด 5 ตัน จำนวน 147 คัน เพื่อใช้งานพื้นที่ฝั่งพระนคร วงเงิน 60,616,920 บาท ระยะเวลาสัญญาตั้งแต่ 3 พ.ย. 54 - 31 พ.ค. 55 

สัญญาที่ 3 เช่ารถเก็บขนขยะมูลฝอยแบบอัด ขนาด 2 ตันจำนวน 152 คัน วงเงิน 752,547,744 บาท ระยะเวลาสัญญาตั้งแต่ 28 ธ.ค. 54 - 22 ธ.ค. 55 

สัญญาที่ 4 เช่ารถเก็บขยะมูลฝอยแบบยกภาชนะรองรับขยะมูลฝอยจำนวน 124 คัน วงเงิน 694,107,360 บาท ระยะเวลาสัญญาตั้งแต่  28 ธ.ค. 54 - 27 ธ.ค. 55 

สัญญาที่ 5 เช่ารถเก็บขนมูลฝอยแบบอัด ขนาด 5 ตัน จำนวน 110 คัน วงเงิน 30,370,496 บาท ระยะเวลาสัญญาตั้งแต่ 26 ก.ย. 55 -22 ธ.ค. 55 

สัญญาที่ 6 เช่ารถเก็บขนมูลฝอยแบบอัด ขนาด 2 ตัน จำนวน 84 คัน วงเงิน 22,035,651 บาท  ระยะเวลาสัญญาตั้งแต่ 26 ก.ย. 55 - 22 ธ.ค. 55 

สัญญาที่ 7 เช่ารถเก็บขนมูลฝอยแบบยกภาชนะรองรับมูลฝอยขนาด 8 ลบ.ม. จำนวน 66 คัน วงเงิน 22,079,904 บาท ระยะเวลาสัญญาตั้งแต่ 26 ก.ย. 55 -27 ธ.ค. 55 

สัญญาที่ 8 เช่ารถเก็บขนมูลฝอยแบบอัด ขนาด 5 ตัน จำนวน 147 คัน วงเงิน  50,626,800 บาท ระยะเวลาสัญญาตั้งแต่  26 ก.ย. 55 - 22 ธ.ค. 55 

สัญญาที่ 9 เช่ารถเก็บขนมูลฝอยแบบอัดขนาด 5 ตัน จำนวน 55 คัน เพื่อใช้งานพื้นที่ฝั้งพระนคร วงเงิน 11,055,000 บาท ระยะเวลาสัญญาตั้งแต่ 26 ก.พ. 56 - 21 เม.ษ. 56 

สัญญาที่ 10 เช่ารถเก็บขนมูลฝอย 3 ขนาด 214 คัน วงเงิน 1,377,767,854 บาท  ระยะเวลาสัญญาตั้งแต่ 20 ส.ค. 56 - 20 ส.ค. 63 

สัญญาที่ 11 เช่ารถเก็บขนมูลฝอยแบบอัด ขนาด 5 ตัน จำนวน 90 คัน วงเงิน 1,964,700  บาท  ระยะเวลาสัญญาตั้งแต่ 30 ก.ย. 57 - 12 ต.ค. 57 

สัญญาที่ 12 เช่ารถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ ยี่ห้อ HINO รุ่น 8JMLA จำนวน 120 คัน ในราคาค่าเช่าคันละ 2,440 บาท วงเงิน 748,689,600 บาท ระยะเวลาสัญญาตั้งแต่  22 ต.ค. 57 -22 ต.ค. 64  

นับรวมวงเงินจ้างงาน 12 สัญญา อยู่ที่ 4,504,826.079 บาท 

เมื่อนับรวมสัญญาใหม่ คือ เช่ารถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ ยี่ห้ออีซูซุ รุ่น FTR34Pxxxs จำนวน 220 คัน วงเงิน 1,372,035,060 บาท เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 57 อีก 1 สัญญา 

รวมเป็น 13 สัญญา วงเงินว่าจ้างทั้งหมดอยู่ที่ตัวเลข 5,876,861,139 บาท 

แต่หากนับสัญญาว่าจ้าง ที่เกิดขึ้นในยุค หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2552 จนถึงปัจจุบัน มีจำนวน 12 สัญญา คิดเป็นวงเงิน 5,143,897,089 บาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่า บริษัท อิทธิพรอิมปอร์ต จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2528 ทุนปัจจุบัน 100 ล้านบาท ตั้งอยู่เลขที่ 96/11-12,102-103 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 

