6.ค่าใช้จ่ายการจัดสัมมนาของกมธ. 7.ค่าใช้จ่ายเพื่อรับรองแขกต่างประเทศของกมธ. 8.ค่าใช้จ่ายการเดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่ภายในประเทศของกมธ. หากกมธ.จะใช้งบส่วนนี้ก็สามารถใช้ได้ แต่ต้องมีกมธ.ไปดูงานในประเทศไม่น้อยกว่า 5คนต่อคณะ 9.ค่าใช้จ่ายการเดินทางมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นต่อกมธ. โดยได้ตัดค่าใช้จ่ายการเดินทางไปดูงานต่างประเทศทิ้งไป เพราะนายชวน ไม่อนุมัติ เมื่อแยกออกเป็นแต่ละคณะแล้ว กมธ.จะได้งบประมาณตกคณะละ 2.5 ล้านบาท แต่ไม่สามารถนำไปแจกส.ส.ที่เป็นกมธ.คนละ 1แสนบาทเพื่อนำไปใข้จ่ายได้ เพราะการใช้งบประมาณต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ 9 ข้อดังกล่าว
PR
วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562
"ชวน”ตกใจ!ลือแจกเงินให้กมธ. ย้ำงบเหลือต้องคืนแผ่นดิน
6.ค่าใช้จ่ายการจัดสัมมนาของกมธ. 7.ค่าใช้จ่ายเพื่อรับรองแขกต่างประเทศของกมธ. 8.ค่าใช้จ่ายการเดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่ภายในประเทศของกมธ. หากกมธ.จะใช้งบส่วนนี้ก็สามารถใช้ได้ แต่ต้องมีกมธ.ไปดูงานในประเทศไม่น้อยกว่า 5คนต่อคณะ 9.ค่าใช้จ่ายการเดินทางมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นต่อกมธ. โดยได้ตัดค่าใช้จ่ายการเดินทางไปดูงานต่างประเทศทิ้งไป เพราะนายชวน ไม่อนุมัติ เมื่อแยกออกเป็นแต่ละคณะแล้ว กมธ.จะได้งบประมาณตกคณะละ 2.5 ล้านบาท แต่ไม่สามารถนำไปแจกส.ส.ที่เป็นกมธ.คนละ 1แสนบาทเพื่อนำไปใข้จ่ายได้ เพราะการใช้งบประมาณต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ 9 ข้อดังกล่าว
‘บิ๊กตู่’ โวย รัฐมนตรีห่วย โทษนายกฯ เตือนจะเอา ‘ประยุทธ์’ คนนี้หรือคนเก่า
“จะเอาผมแบบนี้ หรือผมแบบเมื่อก่อน”
.
วันนี่ (16 กันยายน) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเวทีสัมมนาบุคลากรภาครัฐ ยุทธศาสตร์ชาติภาคปฏิบัติ ร่วมขยับขับเคลื่อนภาครัฐเพื่อประชาชน
.
โดย พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวถึงการแสดงวิสัยทัศน์ของข้าราชการในการสัมมนา ที่เปรียบว่านายกรัฐมนตรีเป็นเหมือนผู้ควบคุมวงดนตรี ถ้ารัฐมนตรีห่วยทำงานไม่ดี ก็มาโทษนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีเองก็โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง ดังนั้นต้องสร้างความเข้าใจ เช่นเดียวกับเรื่องน้ำท่วม ที่บอกว่าทำไมรัฐบาลไม่แจกเงินครอบครัวละ 5,000 บาท
.
“วิพากษ์วิจารณ์ว่านายกรัฐมนตรีไม่ลงไปตรวจน้ำท่วม มันอะไรกันประเทศไทย ทำไมไม่ไปอีสาน แต่ทำไมไปภาคใต้” จะทำอย่างไรให้คนไทยรู้เรื่องกฎหมายกฎระเบียบต่างๆ นี่คือสิ่งที่อยากให้ทำความเข้าใจ สังคมมีแต่ความขัดแย้ง ไม่เข้าใจ ข้าราชการในฐานะผู้ปฏิบัติจะต้องช่วยชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนด้วย” พล.อ. ประยุทธ์กล่าว
.
พล.อ. ประยุทธ์ ยังตำหนิคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการบริหารจัดการน้ำ พื้นที่ภาคอีสาน ว่าตอนที่อยู่เป็นรัฐบาลก็ไม่แก้ไข แต่ขณะนี้ฉลาดทุกคน มาบอกสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. ให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ ทั้งที่รัฐบาลนี้ เรื่องงบประมาณในการเยียวยาลดลง และปัญหาน้ำท่วมเป็นเรื่องของภัยธรรมชาติ แต่พอน้ำท่วมก็มาโทษรัฐบาล ด่าได้ทุกวันและทุกเรื่อง ไม่รู้ตนจะต้องทำอย่างไร ไม่ว่าใครจะพูดอะไร จะผิดหรือถูกให้ไปฟ้องศาลตามกระบวนการยุติธรรม
.
