PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

4 เรื่องฉาวโลกไม่ลืม สะเทือนวงการสีกากี

4 เรื่องฉาวโลกไม่ลืม สะเทือนวงการสีกากี
คฤหาสน์ซ่อนขุมทรัพย์ของนายตำรวจใหญ่
พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. ช่วยราชการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) พร้อมตำรวจอีก 6 นาย และพลเรือนอีก 3 คน รวมทั้งหมด 10 คน ถูกตั้งข้อหาหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 รับสินบน และอีกหลายข้อหาหนัก นับเป็นอีกครั้งที่ทำให้วงการตำรวจถูกสังคมจับตามอง พ.ต.อ.อัครวุฒิ์ หลิมรัตน์ อดีต ผกก.ป. หนึ่งในผู้ต้องหาที่โดนจับกุมในครั้งนี้ ได้ตัดสินใจกระโดดตึกฆ่าตัวตาย ทราบในภายหลังว่าก่อนเข้าให้ข้อมูล นั้น พ.ต.อ.อัครวุฒิ์ เครียดมากและมีพยานยืนยันว่า พยายามฆ่าตัวตายถึง 3 ครั้ง มีการเขียนจดหมายลาตายไว้ด้วย
เรื่องนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบง่ายๆ เพราะล่าสุดหลังจากมีการนำกำลังเข้าตรวจค้นบ้านพักของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ขุมทรัพย์นับพันล้าน ซุกธนบัตรดอลลาร์ไว้เป็นฟ่อน ทองคำแท่ง-รูปพรรณ กับวัตถุโบราณจำนวนมาก แม้กระทั่งนายดาบคนขับรถก็ยังมีสมบัติในครอบครองอย่างต่ำคนละ 50 ล้าน เจ้าตัวสารภาพว่าร่วมรับส่วยน้ำมันเถื่อนภาคใต้เดือนละ 15 ล้านยังคงต้องติดตามกันต่อไปว่าคดีนี้จะไปจบลงที่ไหน
ป๋าลอ พัวพันเพชรซาอุฯ อุ้มฆ่า 2 แม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์
(อดีต) พล.ต.ท. ชลอ เกิดเทศ หรือ “ป๋าลอ” กับคดีอุ้มฆ่า 2 แม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์ เมื่อ20 ปีก่อน หลังจากได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าชุดเฉพาะกิจตามหาเพชรราชวงศ์ไฟซาลแห่งซาอุดิอาระเบีย หรือที่เรียกกันว่า “เพชรซาอุ” จากคดีดังกล่าวจึงได้มีประกาศถอดยศ และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมด เมื่อวันที่ 5 พ.ย. พ.ศ. 2553 ถึงแม้ว่าศาลอุทธรณ์และศาลฏีกาจะตัดสินลงโทษประหารชีวิต แต่ในปี 2553 พล.ต.ท.ชะลอ เกิดเทศได้รับพระราชทานอภัยโทษ เหลือจำคุกตลอดชีวิต แต่เนื่องจากเป็นนักโทษชรา อายุเกิน 70 ปีที่รับโทษมาแล้ว 2 ใน 3 และเป็นนักโทษที่มีความประพฤติดี สามารถพักการลงโทษได้ตามเงื่อนไข ปัจจุบันออกจากเรือนจำบางขวางเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องไปรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่คุมประพฤติทุกเดือนจนกว่าจะครบตามเงื่อนไข
เรื่องราวข้างต้นของ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ยังถูกยกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาในชั้นเรียนกฎหมายทุกระดับในประเทศไทย ว่าด้วยเรื่องผู้รักษากฎหมายที่ทำผิดกฎหมายเสียเอง
นายตำรวจนักอุ้มฆ่า
(อดีต) พ.ต.ท.พันศักดิ์ มงคลศิลป์ หากพูดถึงชลอ เกิดเทศแล้วก็คงจะไม่พูดถึงคนนี้ไม่ได้ เพราะมีฐานะเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีเดียวกันโดยก่อนหน้าที่จะถูกจับกุมในคดีอุ้มฆ่าสองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์ พ.ต.ท. พันธ์ศักดิ์ ก็มีชื่อเข้าไปพัวพันกับอุ้มฆ่าอื่นๆ อีก 4 คดี ได้แก่ คดีอุ้มฆ่า ส.ท.สมเกียรติ น้อยเล็ก มือปืนชื่อดังของภาคตะวันออก คดีอุ้มฆ่ากำนันประเชิญ บุญปราโมทย์ คดีอุ้มฆ่า นางตรีนุช บุญทวี ภรรยาของ ส.จ.ปราจีนบุรี ที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของแฟนสาว พ.ต.ท.พันศักดิ์นั่นเอง และยังตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีอุ้มฆ่าหัวหน้าแขวงการทางพิเศษ จ.ปราจีนบุรี ที่มาติดพันแฟนสาวของ พ.ต.ท.พันศักดิ์ด้วย
สำหรับคดีฆาตกรรมสองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์ พ.ต.ท.พันธ์ศักดิ์ให้การเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี ศาลจึงลดหย่อนให้เหลือโทษจำคุกเพียง 40 ปี และได้รับการลดหย่อนโทษเรื่อยมา จนกระทั่งพ้นโทษออกมาเมื่อปี 2555 และประกอบอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างแต่หลังจากพ้นคุกออกมาได้เพียงปีเดียว อดีต พ.ต.ท. พันศักดิ์ ก็ถูกจับกุมอีกครั้ง จากการเข้าไปมีส่วนพัวพันกับคดีอุ้มฆ่าเผา นายชัยชนะ หมายงาน หรือ “เสี่ยอ้วน โรงเกลือ” ดูเหมือนว่าอดีตนายตำรวจผู้นี้จะถนัดงานอุ้มฆ่ามากกว่างานรับเหมาก่อสร้าง
แก๊งจ่าเรียกค่าไถ่ หัวใจอำมหิต
ส.ต.อ.สุริยา ชะระจำนงค์ หรือ “จ่าโดม” ร่วมกับพวกจับเหยื่อ 5 รายไปเรียกค่าไถ่แล้วลงมือฆ่าเหยื่อจนตาย 2 ราย ย้อนกลับไปในวันที่ 8 ส.ค. 2551 นายสมชาย แซ่เหลียง ขับรถกระบะพาลูกสาวและหลานๆ ไปส่งที่โรงเรียน จ่าโดมและพวกได้ขับรถปาดหน้าและใช้อาวุธปืนจี้บังคับจับตัวไปเรียกค่าไถ่จากญาติๆ เป็นเงิน 3,000,000 บาท แต่เนื่องจากตกลงกันไม่ได้ จึงใช้เชือกรัดคอฆ่านายสมชาย ทิ้งศพไว้ในพงหญ้า และต่อมาได้ลงมือฆ่า ด.ญ.เอ (นามสมมติ) วัย 14 ปี อย่างโหดเหี้ยม แล้วใช้รถยนต์เหยียบร่าง แล้วขับหนีไป ตำรวจที่ลงพื้นที่ได้รับแจ้งจากชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงว่ามีเด็กมาขอความช่วยเหลือ คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับผู้ตาย จึงรีบไปตรวจสอบ แล้วความโหดร้ายทั้งหมดก็ถูกเปิดเผยขึ้นนับจากนี้
ด.ญ.บี (นามสมมติ) อายุ 15 ปี ที่ยังอยู่ในอาการช็อกและเสียขวัญอย่างเห็นได้ชัด เล่าคร่าวๆ ว่า ด.ญ.เอ ที่รถทับตายนั้น เป็นน้องสาว ก่อนหน้านี้ถูกจับตัวไปเรียกค่าไถ่ และคนร้ายได้ฆ่าน้องตายไปต่อหน้าต่อตา ตนเองแกล้งตายจึงรอดมาได้ ด.ญ.บี จำหน้าผู้ก่อเหตุได้อย่างแม่นยำ เพราะ 1 ในนั้น คือ ส.ต.อ.สุริยา ชะระจำนงค์ หรือ “จ่าโดม” ตำรวจสังกัดโรงพักพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา คนในครอบครัวเหยื่อยืนยันว่ามีความสนิทสนมคุ้นเคยกันดี โดยเด็กๆ จะเรียกจ่าโดมว่า “ลุงโดม” หรือ “พ่อโดม” ด้วยซ้ำ
ตำรวจใช้เวลาเพียงข้ามวันก็สามารถตะครุบตัวจ่ามือฆ่าเอาไว้ได้ เจ้าตัวให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา พร้อมกับบอกว่าที่ทำไปเพราะต้องการหาเงินใช้ เมื่อแม่เด็กทำท่าจะไม่ให้เงิน และแจ้งตำรวจเลยต้องฆ่าตัวประกันให้ตาย ส่วนคนร้ายรายอื่นๆ ก็ค่อยๆ ถูกจับกุมทีละคนจนครบ คนสุดท้ายถูกจับได้เมื่อปี 2553 หรือ 2 ปี นับจากเกิดเหตุ
สำหรับความคืบหน้าของคดีนี้ ศาลชั้นต้นตัดสินให้ ส.ต.อ.สุริยา ได้รับโทษประหารชีวิต ในขณะที่คนอื่นๆ อยู่ในระหว่างต่อสู้คดี

กปปส.ชง กมธ.ยกร่างฯ เลิก ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ส.ว.มาจากสรรหา ลดอำนาจ กกต.

กปปส.ชง กมธ.ยกร่างฯ เลิก ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ส.ว.มาจากสรรหา ลดอำนาจ กกต.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
25 พฤศจิกายน 2557 14:05 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
กปปส.ชง กมธ.ยกร่างฯ เลิก ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ส.ว.มาจากสรรหา ลดอำนาจ กกต.

กปปส.ชงข้อเสนอการปฏิรูป ชูยกเลิก ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ส.ว.มาจากการสรรหา ประชาชนมีส่วนร่วมสร้างพรรคการเมือง บริจาคเงินให้พรรคได้ 5% ของรายได้ต่อปี ลดอำนาจ กกต.แจกเหลือง-แดง สกัดอัยการนั่งบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ตั้งฉายา “รธน.ฉบับปฏิรูป” เผย “อภิสิทธิ์" นัดให้ความเห็น 27 ก.พ. ส่วน พท.อาจมาเดือนหน้า ขณะที่ นปช.ขอสละสิทธิ์ ระบุหลังได้กรอบยกร่าง รธน.แล้ว ต้น ก.พ.เชิญทุกพรรคหารืออีกรอบ ยันกฎอัยการศึก ไม่เป็นอุปสรรค เดินหน้าจัดสานเสวนา 10 เวที 
      
       พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังรับฟังความเห็นจากตัวแทน กปปส.ว่า ข้อเสนอของ กปปส. คือ 1. ให้ยึดถือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย 2. มีการแบ่งแยกอำนาจชัดเจน ประชาชนมีส่วนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ 3. มีระบบป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน มีกระบวนการสรรหาคนดีเข้าสู่ระบบการเมือง ไม่ให้มีนายทุนพรรคการเมือง 4. สนับสนุนกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ลดอำนาจส่วนกลางและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนดูแลกันเองได้ 5. ให้มีบทบัญญัติสร้างความเท่าเทียมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรรัฐทั้งเรื่องที่ดินและแหล่งทุนได้ 6. ข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญต้องมีกรอบเวลาและการปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้อย่างแท้จริง
      
       นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอครอบคลุมเรื่องการปฏิรูปการเมือง ที่เห็นว่าต้องเน้นการขจัดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง การทุจริตเลือกตั้ง ส่วนของพรรคการเมืองควรมีขนาดใหญ่พอสมควรมีสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของผู้มีสิทธิลงคะแนน กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคเพื่อให้พรรคการเมืองมีความมั่นคง และเพื่อเป็นการส่งเสริมพรรคการเมืองควรกำหนดให้ประชาชนสามารถบริจาคผ่านการเสียภาษีได้มากกว่าจำนวน 100 บาท โดยอาจเพิ่มตามสัดส่วนรายได้ของผู้บริจาค เช่นอาจเป็นร้อยละ 5 ของรายได้ในแต่ละปี สำหรับการเลือกตั้งมีการเสนอให้ภาคประชาชนมีส่วนในการตรวจสอบการจัดการเลือกตั้ง และให้กรรมการเลือกตั้งมาจากกระบวนการสรรหาที่กว้างขวางเป็นธรรม มีอำนาจในการจัดการเลือกตั้งแต่ไม่มีอำนาจในการตัดสิทธิผู้สมัครหรือการออกใบเหลือง-แดง โดยให้ กกต.เป็นแค่ผู้รวบรวมและฟ้องคดีต่อศาลเท่านั้น รวมถึงให้ผู้เสียหายในการเลือกตั้งมีสิทธิฟ้องตรงต่อศาลได้ด้วย
      