แจ้งประกอบธุรกิจบริการให้เช่ารถ จำหน่ายรถและอุปกรณ์ประกอบรถ

ปรากฎชื่อนายจิระชัย เตชะอิทธิพร นายสมาน เตชะอิทธิพร นายวีรชัย เตชะอิทธิพร เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ 

รายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 เมษายน 2558  นายวีรชัย เตชะอิทธิพร  ถือหุ้นใหญ่สุด 300,000 หุ้น มูลค่า 30,000,000 บาท  นายจิระชัย เตชะอิทธิพร และนายสมาน เตชะอิทธิพร ถืออยู่ คนละ 275,000 หุ้น รวมมูลค่า 55,000,000 บาท นางสาวพรพิมล เตชะอิทธิพร นางสาว สุปัญจ์ณี เตชะอิทธิพร ถืออยู่คนละ 50,000 หุ้น รวมมูลค่า 10,000,000 บาท  นาง กัลยาณี เตชะอิทธิพร  นายเจษฎา เตชะอิทธิพร  ถืออยู่คนละ 25,000 หุ้น รวมมูลค่า 5,000,000 บาท 

ล่าสุดนำส่งงบการเงินแสดงผลประกอบการธุรกิจ ปี 2557 แจ้งว่า มีรายได้รวม 1,431,067,045.89 บาท แยกเป็น รายได้จากการขายและบริการ 1,421,799,490.24 บาท รายได้อื่น 9,267,555.65 บาท มีรายจ่ายรวม 1,267,849,204.42 บาท  กำไรสุทธิ 98,894,773.51 บาท  

ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org เคยตรวจสอบพบว่า บริษัท อิทธิพร อิมปอร์ต จำกัด มีความเชื่อมโยงกับ บริษัท เมก้าลิ้งค์ จำกัด ซึ่งได้รับงานว่าจ้างรถเก็บขยะเอกชน จากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร จำนวน  3 ครั้ง วงเงินรวม 622,828,650 บาท เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน   

 บริษัท เมก้าลิ้งค์ จำกัด จดทะเบียนวันที่ 28 เมษายน 2541 ทุนปัจจุบัน   100 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 202/22 หมู่ที่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ  ผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 25 เม.ย.2541 นายจิระชัย เตชะอิทธิพร   นายวีรชัย เตชะอิทธิพร   นายสมาน เตชะอิทธิพร  นายสวัสดิ์ เตชะศรีสุโข    ถือหุ้นใหญ่ (ดูตาราง)  ต่อมาวันที่ 30 เมษายน 2553 นายสวัสดิ์ เตชะศรีสุขโข  528,455 หุ้น หรือ 52.84%  นายประสงค์ โตรักตระกูล  142,681 หุ้น หรือ 14.26%   นาย สุรชัย เตชะศรีสุขโข  นายสุรเดช เตชะศรีสุขโข  คนละ 5.69%    นางยุรีพร พงศ์พันธุ์ภาณี  5.28%

นอกจากนี้ที่ตั้งของบริษัท เมก้าลิ้งค์ จำกัด เลขที่ 202/22 หมู่ที่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ เป็นที่ตั้งเดียวกับบริษัท อิทธิพร บิลดิ้ง จำกัด  ประกอบธุรกิจให้เช่าห้องพัก อาคารชุด เฟอร์นิเจอร์  ซึ่งมีนายจิรชัย เตชะอิทธิพร นาย วีรชัย เตชะอิทธิพร นาย สมาน เตชะอิทธิพร เป็นเจ้าของ 

รายการเช่ารถเก็บขยะของกรุงเทพฯ จาก บริษัท เมก้าลิ้งค์ จำกัด

(อ่านประกอบ : ผ่าสัญญาเช่ารถเก็บขยะกทม.13 ปีจ่ายอื้อ 8.8 พันล.-2 บ.ถือหุ้นไขว้)

ถึงคิวชำแหละงบกสทช.3.3พันล.! เฉพาะค่าจ้างที่ปรึกษา329ล.พิรุธเพียบ!

