PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สถานการณ์ข่าว 16ต.ค.57

ถอดถอน

"สุรชัย" ยัน สนช. ทำตาม กม. ไม่กังวลโดนฟ้องกลับ ขณะเสียงแตก เป็นสิทธิ์ คาดได้ 5 กมธ.ยกร่าง รธน. ในสิ้น ต.ค. 

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผย สำนักข่าว INN ว่า ในวันนี้ ประธาน สนช. จะขอหารือกับรองประธาน กรณีสำนวนคดีถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุ
รนนท์ และ นายนิคม ไวยรัชพานิช โดยคาดว่า จะเป็นการหารือถึงรูปแบบการประชุม และการให้สิทธิ์สมาชิกอภิปราย เนื่องจากจะมีการนำเข้าที่ประชุมในวันพรุ่งนี้ ที่จะเป็นพิจารณารับเรื่องหรือไม่
เท่านั้น ซึ่งหากรับขั้นตอนหลังจากนี้จะอยู่ในกรอบประมาณ 25 วัน ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องที่สมาชิกเสียงแตกในประเด็นดังกล่าวอย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้ ถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะสมาชิกต่างมีสิทธิ์คิด
เห็นต่างกันได้

ส่วนกรณีอาจถูกฟ้องกลับนั้น ไม่กังวลใจ ขอให้มั่นใจว่า สนช. จะทำหน้าที่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และรอบคอบมากที่สุด รวมถึงสำนวนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คดีจำนำข้าวเช่นกัน ทั้งนี้ ผู้
เห็นต่างถือเป็นสิทธิ์ แต่ขอให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย เพราะขณะนี้อยู่ในช่วงปฏิรูป อยากให้พูดคุยกันให้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นายสุรชัย กล่าวอีกว่า สนช. จะคัดเลือก 5 บุคคล เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หลังเปิดการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ นัดแรก โดยคาดว่าจะเสร็จภายในสิ้นเดือน ต.ค.นี้
-----------
ที่ประชุม สนช. ผ่านร่าง พรบ. 10 ฉบับ พรุ่งนี้พิจารณษต่ออีก 2 ฉบับ ก่อนเข้าวาระถอดถอน "นิคม-สมศักดิ์"

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตลอดทั้งวันที่ผ่านมา มีการประชุมเพื่อพิจาราณาร่างกฏหมายเรื่องด่วนจำนวน 10 ฉบับ โดยผ่านวาระการประชุมทั้งหมด ทั้งนี้ มีร่างกฏหมายค้างอยู่ที่

ประชุมอีกจำนวน 2 ฉบับ ที่คณะรัฐมนตรีเสนอมา ซึ่งจะนำมาพิจารณาต่อในวันพรุ่งนี้ (17 ต.ค. 2557) คือ ร่างพระราชบัญญัติ กองอาสารักษาดินแดน (ฉบับที่...) พ.ศ. และ ร่างพระพระราชบัณฑิตย์

สภา พ.ศ. ...

อย่างไรก็ตาม วาระการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชยพาณิช ออกจากสมาชิกวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาเป็นวาระสุดท้าย หากที่ประชุมมีมติ

รับหลักการ ในสัปดาห์หน้าก็จะมีการแถลงเปิดคดี โดยคู่กรณีต้องมาชี้แจงด้วยตนเอง
-------
ป.ป.ช. พร้อมรับ 28 สนช.ใหม่ ยื่นบัญชีทรัพย์สิน ที่รัฐสภา ขณะ 10.00 น. ประชุมประจำสัปดาห์พิจารณา กม.ด่วน 12 ฉบับ

บรรยากาศที่รัฐสภาเช้านี้ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทยอยเข้าทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้ เจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มาบริการรับแบบบัญชีรายการทรัพย์สิน และ

หนี้สินของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเพิ่มเติม จำนวน 28 คน กรณีเข้ารับตำแหน่ง ที่ ห้อง113 ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 2 ขณะที่เวลา 10.00 น. มีการประชุม
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. เรื่องด่วน จำนวน 12 ฉบับ

