PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

สมบัติ:การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

"การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง"

การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง( Impeachment )เป็นมาตรการลงโทษนักการเมืองที่ประยุกต์มาจากระบบแบ่งแยกอำนาจของสหรัฐอเมริกาและนำมาใช้กับรัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่ฉบับปี2540และ2550 มาตรการนี้มีวัตถุประสงค์ในการถอดนักการเมืองออกจากตำแหน่งและตัดสิทธิ์ทางการเมืองเท่านั้นไม่มีโทษจำหรือโทษปรับแต่อย่างใด

ตั้งแต่นำมาตรการนี้มาใช้ปรากฎว่ายังไม่เคยถอดถอนนักการเมืองได้แม้แต่คนเดียว มีเพียงกรรมการองค์กรอิสระเพียงคนเดียวที่เคยถูกถอดออกจากตำแหน่ง แสดงว่ามาตรการนี้เมื่อนำมาใช้กับระบบการเมืองไทยที่เป็นระบบอุปถัมภ์โดยให้วุฒิสภาเป็นผู้ลงมติถอดถอนใช้ไม่ได้ผล บางท่านระบุว่าเป็นเพราะใช้มติ 3 ใน 5 ซึ่งมากเกินไป

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่มีศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณเป็นประธานได้เสนอว่าให้วุฒิสภาร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้พิจารณาลงมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยให้ใช้มติเกินกึ่งหนึ่งของที่ประชุม การลดสัดส่วนของมติการถอดถอนลงโดยคาดหวังว่าจะทำให้การถอดถอนมีโอกาสประสบความสำเร็จ

ตามข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างฯจะมีส.ส.จำนวน450คนและส.ว.จำนวน200คนโดยส.ว.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จึงหวังว่าจะไม่อยู่ใต้อิทธิพลของนักการเมือง ถ้าใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของสองสภารวมกันคือเกิน325คนขึ้นไป โอกาสการถอดถอนสำเร็จน่าจะเป็นไปได้มาก

แต่ถ้าพิจารณาจากพฤติกรรมของนักการเมืองไทยในปัจจุบัน จะพบว่ามาตรการนี้จะไม่สามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ประพฤติมิชอบได้สำเร็จ ทั้งนี้เพราะนักการเมืองพรรครัฐบาลคงจะรวมหัวกันจัดตั้งรัฐบาลผสมให้มีเสียงเกิน330คนขึ้นไป ซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของ650คนของที่ประชุมร่วมกันของทั้งสองสภา ถ้ารัฐบาลมีเสียงเกิน330คน ก็ไม่มีทางที่คนของรัฐบาลจะถูกถอดถอน ต่อให้ส.ว.ทั้ง200คนร่วมมือกับส.ส.ฝ่ายค้านอีก120คนรวมได้คะแนนถอดถอนสูงสุดคือ320คน ซึ่งไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา หมายความว่าจะไม่สามารถถอดถอนสำเร็จเลย

รัฐธรรมนูญปี2540กำหนดไว้ว่า ถ้าจะอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี จะต้องมีเสียงอภิปรายไม่ไว้วางใจไม่น้อยกว่า200เสียง จากจำนวนส.ส.ทั้งหมด500คน เพื่อให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีกระทำได้ยาก หลังการเลือกตั้งปี2544ซึ่งเป็นการเลือกตั้งส.ส.ครั้งแรก ปรากฎว่าไม่มีพรรคใดได้เสียงเกินครึ่ง พรรคไทยรักไทยของพ.ต.ท.ทักษิน ชินวัตรมีเสียงส.ส.สูงสุดได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษินได้จัดตั้งรัฐบาลผสมโดยมีเสียงเกิน300เสียง ทำให้ตลอดวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯของพ.ต.ท.ทักษินไม่เคยถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจเลย กรณีนี้คงเป็นตัวอย่างได้ดีว่าถึงแม้จะใช้เสียงถอดถอนเพียงเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภาคือเกิน325คนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จน้อย หรือแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลยถ้ามีรัฐบาลผสมเกิน330เสียงขึ้นไป มาตรการถอดถอนก็จะเป็นเสือกระดาษที่ไม่เป็นที่เกรงกลัวของนักการเมืองแต่อย่างใด ขอให้ติดตามต่อไปถ้ามีมาตรการนี้เชื่อว่ารัฐบาลผสมที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งจะมีเสียงไม่น้อยกว่า330เสียงแน่นอน

กรรมาธิการยกร่างฯยังได้เสนอต่อไปอีกว่าถ้ารัฐสภาไม่สามารถถอดถอนได้สำเร็จให้นำรายชื่อผู้ที่ถูกถอดถอนไม่สำเร็จมาจัดทำเป็นบัญชีให้ประชาชนลงมติถอดถอนโดยตรงในวันเลือกตั้งทั่วประเทศ ถ้าผู้ใดถูกประชาชนลงมติถอดถอนให้ตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต ซึ่งจะรุนแรงกว่าถูกรัฐสภาถอดถอนที่จะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเพียง 5 ปี

ถ้าพิจารณาจากพื้นที่ฐานเสียงทางการเมืองของพรรคการเมืองจะพบว่าสภาพการเมืองไทยปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่มการเมืองชัดเจน ดังนั้นพื้นที่ฐานเสียงของรัฐบาลย่อมมีมากกว่าพื้นที่ฐานเสียงของฝ่ายค้าน เมื่อให้ประชาชนลงมติพรรคร่วมรัฐบาลย่อมรณรงค์ให้ประชาชนที่สนับสนุนลงมติไม่ถอดถอน การถอดถอนก็จะไม่สำเร็จอีกเช่นกัน วันนี้ประชาชนที่สังกัดกลุ่มเขาจะจงรักภักดีกับกลุ่มของเขามาก ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเขาก็จะสนับสนุนกลุ่มของเขาก่อนสิ่งใดอื่น

ดังนั้นเรื่องที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาการเมืองของไทย ถ้าใช้แล้วไม่ได้ผลก็ไม่ควรจะดันทุรังใช้ต่อไป การถอดถอนและการตัดสิทธิ์ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ประพฤติมิชอบควรมอบให้เป็นหน้าที่ของตุลาการที่เป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยตามระบอบประชาธิปไตย ตามที่เคยกำหนดไว้ในวรรคแรกของมาตรา275โดยกำหนดเพิ่มเติมให้ชัดเจนว่า"ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีความผิดตามที่ถูกกล่าวหาให้พ้นจากตำแหน่งทันทีหลังจากที่มีคำวินิจฉัยและให้ตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต"ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี2557มาตรา35(4) แนวทางนี้จะมีความเป็นไปได้มากที่สุด

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
12 มกราคม 2558

คำแถลงของสำนักงานอัยการสูงสุด

คำแถลงของสำนักงานอัยการสูงสุดคดีโครงการรับจำนำข้าว


ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช ได้ส่งสำนวนการไต่สวนกรณีกล่าวหานางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิด  ต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการในโครงการรับจำนำข้าว เพื่อให้อัยการสูงสุดพิจารณาฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 123/1 ซึ่งต่อมาอัยการสูงสุด ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า คดีดังกล่าวที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งมานั้นยังไม่สมบูรณ์พอที่จะยื่นฟ้องคดี   ต่อศาลได้ อัยการสูงสุดจึงแจ้งข้อไม่สมบูรณ์ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบ  และต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช.และอัยการสูงสุดได้ตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อเป็นผู้แทนไปดำเนินการพิจารณาพยานหลักฐาน ที่ไม่สมบูรณ์ และรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์ เพื่อส่งให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีต่อไป  นั้น

ต่อมาเมื่อมีการตั้งคณะทำงานทั้งสองฝ่ายแล้ว คณะทำงานฝ่ายผู้แทนอัยการสูงสุด และคณะทำงานฝ่ายผู้แทนคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการนัดประชุมพิจารณาพยานหลักฐาน ที่ไม่สมบูรณ์ และไปดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์ตามข้อไม่สมบูรณ์ที่พิจารณา ตกลงกันได้ โดยได้มีการขอเอกสารหลักฐานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สอบปากคำพยานบุคคลที่จำเป็นแก่คดีเพิ่มเติมเพื่อให้สิ้นกระแสความ รวมทั้งอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายต่อไป

เมื่อคณะทำงานทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานตามข้อไม่สมบูรณ์  ที่ตกลงกันได้ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ต่อมาวันที่ 20 มกราคม 2558 คณะทำงานได้นัดประชุม เพื่อพิจารณาผลการรวบรวมพยานหลักฐานร่วมกัน และมีความเห็นว่า การดำเนินการของคณะทำงานร่วม ได้ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานตามข้อไม่สมบูรณ์ดังที่พิจารณาตกลงกันได้เสร็จสิ้นแล้ว จึงมีมติให้ส่งพยานหลักฐานทั้งหมดเสนออัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อไปตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542

อัยการสูงสุดได้พิจารณาพยานหลักฐานที่คณะทำงานส่งมาดังกล่าวข้างต้น  ประกอบพยานหลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมดในสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้วเห็นว่า คดีมีความสมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีอาญาฟ้องผู้ถูกกล่าวหาต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้  จึงให้ดำเนินคดีอาญาฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตามข้อกล่าวหา
จึงแถลงมาให้ทราบโดยทั่วกัน.

