PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

"หนึ่งปี สนช.: การพิจารณากฎหมายในสภา"

หนึ่งปีที่ผ่าน มีร่างกฎหมายที่ผ่านเข้าสู่การพิจารณาของสนช. 130 ฉบับ (ไม่รวม พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดิน พ.ศ.2557 และ พ.ศ.2558) เป็นกฎหมายที่เสนอโดย ครม.มากที่สุดคือ 105 ฉบับ โดย คสช. 21 ฉบับ สมาชิก สนช. 3 ฉบับ และประธาน ป.ป.ช. 1 ฉบับ

ขณะที่กฎหมายที่ผ่านการพิจารณาแล้วจำนวน 108 ฉบับ ถูกเสนอโดย 23 หน่วยงาน กระทรวงการคลังเสนอมากที่สุดอย่างน้อย 18 ฉบับ รองลงมาคือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างน้อย 9 ฉบับ กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงคมนาคมเสนอกฎหมายไปอย่างน้อย 7 ฉบับ

ในบรรดากฎหมายทั้ง 108 ฉบับ เป็น "กฎหมายในประเด็นเทคนิค" ที่ไม่ได้มีเนื้อหาใหม่มากนัก แต่มุ่งเน้นการปรับปรุงในประเด็นที่กฎหมายเดิมอาจล้าสมัยไปแล้ว โดยไม่กระทบต่อสิทธิหน้าที่ของประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐมากนัก ซึ่งมีอยู่ 14 ฉบับ เช่น พ.ร.บ.ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น, พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 63) เป็นต้น

เป็น "กฎหมายที่แก้ไขจากกฎหมายเดิม" มีจำนวน 77 ฉบับ เช่น พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง, พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์, พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร เป็นต้น

และเป็น "กฎหมายที่ออกใหม่" ที่ประเทศไทยไม่เคยมีกฎหมายในประเด็นนี้มาก่อน จำนวน 17 ฉบับ เช่น พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์, พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก, พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ เป็นต้น

ในแง่กระบวนการออกกฎหมาย พบว่า จากการประชุมเต็มคณะรวมทั้งสิ้น 80 ครั้ง สามารถออกกฎหมายได้ 108 ฉบับ เฉลี่ยแล้วการประชุม 1 ครั้ง จะผ่านกฎหมายได้ 1.35 ฉบับ และหากคิดจากการทำงานที่ผ่านมา 12 เดือน เท่ากับ สนช. ผ่านกฎหมายเฉลี่ยเดือนละ 9 ฉบับ โดยที่ไม่เคยมีกฎหมายฉบับใดที่เมื่อ สนช. รับหลักการในวาระที่ 1 แล้วต่อมาถูกโหวตให้ตกไปเลยแม้แต่ฉบับเดียว

เมื่อพิจารณาระยะเวลาในการออกฎหมายของ สนช. พบว่า ร่างกฎหมายที่พิจารณานานที่สุดคือ ร่างพ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน การพิจารณานับตั้งแต่เข้าวาระแรกจนผ่านวาระที่ 3 ใช้เวลาไป 202 วัน หรือเกือบ 7 เดือน ส่วนร่างกฎหมายที่พิจารณาเร็วที่สุด พิจารณา 3 วาระรวดภายใน 1 วัน มีจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 63), ร่าง พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน และร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (องค์ประกอบคณะกรรมการข้าราชการยุติธรรม) ซึ่งยังไม่รวมถึงการแก้เพิ่มเติมไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ที่ผ่านสามวาระรวดเช่นเดียวกัน

กระบวนการพิจารณากฎหมายของ สนช. เป็นไปอย่างรวดเร็ว และยังเป็นที่รับรู้ของประชาชนไม่มากนัก ทำให้มีกฎหมายหลายฉบับส่งผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งมีกฎหมายมากกว่า 10 ฉบับที่ผ่านการพิจารณาในขณะที่ยังเป็นข้อถกเถียงในสังคม เช่น พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ เป็นต้น
ติดตามเพิ่มเติมที่นี่
+รายงานหนึ่งปี สนช. 1/3 : การพิจารณากฎหมายในสภา
http://ilaw.or.th/node/3800
+รายงานหนึ่งปี สนช. 2/3: การแต่งตั้ง-ถอดถอน
http://ilaw.or.th/node/3798
+รายงานหนึ่งปี สนช. 3/3: การใช้งบประมาณพิจารณากฎหมาย
http://ilaw.or.th/node/3799

โชว์ 3 คลิป "คุยมันส์ทันข่าว" ชนวนเหตุ เอเอสทีวี จ่อถูกพักใบอนุญาต ตามรอย "พีซทีวี"?

