PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ครม.เห็นชอบแต่งตั้ง คกก.ปฏิรูปตำรวจ 36 คน

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม.มีมติแต่งตั้งรายชื่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม(ตำรวจ)แล้ว ซึ่งในมาตรา 260 บัญญัติให้ครม.แต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งเพื่อดำเนินการดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิรูปตำรวจและกระบวนการยุติธรรมตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญและต่อเนื่องจากที่รัฐบาลนี้ได้ดำเนินการไว้แล้ว จำนวน 36 คน ประกอบด้วย พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธาน
นอกจากนี้ยังมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง,ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการโดยตำแหน่ง ปลัดกระทรวงยุติธรรม,กรรมการโดยตำแหน่ง,เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กรรมการโดยตำแหน่ง, อัยการสูงสุด กรรมการโดยตำแหน่ง
ส่วนกรรมการฝ่ายตำรวจ ประกอบด้วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พล.ต.อ.ชาญชิต เพียรเลิศ อดีตรองผบ.ตร., พล.ต.อ.รุ่งโรจน์ แสงคร้าม รองผบ.ตร., พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม, พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, พล.ต.อ.ปัญญา มาเม่น จเรตำรวจแห่งชาติ, พล.ต.ท.เรวัช กลิ่นเกษร อดีตผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด,พล.ต.อ.บุญชัย ชื่นสุชน อดีตผู้ช่วย ผบ.ตร. ,พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, พล.ต.อ.สุพร พันธุ์เสือ อดีตรองผบ.ตร., พล.ต.อ.สมศักดิ์ แขวงโสภา อดีตผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน, พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา รอง ผบ.ตร., พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันท์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ และพล.ต.ท.คำรบ ปัญญาแก้ว อดีตผู้ช่วย ผบ.ตร.
ส่วนของกรรมการฝ่ายผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.), นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายมานิจ สุขสมจิตร ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, นางเบญจพรรณ สร่างนิทร อดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.), นายศุภชัย ยาวะประภาษ นายกสมาคมโรงเรียนนายร้อยตำรวจ,นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), นายศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, นายธานิศ เกศวพิทักษ์ อดีตรองประธานศาลฎีกา, นายเข็มชัย ชุติวงศ์ รองอัยการสูงสุด, นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.), พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ, นายอมร วาณิชวิวัฒน์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พล.อ.ทวีป เนตรนิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และนายวรรณชัย บุญบำรุง รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยงานแรกของคณะกรรมการชุดนี้คือ การแต่งตั้งโยกย้ายเพื่อให้เสร็จออกมาก่อนในปีนี้

มติกกต.ตั้งอนุสอบ 90 สนช. ส่อขาดคุณสมบัติดำรงตำแหน่ง

มติกกต.ตั้งอนุสอบ 90 สนช. ส่อขาดคุณสมบัติดำรงตำแหน่ง

เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 4 กรกฎาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการกกต.เปิดเผยว่า ที่ประชุมกกต.มีมติตามที่สำนักกฎหมายของสำนักงานกกต.เสนอให้ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ตรวจสอบการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 186 ประกอบมาตรา 187 และมาตรา 170(5) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการถือครองหุ้น ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแแห่งชาติ (สนช.) 90 คน ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 264 วรรคสอง โดยประธานกกต.จะได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันนับจากนี้ และคณะอนุกรรมการไต่สวนมีเวลาดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันก่อนเสนอความเห็นต่อกกต. โดยหากเห็นว่าไม่มีมูลก็จะเสนอกกต.ยกคำร้อง แต่หากเห็นว่ามีมู, ก็จะเสนอให้กกต.มีความเห็นเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ผบ.ทบ.ขอแฟนคลับยิ่งลักษณ์อย่าเคลื่อน

"ผบ.ทบ."ขอ FC"ยิ่งลักษณ์"เข้าใจถึงสถานการณ์ ขอ ยึดบ้านเมืองเป็นหลัก"/" ส่ง กำลังทหารดูแลมวลชนให้กำลังใจ "ยิ่งลักษณ์ สืบพยานคดีจำนำข้าวนัดสุดท้าย 
         

พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. กล่าวถึง การดูแลรักษาความปลอดภัย การสืบพยานฝ่ายจำเลยคดีโครงการรับจำนำข้าวนัดสุดท้าย วันที่ 21ก.ค.ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  ว่า โดยปกติเจ้าหน้าที่จะมีการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยอยู่แล้ว ซึ่งหากเป็นการเข้ามาเคลื่อนไหว ชุมนุมหรือจัดกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการขออนุญาตเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน 

แต่หากเป็นการเข้ามาเพื่อให้กำลังใจเพียงอย่างเดียว ตนคิดว่าทุกคนที่มาคงเข้าใจดีว่าควรจะปฎิบัติตัวอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง  

ทั้งนี้ในด้านการรักษาความปลอดภัยนั้นจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลเป็นหลัก โดยจะมีการขอกองกำลังเสริม จากกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย(กกล.รส.) เข้าไปดูความเรียบร้อยและภาพรวมของความเรียบร้อยในพื้นที่ 

"ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน และเข้าใจสถานการณ์บ้านเมืองเป็นหลัก"

สาระ ร่างพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้


สาระสำคัญของร่างพระราชกำหนด

ปรับปรุงพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 และพระราชกำหนดการนำ คนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559 โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. กำหนดให้มี “คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและกำกับบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยให้คณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชกำหนดนี้ไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชกำหนดนี้

2. กำหนดให้การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยมี 2 กรณี ได้แก่

2.1 กรณีที่ผู้รับอนุญาตเป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
2.2 กรณีที่นายจ้างเป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีและต้องวางหลักประกันไว้กับอธิบดีเพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการที่นายจ้างได้นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ

2.3 กำหนดให้มี “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนชื่อและวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าว โดยให้รับโอนบรรดากิจการ เงิน สิทธิ และหนี้สินจากกองทุนเดิม

2.4 กำหนดการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ขึ้นใหม่ ให้นายจ้างผู้รับอนุญาตและลูกจ้างผู้รับใบอนุญาตทำงานซึ่งมีการจ้างงานตามพระราชกำหนดนี้ อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติประกันสังคม   พ.ศ. 2533

2.5 แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจนายทะเบียนในการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตและเพิ่มบทบัญญัติเรื่อง การประกาศรายชื่อนายจ้างที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติในเรื่องการให้คนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือ  ไม่จ่ายเงินทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 มีนาคม 2560--

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/cabt/2613249

ปฏิบัติยาก โดย นฤตย์ เสกธีระ

ปฏิบัติยาก โดย นฤตย์ เสกธีระ


เคยมีคนเตือนล่วงหน้าแล้วเรื่องการออกระเบียบกฎหมายที่ไม่ได้ผ่านการแสดงความคิดเห็น
เตือนว่าระวังยุ่ง เพราะปฏิบัติไม่ได้

ดังนั้น ผลพวงจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รวมไปถึงกฎหมายและกฎระเบียบที่ยากต่อการปฏิบัติ
สุดท้ายจะกลายเป็นปัญหา

ปัญหาแรกคือ ปัญหาความขัดแย้งทางความคิด

ปัญหาต่อมาคือ ปัญหาเมื่อถึงเวลาต้องปฏิบัติ

กรณีรัฐธรรมนูญกำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยกำหนดคณะกรรมการคุมยุทธศาสตร์เข้ม
มีบทลงโทษกับรัฐบาลที่จะมาบริหารประเทศต่อไปอีก 20 ปี

ก่อนหน้านี้เคยมีความเห็นแย้ง และขณะนี้กำลังจะมีคนแย้งขึ้นมาอีก

แย้งว่าขัดรัฐธรรมนูญเอง และแย้งว่ายากจะนำไปสู่การปฏิบัติ

เช่นเดียวกับร่างกฎหมายพรรคการเมือง ในกรณีของการกำหนดไพรมารี

เมื่อปรากฏออกมาอยู่ในบทบัญญัติของกฎหมาย นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน

คนร่างรัฐธรรมนูญและคณะยังรู้สึกว่าปฏิบัติไม่ได้

ขนาด นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. แม้จะบอกว่าต้องทำให้ได้ แต่ก็ยอมรับว่ายากต่อการปฏิบัติ