วันจันทร์ ที่ 08 ธันวาคม 2557 เวลา 20:00 น สำนักข่าวอิศรา

"เอ็กซ์คลูซีฟ" (3): ถึงคิวชำแหละละเอียดงบ กสทช. ปี 2556 ยอดค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน พุ่ง 1,859.72 ล้าน เฉพาะค่าจ้างที่ปรึกษา 329 ล้าน เจียดเงินส่งเสริม-สนับสนุนวัตถุประสงค์กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ แค่ 2 ล้าน -สตง.ตรวจพบพิรุธเพียบ! 
gstcccdjjj
ในการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน ของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประจำปี 2556 ที่จัดทำโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับผลการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของสำนักงาน กสทช. จำนวน 3,311.81 ล้านบาท ประจำปี 2556 ว่า นำไปใช้จ่ายตามภารกิจงานใดบ้างไว้อย่างละเอียด 
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ไล่เลี่ยงข้อมูลทั้งหมดมานำเสนอ ณ ที่นี้
ประการที่ 1 สตง. ระบุว่า งบประมาณจำนวน 3,311.81 ล้านบาท ถูกนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่าย จำนวน 8 ส่วน หลัก คือ
1. ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร จำนวน 1,009.96 ล้านบาท
2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จำนวน 1,859.72 ล้านบาท
3. ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค จำนวน 49.98 ล้านบาท
4. ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 254.44 ล้านบาท
5. ค่าใช้จ่ายสนับสนุนเพื่อการศึกษา วิจัยและพัฒนาโทรคมนาคมฯ จำนวน 106.11 ล้านบาท
6. ค่าใช้จ่ายในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1.8 GHz จำนวน 19.50 ล้าน บาท
7. ค่าใช้จ่ายส่งเสริมและสนับสนุนวัตถุประสงค์กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ จำนวน 2.10 ล้าน บาท 
8. เงินสมทบกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(กระทรวงศึกษาธิการ) 10 ล้าน บาท 
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานปี 2556 จำนวน 3,311.81 ล้านบาท พบว่าประเภทค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีสัดส่วนสูงสุดถึงร้อยละ 56.15 จากปี 2555 ตามด้วยค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ในสัดส่วนร้อยละ 30.50 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายสนับสนุนเพื่อการศึกษา วิจัยและพัฒนาโทรคมนาคมฯ มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 3.21 และค่าใช้จ่ายส่งเสริมและสนับสนุนวัตถุประสงค์กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.06 เท่านั้น
(ดูตารางประกอบ) 
ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน
2556
2555
จำนวนเงิน
ร้อยละ
จำนวนเงิน
ร้อยละ
1. ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
1,009.96
30.50
803.50
30.85
2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
1,859.72
56.15
1,430.85
54.95
3. ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค
49.98
1.51
47.33
1.82
4. ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
254.44
7.68
215.52
8.28
5.ค่าใช้จ่ายสนับสนุนเพื่อการศึกษา วิจัยและพัฒนาโทรคมนาคมฯ
106.11
3.21
81.87
3.14
6.ค่าใช้จ่ายในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1.8 GHz
19.50
0.59
-
-
7.ค่าใช้จ่ายส่งเสริมและสนับสนุนวัตถุประสงค์กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ
2.10
0.06
-
-
8.เงินสมทบกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(กระทรวงศึกษาธิการ)
10.00
0.30
25.00
0.96
รวม
3,311.81
100.00
2,604.07
100.00
ที่มาข้อมูล : จากงบการเงินของกลุ่มงานการคลัง
 