       สำหรับที่มาของ ส.ส.นั้น กปปส.ขอให้ตัด ส.ส.บัญชีรายชื่อออกเหลือแต่ ส.ส.ที่มาจากการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส่วนจำนวนของ ส.ส.แบ่งเขตเลือกตั้งควรลดจำนวนลงโดยเพิ่มสัดส่วนประชากรต่อ ส.ส.1 คน และให้วุฒิสภามาจากการสรรหาเพียงอย่างเดียวแต่ต้องมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ และกระบวนการสรรหาต้องเป็นธรรม กว้างขวางกว่าที่กำหนดในรัฐธรรมนูญปี 2550 พร้อมกับลดอำนาจ ส.ว.ลงเหลือแค่หน้าที่นิติบัญญัติ การแต่งตั้ง ไม่มีอำนาจถอดถอนเพราะมาจากการสรรหา
      
       ส่วนข้อเสนอ กปปส.เกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น เห็นว่าต้องไม่จำกัดอายุความของคุดีทุจริต และให้ ป.ป.ช.ฟ้องตรงต่อศาลได้ ถ้าคดีถึงที่สุดแล้วก็ให้ยึดทรัพย์ที่ต้องสงสัยได้ รวมถึงการเพิ่มโทษผู้กระทำการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น เพิกถอนสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต ส่วนเรื่องการกระจายอำนาจทาง กปปส.เสนอให้ยกเลิกการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงแต่ไม่ได้กำหนว่าจะให้ทำเริ่มเป็นบางพื้นที่ หรือพร้อมกันทุกพื้นที่ และยัง เน้นการปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีการกระจายอำนาจโดยรัฐต้องส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งปกครองตนเองได้ และให้กำนันผู้ใหญ่บ้านมาจากการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งได้สองวาระ ไม่ใช่เป็นได้ตลอดชีวิต
      
       ขณะเดียวกัน เห็นควรมีการปฏิรูปโครสร้างตำรวจโดยกระจายไปสู่ภูมิภาคแก้ปัญหาการใช้อิทธิพลภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ประชาชนตรวจสอบการปฏิบัติงานของตำรวจในพื้นที่ได้ ส่วนอัยการสูงสุด เห็นว่าไม่ควรเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญและควรจำกัดไม่ให้อัยการไปดำรงตำแหน่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจ อีกทั้งเพื่อให้การดำเนินงานของอัยการเป็นไปด้วยความโปร่งใส การสั่งคดีต้องเปิดโอกาสให้สาธารณชนรับทราบถึงเหตุผลทุกคดี
      
       ส่วนการปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำนั้น เสนอให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน ที่ดินได้ มีกฎหมายให้ประชาชนมีโอกาสมีที่ดินทำกิน โดยเฉพาะต้องปฏิรูปการศึกษาให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังเสนอเรื่องการปฏิรูปพลังงานจะต้องมีข้อกำหนดไม่ให้ธุรกิจพลังงานถูกผูกขาดโดยบริษัทใหญ่จนมุ่งแต่แสวงหากำไร แต่ต้องเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนดำเนินโครงการพลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานชุมชนเพิ่มมากขึ้น แทนที่จะส่งเสริมให้พลังงานหมุนเวียนเป็นธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น
      
       พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวด้วยว่า ในการประชุม กรรมาธิการ ได้ตอบคำถามของตัวแทน กปปส.เกี่ยวกับกฎหมายลูกที่มีปัญหาว่าไม่มีการออกกฎหมายตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติว่า กรรมาธิการฯตระหนักถึงปัญหานี้จึงตั้งอนุกรรมาธิการฯพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อให้มีความพร้อมในการเสนอกฎหมายเข้าสู่สภาได้รวดเร็วกว่าในอดีต และอาจมีบทบัญญัติบังคับว่าหน่วยงานใดที่ไม่เสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญกำหนดต้องมีบทลงโทษซึ่งจะมีการพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
      
       ทั้งนี้ กปปส.มีความประสงค์ที่จะติดตามการร่างรัฐธรรมนูญอย่างใกล้ชิดโดยมีการตั้งคณะทำงานติดตามจึงมีการสอบถามว่ากรรมาธิการฯจะอำนวยความสะดวกได้มากน้อยเพียงใด จึงมีแนวทางว่ากรรมาธิการฯยินดีให้สอบถามความคืบหน้าจากประธานอนุกรรมาธิการฯทั้ง 11 คณะได้โดยตรง และตนพร้อมรับข้อเสนอจาก กปปส.ประสานไปยังประธานอนุกรรมาธิการฯ
      
       “กปปส.บอกว่า ตอนรัฐธรรมนูญ 40 เราเรียกกันว่ารัฐธรมนูญฉบับประชาชน ฉบับปี 50 ก็เรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชามติ ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉับบใหม่นี้เขาเรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป”
      
       ผู้สื่อข่าวถามว่า กรรมาธิการฯ มีการหารือหรือไม่ว่ากฎอัยการศึกเป็นอุปสรรคต่อการรับฟังความคิดเห็น โฆษกกรรมาธิการฯ กล่าวว่า ก็มีการพูดกันแต่กรรมาธิการยกร่างฯเห็นว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะในการลงพื้นที่เพื่อรับฟังความเห็นประชาชนก็ดำเนินการได้ จึงไม่คิดว่าเป็นอุปสรรค ขณะนี้เตรียมไว้ 10 เวทีมีผู้เข้าร่วมให้ความเห็นเวทีละ 100 คน สุ่มตัวอย่างด้วยระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งก็จะได้ข้อมูลในเชิงสถิติว่ากลุ่มตัวอย่างเหล่านั้นมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร การดำเนินการในลักษณะสานเสวนาดังกล่าวเหมือนการทำประชาพิจารณ์ที่เป็นข้อมูลทางวิชาการที่สามารถใช้ประโยชน์ได้
      
       อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้กรรมาธิการยกร่างฯ จะมีการรับฟังความคิดเห็นจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ประสานงานว่าจะมาชี้แจงในนามส่วนตัวในวันที่ 27 พ.ย. ส่วนพรรคเพื่อไทยอยู่ในระหว่างการประสานงานโดยคาดว่าอาจมาให้ความเห็นได้ในช่วงเดือนธันวาคม แต่กลุ่ม นปช.สละสิทธิ์ที่จะมาให้ความเห็นกับกรรมาธิการแล้ว และขณะนี้จากกรรมาธิการได้ทยอยส่งหนังสือไปขอรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมืองที่ไม่มี ส.ส.อีก 20 พรรคการเมือง ก็ได้รับหนังสือตอบกลับมาแล้ว ซึ่งก็จะได้มีการรวบรวมความคิดเห็นและจัดทำเป็นกรอบการยกร่างที่ก็จะมีการรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมืองในช่วงต้นเดือน ก.พ.อีกครั้งหนึ่ง

หิ้วน้องเขย-น้องสาว 'พงศ์พัฒน์' ฝากขัง-ค้านประกันตัว

หิ้วน้องเขย-น้องสาว 'พงศ์พัฒน์' ฝากขัง-ค้านประกันตัว
พนักงานสอบสวน คุมตัว 2 สามีภรรยา น้องเขยและน้องสาว "พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์" เอี่ยวทุจริต ฝากขังแล้ว พร้อมคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูง...
ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 25 พ.ย.57 พ.ต.อ.สุวัฒน์ แสงนุ่ม พนักงานสอบสวน ตามคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 631/2557 ได้มายื่นคำร้องขอฝากขังครั้งแรก นายชอบ ชินนะประภา อายุ 60 ปี และนางปิยพรรณ ชินนะประภา อายุ 56 ปี สามีภรรยา ผู้ต้องหากระทำความผิดฐานฟอกเงิน โดยในคำร้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อระหว่างเดือน ต.ค.2553- 1 พ.ย.2557 ขณะที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) ได้ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เรียกร้องเงินหรือผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประสงค์จะไปรับตำแหน่งสูงขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนกับความมั่นคงในการทำงาน
ทั้งนี้ หลังจากที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ได้รับเงินหรือผลประโยชน์ต่างๆ แล้ว ได้ส่งให้ผู้ต้องหาทั้งสอง ซึ่งเป็นน้องเขยและน้องสาว นำเงินไปซื้อทรัพย์สินต่างๆ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด อันเป็นการฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (5), (9) และมาตรา 5 (1), (2) และมาตรา 60 ประกอบมาตรา 83 ตามประมวลกฎหมายอาญา
ต่อมา พนักงานสอบสวนได้อนุมัติหมายจับผู้ต้องหาจากศาลอาญา จับกุมตัวดำเนินคดี ในชั้นสอบสวนผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ บัดนี้ได้ควบคุมและสอบสวนตัวผู้ต้องหามาโดยตลอด แต่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบปากคำอีก 50 ปาก ต้องสืบสวนสอบสวนติดตามทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด, รอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาทั้งสองและอื่นๆ ด้วยความจำเป็นดังกล่าว จึงขอฝากขังผู้ต้องหาไว้เป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย.- 6 ธ.ค.นี้
ท้ายคำร้องพนักงานสอบสวนขอคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูง เกรงจะหลบหนีและยุ่งเหยิงพยานหลักฐานอันเป็นอุปสรรคในการสืบสวนสอบสวน ศาลพิจารณาคำร้องและสอบถามผู้ต้องหาแล้วไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้ฝากขังได้ โดยยังไม่มีการยื่นประกันตัว

สถานการณ์ข่าว25พ.ย.57

กมธ.ยกร่าง

เลขาฯ กรรมาธิการวิสามัญ สปช. รวม 22 คณะ หารือกำหนดแนวทางทำงาน ขณะ กปปส. เตรียมพบ กมธ.ยกร่าง รธน. เช้านี้

บรรยากาศที่รัฐสภา วันนี้ งดการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่การรักษาความปลอดภัยทั้งในและนอกอาคารรัฐสภา ยังเป็นไปอย่างเข้มงวดรัดกุม ซึ่งสัปดาห์นี้ สมาชิก สปช. ในฐานะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ ได้เดินหน้าทำงานอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในเวลา 14.00 น. จะประชุมร่วมกันครั้งแรกของเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา 18 คณะ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ 4 คณะ รวมเป็น 22 คณะ เพื่อชี้แจงจัดทำข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดย นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตาม และให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงการพิจารณาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมาธิการวิสามัญทุกคณะ

ขณะเดียวกัน ช่วงเช้าเวลา 10.00 น. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นัดประชุม โดยเชิญกลุ่ม กปปส. เข้าให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อการจัดทำร่างรัฐ
ธรรมนูญ
--------------
"พลเดช" เผย คืบงาน กมธ.การมีส่วนร่วมฯ ตั้ง 3 อนุฯ ลงพื้นที่ดำเนินงาน รับฟังเสียง ปชช. ขณะพรุ่งนี้ ประชุมครั้งที่ 2

น.พ.พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะรองประธานกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความเห็นของประชาชน เปิดเผย สำนักข่าว INN โดยกล่าวถึงความคืบ

หน้าในการดำเนินงานว่า กรรมาธิการชุดดังกล่าว มีการดำเนินงานอย่างรวดเร็ว และมีการวางระบบ แผน รวมถึงทรัพยากรในการขับเคลื่อนแล้ว ซึ่งกลไกในการทำงานคือ อนุกรรมาธิการระดับพื้นที่

77 จังหวัด 77 คณะ ทั้งนี้ จะมีการเปิดเวทีให้ความคิดเห็นทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูป 18 ประเด็น และดำเนินการจนถึงปี 2558 ส่วนที่ 2 คือ อนุกรรมาธิการเชิงประเด็น ดูแลนักศึกษา หรือ

