PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การออกเสียงประชามติ

การออกเสียงประชามติ (อังกฤษ: Referendum) คือ การนำร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ และนโยบายที่สำคัญของประเทศ ไปผ่านการตัดสินเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อแนวทางการปกครองประเทศ และถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงแบบหนึ่งซึ่งประชาชนมีส่วนมีเสียงโดยตรงในการบริหารราชการแผ่นดิน

ประวัติ

คำว่าการออกเสียงประชามติ หรือ Referendum มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน "ad referendum" มีความหมายว่า "การนำมาให้สัตยาบัน" (หรือการนำมาให้รับรอง) แนวคิดเรื่องนี้เกิดขึ้นนานแล้วในทวีปยุโรป

ประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากประชาชน เพื่อให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข มติของคนในสังคมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เดิมประชาชนในรัฐมีจำนวนไม่มาก จึงสามารถใช้อำนาจออกเสียงต่อกิจการบ้านเมืองได้โดยตรง แต่เมื่อรัฐเจริญขึ้นและมีประชากรมากขึ้น หากต่างคนต่างใช้อำนาจก็ย่อมทำให้เกิดความวุ่นวาย ต่อมาจึงจัดให้มีระบบผู้แทนราษฎรขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้แทนราษฎรทำหน้าที่รับความคิดเห็นมาจากประชาชน ออกเสียงแทนประชาชนในเรื่องต่าง ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (จัดทำกฎหมาย) และอำนาจบริหาร (คณะรัฐมนตรี) แทนประชาชน

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในทางสังคมวิทยาแล้ว สมาชิกผู้แทนราษฎรหรือพรรคการเมืองที่สังกัดก็ดี อาจใช้วิธีการต่าง ๆ ในการเอื้อประโยชน์ต่อตนเองหรือแก่พรรคซึ่งทำให้การใช้อำนาจเหล่านั้นไม่ตรงกับเจตนาของประชาชนส่วนใหญ่ หรือแม้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีเจตนาบริสุทธิ์ ประชาชนมีส่วนในการเป็นเจ้าของประเทศ มีผลได้ผลเสียด้วย จึงมีวิธีการที่หลากหลายในการตรวจสอบการใช้อำนาจ วิธีตรวจสอบเดิมคือการเลือกตั้งเท่านั้น โดยหากประชาชนเห็นว่าผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกไปไม่มีประสิทธิภาพหรือปฏิบัติตัวไม่ดี ก็ไม่เลือกผู้แทนคนนั้นในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

การออกเสียงประชามติเป็นกลไกที่นำมาเสริมทฤษฎีตัวแทนของประชาชน โดยให้สิทธิแก่ประชาชนในการตัดสินใจต่อกิจการหรืองานใด ๆ สนับสนุนหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง นอกจากการให้สิทธิประชาชนออกเสียงประชามติในเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแล้ว บางประเทศยังเปิดโอกาสให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องอื่น ๆ เช่น ร่างกฎหมายหรือนโยบายที่สำคัญหรือกิจการอื่นที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน

ประเทศไทย

หลายประเทศมีการออกเสียงประชามติเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว ประเทศไทยเคยมีการนำเอาการออกเสียงประชามติมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2492 ฉบับ พ.ศ. 2511 ฉบับ พ.ศ. 2517 ฉบับ พ.ศ. 2540 และฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 โดยสามฉบับแรกกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิออกเสียงประชามติในกรณีที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเท่านั้น ส่วนฉบับ

พ.ศ. 2540 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีสามารถขอให้ประชาชนออกเสียงประชามติในเรื่องที่อาจกระทบถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่เคยมีการดำเนินการออกเสียงประชามติตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้จนกระทั่ง พ.ศ. 2550 ที่มีการออกเสียงให้ความเห็นชอบหรือไม่

เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549 (ชั่วคราว)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 ได้บัญญัติให้มีการนำระบบการออกเสียงประชามติมาใช้ในประเทศไทยอีกครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ประชาชนออกเสียงเห็น

ชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยการออกเสียงจัดให้มีขั้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการออกเสียง

ประชามติในประเทศไทย ซึ่งผลรวมทั่วประเทศออกมามีผู้เห็นชอบ 57.81 % และไม่เห็นชอบ 42.19 % หรือคิดจากผู้มีสิทธิทั้งหมดได้ผลตามตาราง

รายการ คะแนน คิดเป็นร้อยละของผู้มีสิทธิทั้งหมด
จำนวนผู้เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ 14,249,520 31.05%
จำนวนผู้ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ 10,419,912 22.71%
จำนวนบัตรเสีย 479,715 1.05%
จำนวนไม่ออกเสียง 20,741,342 45.20%
จำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ 45,890,489 100%

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติให้นำการออกเสียงประชามติมาใช้ดังปรากฏในมาตรา 165[1] โดยการจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในสองกรณี คือ

กรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทน

ราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้ และในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ โดยรัฐต้องดำเนินการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ

และให้บุคคลฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบกับกิจการนั้น มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบ

รัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

สถานการณ์ข่าว19พ.ย.57

กมธ.พรรคการเมือง

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เชิญพรรคชาติพัฒนาและพรรคพลังชล เข้าเสนอแนะข้อคิดเห็น เช้านี้

บรรยากาศที่รัฐสภา เช้านี้ การรักษาความปลอดภัยยังเป็นไปอย่างเข้มงวด บุคคลที่เข้ามาติดต่อราชการต้องติดบัตรแสดงตนชัดเจน

ทั้งนี้ ในเวลา 10.00  น. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นัดกรรมาธิการทั้ง 36 คน ประชุม ครั้งที่ 7 เพื่อรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากพรรคการเมือง

ซึ่งวันนี้ได้เชิญพรรคชาติพัฒนาและพรรคพลังชล ภายหลังวานนี้ เชิญพรรคภูมิใจไทยและพรรคชาติไทยพัฒนา ต่างสะท้อนปัญหาบ้านเมืองที่ผ่านมา ซึ่งอยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นของ

ประชาชนที่ไม่แบ่งฝ่ายใด พร้อมลดความเหลื่อมล้ำทุกมิติ และเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม สิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลัก

สำหรับปัญหาที่เห็นตรงกัน คือ การถูกยุบพรรคจนต้องตัดสิทธิ์ทางการเมืองนั้น มองว่า ง่ายเกินไป
------------
"คำนูณ" ระบุ ชพท. - ภท. เห็นตรงกัน ไม่ควรเขียน รธน.ใหม่ จากรากฐานของความเกลียดชัง ย้ำ มีกรอบการทำงานชัดเจน รับฟังความเห็นทุกขั้นตอน

นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะโฆษก กมธ. เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ถึงข้อเสนอของ พรรคชาติไทยพัฒนา และ พรรคภูมิใจไทย ว่า ทั้ง 2 พรรคได้มีการออกตัวว่าข้อเสนอดังกล่าว ไม่ใช่มติของพรรค เพราะไม่ได้มีการประชุมกันก่อน โดยมีเนื้อหาสาระที่พอสรุปใจความสำคัญได้ว่า ไม่อยากให้มีการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บนรากฐานของความเกลียดชัง เห็นนักการเมืองเป็นปัญหาของบ้านเมือง กีดกันใครออกจากการเมือง หรือสนับสนุนใครออกจากการเมือง รวมถึง แสดงความไม่เห็นด้วยกับการยุบพรรค แต่สนับสนุนให้มีการลงโทษคนที่ทำผิดอย่างเด็ดขาดเป็นรายบุคคล รวมถึงเสนอให้มีการทบทวนเรื่องอำนาจและที่มาขององค์กรอิสระด้วย

นายคำนูณ กล่าวต่อด้วยว่า ในการรวบรวมความเห็น ข้อเสนอแนะ เชิงเนื้อหา นั้น มีกรอบการทำงานอย่างชัดเจน โดยจะให้อนุกรรมธิการ ทั้ง 10 คณะ รวบรวมให้แล้วเสร็จส่งมายัง กมธ.ชุดใหญ่ ภายใน วันที่ 1 ธ.ค. นี้ เพื่อให้ กมธ.ชุดใหญ่พิจารณาสรุปอีกครั้ง ภายในวันที่ 9 ธ.ค. ก่อนที่จะรับความคิดเห็น กมธ. 18 คณะของสภาปฏิรูปต่อไป ในวันที่ 15-16 ธ.ค. และ กมธ.ยกร่าง รธน. จะเริ่มเขียนในรายมาตราตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. เป็นต้นไป
----------
เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นและ อปท.ภาคเหนือ ยื่นหนังสือ กมธ.ปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติฯ เสนอปรับปรุงกฎหมายสิทธิชุมชน

เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นและองค์กรปกครองท้องถิ่นภาคเหนือ (อปท.ภาคเหนือ) ได้ยื่นหนังสือต่อ นายปราโมทย์ ไม้กลัด ประธานกรรมาธิการปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอจัดทำข้อเสนอส่งไปยังรัฐบาล และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้พิจารณาและดำเนินการในการปรับปรุงกฎหมายหลักสิทธิชุมชน และหลักการมีส่วนร่วมขาดกฎหมายและนโยบายที่รับรองอย่างชัดเจน อาทิ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และให้ปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นปัญหา อุปสรรค ต่อการแก้ไขปัญหาที่ดินและการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้เหมาะสมและเร่งด่วน ตลอดจนยกระดับแผนกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติให้มีระเบียบรองรับทางกฎหมาย
--------------
พรรคพลังชล ส่งตัวแทน 3 คน เข้าแสดงความเห็นต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ขณะเลขาฯ กกต. เตรียมประชุม กมธ.มีส่วนร่วม ช่วงบ่าย

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการ โดยวันนี้ได้เชิญพรรคพลังชลและพรรคชาติพัฒนาเข้าให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ พรรคพลังชล ส่งตัวแทนมา 3 คน คือ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายสันต์ศักดิ์ งามพิเชษฐ์ อดีต ส.ส.ของพรรคพลังชล และ นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา เลขาธิการพรรค

ขณะที่พรรคชาติพัฒนา มี นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรค ร่วมแสดงความเห็นในวันนี้ด้วย

ส่วนช่วงบ่าย เวลา 13.30 น. นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดย นายภุชงค์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้
-----------------
"น.พ.วรรณรัตน์" มั่นใจ เสนอความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ ย้ำ ไม่ติดใจอัยการศึก พรรคพร้อมให้ความร่วมมือทุกฝ่ายเต็มที่

นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา กล่าวก่อนเข้าเสนอแนะความคิดเห็นต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ในวันนี้มาให้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้รัฐธรรมนูญมีความสมบูรณ์ เหมาะสม ส่งต่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป แม้ข้อเสนอแนะในครั้งนี้ทางพรรคยังไม่ได้มีการหารืออย่างเป็นทางการ แต่เชื่อว่าสมาชิกในพรรคจะมีความคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง

ส่วนบรรยากาศของบ้านเมืองในขณะนี้ที่ยังมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก มองว่าอะไรก็ตามที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ก็ควรจะมีการพิจารณาให้เกิดความเหมาะสม ส่วนตัวและสมาชิกพรรคพร้อมจะให้ความร่วมมือให้ประเทศเดินหน้า ส่วนเรื่องความขัดแย้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีกลุ่มเห็นต่างออกมาเคลื่อนไหวนั้น พรรคไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะติดขัดด้วยคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ยังไม่อนุญาตให้พรรคการเมืองทำกิจกรรม
-------------
แกนนำพลังชล พร้อมสนับสนุนการปฏิรูปที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชน ชี้ ร่าง รธน. ต้องเป็นกลาง

นายสันตศักดิ์ จรูญ งามพิเชษฐ์ แกนนำพรรคพลังชล กล่าวก่อนเข้าร่วมแสดงความเห็นต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า สนับสนุนการปฏิรูปที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชน ที่
จะต้องร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นกลาง รัดกุม

