กมธ.ยกร่าง
เลขาฯ กรรมาธิการวิสามัญ สปช. รวม 22 คณะ หารือกำหนดแนวทางทำงาน ขณะ กปปส. เตรียมพบ กมธ.ยกร่าง รธน. เช้านี้
บรรยากาศที่รัฐสภา วันนี้ งดการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่การรักษาความปลอดภัยทั้งในและนอกอาคารรัฐสภา ยังเป็นไปอย่างเข้มงวดรัดกุม ซึ่งสัปดาห์นี้ สมาชิก สปช. ในฐานะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ ได้เดินหน้าทำงานอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในเวลา 14.00 น. จะประชุมร่วมกันครั้งแรกของเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา 18 คณะ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ 4 คณะ รวมเป็น 22 คณะ เพื่อชี้แจงจัดทำข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดย นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตาม และให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงการพิจารณาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมาธิการวิสามัญทุกคณะ
ขณะเดียวกัน ช่วงเช้าเวลา 10.00 น. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นัดประชุม โดยเชิญกลุ่ม กปปส. เข้าให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อการจัดทำร่างรัฐ
ธรรมนูญ
--------------
"พลเดช" เผย คืบงาน กมธ.การมีส่วนร่วมฯ ตั้ง 3 อนุฯ ลงพื้นที่ดำเนินงาน รับฟังเสียง ปชช. ขณะพรุ่งนี้ ประชุมครั้งที่ 2
น.พ.พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะรองประธานกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความเห็นของประชาชน เปิดเผย สำนักข่าว INN โดยกล่าวถึงความคืบ
หน้าในการดำเนินงานว่า กรรมาธิการชุดดังกล่าว มีการดำเนินงานอย่างรวดเร็ว และมีการวางระบบ แผน รวมถึงทรัพยากรในการขับเคลื่อนแล้ว ซึ่งกลไกในการทำงานคือ อนุกรรมาธิการระดับพื้นที่
77 จังหวัด 77 คณะ ทั้งนี้ จะมีการเปิดเวทีให้ความคิดเห็นทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูป 18 ประเด็น และดำเนินการจนถึงปี 2558 ส่วนที่ 2 คือ อนุกรรมาธิการเชิงประเด็น ดูแลนักศึกษา หรือ
เครือข่ายต่าง ๆ ที่อยากจะมีเวทีให้การแสดงออกทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ ขณะส่วนที่ 3 เป็นอนุกรรมาธิการสื่อสาร รณรงค์ ผ่านโทรทัศน์ วิทยุ โซเชียลมีเดีย และเปิดโอกาสนัก
เรียนทั่วประเทศ ส่งเรียงความประกวด เพื่อให้มีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในสัปดาห์หน้า
อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวครั้งที่ 2 เพื่อกำหนดบุคคลรับผิดชอบในเวทีของนักศึกษามหาวิทยาลัย หรือหากต้องการเปิดเวทีในสัปดาห์นี้ ก็สามารถติดต่อ
โดยตรงถึง น.พ.พลเดช ได้ทันที
-----------------
ถาวร" นำ 4 แกนนำ กปปส. เข้าให้ข้อเสนอแนะ กมธ.ยกร่าง รธน. ไม่ขัดข้องทำประชามติ ปัดตอบเคลื่อนไหวหากมีนิรโทษกรรม
นายถาวร เสนเนียม พร้อมด้วยแกนนำ กปปส. อาทิ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ นายสุริยะใส กตะศิลา นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ เป็นตัวแทนจากภาคประชาชนที่ต่อสู้เพื่อให้เกิด
การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง เข้าให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว
โดย นายเอกนัฏ เปิดเผยว่า การเชิญมาให้คำแนะนำวันนี้ไม่ใช่เพียงพิธีกรรม แต่หวังว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะสามารถปฏิบัติได้จริงและเป็นรัฐธรรมนูญแห่งการปฏิรูปประเทศ ซึ่งหลักสำคัญต้อง
ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การถ่วงดุล 3 อำนาจหลัก รวมถึงการลดผูกขาดรวมศูนย์อำนาจเป็นการกระจายอำนาจ
ทั้งนี้ ไม่ขัดข้องเรื่องการทำประชามติ แต่ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นมากที่สุด เพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับ และหากมีประเด็นเรื่องการนิรโทษกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ขอ