เครือข่ายต่าง ๆ ที่อยากจะมีเวทีให้การแสดงออกทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ ขณะส่วนที่ 3 เป็นอนุกรรมาธิการสื่อสาร รณรงค์ ผ่านโทรทัศน์ วิทยุ โซเชียลมีเดีย และเปิดโอกาสนัก

เรียนทั่วประเทศ ส่งเรียงความประกวด เพื่อให้มีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในสัปดาห์หน้า

อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวครั้งที่ 2 เพื่อกำหนดบุคคลรับผิดชอบในเวทีของนักศึกษามหาวิทยาลัย หรือหากต้องการเปิดเวทีในสัปดาห์นี้ ก็สามารถติดต่อ

โดยตรงถึง น.พ.พลเดช ได้ทันที
-----------------
ถาวร" นำ 4 แกนนำ กปปส. เข้าให้ข้อเสนอแนะ กมธ.ยกร่าง รธน. ไม่ขัดข้องทำประชามติ ปัดตอบเคลื่อนไหวหากมีนิรโทษกรรม

นายถาวร เสนเนียม พร้อมด้วยแกนนำ กปปส. อาทิ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ นายสุริยะใส กตะศิลา นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ เป็นตัวแทนจากภาคประชาชนที่ต่อสู้เพื่อให้เกิด

การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง เข้าให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว

โดย นายเอกนัฏ เปิดเผยว่า การเชิญมาให้คำแนะนำวันนี้ไม่ใช่เพียงพิธีกรรม แต่หวังว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะสามารถปฏิบัติได้จริงและเป็นรัฐธรรมนูญแห่งการปฏิรูปประเทศ ซึ่งหลักสำคัญต้อง

ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การถ่วงดุล 3 อำนาจหลัก รวมถึงการลดผูกขาดรวมศูนย์อำนาจเป็นการกระจายอำนาจ

ทั้งนี้ ไม่ขัดข้องเรื่องการทำประชามติ แต่ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นมากที่สุด เพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับ และหากมีประเด็นเรื่องการนิรโทษกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ขอ

ตอบว่าจะออกมาเคลื่อนไหวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประชาชน

อย่างไรก็ตาม จะตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 คณะ เพื่อติดตามงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
---------
กปปส. เสนอ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ยกเลิก ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ เพิ่มโทษทุจริตเลือกตั้ง

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ 1 ใน 5 แกนนำ กปปส. กล่าวว่า รายละเอียดที่จะเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นการรวมความเห็นจากภาคประชาชนที่นำมาสรุปในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ

การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ อาทิ การขจัดทุจริตคอร์รัปชัน และการซื้อสิทธิ์ขายเสียงทุกระดับ เพิ่มโทษผู้ทุจริตเลือกตั้ง ตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต การโอนอำนาจให้ใบเหลือง ใบแดง ของคณะ

กรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. กลับไปไว้ที่องค์กรศาล พร้อมยกเลิกระบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพื่อป้องกันนายทุนเข้ามาครอบงำกิจการของพรรค ส่วนสมาชิกวุฒิสภา ควรมาจากการสรรทุกสาขา

อาชีพ เพื่อความหลากหลายในการกลั่นกรองกฎหมายต่าง ๆ และการเสนอให้ปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ ไม่ให้มีศูนย์รวมอยู่ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ขณะเดียวกัน ไม่ขอแสดงความเห็นว่า รัฐบาลควรยกเลิกกฎอัยการหรือไม่ โดยถือเป็นอำนาจของรัฐบาลในการตัดสินใจ
-------------------
"เลิศรัตน์" ย้ำกฎอัยการศึกไร้อุปสรรคทำงาน หลังได้กรอบยกร่าง รธน. จ่อเชิญนักการเมืองร่วมอีกครั้ง ม.ค. นี้

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ย้ำว่า การประกาศใช้กฎอัยการศึก ไม่มีปัญหาการทำงานกับคณะอนุกรรมาธิการและส่วนข้าราชการในพื้นที่ ซึ่งการจัดตั้งเวที

รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนนั้น จะมีทั้งหมด 10 เวทีทั่วประเทศ แต่ละเวทีใช้วิธีการสุ่มเลือกรายชื่อเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น เวทีละ 100 คน โดยแบ่งสัดส่วนสุ่มจากประชาชน 80 คน และ

เชิญองค์กรภาคเอกชนและภาคประชาชน 20 คน เบื้องต้น จะดำเนินการเดือนธันวาคมนี้

นอกจากนี้ พล.อ.เลิศรัตน์ ระบุว่า หลังจากมีกรอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในช่วงต้นเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์แล้ว จะเชิญพรรคการเมืองมาให้ข้อคิดเห็นอีกครั้งหนึ่ง ส่วนความคืบหน้าในการเชิญ

พรรคเพื่อไทยยังอยู่ในการประสานงาน เบื้องต้นคาดว่า ช่วงต้นเดือนธันวาคม สำหรับพรรคการเมืองที่ส่งแบบสอบถาม มีบางส่วนส่งแบบสอบถามกลับมาบ้างแล้ว


///////////

สปช.

"จุมพล" เตรียมเปิดสัมมนา ปฏิรูปสื่อใน รธน.ฉบับใหม่ พร้อมเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าแสดงความเห็น 

ที่งานสัมมนา “ประเด็นปฏิรูปสื่อในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” จัดโดย คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ทั้งนี้ นายจุมพล รอดคำดี ประธานคณะ

กรรมาธิการฯ ทำหน้าที่เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งในการจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันแสดงความคิดและข้อเสนอแนะต่อการปฏิรูปการสื่อมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้เชิญ

หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาแสดงความคิดเห็น และแบ่งเป็น 2 กลุ่ม อาทิ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายกสมาคมโฆณาแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากชมรมผู้ประกอบการ

โทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน ผู้แทนจากสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากผู้ให้บริการสำรวจความนิยม ผู้แทนจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ผู้แทนจาก กสทช.

และผู้แทนจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ตาม งานเริ่มจะตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.30 น. ที่ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข 215-216
--------------
"จุมพล" ระบุ ต้องเปิดเวทีรับฟังความเห็นปฏิรูปสื่อที่เป็นประโยชน์ต่อ รธน. เพื่อใช้ในระยะยาวต่อไป

บรรยากาศที่งานสัมมนา “ประเด็นปฏิรูปสื่อในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ที่จัดโดย คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ โดย นายจุมพล รอดคำดี

ในฐานะประธานกรรมาธิการฯ กล่าวว่า ในขณะนี้ สังคมมีการตั้งถามถึงสิทธิเสรีภาพของสื่ออย่างแท้จริง จึงต้องการให้ทุกมาช่วยกันหาทางออกร่วมกัน เพื่อนำบรรจุเข้าในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่ง

ต้องเริ่มจากการปฏิรูปสื่อเพื่อให้ครอบคลุมทุกระดับ ทั้งนี้ ในการเปิดรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะต้องคำนึงถึงประเด็นสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน

และนำมาวิเคราะห์เพื่อให้สามารถใช้ได้ในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม ต้องการให้ทุกคนช่วยกันแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต
------------------
นายก ส.นักข่าวฯ มอง สื่อควรมีองค์กรเดียวเพื่อควบคุม ขณะ "จำนรรค์" อยากให้ควบคุมลงโทษกันเอง โดยใช้ กม. เข้าช่วย

บรรยากาศที่งานสัมมนา “ประเด็นปฏิรูปสื่อในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ซึ่งเป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็น กลุ่มที่ 1 โดยการ Focus group ในการแสดงความคิดเห็นขององค์กรต่าง ๆ ซึ่ง นายเทพชัย

หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า สื่อควรมีองค์กรเพื่อควบคุมสื่อทุกประเภทเพียง 1 องค์กร ไม่ต้องมีการแบ่งแยกประเภทสื่อ รวมถึงต้องมีการจดทะเบียนสื่อมวลชน หรือ

ลายเส้น และสื่อต้องมีการกำกับดูแลกันเอง โดยมีกฎหมายที่ชัดเจน

ขณะที่ นางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กล่าวว่า ไม่ต้องการให้รัฐหรือองค์กรเข้ามาลงโทษสื่อ แต่ต้องการให้มีการควบคุมและลงโทษกันเอง

โดยมีการใช้กฎหมายเข้ามาช่วย

อย่างไรก็ตาม องค์กรส่วนใหญ่ต้องการให้มีการควบคุมกับกำกับดูแลกันเอง ซึ่งต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ และควรสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนพร้อมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูแล
---------------------
กมธ.ปฏิรูปสื่อฯ เร่งรับฟังความเห็น ต้น ธ.ค. ต้องได้กรอบทำงานชัด ก่อนเสนอ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ คนที่ 1 กล่าวว่า สำหรับการทำ Focus group นั้น ต้องการให้

ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นเพื่อที่จะนำเข้าไปเสนอในชั้นอนุกรรมาธิการภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นการสรุปกรอบแนวทางการทำงานเบื้องต้นในต้นเดือนธันวาคม

ทั้งนี้ จะนำเข้าที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในวันที่ 15 - 17 ธ.ค. เพื่อรายงานกรอบการทำของคณะกรรมาธิการทั้ง 18 คณะ และส่งกรอบแนวทางที่ชัดเจนให้คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ

ในวันที่ 19 ธ.ค.

นอกจากนี้ นายวสันต์ กล่าวว่า อยากให้มองอนาคตข้างหน้าและอะไรที่เป็นประเด็นสำคัญต่อการปฏิรูปสื่อสารมวลชน บนพื้นฐานความรับผิดชอบและสิทธิเสรีภาพ
----------------
"สมบัติ" ระบุ ต้องแก้เสถียรภาพการเมืองด่วนที่สุด ไม่กดดันกรอบเวลา ขณะเห็นด้วย ทำประชามติ รธน.

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านการเมือง เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า อนุกรรมาธิการ 4 คณะ ด้านการเมือง

ประกอบด้วย 1. โครงสร้างการเมือง องค์กรอิสระ 2. ปฏิรูประบบพรรคการเมือง 3. ปฏิรูปกลไกและระบบการเลือกตั้ง และ 4. ปฏิรูปกลไกการเรียนรู้ การปรองดอง และการมีส่วนร่วม
ของประชาชน โดยทั้งนี้ 4 คณะ จะต้องทำความเห็นเบื้องต้นเสร็จในวันที่ 28 พฤศจิกายน 57 ก่อนเสนอกรรมาธิการชุดใหญ่ต่อไป

ทั้งนี้ แนวทางที่ต้องปฏิรูปมากที่สุดในการด้านเมือง คือ ความไม่มีเสถียรภาพ และส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ระบบรัฐสภามีปัญหาหลายประการที่ต้องแก้ไข

อย่างไรก็ตาม ไม่กดดันต่อกรอบเวลาที่จำกัด เพราะวันนี้ถึงเวลาปฏิรูปแล้ว ทุกคนทุกฝ่ายต้องช่วยกันปฏิรูปเพื่อให้ก้าวเดินไปข้างหน้า โดยต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ และสามารถแก้

ปัญหาเดิมได้ ส่วนตัวเห็นด้วยกับการทำประชามติรัฐธรรมนูญ เพราะมาจากความเห็นชอบประชาชน
---------------
"เทียนฉาย" บอกไม่ห่วงคนต้าน ย้ำเวทีรับฟังความเห็นไม่ขัดกฎอัยการศึก คาดลุยงานก่อนกลางเดือนหน้าได้

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวถึงการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นนักศึกษาตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

หรือ คสช. ดำริให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและสถาบันพระปกเกล้าจัดเวทีขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมรูปแบบการทำงาน โดยมั่นใจว่า จะไม่ขัดต่อการประกาศใช้กฎอัยการศึก เพราะมีทั้งหน่วย

งานด้านความมั่นคง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ คาดว่า จะสามารถเปิดรับฟังความเห็นได้ก่อนกลางเดือนธันวาคมนี้ ส่วนกรณีที่ยังคงมีกลุ่มต่าง ๆ ออกมาเคลื่อนไหวแสดงเชิง

สัญลักษณ์ ไม่รู้สึกกังวล เพราะกลุ่มนักศึกษาเคลื่อนไหวมานานแล้ว จึงไม่กระทบกับบรรยากาศการปฏิรูป
---------
ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง ยื่นหนังสือถึง "เทียนฉาย" ขอผลักดันกฎหมายภาคประชาชน 4 ฉบับ 

นายไมตรี จงไกรจักร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปการสังคมและการเมือง หรือ คปสม. เข้ายื่นหนังสือ ต่อ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. เพื่อขอ

ผลักดันกฎหมายภาคประชาชน จำนวน 4 ฉบับ ประกอบไปด้วย ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า ร่างพระราชบัญญัติธนาคารที่ดิน ร่างพระราชบัญญัติสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและ

ทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบโฉนดชุมชน และร่างพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม

เนื่องจากที่ผ่านมาการกระจายถือครองที่ดินนั้น ยังไม่เข้าถึงบุคคลที่ยากไร้ ดังนั้น ทางเครือข่ายฯ จึงรวบรวมความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศเพื่อร่วมยกร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวขึ้นมาเสนอต่อ

สปช.ในครั้งนี้

ขณะเดียวกัน นายสุรพงษ์ พรมเท้า ในนามเครือข่ายสมัชชาสุขภาพเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ยังได้เสนอรายงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเสนอหลักการ ทิศทาง และแนวทางที่สำคัญต่อการ

ปฏิรูประบบสุขภาพ โดยต้องการให้ข้อเสนอดังกล่าวบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย

///////////
สนช.