ทั้งนี้ การปฏิรูปเกิดจากปัญหาบ้านเมืองที่มีความแตกแยก จนมีผู้มีอำนาจเข้ามาเป็นตัวกลางทำให้สงบ ส่วนการปฏิรูปตัวนักการเมืองนั้น เห็นว่า สมาชิก สปช. หลายคนเป็นนักวิชาการทรงคุณวุฒิที่เชื่อว่าจะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกัน มีความเป็นห่วงการประกาศใช้กฎอัยการศึก ที่อาจส่งผลกระทบต่อการรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม การเสนอความคิดเห็นวันนี้ ไม่ใช่มติพรรค แต่ทางพรรคมีแนวคิดทำหนังสือขออนุญาต คสช. ประชุมพรรคการเมือง เพื่อทำหน้าที่ปฏิรูปอย่างเต็มที่ เพราะการดำเนินการขณะนี้ ไม่สามารถดำเนินการโดยมติพรรค
----------------
ชาติพัฒนา เสนอความเห็น กมธ.ยกร่าง รธน. เน้นคุณสมบัติ ที่มา ส.ส.-นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง เว้นช่วงวิกฤตเป็นคนนอกได้

นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ได้เสนอแนวทางต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ คือ คุณสมบัติ ส.ว. ควรมีความอาวุโส และมีประสบการณ์มากกว่า ส.ส. เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายให้ประชาชนอีกขั้นหนึ่ง

นอกจากนี้ ส.ว. เลือกตั้งและสรรหาควรมีบทบาทแตกต่างกัน รวมถึงนายกรัฐมนตรีควรมาจากการเป็น ส.ส. ในกรณีที่บ้านเมืองมีวิกฤตต่าง ๆ ให้มีนายกฯ ที่ไม่ได้มาจาก ส.ส. ได้ แต่ต้องมีอำนาจหน้าที่และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งต่างจากนายกฯ ที่มาจาก ส.ส. ส่วนเรื่องนโยบายประชานิยมของฝ่ายบริหารต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาก่อนนำไปปฏิบัติ และสำหรับขั้นตอนการสรรหาองค์กรอิสระต้องมีส่วนร่วมจากประชาชนและทุกองค์กรสามารถตรวจสอบได้
----------------
"รองฯ วิษณุ" เผย ตั้ง มีชัย นั่ง คกก. ติดตามการทำงานยกร่าง รธน. ย้ำรัฐไม่แทรกแซงเขียนกฎหมายลูก รธน.ชั่วคราว ไม่ห้ามประชามติทำได้ 

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงการเตรียมเขียนกฎหมายลูกหลังจากมีรัฐธรรมนูญ ว่า ทางกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้รับผิดชอบ รัฐบาลไม่ทราบว่าจะเตรียมอะไร เนื่องจากการเขียนรัฐธรรมนูญจะออกมาในแบบใด ส่วนความชัดเจนการมอบหมายให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ติดตามการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น

นายวิษณุ กล่าวว่า กมธ. มีคณะที่ปรึกษาอยู่แล้ว แต่ นายมีชัย ไม่ได้เป็นคณะที่ปรึกษาฯ จึงมาเป็นคณะกรรมการคอยติดตามการทำงานและให้คำแนะนำคณะที่ปรึกษา คสช. แต่ไม่ใช่ไปแนะนำกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด

ส่วนกรณีที่ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เห็นด้วยกับการให้มีการทำประชามตินั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มีใครไม่เห็นด้วย และต่อจากนี้จะพูดอย่างนี้กันทั้งหมดว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้บังคับให้ทำประชามติ หากจำเป็นต้องทำไม่มีอะไรขัดข้องเพราะรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้มีการแก้ไขและนำไปสู่การทำประชามติหรืออย่างอื่นได้
----------
คณะศิษยานุศิษย์ของ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ยื่นหนังสือต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ เสนอแนะแนวทางในการปฏิรูปประเทศด้านพระพุทธศาสนา

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่ 2 รับยื่นหนังสือจากคณะศิษยานุศิษย์ของ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปฏิรูปประเทศ 2 ประเด็น คือ การให้คุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ และสถาบันพระพุทธศาสนา พร้อมขอให้บัญญัติการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น รวมทั้งให้รักษาหลักการของการปฏิรูปสื่อ ที่ยังคงความเสมอภาคแก่สื่อภาคประชาชนที่ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยไม่แสดงหากำไรในทางธุรกิจ ให้มีสิทธิทัดเทียมกับสื่อธุรกิจที่เคยผูกขาดไว้กับรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีการคุ้มครองสื่อภาคประชาชนทุกสื่อไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ และสื่ออื่นๆ ที่ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาและให้มีบทเฉพาะกาลคุ้มครองสื่อทางพระพุทธศาสนาที่ไม่แสวงหาผลกำไรในทางธุรกิจ ไม่ให้ กสทช. หรือ องค์กรที่ทำหน้าที่จัดสรรคลื่น เข้ามาปิดกั้นหรือจำกัดสิทธิใดๆ แต่ต้องส่งเสริม และสนับสนุนให้ได้ใช้ความถี่ที่ว่าง

นอกจากนี้ ยันยื่นหนังสือคัดค้านการออกกกฎหมายปกครองสงฆ์ที่ขัดต่อพระธรรมวินัย โดยรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่ 2 กล่าวว่าจะรับเอาข้อเสนอแนะแนวทางในการปฏิรูปเข้าหารือกับสมาชิสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อเป็นข้อเสนอในการปฏิรูปประเทศ และจัดทำร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
/////
ประชามติ รธน.

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โยนรัฐบาลพิจารณาทำประชามติ ขณะ พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล แนะยกร่างไร้อคติ ทบทวนยุบพรรค

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังเชิญพรรคชาติพัฒนา และพรรคพลังชล เข้าเสนอข้อมูลในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ว่า พรรคชาติพัฒนา เสนอแนวคิดไว้ 6 ประเด็น อาทิ ควรร่างรัฐธรรมนูญที่กระชับ ไม่ยากต่อการตีความ และไม่เลียนแบบของประเทศใด รวมถึงต้องมีความเป็นกลาง ไม่อคติฝ่ายใด พร้อมมีบทบัญญัติที่ทำให้ไม่ไปสู่ทางตัน

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรี มาจากการเลือกตั้ง โดยหากเกิดวิกฤติทางการเมือง อาจให้รัฐสภาสามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ที่เป็นบุคคลภายนอก มาเป็นนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาล เพื่อแก้ไขวิกฤติในช่วงนั้น ก่อนนำไปสู่การเลือกตั้ง ขณะที่ พรรคพลังชล แนะให้ทบทวน มาตรา 237 เรื่องการถูกยุบพรรคและถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง

นอกจากนี้ โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการทำประชามติว่า รัฐบาลจะเป็นผู้ติดตาม และพิจารณาเรื่องนี้เอง เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
----------------
"วิษณุ" ไม่ขัด แนวคิด "เจษฎ์" ให้ ปชช.ร่วมเสนอความเห็น ร่าง รธน. แนะทำได้ตามขอบเขต ส่วนอัยการศึก หน.คสช. จะตัดสินใจเอง

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึง กรณีที่ นายเจษฎ์ โทณะวณิก กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เสนอให้ประชาชนเข้ามาแสดงความเห็นและมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ไม่ขัดข้อง และสามารถทำได้ โดยคำนึงถึงขอบเขตอันจำกัด หากมีการเชิญไปพบ หรือกรรมาธิการจะเดินสายไปหารือก็ไม่เป็นไร แต่ที่ขอให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึกนั้น เป็นคนละเรื่องและไม่สามารถทำได้ในขณะนี้ ซึ่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คงมีเหตุผลที่ยังคงไว้

ส่วนการพูดคุยเรื่องกฎหมายอัยการศึก ในการประชุมร่วม 5 ฝ่าย เมื่อวานที่ผ่านนั้น รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า มีการพูดคุยบ้าง ซึ่งทุกฝ่ายเห็นว่า ไม่เป็นอุปสรรคอะไร หากผ่อนคลายได้เป็นเรื่องดี ทุกอย่างสามารถทำได้ตามระเบียบ ซึ่งหัวหน้า คสช.รับไว้ว่าจะไปพิจารณาเอง

ขณะเดียวกัน นายวิษณุ ยังกล่าวถึงการปรับปรุงรูปแบบการให้อำนาจขององค์กรอิสระ ว่า ตนมีความคิดอยู่ แต่ไม่ควรพูดเรื่องอะไร รวมถึงคนที่ร่างรัฐธรรมนูญมีความคิดเช่นกัน เพราะที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อให้ข้อเสนอว่า ที่เคยมีแล้วจะต้องมีต่อไป แต่ต้องเปลี่ยนองค์ประกอบหน้าที่
///////
สนช./5ฝ่าย

"สุรชัย" ระบุ วงถก 5 ฝ่าย ไร้หารืออัยการศึก ประกาศ คสช. นายกฯ ย้ำ ภารกิจแต่ละฝ่ายมุ่งปฏิรูปประเทศให้ได้

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ในการประชุม 5 ฝ่าย เมื่อวานนี้ เป็นการสรุปความคืบหน้าการทำงานของแต่ละองค์กร รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน โดยนายกรัฐมนตรี เน้นย้ำ 3 เรื่อง ประกอบด้วย การเดินตามโรดแมป ระยะที่ 2, ภารกิจที่จะต้องปฏิรูปประเทศให้สำเร็จให้ได้ และเรื่องการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องทำให้เสร็จตามกรอบเวลา เพื่อไม่ให้ซ้ำรอบกับ รัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ที่ จนถึงทุกวันนี้ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญยังออกไม่เสร็จ

ทั้งนี้ นายสุรชัย ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ในวงประชุมไม่ได้มีการหารือเกี่ยวกับประเด็นการเมืองและความมั่นคง โดยเฉพาะเรื่องกฎอัยการศึก หรือการเรียกร้องให้ยกเลิกประกาศบางฉบับของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ มีการแจ้งของนายกฯ ว่าเรื่องดังกล่าว ให้ฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้ติดตามอย่างใกล้ชิด
--------------
นายกฯ ระบุ ประชุมร่วม 5 ฝ่าย หารือถึงแนวทางการทำงานเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รับพอใจผลงาน 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมร่วมระหว่าง ครม. คสช. สนช. สปช. และ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เป็นการหารือถึงแนวทางการทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การปฏิรูปประเทศมีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายให้แต่ละฝ่ายจัดลำดับความสำคัญของปัญหา รวมถึงเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูก ซึ่งส่วนตัวพอใจกับการทำงานที่ผ่านของแต่ละฝ่าย

ส่วนการทำประชามติรัฐธรรมนูญนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แต่ทั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงสถานการณ์ต่าง ๆ
--------
"รองฯ วิษณุ" ระบุ นายกฯ กำชับที่ประชุม 5 ฝ่าย เร่งรัดออกกฎหมาย แนะ สปช. ดำเนินการโดยไม่ต้องผ่านรัฐบาล

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุในการประชุม 5 ฝ่าย คณะรัฐมนตรี (ครม.) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ถึงการผลักดันกฎหมายต่าง ๆ ประมาณ 300 ฉบับ ว่า ขณะนี้มีกฎหมายจาก 20 กระทรวง กำลังดำเนินการเพื่อเสนอ ครม. ประมาณ 130 ฉบับ ซึ่งไม่ชัดเจนว่าจะส่งมาให้ ครม. พิจารณาหรือไม่

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กำชับการทำงานของ สปช. ว่า หากคิดจะปฏิรูปอะไรก็ต้องออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปออกมา จึงย้ำกับ สปช. ว่ากฎหมายอะไรที่ทำเองได้ก็ให้ช่วยทำเพื่อไม่ต้องเสีย
เวลานำมาให้รัฐบาลดำเนินการ เพราะจะเสียเวลาหากทำไปแล้วเกิดมีความห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่งคาดว่าจะมีอีกหลายสิบฉบับ โดยส่วนนี้บวกกับที่รัฐบาลทำ คาดว่าจะมีประมาณ 200-300 ฉบับ
---------
สมาชิก สนช. ทยอยประชุมคณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ ขณะช่วงบ่าย กมธ. รับฟังความเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ นัดถกแรกวางกรอบทำงาน

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่เป็นสัดส่วนในคณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ มีกำหนดการประชุมในช่วงเช้าวันนี้ อาทิ คณะอนุกรรมาธิการพัฒนาและส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน คณะอนุกรรมาธิการด้านการจัดเก็บรายได้ของแผ่นดิน คณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น คณะอนุกรรมาธิการด้านองค์กรตามรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่วนป่า ฉบับที่..พศ...

