PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

นายกฯแจงเหตุเปิดสัมปทาน....

"พล.อ.ประยุทธ์” ร่ายยาว ยันจำเป็นต้องเปิดสัมปทานปิโตรเลียม อ้าง ปี 61 พลังงานหมดประเทศแน่ ชี้ผู้รับสัมปทานก็เสี่ยงขุดเจอไม่คุ้ม จี้ “รสนา” เอาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาหักล้างกัน แนะ ไปถกในสปช. ไม่งั้นคุบกันไปก็เหมือนเดิม ไม่ฟัง แจง ต้องขึ้น LPG หลังบิดเบือนราคามานาน เผยเหตุ เพราะนักการเมืองไม่กล้าแตะกลัวเสียคะแนน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้ชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ออกไปก่อนว่า ต้องเข้าใจว่าการอนุมัติสัมปทานเป็นเรื่องของกระทรวงพลังงานที่มีหน้าที่ต้องจัดหาแหล่งพลังงานเพื่อให้มีการใช้งานอย่างเพียงพอภายในประเทศ
"ต้องฟังข้อมูลจากส่วนราชการด้วย ถ้าฟังข้างนอกอย่างเดียวคงไม่ได้ ผมฟังทั้งสองทาง เวลามีปัญหาจากทางไหน ผมก็ให้เขาตอบ
ประเด็นสำคัญวันนี้คือต่างก็ไม่ฟังกัน ซึ่งความจริงต้องฟังว่าผิดถูกอย่างไร หากพูดคนละประเด็นอย่างนี้จะไปไม่ได้ "

ประเด็นเปิดสัมปทานปิโตรเลียม 29 แปลงจริงๆ แล้วเป็นสัมปทานเดิมที่กำลังจะหมดอายุและต้องต่ออายุ และที่ต้องต่อสัมปทานในตอนนี้เพราะถ้าจะต่อให้เขาทำ เขาต้องใช้เวลาในการลงทุนเพิ่ม โดยเราต้องให้เวลาเขาถ้าจะให้เขามาลงทุนโดยใช้เวลาเพียงปีเดียวจะไม่ทัน

ขณะนี้เป็นขั้นตอนการอนุมัติให้ไปสำรวจ อาจจะเจอหรือไม่เจอก็ได้ ที่ผ่านมาการเจอน้ำมันมีน้อยมาก และแปลงพวกนี้เป็นแปลงที่เคยสำรวจแล้วไม่เจอ แต่เขาต้องทำต่อ และเขาเองต้องรับความเสี่ยงด้วย ขณะเดียวกัน ถ้าเราจะทำเองก็เจาะไม่ได้ จึงต้องเปิดสัมปทาน"

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เราต้องไปดูเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ให้รัฐว่าเพียงพอคุ้มค่าหรือไม่ แต่จากการฟังข้อมูลที่ได้รับจากส่วนราชการทราบว่ามีน้ำมันปริมาณไม่มาก แต่จำเป็นต้องมีไว้ เพราะแก๊สบ่อเดิมที่เราใช้อยู่จะหมดเกลี้ยงในปี 2561 หากไม่เจาะใหม่เพิ่มเติมไว้ในปี 2561 ต้องซื้อเข้ามาทั้งหมด แต่เรื่องการปรับผลประโยชน์กันอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

"วันนี้เราต้องปรับราคาพลังงานตามราคาน้ำมันที่ซื้อเข้ามาผลิต ช่วงนี้ที่ราคาน้ำมันลดลงได้เพราะราคาข้างนอกลดลง ปัญหามี 2 ตัว คือ ดีเซล และ LPG โดย LPG ราคาต่างมากจากราคาต้นทุนการผลิต ซึ่งต้องไปดูเรื่องของโครงสร้าง ตรงนี้จะปฏิรูปอย่างไรเดี๋ยวไปว่ากันมา

ถามว่า ประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากขึ้นราคา LPG ที่ใช้กันในครัวเรือน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ต้องช่วยกันคิด จริงๆ แล้วไม่อยากปรับราคาขึ้นอยากจะลดทุกอย่าง แต่ราคาที่ผ่านมาบิดเบือนตลอด อย่าไปพูดบริษัทปตท.อะไรนั่นเพราะไม่เกี่ยว ต้องพูดถึงการที่เมื่อเราเอาราคามาจากโรงแก๊ส ราคาบวกภาษีและบวกอะไรต่างๆ มาแล้ว ราคามันต่างกันถึง 6 – 7 บาท และรัฐก็ไปอุดหนุนราคาตรงนี้มาตลอดเพื่อให้ประชาชนไม่เดือดร้อน แต่อย่าลืมว่ามันมีปัญหาตามมา หากราคาปรับขึ้นมากกว่านี้เราจะทำอย่างไร ถ้าเราไม่สามารถให้คนเรียนรู้ว่าราคาจริงอยู่ที่เท่าไรและจะต้องประหยัดกัน

ประเด็นสำคัญมันมีการลักลอบด้วย เราผลิตในประเทศใช้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งลักลอบ ต้องไปไล่กวดกันอีก เพราะเท่ากับเราไปผลิตแก๊สให้เพื่อนบ้านใช้ด้วย ซึ่งเวลานี้เพื่อนบ้านแพงกว่าเรา

เมื่อถามว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่เป็นห่วงเรื่องการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มที่กระทบต่อชาวบ้าน อาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจตามมาในภาพรวม พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แน่นอน มันจะต้องแก้กัน ถ้าเราแก้อย่างเดียวแล้วจบมันไม่ใช่ รัฐบาลต้องไปแก้ทุกอันเพื่อให้เศรษฐกิจและประชาชนอยู่ได้
จากการไปประชุม Asem ที่ ประเทศอิตาลี หลายประเทศมีปัญหาอย่างนี้หมด เรื่องการให้เงินอุดหนุนจากรัฐของหลายประเทกำลังแย่อยู่ แม้กระทั่งในกลุ่มยูโรโซนก็มีปัญหาแบบนี้ เพราะเรื่องการเมืองซึ่งต้องดูแลประชาชนแบบนั้น

เมื่อถามว่า แต่ทางกลุ่มจับตาปฏิรูปพลังงานไทย นำโดยน.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เรียกร้องให้มีการปฏิรูปพลังงานก่อนแล้วค่อยมาดำเนินการเรื่องเปิดสัมปทาน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ผมไม่ต้องไปอธิบายท่าน ท่านไปปฏิรูปของท่านมา ผมพูดไปแล้วว่าถ้าท่านบอกว่าน้ำมันเรามี แต่มีจริงหรือไม่ ในประเทศมีมากเพียงพอหรือไม่ และน้ำมันที่มีกลั่นใช้เฉพาะในประเทศได้หรือไม่ ถ้าได้ก็ต้องตกลง ไปปรับกันตรงนั้น โรงกลั่นทั้งหมดไม่ต้องไปซื้อน้ำมันต่างประเทศ เอาน้ำมันในประเทศมากลั่นให้คนในประเทศใช้ แต่ระหว่างนั้นตรงนี้มันต้องเดิน เพราะเงินมันขึ้นทุกวัน เราใช้น้ำมันวันหนึ่งมหาศาล