ตอบว่าจะออกมาเคลื่อนไหวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประชาชน
อย่างไรก็ตาม จะตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 คณะ เพื่อติดตามงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
---------
กปปส. เสนอ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ยกเลิก ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ เพิ่มโทษทุจริตเลือกตั้ง
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ 1 ใน 5 แกนนำ กปปส. กล่าวว่า รายละเอียดที่จะเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นการรวมความเห็นจากภาคประชาชนที่นำมาสรุปในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ อาทิ การขจัดทุจริตคอร์รัปชัน และการซื้อสิทธิ์ขายเสียงทุกระดับ เพิ่มโทษผู้ทุจริตเลือกตั้ง ตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต การโอนอำนาจให้ใบเหลือง ใบแดง ของคณะ
กรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. กลับไปไว้ที่องค์กรศาล พร้อมยกเลิกระบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพื่อป้องกันนายทุนเข้ามาครอบงำกิจการของพรรค ส่วนสมาชิกวุฒิสภา ควรมาจากการสรรทุกสาขา
อาชีพ เพื่อความหลากหลายในการกลั่นกรองกฎหมายต่าง ๆ และการเสนอให้ปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ ไม่ให้มีศูนย์รวมอยู่ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ขณะเดียวกัน ไม่ขอแสดงความเห็นว่า รัฐบาลควรยกเลิกกฎอัยการหรือไม่ โดยถือเป็นอำนาจของรัฐบาลในการตัดสินใจ
-------------------
"เลิศรัตน์" ย้ำกฎอัยการศึกไร้อุปสรรคทำงาน หลังได้กรอบยกร่าง รธน. จ่อเชิญนักการเมืองร่วมอีกครั้ง ม.ค. นี้
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ย้ำว่า การประกาศใช้กฎอัยการศึก ไม่มีปัญหาการทำงานกับคณะอนุกรรมาธิการและส่วนข้าราชการในพื้นที่ ซึ่งการจัดตั้งเวที
รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนนั้น จะมีทั้งหมด 10 เวทีทั่วประเทศ แต่ละเวทีใช้วิธีการสุ่มเลือกรายชื่อเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น เวทีละ 100 คน โดยแบ่งสัดส่วนสุ่มจากประชาชน 80 คน และ
เชิญองค์กรภาคเอกชนและภาคประชาชน 20 คน เบื้องต้น จะดำเนินการเดือนธันวาคมนี้
นอกจากนี้ พล.อ.เลิศรัตน์ ระบุว่า หลังจากมีกรอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในช่วงต้นเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์แล้ว จะเชิญพรรคการเมืองมาให้ข้อคิดเห็นอีกครั้งหนึ่ง ส่วนความคืบหน้าในการเชิญ
พรรคเพื่อไทยยังอยู่ในการประสานงาน เบื้องต้นคาดว่า ช่วงต้นเดือนธันวาคม สำหรับพรรคการเมืองที่ส่งแบบสอบถาม มีบางส่วนส่งแบบสอบถามกลับมาบ้างแล้ว
///////////
สปช.
"จุมพล" เตรียมเปิดสัมมนา ปฏิรูปสื่อใน รธน.ฉบับใหม่ พร้อมเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าแสดงความเห็น
ที่งานสัมมนา “ประเด็นปฏิรูปสื่อในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” จัดโดย คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ทั้งนี้ นายจุมพล รอดคำดี ประธานคณะ
กรรมาธิการฯ ทำหน้าที่เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งในการจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันแสดงความคิดและข้อเสนอแนะต่อการปฏิรูปการสื่อมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้เชิญ
หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาแสดงความคิดเห็น และแบ่งเป็น 2 กลุ่ม อาทิ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายกสมาคมโฆณาแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากชมรมผู้ประกอบการ
โทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน ผู้แทนจากสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากผู้ให้บริการสำรวจความนิยม ผู้แทนจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ผู้แทนจาก กสทช.