กรณีล่าสุดที่รัฐบาลเข้มงวดคือ การออก พ.ร.ก.การจ้างแรงงานต่างด้าว

เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือความตื่นกลัว

ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าวกลัวว่า หากปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดจะไม่มีแรงงาน

เพราะความเข้มงวดเหล่านั้น ทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสทำผิดกฎหมาย

ขณะเดียวกัน เมื่อข่าวแพร่ไปสู่แรงงานต่างด้าว แรงงานต่างด้าวเองก็ตื่นกลัว

ขณะนี้มีความเคลื่อนไหวบริเวณชายแดนกันแล้ว

ผลกระทบดังกล่าว แม้แต่ กกร.ก็อยู่นิ่งไม่ได้ ต้องรีบยื่นหนังสือให้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ช่วยเหลือ

และนายพรเพชรก็ส่งเรื่องต่อไปยังคณะกรรมาธิการของ สนช. เพื่อดูรายละเอียด

นี่คือตัวอย่างของกฎระเบียบที่ออกโดยไม่ได้หารือ

นี่ไม่ได้โทษรัฐบาลนะ รู้ว่าที่ออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้ประเทศไทยได้มาตรฐานสากล

แต่กำลังมองกระบวนการออกกฎหมาย ที่บางทีก็ก่อปัญหาให้เกิดขึ้นในภายหลังได้

เพราะแม้ผู้ออกกฎหมายมีเจตนาดี แต่หากกฎหมายนั้นส่งผลกระทบมหาศาล เวลาปฏิบัติย่อมเกิดปัญหาขึ้น

ก่อนหน้านี้ กรณีคำสั่ง ม.44 เรื่องนั่งท้ายรถกระบะคงพอเห็นเป็นตัวอย่าง

ตอนนี้ที่กำลังเป็นประเด็นก็คือเรื่องการจ้างแรงงานต่างด้าว

และต่อไป คาดว่าจะมีกฎระเบียบอีกหลายหลากที่จะมีผลบังคับใช้

ทั้งนี้ ระเบียบกฎหมายที่ประกาศใช้บังคับแต่ละฉบับ ย่อมส่งผลดีและผลกระทบ

ส่งผลดีกับกลุ่มหนึ่ง แต่คนอีกกลุ่มจะได้รับผลกระทบ

ดังนั้น กฎหมายซึ่งส่งผลกระทบ ที่กว่าจะประกาศใช้สุดแสนลำบาก เพราะต้องผ่านความคิดเห็นมากนั้น
ประกาศใช้ได้เมื่อใด การปฏิบัติจะง่าย เพราะคนเข้าใจและรู้เนื้อหามาแล้ว

แต่กฎหมายที่คลอดง่าย แต่คนที่ได้รับผลกระทบไม่รู้เรื่องด้วย

เมื่อประกาศใช้ ย่อมปฏิบัติยาก

ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลชุดนี้และชุดหน้าต้องเผชิญคือ การบังคับใช้กฎหมายที่คลอดง่าย แต่ปฏิบัติยาก
……………….

นฤตย์ เสกธีระ maxlui2810@gmail.com

บัญญัติ กฎหมาย บนฐาน แห่งการไม่รู้ แรงงาน ต่างด้าว

บัญญัติ กฎหมาย บนฐาน แห่งการไม่รู้ แรงงาน ต่างด้าว


กรณีพระราชกำหนด “แรงงานต่างด้าว” อันส่งผลให้มีการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช.ตาม “มาตรา 44” ชะลอและยืดเวลาการบังคับใช้

สำคัญและมากด้วยความแหลมคม

สำคัญเพราะเท่ากับเป็นรูปธรรมสะท้อนให้เห็นถึงความไม่รอบคอบ ความไม่รัดกุมอย่างเพียงพอในการตรา “กฎหมาย”

อาจเปี่ยมด้วย “เจตนาดี” แต่ไม่สอดคล้องกับ “ความเป็นจริง”

เจตนาดีในที่นี้ คือ ต้องการจัดระเบียบ วางระบบ ในเรื่อง “แรงงานต่างด้าว” เพื่อให้สามารถควบคุมได้ และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ในเรื่อง “การค้ามนุษย์”

เป้าหมายอาจอยู่ที่ “เทียร์” อันมาจาก “สหรัฐ”