เมื่อถามว่า ยืนยันหรือไม่ว่าผลประโยชน์ของรัฐจะไม่มีเปลี่ยน นายกฯ กล่าวว่า “โอ้ย ไม่มีเปลี่ยน เพราะสัมปทานไม่ใช่ว่าเขาขุดแล้วเจอ ที่ผ่านมาเขาขุดแล้วเจอไม่ถึง 1% แค่ 0.5% นี่คือ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ฉะนั้น ถ้าพูดมาไม่มีหลักฐานยืนยันก็ไม่ได้ ต้องเอาหลักฐานมายันกัน เมื่อขุดเจอน้อยก็เอามาใช้ในประเทศได้น้อย เพราะสัมปานเป็นของเขา เมื่อไม่พอก็ต้องไปบวกซื้อเพิ่มนำเข้าเข้ามา และซื้อตามราคาตลาด ต้องแยกประเด็นออกจากกัน และที่จะเปิดสัมปทานใหม่ก็ไม่รู้ว่าเขาจะรับไปทั้งหมดหรือไม่ เพราะเขาเสี่ยง ที่แต่เราได้จากเขาคือ 1.ค่าสัมปทาน 2.จากที่เขาขุดมา 50% นำรายได้เข้ารัฐ แล้วยังมีเรื่องภาษีอะไรอีกเยอะแยะ ซึ่งในสัญญามีไว้อยู่แล้ว และสามารถปรับแก้ได้ แต่ตอนนี้ยังไม่มีอะไรเลย"
ถามว่า แต่ครม.สามารถอนุมัติหรือไม่อนุมัติก็ได้ นายกฯ กล่าวว่า จริงๆ แล้วถ้าด้วยเหตุผลตามวิทยาศาสตร์อย่างไรก็ต้องอนุมัติ เพราะอีก 6 ปีข้างหน้าเราจะขาดพลังงาน บ่อแก๊สที่มีอยู่ในปัจจุบันจะใช้ได้แค่ประมาณปี 2561 วันนี้ถ้าไม่เตรียมการไว้ก่อน ถึงวันนั้นจะทำอย่างไรนั่นคือ สิ่งที่เราต้องรับผิดชอบ อนาคตของพวกเราทั้งวันนี้และวันหน้า ตนจึงบอกว่ามันเป็นปัญหา ขอให้ตามดู จริงแล้วกรอบการอนุมัติต่างๆ เป็นเรื่องของกระทรวงพลังงานที่จะต้องหาแหล่งพลังงานและนำมาให้ครม.รับทราบ วันนี้การเปิดสัมปทานใครจะได้หรือไม่ได้ยังไม่รู้ เพียงแต่เปิดให้เขาสมัครมา
เมื่อถามว่า นอกจากการชี้แจงภาคสื่อ จะชี้แจงเหตุผลความจำเป็นให้ภาคประชาชนเข้าใจอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ก็ใครเรียกร้อง คุณรสนาใช่หรือไม่ เขาพยายามไปพูดแล้วก็ทะเลาะกันทุกที เพราะเขาไม่ฟัง แล้วตนจะต้องทำอย่างไร พูดแล้วเหมือนเดิมไม่รู้จะทำอย่างไร จึงต้องช่วยกันทำอย่างไรให้เขามาฟัง แล้วเอาเหตุผลมาว่ากัน จึงบอกว่าแยกกันให้ออกในเรื่องโครงสร้างของสถานประกอบการทั้งหมดเป็นอย่างไร น้ำมันมีมากน้อยอย่างไร อะไรซื้อเข้าซื้อออก อะไรเป็นปตท. อะไรเป็นรัฐวิสาหกิจ ต้องแยกกันนี่คือ การปฏิรูปพลังงาน คุณรสนาต้องไปว่ากันในสปช. วันนี้ผลผลิตของเดิมจากหลายรัฐบาลที่ผ่านมาเป็นมาอย่างนี้เรามารับตรงท้ายคือ ราคาน้ำมันและราคาแก๊สในวันนี้ ฉะนั้น เราต้องแก้ตรงนี้ให้ได้ก่อนว่าทำอย่างไรให้รัฐบาลไม่ต้องนำเงินไปอุดหนุนตรงนี้เข้าไปอีก
วันนี้อุดหนุนทุกอย่างทั้งข้าว ทั้งน้ำมัน ทั้งแก๊ส ทั้งยางพารา ที่เหลือจะกินอะไรกัน เงินมีเท่านี้ รัฐบาลจึงต้องลงทุนเพื่ออนาคตที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ไม่เช่นนั้นเราจะไม่ทันเขา รายได้จะลดลง ทุกอย่างดรอปหมดทั้งประเทศ ไปไม่ได้
“ยอมรับว่าหนักใจทุกเรื่อง และที่พูดก็ให้รู้ว่าหนักใจ ปวดหัว แต่ก็ต้องทำ ข้อสำคัญคือ ต้องการได้รับความเข้าใจ พูดจากันดีๆ วันนี้ทั่วโลกเขามุ่งสู่การดูแลคนในประเทศให้ได้มากที่สุด หลายประเทศมีปัญหาแต่เขาสงบ ของเราปัญหามันทับซ้อนอยู่ ทั้งเรื่องการเมืองและอะไรต่างๆ เยอะแยะไปหมด นั่นคือสิ่งที่เราต้องแก้ไปพร้อมกัน
รัฐบาลนี้มีปัญหาให้แก้เยอะ หลายเรื่อง เป็นปัญหาเก่าทั้งสิ้น ไม่ใช่ปัญหาใหม่ มีมานานแล้วแต่ไม่ได้รับการแก้ไข เพราะทำอะไรก็เดือดร้อนคนจน เรื่องค่าแก๊สทำไมผมจะไม่สงสารผมก็รู้เขามีรายได้วันละเท่าไร แต่มันต้องปรับตรงนี้เพื่อให้มีรายได้กลับเข้ามา และรัฐบาลจะดูแลอีกทางด้วย” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า การปรับขึ้นราคาแก๊ส เพดานสูงสุดอยู่ที่เท่าไร นายกฯ กล่าวว่า ตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 20 กว่าบาท เท่าที่จำได้ตัวเลขครั้งแรกต่างกันประมาณ 8 บาท โดยที่รัฐบาลเข้าไปอุดหนุนและเงินอุดหนุนก็มาจากการเก็บเงินภาษีน้ำมันต่างๆ มาโปะเข้าไป เงินกองทุนน้ำมันถึงได้หมดลง วันนี้พอปรับกองทุนน้ำมันก็กลับมา เดี๋ยวต้องมาดูอีกทีว่าจะใช้อย่างไร ที่ผ่านมามันบิดเบือน แล้วคนเราต้องเรียนรู้ว่าจะประหยัดน้ำมันและแก๊สกันอย่างไร เพราะเราค่อนข้างจะใช้กันอย่างเสรี ประเทศไทยถือว่าใช้กันมา
ถามว่า ได้เตรียมมาตรการรองรับราคาสินค้าที่จะปรับสูงขึ้นตามราคาแก๊สและน้ำมันอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้คุยกับกระทรวงพาณิชย์ตลอดว่าทำอย่างไรว่าจะขอร้องภาคนั้นภาคนี้ได้หรือไม่ เพราะพอปรับราคาน้ำมันกับแก๊สแต่ละพวกก็มีการเรียกร้องกันขึ้นมาอีก แล้วจะให้ทำอย่างไร ต้องช่วยกัน ไม่ใช่พอตรงนี้กระดิกภาคขนส่งก็ขึ้น ขึ้นกันใหญ่โตไปหมด
" ผมถามว่าขาดทุนกำไรกันหน่อยได้หรือไม่ ขอกันแค่นี้ ไม่ใช่จะเอากำไรเท่าเดิม ถ้าปล่อยให้ไปอย่างนี้ปัญหาจะเกิดกับรัฐ ผมไม่อยากไปรบกับใครทั้งสิ้น ยิ่งประชาชนด้วยยิ่งสงสารและเห็นใจ ทั้งพี่น้องเกษตรกรชาวนาผู้มีรายได้น้อย ต้องหาเช้ากินค่ำ เขาเดือดร้อน ผมยู่กับเขามาก่อน ไม่ใช่เป็นรัฐบาลแล้วไม่สนใจใครเลย"
อย่างเรื่องภาษีที่พูดกันว่าเป็นการรีดภาษีคนจนนั้นไม่ใช่ ที่ผ่านมาเขาไม่ทำเพราะเขาทำแล้วเกรงว่าจะส่งผลกระทบทางการเมือง แต่เราจำเป็นต้องทำเพื่อวางมาตรฐานประเทศให้ไปได้ในวันข้างหน้า ไม่เช่นนั้นเราจะล้ม
เมื่อถามอีกว่า ห่วงว่าจะกระทบต่อการจัดเก็บภาษีหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เก็บไม่ได้ก็ไม่เก็บ ก็ปรับ เพราะปรับได้หมด ครม.ต้องดูว่าฟื้นตัวหรือไม่อย่างไร แล้วต้องทำอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมามีการชะลอการจัดเก็บภาษี ถ้าสถานการณ์มันแย่สามารถชะลอการจัดเก็บภาษีได้ รัฐบาลต้องติดตามและเอาใจใส่ วันนี้รัฐบาลนึกถึงคนข้างล่างมากที่สุด มีทั้งปัญหาเก่า ปัญหาใหม่ และปัญหาในอนาคต ทุกวันนี้รัฐบาลไม่ได้ทำสบาย ต้องแก้ปัญหาทั้งหมด

คานอำนาจ!!! จีนจับมือ 21 ประเทศ ตั้งธนาคารเอเซียแห่งใหม่!!

Cr:ทีนิวส์
รัฐบาลจีนจับมือกับอีก 21 ประเทศในภูมิภาค จัดตั้งธนาคารนานาชาติเอเซียเพื่อเพื่อส่งเสิรมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศที่ขาดแคลน

วันนี้(24 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวต่างประเทศรายงานว่า รัฐบาลจีนและอีก 21 ประเทศในภูมิภาคเอเซีย รวมถึงประเทศไทย ได้ลงนามในสัญญาจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งให้ของเอเซีย ณ ศาลาประชาคมในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

โดยรัฐบาลจีนได้จัดสรรเงินทุนในการก่อตั้งธนาคารราว 50,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งธนาคารแห่งนี้ มีเป้าหมายในการส่งเสริมการพัฒนาโครงพื้นฐานในด้านการก่อสร้างเส้นทางและระบบขนส่ง แหล่งพลังงาน รวมถึงเครือข่ายโทรคมนาคม ให้กับประเทศกำลังพัฒนาในเอเซีย

การจัดตั้งธนาคารดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าจีน กำลังผลักดันการลงทุนในภูมิภาค ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงกับธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ธนาคารพัฒนาเอเชีย ซึ่งมีญี่ปุ่นและชาติตะวันตกเป็นผู้กุมอำนาจ

ทั้งนี้ มีหลายชาติ ซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐเช่น ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย ไม่ได้ร่วมลงนามด้วย

ุคำนูน :สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21

เปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ครั้งนี้เป็นเรื่องยากเรื่องหนึ่งเท่านั้นที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก่อนหน้าทำไม่สำเร็จ ต้องชลอไว้ 