ขณะที่ในช่วงบ่าย เวลา 13.00 น. คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ นัดประชุมเพื่อเลือกตำแหน่งสำคัญและวางกรอบการทำงาน ซึ่งกรรมาธิการชุดนี้ มีหน้าที่ออกแบบและรวบรวมการรับฟังความคิดเห็น และดำเนินการรับฟังความคิดเห็นให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน พร้อมทั้งประสานประเด็นการทำงานในการออกแบบ
---------
"พรเพชร" นั่งหัวโต๊ะถก วิป สนช. พิจารณาร่างกฎหมาย เตรียมน้ำเข้าที่ประชุมใหญ่ จับตาท่าทีปมไต่สวนอดีต 38 ส.ว.

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิป สนช. โดยมีระเบียบวาระการประชุม เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุมให้ทราบ การรับรองบันทึกการประชุม ครั้งที่ 6/2557 เมื่อวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2557

จากนั้นพิจารณาเรื่องเสนอมา 3 เรื่อง 1. การพิจารณาหนังสือสัญญาที่คณะรัฐมนตรีเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 23 จำนวน 2 ฉบับ 2. การเตรียมการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและกรรมาธิการ พ.ศ. ... และ 3. การตรวจรายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2557 วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม 2557 ทั้งนี้ จับตาที่ประชุมว่าจะมีการพิจารณาสำนวนไต่สวนของ ปปช. กรณี 38 สมาชิกวุฒิสภา
-----------
วิป สนช. ไร้หารือสำนวนถอด "ยิ่งลักษณ์ - 38 อดีต ส.ว." ขณะมีมติห้าม "พล.ต.กลชัย" รับฟัง-ลงมติ เนื่องจากมีส่วนได้เสีย

น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจกาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิป สนช. เปิดเผยว่า ในที่ประชุมไม่ได้มีการหารือ เกี่ยวกับการพิจารณาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากกรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและสำนวนถอดถอน 38 อดีต ส.ว. ที่ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอความเห็นว่ามีความผิดจากกรณีลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่มาของ ส.ว. ซึ่งขณะนี้สำนวนยังมาไม่ถึง

นอกจากนี้ ได้มีการหารือในกรณีของ พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์ สนช. ที่มีรายชื่อเป็นผู้ถูกกล่าวหา โดยที่ประชุมมีมติ ว่า ในวันพิจารณาสำนวนคดีดังกล่าว สมาชิก สนช. ผู้นั้น จะสามารถลงชื่อเข้าร่วมประชุมได้ เพื่อรักษาสิทธิ์ ไม่ให้สิ้นสมาชิกภาพ แต่ช่วงระหว่างการพิจารณาและลงมติในสำนวนคดีดังกล่าว จะไม่สามารถเข้าร่วมรับฟังหรือร่วมลงมติได้ เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อคดี

///////
นายกฯ ข่อนแก่น

หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น เริ่มคึกคัก หน่วยงานต่าง ๆ จัดซุ้มแสดงกิจกรรมร่วมรับมือภัยแล้ง เตรียมพร้อมต้อนรับนายกรัฐมนตรี 

บรรยากาศบริเวณด้านหน้าอาคารศาลากลางจังหวัดขอนแก่น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่าง ๆ มีการจัดเตรียมสถานที่เพื่อรอต้อนรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. พร้อมคณะ ที่จะเดินทางมาถึงในช่วงเวลาประมาณ 09.30.น. เพื่อเป็นประธานในกิจกรรมปล่อยขบวนคาราวานเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ภายใต้ชื่องานคืนความสุขให้คนไทยรวมใจสู้ภัยแล้ง โดยมีการจัดเตรียมรถบรรทุกน้ำ รถขุดเจาะบาดาล และรถผลิตน้ำดื่มจำนวนมาก มาจัดเตรียมในสถานที่ รวมถึงซุ้มกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแสดงถึงการเตรียมความพร้อมในการร่วมรับมือภัยแล้งและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาดังกล่าว
---------------
นายกฯ ยันลงพื้นที่อีสาน ไม่มีเรื่องการเมืองเกี่ยวข้อง เน้นแก้ปัญหาความเดือดร้อน ปชช. ไม่หนักใจเรื่องใบปลิว 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดกาฬสินทร์ ว่า เพื่อติดตามปัญหาการบริหารจัดการน้ำที่ยังไม่ทั่วถึง ส่งผลให้เกิดปัญภัยแล้งซ้ำซาก โดยยืนยันว่าการลงพื้นที่ในครั้งนี้จะไม่มีเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นเรื่องของความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งพื้นที่ใดมีความเดือดร้อนมากก็จะลงไปติดตาม

ส่วนที่มีใบบลิวต่อต้านในการลงพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่เป็นไร ถือว่ายังมีคนเห็นต่างอยู่ แต่ขอความร่วมมือให้ใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไม่ดุเดือดมากนัก ซึ่งอยากให้มองว่าการลงพื้นที่ครั้งนี้ไปทำประโยชน์ให้กับคนในพื้นที่ พร้อมยืนยันว่ายังมีกำลังใจไม่ท้อแท้ และจะเดินหน้าแก้ปัญหาต่อไป
-----------
นายกฯ ถึงขอนแก่น มอบนโยบาย ย้ำ ต้องใช้เวลาแก้ไขปัญหา ลดความขัดแย้ง ต้องไม่มีทุจริต เจอดี กลุ่มต้านใส่เสื้อดำ ชู 3 นิ้ว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. พร้อมคณะ ได้เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น โดยเป็นประธานในกิจกรรมปล่อยขบวนคาราวานเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ภายใต้ชื่องานคืนความสุขให้คนไทย รวมใจสู้ภัยแล้ง โดยมีข้าราชการระดับสูงและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงต่าง ๆ ตลอดจนประชาชน ให้การต้อนรับอย่างคึกคัก

โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวพูดคุยกับเจ้าหน้าที่และประชาชนว่า การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศต้องใช้เวลาในการแก้ไข โดยจะต้องขับเคลื่อนในทุกมิติ และความร่วมมือกันในทุกภาคส่วนเพื่อโดยต้องลดความขัดแย้ง และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารส่วนภูมิภาคต่าง ๆ จะต้องไม่มีการทุจริต และดำเนินการโครงการต่าง ๆ ให้ประชาชนจับต้องได้ ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเริ่มกล่าวทักทายประชาชน ได้มีกลุ่มชายจำนวน 3 คนใส่เสื้อสีดำ ยืนขึ้นพร้อมชูสามนิ้วต่อหน้านายกรัฐมนตรี จากนั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวออกจากพื้นที่บริเวณงานโดยไม่ได้ใช้ความรุนแรง ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีสีหน้าเรียบเฉยพร้อมกล่าวด้วยว่าอย่าใช้ความรุนแรงกับบุคคลดังกล่าว
---------
นายกฯ ประชุมร่วม ผู้ว่าราชการจังหวัดภาคอีสาน มอบนโยบาย ติดตามผลการดำเนินงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ก่อนลงพื้นที่เยี่ยมโครงการน้ำเพื่อการบริโภค

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานการประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภายหลังเป็นประธานในกิจกรรมปล่อยขบวนคาราวานเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ทั้งนี้ การประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าวเพื่อเป็นการติดตามการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมมอบนโยบายโดยประเด็นการเตรียมแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งนั้นจะรับฟังการรายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมติดตามการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด

อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่ายนายกรัฐมนตรีจะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค ต.ห้วยโจด และโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองใหญ่ ต.น้ำอ้อม อ.กระนวน จ.ขอนแก่นต่อไป
-----
นายกฯ ตรวจเยี่ยม โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองใหญ่ ขรก.-ปชช. ให้การต้อนรับคับคั่ง รปภ.เข้ม ก่อนไปกาฬสินธุ์

ความเคลื่อนไหว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และคณะในช่วงบ่าย ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองใหญ่ ต.น้ำอ้อม อ.กระนวน จ.ขอนแก่น โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ คณะครูและนักเรียน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่และใกล้เคียงให้การต้อนรับ ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัย โดยรอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารอย่างเข้มงวด

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปยังเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ เพื่อรับฟังรายงานสรุปการบริหารจัดการน้ำเขื่อนลำปาว จากอธิบดีกรมชลประทาน ก่อนที่จะเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร ในช่วงเย็นวันนี้
------------
นายกฯ รับยังมีคนเห็นต่าง ชี้เกิดจากความเข้าใจผิด ยันไม่ท้อ เชื่อไม่เป็นอุปสรรคลงพื้นที่ ปรับเพิ่ม ครม.2 ตำแหน่ง 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มนักศึกษาชู 3 นิ้ว เพื่อแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านการรัฐประหาร ระหว่างลงพื้นที่ติดตามรับมือปัญหาภัยแล้ง จ.ขอนแก่น ว่า ต้องเกิดจากความไม่เข้าใจ และยอมรับว่า ยังมีคนที่เห็นต่าง อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวไม่รู้สึกท้อแต่อย่างใด และไม่เป็นอุปสรรคในการลงพื้นที่อื่นๆ และจะเดินทางไปภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มีการปรับคณะรัฐมนตรี เพิ่มเติม 2 ตำแหน่ง คือนายอำนวย ปะติเส และ นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ซึ่งอยู่ระหว่างรอโปรดเกล้าฯ ส่วนช่วงหลังปีใหม่ จะมีการปรับคณะรัฐมนตรีอีกหรือไม่นั้น จะมีการพิจารณาอีกครั้ง

----------
พล.อ.อุดมเดช ชี้ ชู 3 นิ้วต้านนายกฯ ไม่เหมาะสม รับกังวลกลุ่มเห็นต่างติดป้ายผ้าข่มขู่ 3 จ.ชายแดนใต้ 

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงกรณีที่มีนักศึกษาไปชู 3 นิ้วแสดงสัญลักษณ์ต่อหน้านายกรัฐมนตรี ที่ จ.ขอนแก่น ว่า ยังไม่ได้รับรายงานอย่างเป็นทางการ แต่หากมีการกระทำดังกล่าวจริง ถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ซึ่ง นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยประชาชนจึงเดินทางไปตรวจเยี่ยม หากใครมีความคิดเห็นต่าง อยากจะเสนอก็ควรเสนอผ่านช่องทางที่มีอยู่ ซึ่งก่อนที่ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไป ก็ได้เน้นย้ำกับแม่ทัพภาคที่ 2 ให้ดูแลความปลอดภัยให้ดี

ส่วนกรณีที่มีกลุ่มผู้เห็นต่างติดป้ายผ้าข่มขู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น พล.อ.อุดมเดช บอกได้รับรายงานแล้ว ซึ่งต่อไปก็จะต้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน และกำลังพยายามหาทางแก้ไขปัญหาอยู่
---------
ทำเนียบ เงียบเหงา รองนายกฯ-รมต.ประจำสำนักฯ ไม่มีวาระการประชุม ขณะมาตรการรักษาความปลอดภัยยังคงเข้มงวด

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ในช่วงเช้าวันนี้เป็นไปด้วยความเงียบเหงา เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ลงพื้นที่ตรวจดูมาตราการรับมือภัยแล้งและพบปะประชาชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดกาฬสินธุ์

ขณะเดียวกันในส่วนของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่มีวาระการประชุมใดเป็นพิเศษ คาดว่าจะมีการปฏิบัติงานและติดตามตามงานในส่วนที่รับผิดชอบตามปกติ

ซึ่งมาตรการในการรักษาความปลอดภัยโดยรอบทำเนียบรัฐบาลยังเป็นไปด้วยความเข้มงวดเช่นเดิม เจ้าหน้าที่ประจำตามจุดต่าง ๆ คอยตรวจตรายานพาหนะและบุคคลที่ผ่าน
เข้าออกอย่างละเอียด
--------------
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ2รัฐมนตรีใหม่แล้ว  "วิสุทธิ์" นั่ง รมช.คลัง, "อํานวย" ขึ้นแท่น รมช.เกษตรฯ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศลงวันที่ 24 สิงหาคม พุทธศักราช 2557 และแต่งตั้งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศลงวันที่ 30 สิงหาคม พุทธศักราช 2557 นั้น บัดนี้ นายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลว่า