แต่ความเป็นจริงจากสหรัฐก็คือ ไม่มีผลอะไรเลย เรายังคงถูกจัดอยู่ในจุดเดิม “ถูกเฝ้ามอง” ราวกับว่าการประกาศและบังคับใช้ “พระราชกำหนด” สูญเปล่า

เท่ากับ “เจตนา” ไม่เป็นเอกภาพกับ “ผล”

ยิ่งกว่านั้น เมื่อมีเสียงร้องอย่างอึกทึก ไม่ว่าจะเป็นสภาหอการค้าไทย ไม่ว่าจะเป็นสภาอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านประมง ก่อสร้าง ร้านอาหารและรีสอร์ต

ยิ่งทำให้เห็นว่า “ผลสะเทือน” กว้างไกล และลึกซึ้ง

ธุรกิจขนาดใหญ่มีต้นทุนสูง มีสายป่านยาว อาจสามารถต้านรับกับ “พระราชกำหนด” ได้ แต่ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก หนักหนาสาหัส

ที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ยิ่งยอบแยบ

ปมเงื่อนก็คือ แรงงานจากพม่า กัมพูชา ลาว เกิดการถอนตัวอย่างฉับพลัน เฉพาะแรงงานพม่าก็คืนกลับประเทศโดยฉับพลันเป็นเรือนหมื่น

การก่อสร้างหยุดชะงัก การประมงเป็นอัมพาต

คำถามพุ่งตรงไปยังกระทรวงแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประกาศและบังคับใช้อย่างจู่โจมเช่นนี้มีการตระเตรียมรับมืออย่างไร

คำตอบก็คือ ไม่มีอะไรเลย

กรณีของพระราชกำหนดอันเกี่ยวกับ “แรงงานต่างด้าว” จึงดำเนินไปเหมือนกับกรณีคำสั่งหัวหน้า คสช.ในเรื่องของ “รถกระบะ”

เจตนาดี แต่ไม่สอดคล้องกับสภาพ

คำว่า “สภาพ” ในที่นี้คือความเป็นจริง ไม่ว่าความเป็นจริงของการใช้รถกระบะของชาวบ้าน ไม่ว่าความเป็นจริงของแรงงานต่างด้าวในธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก

เท่ากับซ้ำเติม “ประชาชน”

เท่ากับแสดงให้เห็นว่า ก่อนการออกเป็นคำสั่ง หัวหน้า คสช.มิได้มีการศึกษาวัฒนธรรมและความสำคัญของรถกระบะของชาวบ้านอย่างเพียงพอ

ถึงกับอาศัยอำนาจ “มาตรา 44” มา “ทุบ”

เท่ากับแสดงให้เห็นว่า แม้กระทั่งกระทรวงแรงงานซึ่งสัมพันธ์กับ “แรงงานต่างด้าว” มาอย่างยาวนาน แทบไม่ได้สรุปบทเรียนอะไรเลย

โดยเฉพาะบทเรียน “ข่าวลือ” ในห้วงหลัง “รัฐประหาร”

โดยเฉพาะความเป็นจริงที่แรงงานพื้นฐานในสังคมประเทศไทยแอบอิงอยู่กับ “แรงงานต่างด้าว” อย่างแนบแน่น

เป็นไปได้อย่างไร

จะโทษ คสช.ก็ไม่ถนัดปาก จะโทษรัฐบาลก็น่าเห็นใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ “รถกระบะ” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ “แรงงานต่างด้าว” เพราะเรื่องอย่างนี้ “ทหาร” อาจไม่รู้มาก่อน

ต้องโทษบรรดาพลเรือน ต้องโทษบรรดาข้าราชการ ซึ่งทำงานสัมพันธ์อยู่กับประชาชน เหตุใดจึงไม่บอกความจริงให้กับ คสช.และรัฐบาล

เจตนาดีอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้อง “รู้” ด้วย

"บิ๊กตู่" เป็น "ข้าวเหนียว ไม่เปียกน้ำ" ไปที่ไหน ก็ได้ อยู่ยังไง ก็ได้

ชึ้ "บิ๊กตู่" เป็น "ข้าวเหนียว ไม่เปียกน้ำ" ไปที่ไหน ก็ได้ อยู่ยังไง ก็ได้
พระจาก วัดบูรพา เมือง อุบลราชธานี นำ เทียนแกะสลัก รูป "คุณทองแดง" สุนัขทรงเลี้ยง เพื่อถวาย "ร.9" มาให้นายกฯชม ก่อนประชุม ครม. ในโอกาส เทศกาลเข้าพรรษา 9 กค. นี้
พระครู สถิตย์ บุญวัฒน์ บอกว่า ได้เจอตัวจริง นายกฯบิ๊กตู่ วันนี้ เหมือนในทีวี. มีทั้งดุ เข้ม และ ตลก อารมณ์ดี แล้วแต่ข่าว แล้วแต่ช่อง
"เคยเห็น นายกฯบิ๊กตู่ ปั้นข้าวเหนียว มั้ยล่ะ บิ๊กตู่ ก็เหมือน ข้าวเหนียว นั่นล่ะ แต่เป็นข้าวเหนียว ไม่เปียกน้ำ ไปที่ไหน ก็ได้ ไม่เป็นไร ไม่ใช่ ข้าวเหนียวเปียกน้ำ นั่นไม่ได้ความ แต่ นายกฯ เป็น ข้าวเหนียว ไม่เปียกน้ำ ไปได้ทุกที่ อิสานไปก็ไปได้
อยู่ยังไง ก็อยู่ได้"
แต่จะอยู่ยาว แค่ไหน ให้ รอชม....

"บิ๊กเจี๊ยบ"เผย ที่ประชุมคสช.เห็นชอบใช้ ม.44 ยืดใช้พรก.แรงงานต่างด้าว มีผล1 มค.61

"บิ๊กเจี๊ยบ"เผย ที่ประชุมคสช.เห็นชอบใช้ ม.44 ยืดใช้พรก.แรงงานต่างด้าว มีผล1 มค.61 ยืดไป 180 วัน ใน มาตรา101,102,119,122 นายกฯสั่งหาคนเรียกรับผลประโยชน์ แรงงานพม่าที่ชายแดน
พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ./เลขาฯคสช. กล่าวถึง พรก.แรงงานต่างด้าว ว่า กม.ฉบับนี้ ส่งผลดี ในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว เป็นระบบ. และมีผลต่อความมั่นคง อีกทั้ง ประเทศเราแรงงานยัง เสรี อีกทั้ง ตัวเลขไม่ชัดเจน จึง ต้องมีการควบคุม อีกทั้ง ในเรื่อง ค้ามนุษย์ ทางEU ก็ยังเพ่งเล็งเราอยู่
แต่ยอมรับว่า กม.นี้ ทำให้ สังคมยังกังวล เพราะการแจ้งเตือน ให้ประขาชนปรับตัว ยังทำได้จำกัด ส่วนบทลงโทษ ค่าปรับ ที่ดูว่า สูงนั้น แต่ความจริงแล้ว มีความเชื่อมโยง ใกล้กับ กม.ฉบับอื่น ยืนยันว่า พรก.ฉบับนี้ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเศรษฐกิจ ในประเทศ
ดังนั้น ที่ประชุมคสช. จุงเห็นชอบใช้ ม.44 ยืดใช้พรก.แรงงานต่างด้าว มีผล1 มค.61 ยืดไป 180 วัน ใน มาตรา101-102-119-122 ส่วนรายละเอียด ทางรัฐบาล จะมีการแถลง
ส่วน ผวจ.เมียวดี ของพม่า ส่งหนังสือแจ้งว่ามีจนท.เรียกรับประโยขน์ จากแรงงานต่างด้าวนั้น พลเอกเฉลิมชัย กล่าวว่าพลเอกประยุทธ์ ได้สั่งการในที่ประชุม คสช. ให้ไปตรวจสอบ และ ตามหาตัว คนที่เรียกรับประโยขน์ ให้ได้

คนนอกคนในก็ชื่อเดียว

คนนอกคนในก็ชื่อเดียว

เด้งเชือก ตีกรรเชียง ล้อคลื่นไปตามจังหวะกระแส

เจอแหย่ถามถี่ๆเข้า “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม ก็ออกตัวแค่ว่า ตอนนี้ยังไม่มีความคิด แต่อนาคตจะเข้าสู่สนามการเมืองหรือไม่ ยังตอบไม่ได้

มาฟอร์มเดียวกันกับ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช.ที่ออกตัวแค่ว่า “สถานการณ์จะเป็นตัวชี้วัดเองว่าเราควรจะทำอย่างไรในอนาคต”