ยังมีเรื่องยากอีกเรื่องเกี่ยวเนื่องกันที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก่อนหน้าหลายชุดจาก 2 ขั้วทำไม่สำเร็จเช่นกัน 

นั่นคือการเจรจาตกลงกับกัมพูชาปัญหาเขตแดนทางทะเลที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2515 - 2516 นับแต่วันที่กัมพูชาประกาศเส้นไหล่ทวีปที่มีลักษณะละเมิดอธิปไตยทะเลอาณาเขตของเกาะกูด และรัฐบาลทหารของไทยยุคนั้นไม่ยอมรับโดยประกาศเส้นไหล่ทวีปของเราเองออกมา 

เพราะสัมปทานรอบที่ 21 นี้มีสัมปทานในอ่าวไทยรวมอยู่ด้วย 6 แปลง พื้นที่ 11,800 ตารางกิโลเมตร 

ดูด้วยสายตาคร่าว ๆ จากภาพจะพบว่าอยู่ในพื้นที่ที่กัมพูชาอ้างสิทธิด้วย 

ตราบใดที่ยังเจรจาไม่สำเร็จผู้รับสัมปทานรอบนี้และรอบเก่าที่ได้สัมปทานไปแล้วก็ยังเข้าไปดำเนินการไม่ได้อยู่ดี

โปรดดูภาพแผนที่แปลงสัมปทานแนบประกาศกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติล่าสุดเมื่อไม่กี่วันมานี้ กับเอกสารแนบเอ็มโอยู 2544 ที่ครม.ยุคพรรคประชาธิปัตย์มีมติให้ดำเนินการยกเลิกเมื่อปี 2552 แต่ยังไม่ได้ยกเลิกจริง

ถ้ารัฐบาลคสช.ทำเรื่องยากที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งทำไม่สำเร็จทั้ง 2 เรื่องนี้สำเร็จ จะถือเป็นผลงานที่ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์แน่นอน !!

คำนูณ สิทธิสมาน:เมษาหน้า..เดือด!

เมษาหน้า..เดือด!

โดย คำนูณ สิทธิสมาน 19 ตุลาคม 2557 15:41 น.  

ความขัดแย้งในประเด็นสำคัญที่ว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะสามารถถอดถอน 2 อดีตประธานสภาฯ ผู้ที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลว่ากระทำผิดตามรัฐธรรมนูญ 2550 หลายบทหลายมาตราที่ยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่นั้น เกี่ยวข้องกับอนาคตทางการเมืองของนักการเมืองคนสำคัญจำนวนมาก เพราะไม่เพียงแต่ 2 อดีตประธานสภาฯ เท่านั้น ยังจะมีสำนวนอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงตามมา แล้วยังมีสำนวนอดีต ส.ส.และ ส.ว.อีกนับร้อย การตัดสินใจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติใน 2 คดีแรกจึงมีความสำคัญยิ่ง
     
       เพราะแม้ทั้งหมดจะพ้นจากตำแหน่งทางการเมืองที่ดำรงอยู่ไปแล้วก็จริง แต่หากถูกถอดถอน จะมีโทษทางการเมืองพ่วงเข้ามาอีกหนึ่ง วุฒิสภาชุดปี 2551 – 2557 จึงวางบรรทัดฐานไว้ว่าแม้ผู้ถูกถอดถอนจะพ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็จะต้องดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อไป โทษทางการเมืองที่ว่านั้นก็คือ
     
       “เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี”
     
       ก็หมายความจะไม่มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีสิทธิเป็นรัฐมนตรี ไม่มีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรี เหมือนนักการเมืองที่โดนโทษนี้จากเหตุที่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบ ที่โด่งดังมากก็คือกลุ่มที่สื่อมวลชนเรียกว่ากลุ่มบ้านเลขที่ 111 กับบ้านเลขที่ 109 ที่ประสบเคราะห์กรรมจากคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญในปี 2550 และ 2551 ที่บัดนี้พ้นระยะเวลาตัดสิทธิไปแล้วนั่นแหละ
     
       แต่ที่สำคัญกว่าคือวันนี้โทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีแนวโน้มที่จะส่งผล “ตลอดชีวิต” ไม่ใช่แค่ 5 ปี!
     
       และมีแนวโน้มจะส่งผลย้อนหลังไปยังนักการเมืองกลุ่มบ้านเลขที่ 111 และ 109 ด้วย!!
     
       เพราะผลของอนุมาตรา 4 หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่าวงเล็บ 4 ในมาตรา 8, 20 และ 35 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เรื่องนี้ผมเคยบอกเล่าไว้ให้รับรู้กันแล้วตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้ในช่วงต้นๆ
     
       รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศนี้ที่มีบทบัญญัติระบุลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติไว้ในมาตรา 8 (4) ว่า
     
       “เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” 
     
       ไม่เคยมีบทบัญญัติเช่นนี้มาก่อนนับตั้งแต่มีบทบัญญัติว่าด้วยการยุบพรรคและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งขึ้นมาในรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ไม่ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 หรือ 2540
     
       ไม่ใช่แค่ลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเท่านั้น ยังโยงไปเป็นลักษณะต้องห้ามของการเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วยตามมาตรา 20 (4)
     
        “ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8” 
     
       คำว่า “ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8” ก็หมายความรวมถึงมาตรา 8 (4) ด้วย
     
       ผลทางการเมืองที่เกิดขึ้นทันตาเห็นของมาตรา 8 (4) และมาตรา 20 (4) ก็คือทำให้ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ไม่ได้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งๆ ที่ได้ช่วยงาน คสช.ด้านเศรษฐกิจมาตั้งแต่ต้น ก็เลยต้องแต่งตั้งท่านเป็น คสช.ในภายหลัง และยังได้ยินมาว่าเคยมีแนวความคิดที่จะให้นายพินิจ จารุสมบัติเข้ามาร่วมคณะรัฐมนตรีด้วย ก็ต้องล้มเลิกไปเพราะขาดคุณสมบัติจาก 2 มาตรานี้
     
       แม้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 จะบังคับใช้ชั่วคราวก็จริง แต่แนวโน้มบทบัญญัตินี้จะตกทอดไปถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่มีกำหนดเสร็จภายในไม่เกิน 319 วันหลังจากวันที่ 21 ตุลาคม 2557 นี้
     
       เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ยังเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศนี้อีกเช่นกันที่กำหนดกรอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เอาไว้ถึง 10 ประการในมาตรา 35 ที่เรียกกันว่าบัญญัติ 10 ประการ ลองเปิดอ่านดูนะครับ หนักหนาสาหัสทั้งนั้น
     
       เรื่องที่เรากำลังพูดถึงวันนี้อยู่อนุมาตรา 4 ของมาตรา 35 ครับ
     
       มาตรา 35 (4) ระบุไว้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะต้องมี
     
        “กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทําการอันทําให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดํารงตําแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด” 
     
       เขียนไว้หนักแน่นแบบนี้ทำให้ยังมองไม่เห็นชัดเจนเลยว่าจะเป็นอื่นไปได้อย่างไร ที่มาตรา 8 (4) ลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกสภาฯ ที่จะเชื่อมโยงไปเป็นลักษณะต้องห้ามของการเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี “เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” จะไม่อยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร 2558
     
       แม้ว่าจะพอมีความเป็นไปได้ที่ไม่จะเขียนบทบัญญัติให้ชัดเจนขึ้นไม่กวาดรวมผู้ที่เคยเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งทุกคน แต่จำแนกแยกแยะเฉพาะผู้ที่มีเจตนาทุจริตโดยตัวเองจริงๆ ไม่ใช่เพราะผลพวงจากการดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมือง แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเพราะขณะนี้ยังไม่มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
     
       วันนี้ก็ต้องคาดการณ์ความเป็นไปได้ไว้ก่อนว่าบทบัญญัติมาตรา 8 (4) และ 20 (4) จะตกทอดไปอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรตามนัยกรอบบังคับมาตรา 35 (4)
     
       แค่สภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ถอดถอนใครอีกเลย นักการเมืองกลุ่ม 111 และ 109 ก็หมดสิทธิตลอดชีวิตกันหมดแล้ว
     
       ยิ่งถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ถอดถอนเพิ่มอีก นักการเมืองก็จะโดนตัดสิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นอีกจำนวนไม่น้อย
     
       ถึงต้องคัดค้านกันเต็มที่
     
       อันที่จริงกรอบตามมาตรา 35 (4) ตรงคำว่า “คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย...” หากรวมถึงคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดขององค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช.และกกต.ด้วยแล้ว ยังจะตัดสิทธินักการเมืองไปได้อีกเป็นร้อยทีเดียว รวมทั้ง 2 อดีตประธานสภาฯ และอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนล่าสุด โดยไม่จำเป็นต้องมีการถอดถอนในสภานิติบัญญัติแห่งชาติเลยด้วยซ้ำ แต่ประเด็นนี้ไว้ว่ากันทีหลังให้มีรูปธรรมชัดเจนก่อนดีกว่า
     
       ดังนั้นนอกจากคัดค้านอำนาจถอดถอนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว
     