และผู้แทนจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
อย่างไรก็ตาม งานเริ่มจะตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.30 น. ที่ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข 215-216
--------------
"จุมพล" ระบุ ต้องเปิดเวทีรับฟังความเห็นปฏิรูปสื่อที่เป็นประโยชน์ต่อ รธน. เพื่อใช้ในระยะยาวต่อไป
บรรยากาศที่งานสัมมนา “ประเด็นปฏิรูปสื่อในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ที่จัดโดย คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ โดย นายจุมพล รอดคำดี
ในฐานะประธานกรรมาธิการฯ กล่าวว่า ในขณะนี้ สังคมมีการตั้งถามถึงสิทธิเสรีภาพของสื่ออย่างแท้จริง จึงต้องการให้ทุกมาช่วยกันหาทางออกร่วมกัน เพื่อนำบรรจุเข้าในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่ง
ต้องเริ่มจากการปฏิรูปสื่อเพื่อให้ครอบคลุมทุกระดับ ทั้งนี้ ในการเปิดรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะต้องคำนึงถึงประเด็นสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน
และนำมาวิเคราะห์เพื่อให้สามารถใช้ได้ในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ต้องการให้ทุกคนช่วยกันแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต
------------------
นายก ส.นักข่าวฯ มอง สื่อควรมีองค์กรเดียวเพื่อควบคุม ขณะ "จำนรรค์" อยากให้ควบคุมลงโทษกันเอง โดยใช้ กม. เข้าช่วย
บรรยากาศที่งานสัมมนา “ประเด็นปฏิรูปสื่อในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ซึ่งเป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็น กลุ่มที่ 1 โดยการ Focus group ในการแสดงความคิดเห็นขององค์กรต่าง ๆ ซึ่ง นายเทพชัย
หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า สื่อควรมีองค์กรเพื่อควบคุมสื่อทุกประเภทเพียง 1 องค์กร ไม่ต้องมีการแบ่งแยกประเภทสื่อ รวมถึงต้องมีการจดทะเบียนสื่อมวลชน หรือ
ลายเส้น และสื่อต้องมีการกำกับดูแลกันเอง โดยมีกฎหมายที่ชัดเจน
ขณะที่ นางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กล่าวว่า ไม่ต้องการให้รัฐหรือองค์กรเข้ามาลงโทษสื่อ แต่ต้องการให้มีการควบคุมและลงโทษกันเอง
โดยมีการใช้กฎหมายเข้ามาช่วย
อย่างไรก็ตาม องค์กรส่วนใหญ่ต้องการให้มีการควบคุมกับกำกับดูแลกันเอง ซึ่งต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ และควรสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนพร้อมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูแล
---------------------
กมธ.ปฏิรูปสื่อฯ เร่งรับฟังความเห็น ต้น ธ.ค. ต้องได้กรอบทำงานชัด ก่อนเสนอ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ
นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ คนที่ 1 กล่าวว่า สำหรับการทำ Focus group นั้น ต้องการให้
ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นเพื่อที่จะนำเข้าไปเสนอในชั้นอนุกรรมาธิการภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นการสรุปกรอบแนวทางการทำงานเบื้องต้นในต้นเดือนธันวาคม
ทั้งนี้ จะนำเข้าที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในวันที่ 15 - 17 ธ.ค. เพื่อรายงานกรอบการทำของคณะกรรมาธิการทั้ง 18 คณะ และส่งกรอบแนวทางที่ชัดเจนให้คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ
ในวันที่ 19 ธ.ค.
นอกจากนี้ นายวสันต์ กล่าวว่า อยากให้มองอนาคตข้างหน้าและอะไรที่เป็นประเด็นสำคัญต่อการปฏิรูปสื่อสารมวลชน บนพื้นฐานความรับผิดชอบและสิทธิเสรีภาพ
----------------
"สมบัติ" ระบุ ต้องแก้เสถียรภาพการเมืองด่วนที่สุด ไม่กดดันกรอบเวลา ขณะเห็นด้วย ทำประชามติ รธน.