ขณะเดียวกัน พล.อ. ประยุทธ์ ยังพูดถึงการบริหารจัดการน้ำ ที่มีเขื่อนขนาดใหญ่ 38 แห่ง ขนาดกลาง 350 แห่ง ขนาดเล็กกว่าแสนแห่ง มีทั้งมีน้ำและไม่มีน้ำ 5 ปีที่ผ่านมาได้มีการทำเพิ่มเติม โดยใช้งบประมาณประจำปี ไม่ได้กู้ บางแห่งก็ทำได้ แต่บางแห่งก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีคนยอม แต่พอไปทำในป่าก็ถูกเอ็นจีโอต่อต้าน นี่คือปัญหาประเทศไทย ซึ่งตนไม่ได้ด่าประเทศไทย แต่ว่าทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย เพราะมีหลายพวกหลายกลุ่ม ยืนยัน ไม่มีใครแก้ปัญหาได้ แม้กระทั่งอยู่เมืองนอก แล้วกลับมาก็ทำไม่ได้
.
อย่างไรก็ตาม วันนี้ พล.อ. ประยุทธ์ มีอารมณ์หงุดหงิด ก่อนบอกว่า ไม่ได้ว่าใคร แต่ขอบ่นหน่อย ทั้งเรื่องโจมตีในสภา ปัญหาต่างๆ แม้วิษณุจะบอกว่าให้ตนใจเย็น เพราะวันพุธไปชี้แจงในสภาจะได้อารมณ์ดีถึงวันพุธ วันนี้ตนเลยใจร้อนตั้งแต่วันนี้เลย
.
“ขณะนี้ถ้าเป็นอย่างนี้ จะกี่รัฐบาลกี่ผู้นำก็แก้ไม่ได้ ทั้งที่ประเทศมีโอกาส เป็นสิ่งที่น่ารำคาญ ซึ่งหลังพูดเสร็จได้ขอโทษภายในงานว่าไม่ได้ว่าหรือตำหนิใคร แต่ขอบ่น เพราะหากคนไม่อยู่แล้วใครจะอยู่ พร้อมบอกว่า “จะเอาผมแบบนี้หรือผมแบบก่อน” (นายกฯ จากเลือกตั้งหรือรัฐประหาร)” พล.อ. ประยุทธ์ กล่าว
.
บิ๊กตู่ โวยเดือด หลังโดนด่า น้ำท่วมอีสานกลับลงใต้ บ่น ไปไหนชาวบ้านก็ขอแต่เงิน!
“บิ๊กตู่” โวย โดนด่า น้ำท่วมอีสานกลับลงใต้ อ้างไปดูเรื่องการระบายน้ำ บ่นเบื่อไปไหนมีแต่ชาวบ้านขอเงิน ย้ำไม่แจกเงินทันที เพราะมีขั้นตอนตามกฎหมาย
ต่อให้เรียก‘ไอ้คนอยู่เมืองนอก’กลับมา แก้ปัญหาประเทศแบบเดิมยิ่งเจ๊ง
สื่อออสเตรเลียเปิดเอกสารคดีธรรมนัส พบมีส่วนร่วมแต่ต้น ติดคุกจริง 4 ปี ไม่ใช่ 8 เดือน

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ในการแถลงชี้แจงข่าวคดียาเสพติด เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2562 / ภาพจาก พรรคพลังประชารัฐ
The Sydney Morning Herald หนังสือพิมพ์ของออสเตรเลีย ได้ค้นเอกสารจากศาลคดียาเสพติดของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ในปี 1993 (พ.ศ. 2536) พบรายละเอียดระบุว่ามีส่วนในการขนยาเสพติดเข้าออสเตรเลียตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ยังพบว่า ร.อ.ธรรมนัส ติดคุกอยู่ที่ออสเตรเลีย 4 ปีเต็ม ไม่ใช่แค่ 8 เดือนตามที่ ร.อ.ธรรมนัส กล่าวอ้าง
วันนี้ (9 ก.ย.) หนังสือพิมพ์ The Sydney Morning Herald ของออสเตรเลีย ได้ตีพิมพ์บทความลงในเว็บไซต์ข่าวของตัวเองในชื่อ “From sinister to minister: politician’s drug trafficking jail time revealed” โดยระบุว่าหนังสือพิมพ์ฯ ได้สืบค้นจนพบคำพิพากษาคดียาเสพติดของ ร.อ.ธรรมนัส ที่ออสเตรเลียในปี 1993 และพบว่ารายละเอียดหลายอย่างไม่ตรงกับคำให้สัมภาษณ์ของ ร.อ.ธรรมนัส ที่ระบุแก่สาธารณชนในช่วงหลายเดือนมานี้
ในคำพิพากษาระบุว่าในขณะนั้น ร.อ.ธรรมนัส ยังใช้ชื่อว่า “มนัส” อยู่ (ชื่อและนามสกุลตามที่ระบุในสื่อของออสเตรเลียคือ Manat Bophlom) โดยสื่อของออสเตรเลียระบุว่านายมนัสในขณะนั้นเป็นบุคคลสำคัญในกระบวนการขนยาเสพติดมาที่ประเทศออสเตรเลีย
เอกสารจากศาลออสเตรเลียระบุว่า นายมนัสได้ไปพบกับผู้มีอิทธิพลใต้ดินในไทยและผู้ร่วมขบวนการชาวออสเตรเลีย ที่กรุงเทพฯ ก่อนเริ่มดำเนินการ นอกจากนั้นยังเป็นผู้จัดหาวีซ่าและซื้อตั๋วเครื่องบินสายการบิน Qantas ให้กับผู้หญิงที่ชื่อ “ภา” (Pa) ซึ่งเป็นคนลักลอบขนเฮโรอีนจากไทยไปยังออสเตรเลียด้วย