       จึงยังมีแนวโน้มสูงมากที่นักการเมืองกลุ่มใหญ่จะคัดค้านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรตามกรอบมาตรา 35
     
       ไม่ต้องเป็นหมอดูก็รู้ได้ว่าการเมืองในช่วง 319 วันของกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2557 ไปจะทวีความตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ
     
       โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2558 ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรร่างแรกปรากฏโฉม

สิริอัญญา :ระวัง! จุดไฟเผาบ้านตัวเอง

ระวัง! จุดไฟเผาบ้านตัวเอง
โดย สิริอัญญา
วันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2557

สนช. ได้ลงมติเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2557 ให้ยกเว้นข้อบังคับการประชุม สนช. เกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่จะต้องดำเนินการภายใน 30 วัน นับแต่วันรับเรื่องจาก ป.ป.ช. และให้เลื่อนการพิจารณาเรื่องถอดถอนออกไปไม่มีกำหนด

จึงเป็นว่าโดยมติดังกล่าว เรื่องที่ ป.ป.ช. ส่งมายัง สนช. ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ปฏิบัติหน้าที่วุฒิสภาต้องถูกหมกเอาไว้โดยไม่มีกำหนด

ไม่รู้ว่าเป็นความคิดความเห็นของใคร? หรือว่าเป็นของคุณโม่งที่แนะนำให้ สนช. กลุ่มหนึ่งไปยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า สนช. ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินหรือไม่?

แต่ดูแล้วก็น่าห่วงใยว่าความคิดความเห็นแบบนั้นจะกลายเป็นการจุดไฟเผาบ้านตัวเอง และกำลังเดินตามรอยรัฐบาลทุนสามานย์ ที่คิดเห็นว่าอำนาจที่มีอยู่เหนือกฎหมาย และไม่ยำเกรงกฎหมาย จึงจำต้องสาธยายให้ฟังสักครั้งหนึ่ง

สนช. มีอำนาจและมีสิทธิ์ที่จะยกเว้นการใช้ข้อบังคับการประชุมข้อไหนก็ตามได้แต่ที่ประชุมจะเห็นสมควร ซึ่งถ้ามีการยกเว้นการใช้ข้อบังคับใดที่ประชุมก็สามารถกระทำการโดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อบังคับนั้น แต่ต้องเข้าใจว่านั่นเป็นเรื่องภายในของ สนช.เท่านั้น มิได้ผลไปลบล้างกฎหมายอื่นใด และไม่ได้มีเอกสิทธิ์ที่จะไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายใด ๆ เลย

การที่ สนช. ลงมติว่าให้ยกเว้นข้อบังคับที่จะต้องดำเนินการพิจารณาเรื่องถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ ป.ป.ช. ส่งมา เพื่อจะได้ไม่ต้องดำเนินการภายใน 30 วัน มีผลเพียงทำให้การไม่พิจารณาดำเนินการไม่ขัดต่อข้อบังคับของ สนช. เท่านั้น ไม่มีผลไปยกเว้นหรือลบล้างกฎหมายอื่น โดยเฉพาะกฎหมาย ป.ป.ช. ซึ่งยังมีผลใช้บังคับและมีศักดิ์ชั้นของกฎหมายสูงกว่าข้อบังคับการประชุม สนช.

ตามกฎหมาย ป.ป.ช. นั้น เมื่อ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว จะดำเนินการต่อไปในสองทิศทางคือ

ทิศทางแรก ถ้าการชี้มูลความผิดนั้นเป็นความผิดทางอาญา ก็ต้องส่งเรื่องให้อัยการดำเนินการฟ้องคดีอาญาต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และถ้าศาลฎีการับเรื่อง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที

ทิศทางที่สอง เป็นทิศทางบังคับว่าเมื่อมีการชี้มูลความผิดของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว ป.ป.ช. จะต้องส่งเรื่องไปยังวุฒิสภาเพื่อพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ซึ่งเป็นอำนาจตามกฎหมาย ป.ป.ช. ไม่เกี่ยวกับการบัญญัติหรือไม่บัญญัติเรื่องการถอดถอนไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งบัดนี้ สนช. คือผู้ทำหน้าที่วุฒิสภาตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ จึงมีหน้าที่ตามกฎหมาย ต้องพิจารณาดำเนินการเรื่องถอดถอนภายใน 30 วัน จะไม่ทำหรือทำช้ากว่าเวลาที่กฎหมาย ป.ป.ช. กำหนด ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

ซึ่ง ป.ป.ช. มีอำนาจทำการไต่สวนและชี้มูลความผิดเพื่อส่งเรื่องไปดำเนินคดีอาญาต่อศาลฎีกาได้ และมีอำนาจส่งเรื่องไปให้วุฒิสภาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง สนช. ได้ด้วย

ก็แลเมื่อ สนช. ไม่มีอำนาจที่จะลบล้างกฎหมาย ป.ป.ช. จึงมีหน้าที่ต้องพิจารณาดำเนินการเรื่องถอดถอนภายใน 30 วัน นับแต่วันรับเรื่องจาก ป.ป.ช. และจะครบกำหนดลงในต้นเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ส่วนจะเป็นวันไหนก็ไปดูกันเอาเอง

ดังนั้นถ้าเมื่อครบกำหนด 30 วัน ที่ ป.ป.ช. ส่งเรื่องไปยัง สนช. แล้ว หาก สนช. ยังหมกเรื่องไว้ต่อไปตามมติการประชุม สนช. เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2557 ก็อาจมีผู้ร้องต่อ ป.ป.ช. หรือ ป.ป.ช. อาจหยิบยกเรื่องขึ้นทำการพิจารณาไต่สวนเองว่า สนช. ที่มีส่วนลงมติไม่ให้ดำเนินการพิจารณาเรื่องถอดถอนว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

ก็ลองคิดกันดูว่าถ้ามีการไต่สวนดังกล่าวเกิดขึ้น ก็จะก่อเกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้นทันที

ข้อแรก จะมีพวกฉวยโอกาสทางการเมืองกล่าวหา คสช. ว่าปล่อยให้มีการหมกเม็ดในรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อปกป้องนักการเมืองที่กระทำความผิด และ สนช. ส่วนใหญ่ก็แต่งตั้งมาจาก คสช. มีหรือที่จะไม่ติเตียนมาถึง คสช. ด้วย

ข้อสอง ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ป.ป.ช. นั้นก็คงได้เห็นกันมาแล้ว ว่ารัฐบาลทักษิณ รัฐบาลสมชาย รัฐบาลสมัคร รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ว่ามีอำนาจขนาดไหน ก็ล้มครืนลงด้วยความศักดิ์สิทธิ์แห่งกฎหมายทั้งสิ้น แล้วจะเดินตามรอยแบบนั้นอีกหรือ? เพราะแค่ ป.ป.ช. ตั้งเรื่องไต่สวนเท่านั้น เครดิต คสช. และรัฐบาลจะกระทบมากและน้อยประการใด ก็คาดคิดเห็นได้ไม่ยาก

ข้อสาม หากเหตุการณ์ล่วงไปถึงชั้นศาลฎีการับคดี และ สนช. ค่อนสภาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือถูกจำคุก ตอนนั้นแหละอะไรจะเกิดขึ้น? ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ในบ้านเมืองก็จะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเพิ่มความบอบช้ำและทำให้การยึดอำนาจครั้งนี้เสียของโดยสิ้นเชิง

หรือถ้าจะมีการอาศัยเสียงข้างมากลงมติว่า สนช. ไม่มีอำนาจพิจารณาถอดถอนนักการเมือง ก็เป็นอันว่าการดำรงอยู่ของ ป.ป.ช. ต่อไปนี้มีแต่เปลืองข้าวสุด เสียข้าวสาร ผลาญภาษีอย่างเดียว เพราะถึงจะไต่สวนอะไรไปก็ไม่มีใครมีอำนาจถอดถอนได้!

พิจารณาตรองดูโดยแยบคายเถิดว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเป็นประโยชน์ใด และเป็นประโยชน์กับใคร และจะมีผลทำให้การยึดอำนาจครั้งนี้เสียของหรือไม่?