สำนักงานอัยการสูงสุด
23  มกราคม 2558

อสส.สั่งฟ้องคดีจำนำข้าวยิ่งลักษณ์

"อัยการสูงสุด"เซ็นคำสั่งฟ้อง"อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์"ปฏิบัติหน้าที่มิชอบกม.อาญามาตรา157-กม.ปปช. ม.123/1โทษคุก10ปี

นายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล อธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวนและหนึ่งในคณะทำงานร่วมของฝ่ายอัยการ และนายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้แถลงผลสั่งคดีโครงการรับจำนำข้าวที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ที่มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายในโครงการรับจำนำและระบายข้าวทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 123/1

นายสุรศักดิ์ อธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน ว่า เมื่อนายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุดแจ้งข้อไม่สมบูรณ์พยานหลักฐานแล้ว ต่อมาฝ่าย ป.ป.ช. และอัยการสูงสุด ได้ตั้งคณะทำงานร่วมขึ้นเพื่อดำเนินการพิจารณาพยานหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์นั้น ปรากฏว่าคณะทำงานฝ่ายผู้แทนอัยการสูงสุด และคณะทำงานฝ่ายผู้แทน ป.ป.ช. ได้นัดประชุมพิจารณาพยานหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์ และไปดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์ตามข้อไม่สมบูรณ์ที่พิจารณาตกลงกันได้ โดยได้มีการขอเอกสารหลักฐานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สอบปากคำพยานบุคคลที่จำเป็นแก่คดีเพิ่มเติมเพื่อให้สิ้นกระแสความ รวมทั้งอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์ตามอำนาจหน้าที่ โดยวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา คณะทำงานร่วมทั้ง 2 ฝ่ายได้ประชุมเพื่อพิจารณา

ผลการรวบรวมพยานหลักฐานร่วมกันแล้วมีความเห็นว่า ได้รวบรวมพยานหลักฐานตามข้อไม่สมบูรณ์ดังที่พิจารณาตกลงกันได้เสร็จสิ้นแล้ว จึงมีมติให้ส่งพยานหลักฐานทั้งหมด เสนอนายตระกูล อัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อไปตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542

นายสุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า นายตระกูล อัยการสูงสุด ได้พิจารณาพยานหลักฐานที่คณะทำงานร่วม ส่งมา ประกอบพยานหลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมดในสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว เห็นว่า คดีมีความสมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีอาญาฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้ถูกกล่าวหา ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ จึงจะให้ฟ้องคดีอาญาตามข้อกล่าวหาต่อไป ซึ่งอัยการสูงสุด จะตั้งคณะทำงานอัยการขึ้นมาเพื่อร่างฟ้องและตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่มีกว่า 4,000 หน้า ให้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกา ฯ โดยคาดว่าจะเวลาประมาณ 1 เดือนไม่เกินเดือน มี.ค.นี้ ขณะที่อัยการสูงสุด จะประสาน ป.ป.ช.ให้นำตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาฟ้องคดี แต่หากไม่ได้ตัวมาฟ้องนั้น ตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2553 ข้อ 8 ระบุว่า หากได้ตัวมาศาลในวันฟ้อง ก็ให้ผู้พิพากษาประจำแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เป็นผู้พิจารณาในการขังหรือปล่อยตัวจำเลยชั่วคราว

แต่หากไม่ได้นำตัวมาศาล ให้โจทก์ระบุที่อยู่จริงของจำเลยมาในฟ้องด้วย ทั้งนี้เพื่อที่ศาลจะหมายเรียกให้ผู้นั้นมาศาลในกำหนดวันนัดพิจารณาตามกฎหมาย ส่วนการยื่นฟ้องอัยการจะคัดค้านการให้ประกันตัวหรือไม่ ยังไม่ได้หารือต้องรอให้คณะทำงานพิจารณาต่อไป แต่ถ้ายื่นฟ้องถือเป็นอำนาจและดุลยพินิจของศาลฎีกาฯ ว่าจะให้ประกันหรือไม่

เมื่อถามถึงกรณีที่นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์ รองอัยการสูงสุด ในฐานะประธานคณะทำงานร่วมฝ่ายอัยการ เคยให้ข่าวว่าสำนวนยังไม่ได้ข้อสรุปแสดงว่ามีความขัดแย้งกันในคณะทำงานร่วมหรือไม่ นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า การพิจารณาสำนวนคณะทำงานร่วมได้เห็นชอบแล้ว และรายงานผลให้อัยการสูงสุดรับทราบหมดแล้ว ซึ่งคณะทำงานได้ตรวจสอบพิจารณาพยานหลักฐานขั้นสุดท้ายในสำนวนคดีก่อนส่งความเห็นให้อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งคดี โดยอัยการสูงสุด ได้เซ็นคำสั่งฟ้องแล้วเมื่อช่วงเช้าวันนี้ (23 ม.ค.) ซึ่งฐานความผิดเป็นไปตามข้อกล่าวหา ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 123/1 ซึ่งอัตราโทษตามกฎหมายดังกล่าว กำหนดจำคุกสูงสุดไม่เกิน 10 ปี

เมื่อถามว่า วันนี้ ทนายความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมเพิ่มเติมแล้วอัยการ ได้พิจารณาหรือไม่ นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา เคยยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมเข้ามาโดยอัยการสูงสุดได้พิจารณาไปแล้ว ส่วนที่ยื่นอีกครั้งในวันนี้ไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาแล้ว เนื่องจากได้ยื่นภายหลังที่อัยการสูงสุด มีคำสั่งฟ้องแล้ว โดยอัยการสูงสุดให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

เมื่อถามว่า การสั่งฟ้อง สอดคล้องกรณีที่ สนช. นัดประชุมเพื่อลงมติการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ อดีตนายก ฯ จากตำแหน่งหรือไม่ นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะคดีอัยการสูงสุดพิจารณาไปตามพยานหลักฐานในสำนวน

"อัยการสูงสุดเห็นว่าพยานหลักฐานครบถ้วนสมบูรณ์แล้วจึงได้มีคำสั่งดังกล่าว โดยอัยการพิจารณาสำนวนคดีอย่างรอบคอบ รวดเร็ว และเป็นธรรม" นายสุรศักดิ์ กล่าวย้

ำเมื่อถามว่า การที่อัยการเลื่อนเวลาแถลงผลสั่งฟ้องคดีเร็วขึ้น เป็นการเทน้ำหนักใ ห้ สนช.ในการลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์หรือไม่ นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวข้อง โดยอัยการสูงสุดมีภารกิจจะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ จึงลงนามคำสั่งฟ้องและนัดแถลงข่าวเช้าวันนี้ เมื่อถามว่า หากระหว่างการฟ้องคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางไปต่างประเทศ อัยการจะมีแนวทางป้องกันไม่ให้หลบหนีเหมือนอย่างไร นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องในอนาคต ขณะนี้คดียังไม่เข้าสู่ศาลฎีกาฯ แต่หากเป็นเช่นนั้น ตามกฎหมาย อัยการสูงสุดในฐานะผู้ประสานงานกลางตามกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน จะประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อติดตามตัวต่อไป

เมื่อถามว่า อัยการจะพิจารณารนำสำนวนคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ พร้อมพวกรวม 23 ราย ที่ ป.ป.ช.เพิ่งชี้มูลความผิด รวมกับสำนวนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีข้อเท็จจริงเชื่อมโยงกันหรือไม่ นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า สำนวนคดีของนายบุญทรง กับพวกนั้น ป.ป.ช.ยังไม่ได้ส่งมาให้อัยการ แต่หากข้อเท็จจริงของทั้งสองสำนวนมีประเด็นเกี่ยวพันกัน ก็อาจจะรวมเป็นสำนวนคดีเดียวกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ก่อนที่อัยการจะแถลงข่าวถึงผลการสั่งฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ปรากฏว่าเมื่อเวลา 08.45 น. นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความของน.ส.ยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดิน
ทางมายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุดเพิ่มเติมอีก