ทั้งนี้ เวลา 13.30 น. นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติศุลกากร แถลงข่าวเกี่ยวกับการนำพระราชบัญญัติศุลกากรไปใช้บังคับ ที่ห้องโถง ชั้น 1

อาคารรัฐสภา 1 อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหาร รักษาความปลอดภัยบริเวณประตูเข้า-ออกอย่างเข้มงวด
ป.ป.ช. ประชุม 10.00 น. คาด พิจารณาคดีถอดถอน 39 ส.ว. - สปช. ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินหรือไม่
----------
ปปช. เตรียมเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน สนช.ที่ตกค้าง 24 ต.ค.นี้ ส่วน ครม. พล.อ.ประยุทธ์ วันที่ 31 ต.ค.

นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) กล่าวว่า ทางป.ป.ช. จะเปิดเผยรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของนายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมาคม รวมถึงอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อีก 5 คน ในระหว่างวันที่24ตุลาคม ถึง

7พฤศจิกายนนี้

ส่วนรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานั้น จะเปิดเผยในระหว่างวันที่ 31ตุลาคม ถึง วันที่ 14พฤศจิกายนนี้

นอกจากนี้ คณะกรรมการป.ป.ช. จะแถลงผลงานในรอบ8 ปีที่ผ่านมาของป.ป.ช.ต่อสื่อมวลชน ในวันอังคารที่ 21 ตุลาคมนี้
-----------------
บรรยากาศที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในช่วงเช้าวันนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ขณะที่ 10.00 น. มีการประชุมประจำสัปดาห์ของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. คาด

ว่าจะมีการพิจารณาสำนวนคดีถอดถอน อดีตสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 39 ราย จากกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมิชอบ ในประเด็นที่มาวุฒิสภา ว่า จะส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาหรือ

ไม่ รวมถึงกรณีว่า สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จะต้องยื่น และแสดงบัญชีทรัพย์สินหรือไม่

อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องการส่งสำนวนคดีถอดถอนอดีตสมาชิกวุฒิสภานั้น ถูกเลื่อนการพิจารณาจากเมื่อวันที่ 14 ต.ค. ที่ผ่านมา เพราะเจ้าหน้าที่ไม่สามารถสรุปสำนวนคดีไม่แล้วเสร็จ
-----------
รองเลขาธิการ ป.ป.ช. เผยถอดถอน สว. 38 คน ปมแก้ที่มา ส.ว. ให้เจ้าหน้าที่ดูเพิ่มเติมภายใน 2 สัปดาห์ 

บรรยากาศที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ล่าสุด นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการ ในกรณีสำนวนคดีถอดถอนอดีต

สมาชิกวุฒิสภา 38 ราย จากกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมิชอบ ในประเด็นที่มาของวุฒิสภา ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติให้ เจ้าหน้าที่ไปพิจารณาข้อมูลเพิ่มเติม ว่าการกระทำ

ของอดีตสมาชิกวุฒิสภาถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 อย่างเดียว หรือมีความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย พร้อมเปรียบเทียบกับสำนวนของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

และ นายนิคม ไวยรัชพานิช ว่ามีข้อกฎหมายแตกต่างอย่างไร ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ภายใน 2 สัปดาห์หน้าค่ะ

ส่วนกรณีที่ว่าสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. จะต้องยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. หรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า ทาง สปช. พิจารณาและเสนอความคิดเห็นเข้ามาให้

ป.ป.ช. พิจารณาต่อไป
//////////////

สปช.

เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร บรรจุวาระ 21 ตุลาคม ประชุม สปช.นัดแรก เพื่อเลือกประธานและรองประธาน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทำหนังสือเชิญสมาชิก สปช. ประชุม ครั้งที่ 1/2557 วันที่ 21 ตุลาคม 2557 เวลา 09.30 น. ภายหลังจากมี

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ประกาศแต่งตั้งสมาชิก สปช. จำนวน 250 คน และสมาชิกได้เข้ามารายงานตัวเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาปฏิรูปแห่ง

ชาติ เริ่มจากการรับทราบพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้ง จากนั้น สมาชิกรับพระบรมราชโองการและกล่าวปฏิญาณตนต่อที่ประชุม จึงเข้าสู่ขั้นตอนการเลือกประธานและรองประธาน โดยมี

นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ทำหน้าที่ประธานการประชุม เนื่องจากเป็นผู้อาวุโสสูงสุด อย่างไรก็ตาม การประชุมใช้ระเบียบข้อบังคับการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ไปพลางๆ ก่อนในนัด

แรก
////////////
เคลื่อนไหวนายกฯ

นายกฯ เตรียมหารือทวิภาคีกับผู้นำหลายประเทศ ก่อนร่วมประชุมอาเซม ที่อิตาลี กำหนดประเด็นโลก 

ภารกิจนายกรัฐมนตรี ที่นครมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. มีกำหนดเข้าหารือทวิภาคีกับผู้นำหลาย

ประเทศ ประกอบด้วย นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน สมเด็จ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และ นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรี

สิงคโปร์ จากนั้น จะร่วมพิธีเปิดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป หรือ อาเซม ครั้งที่ 10 อย่างเป็นทางการ ก่อนจะรับฟังผลการประชุมสภาเอเชีย-ยุโรป การประชุมเวทีประชาชนเอเชีย-ยุโรป
สภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป และร่วมประชุมเต็มคณะ ในหัวข้อการส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินและเศรษฐกิจ ผ่านการเชื่อมโยงระหว่างเอเชีย-ยุโรป การเป็นหุ้นส่วนระหว่างเอเชีย-ยุโรป เพื่อกำหนด

ประเด็นโลกภายใต้โลกที่มีความเชื่อมโยงกัน
------------
"ม.ล.ปนัดดา" เผย นายกฯ เป็นห่วงสาวเผาตัวเอง โทรติดตามสถานการณ์ ขณะผู้ป่วยอาการดีขึ้น ยัน รบ. มีนโยบายช่วยอยู่แล้ว

ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้า อาการบาดเจ็บของ นางสังเวียน รักษาเพ็ชร จากเหตุจุดไฟเผาตัวเอง หลังมายื่นหนังสือที่ศูนย์บริการประชาชนชั่วคราว

ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ซึ่งอยู่ระหว่างการประชุม สุดยอดผู้นำเอเชีย-ยุโรป ที่อิตาลี ได้แสดงความเป็นห่วงและโทรศัพท์

สอบกลับมาเพื่อติดตามสถานการณ์และช่วยเหลือ ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และให้ความร่วมมือกับแพทย์เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ม.ล.ปนัดดา กล่าวยืนยันว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะช่วยเหลือประชาชนอยู่แล้ว โดยกระทรวงการคลังได้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน และกระทรวง

มหาดไทยมีศูนย์ดำรงธรรมที่รับเรื่องร้องเรียน เพื่อส่งข้อมูลให้หน่วยงานต่าง ๆ แก้ปัญหาในพื้นที่ ขณะเดียวกันจะมีการเพิ่มงบประมาณให้ศูนย์ดำรงธรรม เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มากขึ้น

ส่วนความคืบหน้าการตรวจสอบทุจริตจากโครงการรับจำนำข้าว ได้ส่งผลสรุปรายงานให้นายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ต้องรอการประชุมคณะ

กรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าว หรือ นบข. หลังนายกรัฐมนตรีเดินทางกลับจากอิตาลีแล้ว
-------------
นายกฯ ลุยปฏิรูปให้สัมฤทธิ์ผลใน 1 ปี ปัดหวังอยู่ยาว บอก จำเป็นใช้ กม.พิเศษ ยัน ช่วยเหลือ ปชช. ต้องไม่มีทุจริต

ภารกิจของนายกรัฐมนตรี ที่นครมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี เอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึง

ปัญหาด้านความมั่นคง ว่า จำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษควบคุมสถานการณ์เพื่อลดความขัดแย้งและเดินหน้าสู่การปฏิรูปประเทศให้สัมฤทธิ์ผลใน 1 ปี หากไม่จบ รัฐบาลใหม่ต้องรับไปดำเนินการ