"บิ๊กจิ๋ว" เปิดใจครั้งแรก เตือนรปห. มักเริ่มที่ดอกไม้แต่จบด้วยก้อนหิน ชม "บิ๊กตู่" เสียสละ

"บิ๊กจิ๋ว" เปิดใจครั้งแรก เตือนรปห. มักเริ่มที่ดอกไม้แต่จบด้วยก้อนหิน ชม "บิ๊กตู่" เสียสละ 

วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 19:04:46 น

"พล.อ.ชวลิต" ชี้ทั้งดีใจทั้งห่วงการทำรัฐประหารครั้งนี้เพราะการทำรัฐประหารมักจะเริ่มด้วยดอกไม้แต่จบลงด้วยก้อนหินชม"บิ๊กตู่" เสียสละ-ต้องให้โอกาส แนะ ในกองทัพมีคนดีอีกมหาศาล เลือกใช้ให้ดี และทำเฉพาะเรื่องที่จำเป็น

 

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแก้ปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้ ว่า ปี 2475 คณะราษฎรได้ยึดอำนาจการปกครองจากสถาบันกษัตริย์ ตอนนั้นเกิดความเข้าใจผิดมากคณะราษฎรคิดว่าการยึดอำนาจการปกครองแล้วจะเปลี่ยนมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหากคณะราษฎรศึกษาจะรู้ว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและเศรษฐกิจขณะนั้นทุกคนคิดไปว่าจะทำให้มีรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนได้ปกครองตนเองซึ่งความจริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้นรัฐธรรมนูญไม่ได้สร้างประชาธิปไตย

แต่รัฐธรรมนูญเป็นบันทึกเอกสารเรื่องธรรมนูญแห่งรัฐเป็นเอกสารที่บักทึกการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยเพื่อเป็นหลักให้ลูกหลานแต่รัฐธรรมนูญไม่ได้สร้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนี่คือสิ่งที่ต้องตระหนักสิ่งที่จะสร้างประชาธิปไตยคือนโยบายง่ายๆที่ไม่ได้ยุ่งยากเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้การปกครองระบอบประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชนซึ่งจะเกิดขึ้นได้โดยประชาชนเพื่อประชาชน

พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า วันนี้อาจจะมีผู้สงสัยว่าเหตุใดการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่เรากำลังดำเนินการอยู่นี่จึงสับสนอลหม่าน ทำไมไม่เหมือนประเทศอื่นที่เขาทำกันได้ง่ายๆ หรือบางคนอาจจะถามว่าทำไมไม่ใช้การปกครองแบบเมืองจีนเล่า หารู้ไม่ว่า จะเป็นการปกครองแบบไหนก็แล้วแต่

สิ่งสุดท้ายที่ต้องการคือผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชน และค่อยๆปรับ ค่อยๆเปลี่ยนสิ่งนี้โดยประชาชนเอง นี่คือสิ่งที่เราต้องเข้าใจ อย่าไปคิดว่ารัฐธรรมนูญคือสิ่งที่เป็นประชาธิปไตย ตนเกรงอยู่อย่างเดียวว่าวงจรการดำเนินงานจะกลับไปสู่สิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้วในการยึดอำนาจของพี่น้องทหาร เป็นห่วง แต่ก็ดีใจที่รัฐบาลชุดนี้ได้เสียสละมา เพราะการทำรัฐประหารมักจะเริ่มด้วยดอกไม้แต่จบลงด้วยก้อนหินทุกที

เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวังสิ่งนี้เท่านั้นเอง นี่คือสิ่งที่เรามองเห็นและเราเป็นห่วง อย่าไปทำเรื่องอื่น แต่ขอให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน แก้ไขหนี้สิน ทำให้เขามีรายได้ที่สูงขึ้น ทำให้ผู้คนีความแตกต่างกันน้อยที่สุด คุณทำได้ หัวใจอยู่ตรงนี้

เมื่อถามว่า มองการทำงานและบุคลิกของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อย่างไรบ้าง พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ก็ดี เป็นทหารก็อย่างนี้ไง ทหารก็ต้องเป็นอย่างนี้ คนที่นอนวันละ 2-3 ชั่วโมงนี่ น่าสงสารนะ คนที่เสียสละพี่น้องประชาชนต้องเข้าใจ ต้องเห็นใจ และต้องให้โอกาสเขา แต่ขณะเดียวกันก็ต้องช่วยตักเตือน ทางโน้นก็ต้องฟัง ในกองทัพมีคนดีอีกมหาศาล เลือกใช้ให้ดี และทำเฉพาะเรื่องที่จำเป็น อย่าไปยุ่งกับเรื่องเล็กๆน้อยๆ มอบให้เป็นอำนาจของประชาชนไป ให้ประชาชนทำของเขาเอง ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มีกฎหมายออกมาชัดเจนว่ารัฐบาลต้องมอบหรือให้งบประมาณแก่เขา นอกจากนี้ ห่วงเรื่องพลังงาน วันนี้ได้มีการเตรียมการอย่างไรบ้าง ทั้งสังคมก็กำลังจะเป็นสังคมคนแก่ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมาก เงินออมก็จะหมด และจะมีปัญหาเกิดขึ้นในสังคมมากขึ้นอีก

"ช่วยกันเถิดครับ ให้กำลังใจเขา ให้กำลังใจกัน ช่วยกันเสนอแนะ ช่วยกันแนะนำ ขณะเดียวกัน คสช.ก็ต้องเห็นใจและเข้าใจพี่น้องประชาชนด้วย หันหน้าเข้าหากัน ถูกแล้วที่วางหลักการไว้ 2 ข้อ คือ ปรองดอง และปฏิรูป เมื่อก่อนผมใช้คำว่าสันติภาพจากการพัฒนา ซึ่งเหมือนกัน จะทำอะไรก่อนก็ได้ ทำไปพร้อมกันก็ได้ ไม่จำเป็นต้องปฏิรูปแล้วหยุดปรองดอง ทำไปด้วยกันเพียงแต่น้ำหนักของช่วงนี้ให้กับอะไรนั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง" พล.อ.ชวลิต กล่าว

ครม.ไฟเขียวยกเลิกเสียภาษีคณะบุคคล ปิดช่องโหว่เลี่ยงภาษี

data23Oct14ภาษีคณะบุคคล

ครม.ไฟเขียวยกเลิกเสียภาษีคณะบุคคล ปิดช่องโหว่เลี่ยงภาษี
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ 21 ต.ค. 2557 17:29

ครม.เห็นชอบยกเลิกเสียภาษีคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ พร้อมอนุมัติแผนสร้างรถไฟทางคู่ 6 เส้น และเส้นทางรางรถไฟ ขนาด 1.435 ม. 3 เส้น รับทราบสร้างรถไฟฟ้าเขต กทม.-ปริมณฑล ในปี 58 และจัดซื้อเมล์เอ็นจีวีลอตแรก 489 คัน...

เมื่อวันที่ 21 ต.ค. พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ที่ประชุม ครม. (21 ต.ค.) ได้เห็นชอบยกเลิกการเสียภาษีของคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ โดยตามกฎหมายเดิมการเสียภาษีของคณะบุคคล จะยื่นแยกกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นการยื่นซ้ำซ้อน แต่หลังจากนี้จะเปลี่ยนให้สามารถยื่นรวมกันระหว่างรายได้ของคณะบุคคลกับรายได้ของบุคคลธรรมดา เพื่อให้ทราบฐานรายได้ของผู้เสียภาษีอย่างแท้จริง ซึ่งนายกรัฐมนตรี สั่งการให้เร่งการดำเนินการพิจารณากฎหมายดังกล่าวให้เสร็จ ภายในปลายปีนี้ เพื่อเริ่มจัดเก็บภาษีทันปี 2558

ทั้งนี้ เพื่อปิดช่องโหว่ในการวางแผนหลีกเลี่ยงภาษีด้วยการตั้งคณะบุคคลขึ้นมาหลายแห่งในกลุ่มบุคคลเดียว และสร้างค่าใช้จ่ายอันเป็นเท็จในการคำนวณภาษี

นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การคมนาคมขนส่งทั้งระบบ 5 แผนตั้งเป้าใช้งบ 58 วงเงินรวม 68,000 ล้านบาท  อาทิ ให้ดำเนินการจัดสร้างรถไฟทางคู่ โดยจะเริ่มต้นในปี 2558 จำนวน 6 เส้นทาง และเส้นทางรางรถไฟขนาด 1.435 เมตร จำนวน 3 เส้นทาง เช่น กรุงเทพฯ-นครราชสีมา / นครราชสีมา-หนองคาย / และกรุงเทพฯ-ระยอง
         
ส่วนความคืบหน้าในการแก้ปัญหาการจราจรในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ได้เตรียมจัดสร้างรถไฟฟ้า โดยในปี 2558 จะจัดให้มีการประกวดราคารถไฟฟ้า 6 สาย เช่น สายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สายสีส้ม จากศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี สายสีชมพู, แคราย-มีนบุรี เป็นต้น รวมถึงจะมีการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี โดยในลอตแรกจะจัดซื้อจำนวน 489 คัน ภายในเดือน ม.ค. ถึง มี.ค. 2558 และจะทยอยจัดซื้อเพิ่มเติม ทั้งนี้ เชื่อว่าแผนการดังกล่าวจะทำให้ประชาชนที่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล จาก 60% เหลือ 40%.