ขณะที่นายนรวิชญ์กล่าวว่า การยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมวันนี้ เพราะเห็นว่า เร่งสั่งคดี และยังสอดคล้องกับที่ สนช.จะลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ในวันนี้อีก ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ได้รับความเป็นธรรม

ผู้สื่อข่าวรายงานถึงขั้นตอนหากมีการยื่นฟ้องคดีด้วยว่า หาก อัยการสูงสุดยื่นคำฟ้องคดีต่อศาลฎีกาฯ แล้ว นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา จะเรียกประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมดภายใน 14 วันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 เพื่อเลือกผู้พิพากษา 9 คนเป็นองค์คณะรับผิดชอบคดี และเลือกผู้พิพากษา 1 คนในองค์คณะเป็นเจ้าของสำนวนคดี ก่อนที่ศาลนัดฟังคำสั่งว่าจะรับฟ้องคดีไว้พิจารณาพิพากษาหรือไม่ โดยศาลจะพิจารณาจากรายละเอียดการบรรยายฟ้องว่าคดีอยู่ในอำนาจพิพากษาของศาลฎีกาฯ หรือไม่ หากศาลมีคำสั่งรับฟ้องแล้วก็จะมีหมายเรียกจำเลย ให้มาศาลในนัดพิจารณาคดีครั้งแรกที่จะกำหนดนัดภายใน 45 วันนับจากวันที่รับฟ้อง เพื่อสอบคำให้การจำเลย ซึ่งจำเลยจะต้องเดินทางมาศาลด้วยตนเอง และเมื่อตกเป็จำเลยแล้ว ก็จะต้องยื่นคำร้องเพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี ขณะที่ศาลจะพิจารณาให้ประกันหรือไม่และกำหนดเงื่อนไข เช่นการห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล หรือไม่ ถือเป็นดุลยพินิจของศาล

เคลื่อนไหวก่อนหน้าถอดถอน

data23Jan15

ไม่ประนีประนอม! สื่อนอกชี้ ถอดถอน 'ยิ่งลักษณ์' ส่งสัญญาณกร้าว
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 23 ม.ค. 2558 15:04

สื่อต่างชาติประโคมข่าว "ยิ่งลักษณ์" โดนถอดถอนพ้นตำแหน่งนายกฯ และต้องเว้นวรรคการเมืองนาน 5 ปี ชี้การลงมติถอดถอนของ สนช. เป็นแค่เพียงสัญลักษณ์ เพราะพ้นจากเก้าอี้นายกฯ ไปตั้งแต่กลางปีที่แล้ว อีกทั้งถือเป็นการส่งสัญญาณแข็งกร้าว ไม่ประนีประนอมต่อตระกูลชินวัตร

สำนักข่าวต่างประเทศยักษ์ใหญ่หลายสำนัก รายงานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนน 190 ต่อ 18 เสียง เมื่อ
เช้าวันที่ 23 ม.ค. โทษฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตในโครงการจำนำข้าว ขณะที่ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีต

ประธานรัฐสภา รอดพ้นจากการถูกถอดถอน

ด้านนายโจนาธาน ฮีด ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวบีบีซี ประจำประเทศไทย แสดงความเห็นต่อกรณี สมาชิกสภา สนช.ของไทย ลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้น ถือเป็นการส่งสัญญาณที่แข็งกร้าว แสดงให้

เห็นว่า ไม่มีการประนีประนอม และครอบครัวชินวัตรจะต้องพ้นไปจากเส้นทางการเมือง


บีบีซี รายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพี่ชายของเธอ คือ อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ยังคงได้รับความนิยมชื่นชอบจากประชาชนที่ยากจนในชนบท แต่ถูกต่อต้านจากคนชั้นกลางในประเทศไทย

ส่วนสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ชี้ว่า การลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ถือเป็นการลงมติในเชิงสัญลักษณ์ เพราะเธอได้สูญเสียตำแหน่งนายกฯ ไปแล้ว อีกทั้งการลงมติ

ครั้งนี้ ต้องการจะห้ามไม่ให้เธอยุ่งเกี่ยวทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี


ซีเอ็นเอ็น ยังมองว่า การที่ สนช.ลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังจากสำนักงานอัยการสูงสุดประกาศจะดำเนินคดีความผิดทางอาญาต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ละเว้นการปฏิบัติ

หน้าที่ จนทำให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ มีสิทธิจะเผชิญกับการถูกลงโทษจำคุก 10 ปี หากศาลตัดสินว่าเธอทำผิดในคดีนี้
//////////////////////////////////

ลำดับการเอาผิดคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว

7 ต.ค. 2554 เริ่มโครงการ (ฤดูกาลผลิต 54/55)

15 ต.ค. 2555 พรรคการเมืองใหม่ยื่นเรื่องให้ไต่สวนโครงการรับจำนำข้าวต่อประธาน ป.ป.ช.

6 พ.ย. 2555 องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เสนอ ป.ป.ช. ตรวจสอบการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว

3 ธ.ค. 2555 นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ยื่น ป.ป.ช. สอบจำนำข้าว ทุจริตระบายข้าวจีทูจี (สยามอินดิก้า)

5 มิ.ย. 2556 นพ.วรงค์ ยื่น ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบการระบายข้าวค้างเก่าในโครงการรับจำนำปี 2554/55

9 ก.ค. 2556 นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. แถลงความคืบหน้า ระบุไต่สวน 2 ประเด็นสำคัญคือ 1.การดำเนินโครงการ และ 2.การระบายข้าว

3 ธ.ค. 2556 นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. แถลงพบมีมูลทุจริตจีทูจี มีมติขยายการไต่สวนไปยังอีก 5 กลุ่มบุคคล

16 ม.ค. 2557 ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์แจ้งข้อกล่าวหานายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ พร้อมผู้เกี่ยวข้องรวม 15 ราย ในความผิดกรณีการขายข้าวแบบจีทูจี และให้ไต่สวนนางสาวยิ่งลักษณ์

ความผิดกรณีละเว้นต่อหน้าที่

28 ม.ค. 2557 ป.ป.ช. ตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่ไต่สวน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในคดีโครงการรับจำนำข้าว

18 ก.พ. 2557 ป.ป.ช. มีมติเรียก น.ส.ยิ่งลักษณ์ รับทราบข้อกล่าวหากรณีละเลยการระงับความเสียหายและปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าว ในวันที่ 27 ก.พ. 2557

20 ก.พ. 2557 น.ส.ยิ่งลักษณ์โพสต์เฟซบุค ระบุ ป.ป.ช. ไม่เป็นธรรม ใช้เวลาในการดำเนินคดีเพื่อแจ้งข้อหากับตนเพียง 21 วัน ตนไม่ใช่ผู้ปฏิบัติแต่กลับถูกกล่าวหา
//////////////////
รอง ปธ.สนช.คาดส่งผลถอดถอน ยิ่งลักษณ์ ให้ ครม.ได้ 26 ม.ค.นี้
Written by: กอง บก.ข่าวการเมือง2015/01/23 5:26 PM
surachai - 23-1-2558 17-22-55รัฐสภา 23 ม.ค.- รองประธาน สนช.คาด ส่งผลถอดถอน “ยิ่งลักษณ์” อย่างเป็นทางการให้ ครม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ภายในจันทร์ที่ 26 ม.ค.นี้  พร้อมย้ำผล

ถอดถอนสะท้อนว่า สนช.ใช้เหตุผลในการลงมติ

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึง ขั้นตอนหลังจากที่ประชุม สนช. มีมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า สนช.จะแจ้งมติถอด

ถอนให้ทั้งผู้กล่าวหา คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และผู้ถูกกล่าวหา คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ทราบ รวมทั้ง แจ้งไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และ ผู้ที่เกี่ยวข้อง

คือ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ทราบ

“ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการด้านเอกสาร คาดว่าจะส่งได้ภายในวันจันทร์ที่ 26 มกราคมนี้ แต่การตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี จะมีผลในวันนี้ ซึ่งเป็นวันลงมติ” นายสุรชัย กล่าว

ต่อข้อถามว่า สำนวนคดีถอดถอน 38 ส.ว.กรณีร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเทียบเคียงกับคดีของนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา

หรือไม่ นายสุรชัย กล่าวว่า แม้ว่าสำนวนจะคล้ายกับสำนวนของนายนิคมและนายสมศักดิ์ ที่ไม่ถูกถอดถอน แต่ สนช.ยังต้องเดินหน้าตามกระบวนการในข้อบังคับ ส่วนผลการวินิจฉัยจะเป็นอย่างไร

ขึ้นอยู่กับดุลพินิจและข้อเท็จจริง

ทั้งนี้ นายสุรชัย ปฏิเสธตอบคำถามว่า ผลจะออกมาในทิศทางเดียวกันหรือไม่ เพราะเกรงว่าจะเป็นการชี้นำ  และว่า ผลการลงคะแนนที่ออกมาในวันนี้  สะท้อนให้เห็นว่า สนช.ใช้เหตุผล ตามพยาน

หลักฐานในการพิจารณาลงมติ

“กระบวนการถอดถอน เป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ไม่ใช่เรื่องของคดีแพ่งหรือคดีอาญา ที่หน่วยงานอื่นต้องรับไปดำเนินการต่อ   สนช.รับผิดชอบเฉพาะเรื่องการถอดถอนเท่านั้น และไม่ควร

ตั้งคำถามว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วยจะฟ้องดำเนินคดีกับ สนช.ได้หรือไม่ แต่อยากให้ตั้งคำถามกลับว่า การพิจารณาของ สนช.ทำผิดอย่างไร” นายสุรชัย กล่าว .- สำนักข่าวไทย
///////////////////////
ลึกแต่ไม่ลับ: เบื้องหลังเกมถอด "ปู-สองประธาน" บิ๊กคสช.โกรธสนช.คนไหน จนห้ามเข้าบ้าน?
ลึกแต่ไม่ลับ

จรัญ พงษ์จีน

(มติชนสุดสัปดาห์ 16-22 มกราคม 2558)

เปิดพุทธศักราช 2558 คอการเมืองได้ลุ้นระทึกกับกระบวนการถอดถอน 1. "นายนิคม ไวยรัชพานิช" อดีตประธานวุฒิสภา 2. "นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์" อดีตประธานรัฐสภา ออกจากตำแหน่ง ใน

ข้อกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่ประธานการประชุมรัฐสภาบกพร่อง ระหว่างการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยหมวดที่มาของวุฒิสภาชิก โดยเสนอให้ ส.ว. มาจากระบบการเลือกตั้งทั้งระบบ

3. "นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีถูกกล่าวหาว่าไม่ยอมยับยั้งนโยบายรับจำนำข้าว ทำให้เกิดความเสียหายและการทุจริตขึ้น เป็นเรื่องที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม

การทุจริตแห่งชาติ หรือ "ป.ป.ช." มีมติชี้มูลความผิดไปแล้ว และ ป.ป.ช. เสนอเรื่องให้ "สนช." ทำการถอดถอน

ทั้ง 3 ผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งต่างกรรมต่างวาระ มีการแถลงเปิดคดีไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2558 ระหว่างนี้ อยู่ในขั้นตอนให้สมาชิก "สนช." ยื่นคำถามที่ตัวเองคิดว่า มีประเด็นใดที่ยัง

ไม่ชัดเจน หรือประเด็นไหนที่สงสัยอยากถาม เพื่อความชัดเจนและจะสามารถนำมาเป็นเงื่อนไขในการตัดสินใจลงมติได้อย่างถูกต้อง

โดยในส่วนของโครงการจำนำข้าวมี "สนช." ตั้งโจทย์เพื่อสอบถาม "น.ส.ยิ่งลักษณ์" เป็นการเฉพาะตัว มีปริมาณสูงถึง 60 คำถาม

ตามกรอบเวลาที่วางไว้คือ วันที่ 15 มกราคม เป็นคิวซักฟอก "นิคม+สมศักดิ์" และ 16 มกราคม กำหนดดวลไมโครโฟน "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" แบบศิลปินเดี่ยว

หลังสิ้นสุดกระบวนการซักถาม ข้อสงสัย จะเหลืออีก 1 นัดคือ การลงมติปิดคดี นัดชี้เป็นชี้ตาย โดย "สมศักดิ์-นิคม" กันในวันที่ 21-22 มกราคม และ 23 มกราคม เป็นคิวทองเชือด "ยิ่งลักษณ์"

ประเด็นใหญ่ ใจจดใจจ่ออยู่ว่า 3 คนที่ถูกจับขึ้นเขียง จะโดน "สนช." สอย ตายเรียบกันด้วยความเสมอภาค เพื่อต้องโทษแบนทางการเมืองคนละ 5 ปี หรือใครคนหนึ่งคนใดรอด

ดูองคาพยพจากมติเสียงส่วนใหญ่ของ "สนช." ที่รับเรื่องถอดถอนบุคคลทั้ง 3 ด้วยเสียงข้างมาก เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ตลอดถึงการขับเคลื่อนในหลากหลายอิริยาบถของกลุ่ม 40 ส.ว. และ "สาย

ทหาร" โอกาสที่ "ยิ่งลักษณ์-นิคม-สมศักดิ์" จะรอดสันดอน เป็นไปได้ยาก

หมากกระดาน จึงดูราวกับว่า "คสช." หัวหน้าป้อมค่าย พี่ใหญ่ของ "สนช." จะมีใบสั่งเพื่อฝัง "ยิ่งลักษณ์" เครือข่ายทักษิณ กันแบบถอนรากถอนโคน

ไม่ฟังเสียงคัดค้านจากฝั่งต่อต้าน ที่เห็นว่า "ผู้ถอดถอนคือ สนช. ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย" เพราะรัฐธรรมนูญถูกฉีกทิ้งไปแล้ว สนช. มาจากการแต่งตั้งของอำนาจรัฐประหาร จึงไม่มีความชอบธรรม

ที่จะไปทำหน้าที่แทนวุฒิสมาชิกที่มาจากรัฐธรรมนูญ การไปลงโทษคนอื่น ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่มีอำนาจ ถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อจริยธรรม

อย่างไรก็ตาม หมากการเมือง ว่าด้วยการถอดถอน มองอีกมุม "คสช." ของ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" มีแต่ได้กับได้ กินกำไรหลายต่อ เข้าฮอสเลยก็ว่าได้

กล่าวคือ สามารถปัดภาระ สลัดข้อกล่าวหา ถึงสายสัมพันธ์กับ "กลุ่มอำนาจเก่า" ที่มี "คนบางฝ่าย" พยายามลากเอาประเด็นรับจำนำข้าว มาเป็นเงื่อนไข ว่ายังมีเยื่อใยต่อกันอยู่

การเปิดไฟเขียวให้ "สนช." ใช้ดุลพินิจลงมติอย่างอิสระ ไม่มีใบสั่ง ผลแพ้หรือชนะ จะมากล่าวใส่สีตีไข่ให้ "คสช." อีกต่อไปไม่ได้ เกมนี้ถือว่า "ลุงตู่" เซียนเหยียบเมฆ

เหนือสิ่งอื่นใด ตามกฎกติกา การลงมติในการถอดถอน ต้องใช้เสียงข้างมาก 3 ใน 5

"สนช." มีอยู่เต็มคณะ 220 คน เท่ากับว่า มติในการถอดถอน "ยิ่งลักษณ์-นิคม-สมศักดิ์" ต้องมีสัดส่วนเกิน 132 เสียง

ดังที่ทราบกันอยู่ว่า "สนช." ชุดนี้ แก่นกระพี้ร้อยละ 70 คือเครือข่ายทหาร ถูกมองว่าเป็นสภา "กรีน โพลิติกส์"

แม้โดยภาพรวม "กลุ่ม 40 ส.ว." จะโชว์เพาฯ มีบทบาทค่อนข้างโดดเด่น เสมือนกับ "ชิงการนำ" แต่น่าจะเป็นแค่ "ภาพลวงตา" สายทหารยังคงแน่นปึ้กปั้ก

มีข่าวคลุกวงในระบุว่า หลังรับลงมติถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" และก้าวถัดมาคือ จะดำเนินการแบบ "ลับ" หรือ "เปิดเผย" เกิดเสียงแตก ออกเป็น 2 แนวทาง "สายพลเรือน" ประสงค์จะใช้วิธี "เปิดเผย"