ประการที่ 2 โดยในส่วนงบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ที่ใช้งบมากที่สุด จำนวน 1,859.72 ล้านบาท ถูกนำไปใช้ในภารกิจ 8 ด้าน คือ 
1. ค่าจ้างที่ปรึกษา 329.54 ล้านบาท
2. ค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์ 291.12 ล้านบาท
3. ค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศ 250.26 ล้านบาท
4. ค่าจ้างเหมาบริการ 186.82 ล้านบาท
5. ค่าเช่า 138.10 ล้านบาท
6. ค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม 130.08 ล้านบาท
7. เงินบริจาคและการกุศล 103.82 ล้านบาท
8. อื่น ๆ 429.98 ล้านบาท
(ดูตารางประกอบ)
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
2556
2555
จำนวนเงิน
ร้อยละ
จำนวนเงิน
ร้อยละ
1. ค่าจ้างที่ปรึกษา
329.54
17.72
106.84
7.47
2.ค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์
291.12
15.65
113.67
7.94
3. ค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศ
250.26
13.45
206.57
14.44
4. ค่าจ้างเหมาบริการ
186.82
10.05
161.71
11.30
5. ค่าเช่า
138.10
7.43
107.54
7.52
6.ค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม
130.08
7.00
112.84
7.89
7. เงินบริจาคและการกุศล
103.82
5.58
245.40
17.15
8. อื่น ๆ
429.98 
23.12
376.28
26.29
รวม
1,859.72
100.00
1,430.85
100.00
จากตารางแสดงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานดังกล่าว พบว่า ค่าจ้างที่ปรึกษามีการเบิกจ่ายสูงเป็นอันดับ 1 ค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์มีการเบิกจ่ายสูงเป็นอันดับ 2 และมีค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศมีการเบิกจ่ายสูงเป็นอันดับ 3
สำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในปี 2556 จำนวน 429.98 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ค่าจ้างบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและสัมมนา และค่าวัสดุเป็นหลัก
ประการที่ 3 สำหรับข้อสังเกตเกี่ยวกับค่าจ้างที่ปรึกษาเป็นค่าใช้จ่ายที่มีการจ่ายสูงสุดเป็นอันดับแรก คิดเป็นร้อยละ 17.72 ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ในปี 2556  สตง. พบว่า สำนักงาน กสทช. ได้เบิกจ่ายค่าจ้างที่ปรึกษาเป็นจำนวนเงิน 329.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 จำนวน 222.70 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 208.44
จากการตรวจสอบสัญญาค่าจ้างที่ปรึกษาที่มีจำนวนเงินเกิน 3.00 ล้านบาท จำนวน 25 สัญญา คิดเป็นเงิน 368.06 ล้านบาท พบว่า มีการระบุในสัญญาจ้างที่ปรึกษาที่รวมการศึกษาดูงานในต่างประเทศจำนวน 4 สัญญา เป็นเงิน 53.98 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.67 ของสัญญาจ้างที่ปรึกษาที่ตรวจสอบตัวอย่าง กรณีการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย ตามใบสั่งจ้างเลขที่ พย.(ป)(มส.) 144/2556 ลงวันที่ 27 กันยายน 2556 วงเงินตามสัญญาจำนวน 9.99 ล้านบาท (รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 0.65 ล้านบาท) มีรายละเอียดดังนี้
รายการ
จำนวนเงิน
ร้อยละ
1. ค่าตอบแทนบุคลากร
4,670,000.00
49.98
2. ค่าใช้สอยและการดำเนินการ
2,175,000.00
23.27
3.ค่าใช้จ่ายเดินทางดูงานต่างประเทศ 2 ประเทศ
2,000,000.00
21.40
4. ค่าธรรมเนียม ร้อยละ 5
500,000.00
5.35
รวม
9,345,000.00
100.00
ตารางแสดงรายละเอียดค่าจ้างที่ปรึกษาไม่รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม แยกตามประเภท
ข้อสังเกต
1. จากตารางดังกล่าวจะพบว่า สัญญาจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาแนวทางการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่กลับรวมรายการค่าใช้จ่ายไปดูงานในต่างประเทศถึง 2 ประเทศ เป็นผลให้ค่าใช้จ่ายจ้างที่ปรึกษาเพิ่มขึ้นอีก 2,000,000.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 21.40
ดังนั้น การกำหนดเงื่อนไขในสัญญาให้มีการเดินทางไปดูงานในต่างประเทศรวมกับสัญญาจ้าง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศตามที่ปรากฏในบัญชีจำนวน 250.26 ล้านบาท  แสดงค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจหมายถึงการบิดเบือนค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่อาจไม่มีความจำเป็น เนื่องจากไม่สะท้อนประโยชน์จากผลงานทางวิชาการของที่ปรึกษาอย่างแท้จริงมารวมทำให้ค่าจ้างที่ปรึกษาสูงเกินความจำเป็นอีกด้วย ซึ่งหากนำค่าใช้จ่ายเดินทางดูงานต่างประเทศจำนวน 53.98 ล้านบาท ไปรวมกับค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศตามบัญชีจำนวน 250.26 ล้านบาท จะทำให้มีค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศสูงเป็นจำนวนเงินถึง 304.24 ล้านบาท