นอกจากนี้ในเอกสารของศาลยังมีบันทึกด้วยว่า นายมนัสพูดว่าอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ผู้หญิงที่ชื่อภาบรรจุยาเสพติดดังกล่าวลงในกระเป๋าเดินทาง รวมถึงมีส่วนช่วยเหลือในการขนกระเป๋าที่มียาเสพติดดังกล่าวข้ามเมืองไปให้ผู้ซื้อที่โรงแรมใกล้หาด Bondi ในออสเตรเลียด้วย
ทั้งนี้ ในขณะที่นายมนัสถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำ Parramatta เพื่อรอคำพิพากษาอยู่นั้น เขาได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับขบวนการขนยาเสพติดในครั้งนี้เพื่อแลกกับโทษที่เบาลง รวมถึงบอกด้วยว่ามีอดีตทหารที่ชื่อ วีระ มานพ และไพศาล เกี่ยวข้องในขบวนการขนยาเสพติดครั้งนี้ด้วย โดยรายละเอียดทั้งหมดนี้ถูกบันทึกไว้ในเอกสารของศาลออสเตรเลีย
ในเอกสารจากศาลออสเตรเลียยังได้ระบุรายละเอียดของการขนยาเสพติดครั้งนี้ไว้ด้วยว่า เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 1992 เมื่อนายศรศาสตร์ (Sorasat) พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจของนายมนัส ได้มาพูดคุยกับนายมนัสว่าอยากจะส่งคนไปที่ประเทศออสเตรเลียเนื่องจากอยากเริ่มกิจการนำเข้า “มะพร้าวอ่อน” (young coconut) ต่อมาในเดือนมกราคม 1993 นายศรศาสตร์ได้ขอให้นายมนัสช่วยจัดหาวีซ่าออสเตรเลียให้กับผู้หญิงที่ชื่อภา จากนั้นทั้งคู่ได้ไปพบผู้หญิงที่ชื่อภาและผู้ชายอีกคนหนึ่งที่ชื่อไพศาลในร้านกาแฟใกล้สถานทูตออสเตรเลียเก่าในกรุงเทพฯ และวันต่อมานายศรศาสตร์ก็ได้ยื่นตั๋วเครื่องบินที่นายธรรมนัสเป็นผู้ซื้อให้กับผู้หญิงที่ชื่อภา
ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 1993 อดีตทหารที่ชื่อวีระ ได้พานายศรศาสตร์ไปพบกับผู้ร่วมขบวนการชาวออสเตรเลียทั้ง 2 คนเป็นครั้งแรก นั่นคือ นาย Sam Calabrese และนาย Mario Constantino หลังจากนั้นนายศรศาสตร์ก็ได้พบกับ 2 คนนี้อีกหลายครั้ง
จากบันทึกของศาล นายมนัสระบุว่า แม้นายศรศาสตร์จะไม่ได้บอกเขาตรงๆ ว่าสิ่งที่จะขนไปออสเตรเลียนั้นเป็นเฮโรอีน แต่เขาก็ยอมรับว่าสงสัยว่าของที่จะส่งไปออสเตรเลียนั้นผิดกฎหมาย “แม้ว่าเขา (ศรศาสตร์) จะไม่ได้บอกผมตรงๆ ว่ามันคือเฮโรอีน แต่ผมก็สงสัยว่าสิ่งที่เขากำลังจะส่งไปออสเตรเลียนั้นผิดกฎหมาย” นอกจากนั้นนายมนัสยังได้บอกตำรวจเพิ่มเติมด้วยว่า “ผมรู้ว่าวีระเป็นพวกลักลอบขนของผิดกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วย”
ด้านกระบวนการลักลอบขนยาเสพติดครั้งดังกล่าว หนังสือพิมพ์ Sydney Morning Herald ได้นำรายละเอียดที่ได้จากเอกสารของศาลออสเตรเลียมาเขียนไว้อย่างละเอียด
เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 1993 นายศรศาสตร์บินไปซิดนีย์เป็นคนแรก แล้วเช็กอินที่ห้องหมายเลข 1011 ของโรงแรม Palang บริเวณหาด Bondi หลังจากนั้นอีก 2 วันให้หลัง ผู้หญิงที่ชื่อภาก็บินออกจากกรุงเทพฯ โดยมีบันทึกระบุว่านายมนัสบอกกับนายศรศาสตร์ว่าในคืนก่อนที่ภาจะขึ้นบิน เธออยู่กับนายมนัส
โดยหลักฐานจากตำรวจกลางออสเตรเลียระบุว่า นายมนัสได้พูดว่า “คืนนั้นเราไม่ปล่อยให้เธอคลาดสายตา เธออยู่ใต้การจับตาของเราตลอดตั้งแต่ 1 ทุ่มจนถึงตีห้าครึ่ง” นอกจากนี้นายมนัสยังระบุด้วยว่า เขาอยู่ที่นั่นด้วยในขณะที่ภานำสิ่งของบางอย่างใส่ไปในกระเป๋าเดินทาง
