PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รายงาน เสวนา "วีรชนจีระ บุญมาก กับเจตนารมณ์ 14 ตุลา" และนิด้า

Fri, 2013-10-11 20:04

คณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์จัดอภิปรายในโอกาสรำลึก 40 ปี 14 ตุลา หัวข้อ "วีรชนจีระ บุญมาก กับเจตนารมณ์ 14 ตุลา" ที่นิด้า อธิการบดีร่วมกล่าวเปิดงานชี้เหตุการณ์ดังกล่าวเปิดโอกาสให้ประชาธิปไตยเบ่งบานในสังคมไทย
9 ต.ค.56 เวลา 13.00 น.ที่  ห้องประชุม “จีระ บุญมาก” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) คณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์จัดอภิปรายในโอกาสรำลึก 40 ปี 14 ตุลา หัวข้อ "วีรชนจีระ บุญมาก กับเจตนารมณ์ 14 ตุลา" โดยมี ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานคณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษร จุฬาฯ ศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี อาจารย์คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รวมอภิปราย
ภาพซ้าย นางละเมียด บุญมาก ภรรยาจีระ
ภาพขวา จีระ บุญมาก ขณะถูกยิงเสียชีวิต
อธิการบดีเล่าถึงความผูกพันจิระกับนิด้า และคุณูปการ 14 ตุลา
รศ.ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาตร์ (นิด้า) กล่าวเปิดการอภิปรายด้วยว่า คุณูปการของการต่อสู้ 14 ตุลา 2516 ได้เปิดโอกาสให้ประชาธิปไตยเบ่งบานในสังคมไทย เป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่ส่งผลให้ประชาชนมีความตื่นตัวทางความคิดและมีสิทธิเสรีภาพอย่างกว้างขวาง ความงดงามของ 14 ตุลาไม่เพียงทำให้ประชาธิปไตยปักหลัก สร้างฐานในระบบการเมืองการปกครองของไทยเท่านั้น นักเรียน นิสิต นักศึกษาประชาชนยังได้ศึกษาถึงวีรภาพอันวีระอาจหาญของวีรชน
อธิการบดีนิด้าเล่าถึงจีระ บุญมาก ว่าเป็นนักศึกษาปริญญาโทสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ที่ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณหน้ากรมประชาสัมพันธ์ ในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เวลาประมาณ 12.00 น. เป็นศพแรก ในวันเกิดเหตุจีระพาลูกออกไปเดินเล่นซื้อของ เมื่อกลับมาบ้านได้ฟังวิทยุรายงานข่าวว่านักเรียนนักศึกษากำลังจะก่อการจลาจล และบุกเข้ายึดวังสวนจิตรลดา จีระไม่เชื่อว่าข่าววิทยุจะเป็นความจริง จึงออกจากบ้านเพื่อมาดูสถานการณ์ จีระถือธงชาติเดินเข้าหาทหาร ขอร้องว่าทหารอย่าทำร้ายเด็กนักเรียนที่ไม่มีอาวุธ แต่เขากลับถูกยิงและเสียชีวิตทันที นักศึกษาประชาชนได้นำธงชาติเข้ามาเช็ดเลือดจีระ ห่มร่างด้วยธงชาติ และนำศพขึ้นไปวางบนพานรัฐธรรมนูญที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการแห่ศพข้ามสะพานพระปิ่นเกล้าไปที่สี่แยกบ้านแขก วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี
“ชื่อของวีรชนผู้หาญกล้าจีระ บุญมาก ได้รับการเสนอเป็นชื่อห้องประชุมของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์หรือนิด้า เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจให้นักศึกษา คณาจารย์ และประชาชนทั่วไปได้รำลึกถึง ในโอกาสครบรอบ 40 ปี ของเหตุการณ์ 14 ตุลา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์จึงไม่ลังเลที่จะร่วมกับสมาคมญาติและวีรชน 14 ตุลา 16 และคณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ ซึ่งมีคุณละเมียดบุญมาก ภรรยาของจีระ บุญมากเป็นรองประธานกรรมการในการจัดงานสัมมนาในวันนี้ เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจต่อความหมายที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตย และเจตนารมณ์ของวีรชน เป็นการร่วมบันทึกทางประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งที่ช่วยเตือนใจและเตือนสติพวกเราทุกคน ถึงเรื่องราวในอดีตที่ผูกพันกับเรา” รศ.ดร.ประดิษฐ์ กล่าว
สารคดีจีระ บุญมาก ที่นางละเมียด ภรรยาจีระ นำมาฉายในงาน
ห้องประชุม จีระ บุญมาก กับนิด้า
ศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี กล่าวถึงความสำคัญของห้องประชุมจีระ บุญมาก กับนิด้าเนื่องจากที่นี่เริ่มต้น 2509 ในช่วงแรกสร้างตึกแล้วไม่มีการตั้งชื่อเฉพาะ ห้องประชุมจีระ ในฐานะที่เขาเป็นเป็นอาคารแรกที่มีการตั้งชื่อ ในปี 17 ทำให้เห็นว่าจีระ นักศึกษาปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ 14 ตุลา มีความหมายมากกับนิด้า  ซึ่งหอประชุมดังกล่าวมีชั้นเดียวสามารถรองรับคนได้ 300 คน ใช้ทั้งงานรับปริญญา ปฐมนิเทศ งานสังสรรค์ จนกระทั้งปี 46 จึงมีการรื้อเนื่องจากไม่สามารถรองรับนักศึกษาที่มีมากขึ้น จนกระทั้งมีความคิดที่จะสร้างสร้างหอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา ที่จะรองรับคนได้มากขึ้น ดังนั้นภาระหอประชุมจีระฯ จึงลดลง อย่างไรก็ตามห้องประชุมนี้เป็นประโยชน์กับนิด้า และทุกคนที่มาก็รู้จักจีระจากห้องประชุมนี้
ศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ กล่าวด้วยว่าตนมีส่วนสำคัญในการทุบห้องประชุมจีระ ในปี 47 เนื่องจากขณะนั้นเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวางแผน เพื่อสร้างอาคารที่รองรับนักศึกษาที่มากขึ้น โดยในครั้งนั้น มีอาจารย์หลายคนก็ทักท้วงว่าจะทำให้ชื่อ “จีระ” หมายไปจากนิด้า แสดงให้เห็นว่าชื่อนี้มีความสัมพันธ์กับนิด้าย่างมาก และตามโครงการที่สร้างตึกใหม่ก็มีแผนไว้แต่แรกว่าจะต้องมีห้องประชุมจิระอยู่ด้วย
ศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี
จีระ กับ 14 ตุลา เคลื่อนไหวด้วยความเสียสละและสันติ
เหตุที่ชื่อจีระ ถึงเป็นที่รู้จักคู่กับ 14 ตุลา ศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ มองว่า เนื่องจากเวลาคนเราทั่วไปจะจำเหตุการณ์อะไรก็จะโยงภาพเข้ากับตัวเอง ถ้านึกถึงภาพ 14 ตุลา หลายคนจะเห็นหลายอย่าง มี 2 ภาพที่เห็นคือ ภาพ จีระ บุญมาก กับธงชาติที่เปื้นเลือด อีกภาพเป็น ภาพคุณก้านยาว (ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ มีชื่อเดิมว่า ประพัฒน์ แซ่ฉั่ว)ดังนั้นคุณจีระยังอยู่ในจินตภาพของคนกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
ก่อนถูกยิงคุณจีระ เขาออกจากบ้าน หลังจากฟังข่าวกรมประชาสัมพันธ์ แล้วคนรู้สึกว่าไม่จริง เมื่อไปที่เกิดเหตุเห็นว่าช่ากลกับทหารเผชิญหน้ากัน คุณจีระต้องการให้ช่างกลใจเย็นๆ แล้วเอาส้มกับธงชาติ เดินไปหาทหาร ซึ่งสะท้อนว่าประชาชนนั้นต้องการสันติ ต้องการปรองดอง ดังนั้นเมื่อดูจาก จีระ แสดงให้เห็นว่าเป็นกระแสที่รักความเป็นธรรม ประชาธิปไตยด้วยใจบริสุทธิ์ และสันติ บวกกับเป็นนักศึกษาปริญญาโท มีครอบครัวแล้ว ทำให้คนเห็นถึงความเสียสละสู้เพื่อประชาธิปไตย จึงไปกระตุ้นความรู้สึกกับคนอื่น คุณจีระจึงเป็นจิตภาพสะท้อนคนที่เคลื่อนไหวด้วยความเสียสละและสันติ
การเปลี่ยนแปลง 3 ด้านหลัง 14 ตุลา
ศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ กล่าวว่าหลังเหตุการณ์ 14 ต.ค. สร้างการเปลี่ยนแปลงกับประเทศไทยใน 3 ด้าน
  1. วัฒนธรรม ในส่วนที่เปลี่ยนอย่างต่อเนื่องคือความรู้สึกที่ว่าสังคมไทยต้องมีประชาธิปไตย ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไม่ต่อเนื่องคือเรื่องของจิตใจนักศึกษาช่วงนั้นกระแสหลักคือมีจิตอาสา มีส่วนช่วยให้คนรุ่นนี้มีจิตใจสาธารณะที่กระตือรือร้นเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม แต่สิ่งนี้ไม่ต่อเนื่อง ปัจจุบันนักศึกษามีลักษณะที่เหมือนก่อน 14 ตุลา คือเป็นแบบสายลมแสงแดด
  2. มหาวิทยาลัยรับแนวคิดของประชาธิปไตยมาใช้ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร จากที่ก่อนหน้านี้ทหารจะเข้ามาบริหารมหาวิทยาลัย โดยนิด้าเป็นที่แรกที่มีการสรรหาอธิการและมีการเลือกตั้งคณะบดี ทำให้มีบรรยากาศที่มีความเป็นอิสระในการบริหารจากรัฐบาลขึ้น มีอิสระในทางวิชาการ ทหารหมดบทบาทลงในมหาวิทยาลัย
  3. เศรษฐกิจ โดย 14 ต.ค. ทำให้ไทยปฏิรูประบอบเศรษฐกิจโดยปล่อยให้ตลาดเป็นเสรี เพราะทหารถูกลดบทบาทลงในทางเศรษฐกิจ
14 ตุลา กับการพัฒนา
ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย กล่าวว่าคุณจีระเป็นคนต้องการความสันติ ไม่ต้องการความรุนแรง ถือธงเพื่อที่จะไปเจรจากับทหาร นิด้า ตั้งขึ้นโดยเจตนารมณ์ที่ต้องการให้การศึกษาเกี่ยวกัยการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตั้แต่เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ดันนี้ความต้องการของคนที่ทำงานหรือข้าราชการ คือต้องกาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา คุณจีระ เมื่อมาเรียนนิด้า ก็ได้ความรู้ความคิดที่จะมีส่วนร่วมให้การพัฒนาประเทศ แต่เนื่องจากระบอบการเมืองการปกครองเป็นเผด็จการทหาร เมื่อเริ่มต่อสู้ 14 ต.ค. ดังนั้นคุนจีระจึงสนใจและเมื่อได้ยินกรมประชาสัมพันธ์คุณจีระก็ไม่เชื่อจึงออกจากบ้านไปที่ชุมนุม
ผลของ 14 ตุลา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลายประการ เช่น
  1. ทำให้ประชาชนมีเสรีภาพและตื่นตัวทางการเมือง ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อสิทธิประโยชน์ จะเห็นได้ว่าหลัง 14 ต.ค. กรรมกรชุมนุมกันมากขึ้น ชาวนาตื่นตัวมากขึ้น
  2. เป็นการไปทุบหัวผู้ปกครองจนแตก หลัง 14 ตุลา ผู้ปกครองไทยไม่สามารถปกครองเหมือนเมื่อก่อนที่คนๆ เดียว สามารถปกครองได้ยาวนาน ทำให้ชนชั้นปกครองไทยแตกไม่เป็นเอกภาพ ดังนั้นชนชั้นปกครองจึงไม่สามารถทำได้เหมือนก่อนหน้าที่จะเป็นเผด็จการระยะยาว