การดำเนินการดังกล่าวจึงอาจบ่งบอกถึงความจงใจที่จะมิให้มีการแสดงค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศตามข้อเท็จจริง
จากการตรวจสอบของ สตง. พบว่าเมื่อนำค่าใช้จ่ายเดินทางดูงานต่างประเทศหักออกจากค่าจ้างที่ปรึกษา และนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปรวมกับค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศแล้ว ผลการเปรียบเทียบจะเปลี่ยนแปลงอย่างมีสาระสำคัญ กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเป็นอันดับแรกในกลุ่มค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทันที
2. จากการตรวจสอบสัญญาจ้างที่ปรึกษาที่มีจำนวนเงินเกิน 3.00 ล้านบาท พบว่า บางสัญญาดำเนินการโดยเชิญที่ปรึกษาเพียงรายเดียวยื่นข้อเสนอและขอบเขตในการดำเนินการ เช่น สัญญาเลขที่ พย.(ป)18/2555 โครงการการกำกับดูแลการรักษาความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมในประเทศไทย จำนวนเงิน 10.00 ล้านบาท และ สัญญาเลขที่ พย.(ป)(พท.)128/2556 จ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาการพัฒนาระบบเตือนภัยจากการแพร่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากสถานีโทรศัพท์เคลื่อนที่เกินกำหนดโดยภาคประชาชน จำนวนเงิน 7.90 ล้านบาท ทำให้สำนักงาน กสทช. เสียโอกาสในการเปรียบเทียบคุณสมบัติ ข้อเสนอด้านคุณภาพและด้านราคา ที่จะทำให้สำนักงาน กสทช. ได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งอาจเป็นการเปิดโอกาสในการเอื้อประโยชน์ให้รายใดรายหนึ่งโดยง่าย
3. ระเบียบ กทช. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจ้างที่ปรึกษาที่มิใช่ที่ปรึกษาด้านออกแบบและควบคุมงาน ที่ระบุให้จ้างโดยวิธีตกลงโดยมีวงเงินไม่จำกัด เมื่อเปรียบเทียบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 83 ซึ่งกำหนดให้การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงให้กระทำได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้
(1) เป็นการจ้างที่มีค่างานจ้างไม่เกิน 100,000 บาท
(2) เป็นการจ้างเพื่อทำงานต่อเนื่องจากงานที่ได้ทำอยู่แล้ว
(3) เป็นการจ้างในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่าผู้เชี่ยวชาญในงานที่จะให้บริการตามที่ต้องการมีจำนวนจำกัด ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการด้วยวิธีคัดเลือก และเป็นการจ้างที่มีค่างานจ้างไม่เกิน 2,000,000 บาท
(4) เป็นการจ้างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นใดที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีให้การสนับสนุน ให้ดำเนินการจ้างได้โดยตรง 
จะเห็นได้ว่า สำนักงาน กสทช. ขาดความรัดกุมในการพิจารณาว่าจ้างที่ปรึกษา ซึ่งหากมีการเชิญที่ปรึกษาเพียงรายเดียวในการยื่นข้อเสนอและขอบเขตการดำเนินการ จะทำให้สำนักงาน กสทช. เสียโอกาสในการเปรียบเทียบกับรายอื่น ๆ และอาจมีค่าจ้างที่ปรึกษาที่ไม่เหมาะสมกับปริมาณงาน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความจำเป็น และอาจก่อให้เกิดช่องทางในการเอื้อประโยชน์ในที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. ในการกำหนดเงื่อนไขในการจ้างที่ปรึกษาขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการว่างจ้างพิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นในการเพิ่มเงื่อนไขสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ เนื่องจากจะทำให้ค่าใช้จ่ายจ้างที่ปรึกษาสูงเกินไปและทำให้ผู้บริหารของสำนักงาน กสทช. นำข้อมูลค่าใช้จ่ายไปวิเคราะห์อย่างผิดพลาดส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป
นอกจากนี้เพื่อให้การจ้างที่ปรึกษาเป็นไปอย่างคุ้มค่า สมประโยชน์ ขอให้เลขาธิการ กสทช. สั่งการให้มีการรวบรวมผลงานในการจ้างที่ปรึกษาไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อจะได้นำมาใช้ในการดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. และการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมต่อไป
2. ขอให้ทบทวนระเบียบ กทช. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2548 และระเบียบ กทช. ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 รวมทั้งประกาศที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการจ้างที่ปรึกษา โดยให้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจ้างที่ปรึกษาวิธีตกลงและเงื่อนไขที่สามารถเชิญที่ปรึกษาเพียงรายเดียวทั้งข้อเสนอและขอบเขตในการดำเนินงาน