“บิ๊กตู่-บิ๊กป้อม” แทงกั๊ก ไม่รีบมัดคอตัวเองให้ลำบากภายหลัง

เพราะตัวอย่างของการตระบัดสัตย์เพื่อชาติมันมีให้เห็นมาแล้วว่า จุดจบเป็นยังไง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ล่าสุดเหมือนจะมีการเฉลยคำตอบกันเป็นนัย เมื่อมีการยึดโยงกับเงื่อนไขรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ชัด หาก คสช.และทีมงานแม่น้ำ 5 สายจะลงสนามการเมือง ต้องลาออกจากตำแหน่งภายในระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ภายหลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้

นั่นหมายถึง “จบข่าว” ไปเลย

ตามเงื่อนไขสถานการณ์เป็นไปไม่ได้ที่ “บิ๊กตู่” กับ “บิ๊กป้อม” จะไขก๊อกจากเก้าอี้ เพื่อแต่งตัวรอลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นนักการเมืองเต็มตัว

ชัวร์เลยว่า ไม่มีใครบ้องตื้นเล่นแผลงๆแน่

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะลงเลือกตั้งเองหรือขึ้นเสลี่ยงคานหามเป็นนายกฯ

กระแสมาถึงตรงนี้ แปะข้างฝาได้ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” คือนายกรัฐมนตรี ในช่วงเปลี่ยนผ่านอย่างน้อย 5 ปี ตามเงื่อนไขที่ล็อกไว้ในบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ

สังคมไทยคุ้นเคยกับคำตอบสุดท้ายแล้ว

แนวโน้มตามสถานการณ์ก็เหลือแค่การขยับ “ชิงพื้นที่อำนาจ” ทีมงานของ “นายกฯลุงตู่” ต้องเดินหน้ายกระดับเพิ่มความชอบธรรมในการต่อตั๋วคุมเกมอำนาจต่อ

โดยเฉพาะการตุนคะแนนนิยมรัฐบาล คสช.

ตามท้องเรื่องอย่างที่กัปตันทีมอย่างนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ วางยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ สอดแทรกการ “มัดจำ” แต้มทางการเมือง

อัดฉีดสารพัดมาตรการช่วยเหลือคนจนฐานรากของประเทศ ผ่านโครงการยี่ห้อ “ประชารัฐ”

ล่าสุดก็เป็นอีกช็อตสำคัญ ตามการประกาศของ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ จ่อเสนอที่ประชุม ครม.สัปดาห์นี้ เพื่ออนุมัติงบประมาณกลาง วงเงิน 2.2 หมื่นล้านบาท

ตามแผนกระจายเงินให้กับเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยลงสู่ชุมชนทั่วประเทศ ชุมชนละ 2.5 ล้านบาท ในรูปของค่าแรงในการจ้างงานผ่าน เกษตรกรยากจนที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้ ประมาณรายละ 2,500 บาท หรือตามการทำงานจริงตามค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท

ยุทธศาสตร์ 2 เด้ง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากพร้อมกับบรรเทาปัญหาปากท้องชาวบ้าน

“นายกฯลุงตู่” กับ “สมคิด” ลุย “ประชารัฐ” ให้ลืม “ประชานิยม”

แต่ปมมันอยู่ตรง “จุดบอด” รัฐบาล คสช.อ่อนด้อยในการสื่อสารกับสังคม

ตัวอย่างสดๆร้อนๆกับ “หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร” ทั้งที่เป็นเงินลงทุนของภาคเอกชนทั้งหมด แต่บังเอิญเป็นโครงการที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท ต้องสรรหาเอกชนโดยการประมูลตรงนี้รัฐบาล

คสช.จึงต้องพิจารณาเห็นชอบให้งดเว้นไม่ต้องประมูล

และงบประมาณจริงๆแค่ 4–5 พันล้าน แต่บวกไปบวกมาโฆษกรัฐบาลแถลงตัวเลขกลมๆ 7 พันกว่าล้านบาท กระแสเลยกลายเป็นรัฐบาลทุ่มงบ 7 พันล้านสร้างหอชมเมืองโดยไม่ต้องประมูล