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านการเมือง เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า อนุกรรมาธิการ 4 คณะ ด้านการเมือง
ประกอบด้วย 1. โครงสร้างการเมือง องค์กรอิสระ 2. ปฏิรูประบบพรรคการเมือง 3. ปฏิรูปกลไกและระบบการเลือกตั้ง และ 4. ปฏิรูปกลไกการเรียนรู้ การปรองดอง และการมีส่วนร่วม
ของประชาชน โดยทั้งนี้ 4 คณะ จะต้องทำความเห็นเบื้องต้นเสร็จในวันที่ 28 พฤศจิกายน 57 ก่อนเสนอกรรมาธิการชุดใหญ่ต่อไป
ทั้งนี้ แนวทางที่ต้องปฏิรูปมากที่สุดในการด้านเมือง คือ ความไม่มีเสถียรภาพ และส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ระบบรัฐสภามีปัญหาหลายประการที่ต้องแก้ไข
อย่างไรก็ตาม ไม่กดดันต่อกรอบเวลาที่จำกัด เพราะวันนี้ถึงเวลาปฏิรูปแล้ว ทุกคนทุกฝ่ายต้องช่วยกันปฏิรูปเพื่อให้ก้าวเดินไปข้างหน้า โดยต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ และสามารถแก้
ปัญหาเดิมได้ ส่วนตัวเห็นด้วยกับการทำประชามติรัฐธรรมนูญ เพราะมาจากความเห็นชอบประชาชน
---------------
"เทียนฉาย" บอกไม่ห่วงคนต้าน ย้ำเวทีรับฟังความเห็นไม่ขัดกฎอัยการศึก คาดลุยงานก่อนกลางเดือนหน้าได้
นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวถึงการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นนักศึกษาตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หรือ คสช. ดำริให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและสถาบันพระปกเกล้าจัดเวทีขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมรูปแบบการทำงาน โดยมั่นใจว่า จะไม่ขัดต่อการประกาศใช้กฎอัยการศึก เพราะมีทั้งหน่วย
งานด้านความมั่นคง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ คาดว่า จะสามารถเปิดรับฟังความเห็นได้ก่อนกลางเดือนธันวาคมนี้ ส่วนกรณีที่ยังคงมีกลุ่มต่าง ๆ ออกมาเคลื่อนไหวแสดงเชิง
สัญลักษณ์ ไม่รู้สึกกังวล เพราะกลุ่มนักศึกษาเคลื่อนไหวมานานแล้ว จึงไม่กระทบกับบรรยากาศการปฏิรูป
---------
ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง ยื่นหนังสือถึง "เทียนฉาย" ขอผลักดันกฎหมายภาคประชาชน 4 ฉบับ
นายไมตรี จงไกรจักร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปการสังคมและการเมือง หรือ คปสม. เข้ายื่นหนังสือ ต่อ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. เพื่อขอ
ผลักดันกฎหมายภาคประชาชน จำนวน 4 ฉบับ ประกอบไปด้วย ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า ร่างพระราชบัญญัติธนาคารที่ดิน ร่างพระราชบัญญัติสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและ
ทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบโฉนดชุมชน และร่างพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม
เนื่องจากที่ผ่านมาการกระจายถือครองที่ดินนั้น ยังไม่เข้าถึงบุคคลที่ยากไร้ ดังนั้น ทางเครือข่ายฯ จึงรวบรวมความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศเพื่อร่วมยกร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวขึ้นมาเสนอต่อ
สปช.ในครั้งนี้
ขณะเดียวกัน นายสุรพงษ์ พรมเท้า ในนามเครือข่ายสมัชชาสุขภาพเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ยังได้เสนอรายงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเสนอหลักการ ทิศทาง และแนวทางที่สำคัญต่อการ
ปฏิรูประบบสุขภาพ โดยต้องการให้ข้อเสนอดังกล่าวบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย
///////////
สนช.
วิป สนช. เริ่มประชุม พิจารณา ร่าง พ.ร.บ. เตรียมนำเข้าที่ประชุมใหญ่ ไร้วาระหารือปมถอดถอน
การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิป สนช. ที่มี นายพรเพชร วิชิตชลชัย เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีวาระการประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ
ที่คณะรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เช่น ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริต ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย รวมถึงจะมีการหารือมาตรการเร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล
ส่วนการพิจารณาสำนวนถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และ นายนิคม ไวรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. และการ
พิจารณาสำนวนถอนถอด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีทุจริตโครงการจำนำข้าวนั้น จะยังไม่มีการหารือ เนื่องจากต้องรอมติจากที่ประชุม สนช. ว่าจะเห็นชอบให้เปิดแถลงคดีเมื่อ
ใด โดยจะมีการประชุม สนช. ในวันพฤหัสบดีที่ 27 และวันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายนนี้ ในเวลา 10.00 น.
