PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สถานการณ์4/10/58

04102558 วันอาทิตย์ ตอกBBC ความน่าเชื่อถือต่ำ มติชน ยอมรับลงข่าวผิด แต่ยังทำผิดซ้ำ คงต้องเป็นหน้าที่ของประชาชน จัดการกับสื่อไร้จรรยาบรรณ

• 1. "คสช." เคาะชื่อ 21 กรธ. 200 สปท.จันทร์ที่ 5 ตุลาคม นี้
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า 
พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 
จะเป็นประธานการประชุม คสช.ในวันจันทร์ที่ 5 ต.ค.นี้ เวลา 09.00 น.
วาระสำคัญที่จะหารือ คือ ๑. การแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คน 
ทั้งนี้ รธน.ฉบับชั่วคราวกำหนดให้หัวหน้า คสช. เป็นผู้คัดเลือก กรธ.ภายใน 30 วัน หลังจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คือ ภายในวันที่ 5 ต.ค.นี้
และ ๒. คัดเลือกสมาชิกสภาขับเคลื่อนเพื่อปฏิรูปประเทศ (สปท.) 200 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรี สั่งการก่อนไปร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่สหรัฐอเมริกา ว่า 
ให้ผู้เกี่ยวข้องไปทาบทามสรรหาผู้ที่เหมาะสมมาเสนอ สรุปชื่อภายในวันที่5 ต.ค.นี้

• 2. ตอกBBC ความน่าเชื่อถือต่ำ มติชน ยอมรับลงข่าวผิด แต่ไม่มีการขอโทษใดๆ
อีกทั้งยังมีการบิดเบือนใส่ร้ายรัฐบาลคสช. อย่างต่อเนื่อง, ใครอยู่เบื้องหลัง ฤา ?
เสาร์ที่ผ่านมา เพจ Gen Prayut Chan o cha ของทีมงาน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เผยแพร่คำชี้แจงของ พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี 
ถึงกรณีสำนักข่าว BBC-ประเทศไทย และสำนักข่าวมติชน นำเสนอข้อมูลและภาพ พล.อ.ประยุทธ์จับมือกับนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 
พร้อมทั้งมีการระบุว่าทางเจ้าหน้าที่ของไทยเป็นผู้เจรจาเพื่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ได้ขอถ่ายรูปกับประธานาธิบดีสหรัฐ และ
ภาพที่ออกมานั้นเป็นภาพที่ไม่เป็นทางการและไม่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายว่า 
สำนักข่าว BBCประเทศไทย และ สำนักข่าวมติชน นำเสนอข่าวเรื่องนี้มีเจตนาที่ไม่ดี และนำเสนอเพียงภาพเดียว (ภาพขณะนายโอบามากำลังเอื้อมมือเพื่อที่จะเช็กแฮนด์กับ พล.อ.ประยุทธ์) ซึ่งเป็นการบิดเบือนข่าวสาร เพราะความจริงที่มีการประชุมรัฐบาลไทย ในฐานะที่ผู้นำได้รับเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรม 
ที่มีเจ้าภาพคือ นายบารัค โอบามา
ซึ่งก่อนเข้าประชุมมีการถ่ายรูปโดยช่างภาพ Professional (มืออาชีพ)
โดยผู้นำหลายประเทศ มีผู้ติดตามเข้าร่วมประชุมด้วย ได้มีการยืนรอเพื่อถ่ายภาพ ระหว่างนั้นผู้นำแต่ละประเทศทักทายพูดคุย โดยผู้ติดตามได้ถ่ายรูปไว้ 
ไม่ใช่การแอบถ่าย และไม่ได้มีปัญหากัน เพราะไม่ได้มีการห้ามถ่ายรูป 
ตามที่สองสำนักข่าวนี้ได้นำเสนอออกไป
"และในระหว่างนั้น นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ที่อยู่อีกมุมหนึ่งของห้อง หันมาเห็น ก็เดินมาทักทาย พล.อ.ประยุทธ์ พร้อมทั้งจับมือ
แสดงความยินดีต้อนรับและขอบคุณ ซึ่งทุกคนก็ถ่ายรูป และ
ยืนยันว่าไม่มีการเจรจาเพื่อขอถ่ายรูปตามที่สำนักข่าว BBC-ประเทศไทย 
และสำนักข่าวมติชน นำเสนอข่าวออกไป เพราะแค่การถ่ายรูปทำไมจะต้องเจรจา

@ ล่าสุด สำนักข่าวมติชนได้ออกมาโพสต์ข้อความขออภัยผ่านทางเว็บไซต์ของมติชน 
ที่นำเสนอข่าวผิดพลาดไป แต่มิได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ 
ซึ่งในขณะนี้ สำนักข่าว BBC-ประเทศไทย ที่เป็นต้นตอปล่อยข่าวบิดเบือน 
ยังไม่ได้ออกมาแสดงขออภัยต่อนายก ยังเดินหน้าบิดเบือนข่าวใส่ร้ายรัฐบาลอยู่เรื่อยๆ

@ นายปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษา กล่าวว่า การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวของบีบีซีไทยในกรณีนี้ ถือว่ามีความน่าเชื่อถือที่น้อยมาก การรายงานที่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงนั้นสามารถที่จะทำการตรวจสอบได้ การนำเสนอเรื่องดังกล่าวโดยปราศจากชื่อผู้รายงานนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความน่าเชื่อถือต่ำลงมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่แตกต่างกับการนำเสนอความคิดเห็นที่อาจจะไม่มีชื่อผู้เสนอหรืออาจใช้นามแฝง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าตั้งคำถามกับมาตรฐานการนำเสนอข่าวของบีบีซีไทย โดยปกติก็ไม่เคยเกิดปัญหาในลักษณะเช่นนี้

• 3. ประชาชนไทย ส่วนใหญ่ชื่มชมและยอมรับผลงานของนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ
กรุงเทพโพล โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “การทำหน้าที่ของ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนายกฯ บนเวทียูเอ็น” พบว่า 
๑. ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.8 เห็นว่าการประชุมสหประชาชาติครั้งนี้ 
ประชาคมโลกให้การยอมรับ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีจากประเทศไทย 
มีเพียงร้อยละ 11.4 เท่านั้นที่เห็นว่าไม่ให้การยอมรับ 
ขณะที่ร้อยละ 20.8 ระบุว่าไม่แน่ใจ
> ๒.การทำหน้าที่ของ พล.อ. ประยุทธ์ ในเวทีการประชุมสหประชาชาติครั้งนี้ 
71.5 ระบุว่าทำได้ค่อนข้างดีถึงดีมาก 
19.0 ระบุว่าทำได้พอใช้ 
4.4 เท่านั้นที่เห็นว่าควรปรับปรุง 
> ๓. สำหรับความรู้สึกของประชาชนต่อการที่นายกรัฐมนตรีในฐานะตัวแทนประเทศไทยได้รับรางวัล ITU และ
ได้รับเลือกให้เป็นประธานกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา หรือที่เรียกว่า “จี 77 ” พบว่า
ประชาชนร้อยละ 77.3 รู้สึกภูมิใจ
ขณะที่ร้อยละ 21.2 รู้สึกเฉยๆ
> ๔.ความเห็นต่อภาพรวมความสำเร็จในการเข้าร่วมประชุมunของนายกฯ ครั้งนี้ 
59.5 เห็นว่าทำได้สำเร็จตามความคาดหมาย 
31.2 ที่เห็นว่าสำเร็จเกินความคาดหมาย 
9.3 เห็นว่าสำเร็จน้อยกว่าความคาดหมาย 
> ๕. เมื่อถามถึงการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในปี 2560 
ตามที่นายกรัฐมนตรี บอกกับนักลงทุนสหรัฐว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ 
62.4 เห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้ว 
30.4 เห็นว่าไม่เหมาะสม ในจำนวนนี้ร้อยละ18.0 เห็นว่าควรเร็วกว่าปี 2560 และ
12.4 เห็นว่าควรช้ากว่าปี 2560

• 4. ฝนถล่มกรุง กทม.เอาไม่อยู่อีกแล้ว น้ำท่วมรถติดอย่างหนัก รัชดาฯ เกือบตายสนิท 
ผบ.ทบ.สั่งทหารออกช่วยเหลือประชาชน 
ขณะที่อุตุฯ เตือนเหนือ อีสาน ตะวันออก ระวัง "มูจีแก" 
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ระบุ 32 จังหวัดได้รับผลกระทบ น้ำล้นตลิ่ง น้ำป่าไหลหลากและดินถล่มได้

• 5. ตำรวจจ่อเรียก "บุญเฉลียว" สอบถามข้อมูล "อ๊อด" ผู้ต้องหาคดีบึ้มราชประสงค์ 
ขณะที่แกนนำเสื้อแดงยอมรับช่วงชุมนุมปี 53 มีการจัดทนายไปประกันตัวมวลชนที่ต้องคดี แต่อ้าง "อ๊อด" ไม่ใช่การ์ด นปช. 100 เปอร์เซ็นต์

แกนนำนปช.และอดีตสส.เพื่อไทย ที่เรียงหน้าปฏิเสธข่าว แต่กลับกล่าวหารัฐบาล มี
นายคารม พลพรกลาง ทนายความนปช. นายอารีย์ ไกรนรา หัวหน้าการ์ด นปช.
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช.
นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