กรือเซะ-ตากใบ...เกี่ยวอะไรด้วย

กรือเซะ-ตากใบ...เกี่ยวอะไรด้วย

โดย : สิงห์ม่วง twitter@pakorn_kt

มีการตั้งข้อสังเกตกันว่าเหตุใดร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม "ฉบับสุดซอย" จู่ๆ จึงต้องขยายเวลาย้อนหลังกลับไปถึงปี 2547

แถมยังขยายไปแบบไม่เฉพาะเจาะจงเสียด้วย คือไม่ระบุวันที่ให้ชัดเจน ผิดกับกรอบเวลาอีกด้านหนึ่งที่บอกไว้ชัดว่านิรโทษถึงแค่วันที่ 8 ส.ค.2556

O เมื่อจะเอากันถึงปี 2547 ก็ชัดว่าต้องการให้นิรโทษครอบคลุมไปถึง คดีที่ไม่เกี่ยวกับการรัฐประหาร เพราะการ “ยึดอำนาจ” เกิดขึ้นเมื่อ 19 ก.ย.2549 ด้วยเหตุนี้ทำให้หลายคนนึกไปถึงสถานการณ์

ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะปี 2547 มีโศกนาฏกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้น 2 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์ “กรือเซะ” กับ “ตากใบ” เป็นเหตุร้ายในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งคู่ โดยเฉพาะ

เหตุการณ์หลังคือ “ตากใบ” ส่งผลให้ “กลุ่มวาดะห์” และพรรคการเมืองเครือข่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ล้มเหลวในสนามเลือกตั้งชายแดนใต้มาตลอดตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ฟื้น

O หากยังจำกันได้ “กรณีกรือเซะ” คือเหตุการณ์รุนแรงเมื่อวันที่ 28 เม.ย.2547 มีวัยรุ่นและชายฉกรรจ์มุสลิมหลายร้อยคนบุกเข้าโจมตีป้อมจุดตรวจ และโรงพักของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร รวม 11 จุด

ใน จ.ปัตตานี ยะลา และสงขลา แต่จุดใหญ่ที่สุดอยู่ที่ป้อมจุดตรวจกรือเซะ หน้ามัสยิดกรือเซะ อ.เมือง จ.ปัตตานี มีการยิงปะทะกัน และกลุ่มผู้โจมตีส่วนหนึ่งได้หนีเข้าไปหลบในมัสยิด ฝ่ายเจ้าหน้าที่

ได้วางกำลังล้อมอยู่หลายชั่วโมง กระทั่งตอนบ่ายได้สั่งยิงอาวุธหนักเข้าไปด้านในมัสยิด ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 32 ราย ขณะที่เหตุการณ์โจมตีป้อมจุดตรวจในวันนั้นทั้ง 11 จุด มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 108 ราย

O ต่อมารัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นไต่สวนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ โดยมี นายสุจินดา ยงสุนทร เป็นประธาน ผลการไต่สวนสรุปว่าเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติการในวันนั้น (ที่มัส

ยิกรือเซะ) กระทำการเกินสมควรแก่เหตุ

O ขณะที่เหตุการณ์ตากใบ คือเหตุการณ์สลายผู้ชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส และเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมไปควบคุมสอบสวนต่อที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2547

ทำให้มีผู้เสียชีวิตระหว่างการสลายการชุมนุม 7 ราย และระหว่างการเคลื่อนย้ายด้วยการจับถอดเสื้อมัดมือไพล่หลัง แล้วนำไปนอนเรียงซ้อนกันบนรถบรรทุกของทหารอีก 78 ราย รวมมีผู้เสียชีวิตทั้ง

สิ้น 85 ราย

O หลังเกิดเหตุมีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นไต่สวนข้อเท็จจริงเช่นกัน โดยมี นายพิเชต สุนทรพิพิธ เป็นประธาน สรุปว่าการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จนทำให้มีผู้เสียชีวิต

จำนวนมากนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง และขาดความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาระดับต่างๆ ของทหารที่ควบคุมสถานการณ์ในวันนั้น

O ไล่ดูรายชื่อเจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกตำหนิอยู่ในรายงานทั้ง 2 ฉบับ ก็มีเพียงบางคนเท่านั้นที่ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่จะมีความสำคัญถึงขนาดต้องนิรโทษกรรมให้หรือไม่ ดูๆ แล้วก็ไม่น่าเป็นไปได้

เพราะคดีอาญาที่เกิดขึ้นจากทั้งสองเหตุการณ์ อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เพียงแต่ยังอยู่ในอายุความที่ผู้เสียหายหรือญาติจะยื่นฟ้องเอง

O ฉะนั้นเหตุผลที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือ ความต้องการล้างผิดชนิดที่ไม่ให้กรณีกรือเซะ-ตากใบถูกหยิบไปเป็นเงื่อนไขทางการเมืองอีกเลย เพราะต้องไม่ลืมว่าเวลาที่ฝ่ายสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ

เปิดเกมรุกฝ่ายตรงข้ามว่า “สั่งฆ่าประชาชน” ก็มักจะถูกย้อนศรด้วยเหตุการณ์ “กรือเซะ-ตากใบ” และ “ฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ” ทุกครั้ง ถึงกับมีการขู่จะนำไปร้องศาลอาญาระหว่างประเทศกันมาแล้ว

O ถึงนาทีนี้ “สิงห์ม่วง” ก็ยังสรุปไม่ได้ว่าการพยายามนิรโทษย้อนหลังไปถึงปี 2547 มุ่งหวังอะไรกันแน่ แต่ที่แน่ๆ คือความกำกวมแบบนี้ ผู้ที่จะได้ประโยชน์ไปเต็มๆ คือ บรรดาเจ้าหน้าที่รัฐที่

กระทำการละเมิดสิทธิชาวบ้าน และยังมีคดีความค้างอยู่ใน ป.ป.ช. เท่าที่นึกออกเร็วๆ ก็เช่น คดีซ้อมทรมาน อิหม่ามยะผา กาเซ็ง จนเสียชีวิตเมื่อปี 2551

O และที่น่าเป็นห่วงคือนิยามของคำว่า “ความขัดแย้งทางการเมือง” อันเป็นเหตุให้กระทำการต่อสู้ขัดขืนอำนาจรัฐ ซึ่งบัญญัติไว้ไม่ค่อยชัด แต่อยู่ในข่ายได้รับ “นิรโทษสุดซอย” ระวังผู้ก่อความไม่

สงบจะพากันออกมาอ้าง “แรงจูงใจทางการเมือง” ขอร่วมวงล้างผิดด้วยล่ะ...เดี๋ยวมันจะยุ่งกันใหญ่
//////////////////////////////////

วันพุธ ที่ 22 มิถุนายน 2554
...ทักษิณ!!!!... “กรือเซะ ๓๒ ศพ” “ ตากใบ ๗๘ ศพ” “ฆ่าตัดตอนยาเสพติด ๒๕๐๐ ศพ” ใคร??? สั่ง!!!! “ฆ่าประชาชน”      

                  กรือเซะ ๓๒ ศพ  เหตุเกิด ๒๘ เมษายน ๒๕๔๕

                 เหตุการณ์ มีกลุ่มบุคคลประมาณ ๓๒ คน ได้เดินมุ่งไปยังจุดตรวจกรือเซะฝั่งป้อมยาม ขณะเดียวกันนั้น สิบตำรวจเอก อันวาร์ เบ็ญฮาวัน สังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน 444 ซึ่งปฎิ

บัติหน้าที่อยู่ ณ จุดตรวจฯ ได้รับแจ้งเตือนจากทหารจำนวน 3 คนที่วิ่งมาจากจุดตรวจฝั่งสถานีอนามัยว่าให้ระวังกลุ่มบุคคลดังกล่าวด้วย และต่อมาทหารที่เหลืออยู่อีก 1 คน ที่อยู่ ณ จุดตรวจได้ถูก

ฟันทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บ และกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบดังกล่าว ได้โจมตีป้อมตำรวจที่อยู่ใกล้ๆ กับมัสยิดกรือเซะ และได้มีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทหาร ผลจากการปะทะทำให้เจ้าหน้าที่

ตำรวจและทหารเสียชีวิต 3 นาย และบาดเจ็บ 17 นาย
  หลังจากนั้นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทั้ง 32 คน ได้หลบหนี้เข้าไปภายในมัสยิดกรือเซะ พลเอก พัลลภ ปิ่นมณี รองผอ.กอ.รมน.ในขณะนั้น ได้เดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ มีประชาชนประมาณ 2,000-3,000

คน รวมตัวกันอยู่ที่บริเวณมัสยิด เจ้าหน้าที่ปิดล้อมมัสยิดอยู่นานราว ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 14.00 น. ทางตำรวจทหารตัดสินใจบุกเข้าไปในมัสยิด ใช้ระเบิดมือและอาวุธ จนเป็นเหตุให้กลุ่ม

ผู้ก่อความไม่สงบที่อยู่ภายในมัสยิดทั้ง 32 คนเสียชีวิต

                      ผู้มีส่วนเกียวข้อง

          นายกรัฐมนตรี ชื่อ    “ทักษิณ ชินวัตร”                 ปัจจุบัน เจ้าของพรรคเพื่อไทย

          ผู้อำนวยการ กอ. รมน. ชื่อ  “ทักษิณ ชินวัตร”

          รอง กอรมน. และผู้อำนวยเหตุการณ์ ตอนนั้น ชื่อ “พัลลภ ปิ่นมณี”     ปัจจุบันแกนนำพรรคเพื่อไทย คุมการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยภาคอีสานตอนล่าง
---
               คดีตากใบ  มีผู้เสียชีวิต ๘๗ ศพ  เหตุเกิด ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๗

                    เป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ที่เกิดขึ้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เหตุการณ์เริ่มจากการชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ประท้วงที่ก่อ