วันพฤหัสบดี ที่ 13 สิงหาคม 2558 เวลา 14:47 น.

isranews



"...มีเสียงดังลอยมาตามลมว่า เรื่องนี้ควรทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะก่อนหน้านี้ กสท. ก็เคยสั่งลงโทษ บริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์พีซทีวี  ตั้งแต่สั่งพักใบอนุญาต จนถึงการเพิกถอนใบอนุญาตไปแล้ว (ปัจจุบันศาลปกครองสั่งคุ้มครองชั่วคราว) บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด ก็ควรจะต้องโดนเหมือนกัน..."
pyyeeeeeee
กำลังจะถูกเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เพื่อสั่งพักใบอนุญาตการแพร่ภาพออกอากาศเป็นระยะเวลา 15 วัน อย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้  สำหรับ บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด 
เนื่องจาก คณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการที่มีพล.ท.ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการ กสทช. เป็นประธาน  ได้พิจารณาเนื้อหารายการ "คุยมันส์ทันข่าว" ที่ออกอากาศทางช่องรายการ NEWS 1 แล้ว พบว่า มีเนื้อไม่เหมาะสม มีลักษณะที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่น ให้เกิดความขัดแย้ง และสร้างให้เกิดความแตกแยก รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

(อ่านประกอบ : "เอเอสทีวี"ระทึก!อนุฯผังรายการชงกสท. สั่งพักใบอนุญาต15 วัน วิจารณ์ "บิ๊กตู่")