  3. ในทางเศรษฐกิจ 14 ตุลา ทำลายระบบการผูกขาดตัดตอน ของทุนขุนนาง เปิดทางให้ทุนขนาดเล็กและกลางสามารถใหญ่ขึ้น เพราะเมื่อก่อนนั้นทหารจะเป็นประธานบริษัท หรือแม้แต่มหาวิทยาลัย ทหารก็มาเป็นอธิการบดี
รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
เกร็ดบางเรื่องในทางประวัติศาสตร์ 14 ตุลา
รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ กล่าวถึงเกร็ดบางเรื่องในทางประวัติศาสตร์ในขณะนั้นเรารู้สึกว่ารัฐบาลเผด็จการจะมาทำลายความเป็นอิสระของศาล คิดว่า ปัญหาหลักมาจาก รัฐบาลถนอม ประภาส ภาพพจน์ไม่ดี แล้วหลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เสนอกฏหมายโบว์ดำ จากการที่รัฐบาลขณะนั้นไม่สามารถควบคุมข้าราชการยุติธรรมได้ ขณะที่ข้าราชการอื่นรัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งโยกย้ายได้ ขณะที่ข้าราชการยุติธรรม ต้องปฏิบัติตาม กต. ตัดสิน แม้แต่ทหารขณะนั้นยังสามารถควบคุมได้ ดังนั้นหลวงจำรูญจึงเสนอให้ข้าราชการอยู่ในระบบเดียวกันหมด แต่ถูกคัดค้าน ในที่สุดก็ต้องถอย จึงปิดฉากกฎหมายโบว์ดำและหลวงจำรูญ
เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวของ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยรามคำแห้ง โดยเมื่อปี 2513 มหาลัยทั่วประเทศรับนักศึกษาทั้งระบบ ได้เพียงหมื่นคน ขณะที่นักเรียนจบ ม.ศ. 5 27,000 คน แสดงว่ามี คนที่ไม่ได้เรียกต่อถึงหมื่นเจ็ดพันคน จึงไม่แปลกที่นักเรียนขณะนั้นสอบเข้ามหาลัยไม่ได้ก็กินยาตาย ดังนั้นโครงการที่นักการศึกษากลุ่มหนึ่งที่ ดร.สัก เป็นแกนนำ คือการตั้ง ม.ราม จึงมีความสำคัญต่อการศึกษา และนักศึกษาที่ รามฯ ก็เป็นกำลังสำคัญของการเคลื่อนไหว 14 ตุลา แต่การเมืองก่อน 14 ตุลา ดร.สักก็ต้องเข้าหาผู้มีอำนาจหรือประภาส เพื่อผลักดันโครงการมหาวิทยาลัยรามฯ จนผ่าน แต่ก็กลายเป็นปัญหาการเมืองต่อมา
มองถนอมอีกมุม
รศ.ดร.สุธาชัย กล่าวว่าเมื่อมองทางประวัติศาสตร์ ย้อนกลับไปดูการบริหาร ประเทศสมัยถนอมก็ไม่ได้เลวร้ายนัก จอมพลถนอม บริหารประเทศก่อนที่จะมาเป็นนายก เพราะจอมพลสฤษดิ์ ป่วย จอมพลถนอม จึงบริหารราชการแทนในฐานะรองนายกคนที่ 1 และเรื่องภาพพจน์ทุจริตนั้นไม่ได้มีตัวเลขที่แสดงว่าถนอมร่ำรวยผิดปกติ แต่จุดอ่อนที่ทำให้ถนอนพังคือ หนึ่งการรัฐประหารตัวเอง ทำให้ความขัดแย้งทั้งหมดไปรวมศูนย์อยู่ที่ถนอม สองคือการโปรโมทณรงค์ กิตติขจร มากเกิดไป ภาพพจน์ของณรงค์จึงมาทำลายถนอมเอง ในความเป็นจริงภาพถนอมนั้น มีภาพของความเป็นเป็นนายกคนซื่อเมื่อครั้งขึ้นมาสู่อำนาจแรกๆ ซึ่งถ้าตายก่อน 14 ตุลา นั้นก็อาจมีภาพเป็นฮีโร่ บังเอิญ อยู่มาถึงปี 16 ภาพจึงเป็นผู้ร้าย ดันั้นหากมองประวัติศาสตร์แล้วเข้าใจใหม่มันมีลัษณะพิเศษอยู่ ประวัติศาสตร์ที่มันจริงมันอาจเป็นอีกเรื่องกับที่เป็นอยู่เพราะมันถูกตีความอธิบายด้วยการเมือง
กลุ่มต้านถนอม ที่ไม่ได้มีเพียงนักศึกษา
รศ.ดร.สุธาชัย กล่าวถึงขบวนการ 14 ตุลา ว่าแม้ขบวนการนักศึกษาจะสำคัญ แต่จริงๆ มันเกิดจากกลุ่มทางการมืองที่ต้านถนอมอยู่ 3 กลุ่ม คือ
  1. พวกก้าวหน้า รวมถึงขบวนการนักศึกษาฝ่ายซ้าย นักประชาธิปไตย
  2. กลุ่มศักดินา หรือโมนากี้เซอร์เคิล กลุ่มนิยมเจ้า กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์ 2 ลักษณะกับฝ่ายถนอมหรือขุนศึก หนึ่งคือการร่วมมือ โดยขุนศึกเอากลุ่มนี้มาเป็นกำแพงต้าน ฝ่ายก้าวหน้า แต่ฝ่ายอนุรักนิยมกลับเล่นบทพระรอง จึงมีความขัดแย้งจากการที่ต้องการเล่นบทหลัก และหลังจากปี 11 ความขัดแย้งก็มีมากขึ้น สถาบันกษัติรย์มีควาใกล้ชิดกับขบวนการนักศึกษามากขึ้น เสด็จทรงดนตรีตามมหาวิทยาลัย มีจำนวนหนึ่งเข้าเฝ้า หลายเรื่องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่ทันยุคสมัย ดังนั้น ขบวนการนักศึกษายังไม่ได้เป็นฝ่ายก้าวหน้า ก่อนวันที่ 14 ตุลา นักศึกษาที่ถูกจับและได้รับการปล่อยตัว แต่ยังไม่มาที่ชุมนุม ช่วงบ่าย วันที่ 13 ตุลา นักศึกษาที่ออกมาจากคุกนั้นก็ไปรอเข้าเฝ้า จึงกล่าวได้ว่านักศึกษาในปี 16 ไม่ได้เป็นซ้าย หรือขบวนก้าวหน้า
  3. ทหารไม่เป็นเอกภาพ มีทหารกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้เอาถนอม-ประภาส เช่น พลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ ที่เคยเป็นคนใกล้ชิด ปรีดี แม้แต่ถนอม-ประภาสจอมพลสฤษดิ์ ก็ไม่ได้ไว้วางใจ
ดังนั้น 14 ตุลา จึ้งเป็นความขัดแย้งที่ซับซ้อน นักศึกษาจึงเป็นผู้ที่มาถูกจังหวะ จากความขัดแย้งที่เขม็งเกลียวนี้
ห้องประชุมจีระฯ ชั้น 3 อาคารสยามบรมราชกุมารี
นอกจากห้องประชุมจีระ บุญมาก เปลี่ยนจากห้องประชุมที่เป็นชั้นเดียวมาอยู่ชั้น 3 อาคารสยามบรมราชกุมารี ที่สร้างใหม่แล้ว ผู้สื่อข่าวสอบถามนางละเมียด บุญมาก ภรรยาจีระ พบว่าเธอยังทำงานเป็นพยาบาลอยู่ที่ห้องพยาบาลชั้นล่างอาคารกีฬาและสโมสรนักศึกษาในนิด้าด้วย
ภายในห้องประชุมจีระฯ