วิป สนช. เริ่มประชุม พิจารณา ร่าง พ.ร.บ. เตรียมนำเข้าที่ประชุมใหญ่ ไร้วาระหารือปมถอดถอน 

การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิป สนช. ที่มี นายพรเพชร วิชิตชลชัย เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีวาระการประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ

ที่คณะรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เช่น ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน

และปราบปรามการทุจริต ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย รวมถึงจะมีการหารือมาตรการเร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล

ส่วนการพิจารณาสำนวนถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และ นายนิคม ไวรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. และการ

พิจารณาสำนวนถอนถอด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีทุจริตโครงการจำนำข้าวนั้น จะยังไม่มีการหารือ เนื่องจากต้องรอมติจากที่ประชุม สนช. ว่าจะเห็นชอบให้เปิดแถลงคดีเมื่อ

ใด โดยจะมีการประชุม สนช. ในวันพฤหัสบดีที่ 27 และวันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายนนี้ ในเวลา 10.00 น.

/////////
นายกฯ

นายกฯ เตรียมเป็น ปธ.ประชุม ครม. ก่อนนำถก BOI ช่วงบ่าย ขณะ ทูตกัมพูชา-ญี่ปุ่น จ่อเข้าพบ "พล.อ.ประวิตร" 

สำหรับวาระงานของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ในวันนี้ เวลาประมาณ 09.00 น. จะเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่

ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้น ในเวลา 14.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ตึกสันติไมตรี

ส่วนวาระงานอื่นที่น่าสนใจนั้น ในเวลาประมาณ 14.00 น. นางอีต โซเฟีย เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชา ประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

ห้องรับรอง ตึกนารีสโมสร หลังจากนั้น พล.อ.ประวิตร จะให้การต้อนรับ นายชิเกะคะสุ ซะโตะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ที่จะเข้าเยี่ยมคาราวะเช่นเดียวกัน
----------
นายกฯ เข้าทำเนียบแล้ว ก่อนนำประชุม ครม. ขณะ "หมอประพันธ์" นำดารา นักแสดง ติดเข็มโบว์แดง เนื่องในวันเอดส์โลก

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุดในช่วงนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เดินทางเข้ามาที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว เพื่อเตรียม

ป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ห้อง 501 ตึกบัญชาการ 1 โดยมีบรรดารองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทยอยเดินทางเข้ามาที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเข้า

ร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันนี้ อย่างพร้อมเพรียง ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดรอบพื้นที่

อย่างไรก็ตาม ก่อนการประชุม น.พ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย นำคณะศิลปิน ดารา นักแสดงเข้าพบ นายกรัฐมนตรี เพื่อติดเข็มโบว์แดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การ

รณรงค์ เนื่องในวันเอดส์โลก
------------
นายกฯ รู้แล้ว มธ. มีเสวนาปฏิรูป เตรียมจัดให้เปิดเวทีรับฟังความเห็น ขออย่าตำหนิ คสช. - รบ. ขู่นักการเมืองพูดทำแตกแยก มีขั้นตอนจัดการ คดีตำรวจรับส่วย เป็นตามกระบวนการ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวว่า กรณีที่มีการเสวนาเรื่องการปฏิรูปประเทศ ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวานนี้ ส่วนตัวได้

รับฟังและได้ให้ไปรับข้อเสนอมา

อย่างไรก็ตาม การจัดสัมมนาต่าง ๆ ต้องไม่เป็นการตำหนิ คสช. หรือ รัฐบาล พร้อมเปิดเผยว่าเตรียมที่จะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดของนักศึกษาและนักวิชาการด้วย ขณะเดียวกันยังระบุว่า คสช.

ได้ติดตามการแสดงความคิดเห็นของนักการเมือง ซึ่งหากออกมาแสดงความคิดเห็นให้เกิดความขัดแย้ง คสช. ก็มีมาตรการที่จะดำเนินการต่อไป เช่น ไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศ
หรือห้ามทำธุรกรรมทางการเงิน

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีที่การจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงในข้อหาเรียกรับสินบนนั้น เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมายและจะมีการขยายผลหาผู้เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งหากใคร

กระทำความผิดก็จะต้องถูกดำเนินคดี ทั้งนี้ คาดหวังว่าปัญหาการเรียกรับส่วยจะลดลง ส่วนเรื่องการปฏิรูปตำรวจนั้นมีอยู่ในขั้นตอนการปฏิรูปประเทศอยู่แล้ว

------------
รมว.ยธ. จ่อชงนายกฯ ทำ MOU อสส. มท. สตช. ลดเหลื่อมล้ำ เป็นของขวัญ ปชช. กำชับทุกหน่วยทำงานตรงไปตรงมา 

พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยสำนักข่าว INN ว่า การแสดงออกของคนเห็นต่าง ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดได้ตลอด

งทาง คสช. ก็ต้องมีการพูดคุยทำความเข้าใจ ทั้งนี้ ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ จะรายงานต่อตรงนายกรัฐมนตรี ว่า กระทรวงยุติธรรม จะมีการทำ MOU กับสำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงมหาดไทย และ

สตช. ให้บุคลากรงานยุติธรรมเข้าถึงหมู่บ้าน เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ และเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน

ขณะที่ กรณีการจับกุม พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง นั้น เป็นหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) อยู่แล้ว ทั้งนี้ มีการสั่งการทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง

ของกระทรวงยุติธรรม ติดตามการดำเนินงานอยู่ตลอด เพื่อเข้าช่วยเหลือสนับสนุนหากมีการร้องขอ และมอบหมายให้ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ติดตามเส้นทาง

การเงิน นอกจากนี้ ขอให้ระมัดระวังการแทรกแซง หรือก้าวก่ายการทำงานด้วย

อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้หน่วยงานปฏิบัติงานอย่างตรงไปตรงมา และต้องสามารถตอบคำถามที่สังคมตั้งขึ้นได้ ว่าในคดีเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นประชาชน หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ การดำเนินการ

ต้องเหมือนกัน
----------
ชาวสวนยาง ร้องนายกฯ ถอน พ.ร.บ.การยางฯ ออกจาก สนช. ขณะ "อำนวย" ยัน มี 16 มาตรการช่วยเหลือ

แนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง นำโดย นายสุนทร รักษ์รงค์ ผู้ประสานงาน เดินทางมาที่ประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ถอนร่างพระราช

บัญญัติการยางแห่งประเทศไทย ออกจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจาก พ.ร.บ.นี้ ร่างโดยนักวิชาการ ข้าราชการ และนักการเมือง โดยเกษตรกรชาวสวนยางไม่มีส่วน

ร่วมในการยกร่าง ซึ่งหากกฎหมายฉบับนี้ผ่าน สนช.และประกาศบังคับใช้ จะสร้างความเสียหายต่อเกษตรกรชาวสวนยางอย่างมาก ดังนั้น จึงขอให้รัฐบาลดำเนินการถอนร่าง พ.ร.บ.การยางแห่ง

ประเทศไทย ออกจากการพิจารณาของ สนช. ทันที ทั้งนี้ หากรัฐบาลไม่ถอน พ.ร.บ.ดังกล่าว ภายในวันที่ 25 ธันวาคม นี้ จะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องต่อไป

ด้าน นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นผู้รับหนังสือ กล่าวว่า จะมีมาตรการช่วยเหลือชาวสวนยางใน 16 มาตรการเดิม และจะส่งเสริมให้ชาวสวนยาง

ประกอบอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้นอกเหนือจากการทำสวนยาง ขณะเดียวกัน จะให้ชาวสวนยางเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการในการแก้ไขกฎหมายตาม พ.ร.บ.การยางแห่ง
ประเทศไทยฉบับนี้ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปร่วมกัน
----------
"ครรชิต" หน.สำนักงาน รมว.กษ. เป็นลมหมดสติ ขณะรอแจง ครม. หามส่ง ร.พ.รามาฯ - ช่วงบ่าย แถลงผลประชุม

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด ยังคงอยู่ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งผ่านไปกว่า 2 ชั่วโมงแล้ว ขณะเดียวกัน นายครรชิต สุขเสถียร หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

เกษตรและสหกรณ์ เป็นลมหมดสติระหว่างรอเข้าชี้แจงกับคณะรัฐมนตรี ที่ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้นำตัวส่งโรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ส่วนบรรยากาศโดยรอบทำเนียบรัฐบาล การรักษาความปลอดภัย ยังคงเป็นไปด้วยความเข้มงวด มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำตามจุดตรวจต่าง ๆ ทั้งนี้ ภายหลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี เสร็จเรียบ

ร้อยแล้ว ทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ให้รับทราบในเวลา 14.00 น.


//////////
คสช.

"พล.อ.อุดมเดช" บินร่วมประชุม ผบ.ทบ.อาเซียน กระชับสัมพันธ์กองทัพ พร้อมหารือพหุภาคี - ทวิภาคี สร้างความมั่นคงภูมิภาค

ที่อาคารวีไอพี ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก เดินทางไปร่วมการประชุมผู้บัญชาการทหารบกกลุ่มประเทศอาเซียน

ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 25 - 29 พ.ย. 2557 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งเป็นการประชุมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้บัญชาการทหารบกมิตรประเทศ ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิด

เห็นและกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยมีกองทัพบกของประเทศอาเซียน หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ และมีหัวข้อการประชุมตามสถานการณ์ของภูมิภาคและสถานการณ์โลกในขณะนั้น

โดยในครั้งนี้มีหัวข้อหลักในการประชุม คือ “การเสริมสร้างการทำงานร่วมกันของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน ในการจัดการกับภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ ”ซึ่ง ผู้บัญชาการทหารบกไทย
จะได้มีโอกาสแสดงวิสัยทัศน์ในที่ประชุม พร้อมทั้งได้พบปะหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทั้งในแบบพหุภาคี และทวิภาคี กับผู้บัญชาการทหารบกกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อร่วมกันเสริมสร้าง

ความมั่นคงในภูมิภาคให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
-----------------
พล.อ.ประวิตร ต้อนรับเอกอัคราชทูตกัมพูชา-ญี่ปุ่น หารือกระชับความสัมพันธ์ ชี้ เป็นเรื่องดี นายกฯ เปิดเวทีรับฟังความเห็น

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นางอีต โซเฟีย เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชา ประจำประเทศไทย และ นายชิเกะคะสุ

ชะโตะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ในการเยี่ยมคารวะเพื่อแนะนำตัวหลังจากที่ได้เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ พลเอกประวิตร กล่าวว่า การเข้าเยี่ยมในวันนี้เพื่อเป็นการแนะนำตัว พูดคุย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ เพื่อในอนาคตจะได้มีโอกาสในการร่วมมือกัน ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีจะจัดเวทีให้นัก