แต่เมื่อถึงเวลานัดหมายที่ออสเตรเลีย ซึ่งนายศรศาสตร์และนาย Constantino ต้องไปรับตัวผู้หญิงที่ชื่อภาจากสนามบินซิดนีย์ เธอกลับไม่อยู่ที่นั่นตามนัดหมาย รายละเอียดในเอกสารจากศาลออสเตรเลียระบุว่า นายศรศาสตร์ต้องโทรกลับไปประเทศไทย และนายมนัสก็โมโหมาก โดยบอกกับนายศรศาสตร์ว่า “คุณทำงานไม่ได้อย่างที่ผมต้องการ”
ต่อมาผู้หญิงที่ชื่อภาไปปรากฎตัวที่โรงแรม Gazebo Hotel ในย่านคิงสครอส โดยทิ้งเฮโรอีนไว้ในห้องหมายเลข 713 ของโรงแรม Parkroyal ใกล้กับท่าเรือดาร์ลิง ในช่วงเวลานี้เองที่เปิดโอกาสให้ตำรวจกลางออสเตรเลียได้สับเปลี่ยนยา และติดตั้งเครื่องดักฟัง
ต่อมานายศรศาสตร์ตามตัวผู้หญิงที่ชื่อภาจนเจอที่โรงแรม Gazebo เธอให้กุญแจห้องหมายเลข 713 กับนายศรศาสตร์ รวมถึงกล่องไม้ขีดไฟที่มีที่รายละเอียดโรงแรม Parkroyal อยู่ด้วย
และจากเหตุการณ์ที่ภาไม่ปรากฏตัวที่สนามบินในซิดนีย์ตามแผน ทำให้ผู้ร่วมขบวนการอีกคนที่ชื่อมานพตัดสินใจไม่บินจากไทยไปที่ออสเตรเลีย ดังนั้นนายมนัสจึงต้องบินไปออสเตรเลียตามลำพัง
นายมนัสเดินทางถึงออสเตรเลียเมื่อวันที่ 14 เมษายน 1993 เวลา 20.18 น. โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจออสเตรเลียจับตาและดักฟังอยู่ เอกสารบันทึกข้อเท็จจริงของตำรวจที่ประกอบคดีระบุว่านายมนัสและนายศรศาสตร์ออกจากโรงแรม Palang โดยหอบกระเป๋าเดินทางขึ้นแท็กซี่ไปยังโรงแรม Parkroyal
เมื่อถึงโรงแรม Parkroyal นายศรศาสตร์ได้เช็กอินเข้าห้องหมายเลข 609 และมอบกุญแจห้อง 713 (ซึ่งเป็นห้องที่ผู้หญิงชื่อภาทิ้งเฮโรอีนเอาไว้) ให้นายมนัส เพื่อให้นายมนัสไปเอาของที่ถูกซ่อนไว้ใต้เตียงออกมา ต่อมานายศรศาสตร์ได้เอาบรรจุภัณฑ์สีน้ำตาลไปใส่ไว้ในกระเป๋าเอกสารสีดำ และนำกลับไปที่โรงแรม Palang ที่บริเวณหาด Bondi ในเอกสารจากศาลออสเตรเลียยังมีการระบุด้วยว่าพวกเขาทั้งสองแวะที่ร้านฮอทด็อกในย่านแคมป์เบล พาเรด และทานอาหารเย็นที่ร้านชื่อตุ๊กตุ๊กเรสเทอรอง
เมื่อกลับถึงห้องที่โรงแรม Palang ในขณะที่รอผู้ร่วมขบวนการชาวออสเตรเลียมารับของอยู่นั้น นายมนัสกล่าวกับนายศรศาสตร์ว่า “ของอยู่กับเรานานๆ แบบนี้ไม่ดีแน่”
ชาวออสเตรเลียที่ร่วมขบวนการที่เดินทางมาถึงก่อนคือนาย Constantino จากนั้นนาย Calabrese จึงตามมาสมทบ
ต่อมาในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนไม่นาน (ช่วงเริ่มต้นของวันที่ 15 เมษายน 1993) ซึ่งนับแล้วก็เป็นเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่นายมนัสเดินทางถึงออสเตรเลีย เจ้าหน้าที่จากหน่วย Operation Drover ที่สะกดรอยตามคนกลุ่มนี้เป็นเวลาเกือบสัปดาห์ก็บุกเข้าไปในห้อง ทั้งสี่คนถูกจับด้วยข้อหาสมคบคิดกันนำเฮโรอีนเข้าประเทศออสเตรเลีย และไม่มีใครได้รับการประกันตัว
นายศรศาสตร์รับสารภาพเป็นคนแรก ส่วนนายมนัสยืนยันจะสู้คดี และเมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน 1993 ศาลก็บอกกับนายมนัสว่าเขาจะถูกจำคุก 9 ปี หลังจากนั้นนายมนัสก็เริ่มให้การเป็นคุณแก่ตำรวจและรับสารภาพในที่สุด ในการสอบสวนครั้งหนึ่งนายมนัสสัญญาว่าจะ “บอกเรื่องของวีระให้หมดทุกเรื่อง” รวมถึงเรื่องที่เขาสั่งให้ฆ่าคนด้วย นอกจากนี้ ทางตำรวจยังอ้างว่านายมนัสได้ให้ข้อมูล ว่าพวกคนลับลอบขนเฮโรอีนเข้าออสเตรเลียนั้น ใช้วิธีการใส่ยาไว้ในถุงยางอนามัยและกลืนลงท้อง
นายมนัสและนายศรศาสตร์ถูกตัดสินจำคุก 6 ปี โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามปล่อยตัวก่อนครบกำหนด 4 ปี
นายมนัสและนายศรศาสตร์ได้ขออุทธรณ์ให้ลดโทษพวกเขาลง หลังจากที่นาย Constantino ได้รับโทษเพียงขั้นต่ำด้วยการจำคุก 2 ปีครึ่ง แต่ศาลปฏิเสธการอุทธรณ์ดังกล่าว