ขณะที่มีเสียงดังลอยมาตามลมจากห้องประชุมว่า "เรื่องนี้ กสท.ควรทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะก่อนหน้านี้ กสท. ก็เคยสั่งลงโทษ บริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์พีซทีวี  ตั้งแต่สั่งพักใบอนุญาต จนถึงการเพิกถอนใบอนุญาตไปแล้ว (ปัจจุบันศาลปกครองสั่งคุ้มครองชั่วคราว) บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด ก็ควรจะต้องโดนเหมือนกัน
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกพบว่า เนื้อหารายการ "คุยมันส์ทันข่าว" ที่คณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการที่มีพล.ท.ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ เป็นประธาน นำมาใช้ประกอบการพิจารณาการจะลงมติว่ามีเนื้อหาไม่เหมาะสม มีอยู่จำนวน 3 คลิป ด้วยกัน 
คลิปแรก วันที่ 19 มิ.ย.2558 
cippp2
 ฟังเนื้อหาในคลิป https://drive.google.com/file/d/0B92NuK5YL-eCRDZEdkIzQ3VndVE/view?pli=1
คลิปสอง วันที่ 26 มิ.ย.2558 
cipp1
 (ฟังเนื้อหาในคลิปhttps://drive.google.com/file/d/0B92NuK5YL-eCMkhHNGxkY0ZHSHc/view?pli=1)
คลิปสาม 14 ก.ค.2558
picgdgddddd
ฟังเนื้อหาในคลิป https://drive.google.com/file/d/0B92NuK5YL-eCLTRpQzBwaDRVczQ/view?pli=1)
จากการตรวจสอบเนื้อหาในคลิปทั้ง 3 คลิป ส่วนใหญ่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ ตำรวจ เป็นหลัก รวมถึงการบริหารงานของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 
สำหรับผู้ดำเนินรายการตัวหลัก คือ "โสภณ องค์การณ์" และ "สุนันท์ ศรีจันทรา" 
ขณะที่กรณีการสั่งปิดสถานีโทรทัศน์พีซทีวี ของ บริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด เกิดขึ้นเมื่อวันที่  27 เมษายน 2558  โดย พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ “Dr.Natee Sukonrat @DrNateeDigital” ถึงมติให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์บริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด (เจ้าของสถานีโทรทัศน์พีซทีวี)
พ.อ.ดร.นที ระบุว่า ในการประชุม กสท. ได้มีมติให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์บริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2558 ให้พักใบอนุญาตมาแล้วเป็นเวลา 7 วัน ทั้งนี้ เมื่อได้พิจารณาข้อร้องเรียนช่องพีซ ทีวี ซึ่งเป็นการพิจารณาตามบันทึกข้อตกที่ทางบริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด กับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ได้มีช่องรายการโทรทัศน์ดาวเทียมจำนวนหนึ่ง ถูกยุติการออกอากาศตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นั้น เนื่องจากช่องรายการเหล่านั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองของประเทศโดยต่อเนื่อง
“ต่อมาช่องรายการเหล่านี้ได้รับการอนุญาตให้ออกอากาศอีกครั้งโดยจะต้องมีการยอมรับข้อตกลงกับทาง กสทช. ในการระมัดระวังการออกอากาศโดยช่องรายการตกลงที่จะไม่ออกอากาศเนื้อหาที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่น ให้เกิดความขัดแย้ง และสร้างให้เกิดความแตกแยก” พ.อ.ดร. นที ระบุ
พ.อ.ดร. นที ระบุอีกว่า กรณีของช่องรายการพีซ ทีวี เป็นช่องหนึ่งที่ได้ทำข้อตกลงดังกล่าว และได้มีข้อร้องเรียนการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อตกลงมาตามลำดับ ได้มีการตักเตือน ทำความเข้าใจ ในระดับของอนุกรรมการด้านเนื้อหารายการของ กสทช. หลายครั้ง หลายวาระด้วยกัน ตั้งแต่ ต.ค. 2557 แต่พีซ ทีวี ยังคงนำเสนอเนื้อหาในลักษณะเช่นเดิม จนอนุกรรมการฯได้เสนอ กสท. เพื่อพิจารณาข้อร้องเรียนของ พีซ ทีวี เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2558 โดย กสท. ได้มีมติให้ตักเตือน พีซ ทีวี เป็นลายลักษณ์อักษรให้ปฏิบัติตามกฎหมาย และที่กำหนดในข้อตกลง
“ต่อมา พีซ ทีวี ยังคงออกอากาศรายการที่ยังขัดต่อข้อตกลงดังกล่าวอีก จนกระทั่ง กสท. ได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2558 ให้พักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าวส่งผลให้ พีซ ทีวี ต้องยุติการออกอากาศเนื้อหารายการตั้งแต่ 10 เม.ย. 2558 จนถึง 17 เม.ย. 2558” พ.อ.ดร.นที ระบุ
พ.อ.ดร.นที ระบุว่า เมื่อ พีซ ทีวี ออกอากาศอีกครั้งในวันที่ 18 เม.ย. 2558 ได้ออกอากาศมีเนื้อหาละเมิดต่อข้อตกลง ในลักษณะเช่นเดิม ดังนั้นสำนักงาน กสทช.ได้นำเสนอวาระต่อที่ประชุม กสท. เพื่อพิจารณากรณีดังกล่าว ที่ประชุมจึงได้มีมติให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ซึ่งมติดังกล่าว กสท. เป็นการพิจารณาตามกระบวนการมาเป็นลำดับ ด้วยการทำความเข้าใจ แจ้งเตือน พักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการฯ
“เมื่อ กสท. ได้พิจารณาถึงการกระทำโดยถี่ถ้วนว่าเป็นลักษณะเข้าข่ายการกระทำที่เป็นความผิดซ้ำซาก ที่ประชุมจึงได้มีมติใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์มาตรา 37 ” พ.อ.ดร.นที ระบุ 
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม PEACE TV ถูกมองว่าเป็นช่องดาวเทียมของกลุ่มคนเสื้อแดง และในการแพร่ภาพออกอากาศก็มีแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อย่างน้อย 4 ราย ที่ร่วมเป็นพิธีกร/ผู้ดำเนินรายการ อาทิ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. ผู้ดำเนินรายการ “เข้าใจตรงกันนะ” นพ.เหวง โตจิราการ ผู้ดำเนินรายการ “เดินหน้าต่อไป” นายนิสิต สินธุไพร ผู้ดำเนินรายการ “เปิดปมสู่ปฏิรูป” นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ผู้ดำเนินรายการ “คิดรอบด้าน”
ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เคยออกมาตั้งข้อสังเกตกรณีที่ กสท.มีมติให้พีชทีวีและทีวี24 งดออกอากาศ 7 วัน ก่อนหน้านี้ ว่า "นี่ถือเป็นอีกสัญญาณหนึ่งว่า ฝ่ายรัฐเลือกที่จะใช้อำนาจจัดการทุกอย่าง แทนที่จะเปิดช่องให้คนเห็นต่างได้สื่อสารบ้างเพื่อคลายความกดดัน" 
ปัจจุบันอยู่ระหว่างกระบวนการฟ้องร้องในชั้นศาล โดยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2558 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม พีซทีวี (PEACE TV) ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทำให้ปัจจุบัน พีซทีวี สามารถออกอากาศได้ตามปกติ
ส่วนการพิจารณาบทลงโทษ ของ บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งถูกระบุว่าสถานีโทรทัศน์ของกลุ่มคนเสื้อเหลือง ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะซ้ำรอยถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล เหมือนกรณี "พีซทีวี" หรือไม่ 
โปรดจับจองมองดู "หน้าจอทีวี" อย่างใกล้ชิด!