ศึกษาได้แสดงความคิดเห็นทางการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ดี และเชื่อว่านักศึกษาจะให้ความสนใจเข้าร่วมเวทีดังกล่าว
//////////
กลุ่มต้าน
ผบ.ทบ. รับ ยังมีกลุ่มต้าน ยัน คุมได้ อาจเชิญคนคิดต่างพูดคุย ขอทุกฝ่ายช่วยสร้างเข้าใจ ย้ำ เดินหน้าโรดแมป

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปร่วมประชุมผู้บัญชาการทหารบกอาเซียน โดยยอมรับว่า ยังมีกลุ่มที่มีความคิด

ต่างต่อต้านการทำงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. และรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะมีผู้คิดต่าง แต่อยากให้ดูที่ผลโพลจากสำนักต่าง ๆ ที่ได้สำรวจออกมาว่าประชาชนส่วนใหญ่ พอ

ใจและยังให้การสนับสนุน คสช. และรัฐบาลในการทำงาน แต่ทั้งนี้สถานการณ์ยังไม่มีอะไรมาก ยังสามารถควบคุมได้ ส่วนผู้ที่คิดต่างนั้น ก็จะเร่งทำความเข้าใจพูดคุย และอาจจะมีการเรียกเชิญตัว

บุคคลมาพูดคุยบ้าง แต่ยืนยัน ทางเจ้าหน้าที่จะปฏิบัติต่อด้วยอย่างให้เกียรติ

พร้อมกันนี้ พล.อ.อุดมเดช ยังได้ขอให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ช่วยกันสร้างความเข้าใจกับผู้คิดต่าง เพื่อจะได้ให้ประเทศเดินหน้าไปตามโรดแมป ที่ทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

และหัวหน้า คสช. ได้วางไว้
------------------
ทนาย บ.ก.ลายจุด ขอศาลวินิจฉัยให้คดีอยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ขณะอัยการยื่นค้าน พร้อมเลื่อนพิจารณาเป็น 23 ม.ค. 58

ความเคลื่อนไหวที่กรมพระธรรมนูญ หรือศาลทหารกรุงเทพฯ ล่าสุด ภายหลัง นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง เดินทางมาเพื่อนัดตรวจพยานนัดแรกวันนี้ ใน 2

ข้อกล่าวหา คือ ความผิดอาญา มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดง
ความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต และ ในข้อกระทำผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

ทั้งนี้ ทีมทนายความได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยให้การพิจารณาคดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขัดต่อรัฐธรรมนูญชั่วคราว

พ.ศ. 2557 เพราะประเทศไทยเป็นภาคีประเทศสมาชิกของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ไอซีซีพีอาร์) ซึ่งในมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญกำหนดให้พันธะ
กรณีที่ไทยมีอยู่นั้นต้องผูกพันด้วย ขณะที่อัยการได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวศาลจึงเลื่อนการพิจารณาไปในวันที่ 23 มกราคม 2558เวลา 09.00 น. เพื่อให้อัยการยื่นคำร้องคัดค้านมาเป็นเอกสารและ

พิจารณาตรวจหลักฐานต่อไป
--------------------
จนท.สารสนเทศฯ มศว เผย มีใบปลิวต้านจริง แต่ไม่ทราบใครทำ ขณะมหาวิทยาลัย ไม่ห้ามนิสิต แสดงออกทางความคิด

เจ้าหน้าที่ศูนย์สารสนเทศและประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประสานมิตร กล่าวเปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ยืนยันว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เวลาประมาณ 09.00 น. มีการ

โปรยใบปลิวการเรียกร้องให้หยุดคุกคามประชาชนและนักศึกษาที่คิดต่าง ลงมาจากอาคารจริง แต่ไม่มีใครทราบว่าผู้ใดเป็นคนโปรย เนื่องจากเป็นอาคารเรียนรวม ที่มีทั้งนิสิตของมหาวิทยาลัยและ

บุคคลภายนอกสามารถเข้าออกได้ โดยใบปลิวมีประมาณ 10-20 ใบ และผู้ที่เก็บได้คือแม่บ้าน ซึ่งจากการสอบถามนิสิต มศว ก็ไม่มีใครพบเห็นใบปลิว

ขณะที่ ผศ.อมรพงศ์ สุธรรมรักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มศว เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบในช่วงเวลา 13.00 น. ไม่พบใบปลิวแต่อย่างใด โดยให้เจ้าหน้าที่เข้าสำรวจพื้นที่บริเวณอาคารเรียน

รวม ที่มีกระแสข่าวว่า มีการโปรยใบปลิวดังกล่าวภายในมหาวิทยาลัยแล้ว

ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัย ไม่ได้มีการห้ามการแสดงออกทางความคิดเห็นของนิสิต เนื่องจากเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ต้องอยู่ในกรอบที่เหมาะสม
-----------------
พล.อ.ประยุทธ์ พร้อมใช้ ม.44 รธน.ชั่วคราว สั่งให้ อปท.ที่หมดวาระรักษาการต่อ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง

พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่จะหมดวาระลง กว่า

1,000 ตำแหน่ง ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่นั้น พร้อมจะใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเดิมที่จะหมดวาระรักษาการต่อ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง

นอกจากนี้ การลงพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์ นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามปัญหาและการแก้ไขของเจ้าหน้าที่ แม้จะมีการแสดงความคิดเห็นต่างบ้างแต่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และขอให้

เข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่กรณีการปรับย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยืนยันว่าไม่ได้ปรับ เป็นเพียงการเรียกมาเพื่อตักเตือนและขอให้มองว่าเป็นการปรับเพื่อให้การทำงานมีความ
กระตือรือร้นและมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มข้นมากขึ้น

ด้าน พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ได้กล่าวแสดงความห่วงใยสถานการณ์ในภาคใต้เนื่องจากมีงบประมาณลงไปในพื้นที่ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ตรงจุดได้ จึง

มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนตามแนวทาง และจะให้มีการบูรณาการให้ชัดเจนภายใน 3 เดือน หากยังไม่มีการดำเนินการให้ดีขึ้นอาจมีการปรับโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น ๆ
------------------
ก.วัฒนธรรม เสนอ จัด 9 กิจกรรม เป็นของขวัญปีใหม่ให้ ปชช. ครม. เห็นชอบหลักการร่างกฎหมายระยะเวลา 1 ปี


พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม เสนอ 9 กิจกรรม
เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน อาทิ เปิดอุทยานประวัติศาสตร์ 9 แห่งเพื่อให้ประชาชนเข้าชมฟรี ไหว้พระ
9 วัด สวดมนต์ข้ามปี จัดกระเช้าปีใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์ไทยท้องถิ่น และชวนชุมชนปั่นจักรยาน เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบหลักการร่างกฎหมายระยะเวลา 1 ปี ซึ่งมีทั้งกฎหมายที่คงค้างและอยู่ระหว่างดำเนิน
การแต่ให้ปรับปรุงเพื่อให้มีความทันสมัยและกำหนดขอบเขตให้มีความชัดเจน โดยร่างกฎหมายที่คงค้างมี 163 ฉบับ
ซึ่งจะแบ่งการพิจารณาเป็นรายไตรมาส คือ ไตรมาสแรกพิจารณา 96 ฉบับ เช่น ร่าง พ.ร.บ.นครแม่สอด ไตรมาสที่
2 จำนวน 25 ฉบับ เช่น ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไตรมาสที่ 3 จำนวน 21 ฉบับ เช่น พ.ร.บ.พลังงาน
ทดแทน

อย่าถือโอกาส "ตัดตอน" ส่วยน้ำมันเถื่อนใต้!

อย่าถือโอกาส "ตัดตอน" ส่วยน้ำมันเถื่อนใต้!

เขียนวันที่
วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2557 เวลา 08:55 น
เขียนโดย
ปกรณ์พึ่งเนตร
ลดลงเพิ่มขนาดตัวอักษร
ไล่ดูข้อหาและข้อกล่าวหาที่พล. ต. ท. พงศ์พัฒน์ฉายาพันธุ์อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก. ) และพวก พบข้อกล่าวหาหนึ่งที่น่าสนใจคือ 
น้ำมัน 3
          อารมณ์ของผู้ให้ข่าวและข่าวที่ถูกเสนอผ่านสื่อบางแขนง ซึ่งโยงไปถึง"เสี่ย  
          ประมาณว่านี่คือการล้างทุจริตครั้งใหญ่ในวงการสีกากี บางข่าวระบุว่าเป็นการล้างโกงระดับประเทศ หรือระดับโลกก็ยังมี
          บ้างก็บอกว่าข้อกล่าวหานี้ซึ่งตามข่าวระบุว่าพล. ต. ท. พงศ์พัฒน์และพวกยอมรับสารภาพแล้ว จะส่งผลดีต่อปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้กันเลยทีเดียว
          เสมือนหนึ่งว่าภาคใต้จะเข้าสู่โหมดความสงบกันระดับหนึ่งแล้ว เพราะสามารถกระชากหน้ากากกลุ่มตำรวจที่รับส่วยน้ำมันเถื่อนได้สำเร็จ
          ข้อกล่าวหาที่พุ่งไปยังพล. ต. ท. พงศ์พัฒน์และพวก ก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการคงไม่อาจไปสรุปอะไรล่วงหน้าได้ แต่ที่"ฟันธง"กันได้ก็คือ และ"เสี่ยจ."ที่กล่าวอ้างกันถึงนั้นก็ยังลอยนวลอยู่ หรือว่าซุกปีกอิทธิพลใดอยู่    
          ยังดีที่ พล. อ. ไพบูลย์  ไม่ไหลไปตามข่าว (ปปง.) กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ติดตามคดีนี้อย่างใกล้ชิด แต่ไม่ระบุชัดว่าเป็นกลุ่มใด
          นั่นคือท่าทีของพล. อ. ไพบูลย์ ก็ต้องตอบว่า"ยัง"    
          เพราะในความเป็นจริงแล้วข้อมูลการรับส่วยน้ำมันเถื่อนถูกส่งถึงมือดีเอสไอตั้งแต่ปี 55 เมื่อเดือนต. ค. ปีเดียวกันและพบบัญชีส่วยถูกเผาทำลายหลักฐาน
          แต่ถอดมานานหลายปีกลับไร้ความคืบหน้า!
          ขณะเดียวกัน จ. "และมีข้อมูลส่วยก้อนมหึมานั้น และ "ศูนย์ข่าวภาคใต้" เคยนำมาตีแผ่ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อเดือนส. ค. ที่ผ่านมานี้เอง  
          นักการเมืองผู้นำในพื้นที่ ประกอบด้วย
          1. นายส เป็นเครือข่ายใหญ่ที่สุด
          น นักการเมืองท้องถิ่นของอ. ตากใบจ. นราธิวาส
          3. นายม จาก บริษัท อ. / ฟ มีฐานอยู่ในจ. ปัตตานี
          ม เจ้าของ บริษัท อ ในอำเภอพื้นที่สีแดงของจ. นราธิวาส
          5. เครือข่ายนายมะเชื่อมโยงกับยาเสพติด
          6. เครือข่ายนายจ เจ้าของกิจการเกี่ยวกับน้ำมันมีเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่
          7. บริษัท ก กับ บริษัท ต ตั้งอยู่ในรัฐกลันตัน
          ทั้งนี้ บริษัท อ. / ฟ ที่มีฐานอยู่ในจ. ปัตตานีมีความเกี่ยวโยงกับ บริษัท ต. ที่ตั้งอยู่ในรัฐกลันตัน บางคนเป็นเครือญาติกัน จ. ปัตตานีด้วย  
          แต่ยังโยงไปถึงสีอื่นรวมถึงนักการเมืองท้องถิ่นซึ่งไม่มีใครพูดถึงเลยรวมทั้ง"เสี่ย 2 เดือนแล้ว  
ในน้ำ ทั้งหมดมีมูลค่าราวเดือนละ 25 ล้านบาท!    
          หากจะปราบส่วยน้ำมันเถื่อนจริงและหวังให้ภาคใต้สงบจริงก็ทำได้ทันทีเพราะมีข้อมูลครบและต้องจัดการทั้งขบวนการ!
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ  จากกรุงเทพธุรกิจ
หมายเหตุ  "แกะรอย" หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจปกโฟกัสฉบับวันอังคารที่ 25 พ.ย. 57

“ธนินท์” ยันไม่เคยเจรจา “เทสโก้ โลตัส” แต่ถ้าขายซื้อแน่!