สุดท้ายแล้วทั้งนายมนัสและนายศรศาสตร์ถูกปล่อยตัวในวันที่ 14 เมษายน 1997 หรือคิดเป็นระยะเวลา 4 ปีถ้วน นับแต่ถูกควบคุมตัวครั้งแรกช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 15 เมษายน 1993 และหลังจากถูกปล่อยตัว เขาทั้งสองถูกส่งตัวกลับไทยทันที
รายละเอียดจากเอกสารของศาลออสเตรเลียที่หนังสือพิมพ์ The Sydney Morning Herald นำมาเสนอดังกล่าวนี้ มีหลายส่วนที่ไม่ตรงหรือขัดแย้งกับคำให้สัมภาษณ์ของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า โดยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2562 ร.อ.ธรรมนัส ได้แถลงข่าวที่รัฐสภาชั่วคราว อาคารทีโอที ยืนยันว่าตนไม่เคยนำเข้า ผลิต หรือจำหน่ายยาเสพติดใดๆ แต่ “เป็นเรื่องโอละพ่อ” ที่ทำให้ถูกดำเนินคดีข้อหารู้ว่ามีการค้ายาเสพติดแต่ไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ทั้งที่แท้จริงตนไม่รู้ ทำให้ต้องโทษจำคุก 8 เดือนและออกมาใช้ชีวิตอีก 4 ปีที่ซิดนีย์ ก่อนถูกส่งกลับมาไทยโดยไม่มีคดีติดตัว
“หลักฐานเหล่านี้สามารถไปตรวจสอบจากศาลของประเทศอสเตรเลีย ณ นครซิดนีย์ได้ว่าที่ผมพูดวันนี้เป็นความจริงไหม” ร.อ.ธรรมนัส กล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมา
สรุปและเรียบเรียงจาก https://www.smh.com.au/national/from-sinister-to-minister-politician-s-drug-trafficking-jail-time-revealed-20190906-p52opz.html
คำต่อคำ 'วิศณุ vs.ธรรมนัส' เปิดฉากดวลเดือดกลางสภาฯ กระทู้ร้อนคดียาเสพติดออสเตรเลีย
พล.ต.ท.วิศณุ: "ผมถามท่านนายกฯ ไปเลยว่าท่านนายกฯ ได้มีการตรวจสอบเชิงลึกในเรื่องดังกล่าวอย่างไร เหตุใดจึงไม่พบข้อเท็จจริงตามที่หนังสือพิมพ์ออสเตรเลียทั้ง 2 ฉบับรายงาน หรือตรวจสอบพบแล้วมีการปกปิดกัน แล้วเมื่อข้อเท็จจริงมีการปรากฎออกมาแบบนี้ ทางนายกรัฐมนตรีจะรับผิดชอบตอ่เรื่องนี้อย่างไร" VS. ร.อ.ธรรมนัส : "ผมไม่ทราบว่าท่านไม่เคยศึกษากฎหมายของประเทศออสเตรเลียเลยหรือไม่ ผมเดินทางไปประเทศออสเตรเลีย ณ นครซิดนีย์ ผมมีเวลาอยู่นครซิดนีย์ไม่เกิน 2 ชั่วโมง คดีนี้มันไม่มีคำพิพากษามันเป็นการ Plea Bargaining (แปลตรงตัวว่าการต่อรองคำรับสารภาพ) เด็กตัวเล็กๆจากพะเยาอายุ 24-25 ปี เดินทางไปประเทศออสเตรเลีย ภาษาอังกฤษก็ยังไม่แข็ง ผมจะไปมีปัญญาอะไรเป็นมาเฟียไปบงการคนนั้นคนนี้ค้ายาเสพติด"
สืบเนื่องจาก Sydney Morning Herald สื่อชื่อดังจากประเทศออสเตรเลีย และเว็บไซต์บีบีซีไทย (BBC Thai) รวมถึงสื่อไทยหลายสำนักเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับคดีของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี 2536 โดยอ้างว่าเป็นช่วงที่ ร.อ.ธรรมนัส ใช้ชื่อว่า นายมนัส โบพรหม อายุ 37 ปี ถูกศาลที่ประเทศออสเตรเลีย ตัดสินจำคุก 6 ปี แต่นายมนัสรับสารภาพ คงโทษจำคุก 4 ปี และถูกปล่อยตัวออกมาในปี 2540 กรณีถูกกล่าวหาว่า มีส่วนรู้เห็นในการลักลอบนำเข้ายาเสพติดเข้าประเทศออสเตรเลีย
เบื้องต้น ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้ออกมาชี้แจงความบริสุทธิ์ของตนเอง โดยยืนยันว่า ไม่เคยรับสารภาพตามที่สื่อเขียนถึง มีขบวนการจ้องดิสเครดิตตนเอง และขอเวลาทำงานรับใช้ประชาชน ไม่อยากพูดถึงเรื่องในอดีต (อ่านประกอบ : คำต่อคำ 'ธรรมนัส' แจงปมสื่อออสเตรเลียเสนอข่าวติดคุก 4 ปี มีโครงข่ายอยู่เบื้องหลัง?)