สหรัฐฯรับลูก UN ร่วมประณามศาลไทยเอาผิดสถานหนักพวกหมิ่นสถาบัน


สหรัฐฯรับลูก UN ร่วมประณามศาลไทยเอาผิดสถานหนักพวกหมิ่นสถาบัน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
13 สิงหาคม 2558 05:44 น. (แก้ไขล่าสุด 13 สิงหาคม 2558 08:00 น.)
สหรัฐฯรับลูก UN ร่วมประณามศาลไทยเอาผิดสถานหนักพวกหมิ่นสถาบัน
เมื่อวันศุกร์ (7 ส.ค.) ศาลทหารไทยสั่งลงโทษจำคุกผู้ต้องหาชายคนหนึ่ง ในฐานความผิดล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเวลา 30 ปี และในวันเดียวกันผู้ต้องหาหญิงอีกคนก็ถูกจำคุกเป็นเวลา 28 ปี จากความผิดโพสต์หมิ่นสถาบันบนสื่อสังคมออนไลน์เช่นกัน
        รอยเตอร์/เอเอฟพี - สหรัฐฯเมื่อวันพุธ (12 ส.ค.) แสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อคำตัดสินระวางโทษยาวนานของศาลทหารไทยต่อผู้ต้องหา 2 คน ที่ถูกพิพากษาว่ามีความผิดฐานฐานหมิ่นสถาบัน ระบุไม่มีใครควรโดนคุมขังจากการแสดงออกอย่างสันติ
      
       เมื่อวันศุกร์ (7 ส.ค.) ศาลทหารไทยสั่งลงโทษจำคุกผู้ต้องหาชายคนหนึ่ง ในฐานความผิดล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเวลา 30 ปี ถือเป็นการลงระวางโทษหนักหน่วงที่สุดสำหรับข้อหานี้ แม้เป็นไปตามกรอบของกฎหมาย และในวันเดียวกัน ผู้ต้องหาหญิงอีกคนก็ถูกจำคุกเป็นเวลา 28 ปี จากความผิดโพสต์หมิ่นสถาบันบนสื่อสังคมออนไลน์เช่นกัน
      
       “เรากังวลอย่างยิ่งต่อคำพิพากษาระวางโทษจำคุกที่ยาวนานของศาลทหารไทยต่อประชาชน 2 คนที่ละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย” มาร์ค โทเนอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุ “ไม่มีใครควรถูกจำคุกจากการแสดงมุมมองอย่างสันติ”
      
       โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวต่อว่า “เราเรียกร้องเจ้าหน้าที่ไทยเป็นประจำทั้งอย่างลับ ๆ และแบบเปิดเผย ให้รับประกันว่าสิทธิการแสดงออกไม่ใช่อาชญากรรม และควรได้รับการปกป้องตามพันธกิจและพันธสัญญาระหว่างประเทศของไทย” โทเนอร์ กล่าว “และผมอยากบอกด้วยว่าสหรัฐฯก็ให้การเคารพอย่างที่สุดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยเช่่นกัน”
      
       ก่อนหน้านี้ เมื่อวันอังคาร (11 ส.ค.) สหประชาชาติ ประณามคำพิพากษาระวางโทษยาวนานอย่างน่าตกใจของศาลทหารไทยที่กำหนดต่อผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานหมิ่นสถาบัน พร้อมเรียกร้องแก้ไขกฎหมายและปล่อยตัวผู้ต้องโทษเหล่านั้น
      
       สหประชาชาติระบุว่า นายพงษ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง อายุ 48 ปี ถูกพิพากษาจำคุก 60 ปี ในฐานความผิดพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 6 กรรม จากการโพสต์เฟซบุ๊กระหว่างปี 2013 - 2014 แต่เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 30 ปี ส่วน นางศศิวิมล ปฐมวงษ์ฟ้างาม อายุ 34 ปี ถูกพิพากษาจำคุก 56 ปี แต่ศาลลดโทษให้ครึ่งหนึ่ง หลังรับสารภาพโพสต์เฟซบุ๊กดูหมิ่นสถาบัน 7 กรรม
      
       สหรัฐฯเป็นพันธมิตรที่ยาวนานของไทย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติเสื่อมทรามลงนับตั้งแต่กองทัพก่อรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคมปีก่อน โดยวอชิงตันระงับเงินช่วยเหลือและยกเลิกความร่วมมือด้านความมั่นคงบางอย่างเป็นการตอบโต้