“ธนินท์” ยันไม่เคยเจรจา “เทสโก้ โลตัส” แต่ถ้าขายซื้อแน่!
Cr:ผู้จัดการ
“เจ้าสัวธนินท์” ยันข่าวลือซื้อ “เทสโก้ โลตัส” ย้ำที่ผ่านมาไม่เคยพบบิ๊กบอสของ “เทสโก้” แต่อย่างใด ถึงวันนี้ยังไม่มีการเจรจาและไม่ได้ตั้งทีมงานศึกษา แต่ถ้า “เทสโก้” ประกาศขายจริง “ซีพี” ก็สนใจและพร้อมที่จะซื้อแน่นอน
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยถึงกรณีกระแสข่าวที่ว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ “ซีพี” จะเข้าซื้อกิจการ “เทสโก้ โลตัส” ในประเทศไทยว่า ที่ผ่านมายังไม่มีการเจรจาเป็นทางการแต่อย่างใด และย้ำว่ายังไม่มีการตั้งทีมงานศึกษาดีลนี้แต่อย่างใดด้วย
“เทสโก้ โลตัส” ในประเทศไทยยังแข็งแกร่งมาก มีหนี้สินไม่กี่ล้านบาท ฐานะการเงินก็ไม่ได้ล้มละลาย เพียงแต่ขาดเงินหมุนเวียนเล็กน้อย ย่อมมีผู้เสนอให้กู้อยู่แล้ว โดยเฉพาะบริษัทแม่ก็เพิ่งแต่งตั้ง ซีอีโอ คนใหม่เข้ารับงาน จึงเป็นไปไม่ได้ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่แล้วจะมีนโยบายขายกิจการ
นายธนินท์ กล่าวอีกว่า จนถึงวันนี้ตนยังไม่ได้เจรจา หรือพบกับผู้บริหาร หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ของ “เทสโก้ โลตัส” และยังไม่ได้ยินว่าจะมีการประกาศขาย “เทสโก้ โลตัส” แต่อย่างใด ทั้งยังรู้ข่าวช้ากว่าสื่อไทยเสียอีก ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องใหญ่ขนาดนี้ แต่หนังสือพิมพ์บางฉบับและเว็บไซต์บางแห่งกลับมีการระบุถึงจำนวนเงินที่ซื้อกิจการเรียบร้อยแล้ว ทั้งๆ ที่ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
“แต่ถ้าหาก เทสโก้ โลตัส จะขาย ผมก็สนใจและพร้อมที่จะซื้อ เพราะนโยบายของผมคือ ตลาดในโลกนี้เป็นของซีพี วัตถุดิบในโลกนี้เป็นของซีพี คนเก่งในโลกนี้เป็นของซีพี เงินในโลกนี้เป็นของซีพี แต่อยู่ที่ว่าเราใช้เป็นหรือเปล่า เขายอมให้เราใช้หรือเปล่า”
อย่างไรก็ตาม นายธนินท์ ยอมรับว่า ในอนาคตหากมีธุรกิจอะไรที่ไม่ขัดกันก็น่าสนใจที่จะทำ เพราะตนอยู่ในวงการค้าปลีก ถ้าซื้อของถูกลง ลูกค้าก็ย่อมได้ประโยชน์ โดยปัจจุบัน “ซีพี” ก็ขายของให้ “เทสโก้ โลตัส” ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ และเป็นพันธมิตรกันมาตลอด ในขณะที่ คุณสุนทร อรุณานนท์ชัย ก็ยังนั่งเป็นประธานอยู่ที่ “เทสโก้ โลตัส” ประเทศไทย
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ธุรกิจของ “เทสโก้ โลตัส”กับ “แม็คโคร” ขัดกันหรือไม่ นายธนินท์ ตอบว่า ไม่ขัดกัน เพราะ “เทสโก้ โลตัส” ทำไม่เหมือนกับ “แม็คโคร” โดย “ซีพี” มีนโยบายหลักคือทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์ โดยใช้เทคโนโลยีและความสามารถ เพื่อขายของถูก ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งสามฝ่ายคือบริษัท คู่ค้า และผู้บริโภค
ต่อคำถามว่า หากมีการซื้อ “เทสโก้ โลตัส” จะมีการต่อยอดธุรกิจค้าปลีกอย่างไร นายธนินท์ ตอบว่า การต่อยอดคือการทำให้สินค้ามีราคาถูกลง สิ่งที่ทำกันอยู่ต้องให้เข้มแข็งขึ้น เราแบ่งงานกับเกษตรกรชัดเจน อะไรที่เกษตรกรทำได้เราก็ส่งเสริม หรือแม้แต่ “เซเว่น อีเลฟเว่น” ทุกวันนี้ก็เป็นแฟรนไชส์มากกว่า 50% ตนมองว่าหากบริษัทใดมีคนเก่งก็สนใจเข้าร่วมถือหุ้น ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทุกอย่าง เพราะซีพีไม่มีบุคลากรมากพอที่จะบริหารธุรกิจได้ทุกอย่าง
“ถ้ามีโอกาสลงทุนแล้วได้ประโยชน์เราก็ลงทุน แต่ถ้าลงทุนแล้วขาดทุนก็ไม่เอา วิธีของผมคือ ถ้าคุณเก่ง ผมถือหุ้นแค่ 10% ก็พอ เพราะพอเติบโต 5 เท่า ผมก็โตเป็น 100% แล้ว อย่าง เทสโก้ โลตัส ถ้าเขาจะขาย ผมก็สนใจและพร้อมที่จะซื้อ หรือถ้าเขาให้ผมถือหุ้นผมก็เอา เพราะว่าเป็นของผมมาก่อน ลูกที่ผมเลี้ยงมาก่อนผมก็รักเหมือนกัน แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีวี่แววเลย”
ต่อคำถามว่า มีเงื่อนไขหรือไม่ว่าหาก “เทสโก้ โลตัส” ขายธุรกิจจะต้องพิจารณาขายให้ “ซีพี” เป็นรายแรกในฐานะที่เคยเป็นผู้ถือหุ้นมาก่อน นายธนินท์ ตอบว่า ไม่มีและไม่ได้คุยกันไว้แบบนั้น ในอดีตเราเคยขายหุ้นใน “เทสโก้ โลตัส” 75% เหลือไว้ 25% จนกระทั่งเขามีการเพิ่มทุนจดทะเบียน ทำให้ราคาหุ้นดีขึ้น ประกอบกับมีวิกฤติต้มยำกุ้ง ตนจึงตัดสินใจขายหุ้นไปหมด เหมือนเรือเจอพายุ ต้องทิ้งของออกไปบางอย่างเพื่อรักษาเรือ จนทุกวันนี้ไม่มีหุ้นอยู่ใน “เทสโก้ โลตัส” แล้ว
นายธนินท์ กล่าวในตอนท้ายว่า ธุรกิจที่มีความน่าสนใจในอนาคตจากนี้ เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ธุรกิจลอจิสติกส์และการขนส่ง เป็นต้น โดยมองว่าสถานการณ์ประเทศไทยจะดีมาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ถ้าสงบเหมือนอย่างนี้ก็มีแต่ดี แต่ถ้าทะเลาะกันและไม่สงบนักธุรกิจและนักลงทุนต่างชาติคงไม่มาแน่ โดยคาดว่าประเทศไทยจะยังคงเติบโตได้ประมาณ 4% และจะดีขึ้นอีกในปี 2558

“อานันท์”ประเมิน 6 เดือนคสช. การปฏิรูป ความท้าทาย และข่าวลือเรื่องปรองดอง?