เข้าเหลี่ยมตีปี๊บประจาน รัฐบาลโดนถล่ม “งุบงิบงาบ” ตามฟอร์ม

จากหอชมเมืองต่อเนื่องมาถึง “พ.ร.ก.ต่างด้าว” ที่กระตุกต่อมผวา แรงงานพม่า กัมพูชา ลาว อพยพกลับประเทศกันจ้าละหวั่น วันละหลายหมื่นคน

ส่งผลให้ภาคธุรกิจสะดุดหัวทิ่มกันเป็นแถว เพราะขาดแรงงาน

บางแห่งต้องเลิกกิจการทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ต้องใช้อำนาจมาตรา 44 สั่งชะลอการบังคับใช้ พ.ร.ก.ออกไป โดยเฉพาะ 3 มาตราสำคัญที่เกี่ยวกับการเอาผิดนายจ้าง ลูกจ้าง ออกไปอีก 120 วัน

เรื่องของเรื่อง มันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่รัฐบาลไทยต้องแสดงความจริงจัง เพื่อเคลียร์ปมค้ามนุษย์ รวมถึงป้องกันปัญหาด้านความมั่นคงและโครงสร้างทางเศรษฐกิจในระยะยาว

เพียงแต่ขาดการสื่อสาร สไตล์รวบรัดแบบทหาร ทำให้เกิดความเสียหาย

“แต้มบวก” เลยกลายเป็น “แต้มลบ” ซะงั้น.
ทีมข่าวการเมือง

ไทยกำลังกลับไปเป็น “คนไข้หมายเลขศูนย์” “Patient Zero” อีกครั้ง?

Pipob Udomittipong
21 ชม.
William Pesek คอลัมนิสต์ดังของ Bloomberg เชี่ยวชาญเศรษฐกิจเอเชียบอก เป็นเรื่องประหลาดที่ครบรอบ 20 ปี #ต้มยำกุ้ง ไทยกำลังกลับไปเป็น “คนไข้หมายเลขศูนย์” “Patient Zero” อีกครั้งหนึ่ง (อย่างไม่เต็มใจ) ด้วยผลงานสุดบู่ของทหาร ซึ่งบริหารยังไง เศรษฐกิจของเราจึงเติบโต ”ต่ำเตี้ย” กว่าชาวบ้านเขา ฟิลิปปินส์โต 6% อินโดฯ โต 5% แต่ไทยอย่างเก่งแค่ 3.3% ทำไม?
พีเส็กบอกว่าเป็นเพราะสิ่งที่รัฐบาลทหารทำคือการพยายาม “ลอก” การบ้านมาจากรัฐบาลทักษิณ ในแง่การทำตัวเป็น “รัฐบาลประชานิยม” “ลดแลกแจกแถม” แต่ที่ทำไม่เป็นและไม่ได้ทำคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมและ innovation ได้รวดเร็วพอ หากินวนเวียนอยู่กับของเก่า ๆ (การท่องเที่ยวไง เป็นสิ่งเดียวที่รัฐบาลคุยได้ และคุยมาตลอด จัดงาน ออกบูธ ดมรองเท้าอยู่นั่นแหละ อันนี้ผมว่าเองนะ)
“ประชานิยม” ของรัฐบาลนี้มีแต่จะก่อหนี้สาธารณะให้เพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (competitiveness) เลย สิ่งที่จะดึงดูดให้ Toyota หรือ Samsung มาสร้างโรงงานในเมืองไทยคือการแจกเงินหรือ? เปล่า แต่เป็นการพัฒนาถนนหนทาง ท่าเรือ สะพาน สายส่งไฟฟ้า ฯลฯ มากกว่า ที่สำคัญอีกอย่างคือการทำให้เมืองไทยคอร์รัปชันน้อยลง เพราะอย่างน้อยมันก็ช่วยให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจกระจายลงไปสู่คนข้างล่างมากขึ้น อันนี้รัฐบาลทหารก็ทำไม่สำเร็จ ในความเห็นของนายพีเส็ก
น่าเศร้า ครบรอบ 20 ปี ไทยก็กำลังกลับมาเป็น “Sick Man of Asia” อีกครั้งหนึ่ง
ท่อนนี้เศร้ามาก แต่จริง “But if you’d told Thais in 1997 that 20 years on men with guns would be running the place, few would’ve thought it remotely possible.”