ชงเก็บค่าน้ำคลองชลประทาน เข้าครม.อาทิตย์หน้า

ประชุม ครม 15 ตุลา 2556 จะมีการพิจารณา ร่างกฎกระทรวง เก็บค่าน้ำชลประทาน ตามที่กระทรวงเกษตรเสนอ ชาวนานา ชาวสวน ตามแนวคลองชลประทาน เตรียมตัวจ่ายค่าน้ำ ในการเพาะปลูก

ได้แก่

1.ทางน้ำชลประทานคลองส่งน้ำ สายใหญ่ฝั่งซ้าย คลองน้ำแดง จากกิโลเมตรที่ 0.000 ในท้องที่ตำบลพรุเตียว อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ถึงกิโลเมตรที่ 9.800 ในท้องที่ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม

จังหวัดกระบี่

2. ทางน้ำชลประทาน อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ในท้องที่ตำบลท่าเยี่ยม อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

3. ทางน้ำชลประทาน อ่างเก็บน้ำห้วยทราย ในท้องที่ ตำบลละลมใหม่พัฒนา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

4. ทางน้ำชลประทานแม่น้ำยม จากศูนย์กลางฝายแม่ยม ในท้องที่ตำบลบ้านหนุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ไปทางเหนือน้ำ ถึงกิโลเมตรที่ 0.760 ในท้องที่ตำบลบ้านหมุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ไป

ทางท้ายน้ำ ถึงกิโลเมตรที่ 0.900 ในท้องที่ตำบลบ้านหมุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน

5. ทางน้ำชลประทานคลองท่าแนะ จากศูนย์กลางฝายคลองท่าแนะกิโลเมตรที่ 0.000 ในท้องที่ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ไปทางเหนือน้ำถึงกิโลเมตรที่ 4.200 ในท้องที่ตำบลเขาย่า

อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ไปทางท้ายน้ำถึงกิโลเมตรที่ 1.100 ในท้องที่ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

6. ทางน้ำชลประทาน อ่างเก็บน้ำหนองสิ ในท้องที่ตำบลสิ และตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

7. ทางน้ำชลประทานแม่น้ำน่าน (ลำน้ำเดิม) จากกิโลเมตรที่ 0.000 ในท้องที่ตำบลหนองแขม และตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ถึงกิโลเมตรที่ 5.150 ในท้องที่ตำบลพรหม

พิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

8. ทางน้ำชลประทานแม่น้ำนครนายก จากศูนย์กลางอ่างเก็บน้ำ เขื่อนขุนด่านปราการชล กิโลเมตรที่ 0.000 ในท้องที่ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ถึงกิโลเมตรที่ 33.000 ใน

ท้องที่ตำบลนครนายก อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

9. ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำ เขื่อนขุนด่านปราการชล ในท้องที่ตำบลนาหินลาด อำเภอปากพลี และตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

10. ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในท้องที่ตำบลลำนารายณ์ ตำบลท่าดินดำ ตำบลชัยบาดาล ตำบลม่วงค่อม ตำบลมะกอกหวาน อำเภอชัยบาดาล ตำบลท่าหลวง ตำบลแก่งผักกูด

อำเภอท่าหลวง ตำบลโคกสลุง ตำบลมะนาวหวาน ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และตำบลวังม่วงตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี

คณะกรรมการสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมัยที่ 2 ชุดที่ 3

คณะกรรมการสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมัยที่ 2 ชุดที่ 3 (ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2556)

คณะกรรมการสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมัยที่ 2 ชุดที่ 3  (ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน  2556)
ประธาน สภาวิชาชีพข่าวฯ
นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์  รักษาการผู้อำนวยการสำนักข่าว สถานีโทรทัศน์ Thai PBS
รองประธานคนที่ 1
นายวิวัฒน์ จันทสุวรรณโณ รองหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
รองประธานคนที่ 2
นายเจษฏา อนุจารี   อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงานปฏิบัติการ สภาทนายความ   
เลขาธิการ
นายนิพนธ ตั้งแสงประทีป  หัวหน้ากองบรรณาธิการ ข่าวภาคกลางฝ่ายข่าวภูมิภาคสำนักข่าวไทย อสมท.
เหรัญญิก
น.ส.ชไมพร คงเพชร  ผช.กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น
กรรมการ
น.ส.สนมพร ฉิมเฉลิม   ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
กรรมการ
นายศักดา  จิรัธยากูล  บรรณาธิการบริหาร  สำนักข่าว ไอเอ็นเอ็น จำกัด
กรรมการ
นายปฏิวัติ วสิกชาติ     ผู้จัดการส่วนงานข่าว สถานีข่าว TNN 24
กรรมการ
นายฉัตรชัย ภู่โคกหวาย  ผช.กรรมการผู้อำนวยการสำนักข่าว สถานีโทรทัศน์และสำนักข่าวT news
กรรมการ
นายสุรชา  บุญเปี่ยม  Executive News Producer  สถานีโทรทัศน์ Spring News
กรรมการ
นายประทีป คงสิบ   ผู้อำนวยการฝ่าย Content & Program สถานีโทรทัศน์ VOICE TV
กรรมการ
นายวีระพงษ์ ลิ้มธนสาร   ผู้อำนวยการข่าว  มหาชัยเคเบิล
กรรมการ
นายอนุพงษ์  ไชยฤทธิ์  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ  บริษัท มีเดียสตูดิโอ จำกัด
กรรมการ
นางสาวเยาวลักษ์ อนุพันธุ์  สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
กรรมการ
นายอรินทร์  จิรา  ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนประเทศไทย
และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กรรมการ
ศ.ดร.ถวิล พึ่งมา   อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
กรรมการ
น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล    กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
กรรมการ
ผ.ศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล สึคาโมโต้   อาจารย์ภาควิชาวารสารสนเทศ
คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรรมการ
นพ.สุริยเดว ทรีปาตี  ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล    