/////////
นายกฯ
นายกฯ เตรียมเป็น ปธ.ประชุม ครม. ก่อนนำถก BOI ช่วงบ่าย ขณะ ทูตกัมพูชา-ญี่ปุ่น จ่อเข้าพบ "พล.อ.ประวิตร"
สำหรับวาระงานของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ในวันนี้ เวลาประมาณ 09.00 น. จะเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่
ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้น ในเวลา 14.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ตึกสันติไมตรี
ส่วนวาระงานอื่นที่น่าสนใจนั้น ในเวลาประมาณ 14.00 น. นางอีต โซเฟีย เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชา ประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
ห้องรับรอง ตึกนารีสโมสร หลังจากนั้น พล.อ.ประวิตร จะให้การต้อนรับ นายชิเกะคะสุ ซะโตะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ที่จะเข้าเยี่ยมคาราวะเช่นเดียวกัน
----------
นายกฯ เข้าทำเนียบแล้ว ก่อนนำประชุม ครม. ขณะ "หมอประพันธ์" นำดารา นักแสดง ติดเข็มโบว์แดง เนื่องในวันเอดส์โลก
ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุดในช่วงนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เดินทางเข้ามาที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว เพื่อเตรียม
ป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ห้อง 501 ตึกบัญชาการ 1 โดยมีบรรดารองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทยอยเดินทางเข้ามาที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเข้า
ร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันนี้ อย่างพร้อมเพรียง ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดรอบพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ก่อนการประชุม น.พ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย นำคณะศิลปิน ดารา นักแสดงเข้าพบ นายกรัฐมนตรี เพื่อติดเข็มโบว์แดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การ
รณรงค์ เนื่องในวันเอดส์โลก
------------
นายกฯ รู้แล้ว มธ. มีเสวนาปฏิรูป เตรียมจัดให้เปิดเวทีรับฟังความเห็น ขออย่าตำหนิ คสช. - รบ. ขู่นักการเมืองพูดทำแตกแยก มีขั้นตอนจัดการ คดีตำรวจรับส่วย เป็นตามกระบวนการ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวว่า กรณีที่มีการเสวนาเรื่องการปฏิรูปประเทศ ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวานนี้ ส่วนตัวได้
รับฟังและได้ให้ไปรับข้อเสนอมา
อย่างไรก็ตาม การจัดสัมมนาต่าง ๆ ต้องไม่เป็นการตำหนิ คสช. หรือ รัฐบาล พร้อมเปิดเผยว่าเตรียมที่จะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดของนักศึกษาและนักวิชาการด้วย ขณะเดียวกันยังระบุว่า คสช.
ได้ติดตามการแสดงความคิดเห็นของนักการเมือง ซึ่งหากออกมาแสดงความคิดเห็นให้เกิดความขัดแย้ง คสช. ก็มีมาตรการที่จะดำเนินการต่อไป เช่น ไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศ
หรือห้ามทำธุรกรรมทางการเงิน
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีที่การจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงในข้อหาเรียกรับสินบนนั้น เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมายและจะมีการขยายผลหาผู้เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งหากใคร
กระทำความผิดก็จะต้องถูกดำเนินคดี ทั้งนี้ คาดหวังว่าปัญหาการเรียกรับส่วยจะลดลง ส่วนเรื่องการปฏิรูปตำรวจนั้นมีอยู่ในขั้นตอนการปฏิรูปประเทศอยู่แล้ว
------------
รมว.ยธ. จ่อชงนายกฯ ทำ MOU อสส. มท. สตช. ลดเหลื่อมล้ำ เป็นของขวัญ ปชช. กำชับทุกหน่วยทำงานตรงไปตรงมา
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยสำนักข่าว INN ว่า การแสดงออกของคนเห็นต่าง ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดได้ตลอด