พร้อมย้ำว่า ไม่ต้องการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกินกว่ากรอบเวลาที่วางไว้

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในด้านต่าง ๆ ขณะนี้ ว่า ตนได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายคณะ เพื่อเข้าไปศึกษาและต้องมีผลงานให้เห็น ที่

สำคัญต้องลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม โดยเฉพาะเรื่องที่ดินทำกิน และตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา ได้เร่งแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ ซึ่งหลายประเทศเข้าใจ และยังคงเข้ามาสานต่อด้านการค้าการลงทุน

อย่างไรก็ตาม ต้องเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ พร้อมวางยุทธศาสตร์การทำงานให้ครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งรัฐบาลก็จะเตรียมงบประมาณรองรับการดำเนินการ และจะไม่ปล่อยให้มีการทุจริตคอร์รัปชัน

เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน จะให้โอกาสทุกฝ่ายในการต่อสู้คดี
-----------
นายกฯ หารือทวิภาคี ผู้นำญี่ปุ่นบอกไม่ต้องกังวล เดินหน้าสู่ ปชต. เต็มที่ ตามโรดแมป "อาเบะ" ชมความเป็นผู้นำ พร้อมเชิญไปเยือน

ภารกิจนายกรัฐมนตรี ที่นครมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้หารือทวิภาคี กับ นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น โดย นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้แสดง

ความยินดีในโอกาสที่ พล.อ.ประยุทธ์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และหวังว่าจะมีโอกาสให้การต้อนรับในการเดินทางเยือนญี่ปุ่น

พร้อมกันนี้ ยังยกย่องความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีไทยที่พยายามแก้ไขปัญหาของประเทศได้อย่างรวดเร็ว และยกย่องความพยายามในการปฏิรูปของไทย โดยขอให้ปฏิรูปและสร้างความ

ปรองดองสำเร็จ เป็นประชาธิปไตยโดยเร็ว และต้องรับฟังเสียงประชาคมโลกไปพร้อมกัน

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังขอให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นไม่ต้องกังวลเรื่องการเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตยของไทย เพราะเวลานี้ ไทยอยู่ในช่วงโรดแมป ระยะที่ 2 แล้ว และพร้อมรับฟังคำแนะนำจาก

ประเทศต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ไทยจะเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ เร่งการค้าการลงทุน พัฒนาระบบสาธารณูปโภค และที่สำคัญจะเร่งเดินหน้าเรื่องการลงทุนกับญี่ปุ่น ทั้งเรื่องระบบราง ดาวเทียม และการ

บริหารจัดการน้ำ


----------
ยาง

หม่อมราชวงศ์ปรีดียาธร เป็นประธานประชุม กนย. ครั้งที่ 3 แล้ว หารือเครือข่ายถึงแนวทางช่วยยางทั้งระบบ 

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย. ครั้งที่ 3 พร้อมนายอำนวย ปะติเส ว่าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว เพื่อหารือกับตัวแทนภาครัฐและเครือข่ายต่างๆ ในการหาแนวทางช่วยยางพาราทั้งระบบ

ทั้งนี้ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธรกล่าวในที่ประชุมว่า มีข่าวดีรายงานต่อที่ประชุม เนื่องจากรายงานสถิติของสต๊อกยางโลกและของไทยมีปริมาณยางลดลง หลังปีที่แล้วปริมาณยางโลกอยู่ที่ 2ล้าน 9

แสนตัน ขณะที่ปีนี้ปริมาณอยู่ที่ 2 ล้าน 3 แสน ถึง 2 ล้าน 5 แสนตัน เช่นเดียวกับปริมาณยางของประเทศไทยปีที่แล้ว อยู่ที่ 5 แสน 3 หมื่นตัน จนถึงเดือนกันยายน ปริมาณลดลงเหลือเพียง 4 แสน 4