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 ก.ย.2562 ที่รัฐสภา พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.วิศณุ ม่วงแพรสี ส.ส. ของพรรคตั้งกระทู้ถามด้วยวาจา ไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ถึงความเหมาะสม ในการแต่งตั้ง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งที่ ร.อ.ธรรมนัส มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ และมีความชัดเจนว่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคดีค้ายาเสพติด
ขณะที่ทางด้านของ พล.อ.ประยุทธ์ ได้มอบหมายให้ ร.อ.ธรรมนัสเป็นผู้ที่มาตอบกระทู้ถามนี้ด้วยตนเอง
สำนักข่าวอิศรา ได้สรุปรายละเอียดการถามตอบกรณีนี้ กลางรัฐสภาฯ มานำเสนอให้สาธารณชนได้รับดังนี้
พล.ต.ท.วิศณุ: "ผมถามหาความรับผิดชอบและการตรวจสอบกรณีที่หนังสือพิมพ์ Sydney Morning Herald และหนังสือพิมพ์ The Age ของออสเตรเลียได้ลงข่าวของ รมช.เกษตรและสหกรณ์"
"ประเด็นแรกผมขอย้อนอดีตไปก่อนตั้งแต่ช่วงปี 2541-2542 ซึ่งผมได้ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการกองปราบปราม ผมเคยพบ ร.อ.ธรรมนัสแล้วเมื่อปี 2541 โดยทำหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนในคดีร่วมกันฆ่า นายพูลสวัสดิ์ จิราภรณ์ ผมได้ทำสำนวนสอบสวนร่วมกันกับ พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ และ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา ซื่งตอนนี้เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในที่สุดฝ่ายสอบสวนก็มีการสั่งฟ้อง ซึ่งตอนนั้น ร.อ.ธรรมนัสก็เป็นจำเลยในสำนวนดังกล่าว โดยตอนนั้นผมก็ได้ให้คนไปตรวจสอบเพราะทราบว่าคดีนี้มีการตัดสินจำคุกด้วย แต่เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นการตรวจสอบค่อนข้างลำบาก ก็เลยไม่รู้ว่ามีใครในคดีนี้ถูกจำคุกบ้าง"
"ประเด็นต่อมาก็คือว่า มีนักสืบโซเชียลออกมาตรวจสอบเรื่องคุณสมบัติของท่านตอนที่ได้รับแต่งตั้ง ท่านก็ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าไม่เกี่ยวข้องกับทั้งยาเสพติดที่นำเข้าประเทศออสเตรเลียเป็นจำนวน 3.2 กิโลกรัม ท่านก็ให้สัมภาษณ์สื่อว่าท่านไปอยู่ในที่ๆคนร้ายหรือผู้กระทำความผิดได้ขนยาเสพติดเข้าไป แล้วท่านก็บอกว่าท่านถูกจำคุกแค่ 8 เดือน หลังจาก 8 เดือนแล้วท่านก็ให้ชีวิตปกติที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย และสุดท้ายก็มีการส่งตัว หรือหมายถึงการกวาดล้างผู้ที่ไม่พึงประสงค์กลับมาอยู่ในประเทศตัวเอง ประเทศต้นทาง"
"มาวันนี้หนังสือพิมพ์ Sydney Morning Herald ได้ออกรายงานใช้คำว่ารายงานพิเศษเรื่องจากผู้ร้ายสู่รัฐมนตรี โดยนายไมเคิล รัฟเฟิลส์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์Sydney Morning Herald และทางหนังสือพิมพ์ The Age ก็ได้ไปเจาะลึกจนปรากฏคำรับสารภาพและคำให้การของตำรวจ ปรากฏถึงการดักฟังทางโทรศัพท์ มีรายละเอียดมากมายยืนยันว่าท่านเกี่ยวข้องแน่นอน"
"นอกจากนี้ในเอกสารยังมีการระบุชื่อว่ามนัส และระบุคำว่ามาเฟียใหญ่ของไทย ผมคิดว่าประเด็นนี้จะมีคนเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ ทางด้านของ ร.อ.ธรรมนัสก็คงต้องไปดำเนินการทางกฎหมายอีกทีหนึ่ง"
"คำถามของผมก็คือว่า แค่พัวพันเรื่องยาเสพติด บุคคลนั้นก็ต้องขึ้นบัญชีดำว่าไม่ให้เข้าประเทศแล้ว ดังนั้น ก็ขอถามไปยังนายกรัฐมนตรีเลยว่า ในช่วงที่มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีและมีผู้ทักท้วงถึงความไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก ผมถามท่านนายกฯ ไปเลยว่าท่านนายกฯ ได้มีการตรวจสอบเชิงลึกในเรื่องดังกล่าวอย่างไร เหตุใดจึงไม่พบข้อเท็จจริงตามที่หนังสือพิมพ์ออสเตรเลียทั้ง 2 ฉบับรายงาน หรือตรวจสอบพบแล้วมีการปกปิดกัน แล้วเมื่อข้อเท็จจริงมีการปรากฎออกมาแบบนี้ ทางนายกรัฐมนตรีจะรับผิดชอบตอ่เรื่องนี้อย่างไร"