สื่อควรตระหนัก ภาษานอกหรือจะสู้ภาษาไทยดั้งเดิม

โพสโดย: journalism108 เมื่อ 2 ส.ค. 2556, 14:47

ปัจจุบันภาษาต่างประเทศเข้ามามีบทบาทในการสื่อสารมากขึ้น จนบางทีเราอาจหลงลืมการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ใช้ภาษาไทยปนอังกฤษหรือใช้สำนวนต่างประเทศ ไม่เพียงแต่บุคคลทั่วไปเท่านั้นด้านสื่อมวลชนเองก็มีการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องเช่นกัน
อาจารย์อนุสรณ์ ศรีแก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การใช้ภาษาของสื่อมวลชนปัจจุบันถือเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านภาษาในยุคโลกไร้พรหมแดน การใช้ภาษาจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย สื่อจึงไม่ได้ตระหนักเรื่องการใช้ภาษาที่ถูกต้องเท่าที่ควร ในเรื่องของคำศัพท์บางคำซึ่งเป็นคำศัพท์ใหม่ยังไม่มีการบัญญัติหรือเป็นศัพท์เฉพาะ กรณีนี้อาจต้องมีการยกเว้น ฉะนั้นศัพท์คำใดที่เป็นที่ยอมรับ และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป หรือเป็นคำศัพท์ที่ใช้สื่อความหมายได้ดีกว่าก็สามารถนำมาใช้ได้การใช้ภาษาไทยปนภาษาอังกฤษของสื่อ จะส่งผลต่อวัฒนธรรมการใช้ภาษาของคนในสังคม โดยเฉพาะสื่อออนไลน์เพราะควบคุมการแสดงความคิดเห็นและการใช้ภาษาได้ยากเนื่องจากมีลักษณะครอบคลุมกว้างขวาง สื่อลักษณะนี้ผู้ใช้สามารถเป็นได้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารในบุคคลเดียวกัน ต้องเริ่มจากการตระหนักถึงการใช้ภาษาจากตัวเราเองก่อน
ด้านอาจารย์จิรพร รักษาพล หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การใช้ภาษาที่ถูกต้องควรใช้ในลักษณะภาษาเดียว แต่ปัจจุบันมีการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศจนบางครั้งเรามีการใช้ภาษาปนกันอย่างไทยคำ อังกฤษคำ อาจารย์จิรพร ยังกล่าวต่อว่า ความรู้ด้านภาษาของบุคคลที่จะมาเป็นสื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสื่อมีอิทธิพลต่อสังคม หากสื่อรู้จักเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีทางสังคม แต่ปัจจุบันสื่อส่วนใหญ่ใช้ภาษาไม่เหมาะสม โดยเฉพาะคำแสลง จึงมองว่าการทำลายภาษาไทยส่วนหนึ่งมาจากการใช้ภาษาของสื่อมวลชน“ปัจจุบันคนในสังคมนิยมใช้ภาษาที่ง่าย และตัดทอนคำให้สั้นลง เกิดการกร่อนคำทั้งการพูด การเขียน โดยไม่สนใจว่าภาษาที่ถูกต้องเป็นอย่างไร  หากคนส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญของภาษาไทย การแก้ไขให้ถูกต้องจึงค่อนข้างยาก” อาจารย์จิรพร กล่าวนักสื่อสารจำเป็นต้องใช้ภาษาไทย ถ้าหากยังคงไม่มีจิตสำนึกในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง สื่อจะเป็นตัวทำลายภาษาได้รวดเร็วและง่ายที่สุด อาจารย์จิรพร กล่าวทิ้งท้าย
ส่วนนายศักดา จิวัธยากูล บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น กล่าวว่าการใช้ภาษาของสื่อมวลชนในกรณีส่งสารไปถึงผู้รับสาร อาจมีความจำเป็นที่สื่อต้องใช้ภาษาในลักษณะนั้น แต่ไม่ควรมากเกินไปจนผู้รับสารไม่เข้าใจหรือเข้าใจได้ยาก ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงความสามารถของผู้รับสารในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ปัจจุบันการที่สื่อใช้คำทับศัพท์หรือภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ มักเกิดขึ้นบ่อย เพราะเนื้อหาบางอย่างจำเป็นต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศ 
นายศักดา กล่าว “ต้องยอมรับว่าในอดีตการใช้ภาษาไทยของสื่อให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพการใช้ภาษาที่ถูกต้องมากกว่าปัจจุบัน โดยใช้ภาษาที่มีลักษณะแยกชัดเจนเป็นหลักเกณฑ์ในการนำเสนอข่าว เรื่องความถูกต้องในการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน โดยเน้นเนื้อหาที่เข้มข้นและรัดกุม แต่อย่างไรก็ตามสื่อปัจจุบันมีจุดเด่นในด้านความรวดเร็ว ทั้งการรับสารและการส่งสาร แต่จุดอ่อนที่มีมากขึ้นคือความถูกต้องของภาษานั้นเอง” นายศักดา กล่าวต่ออีกว่า ปัจจุบันการใช้ภาษาไทยปนภาษาอังกฤษส่งผลเสียต่อวัฒนธรรมด้านภาษาไทย ส่อความรุนแรง ส่อเสียด และเร้าอารมณ์ผู้อ่าน ถือเป็นสิ่งที่ไม่สมควร นอกจากนี้การใช้ภาษาไทยในสังคมออนไลน์ พบว่าเป็นภาษาที่ผิดไปจากรูปแบบดั้งเดิม ดังนั้นต้องแยกระหว่างการใช้ภาษาในพื้นที่สาธารณะกับภาษาที่ใช้ในสังคมออนไลน์ เพราะภาษาในสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการสนทนาผ่านช่องทางส่วนบุคคล จึงไม่ถือว่าเป็นทางการ อยากฝากเรื่องความถูกต้อง ไม่บิดเบือนข้อมูลและไม่ว่าจะเป็นภาษาใด หากสามารถสื่อสารไปถึงมวลชนได้อย่างเข้าใจง่ายและเป็นประโยชน์ถือว่ามีความสมบูรณ์ทั้งสิ้น บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น กล่าวทิ้งท้าย 
ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์รังสิต ฉบับ 64 ประจำวันที่ 30 สิงหาคม- 5 กันยายน 2555 หน้าที่ 10-11
ประกอบการเรียนรายวิชา : JRN450 การผลิตหนังสือพิมพ์ (Newspaper Production)
Tags: 
- See more at: http://www.jr-rsu.net/article/250#sthash.uTS88Qgt.dpuf