หมื่นตัน ทำให้เชื่อได้ว่าราคายางของประเทศไทยจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากขณะนี้ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย  มีปริมาณความต้องการยางสูงขึ้น
------------
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร ยันดึงราคายางพาราขึ้นกิโลกรัมละ 60 บาท 1-2 เดือน พร้อมช่วยเกษตรกรอีกเหลือไร่ 1,000 บาท

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย. ครั้งที่ 3 ว่า ในขณะนี้สถานการณ์สต๊อกยางพาราทั้งโลกมี

จำนวนลดลง จึงถือจังหวะนี้เพื่อดึงราคายางให้สูงขึ้นให้ได้ราคากิโลกรัมละ 60 บาท ภายใน 1-2 เดือน โดยจะใช้วงเงิน 20,000 ล้านบาท ในการซื้อยางแผ่นมาเก็บไว้ในสต๊อก พร้อมกันนี้ได้ติดต่อ

ธนาคารพาณิชย์ 6 แห่ง เพื่อขอสินเชื่อในการรับซื้อน้ำยางข้นจากเกษตรกร รวมถึงยังได้มีแผนช่วยเหลือเกษตรกร เนื่องจากราคายางตกต่ำ ด้วยการให้เงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท สำหรับ
เกษตรกรที่มีสวนยางไม่เกิน 25 ไร่ ในวงเงินไม่เกิน 15,000 บาทต่อครัวเรือน

นอกจากนี้ ทาง กนย. ยังได้มีแผนระยะยาวในการช่วยเหลือเกษตรกร ด้วยการให้สินเชื่อปรับปรุงสวน ในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับเกษตรกรที่มีสวนยางไม่เกิน 15 ไร่ ในการประกอบอาชีพ

เสริมบนพื้นที่ที่มีอยู่ ซึ่งมาตรการทั้งหมดนี้จะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในครั้งหน้า
/////////
ป๋าเปรม

"พล.อ.เปรม" เปิดโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่น 22 ขณะ "พล.อ.สุรยุทธ์ - พล.อ.อุดมเดช - พล.อ.ไพบูลย์" พร้อมร่วม

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองค์มนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 22 โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมตรีช่วย

ว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมด้วยคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ จาก 3 เหล่าทัพ ณ สโมสรทหารบก เทเวศร์

ทั้งนี้ โครงการนี้เกิดขึ้น จากดำริของ พล.อ.เปรม และได้รับการสนับสนุน จากมูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มูลนิธิรักเมืองไทย มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กองทัพบก กองทัพเรือ

กองทัพอากาศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกันสนับสนุนและจัดกิจกรรมเพื่อให้เยาวชนที่นับถือ ศาสนาอิสลาม จาก 5 จังหวัด
ชายแดนใต้ เข้าร่วมกิจกรรม ได้เรียนรู้ และทัศนศึกษาสถานที่ต่าง ๆ และได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ใน 10 จังหวัดภาคกลาง เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ ตลอดจนการ

ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
-------
"พล.อ.เปรม" ภูมิใจ มีสานใจไทย สู่ใจใต้ ช่วย จชต. สงบ ยัน ทุกคนเป็นเจ้าของประเทศ ขอร่วมดูแลชาติ

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวให้โอวาทกับเยาวชนในโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ ปีที่ 22 ว่า  มีความภาคภูมิใจและชื่นใจมากที่มีโอกาสได้ทำโครงการนี้ ซึ่งอยากให้

เยาวชนทุกคนเข้าใจว่าทุกคนก็เป็นเจ้าของประเทศ และจะต้องได้รับความเป็นธรรม พร้อมกันนี้ ทุกคนก็จะต้องรักษาประเทศให้อยู่กับเราไปจนกว่าจะตายจากไป ซึ่งได้ย้ำว่า จะต้อง
สอนเรื่องความเป็นไทยและความเป็นธรรมกับให้กับเยาวชน ให้เรียนรู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร และความไม่จริงเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ พล.อ.เปรม ได้กล่าวว่า โครงการนี้จะสามารถช่วยทำให้เกิดความสงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้
---------------
"พล.อ.เปรม" ให้กำลังใจนายกฯ ดูแลประเทศให้สงบสุข พร้อมคำแนะนำส่วนตัว ขณะเป็นห่วง เหตุเผา ร.ร.ใต้