“…ผมชักเริ่มไม่ค่อยแน่ใจว่า ความพยายามที่จะดูแลปัญหาคอร์รัปชั่นจริงใจแค่ไหนและจะทำหรือเปล่า เพราะข่าวลือมันมากเหลือเกิน" 
571124-1
หมายเหตุ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์”ปกป้อง จันวิทย์”คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สัมภาษณ์คุณ “อานันท์ ปันยารชุน” อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ในหัวข้อ “สนทนา 30 ปี ทีดีอาร์ไอ: สังคมเศรษฐกิจไทย:ความท้าทายและการปฏิรูป" ในงานสัมมนาวิชาการทีดีอาร์ไอประจำปี 2557 “ประเทศไทยในสามทศวรรษหน้า:สี่ความท้าทายเพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพ" เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน  “สำนักข่าวอิศรา” ถอดความเนื้อหาที่น่าสนใจมานำเสนอคุณผู้อ่าน ดังนี้
@ มองอดีตย้อนไป 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอะไรดีขึ้น มีอะไรเลวลงบ้าง และอะไรเป็นความท้าทายสำคัญที่รอประเทศไทยอยู่ข้างหน้า
ที่ดีขึ้นก็มี ที่เลวลงก็มีมาก แต่ผมว่าทุกสังคม ทุกประเทศ สิ่งที่ควรจะต้องจดจำก็คือ เราควรจะมีความภาคภูมิใจในสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในเมืองไทยหรือความก้าวหน้าในเรื่องต่างๆ ขณะเดียวกันก็ต้องจดจำสิ่งไม่ดีหรือสิ่งที่เราผิดพลาดไป แต่ในการดำรงชีวิตส่วนตัวก็ดี การดำรงชีวิตในองค์หรือประเทศชาติก็ดี เราอย่าปล่อยให้สิ่งที่ไม่ดีในอดีตมาผูกมัดเรา จนกระทั่งไม่สามารถเดินไปข้างหน้าได้
@ อะไรคือบทเรียนสำคัญที่เราควรเรียนรู้ในช่วง30ปีที่ผ่านมา
ผมว่าคนไทยไม่ค่อยสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย เพราะทุกประเทศทุกสังคม ถ้าพลเมืองไม่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ตัวเอง ไม่เรียนรู้สิ่งที่ดีงามหรือสิ่งที่ผิดพลาดไป สิ่งที่ผิดพลาดก็จะกลับมาเกิดซ้ำอีก อันหนึ่งคือ คนไทยความจำสั้น ลืมง่าย แต่การที่ความจำสั้นและลืมง่ายก็ไม่ได้เป็นของเสียทั้ง100% แต่ถ้าเราความจำสั้นแล้วลืมง่าย จะทำให้เรารู้สึกว่าทุกๆ5ปี ทุกๆ10ปี เราต้องจัดการความผิดพลาดในอดีต เพราะเราไม่เคยมีบทเรียนจากสิ่งที่เราผิดพลาด
@ อะไรคือสิ่งที่ควรจดจำให้ขึ้นใจแล้วไม่ควรทำอีก อย่าซ้ำรอยเดิม
หลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตผม ที่ทำความปวดร้าวหรือทำความผิดหวังให้กับผมในชีวิตส่วนตัว ผมไม่ลืมนะ แต่ผมจะไม่เอาสิ่งเหล่านั้นมาผูกมัดจนกระทั่งไม่สามารถเดินไปข้างหน้าได้ ฉะนั้นชีวิตแต่ละชีวิต หรือชีวิตแต่ละสังคมต้องมองไปสู่อนาคตมากกว่า แล้วหลายสิ่งหลายอย่างต้องมองในเรื่อง positiveมากกว่า เพราะวันนี้ทุกอย่างมองเป็น negative หมด เราทำอะไรไม่ได้
@ ความท้าทายเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน การบริหารจัดการทรัพยากร การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูประบบประกันสังคม และการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ โจทย์ใหญ่ๆเหล่านี้ สังคมจะรับมือและข้ามผ่านอย่างไร ต้องมีนโยบายสาธารณะแบบไหน
ประเด็นที่คุณยกขึ้นมา ไม่ได้เพิ่งพูดกัน แต่พูดกันมาในสังคมไทยมาเป็นเวลาหลายสิบปี ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป ผมรู้สึกว่าพูดเรื่องพวกนี้ควรพูดพอประมาณ แต่สิ่งที่เมืองไทยขาดคือ ผู้ทำ
การแข่งขันก็ดี หรือเรื่องต่างๆที่คุณพูดถึง สุดท้ายเมื่อชูประเด็นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทีดีอาร์ไอหรือสถาบันใด บอกว่าน่าจะทำอย่างนั้น น่าจะทำอย่างนี้ แต่ที่เมืองไทยขาดคือ ไม่มีคนทำ หรือมีคนทำก็ทำไม่เป็น
ที่คุณยกประเด็นมา ส่วนตัวของผมมองข้ามประเด็นพวกนี้ไปแล้ว ผมมองว่าเราจะแก้ไขประเด็นเหล่านี้หรือจะผ่านพ้นเรื่องพวกนี้ไปได้อย่างไร เพราะฉะนั้น 1. อยู่ที่การบริหารซึ่งอันนี้ค่อนข้างเป็นที่หนักใจสำหรับผม
หลายครั้งหลายคราวที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในระบอบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เชิงประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นรัฐประหารหรืออะไรก็แล้วแต่ สุดท้ายตกม้าตายเพราะจัดการไม่เป็น ผมว่าเราพูดมากพอแล้ว 4-5ประเด็นที่คุณพูด แต่ขณะนี้เราต้องการคนทำมากกว่า ในประสบการณ์ของผม คนเราแบ่งได้2ประเภท พวกหนึ่งเป็นพวกพูด อีกพวกหนึ่งเป็นdoer ซึ่งผมว่าเราขาดคนพวกนี้มาก
@ คุณอานันท์พูดถึงการทำ ถ้าทำให้เป็น ต้องทำอย่างไร
ภาษาอังกฤษเรียกว่า management แต่ผมว่าสอนกันไม่ได้นะ ผมไม่ได้หมายความว่าคนที่เรียนจบ management แล้วจะ manage เป็นนะ สิ่งเหล่านี้ต้องสั่งสมจากประสบการณ์ ในทางวิชาการก็ต้องมีพอประมาณ
2.คือ คุณจะเป็น manager ที่ดี เป็น execute policy ที่ดี คุณอาจจะมีประเด็น รู้วิธีการแก้ไข แต่ถ้าคุณ execute ไม่เป็น มันก็ไม่ไปไหน ฉะนั้น manage และต้องมีความรู้ทางวิชาการพอสมควร และมีประสบการณ์ค่อนข้างจะมาก
ประสบการณ์ในที่นี้ ควรจะต้องผ่านงาน นักการเมืองไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยที่อ่อนเรื่องการจัดการ ที่อังกฤษ อเมริกา ที่หลายแห่ง เขาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าขณะนี้นักการเมือง เป็นนักการเมืองอาชีพทั้งนั้น ไม่เคยทำงานอื่นใดมาก่อนเลย
อย่างอังกฤษ 70-80 ปีก่อน นักการเมืองเคยทำงานเป็น สต๊อกโบรกเกอร์ อาจจะเป็นผู้จัดการ อาจจะเป็นซีอีโอบริษัทต่าง แต่ปัจจุบันเป็นอาชีพ ฉะนั้นนักการเมืองก็ไม่ได้ผ่านการบริหารที่ดี แต่ถ้าไม่เอาคนที่เป็นนักการเมือง สมมุติเป็นเทคโนแครต แต่ถ้าเทคโนแครตไม่เคยผ่านชีวิตของการทำงานในภาคเอกชนเลย ก็ตกม้าตายเหมือนกัน
@ แล้วทหาร เป็นผบ.ทบ.มาก่อน ประสบการณ์พอไหมครับ
ทหารยิ่งมีข้อจำกัดมาก เพราะต้องเข้าใจว่าเขาชินกับ command structure ผมคุยกับเพื่อนหลายคนบอกว่า mentality ของทหารทั่วโลกคล้ายคลึงกัน
ผมว่าทหารมีข้อจำกัดมาก เพราะว่าวิธีการทหารคือวิธีสั่งอย่างเดียว ฉะนั้น dialog ไม่มี มีแต่ข้างบนกับข้างล่าง ข้างบนสั่ง ข้างล่างทำ แต่ในปัจจุบันก็เป็นไปได้ ที่กองทัพไทยมีโอกาสหรือมีสิทธิที่จะพูดมากขึ้น แต่สุดท้ายก็อยู่ที่ว่าข้างบนเขาสั่งว่าอย่างไร
ในระบบของทหาร ผมว่าไม่มีคำว่า dialog แม้แต่การบริหารภาคเอกชน อำนาจก็อยู่ที่เบอร์1 เบอร์2 แต่ในทางการเมือง ต้องลืมเรื่องเบอร์1 เบอร์ 2 การบริหารราชการการแผ่นดินที่ดีต้องฟังเสียงจากทุกระดับ สิ่งที่เราขาดคือ ฟังไม่ค่อยเป็น
ผมชอบยกตัวอย่างว่า มีคนพูดเป็นเรื่องตลกว่า ทำไมพระเจ้าถึงสร้างให้มีปากเดียว 2 หู เพราะพระเจ้าต้องการคนฟังมากกว่าคนพูด หรือมีหนังสือหลายเล่มที่เขียนถึงความจำเป็นของการฟัง บางคนฟังแล้วก็ไม่รู้เรื่องก็ลำบาก หรือฟังแล้วทัศนคติของเขาไม่เข้าใจลึกซึ้ง
เพราะถ้าเราบอกว่าต้องฟัง ในเซนส์ภาษาอังกฤษคำว่า dialog ไม่ใช่ว่าคุณมาคุยแล้วคาดคั้นเอาคำตอบจากผม หรือผมคาดคั้นคำตอบจากคุณ แบบนั้นไม่มีทาง เพราะทุกอย่างต้องมีการอะลุ่มอล่วย ผมไม่อยากใช้คำว่าต่อรองนะ แต่มันต้องมี flexibility
ถ้าเผื่อนั่งคุยกันจริงจัง ส่วนตัวผมโชคดี ที่เวลาผมคุยกับใคร ผมไม่ค่อยสนใจว่าวิธีคิดของเขาตรงกับผมหรือไม่ ไม่มานั่งคิดมากว่าเขาถูกหรือผมถูก แต่ผมจะมองว่าสิ่งที่เขาพูดกับผมข้อเท็จจริงถูกต้องหรือเปล่า และหลังจากข้อเท็จจริงถูกต้องแล้ว วิธีวิเคราะห์เขาเป็นอย่างไร
ผมไม่มองวิธีวิเคราะห์เขาผิดหรือถูก หลายครั้งหลายคราวที่คำตอบของเขาอาจไม่ตรงกับผม แต่ผมได้เรียนรู้จากสิ่งที่เขาตอบ แล้วสามารถนำมาปรับปรุงสิ่งที่ผมคิดและทำให้ดีขึ้นได้ ฉะนั้นเวลาเราคุยกับคน ไม่ใช่เรื่องเอาตายหรือเอาผิดเอาถูก หรือเอาชนะกัน
@ คุณอานันท์เคยบอกว่าเข้าใจได้ว่าทำไมต้องมีการรัฐประหารและเห็นใจ เอาใจช่วยอยู่บ้าง แล้ว 6 เดือนผ่านไปของคสช. ยังเอาใจช่วยหรือยังเห็นใจอยู่ไหม หรือประเมินการทำงานที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง
ผมไม่ได้พูดถึงขั้นนั้นมั้ง ผมว่าเป็นรัฐบาลชุดไหนก็ตาม ผมเอาใจช่วยทั้งนั้น เพราะว่าผมไม่สิทธิ์หรือไม่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบที่จะมามานั่งวินิจฉัยว่าใครมาผิดมาถูก ที่มาที่ไปเขาเป็นยังไง โดยจิตใจผมเอาใจช่วยทุกรัฐบาล ที่ผ่านมาผมสามารถพูดกับทุกรัฐบาลได้ ฟังไม่ฟังอีกเรื่องหนึ่ง
คณะทหารชุดนี้ ผมไม่ค่อยรู้จักเขาส่วนตัว แต่พบกันตามงาน ก็เคารพนับถือซึ่งกันและกัน แต่ไม่ได้เคยคุยกันอย่างจริงจัง ตอนแรกๆผมคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่สบายใจที่อย่างน้อย โอกาสจะมีการรบราฆ่าฟันกัน หรือมีความไม่สงบตามจุดต่างๆ ในประเทศไทยหมดไป หลายสิ่งหลายอย่างที่เขาเริ่มทำ ผมว่าประชาชนให้การสนับสนุนดี
แต่ต่อมาๆ การบริหารแผ่นดินไม่ใช่เรื่องการรักษาความสงบอย่างเดียว แต่มีหลายมิติเหลือเกิน เมื่อมีหลายมิติ ไม่ใช่ของง่ายที่คนใดคนหนึ่งไม่ว่าจะพลเรือนหรือทหาร นักการเมือง เทคโนแครต หรือนักธุรกิจ จะดูแลปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ได้ทำมาแล้วสบายใจ แต่ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ผมอึดอัดใจ ผมชักเริ่มไม่ค่อยแน่ใจว่า ความพยายามที่จะดูแลปัญหาคอร์รัปชั่นจริงใจแค่ไหนและจะทำหรือเปล่า เพราะข่าวลือมันมากเหลือเกิน ผมก็หวังว่าข่าวลือข้างนอก ทหารก็คงจะได้ยินบ้าง ผมเป็นคนไม่ค่อยเชื่อข่าวลือ แล้วก็ไม่ใช่เป็นคนฟังแล้วไปขยายต่อข่าว แต่เมื่อได้ยินมา ผมก็หวังว่าไม่ใช่
แต่ผมว่า ใครก็ตามที่รับผิดชอบ จำเป็นต้องรู้ว่ามีข่าวลือกันอยู่ และเขาต้องรู้ดีว่าข่าวลือนั้นจริงไม่จริง ถ้าเป็นจริงผมก็ช่วยไม่ได้ ถ้าไม่จริงก็ควรหาทางปรับความเข้าใจ