งทาง คสช. ก็ต้องมีการพูดคุยทำความเข้าใจ ทั้งนี้ ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ จะรายงานต่อตรงนายกรัฐมนตรี ว่า กระทรวงยุติธรรม จะมีการทำ MOU กับสำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงมหาดไทย และ
สตช. ให้บุคลากรงานยุติธรรมเข้าถึงหมู่บ้าน เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ และเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน
ขณะที่ กรณีการจับกุม พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง นั้น เป็นหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) อยู่แล้ว ทั้งนี้ มีการสั่งการทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง
ของกระทรวงยุติธรรม ติดตามการดำเนินงานอยู่ตลอด เพื่อเข้าช่วยเหลือสนับสนุนหากมีการร้องขอ และมอบหมายให้ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ติดตามเส้นทาง
การเงิน นอกจากนี้ ขอให้ระมัดระวังการแทรกแซง หรือก้าวก่ายการทำงานด้วย
อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้หน่วยงานปฏิบัติงานอย่างตรงไปตรงมา และต้องสามารถตอบคำถามที่สังคมตั้งขึ้นได้ ว่าในคดีเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นประชาชน หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ การดำเนินการ
ต้องเหมือนกัน
----------
ชาวสวนยาง ร้องนายกฯ ถอน พ.ร.บ.การยางฯ ออกจาก สนช. ขณะ "อำนวย" ยัน มี 16 มาตรการช่วยเหลือ
แนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง นำโดย นายสุนทร รักษ์รงค์ ผู้ประสานงาน เดินทางมาที่ประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ถอนร่างพระราช
บัญญัติการยางแห่งประเทศไทย ออกจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจาก พ.ร.บ.นี้ ร่างโดยนักวิชาการ ข้าราชการ และนักการเมือง โดยเกษตรกรชาวสวนยางไม่มีส่วน
ร่วมในการยกร่าง ซึ่งหากกฎหมายฉบับนี้ผ่าน สนช.และประกาศบังคับใช้ จะสร้างความเสียหายต่อเกษตรกรชาวสวนยางอย่างมาก ดังนั้น จึงขอให้รัฐบาลดำเนินการถอนร่าง พ.ร.บ.การยางแห่ง
ประเทศไทย ออกจากการพิจารณาของ สนช. ทันที ทั้งนี้ หากรัฐบาลไม่ถอน พ.ร.บ.ดังกล่าว ภายในวันที่ 25 ธันวาคม นี้ จะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องต่อไป
ด้าน นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นผู้รับหนังสือ กล่าวว่า จะมีมาตรการช่วยเหลือชาวสวนยางใน 16 มาตรการเดิม และจะส่งเสริมให้ชาวสวนยาง
ประกอบอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้นอกเหนือจากการทำสวนยาง ขณะเดียวกัน จะให้ชาวสวนยางเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการในการแก้ไขกฎหมายตาม พ.ร.บ.การยางแห่ง
ประเทศไทยฉบับนี้ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปร่วมกัน
----------
"ครรชิต" หน.สำนักงาน รมว.กษ. เป็นลมหมดสติ ขณะรอแจง ครม. หามส่ง ร.พ.รามาฯ - ช่วงบ่าย แถลงผลประชุม
ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด ยังคงอยู่ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งผ่านไปกว่า 2 ชั่วโมงแล้ว ขณะเดียวกัน นายครรชิต สุขเสถียร หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ เป็นลมหมดสติระหว่างรอเข้าชี้แจงกับคณะรัฐมนตรี ที่ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้นำตัวส่งโรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ส่วนบรรยากาศโดยรอบทำเนียบรัฐบาล การรักษาความปลอดภัย ยังคงเป็นไปด้วยความเข้มงวด มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำตามจุดตรวจต่าง ๆ ทั้งนี้ ภายหลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี เสร็จเรียบ
ร้อยแล้ว ทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ให้รับทราบในเวลา 14.00 น.
//////////
คสช.