แผนที่ใหม่นาซา : อีก 20 ปีกรุงเทพ…เมืองบาดาล

Fri, 2013-10-11 18:50

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์

ท่ามกลางการรณรงค์คัดค้านและรณรงค์เห็นด้วยกับการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่ใน เขตภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบนของเมืองไทยในขณะนี้นั้น พื้นอื่นของเมืองไทยที่สัมพันธ์กับพื้นที่ที่จะมีการสร้างเขื่อนโดยเฉพาะในเขตภาคกลางและภาคกลางตอนล่าง รวมถึงกรุงเทพด้วยเลยไม่ค่อยมีใครพูดถึง

นั่นหลังจากที่ความรู้สึกหวาดผวาในเรื่องภัยพิบัติจากภัยธรรมชาติ “น้ำท่วม”ในปี 2554 เริ่มซาลง  ไป เหลือไว้เพียงความหวาดกลัวรายปีจนกลายเป็นความปกติของความกลัวไป โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางที่ได้รับผลกระทบประจำทุกปี อย่างเช่น พื้นที่อยุธยา สุพรรณบุรี อ่างทอง กรุงเทพและปริมณฑล   ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าพื้นที่ ดังกล่าวนี้เป็นพื้นที่รับน้ำ สุ่มเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี

เมื่อมีการพูดถึงผลกระทบของเขื่อนแม่วงก์ แต่ไม่มีการพูดถึงปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง กระทั่งปัญหา น้ำทะเลหนุน น้ำเค็มไหลย้อนเข้ามาตามแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเป็นเรื่องแปลกประหลาดอย่างยิ่ง

เพราะทั้งหมดล้วนเชื่อมโยงกันในส่วนของที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ที่สำคัญ โครงการบริหารจัดการน้ำของเมืองไทย ไม่ได้มองเชื่อมโยงถึงระบบผังเมือง โครงการก่อสร้าง และโครงการระบบขนส่งมวลชนที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ เช่น รถไฟฟ้า รางรถไฟคู่ขนานหรือโครงการรถไฟความเร็วสูง

ถามว่าสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับสถานการณ์น้ำอย่างไร คำตอบก็คือ หากกรุงเทพและพื้นที่ปริมณฑล เกิดมีปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้งและเรื้อรัง จะมิกลายเป็นว่าเมกกะโปรเจคท์เหล่านี้ เป็นการลงทุนที่เสียเปล่า ไปดอกหรือ?

เมื่อไม่นานมานี้ที่องค์การบริหารอวกาศและการบินของสหรัฐ(NASA) ได้แสดงให้เห็นว่าบริเวณใด บ้างของโลกจะมีปัญหาน้ำทะเลท่วมในอนาคตอีกประมาณ 20 ปี โดยโครงการวิจัย Water Level Elevation Map (Beta)ของนาซาได้ทำสำเร็จลงแล้ว (ดูประกอบงานวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัย Hawaii Manoa พยากรณ์น้ำจะท่วมในแถบประเทศเขตร้อน - tropical zone หลายประเทศ บางประเทศสถานการณ์อาจมาถึงเร็วแค่ปี 2020 )

ความหมายก็คือ องค์การนาซา ได้เปลี่ยนแผนที่โลกเสียใหม่ ภายหลังการคาดคะเนการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลบริเวณต่างๆของโลก

ข้อมูลของนาซ่าระบุว่า ในทุกๆปีจะมีคนมากกว่า 520 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากปัญหา น้ำท่วม มีผู้เสียชีวิตถึงประมาณ 25,000 คนต่อปี นอกเหนือจากความเสียหายด้านทรัพย์สินอื่นที่เกิด
ขึ้นกับ ผู้ประสบชะตากรรม โดยประเทศในเอเชียได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมมากที่สุด ในอัตราส่วน ประมาณกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ของความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมทั่วโลก สูญเสียมูลค่าทาง
ด้านเศรษฐกิจ มากกว่า 140 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

United Nations University (UNU)  ซึ่งเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 1973 มีสำนักงานใหญ่ที่โตเกียว มองว่าการเพิ่มของผลกระทบที่เลวร้ายของปัญหาน้ำท่วมเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ ภาวะโลกร้อน ทำให้ระดับน้ำ น้ำแข็งละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นกับสาเหตุอีกประการหนึ่งคือ  การตัดไม้ทำลาย ป่าที่อยู่ทั่วโลก เพราะป่าไม้เป็นตัวการสำคัญอย่างหนึ่งในการช่วยสกัดหรือผ่อนปรนไม่ให้ปัญหาน้ำท่วมมี ความรุนแรง

ดร. Janos Bogardi  ผอ.สถาบัน UNU-EHS บอกว่า เวลานี้แต่ละประเทศต้องเพิ่มการคำนวณค่าความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วมในการทำโครงการระดับนโยบายต่างๆเข้าไปด้วย รวมถึงการกำหนด มาตรการและเครื่องมือในการเตรียมการป้องกันอุทกภัย เช่น ระบบการเตือนภัย ระบบการช่วยเหลือ รวมถึงระบบการประมวลข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ป้องกันและช่วยเหลือเป็นไปอย่างทันท่วงที นอกเหนือไป จากการที่หน่วยงานระดับนานาชาติอย่างเช่น องค์การสหประชาชาติ ต้องช่วยกันรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึก สากล (international mindset) ซึ่งหมายถึงการเกิดจิตสำนึกในเรื่องอุทกภัยอย่างพร้อมเพรียงกันหลาย ประเทศไม่ใช่แค่เพียงประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น

ในส่วนของประเทศไทยเอง  (ตามแผนที่ฉบับใหม่ของนาซา ซึ่งเป็นที่รู้กันในบรรดานักซอฟท์แวร์ ที่ทำงานเชื่อมโยงกับข่ายดาวเทียมของนาซ่า รวมถึงผู้คนที่สนใจปัญหาโลกร้อน แถวซิลิคอนวัลเลย์และซานฟรานซิสโก) กรุงเทพและปริมณฑล  รวมถึงอีกหมายเมืองใกล้เคียงบางส่วนซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนมาก อย่างเช่น อยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม จะจมอยู่ใต้น้ำ และแผนที่ใหม่ของนาซ่าฉบับเดียวกันนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เป็นผลของการพยากรณ์ด้านสมุทรศาสตร์และด้านธรรมชาติอื่นที่เกี่ยวข้องในช่วงประมาณภายในสองทศวรรษหลังจากนี้