ความไม่สงบที่ถูกจับกุม ๖ คน และต่อมารัฐได้ใช้มาตรการในการสลายการชุมนุม จนนำไปสู่การจับกุมผู้ประท้วง  และได้ รถบรรทุกผู้ถูกควบคุมขบวนที่สอง(จำนวน 22 คัน หรือ 24 คัน) ซึ่งพบผู้

เสียชีวิต 77 รายใช้เวลาเดินทางจาก สภ.อ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ประมาณ 5 ชั่วโมง และมีผู้เสียชีวิตระหว่างขนส่ง

         การสลายการชุมนุมทำให้ฝ่ายผู้ชุมนุมเสียชีวิต 7 ศพ (5 ศพถูกกระสุนปืนที่บริเวณศีรษะ) เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 14 นาย (1 นายถูกกระสุนปืน) ผู้ชุมนุมถูกควบคุมตัว 1,370 คน   สรุปรวม ผู้

ต้องหา ๘๔  ศพ และสูญหายอีกจำนวนมากกว่า ๖๐ คน

                คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และศาล ได้พิพากษาปิดคดีแล้ว แล้ว ว่า เจ้าหน้าที่ มีความผิด ในการปฏิบัติ หน้าที่บกพร่อง

                      ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

           แม่ทัพภาค ๔ ชื่อ   พล.ท.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี  เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดเมื่อประกาศกฎอัยการศึก ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ขาดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา

            ผบ.ทบ ชื่อ  พล.อ ชัยสิทธิ์ ชินวัตร         ผู้สมัคร ส.ส. เขต พรรคเพื่อไทย จ.ราชบุรี

            นายกรัฐมนตรี ชื่อ  ทักษิณ  ชินวัตร                เจ้าของพรรคเพื่อไทย
---
                    คดีฆ่าตัดตอนยาเสพติด ๒๕๐๐ ศพ  เหตุเกิด๒๕๔๖                                                                                            

        สืบเนื่อง ปัญหายาเสพติด นับเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยในขณะนั้นเยาวชนกว่า ๘ แสนคนติดยาเสพติด ผู้ค้าในประเทศก็มากมายขึ้นทุกที ๆ รัฐบาลโดยการนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

นายกรัฐมนตรี จึงชูนโยบายการปราบปรามยาเสพติดขึ้นมาจัดการกับปัญหานี้อย่างหวังผล และเผด็จการ เพราะนับตั้งแต่มีการปฏิบัติตามมาตรการปราบปรามยาเสพติดเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖

มีผู้ค้ายาเสพติดถูกฆ่ากว่า ๒๐๐๐ ราย และไม่สามารถจับกุมผู้ฆ่าตัดตอนในคดีเหล่านี้ มีหลายกรณี คือคนบริสุทธ์ เช่น

           ๑.) เมื่อ ๒๓ ก.พ.๔๖ ตำรวจบางชันล่อซื้อยาบ้าพ่อของ "น้องฟลุก" อายุ ๙ ขวบ บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์สะพานขาว ขณะนั้นน้องฟลุกนั่งอยู่ในรถ นส.วิภา เกิดรุ่งเรือง นส.วิภาขับรถหนี

ตำรวจยิงสกัด ปรากฏว่าถูกน้องฟลุกตายคาที่ ส่วน นส.วิภาหายตัวไปจนถึงทุกวันนี้

            ๒.) เมื่อ ๒๘ มี.ค.๔๖ นายนิคม-นางกัญญา อุ่นแก้ว สองสามี-ภรรยา ชาวอำเภอครบุรี นครราชสีมา ถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ ได้เงิน ๖ ล้านบาท แต่ตำรวจหาว่าเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด เลย

ถูกยิงตาย และ ป.ป.ส.อายัดทรัพย์ไว้ด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคืนให้ญาติ

           ๓.)เมื่อ ๙ เม.ย.๔๖ ในท้องที่จังหวัดตาก นายสมาน ทองดี ซึ่งไม่เคยมีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่กลับถูกตำรวจยิงตาย โดยพบของกลางยาเสพติดอยู่ในกระเป๋า

           ๔.)เมื่อ ๑๘ พ.ค.๔๖ ท้องที่จังหวัดตากเช่นกัน นายพงษ์เทพและนางอำไพพรรณ รู้คงประเสริฐ ไม่เคยมีประวัติเกี่ยวข้องยาเสพติด แต่ตำรวจยิงตาย และพบยาบ้าในรองเท้าส้นสูงของนาง

อำไพพรรณ รายนี้ ป.ป.ส.ก็อายัดทรัพย์ไว้ กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาคืนให้ญาติ

          ผู้ที่เกี่ยวข้อง

พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิต  เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อดีต เป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย

ปัจจุบันถูตัดสิทธิ์ ทางการเมือง

 นายกรัฐมนตรี  ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร

 คดีความยังไม่สิ้นสุด ยังคงค้าง ไม่มีการดำเนินการต่อ
   
..............................................................................................................................................................

  ส่วนคดีการเสียชีวิตจากการชุมนุม เดือน เมย.- พ.ค ๕๓ รอฟัง ความจริง วันที่ ๒๓ มิ.ย. ๕๔

             ............................................................................................................................

                  หากคนเสื้อแดง ผู้มีเลือดนักประชาธิปไตยชนิดแตะไม่ได้ มีเลือดนักสิทธิมนุษยชนสูง ทำไมไม่เรียกร้อง ให้กลุ่มคนที่เสียชีวิต เหล่านี้ด้วยล่ะ หรือเพียงเพราะว่าคนเหล่านั้น เค้าไม่ได้ใส่

เสื้อสีแดงเหมือนพวกท่าน จึงมิได้สนใจ  หรือเพราะว่าคนเหล่านั้นไม่สนับสนุนพรรคการเมืองเดียวกับพวกท่าน   มิใช่พวกท่านดอกหรือที่เรียกร้องกัน อย่าใช้สองมาตรฐาน แล้วเหตุการณ์เหล่านี้ล่ะ

มาตรฐานของพวกท่านอยู่ที่ไหน ฝากไปถึง “ธิดาแดง” หากยังมีจิตสำนึก ผู้เรียกตัวเองว่าอาจารย์ หากยังมีเลือดของความเป็นครูหลงเหลืออยู่บ้าง ขออย่าทำเพียงเพื่อประจบสอพลอ หาเศษเงินไปวันๆ

หรือเป็นเพียงเพราะว่า คนเหล่านั้น “ ทักษิณ เป็นผู้มีส่วนในการฆ่า”  จึงไม่ผิด

           ณ.เมืองลุง

         ๒๒/๐๖/๒๕๕๔

สถานการณ์ข่าว 24ต.ค.57

"สปช.สมบัติ" มั่นใจ 27 ต.ค. ชัดเจนเรื่องสัดส่วน 29 ต.ค. ได้ครบ 20 กมธ.ยกร่าง รธน. ส่วนตัวขอทำงานด้านปฏิรูป เน้นกระจายอำนาจและการศึกษา

ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า เรื่องสัดส่วนกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ของ สปช. ที่มีจำนวน 20 คน และมีการหารือในคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ชั่วคราว (วิป สปช.) ว่าจะใช้สมาชิก สปช. 15 คน มาจาก 11 ด้าน และ 4 กลุ่มจังหวัด รวมกับุคคลภายนอกอีก 5 คน นั้น ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะมีวิปบางส่วนเสนอให้ใช้ สปช.ทั้งหมด ซึ่งจะต้องนำเข้าที่ประชุมใหญ่ ในวันที่ 27 ต.ค. นี้ ซึ่งเชื่อว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และภายในวันที่ 29 ต.ค. นี้ ก็จะได้ตัวบุคคล ทั้ง 20 คน ครบตามกรอบที่มีการหารือกันอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ศ.ดร.สมบัติ กล่าวว่า เดิมทีส่วนตัวนั้นมีความสนใจไปนั่งใน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ก็ยังอยากทำงานในด้านของการบริหารราชการแผ่นดิน การกระจายอำนาจ รวมถึงการศึกษาด้วย

ประกอบกับ มีบุคคลอื่น ๆ ที่เสนอตัวไปนั่งใน กมธ.ยกร่าง รธน.จำนวนมากแล้ว ก็จะมุ่งมั่นทำงานในด้านปฏิรูปเพียงอย่างเดียว ซึ่งยังไม่ได้มีการหารือว่า สมาชิก สปช. จะนั่งใน กมธ.ปฏิรูปด้านต่าง ๆ ได้กี่คณะ และคาดว่าจะมีความชัดเจนหลังมีการยกร่างข้อบังคับเสร็จต่อไป
----------
"สุรชัย" วิป สนช. หารือคัด กมธ.ยกร่าง รธน. 28 ต.ค. ก่อนนำเข้าที่ประชุมใหญ่เห็นชอบ ส่วนถอดถอน รอสมาชิกศึกษาข้อมูล ก่อนคุยประธานบรรจุวาระใหม่