"พล.อ.อุดมเดช" บินร่วมประชุม ผบ.ทบ.อาเซียน กระชับสัมพันธ์กองทัพ พร้อมหารือพหุภาคี - ทวิภาคี สร้างความมั่นคงภูมิภาค
ที่อาคารวีไอพี ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก เดินทางไปร่วมการประชุมผู้บัญชาการทหารบกกลุ่มประเทศอาเซียน
ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 25 - 29 พ.ย. 2557 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งเป็นการประชุมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้บัญชาการทหารบกมิตรประเทศ ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิด
เห็นและกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยมีกองทัพบกของประเทศอาเซียน หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ และมีหัวข้อการประชุมตามสถานการณ์ของภูมิภาคและสถานการณ์โลกในขณะนั้น
โดยในครั้งนี้มีหัวข้อหลักในการประชุม คือ “การเสริมสร้างการทำงานร่วมกันของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน ในการจัดการกับภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ ”ซึ่ง ผู้บัญชาการทหารบกไทย
จะได้มีโอกาสแสดงวิสัยทัศน์ในที่ประชุม พร้อมทั้งได้พบปะหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทั้งในแบบพหุภาคี และทวิภาคี กับผู้บัญชาการทหารบกกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อร่วมกันเสริมสร้าง
ความมั่นคงในภูมิภาคให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
-----------------
พล.อ.ประวิตร ต้อนรับเอกอัคราชทูตกัมพูชา-ญี่ปุ่น หารือกระชับความสัมพันธ์ ชี้ เป็นเรื่องดี นายกฯ เปิดเวทีรับฟังความเห็น
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นางอีต โซเฟีย เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชา ประจำประเทศไทย และ นายชิเกะคะสุ
ชะโตะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ในการเยี่ยมคารวะเพื่อแนะนำตัวหลังจากที่ได้เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ พลเอกประวิตร กล่าวว่า การเข้าเยี่ยมในวันนี้เพื่อเป็นการแนะนำตัว พูดคุย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ เพื่อในอนาคตจะได้มีโอกาสในการร่วมมือกัน ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีจะจัดเวทีให้นัก
ศึกษาได้แสดงความคิดเห็นทางการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ดี และเชื่อว่านักศึกษาจะให้ความสนใจเข้าร่วมเวทีดังกล่าว
//////////
กลุ่มต้าน
ผบ.ทบ. รับ ยังมีกลุ่มต้าน ยัน คุมได้ อาจเชิญคนคิดต่างพูดคุย ขอทุกฝ่ายช่วยสร้างเข้าใจ ย้ำ เดินหน้าโรดแมป
พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปร่วมประชุมผู้บัญชาการทหารบกอาเซียน โดยยอมรับว่า ยังมีกลุ่มที่มีความคิด
ต่างต่อต้านการทำงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. และรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะมีผู้คิดต่าง แต่อยากให้ดูที่ผลโพลจากสำนักต่าง ๆ ที่ได้สำรวจออกมาว่าประชาชนส่วนใหญ่ พอ
ใจและยังให้การสนับสนุน คสช. และรัฐบาลในการทำงาน แต่ทั้งนี้สถานการณ์ยังไม่มีอะไรมาก ยังสามารถควบคุมได้ ส่วนผู้ที่คิดต่างนั้น ก็จะเร่งทำความเข้าใจพูดคุย และอาจจะมีการเรียกเชิญตัว
บุคคลมาพูดคุยบ้าง แต่ยืนยัน ทางเจ้าหน้าที่จะปฏิบัติต่อด้วยอย่างให้เกียรติ
พร้อมกันนี้ พล.อ.อุดมเดช ยังได้ขอให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ช่วยกันสร้างความเข้าใจกับผู้คิดต่าง เพื่อจะได้ให้ประเทศเดินหน้าไปตามโรดแมป ที่ทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
และหัวหน้า คสช. ได้วางไว้
------------------
ทนาย บ.ก.ลายจุด ขอศาลวินิจฉัยให้คดีอยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ขณะอัยการยื่นค้าน พร้อมเลื่อนพิจารณาเป็น 23 ม.ค. 58
ความเคลื่อนไหวที่กรมพระธรรมนูญ หรือศาลทหารกรุงเทพฯ ล่าสุด ภายหลัง นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง เดินทางมาเพื่อนัดตรวจพยานนัดแรกวันนี้ ใน 2
ข้อกล่าวหา คือ ความผิดอาญา มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดง
ความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต และ ในข้อกระทำผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ทั้งนี้ ทีมทนายความได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยให้การพิจารณาคดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขัดต่อรัฐธรรมนูญชั่วคราว