มีการพูดกันต่างๆนานาว่า มีการตกลงกันนอกรอบ ผมไม่รู้ แต่ผมรู้สึกว่า ถ้ายังสนใจทำเรื่องการปรองดอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ต้องแยกให้ถูก การปรองดองเรื่องหนึ่ง การเอาผิดลงโทษเรื่องหนึ่ง ผมไม่ได้บอกว่าควรจะทำอย่างไร  การปฏิรูปก็อีกเรื่องหนึ่ง คนชอบถามว่าปฏิรูปก่อนปรองดองหรือปรองดองก่อนปฏิรูป ในใจผมคิดว่าต้องไปพร้อมกัน
ปฏิรูปคือการพยายามแก้ปัญหาปัจจุบัน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อไปสู่อนาคต แต่การปรองดอง เป็นเรื่องที่ยังค้างอยู่ในอดีต คงจะต้องดูต่อไปว่า ที่ผ่านมาทำไมไม่มีความปรองดอง เราต้องจับประเด็นให้ถูกว่า ความไม่ปรองดองเกิดขึ้นที่ไหน เกิดขึ้นจากตัวบุคคลหรือเปล่า
ในใจผมส่วนหนึ่งเกิดจากตัวบุคคล แต่ผมไม่คิดว่าปรองดองระหว่างบุคคลแล้ว เมืองไทยจะมีความปรองดองได้ ผมไม่คิดว่าปรองดองกับการประสานผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว จะนำไปสู่ความปรองดองที่ถาวรได้
ผมมองว่า ปัญหาความแตกแยกของเมืองไทยในอดีตมีมาช้านานแล้ว และเกิดความรุนแรงมากขึ้นเมื่อ3-4 ปีที่ผ่านมา แต่ถามว่าประเทศอื่นเขาไม่มีเหรอ ประเทศอื่นเขาก็มี และมีไม่น้อยไปกว่าเมืองไทย
ดูประวัติศาสตร์ทั่วโลก เขารุนแรงมากกว่าเราเยอะ ฉะนั้นผมมีความหวังว่าสิ่งที่ทำให้คนไทยแตกแยกกันหรือความไม่ปรองดอง หรือความไม่สงบในอดีตเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ของเราจิ๊บจ๊อย และคิดว่าของเราแก้ไขได้ แต่ต้องจับประเด็นให้ถูกเสียก่อน
ต้นเหตุของความไม่ปรองดองไม่ใช่เรื่องของชนชั้นบุคคล ไม่ใช่เรื่องของกรุงเทพฯกับต่างจังหวัด ไม่ใช่เรื่องของศาสนา ไม่ใช่เรื่องของอุดมการณ์ทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องของอะไรอีกหลายอย่างที่พูดกันทั่วไป แต่ผมว่าทั่วโลกกำลังมีความเปลี่ยนแปลง
ความไม่ปรองดองในเมืองไทยก็เหมือนกับในประเทศอื่นๆ ซึ่งมีปัญหาเดียวกัน ในอดีตแตกแยกกันระหว่างพวกซ้ายกับพวกขวา หรือเป็นเรื่องของพวกเจ้ากับพวกชนชั้นล่าง หรือวิธีคิดแตกต่างกันด้านเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ
แต่ผมว่า นับวัน ความไม่ปรองดองหรือเหตุของการเกิดความแตกแยกเกิดขึ้นจากความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำในฐานะ เหลื่อมล้ำในอำนาจ เหลื่อมล้ำในการต่อรอง ความเหลื่อมล้ำในเรื่องพื้นที่ เรื่องสิทธิต่างๆ
สิ่งที่กำลังเกิดทั่วโลก มันไม่ใช่เรื่องซ้ายขวา แต่เป็นเรื่องข้างบนกับข้างล่าง ไปอ่านข่าวต่างๆในโลกนี้ที่หนักคือ บนกับล่าง แล้วบนกับล่างไม่ใช่เรื่องความร่ำรวยอย่างเดียว เพราะข้างบนมีทั้งซ้ายทั้งขวา มีทั้งรวยทั้งจน ข้างล่างก็มีทั้งซ้ายขวา ทั้งจนทั้งรวย นี่คือเหตุสำคัญไม่ใช่แค่ในเฉพาะเมืองไทย
ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องวิธีคิด ทีมีความแตกต่าง ฉะนั้น Challenge ของเราในอนาคต ข้างบนจะฟังข้างล่างได้อย่างจริงจังมากน้อยแค่ไหน ผมไม่ได้บอกว่าทุกอย่างที่ข้างล่างทำถูก หลายสิ่งหลายอย่างอาจจะไม่ถูก แต่ก็อยู่ในฐานะที่เขาด้อยโอกาส ด้อยสิทธิ ด้อยอำนาจ ด้อยเงิน ข้างบนต้องใจกว้างขึ้น 
พวกเราที่นั่งตรงนี้อยู่ข้างบนทั้งนั้น เป็นหน้าที่ของเรา นี่ผมถือว่านี่คือ Challenge ของเมืองไทย ถ้าข้างบนไม่ปรับตัว ข้างบนไม่ทำอะไรอย่างจริงจังให้ข้างล่างมีความรู้สึกว่าเราเข้าใจเขา ไม่ต้องเห็นด้วยกับเขาทุกอย่าง แต่เข้าใจประเด็นที่เขากำลังเดือดร้อน ประเด็นที่เขายกขึ้นมา แล้วเราพร้อมที่จะฟัง พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง สำคัญที่สุดคือ พร้อมที่จะปรับตัวเราเองด้วย เพราะเราเกิดมามีการศึกษาที่ดีมาตลอดชีวิต เราอยู่เหนือคนอื่น การงานเราก็ดีกว่า เงินทองก็มีมากกว่า สิทธิก็มีมากกว่า โอกาสก็มีมากกว่า
ถ้าเราไม่คิดเผื่อแผ่ให้กับข้างล่าง เวลาในการพูดจากับข้างล่าง เราต้องยอมเสียเปรียบบ้าง เพราะทั้งชีวิตเราได้เปรียบมาตลอด เราต้องคืนความสุขให้กับคนข้างล่าง พวกเราเสวยสุขมานานแล้ว อันนี้ผมว่าเป็นโจทย์ใหญ่ของเมืองไทย
ข้างบนต้องใจกว้าง ข้างบนต้องจริงจัง ข้างบนต้องรู้เลยว่าปัญหาอยู่ที่ไหน และพร้อมเข้าไปช่วยแก้ไข โดยคำนึงถึงจิตใจของข้างล่าง มากกว่าคำนึงถึงสถานะของตัวเอง
@คุณอานันท์พูดไว้ในหนังสือ30ปีทีดีอาร์ไอว่า โจทย์ใหญ่ของการปฏิรูป รัฐต้องเล็กลง และกระจายอำนาจ ส่งอำนาจคืนไปที่จังหวัด ไม่กระจุกอยู่ในกรุงเทพฯ นี่ยังเป็นโจทย์สำคัญของการปฏิรูปหรือเปล่า
ใช่ ทุกวันนี้กระจุกหมดในข้างบนไง กรุงเทพฯก็ข้างบน อำนาจก็กระจุกอยู่ข้างบน ความร่ำรวยกระจุกอยู่ข้างบน 10% ของคนไทยที่มีรายได้ ผมอาจจำไม่ได้แน่นอน แต่การกระจุกอำนาจ นี่คือตัวปัญหา
ที่ผ่านมาเราบอกว่ามีการกระจายอำนาจ มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ มันไม่ได้กระจายอำนาจอะไรเลย อำนาจยังอยู่ที่ส่วนกลาง ที่ผ่านมาไม่ใช่ครับ เป็นภาพลวง แต่ต้องให้เขามีสิทธิที่จะดูแลชีวิตของเขาในปัจจุบันหรือในอนาคต
เขามีสิทธิจะเก็บภาษีในพื้นที่ ให้เขามีสิทธิหลายอย่างที่จะดูแลตัวเอง เขาควรจะมีตำรวจที่จะดูแลเรื่องการจราจรเขาเอง เขามีสิทธิเรียกร้องว่าแบบฉบับของการพัฒนาที่สภาพัฒน์ทำอย่าไปใช้ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคเหนือ หรือแม้ปริมณฑล ใช้ฉบับเดียวกันไม่ได้
คนไทยต้องหัดเป็นคนใจกว้างมากกว่านี้ อย่าถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ตัวเองพูดถูกหมด ฟังให้มากขึ้น แล้วใส่ใจให้มากขึ้น แล้วเห็นใจคนอื่นมากขึ้น จะต้องเป็นสังคมที่เราแคร์คนอื่น ไม่ใช่ทุกอย่างมองที่ตัวเรา ไม่ใช่ทุกอย่างมองที่สถานะของเราหรือมาจากมุมมองของเรา
นายอานันท์ไม่สามารถเป็นตัวแทนประเทศไทยได้ นายอานันท์ไม่สามารถเป็นตัวแทนกรุงเทพฯได้ ผมอยู่ในกรุงเทพฯ อยู่ในกระจุกส่วนหนึ่งของผม ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีการแชร์กัน แบ่งปันกัน แม้แต่ความหวังเราต้องแชร์กัน ผลประโยชน์ก็ต้องแชร์กัน ไม่มีหรอกครับ ยืนอยู่โดดเดียว แล้วเวลาแชร์ไม่ใช่แชร์กันเฉพาะ2-3 จังหวัด หรือเฉพาะภูมิภาค แต่ต้องแชร์ทั่วประเทศ
@การคืนอำนาจให้ประชาชนเกิดขึ้นได้ภายใต้กระบวนการปฏิรูปในรัฐบาลรัฐประหารได้หรือไม่
ประเทศที่เขามีระบบกษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ ญี่ปุ่น หรือประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย เช่น จีน เขาแบ่งปันอำนาจให้กับท้องถิ่นมากกว่าใครๆ
ผมถามนักกฎหมาย เราไปเขียนว่าเมืองไทยเป็นรัฐเดี่ยว แบ่งแยกไม่ได้ เราเอาตามตัวนั้นเลย เรามีระบอบกษัตริย์ มีความเชิดชู มีความจงรักภักดี แต่มันคนละเรื่องกัน
ญี่ปุ่นก็มีระบบกษัตริย์ อังกฤษก็มี แล้วประเทศอย่างจีน เขากระจายอำนาจอย่างจริงจัง รัฐบาลท้องถิ่นเขามีอำนาจหลายอย่าง นี่เป็นเทรนด์ของโลก ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น หรือเป็นคนไทย สุดท้าย ความอยากเป็นอิสระ ความอยากจะเป็นนายตัวเอง ความอยากมีความคิดเป็นจองตนเอง คุณไปห้ามไม่ได้
@คุณอานันท์เคยเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ได้บทเรียนอะไรจากการทำงานรอบนั้นบ้าง และคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับนักปฏิรูปที่กำลังทำเรื่องปฏิรูปในปัจจุบันอย่างไร
ผมมีบทบาทน้อยที่สุด แต่ผมทำหน้าที่ประธาน แต่ก็โชคดีได้เชิญให้ผู้รู้ทั้งหลาย สุดท้ายผมเรียนรู้มากกว่าใคร เพราะผมเริ่มจากไม่รู้อะไรเลย แต่รายงานที่เราเขียนขึ้นมา ผมยกความดีให้อาจารย์เสกสรรค์(ประเสริฐกุล) อาจารย์นิธิ(เอียวศรีวงศ์) และอีกหลายคน ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการดึงประเด็นหรือปัญหาของประเทศชาติเขามาสู่สาธารณะ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าเมื่อทำรายงานเสร็จแล้ว ไม่ค่อยมีใครเอาใจใส่เท่าไหร่
เราตั้งเป้าให้เป็นรายงานที่ไม่ได้เสนอรัฐบาล แต่เสนอพรรคการเมืองทุกพรรค ก็ไม่มีพรรคการเมืองไหนสนใจ ผมไม่ได้บอกว่าเป็นรายงานหรือเป็นข้อเสนอที่ดีที่สุด แต่ผมเสียใจที่ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนสนใจเลย คณะรัฐศาสตร์ หรือเศรษฐศาสตร์ แม้แต่สถาบันทีดีอาร์ไอก็ไม่ทราบว่าสนใจมากน้อยแค่ไหน
อันนี้คือสิ่งที่น่าเสียใจ เพราะว่านี่คือแบบฉบับที่เอาไปพูดกันได้ แต่ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนหรือสถาบันไหนจัดเวทีเสวนาหรือคุยเรื่องรายงาน ถกเถียงกัน เปลี่ยนแปลงปรับปรุง เพราะรายงานเสนอหลายอย่างในสิ่งที่คิดว่าน่าจะต้องมีการคิดต่อไป ไม่ว่าจะเรื่องการคืนอำนาจให้กับท้องถิ่น หรือการจัดสรรงบประมาณใหม่ เมืองไทยเป็นเมืองที่โอกาสมีมาก แต่เราไม่เคยทำสิ่งเหล่านี้
อันหนึ่งที่สังคมไทยต้องเข้าใจว่า ปัญหาต่างๆที่เราประสบอยู่ ปฏิรูปแล้วทุกอย่างจะเรียบร้อย ผมว่าปฏิรูปเป็นกระบวนการ ไม่มีวันจบ แก้ไปอีก10 ก็ต้องแก้ใหม่ ฉันใดฉันนั้น ร่างรัฐธรรมนูญดีอย่างไร แก้ปัญหาเมืองไทย หรือมีเลือกตั้งแล้วจะแก้ปัญหาเมืองไทย ประชาธิปไตย การเลือกตั้ง เป็นส่วนหนึ่ง รัฐธรรมนูญก็ส่วนหนึ่ง
แต่มีอีกหลายเรื่อง สิทธิในการออกความเห็น สิทธิในการชุมนุม ความอิสระของศาลยุติธรรม ความอิสระของสื่อ และอีกหลายประการ ฉะนั้นเราต้องทำพร้อมๆกันไป อย่าไปคิดว่า 1 ปีเริ่มทำปฏิรูปแล้วทุกอย่างจะเรียบร้อย ไม่เรียบร้อยหรอก เพราะยังไม่ได้แก้ปัญหารากเหง้า
ปัญหารากเหง้าคือความเหลื่อมล้ำ ปัญหารากเหง้าคือความไม่ยุติธรรมในสังคม ซึ่งผมไม่ได้หมายถึงอุดมการณ์ทางการเมือง แต่ผมหมายถึงข้อเท็จจริงว่ามันเหลื่อมล้ำจริงๆ และไม่ยุติธรรมจริงๆ