สิ่งที่ทำให้เกิดอาการช็อกจากแผนที่ฉบับใหม่ของนาซ่า ก็คือ จะไม่เหลือเมืองกรุงเทพและปริมณฑลไว้ในแผนที่

ขณะที่ฝ่ายประเทศไทยแทบไม่ใส่ใจถึงปัญหาการยุบตัวของดินตะกอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจากภาวะโลกร้อนกันกันเลย หลังจากที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งล่าสุด

ในปี 2554 แล้วสถานการณ์และความตื่นตัวก็ลดระดับความสนใจปัญหาด้านนี้ลง ไม่มีการทำงานด้านการวิจัย และการจัดการวางแผนแก้ไขปัญหาในระยะยาว เช่น โครงการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ในอ่าวไทย หรือการสร้างเขื่อนตามแนวชายฝั่ง ไล่ตั้งแต่จังหวัดสมุทรปราการไปจนถึงจังหวัดชายทะเลอย่างสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น

รัฐบาลไทยยังมุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เหนือกรุงเทพและปริมณฑล โดยไม่มีการบริหารจัดการด้านสมุทรศาสตร์คู่ขนานกันไป ซึ่งหากไม่มีการวางแผนจัดการปัญหาด้าน สมุทรศาสตร์ในเชิงของการป้องกัน ก็เป็นไปได้ว่าคำพยากรณ์บนแผนที่ฉบับใหม่ (กรุงเทพ) ของนาซ่าในส่วนประเทศไทยจะกลายเป็นความจริงขึ้นมา ไม่ต้องพิสูจน์กันนาน เพียงแค่ราว 20 ปีก็รู้ผลว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร ซึ่งพื้นที่น้ำอาจไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของกรุงเทพและปริมณฑล แต่จะเหลืออะไรในเมื่อ พื้นที่เมืองหลวงของประเทศไทยกลายเป็นพื้นที่แฉะ มีน้ำท่วมขังตลอดไป

และจะมีประโยชน์อะไรกับหลายโครงการเมกกะโปรเจคท์ของรัฐและหลายโครงการที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ของเอกชน ที่ต้องอาศัยระยะเวลาการคืนทุนในช่วงหลายปี

ทั้งจะมีประโยชน์อะไรกับ การอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญๆของกรุงเทพและปริมณฑล

ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้หยิบยกเอาปัญหานี้ มาคุยกันอย่างจริงจังมากเท่าใดนัก อย่างน้อยก็ไม่มากเท่าการบริหารจัดการน้ำพื้นที่เหนือกรุงเทพไล่ตั้งแต่ พื้นที่ต้นน้ำ  กลางน้ำและปลายน้ำ เรายังขาดการบริหารจัดการในส่วนที่สุดของปลายน้ำ ซึ่งก็คือทะเลหรือมหาสมุทร ซึ่งจะเป็นตัวการสำคัญบ่งชี้ชะตากรรมของคนในเขตพื้นที่กรุงเทพปริมณฑล และบางจังหวัดใกล้เคียง

อย่างน้อย หากยอมแพ้ ไม่แก้ไขปัญหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมุทรศาสตร์ คือ ปล่อยให้เป็นไปตาม ธรรมชาติ  ไม่มีการด้านการวิจัยและด้านการลงทุนโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ เราก็น่าจะคิดถึงเรื่องการย้าย เมืองหลวงและเมืองสำคัญๆกันได้ก่อนที่เหตุการณ์ภัยพิบัติจากน้ำท่วมจะเกิดขึ้น…หรือไม่???

ในสหรัฐฯเวลานี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ สิ่งแวดล้อม และผังเมืองในหลายเมืองที่ตั้งอยู่ บนฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติกได้เตรียมตัวป้องกันปัญหาจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลแล้ว โดยอาศัยฐานข้อมูลดาวเทียมจากการคาดการณ์ของนาซ่า ซึ่งไม่เพียงมองจากมุมของสมุทรศาสตร์เพียง อย่างเดียวหากแต่มีมุมการสำรวจและวิเคราะห์ทางธรณีวิทยาผ่านระบบดาวเทียมขององค์การนาซ่าด้วย

เหมือนกับการทำแผนที่โลกใหม่ของนาซ่าในทุกมุมของโลกก็อาศัยการสำรวจและวิเคราะห์ทางธรณีวิทยาเช่นกัน เช่น การเคลื่อนย้ายของเปลือกโลก ความชื้นของชั้นดิน การยุบตัวของดินในบาง
พื้นที่ เป็นต้น

แผนที่โลกใหม่ของนาซ่า โดยเฉพาะเมืองบาดาลกรุงเทพ ไม่ได้บอกให้พวกเรากลัวโดยไม่ลงมือทำอะไร แต่มันน่าจะบอกให้พวกเราเตรียมตัวลงมือทำอะไรสักอย่าง.

ปิดตำนาน"หมอเทวดา"นพ.สมหมายเสียชีวิตแล้ว

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. นายอัศวิน ทองประเสริฐ บุตรบุญธรรมนพ.สมหมาย ทองประเสริฐ ว่านพ.สมหมาย เสียชีวิตลงอย่างสงบที่โรพ.ศิริราช ด้วยอาการไตวายเฉียบพลัน เมื่อเวลา 07.40 น. ที่ผ่านมา จะเคลื่อนศพจากรพ.มารดน้ำศพและตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดสังฆราชาวาส อ.เมือง จ.สิงห์บุรี เวลา 16.00 น. วันที่ 12 ต.ค. กำหนดพระราชทานเพลิงศพวันที่ 19 ต.ค. เวลา 16.00 น.