ขณะที่ "สายทหาร" ยึดแนวทาง "ลับ" ผลปรากฏว่า สนช.สายทหาร แพ้ป่าราบ

นั่นคือ กับดักของ "บิ๊ก คสช." ซึ่งระยะหลังเริ่มหวาดระแวงลูกน้อง ที่ส่งเข้าไปเป็น "สนช." อยู่หลายนาย

การลงมติ "เปิดเผย" หรือ "ลับ" ไม่ได้มีมรรคผลให้เกิดอาการสั่นคลอนใดๆ กับ "คสช." แต่มี "คนใกล้ชิด" สี่ซ้าห้าคนแหกโผไปอยู่ฝ่ายตรงข้าม

"2 พี่ใหญ่" รู้ตัวตน ทราบนามบุคคล ยัวะสุดขีด ระดับ "ลมออกหู" อ้างว่า เรื่องเล็กๆ ขี้ปะติ๋ว ยังหักหลังได้ แล้วนับประสาอะไรกับเรื่องใหญ่ในลำดับถัดไป

"บางคน" ถึงกับลงโทษแบน ห้ามเข้าบ้าน "บางคน" สั่งปลดชื่อออกจากมูลนิธิที่ช่วยเหลือสังคม ...ใครเป็นใครไปเช็กกันเอาเอง
///////////////////////////////////////////
สนช.ทหารลังเลถอดยิ่งลักษณ์

 "วิป สนช." ไม่อนุมัติเปิดคลิป 5 อดีต รมต.แจงจำนำข้าววันแถลงปิดสำนวนถอดถอน "ยิ่งลักษณ์"  ชี้เป็นหลักฐานใหม่ หึ่ง! เช็กเสียง สนช.ยกมือฟัน "ปู" มี 100 คน รอสัญญาณส่งซิกสายทหารอีก 32 เสียง ร่วมยกมือเชือด "นิคม-สมศักดิ์" ชัดเอาผิดไม่ถึงส่อรอด "บิ๊กตู่" ข้องใจภาวะผู้นำอดีตนายกฯ ย้ำยึด กม.แก้ปัญหาความขัดแย้ง "ลิ่วล้อ" ดาหน้าดักคออย่าโยงคดี "บุญทรง" เล่นงานน้องสาวนายใหญ่ "ป.ป.ช.-อสส." เตรียมสั่งฟ้องคดีอาญาซ้ำ

    เมื่อวันอังคาร(20) นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) แถลงถึงการพิจารณาถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กับนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ในวันพุธที่ 21 ม.ค. ได้กำหนดเป็นวันแถลงปิดสำนวนของนายนิคมและนายสมศักดิ์ โดยนายนิคมยืนยันว่าจะมาแถลงปิดสำนวนด้วยตัวเอง ขณะที่นายสมศักดิ์แจ้งว่าจะไม่มา

    นพ.เจตน์กล่าวว่า ส่วนวันพฤหัสบดีที่ 22 ม.ค. กำหนดเป็นวันแถลงปิดสำนวนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และในวันศุกร์ที่ 23 ม.ค. จะเป็นการลงมติทั้ง 2 สำนวน โดยการกาบัตรในคูหาว่าจะถอดถอนหรือไม่ถอดถอน หรืองดออกเสียง ซึ่งการลงมติของทั้ง 3 สำนวนดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง
    "สำหรับในวันที่ 21 ม.ค. ยังมีวาระการพิจารณากำหนดการแถลงเปิดสำนวนของอดีต ส.ว. 38 คน ซึ่งถูกชี้มูลจาก ป.ป.ช. กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว.โดยมิชอบ โดยจะมีการกำหนดวันในขั้นตอนการพิจารณาถอดถอนต่างๆ รวมทั้งจะมีการพิจารณาอนุญาติให้ยื่นเอกสารหรือพยานบุคคลเพิ่มเติมได้หรือไม่ โดยขณะนี้มีการแจ้งขอเพิ่มพยานบุคคลเข้ามาแล้ว 1 คน สำหรับการแถลงเปิดสำนวนของอดีต ส.ว. 38 คนนั้น ยังไม่รับแจ้งเข้ามาจะมีการชี้แจงเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล" โฆษกวิป สนช.กล่าว
    ถามถึงกระแสมีข่าวการล็อบบี้และมีการชี้นำให้ลงมติถอดถอนทั้ง 3 สำนวน  โฆษกวิป สนช.กล่าวว่า สนช.ไม่รู้สึกหนักใจ เพราะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของสมาชิก การชี้แจงผ่านยูทูบของอดีตรัฐมนตรี 5 คน ที่ปรากฏออกมาก็ไม่สามารถอนุมัติให้นำมาเปิดในวันแถลงปิดสำนวนได้ เนื่องจากเป็นการใช้หลักฐานใหม่
    "ข้อกังวลจะมีมวลชนมาชุมนุมที่หน้ารัฐสภาในวันลงมติ ก็ยังไม่ได้มีการพูดกัน เพราะเป็นเรื่องของฝ่ายความมั่นคงที่จะติดตามประเมินสถานการณ์ และคงแจ้งให้ประธาน สนช.ทราบต่อไป"
โฆษกวิป สนช.กล่าว
    ซักว่า อดีตคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ความเห็นว่าหาก สนช.ลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์แล้ว อัยการไม่สั่งฟ้องหรือสั่งฟ้องแล้ว ศาลชี้ว่าไม่ผิดจะมีผลกระทบตามมา นพ.เจตน์กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน
เพราะคดีอาญากับคดีทางการเมืองแตกต่างกัน ซึ่งคดีอาญาต้องมีหลักฐาน มีทุจริตจริงๆ แต่คดีทางการเมืองแค่ส่อว่ามีก็สามารถดำเนินการได้แล้ว
    "หากผู้ถูกถอดถอนนำเหตุดังกล่าวมาฟ้องร้องภายหลังก็เป็นสิทธิ แต่ถ้าจะฟ้องก็ต้องฟ้องทั้งองค์กรและก็ต้องฟ้องประธานด้วย เพราะเป็นการลงคะแนนลับ ไม่ทราบว่าใครลงคะแนนกันอย่างไร"
โฆษกวิป สนช.กล่าว
    ขณะที่นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน  สนช.สายนักวิชาการ กล่าวถึงกรณี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุจะไม่ปรองดองกับคนผิดกฎหมายว่า ไม่ใช่การส่งสัญญาณโดยตรง แต่การพูดให้ สนช.ยึดหลักการความถูกต้อง ไม่ต้องสนใจอะไร และดำเนินการไปตามดุลยพินิจ ที่ไม่สามารถปรองดองกับผู้กระทำผิดได้เท่านั้น
    นายทวีศักดิ์กล่าวว่า การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะมาแถลงปิดคดีถอดถอนในวันที่ 22 ม.ค. เป็นการต่อสู้ในกระบวนการครั้งสุดท้าย เพราะการไม่มาตอบข้อซักถามของ กมธ.ซักถามในวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา ถือว่ามีผลต่อการลงมติถอดถอนอย่างแน่นอน เพราะ สนช.อาจจะยังติดใจ เมื่อดูสำนวนของ ป.ป.ช. และอยากซักถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่ก็ไม่ได้ถามเพื่อสร้างความเข้าใจ
    "ผลการถอดถอนจะออกมาเป็นเช่นไร สนช.ต้องรับผิดชอบโดยตรง คงแก้ตัวหรือปฏิเสธไม่ได้ แต่ก็ต้องดูว่าสนช.ได้ทำงานตรงความต้องการของสังคมหรือไม่" สนช.ผู้นี้ระบุ
รอ สนช.สายทหารฟัน 'ปู'
    แหล่งข่าวระดับสูงใน สนช.เชื่อว่า ในวันที่ 22-23 ม.ค. ก่อนจะลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะมีสัญญาณทางใดทางหนึ่ง ที่จะให้ สนช.ลงมติถอดถอนอดีตนายกฯ อย่างแน่นอน เพราะหากกัปตันเรือไม่ทำอะไร และปล่อยให้ลูกเรือทำหน้าที่โดยอิสระ ก็จะไม่สามารถถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ เพราะจะมีสมาชิกหลายคนที่มีสายสัมพันธ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะไม่ลงมติไม่ถอดถอนหรืองดออกเสียง จนทำให้เสียงไม่ถึง 132 เสียง และไม่เพียงแต่ สนช.จะหมดความน่าเชื่อถือแล้ว ทั้ง คสช. รัฐบาล สนช. และ สปช.ก็พังไปด้วย
    "ขณะนี้ สนช.ที่ประกอบไปด้วยสาย 40 ส.ว. กลุ่มนักวิชาการ ข้าราชการพลเรือนและสายธุรกิจ ขณะนี้มีจำนวน 80-100 คน ที่พร้อมจะลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ เนื่องจากเห็นว่ามีความผิดชัดเจน จึงเหลือเพียง ผู้มีอำนาจใน คสช. ส่งสัญญาณไปให้สายทหารอย่างน้อย 32 เสียง เพื่อจำนวนเสียงถอดถอนเกิน 132 เสียง  ก็จะทำให้สามารถถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เป็นผลสำเร็จ" แหล่งข่าวระดับสูงกล่าว
    แหล่งข่าวระดับสูงกล่าวว่า ในส่วนนายนิคมและนายสมศักดิ์ มีสัญญาณชัดเจนจากสายทหารว่าไม่ต้องการถอดถอนประมาณ 70 เสียง เนื่องจากข้อกฎหมายไปไม่ถึง เพราะคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ชี้มูลความผิดตามรัฐธรรมนูญ 50 ซึ่งสิ้นสภาพไปแล้ว ขณะที่กฎหมาย ป.ป.ช.ก็ไม่ใช่บทลงโทษที่สามารถเอาผิดได้ ดังนั้นหากถอดถอนไปก็ไม่สามารถตอบคำถามได้ อีกทั้งยังมองว่าเป็นเพียงปลา
ซิวปลาสร้อยเท่านั้น  
    ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงหลังการประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ครั้งที่ 1/58 มี พล.อ.ประยุทธ์เป็นประธานว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้ฝากทุกภาคส่วนทั้ง ครม.และ คสช.ให้ช่วยกันชี้แจงต่อสังคม กรณีกระบวนการถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ นายนิคม และนายสมศักดิ์ ว่าเรื่องเหล่านี้เป็นการแก้ไขปัญหาการขัดแย้งของชาติบ้านเมืองเราในอดีต ที่ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่ จะอยู่เฉยก็ไม่ได้ ความขัดแย้งพร้อมที่จะปะทุขึ้นมาตลอด ต้องดำเนินเรื่องไปตามกฎหมาย
    "ในครั้งนี้เป็นการตรวจสอบภาวะผู้นำ คุณธรรม และจริยธรรมของนักการเมือง ที่มีการเสนอข้อมูลทั้งสองฝ่ายให้ สนช.รับทราบ รวมทั้งมีการเสนอข้อมูลอย่างกว้างขวางให้ประชาชนรับทราบว่า ป.ป.ช.ตั้งข้อสังเกตในเรื่องใดบ้าง ท่านนายกฯ ยังระบุถึงเรื่องของการมีวุฒิภาวะผู้นำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่รับทราบในเรื่องของการบริหารราชการที่ผ่านมาว่าเกิดความเสียหาย และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ใช้ภาวะผู้นำ ผู้กำหนดนโยบายของรัฐยับยั้งความเสียหายเหล่านั้นหรือไม่ การตอบข้อซักถามของ ป.ป.ช. น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ไม่ได้มาตอบด้วยตัวเอง กลับมอบหมายให้ทีมอดีตรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องตอบผ่านยูทูบ สังคมต้องพิจารณาดูว่า การตรวจสอบคุณธรรม จริยธรรม สามารถที่จะมอบหมายกับใครตอบแทนได้หรือไม่" พล.ต.สรรเสริญกล่าว
    รองโฆษกรัฐบาลกล่าวว่า ขอยืนยันให้ทุกฝ่ายมั่นใจว่าแม่น้ำ 5 สาย ทั้ง ครม. คสช. สนช. สปช. และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (สปป.) พยายามที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างเป็นระบบโดยยึดถือข้อกฎหมาย และคุณธรรม จริยธรรม ไม่มุ่งหมายที่จะทำร้ายใคร
      พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษก คสช. กล่าวถึงความเป็นห่วงกลุ่มสนับสนุน น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเคลื่อนไหวในวันพิจารณาถอดถอนว่า ยังไม่มีการรายงานสถานการณ์ความรุนแรง แต่จะต้องติดตามดูสถานการณ์ต่อไป แต่ก็ยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะเกิดความวุ่นวาย
    นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เชื่อว่า การลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะไม่มีกลุ่มมวลชนออกมาเคลื่อนไหว เพราะถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดต่อเนื่องมาหลายวัน ทุกคนก็คงเข้าใจว่า
สถานการณ์เป็นอย่างไร