พ.ศ. 2557 เพราะประเทศไทยเป็นภาคีประเทศสมาชิกของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ไอซีซีพีอาร์) ซึ่งในมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญกำหนดให้พันธะ
กรณีที่ไทยมีอยู่นั้นต้องผูกพันด้วย ขณะที่อัยการได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวศาลจึงเลื่อนการพิจารณาไปในวันที่ 23 มกราคม 2558เวลา 09.00 น. เพื่อให้อัยการยื่นคำร้องคัดค้านมาเป็นเอกสารและ
พิจารณาตรวจหลักฐานต่อไป
--------------------
จนท.สารสนเทศฯ มศว เผย มีใบปลิวต้านจริง แต่ไม่ทราบใครทำ ขณะมหาวิทยาลัย ไม่ห้ามนิสิต แสดงออกทางความคิด
เจ้าหน้าที่ศูนย์สารสนเทศและประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประสานมิตร กล่าวเปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ยืนยันว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เวลาประมาณ 09.00 น. มีการ
โปรยใบปลิวการเรียกร้องให้หยุดคุกคามประชาชนและนักศึกษาที่คิดต่าง ลงมาจากอาคารจริง แต่ไม่มีใครทราบว่าผู้ใดเป็นคนโปรย เนื่องจากเป็นอาคารเรียนรวม ที่มีทั้งนิสิตของมหาวิทยาลัยและ
บุคคลภายนอกสามารถเข้าออกได้ โดยใบปลิวมีประมาณ 10-20 ใบ และผู้ที่เก็บได้คือแม่บ้าน ซึ่งจากการสอบถามนิสิต มศว ก็ไม่มีใครพบเห็นใบปลิว
ขณะที่ ผศ.อมรพงศ์ สุธรรมรักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มศว เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบในช่วงเวลา 13.00 น. ไม่พบใบปลิวแต่อย่างใด โดยให้เจ้าหน้าที่เข้าสำรวจพื้นที่บริเวณอาคารเรียน
รวม ที่มีกระแสข่าวว่า มีการโปรยใบปลิวดังกล่าวภายในมหาวิทยาลัยแล้ว
ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัย ไม่ได้มีการห้ามการแสดงออกทางความคิดเห็นของนิสิต เนื่องจากเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ต้องอยู่ในกรอบที่เหมาะสม
-----------------
พล.อ.ประยุทธ์ พร้อมใช้ ม.44 รธน.ชั่วคราว สั่งให้ อปท.ที่หมดวาระรักษาการต่อ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่จะหมดวาระลง กว่า
1,000 ตำแหน่ง ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่นั้น พร้อมจะใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเดิมที่จะหมดวาระรักษาการต่อ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
นอกจากนี้ การลงพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์ นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามปัญหาและการแก้ไขของเจ้าหน้าที่ แม้จะมีการแสดงความคิดเห็นต่างบ้างแต่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และขอให้
เข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่กรณีการปรับย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยืนยันว่าไม่ได้ปรับ เป็นเพียงการเรียกมาเพื่อตักเตือนและขอให้มองว่าเป็นการปรับเพื่อให้การทำงานมีความ
กระตือรือร้นและมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มข้นมากขึ้น
ด้าน พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ได้กล่าวแสดงความห่วงใยสถานการณ์ในภาคใต้เนื่องจากมีงบประมาณลงไปในพื้นที่ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ตรงจุดได้ จึง
มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนตามแนวทาง และจะให้มีการบูรณาการให้ชัดเจนภายใน 3 เดือน หากยังไม่มีการดำเนินการให้ดีขึ้นอาจมีการปรับโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น ๆ
------------------
ก.วัฒนธรรม เสนอ จัด 9 กิจกรรม เป็นของขวัญปีใหม่ให้ ปชช. ครม. เห็นชอบหลักการร่างกฎหมายระยะเวลา 1 ปี
พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม เสนอ 9 กิจกรรม
เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน อาทิ เปิดอุทยานประวัติศาสตร์ 9 แห่งเพื่อให้ประชาชนเข้าชมฟรี ไหว้พระ
9 วัด สวดมนต์ข้ามปี จัดกระเช้าปีใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์ไทยท้องถิ่น และชวนชุมชนปั่นจักรยาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบหลักการร่างกฎหมายระยะเวลา 1 ปี ซึ่งมีทั้งกฎหมายที่คงค้างและอยู่ระหว่างดำเนิน
การแต่ให้ปรับปรุงเพื่อให้มีความทันสมัยและกำหนดขอบเขตให้มีความชัดเจน โดยร่างกฎหมายที่คงค้างมี 163 ฉบับ
ซึ่งจะแบ่งการพิจารณาเป็นรายไตรมาส คือ ไตรมาสแรกพิจารณา 96 ฉบับ เช่น ร่าง พ.ร.บ.นครแม่สอด ไตรมาสที่
2 จำนวน 25 ฉบับ เช่น ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไตรมาสที่ 3 จำนวน 21 ฉบับ เช่น พ.ร.บ.พลังงาน
ทดแทน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น