สำหรับนพ.สมหมาย อายุ 92 ปี เกิดวันที่ 27 ธ.ค. 2464 เป็นชาวสิงห์บุรี จบการศึกษา เภสัชศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เป็นอดีตผอ.รพ.สิงห์บุรี และสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี เริ่มสนใจการใช้สมุนไพรรักษาโรคมะเร็งมาตั้งแต่ พ.ศ.2508 จนปี 2512 พบคนไข้เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายที่หมอให้กลับบ้าน จนมาพบคุณหมอสมหมายใช้สมุนไพรรักษาโรคมะเร็งหาย

จากนั้นหมอสมหมาย ได้ใช้สมุนไพรรักษาคนไข้เรื่อยมา จนปี 2521 ลาออกจากราชการมาเปิดคลินิครักษาอย่างจริงจังจนได้รับฉายาว่า “หมอเทวดา “ จนเข้ารักษาตัวที่รพ.ศิริราช เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา ด้วยอาการอ่อนเพลีย และสิ้นลมอย่างสงบ ส่วนคลินิคที่ตั้งอยู่เลขที่ 152/17 ต.บางมัญ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ที่หมอสมหมายเปิดรักษาอยู่นั้น นพ.นิกร ไวประดับ ผู้เป็นหลานจะเข้ามาดูแลและรักษาคนไข้ต่อไป

เหตุการณ์การลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๔

การลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ Illustrated Times ของอังกฤษ ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง "ความล้มเหลวของแผนปรปักษ์พระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม" ฉบับวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2399ซึ่งข้อมูลถูกส่งมาจากสำนักงานประจำเมืองมัทราส ในบริติชราช มีใจความคือ

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2399 พระองค์ทรงได้รับการทูลเชิญจากคหบดีใหญ่ผู้หนึ่งในการเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในงานเลี้ยง ซึ่งเป็นงานใหญ่ในหมู่ชนชั้นสูง พระองค์ทรงตอบรับคำเชิญ ซึ่งการทูลเชิญเพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปในการลักษณะนี้ขัดกับจารีต ทั้งนี้ พระอนุชาธิราช พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแคลงพระทัยถึงวิสัยที่ผิดปกติ จึงกราบทูลเชิญพระเจ้าอยู่หัวให้งดการเสด็จพระราชดำเนิน ด้วยทรงเกรงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น แต่ด้วยทรงตอบรับไปแล้ว และทรงไม่อยากเสียมารยาท จึงมีอุบาย ทรงคัดเลือกข้าราชบริพารที่มีส่วนสูง ขนาดตัว สีผิว และใบหน้าที่คล้ายคลึงกับพระองค์ที่สุด สวมฉลองพระองค์เลียนแบบพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแทน โดยตามหมายกำหนดการจะเสด็จไปถึงเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเมื่อถึงเวลา พระเจ้าอยู่หัวปลอมได้เสด็จและดำเนินการตามแผน โดยมีราชองครักษ์ 7 นายคอยตามเสด็จข้างพระวรกาย หลังจากเสด็จถึงบริเวณงาน ทรงถูกทูลเชิญให้พระทับบนบัลลังก์ที่จัดเตรียมไว้ และทันทีที่ประทับ ก็เกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง ความรุนแรงของระเบิดได้ปลิดชีพผู้แสร้งเป็นพระเจ้าอยู่หัว และราชองครักษ์ทั้ง 7 นายที่กำลังยืนอารักขาอยู่

การสืบสวนสอบสวนเป็นไปได้อย่างยากลำบาก เนื่องจากมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และบุคคลสำคัญเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยจำนวนมาก เป็นการยากต่อการสืบพยาน ทำให้ไม่สามารถที่จะหาตัวผู้บงการได้ นับเป็นเหตุการณ์การหวังลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นครั้งแรก


สถานการณ์น้ำท่วมภาคตะวันออกน้ำล้นเขื่อน ยังลุ้น ผลกระทบ พายุโซนร้อนนารี

(10/10/56)ปราจีนบุรี ซึ่งอยู่ในแผนโครงการสร้างเขื่อนใหม่ 3 เขื่อน เจอวิกฤติหนักกลางดึกกระแสน้ำเชี่ยวกราก กัดเซาะหูช้าง ประตูระบายน้ำตะกุดอ้อม ใน ต.วังดาล อ.กบินทร์บุรี เกิดแตก เป็นเหตุให้มวลน้ำ ไหลทะลักเข้าสู่ อ.ประจันตคาม และ อ.ศรีมหาโพธิ ซ้ำอีกระลอก จนชาวบ้านขนย้าย ทรัพย์สินไม่ทัน ปิด รพ. ย้ายผู้ป่วยหนีน้ำโกลาหล ตลาดประจันตาคาม จม 1.50 ม. สระแก้ว บ้านเจ้าพ่อวังน้ำเย็น เสนาะ คลี่คลาย แต่ หมู่บ้านชายแดนยังอ่วม ต้องใช้ ฮ. หย่อนถุงยังชีพ พระสังเวยน้ำท่วม 1 ศพ ที่คลองลึก
กบินทร์บุรีน้ำเริ่มลดระดับ ผลจาก ประตูระบายน้ำตะกุดอ้อมพัง มวลน้ำจ่อถล่ม อ. ราชสาส์น แปดริ้วจมบาดาล 8 อำเภอ พนมสารคาม บ้านโพธิ์ ราชสาส์น บางคล้า บางน้ำเปรี้ยว แปลงยาว ท่า
ตะเกียบ และ คลองเขื่อน รวม 32 ตำบล

ชลบุรี น้ำท่วมขังที่ อ.พานทองยังทรงตัว ที่ 1.50 ซม ถนนรอบตลาดยังสูง 50-60 ซม นิคมอมตะ ที่คนเพื่อไทยห่วงใยเป็นพิเศษ น้ำใกล้แห้ง กรุงเก่าระดับน้ำเริ่มลด แต่ยังสูงกว่าตลิ่ง 2-3 ม. ช่วงท้ายน้ำ
อ.บางปะอิน และ บางไทร ปากเกร็ดบ้านจม 10,000 หลัง ระดับน้ำในคลองพระพิมลราชา สูงกว่าพื้น 40 ซม.

กทม. เตือนน้ำทะเลหนุนสูง 15-17 ซม น้ำเหนือที่ปล่อยจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อยู่ที่ วินาทีละ 740 ลบม เขื่อน เจ้าพระยา 1,886 ลบม เขื่อนพระรามหก 780 ลบม ทำให้มวลน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา
2,500 ลบม อยู่ในระดับควบคุมได้

ต้องจับตา พายุโซนร้อนนารี ล่าสุด จะขึ้นฝั่งที่เมืองด่งฮา ของเวียดนามใน 4 วันข้างหน้า ในความแรงระดับไต้ฝุ่น ระดับน้ำ inflow ของเขื่อนป่าสักฯ เริ่มลงต่ำกว่าน้ำ outflow แล้วในเวลานี้