ดักคออย่าโยงคดี 'บุญทรง'
    ด้านนายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ที่ปรึกษากฎหมาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะทนายความเจ้าของคดีโครงการรับจำนำข้าว กล่าวว่า คดีที่ ป.ป.ช.ชี้มูลนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ เป็นกรณีที่
ป.ป.ช.กล่าวหาว่าทุจริตในเรื่องการระบายข้าว ซึ่งต่างจากคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ถูกกล่าวหาว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นคนละข้อกล่าวหากัน ดังจะเห็นได้จากรายงานการไต่สวนของ ป.ป.ช. ที่ส่งให้กับ สนช.นั้น ได้ระบุไว้ว่าไม่ปรากฏหลักฐานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้สมยอมหรือมีส่วนร่วมในการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวแต่อย่างใด
    "หวังว่า ป.ป.ช.คงไม่นำเรื่องการชี้มูลในคดีของนายบุญทรงมาโยงกับคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในวันแถลงปิดสำนวนคดีวันที่ 22 ม.ค.นี้" ที่ปรึกษากฎหมายน.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
    นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีต รมว.ศึกษาธิการ โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ตามที่ ป.ป.ช.จะมีมติชี้มูลหรือไม่ชี้มูลอดีตรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์กับพวก เกี่ยวกับกรณีทุจริตในการซื้อขายข้าว ตนไม่มีความเห็นในข้อเท็จจริงรายละเอียด เพราะไม่ทราบว่าตรวจสอบอะไร อย่างไร แต่มีข้อสงสัยและอยากถามว่า 1.เหตุใดจึงจะมามีมติกันในวันที่ 20 ม.ค. ก่อนการลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพียง 2 วัน เหตุใดจึงไม่ทำมาก่อนหน้านี้ หรือรอจนกว่าการลงมติถอดถอนผ่านไปก่อน
    นอกจากนี้ 2.เป็นการพยายามเพิ่มเติมเหตุผลข้ออ้างในการถอดถอนอดีตนายกฯ หรือไม่ 3.หากเป็นเช่นนั้น จะไม่เป็นการโยงเรื่องสองเรื่องเข้าด้วยกัน จนขาดความเป็นอิสระหรือไม่ 4.หากมีมติว่ารัฐมนตรีและคณะไม่ผิด การถอดถอนก็จะไม่มีน้ำหนัก ถ้ามีมติว่าอดีตรัฐมนตรีกับพวกผิด ก็เพิ่มน้ำหนักให้กับการถอดถอน การโยงสองเรื่องเข้าด้วยกันเป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหาในทั้งสองกรณีหรือไม่ และ 5.การทำงานของ ป.ป.ช.ในกรณีนี้ น่าเชื่อถือหรือไม่
    เช่นเดียวกับ นายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และอดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Kokaew Pikulthong ก่อ
แก้ว พิกุลทอง” เรื่อง เอาคำว่า "ปรองดอง" เก็บใส่หีบ
    เนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า "ถ้า สนช. โหวตถอดถอน คุณยิ่งลักษณ์ และคุณสมศักดิ์กับคุณนิคมสำเร็จ ในการประชุมที่จะถึงเร็วๆ นี้ ประเทศไทยต้องเอาคำว่า ปรองดองเก็บใส่หีบเหล็ก ล็อกกุญแจกาลเวลา ชาติหน้าจึงเปิดมาใช้ได้ ชาตินี้ขอพอกันที ไม่ใช่ว่าจะเอาคำว่า ปรองดองมาขวางกั้นการทำหน้าที่ของ สนช. แต่ไม่ว่าจะมองมิติไหน ล้วนแต่ไม่มีเหตุผลในการถอดถอนทั้ง 3 ท่านทั้งสิ้น ผมไม่ขอพูดประเด็นข้อกฎหมายว่า แต่ขอพูดตามสามัญสำนึกของคนธรรมดาๆ"
    นายก่อแก้วระบุว่า กรณี น.ส.คุณยิ่งลักษณ์ ในโครงการจำนำข้าว ที่ ป.ป.ช.จะให้ถอดถอนด้วยเหตุผลว่า ส่อว่าละเลย ปล่อยให้ทุจริต ทั้งที่โครงการนี้เป็นโครงการที่หาเสียงไว้ และได้แถลงต่อรัฐสภา เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยทุกประการ โครงการขนาดใหญ่แบบนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีช่องโหว่สำหรับกลุ่มคนที่จ้องทุจริต แต่ถ้ามีใครทำแบบนั้น ก็เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช. จะต้องลากคอมาดำเนินการเป็นกรณีๆ ไป ไม่ใช่เหมารวม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ดูแลเพียงด้านนโยบาย
    "น่าหัวเราะคือคุณยิ่งลักษณ์ไม่อยู่ในตำแหน่งไปนานแล้ว แต่จะถอดท่านออกจากตำแหน่งอีก เปรียบเสมือนคนตายไปแล้ว แต่คนกลุ่มหนึ่งต้องการฆ่าซ้ำ ถ้าคสช. ยังปล่อยให้กลุ่มฝ่ายแค้น กระเหี้ยนกระหือเล่นงานคุณยิ่งลักษณ์ คุณสมศักดิ์และคุณนิคม ที่ไม่สนใจหลักความถูกต้อง และไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่บุคคลที่ถูกกระทำและกลุ่มผู้สนับสนุนจะยอมรับได้ จึงเป็นสิ่งที่น่ากังวลยิ่งว่าประเทศไทย จะไม่สามารถยุติความขัดแย้งได้อีกนาน ถ้า คสช.ปล่อยให้การถอดถอนสำเร็จ การยึดอำนาจครั้งนี้ก็จะเสียของอย่างแน่นอน" นายก่อแก้วระบุ
    ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. แถลงผลประชุมคณะทำงานร่วมระหว่าง ป.ป.ช.กับอัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อพิจารณาหาข้อไม่สมบูรณ์ในคดีอาญาจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นัดสุดท้ายว่า มีการนำข้อไม่สมบูรณ์ที่มีอยู่และพยานหลักฐานที่ ป.ป.ช.ได้สอบเพิ่มเติมมาพิจารณาในที่ประชุม ซึ่งที่สุดคณะทำงานร่วมทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ข้อสมบูรณ์ในคดีนี้ ขณะนี้ได้มีพยานหลักฐานครบถ้วนแล้ว
    "ขั้นตอนหลังจากนี้คณะทำงานร่วมฯ จะส่งเรื่องไปให้ อสส.พิจารณาสั่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป เท่าที่ทราบฝ่าย อสส.จะดำเนินการเรื่องนี้โดยเร็วภาย
ในไม่กี่วันนี้ ขอให้ติดตามท่าทีจาก อสส.ว่าจะสั่งฟ้องคดีได้เมื่อใด" เลขาฯป.ป.ช.กล่าว.