สมควรแต่งตั้งรัฐมนตรีเพิ่มเติม 2 ตําแหน่งเพื่อความเหมาะสมและบังเกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2557 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีดังต่อไปนี้ นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายอํานวย ปะติเส เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป  ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2557 เป็นปีที่ 69 ในรัชกาลปัจจุบัน

โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

----
พล.อ.อุดมเดช ให้โอวาทกองทัพภาค 1 เน้นย้ำปกป้องสถาบัน ประคับประคองสถานการณ์บ้านเมือง ดูแล-ช่วยเหลือประชาชนเต็มที่

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก ให้โอวาทกำลังพลกองทัพภาคที่ 1 โดยเน้นย้ำให้ร่วมกันประคับประครองสถานการณ์บ้านเมืองตามหน้าที่รับผิดชอบ หลังจากที่มีรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งเป็นระยะที่ 2 ของโรดแมป พร้อมทั้งให้ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยต่อไป เพื่อเข้าสู่ระยะที่ 3 ของโรดแมป และที่สำคัญในการดูแลภาพรวมที่แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย นอกจากนี้ ยังมีภารกิจหลักที่สำคัญในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการมาด้วยความเรียบร้อย ขอให้รักษาไว้ รวมไปถึงการดูแลชายแดน ที่สามารถดูแลได้อย่างเรียบร้อย ปัญหาแทบไม่มี ตลอดจนภารกิจดูแลและช่วยเหลือประชาชน
////////////

วันประวัติศาสตร์ของ"นายกประยุทธ"

วันประวัติศาสตร์ของผม..,,
นายกฯ ยัน เจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรง กับ นักศึกษา ม.ขอนแก่น5คน ที่ชู3นิ้ว บอกยีงเด็กอยู่ คงไม่เข้าใจ เผย นีกว่ามาแสดง "กระตั้วแทงเสือ" เป็นการแสดงพื้นบ้าน ฝนึกว่านศ.มข.มาหนัาเวที ..กระตั้วคืออะไร นกหริอเปล่า ไป Search Google เอา /ผบทบ.ชี้ นักศึกษาป่วนนายกฯ ระหว่างตรวจขอนแก่นไม่เหมาะสม ระบุรัฐบาลตั้งใจทำงานเพื่อประเทศ พร้อมรับฟังเสียงทุกภาคส่วนตามช่องทาง

พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ ถึงการลงพื้นที่ ว่า เป็นวันประวัติศาสตร์ของพวกเรา ที่ได้มาพบประชาชน ได้มาเหฌนแววตา สีหน้า รู้ปัญหา ความเดือดรัอน ขอมีส่วนมาช่วยดูแล

ส่วนการถูกต่อค้สานั้น นาบกฯ กล่าวว่า ก็เรื่องธรรมดา มีโอกาสเกิดขึ่ยได้ แต่ผมก็จะยังคงเดินทางไปทั่วทุกภาค แม่แต้เขียงใหม่ ปละ 3 จ.ชายแดนใต้ ก็จะไป

นายกฯ ยืน ยัน ว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรง กับ นักศึกษา ม.ขอนแก่น5คน ที่ชู3นิ้ว บอกยีงเด็กอยู่ คงไม่เข้าใจ เผย นีกว่ามาแสดง "กระตั้วแทงเสือ" เป็นการแสดงพื้นบ้าน ฝนึกว่านศ.มข.มาหนัาเวที ..กระตั้วคืออะไร นกหริอเปล่า ไป Search Google

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหมและผู้บัญชาการทหารบ กล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มนักศึกษาเข้าประชิดหน้าเวทีงาน “คืนความสุขให้คนไทย รวมใจสู้ภัยแล้ง” จ.ขอนแก่น ระหว่างที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำลังกล่าวเปิดงาน พร้อมทั้งแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านไม่เอารัฐประหารว่า เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ถือว่าไม่เหมาะสม เพราะว่าผู้นำรัฐบาลมีความห่วงใยประชาชน และลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมพี่น้องประชาชนแต่มีคนบางกลุ่มแอบแฝงเข้ามากับประชาชนที่มาแสดงสิ่งที่ดีเพื่อต้อนรับนายกรัฐมนตรี เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ไม่สมกับที่ทางรัฐบาลตั้งใจทำงาน หากกลุ่มบุคคลมีความคิดที่ต้องการแสดงออก เราก็มีเวทีให้เข้าไปชี้แจงและพูดคุยหรือสามารถส่งข้อมูลต่างๆ เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นงานด้านปฏิรูป ที่มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เกิดขึ้นแล้ว และพร้อมรับฟังทุกภาคส่วนต่างๆ ซึ่งการแสดงออกที่ออกมานั้นไม่เหมาะสมอย่างยิ่งและไม่สมควรที่จะกระทำ"
เมื่อถามว่าจะมีการเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยนายกรัฐมนตรีมากกว่านี้หรือไม่ พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า ได้เน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ในส่วนของทางทหารได้เน้นย้ำพล.ท.ธวัช สุกปลั่ง แม่ทัพภาคที่ 2 แล้วให้ดูแลให้เกิดความเรียบร้อย เหตุการณ์สามารถเกิดขึ้นมาได้ แต่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรียังได้รับความนิยมจากประชาชนโดยรวม จากการสำรวจโพลล์ของสำนักต่างๆ เรามั่นใจว่าจากโพลล์ที่สำรวจมาเราได้รับความร่วมมือและความเห็นชอบต่างๆมาด้วยดีตามลำดับ เพราะฉะนั้นการรักษาความปลอดภัยก็ไม่มีปัญหาอะไร

การเมืองยูเครนแรงระทึก นักการเมืองยูเครนถูกกลุ่มคนร้ายรุมราดน้ำมัน ขู่เผาทั้งเป็น