ร.อ.ธรรมนัส: "วันนี้ผมได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้มาตอบกระทู้ถามในประเด็นที่เป็นเรื่องส่วนตัวของกระผม โดยตั้งคำถามว่านายกรัฐมนตรีจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้นประมาณ 30 ปีที่แล้วของกระผม"
"แต่ก่อนอื่นผมต้องขอย้อนไปถึงประเด็นในปี 2540-2541 ก่อน ในกรณีที่ผมถูกกล่าวหาว่าร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตก่อน เพราะแสดงว่ากรณีนี้ พล.ต.ท.วิศณุนั้นไม่เคยได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง"
"ตามข้อเท็จจริงในเอกสารของศาลอาญาในปี 2546 นั้นได้ระบุเอาไว้แล้วว่าบัดนี้คดีถึงที่สุดแล้ว โดยคดีดำที่ 10089/2541 คดีหมายเลขแดงที่ 3404/2546 ของศาลอาญา ศาลอาญาพิพากษาเมื่อวันที่ 27 ต.ค.2546 และไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ต่อศาล ดังนั้นต้องขอเรียนว่าผมไม่เคยถูกต้องพิพากษาคดีใดๆ ศาลสั่งให้ผมชนะคดีโดยไม่มีการลงโทษใดๆทั้งสิ้น พนักงานอัยการก็ไม่มีการอุทธรณ์ใดๆตามมา"
"กลับมาต่อในประเด็นที่ พล.ต.ท.วิศณุได้พูดถึงทั้งคำให้การรับสารภาพของผม การดักฟังของเจ้าหน้าที่ตำรวจ คำให้การของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผมต้องขอเรียนว่าในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของนายไมเคิลซึ่งได้อีเมล์มาหาผม ผมไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใด แต่นัยยะที่นายไมเคิลเมล์มาหาผมนั้นเขาต้องการให้ผมคุยกับเขา"
"ผมก็ตอบไปว่าผมจะคุยกับคุณเรื่องอะไร 1.คุณไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ 2.คุณกลับไปดูประวัติของคุณว่าคุณนำเสนอข่าวอะไรบ้าง 3.คุณอ้างว่าคุณเอาคำพิพากษาของศาลนครซิดนีย์ซึ่งเป็นศาลท้องถิ่น คุณอ้างว่าคุณมีคำให้การของผม คุณอ้างว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีเครื่องดักฟังผม ผมอยากจะเรียนว่าผมเคยแถลงข่าวไปกับสื่อมวลชนไปแล้วจนทราบว่าอะไรเป็นอะไร"
"ผมอยากจะชี้แจงว่าโทษการนำเข้า จำหน่าย ส่งออกเฮโรอีนปริมาณเล็กน้อย โทษต่ำสุดก็คือจำคุก 10 ปี หากเป็นโทษตามจำนวนเฮโรอีนที่นายไมเคิลได้นำมาเสนอข่าวนั้นขั้นต่ำก็คือจำคุกตลอดชีวิต"
"ผมไม่ทราบว่าท่านไม่เคยศึกษากฎหมายของประเทศออสเตรเลียเลยหรือไม่ ผมเดินทางไปประเทศออสเตรเลีย ณ นครซิดนีย์ ผมมีเวลาอยู่นครซิดนีย์ไม่เกิน 2 ชั่วโมง คดีนี้มันไม่มีคำพิพากษามันเป็นการ Plea Bargaining (แปลตรงตัวว่าการต่อรองคำรับสารภาพ) เด็กตัวเล็กๆจากพะเยาอายุ 24-25 ปี เดินทางไปประเทศออสเตรเลีย ภาษาอังกฤษก็ยังไม่แข็ง ผมจะไปมีปัญญาอะไรเป็นมาเฟียไปบงการคนนั้นคนนี้ค้ายาเสพติด"
"มีประเด็นที่เขียนระบุว่าพันโทคนนั้น ผู้หญิงคนนั้นมาเกี่ยวข้อง คุณเอาอะไรมาพูด คนไทยสองคนถูกจับกุม คนหนึ่งไปร้องตัดสินดูก่อน เขาเรียกว่า Plea Bargaining เพราะไม่มีเงินที่จะสู้คดี ต้องใช้ ทนายอาสาของประเทศออสเตรเลีย ผมไม่เคยรับสารภาพว่าขนยา ค้ายา หรือนำเข้ายาเสพติด หากเป็นข้อเท็จจริง ไปเอามาเลยว่าผมรับสารภาพตรงไหน"
"ผมชี้แจงมาหลายครั้งแล้ว และยังมาถามอีกว่าผมติดคุก8 เดือนหรืออะไร เขาเรียกว่าการ Plea Bargaining หรือการลองตัดสิน"