สื่อตปท.ตีข่าวสัญญานไม่ประนีประนอมถอดถอนยิ่งลักษณ์

data23Jan15

ไม่ประนีประนอม! สื่อนอกชี้ ถอดถอน 'ยิ่งลักษณ์' ส่งสัญญาณกร้าว
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 23 ม.ค. 2558 15:04

สื่อต่างชาติประโคมข่าว "ยิ่งลักษณ์" โดนถอดถอนพ้นตำแหน่งนายกฯ และต้องเว้นวรรคการเมืองนาน 5 ปี ชี้การลงมติถอดถอนของ สนช. เป็นแค่เพียงสัญลักษณ์ เพราะพ้นจากเก้าอี้นายกฯ ไปตั้งแต่กลางปีที่แล้ว อีกทั้งถือเป็นการส่งสัญญาณแข็งกร้าว ไม่ประนีประนอมต่อตระกูลชินวัตร

สำนักข่าวต่างประเทศยักษ์ใหญ่หลายสำนัก รายงานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนน 190 ต่อ 18 เสียง เมื่อ
เช้าวันที่ 23 ม.ค. โทษฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตในโครงการจำนำข้าว ขณะที่ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา รอดพ้นจากการถูกถอดถอน

ด้านนายโจนาธาน ฮีด ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวบีบีซี ประจำประเทศไทย แสดงความเห็นต่อกรณี สมาชิกสภา สนช.ของไทย ลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้น ถือเป็นการส่งสัญญาณที่แข็งกร้าว แสดงให้เห็นว่า ไม่มีการประนีประนอม และครอบครัวชินวัตรจะต้องพ้นไปจากเส้นทางการเมือง


บีบีซี รายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพี่ชายของเธอ คือ อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ยังคงได้รับความนิยมชื่นชอบจากประชาชนที่ยากจนในชนบท แต่ถูกต่อต้านจากคนชั้นกลางในประเทศไทย

ส่วนสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ชี้ว่า การลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ถือเป็นการลงมติในเชิงสัญลักษณ์ เพราะเธอได้สูญเสียตำแหน่งนายกฯ ไปแล้ว อีกทั้งการลงมติครั้งนี้ ต้องการจะห้ามไม่ให้เธอยุ่งเกี่ยวทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี


ซีเอ็นเอ็น ยังมองว่า การที่ สนช.ลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังจากสำนักงานอัยการสูงสุดประกาศจะดำเนินคดีความผิดทางอาญาต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จนทำให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ มีสิทธิจะเผชิญกับการถูกลงโทษจำคุก 10 ปี หากศาลตัดสินว่าเธอทำผิดในคดีนี้

แห่แชร์พระมหากรุณาธิคุณ'สมเด็จพระเทพฯ'

แห่แชร์พระมหากรุณาธิคุณ'สมเด็จพระเทพฯ'
Cr:เดลินิวส์
เมื่อวันที่ 23 ม.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในโลกสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่ภาพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวมชุดสีเหลืองและเสื้อคลุมสีฟ้าทรงใช้ธารพระกร (ไม้เท้า) พร้อมเรื่องราวพระมหากรุณาธิคุณสุดประทับใจ ที่สร้างความปลื้มปิติให้กับคนไทย โดยผู้ใช้งานเฟซบุ๊กชื่อ "ร้อยตำรวจเอก ธิติวัฒน์ ชาญชัยจิรโรจน์" ได้เผยแพร่เรื่องราวว่า "วันนี้สมเด็จพระเทพทรงล้มในห้องน้ำ มช.ขณะเตรียมพระองค์ เพื่อพระราชทานปริญญาบัตร คณะแพทย์ รพ.สวนดอก จะถวายการรักษาแต่พระองค์ทรงยืนยันจะพระราชทานปริญญาบัตรแก่นักศึกษามช.ให้เสร็จก่อน ไม่ทรงต้องการให้นักศึกษากว่าพันคนต้องรอ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ" ขณะที่แฟนเพจเฟซบุ๊ก "ทหารไทยใจกล้า" ก็ได้เผยแพร่เรื่องราวเช่นเดียวกันว่า "สมเด็จพระเทพฯ ทรงลื่นล้มในห้องน้ำ ที่บ้านสันผีเสื้อ (เมื่อคืน 21 ม.ค.) ผลการเอ็กซเรย์ เห็นว่ากระดูกสะโพกมีปัญหา (เช้า 22 ม.ค.) พระองค์ทรงเสด็จไป รพ.สวนดอก เป็นการส่วนพระองค์ เสร็จแล้วให้รถรพ.มาส่งเรือนรับรองที่ข้างหอประชุมโดยไม่ให้ใครรู้ คณะแพทย์จะถวายการรักษาแต่พระองค์ยืนยันจะพระราชทานปริญญาบัตรแก่นักศึกษามช.ให้เสร็จก่อน ไม่ทรงให้นักศึกษากว่าพันคนต้องรอ"
ด้านแฟนเพจ "N a R a Peace ( น ร า สันติ )" ก็ได้เผยแพร่เรื่องสุดน่าประทับใจว่า "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใช้ธารพระกร (ไม้เท้า) จากอุบัติเหตุลื่นหกล้มในห้องสรง (ห้องน้ำ) ในช่วงดึกของคืนก่อนพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (22 มกราคม 58) ทรงเสด็จฯไปรับการถวายการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ ที่โรงพยาบาลสวนดอก ซึ่งคณะแพทย์จะขอถวายการรักษา แต่พระองค์ทรงยืนยันว่าจะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เสร็จก่อน ไม่มีพระราชประสงค์ให้นักศึกษาและผู้ปกครองกว่า 5,000 คน ต้องรอ อนึ่ง ยังไม่มีการแถลงถึงพระอาการอย่างเป็นทางการ แต่มีกระแสข่าวว่า ทรงพระดำเนินด้วยธารพระกร จังหวะพระดำเนินตามปกติแต่จะช้าเล็กน้อย และยังคงพระราชทานใบปริญญาบัตรแก่บัณฑิตด้วยพระวิริยะอุตสาหะของพระองค์ท่าน" ซึ่งหลังจากได้โพสต์ข้อความลงไม่นาน เรื่องราวสุดประทับใจก็ถูกเผยแพร่ผ่านโลกออนไลน์ชั่วข้ามคืน สร้างความปลื้มปิติให้กับคนไทยเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งเข้ามาแสดงความเห็นขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ
ผู้สื่อข่าว "เดลินิวส์ออนไลน์" ได้พูดคุยกับนางสาวจารุวรรณ เนนสุทัพ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บัณฑิตใหม่ที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในรอบเช้าของวานนี้ เปิดเผยถึงความรู้สึกว่า "ตนทราบจากพิธีกรภายในงานว่า พระเทพฯ ทรงประชวร แต่ไม่ทราบว่าเป็นอะไร เพิ่งมาทราบภายหลัง หลังจากที่มีกระแสข่าวออกไปแล้ว เมื่อทราบก็ตกใจมากเพราะถึงแม้พระองค์ทรงประชวรแต่ท่านก็มา ส่วนหนึ่งรู้สึกไม่ดี เพราะพระองค์ทรงประชวรแต่ก็ยังอดทนมาพระราชทานปริญญาบัตรให้ ภายหลังจบงานก็ได้ยินคนเล่าต่อ ๆ กันมาว่า มีหน่วยแพทย์ที่จะมารักษาพระองค์ แต่พระองค์ก็ยังยืนยันว่าจะพระราชทานปริญญาบัตรต่อไป เพราะกลัวว่านักศึกษาทุกคนจะรอ ตนรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างมาก ไม่อาจสรรหาคำพูดมาอธิบายได้"