ระทึก นักการเมืองยูเครนถูกกลุ่มคนร้ายรุมราดน้ำมัน ขู่เผาทั้งเป็น
Cr:kapook
นักการเมืองหญิงยูเครนถูกกลุ่มคนร้ายบุกราดน้ำมัน ขู่เผาทั้งเป็น ชี้ครั้งนี้แค่เตือน ฝากถึงนักการเมืองรายอื่นหากเดินทางผิดจะโดนแบบนี้เช่นเดียวกัน
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 เว็บไซต์มิเรอร์ ได้เผยคลิปชวนระทึก ขณะที่ อิริน่า โกมิสซาร์ วัย 31 ปี อดีตนักการเมืองหญิงยูเครน ถูกกลุ่มคนร้ายสวมหน้ากากบุกราดน้ำมันหลังจากที่เพิ่งก้าวเท้าลงจากรถ ก่อนจะนำถุงที่ใส่ขนนกมาโปรยใส่ศีรษะของเธอ ก่อนที่จะรีบหนีจากไป ทิ้งให้เธอที่ช็อกและกลัวจนทำอะไรไม่ถูกได้แต่ยืนตะลึงอยู่ตรงนั้น
นับว่าโชคยังดีที่อิริน่ายังไม่โดนราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาดังที่เธอคิดไว้ แต่ก็เพียงแค่ครั้งนี้เท่านั้น เพราะกลุ่มคนร้ายได้อัดคลิปขณะลงมือและนำมาเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ พร้อมระบุว่านี่เป็นคำเตือนไปถึงกลุ่มนักการเมือง ว่าพวกเขาจะต้องโดนเช่นนี้หากเดินในทางที่ผิด
เห็นได้ชัดว่าการลงมือครั้งต่อไปคงไม่ใช่การโจมตีเบา ๆ เพียงเท่านั้นอีกแล้ว แต่น่าจะเป็นการจุดไฟเผาของจริง ในขณะที่มีคำเตือนไปยังอิริน่าด้วยว่า เธอน่าจะรีบหนีไปจากพื้นที่ดังกล่าว ก่อนที่จะเกิดเหตุรุนแรงขึ้นมาจริง ๆ

คุก 10 ปีลดกึ่งหนึ่ง ′คฑาวุธ′ นักจัดรายการวิทยุ คดี112 คดีแรกศาลทหาร

คุก 10 ปีลดกึ่งหนึ่ง ′คฑาวุธ′ นักจัดรายการวิทยุ คดี112 คดีแรกศาลทหาร
ศาลทหารพิพากษาจำคุก 10 ปีลดกึ่งหนึ่ง "คฑาวุธ นายแน่มาก" นักจัดรายการวิทยุออนไลน์ คดี 112 หลังถูกเรียกรางานตัวตามคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 44/2557 เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.57
18 พ.ย.2557 เว็บไซต์ ประชาไท รายงานว่า เมื่อเวลา 12.00 น. ที่ศาลทหาร มีนัดสอบคำให้การคดี 112 ที่นายคฑาวุธ (สงวนนามสกุล) เป็นจำเลย จำเลยถูกนำตัวจากเรือนจำมายังศาล โดยญาติต้องรอด้านนอกเนื่องจากพิจารณาคดีลับ
ทนายความจำเลยแจ้งว่า อัยการทหารฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาและมาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จำนวน 1 กรรม จำเลยให้การรับสารภาพ และศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 10 ปี จำเลยรับสารภาพลดโทษเหลือกึ่งหนึ่งคือ 5 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า โดยส่วนใหญ่คดี 112 ที่ได้รับการพิจารณาในศาลยุติธรรม ศาลจะลงโทษจำคุก 3-5 ปี ต่อ 1 กรรม
ทั้งนี้ คฑาวุธ เป็นนักจัดรายการวิทยุ ใช้ชื่อว่า "คฑาวุธ นายแน่มาก" ซึ่งเป็นรายการวิเคราะห์การเมืองเผยแพร่ทางเว็บไซต์ โดยเขาถูกเรียกเข้ารางานตัวตามคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 44/2557 เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.57 โดยถูกสอบสวนและควบคุมตัวในค่ายทหาร หลังคุมตัวครบ 7 วัน เขาถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 112 โดยเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าคลิปเสียงรายการตอนหนึ่งมีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดดังกล่าว จึงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำต่อเนื่องจนปัจจุบัน

ศาลทหารอนุมัติฝากขัง สาวผู้ต้องหาโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นเบื้องสูง เจ้าตัวยันถูกแกล้ง

ศาลทหารอนุมัติฝากขัง สาวผู้ต้องหาโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นเบื้องสูง เจ้าตัวยันถูกแกล้ง
ศาลทหารอนุมัติฝากขัง ‘จารุวรรณ’ ผู้ต้องหาสาวโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นเบื้องสูง ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง 12 วัน เจ้าตัวยันถูกกลั่นแกล้ง เนื่องจากมีผู้นำภาพและชื่อจริงไปโพสต์ข้อความหมิ่นฯ
18 พ.ย.2557 ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ที่ศาลทหาร พนักงานสอบสวนจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(ปอท.)นำตัว จารุวรรณ (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นเบื้องสูงมาขออำนาจศาลฝากขังผลัดแรก 12 วัน
โดยผู้ต้องหาได้คัดค้านการฝากขังแต่ไม่เป็นผล ศาลอนุมัติฝากขัง เจ้าหน้าที่จึงนำตัวไปคุมขังยังทัณฑสถานหญิงกลาง
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าเบื้องต้นผู้ต้องหาให้การปฏิเสธพร้อมระบุว่าถูกกลั่นแกล้ง เนื่องจากมีผู้นำภาพและชื่อจริงไปโพสต์ข้อความหมิ่นฯ
ผู้ต้องหาอายุ 26 ปี มีบุตร 2 คน พื้นเพเป็นชาวเพชรบูรณ์ ทำงานในโรงงานแห่งหนึ่ง เธอถูกควบคุมตัวและสอบสวนโดยทหาร 1 คืน ตั้งแต่คืนวันอาทิตย์ โดยทหารได้ควบคุมตัวแฟนของเธอไว้ด้วย ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ต่อหรือไม่ และหน่วยงานใด ต่อมาวันจันทร์เจ้าหน้าที่ทหารนำตัวเธอส่ง ปอท. เพื่อทำการสอบสวนและควบคุมตัวอีก 1 คืน ก่อนจะนำตัวมาฝากขังในวันนี้