"ผมไม่ได้เข้าสู่กระบวนการไต่สวน สอบสวนพยานอะไรเลย ผมถูกกักขังหรือ Locked Up อยู่ 8 เดือน หลังจากนั้นเข้าสู่กระบวนการ Plea Bargaining โดยผมถูกส่งตัวไปอยู่ฟาร์มดูแลผู้ต้องขังเยาวชนที่มีปัญหาประมาณ 6เดือน ผมก็กลับมาอยู่นครซิดนีย์ โดยต้องออกไปทำงานเช้า ตกเย็นก็กลับมานอนในที่ที่เจ้าหน้าที่เขาจัดให้นอน ผมใช้ชีวิตอยู่แบบนี้ประมาณ 4 ปี"
"ผมบอกและแถลงชัดเจนว่าขั้นตอนการเจรจาต่อรอง อัยการของนครซิดนีย์ ผู้พิพากษาท้องถิ่นเวลานั้นบอกว่าผมต้องมีหน้าที่เป็นพยานให้กับผู้ถูกกล่าวหาอีกคนที่เป็นชาวต่างชาติ เมื่อมันครบ 4 ปี ผมก็ไม่คิดจะกลับมา ที่ประเทศไทย ณ เวลานั้น เพราะต้องการใช้ชีวิตกับครอบครัวที่ประเทศออสเตรเลีย แต่เมื่อรัฐบาลเขามีนโยบายให้เรากลับ เราก็กลับโดยไม่มีโทษติดตัวเลย ผมชี้แจงมากี่ครั้งก็จะพูดแบบนี้"
"การ Plea Bargaining ศาลออสเตรเลียนั้นให้ผมอยู่จนจบวาระการเป็นพยาน นั่นคือ 4 ปีจนคดีจบ"
"แล้วผมจะกราบเรียนเพิ่มเติมว่า คดีนี้ท้ายสุดผู้ต้องหาที่เป็นคนต่างชาติ ศาลตัดสินยกฟ้อง ผมคงไม่ต้องกลับมาพูดเรื่องนี้อีก"
"ประเด็นสำคัญก็คือเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมาตอนที่ผมสมัครลงเลือกตั้งเป็น ส.ส. ถ้าหากไม่มีการรัฐประหารที่ตามมาต่อนั้น ผมก็ได้เป็น ส.ส.แล้ว ก็ไม่เห็นมีใครจะมาโจมตีผมในประเด็นนี้เลย"
"ผมขอตอบแทนนายกรัฐมนตรีเลยว่าผมนั้นผ่านพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาล้างมลทินมากี่ครั้งแล้ว ท่านเป็นตำรวจท่านน่าจะรู้ว่าพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาล้างมลทินนั้นมีสาระสำคัญอะไรบ้าง ท่านอยากให้ผมย้อนกลับไปเป็นอดีตหรือ หรือจะอยากให้ผมอยู่กับวันนี้และอนาคต ตอนนี้ประชาชนกำลังลำบาก ทำไมเราไม่เห็นใจเขาบ้าง"
"ผมอยู่กับปัจจุบัน และจะไม่ยอมอยู่กับเรื่องเก่าๆที่เปรียบเสมือนกับฝันร้ายของผม"
"หลังจากวันนี้ฝันร้ายเหล่านี้จะต้องหายไปจากชีวิตผม และหลังจากนี้หากท่านผู้ใดสงสัยในประเด็นเรื่องเหล่านี้ ท่านก็ไปถามผมส่วนตัวได้ และต่อไปนี้ผมจะเอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ว่ากับท่านใดที่ได้พาดพิงถึงเรื่องผม"

พล.ต.ท.วิศณุ: "จริงๆผมฟังท่านรัฐมนตรีตอบชี้แจงแทนท่านนายกรัฐมนตรีก็ถือว่าท่านตอบได้ดี"
"แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอีก 2 ประการก็คือต้องพิสูจน์กันว่าระหว่างสื่อมวลชนออสเตรเลียที่ได้ออกรายงานเจาะลึกมา กับทางท่านรัฐมนตรีที่ได้ตอบคำถามเมื่อสักครู่นั้น ของใครจริง ของใครเท็จ ตรงนี้ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและฝ่ายที่ต้องตรวจสอบกันต่อไป"
"ส่วนประเด็นที่ 2นั้น ที่ท่านบอกว่าเรื่องนี้มีคำพิพากษาเป็นเรื่อง Plea Bargaining นั้น ผมคิดว่าคำพิพากษาเต็มๆน่าจะออกมาเร็วๆนี้ โดยคงจะตีพิมพ์ทั้งในสื่อไทยและสื่อต่างประเทศ ซึ่งต้องพิสูจน์กันต่อไป ผมบอกว่าเรื่องยาเสพติดนั้นเป็นปัญหาที่ร้ายแรง คำถามก็คือว่าหากท่าน รมช.ถูกจำคุกคดียาเสพติด จะเป็น Plea Bargaining หรืออะไรก็แล้วแต่ ตรงนี้จะเป็นความผิดร้ายแรงที่จะปรับ รมช.ออกจากคณะรัฐมนตรีหรือไม่ หรือเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น"
สำนักข่าวอิศรา รายงานต่อว่า หลังจาก พล.ต.ท.วิศณุ ชี้แจงข้อสงสัยในช่วงท้ายจบลง นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทยคนที่ 2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมนั้นได้วินิจฉัยว่า ร.อ.ธรรมนัสได้ตอบคำถามชี้แจงข้อซักถมจนครบถ้วนแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องตอบคำถามใดๆอีก
จากนั้น ได้ให้ที่ประชุมรัฐสภาเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมถัดไป
วาระการถาม-ตอบกระทู้สดกรณีนี้ จึงสิ้นสุดลงไปตามระเบียบ!