ยิ่งลักษณ์ แถลงผ่านFB

คำแถลง นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 28
23 มกราคม 2558
เรียน พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน
เป็นไปตามความคาดหมาย ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติ ถอดถอนดิฉันออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี และอัยการสูงสุดได้สั่งฟ้องดิฉัน ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ดิฉันขอแถลงดังนี้
ดิฉัน ขอยืนยัน และมั่นใจในความบริสุทธิ์ของดิฉัน และขอขอบคุณเสียงส่วนน้อย ที่ยังคงยึดมั่นในหลักการ และความเที่ยงธรรม ซึ่งในกระบวนการต่างๆ ได้ริดรอน และตัดสิทธิขั้นพื้นฐานของดิฉัน ในฐานะประชาชนคนไทยคนหนึ่งที่พึงได้รับ
ดิฉันขอยืนยันว่า โครงการรับจำนำข้าว เป็นโครงการที่ดี ไม่ได้สร้างความเสียหายแต่อย่างใด สำหรับตัวเลขความเสียหาย ที่พยายามจะยัดเยียดให้ดิฉันนั้น ก็เป็นเพราะความมีอคติต่อตัวดิฉัน และนำชาวนามาเป็นเครื่องมือ ในการทำลายล้างทางการเมือง
ดังที่ดิฉัน ได้เคยกล่าวถึงความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556 ณ เมืองอูลัน บาตอ ประเทศมองโกเลียว่า “ดิฉันนั้นต้องการเห็น ความปรองดองเกิดขึ้นในประเทศไทย และประชาธิปไตยของไทย พัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยหลักนิติธรรม และกระบวนการทางกฎหมายที่แข็งแรง มีขั้นตอนที่ชัดเจน โปร่งใส และเมื่อนั้น ทุกคนจะสามารถมั่นใจได้ว่า เขา จะได้รับการดูแลที่ยุติธรรม”
ดิฉันยังคงยืนยัน ในคำพูดดังกล่าว แม้ว่าวันนี้ ประชาธิปไตยไทยได้ตายไปแล้วพร้อมกับหลักนิติธรรม แต่ขบวนการทำลายล้าง ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังที่ดิฉันได้ประสบอยู่ขณะนี้
เป็นที่น่าเสียใจ และเป็นเรื่องที่ไม่อยากจะเชื่อว่า มีเหตุการณ์บังเอิญต่างๆมากมาย ตามที่ดิฉันได้แถลงปิดสำนวนไปเมื่อวานนี้ และเป็นการบังเอิญ ที่ไม่ใช่ความบังเอิญ อีกครั้งหนึ่ง คือก่อนเวลาที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะเริ่มลงมติถอดถอน เพียง 1 ชั่วโมง อัยการสูงสุด ก็ได้แถลงสั่งฟ้องดิฉัน ในข้อหาละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ ก่อให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ทั้งๆ ที่ หัวหน้าคณะผู้แทนอัยการสูงสุด ยืนยันว่า ยังต้องพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ของคดีต่อไป
องค์กรอัยการ ซึ่งเป็นองค์กรที่สร้างความน่าเชื่อถือ ในกระบวนการยุติธรรมมายาวนาน กลับต้องถูก ตั้งข้อสงสัย ในประเด็นนี้ค่ะ
ทั้งนี้การปฏิบัติหน้าที่ของดิฉัน ในฐานะนายกรัฐมนตรี ตลอดระยะเวลา 2 ปี 9 เดือน 2 วัน นั้น ดิฉันตั้งใจทำงานด้วยความทุ่มเท ที่จะแก้ไขปัญหา ให้กับพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม อย่างไม่เลือกปฎิบัติ และดิฉันภูมิใจ ที่ช่วงหนึ่งในชีวิต ได้ทำให้พี่น้องชาวนา และคนยากจน ได้ลืมตา อ้าปาก และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แม้ในวันนี้ ดิฉัน ไม่มีตำแหน่งอะไรเหลืออยู่แล้ว ยังคงเหลือแต่ คดีความ ที่ถูกยัดเยียดไว้ให้ ที่ต้องไปสู้คดีในชั้นศาลต่อไป
คำว่าความปรองดอง จะเกิดขึ้นได้ ต้องไม่ใช่การไล่ล่าคนใดคนหนึ่ง แต่หมายถึงความเป็นกลาง ที่ต้องอำนวยความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย เมื่อความเป็นธรรมเกิด ความยุติธรรมก็จะตามมา การยอมรับ ความสงบ ความสามัคคีก็จะมีขึ้นในสังคมไทย
เพราะเราเป็นคนไทยเหมือนกัน แทนที่เราจะหันหน้าเข้าหากัน แล้วร่วมกันทำให้ประเทศของเราเข้มแข็ง แต่กลับสร้างความจงเกลียดจงชังให้แก่กัน ไล่ล่าเพื่อให้ไม่มีที่ยืน สุดท้ายคนที่เสียหายก็คือประเทศของเรา
ดิฉันรันทดใจ ไม่ใช่เพราะดิฉันถูกกลั่นแกล้ง และประสบชะตากรรมที่ไม่เป็นธรรม แต่ดิฉันเสียใจแทนชาวนา และประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ที่ต้องสูญเสียโอกาส ต้องกลับไปอยู่ในวังวน ของความยากจน มีหนี้สิน ถูกเอารัดเอาเปรียบ และสูญเสียความเป็นประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน ตลอดจน กฎหมายถูกบิดเบือน
สุดท้ายนี้ ดิฉันก็หวังว่า ผู้ที่เป็นฝ่ายอำนวยความยุติธรรมของประเทศ จะไม่ปล่อยให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่รักษากติกาประชาธิปไตย และไม่รักษา หลักนิติรัฐ นิติธรรม มาชี้นำใดใดอีก ดังที่มีนักวิชาการกล่าวว่า “ไม่มียิ่งลักษณ์ คนไทยยังอยู่กันได้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ ถ้าไม่มีความยุติธรรมหลงเหลืออยู่ ในระบบการปกครองของไทยแล้ว คงไม่มีใครอยู่ได้”
อย่างไรก็ตาม ดิฉันขอยืนยันว่า ดิฉันจะต่อสู้จนถึงที่สุด เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของดิฉันไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร และที่สำคัญ คือ ดิฉัน จะขอยืนหยัด อยู่เคียงข้างพี่น้องประชาชนคนไทย เราต้องร่วมกันนำความเจริญก้าวหน้า มาสู่ประเทศ ทำให้ระบอบประชาธิปไตยของเรากลับคืนมา และสร้างความเป็นธรรม ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างแท้จริง