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ให้สัมภาษณ์ถึงการให้กำลังใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า ขอให้ช่วย

กันดูแลชาติบ้านเมืองให้มีความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งไม่มีอะไรเป็นพิเศษที่จะแนะนำ เพราะที่ผ่านมาเวลาที่ได้พบกับนายกรัฐมนตรีก็ได้ให้คำแนะนำไปมากแล้ว แต่สื่อมวลชนไม่ทราบกัน

ทั้งนี้ พล.อ.เปรม ยังกล่าวถึงปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะเหตุการณ์เผาโรงเรียนนั้น มีความเป็นห่วงทุกคนที่อยู่ในพื้นที่
-----------------

///////////
วิจารณ์ คสช.

"วุฒิสาร" ชี้รัฐบาลไม่มีความชัดเจนในเรื่องการกระจายอำนาจ หากวิจารณ์นโยบายต้องดูที่การจัดสรรงบประมาณ

รศ.วุฒิสาร ตันไชย สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวในงานเสวนา "จับตานโยบายสังคมของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์" ในหัวข้อ จับตานโยบายการปกครองท้องถิ่น ว่า หากวิพากษ์วิจารณ์

นโยบายรัฐบาล ต้องดูที่การจัดสรรงบประมาณ และการแก้กฎหมาย นอกจากนี้มองว่ารัฐบาลไม่มีความชัดเจนในเรื่องการกระจายอำนาจ และที่มีประกาศ คสช. เรื่องการให้สรรหาสภาท้องถิ่นแทน

การเลือกตั้ง เป็นการขัดต่อการกระจายและคิดว่ารัฐบาลคงชะลอไว้จนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญ ส่วนเรื่องการเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น สปช. จะนำไปถกเถียงในสภาปฏิรูปอีกครั้ง ส่วนกรณีการ

กำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษ แม่สอด สมุย แหลมฉบัง ได้มีการร่างกฎหมายไว้แล้ว และหากมีการหยิบมาสานต่อถือเป็นความก้าวหน้าก็ถือเป็นการกระจายอำนาจเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม อยากเสนอแนวทางให้ สปช. ต้องทำงานโดยกลับไปคิด 3 เรื่อง คือ ออกแบบเชิงอำนาจ โครงสร้างสถาบัน และรัฐธรรมนูญชั่วคราว ต้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออก

กฎหมายและวางรากฐานให้ประเทศไทยว่าจะเดินหน้าอย่างไร โดยเฉพาะวางรากฐานเรื่องการศึกษาและการวางโครงสร้างพื้นฐาน โดยห้ามไม่ให้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ในเชิงหลักการ
---------
"วุฒิสาร" มองประชานิยมเรื่องปกติ แต่ต้องคำนึงเป็นประโยชน์หรือไม่ และต้องไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น 

รศ.วุฒิสาร ตันไชย สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวในงานเสวนา "จับตานโยบายสังคมของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์" ในหัวข้อ จับตานโยบายการปกครองท้องถิ่น ถึงกรณีนโยบายประชานิยม

โดยมองว่ารัฐบาลพยายามกำจัดขอบเขตของประชานิยม ซึ่งตนเองคิดว่าประชานิยมเป็นนโยบายปกติ เพียงแต่ต้องคำนึงว่าทำแล้วเป็นประโยชน์หรือไม่ รวมถึงต้องแยกนโยบายกับการคอร์รัปชั่นว่า

ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน

ดังนั้น ในทางการเมืองจึงไม่จำเป็นต้องสร้างกลไกในการควบคุม เพราะประชาชนถือเป็นกลไกหลัก และพรรคการเมืองย่อมมีเสรีภาพในการเสนอทางเลือกให้ประชาชน ส่วนเรื่องธรรมาภิบาลเป็น

เรื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้มงวด และทำงานอย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกัน ต้องจับตาเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคิดว่าการจัดเก็บภาษีต้องจัดเก็บภาษีทางตรงมากกว่าภาษีทางอ้อม