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ถึงความคืบหน้าในการสรรหากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ได้เปิดให้สมาชิกยื่นความจำนงต่อฝ่ายเลขาของ วิป สนช. จนถึง เวลา 12.00 น. วันที่ 28 ต.ค. นี้ ก่อนที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมของวิป ซึ่งหากมีไม่เกิน 5 คน ก็จะได้รับความเห็นชอบให้ไปทำหน้าที่ดังกล่าวทันที แต่หากมีจำนวนเกินกว่า 5 คน ก็จะต้องมีการคัดเลือกตามขั้นตอน และนำเข้าที่ประชุมใหญ่ ในวันที่ 30-31 ต.ค. รับรองต่อไป ส่วนตัวนั้นไม่ขอไปนั่งใน กมธ.ยกร่าง รธน. เนื่องจากติดภารกิจของ รองประธาน สนช. รวมถึง เคยเป็นคณะกรรมาธิการยกร่าง รธน. ฉบับปี 2550 จึงไม่อยากเข้าไปมีส่วนร่วมในครั้งนี้ เพราะอาจถูกครหาว่าเข้าไปปกป้องผลประโยชน์ ได้

ทั้งนี้ นายสุรชัย กล่าวถึงความคืบหน้า การพิจารณาการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า กำลังอยู่ระหว่างให้สมาชิกศึกษาข้อมูลรายละเอียดรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่วนจะมีการนำกลับเข้าหารือในที่ประชุมอีกครั้งในวันใดนั้น ต้องรอหารือกับประธาน สนช. อีกครั้ง และก็จะมีขั้นตอนการพิจารณาผ่านที่ประชุมวิปอีกครั้งต่อไป
-------------
"วันชัย" แจง สัดส่วน กมธ.ยกร่าง ของ สปช. ต้องรอมติที่ประชุม 27 ต.ค. นี้ วิปเสนอคนนอกเพราะอยากให้โอกาสทุกกลุ่มการเมือง

นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) ชั่วคราว เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า จากการประชุมของวิป ที่มีข้อสรุป เรื่อง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า จะให้เป็นสมาชิก สปช. 15 คน และ บุคคล ภายนอก 5 คน นั้น เนื่องจากเห็นว่าควรเปิดโอกาสให้กลุ่มการเมือง กลุ่มเคลื่นไหว ที่เป็นต้นตอของปัญหาเข้ามามีส่วนร่วมด้วย แต่ก็ไม่ถือเป็นเด็ดขาด เพราะต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ในวันที่ 27 ต.ค. นี้ ซึ่งหากที่ประชุมเห็นชอบก็จะดำเนินการต่อ โดยให้ประธานเป็นผู้ทาบทาม เชื้อเชิญมาทำงาน แต่หากที่ประชุมเห็นว่าต้องเป็น สปช.ทั้งหมด ก็น่าจะได้รายชื่อทั้งหมดภายในวันที่ 28 ต.ค. นี้ อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ นายวันชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนเองนั้นไม่สนใจไปนั่ง ใน กมธ.ยกร่าง รธน. แต่จะทำหน้าที่ในด้านการปฏิรูปเพียงอย่างเดียว

-------------
กรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สปช. เตรียมประชุมนัดสอง วางกรอบร่างใน 15 วัน

ความเคลื่อนไหวที่รัฐสภา ล่าสุด สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ในชุดคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สปช. เตรียมประชุมนัดที่ 2 ในเวลา 09.30 น. โดยมี พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านพลังงาน เป็นประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งคณะกรรมาธิการชุดนี้ทำหน้าที่ยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... พร้อมได้กำหนดการพิจารณายกร่างให้เสร็จภายใน 15 วัน เพื่อรองรับการประชุม สปช. ที่จะมีขึ้นจนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการปฏิรูปประเทศและการร่างรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ ในระหว่างที่ยกร่างข้อบังคับการประชุมไม่แล้วเสร็จ ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไปพลางก่อน
---------
กมธ.ยกร่างข้อบังคับฯ เร่งหารือรายละเอียด การตั้ง กมธ.สามัญฯ ส่วนตัวต้องการนั่ง กมธ.ยกร่าง รธน. แต่หากสมาชิกครบ ตามจำนวน ก็ขอสละสิทธิ์

พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า วันนี้จะประชุมเพื่อหารือถึงการตั้งคณะกรรมาธิการ ว่าควรจะมีกี่คณะ แต่ละคณะมีกี่คน และทำหน้าที่อะไรบ้าง โดยจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ และจะนำเข้าที่ประชุม สปช. ในต้นเดือน พ.ย. ต่อไป

ทั้งนี้ จะมีการบรรจุร่างข้อบังคับในเรื่องการสิ้นสมาชิกภาพของสมาชิกที่ขาดการประชุมโดยนับตามวงรอบ 2 ใน 3 มีความแตกต่างจากข้อบังคับของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีการลงรายละเอียดของการทำงานอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ยังระบุถึงมติของวิป สปช. ที่ลดสัดส่วนสมาชิก สปช. ที่จะเข้าไปทำหน้าที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจาก 20 คนเหลือ 15 คน ส่วนอีก 5 คน ให้ทาบทามจากบุคคลภายนอก จะมีการหารือกันอีกครั้งในเช้าวันจันทร์ที่ 27 ต.ค. ก่อนประชุมใหญ่ สปช. ส่วนตัวต้องการเข้าไปเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่หากมีสมาชิกสมัครครบ 20 แล้ว ก็ขอสละสิทธิ์
--------------
ศปป. ของ กอ.รมน. พร้อมเป็นตัวกลางรับฟังความเห็น ปชช. เสนอสภาปฏิรูป เร่งเตรียมแผนงานรองรับการขับเคลื่อนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม

พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวถึงกรณีที่ นายวิษณุ  เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลจะเปิดเวทีภายนอกทำงานร่วมกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่างจังหวัดทั่วประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในแนวทางการปฏิรูป โดยจะมอบหมายให้ กอ.รมน. เข้ามามีส่วนช่วยดำเนินการว่า ปัจจุบันศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) ของ กอ.รมน. ยังคงดำเนินการอยู่ต่อไปในปีงบประมาณ 2558 โดยงานส่วนใหญ่จะคล้ายกับการจัดตั้ง ศปป. ในช่วงแรก แต่จะเน้นการดำเนินงานให้ตรงกับโรดแมประยะที่ 2 ของ คสช. โดยพันธกิจส่วนหนึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและปฏิรูปประเทศตามกรอบการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน

ขณะนี้กำลังจัดทำแผนงาน โครงการ และกิจกรรม ซึ่งดำเนินการโดย ศปป.ภาค 1-4 ขับเคลื่อนให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
--------------
"จเร" นัดประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ 2 นัดหารือข้อสรุป กมธ.ยกร่าง รธน. 27 ต.ค. นี้ 

สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักงานเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้มีการเผยแพร่เอกสารกำหนดให้มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ครั้งที่ 2 ในวันที่จันทร์ที่ 27 ตุลาคม นี้ เวลา 10.00 น. ที่ ตึกรัฐสภา โดย นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนาม

สำหรับการประชุมครั้งที่ 2 นี้ เพื่อรายงานความคืบหน้าการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) โดยมีวาระในการพิจารณาแนวทางการสรรหากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จากสัดส่วน สปช. จำนวน 20 คน

ทั้งนี้ ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 กำหนดให้การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องดำเนินการให้แล้วเสร็ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการประชุมครั้งแรก
 ---------------
"พรเพชร" นัดประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 30 ตุลาคมนี้ พร้อมพิจารณาคัดเลือก 5 สนช. เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

นายพระเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญัติแห่งชาติ (สนช.) มีคำสั่งให้นัดสมาชิก สนช. ประชุมในวันพฤหัสบดีที่ 30 และวันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2557 เวลา 10.00 น. โดยวันที่ 30 มีการพิจารณาวาระด่วนจำนวน 13 เรื่อง เริ่มจากการกำหนดวันและเวลาการประชุม จากนั้นเป็นการพิจาณรณาสมาชิก สนช. เพื่อเข้ามาเป็นคณะกรรมธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วน 5 คน ตามมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

นอกจากนี้ ยังพิจารณาร่างกฎหมายที่คณะกรรมาธิการแล้วเสร็จ 2 ฉบับ ส่วนร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีเสนอมีทั้งหมด 9 ฉบับ อาทิ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่.. พศ.. (แก้ไขความผิดเกี่ยวกับเพศ) ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน ฉบับที่.... พศ....
--------
พล.อ.ประวิตร ปัดล็อกสเปกประธาน กมธ.ยกร่าง รธน. ชม "บวรศักดิ์" เก่งกฎหมาย มีประสบการณ์ ชี้ "ยิ่งลักษณ์" พบ "ทักษิณ" เป็นเรื่องส่วนตัว สามารถทำได้ 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการคัดเลือกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และคณะรัฐมนตรี ว่า ขึ้นอยู่กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ที่จะเป็นคนตัดสินใจ ยืนยันไม่มีการล็อกสเปกตัวบุคคลที่จะมาเป็นประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเป็น นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นั้น ตนเองคิดว่าก็อาจจะเป็นไปได้ เนื่องจาก นายบวรศักดิ์ เป็นนักกฎหมายที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการทำงาน

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีการนัดพบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ในต่างประเทศนั้น พล.อ.ประวิตร บอกว่า เป็นเรื่องส่วนตัวที่สามารถกระทำได้
--------------
นายกฯ รับ หนึ่งในชื่อ ปธ.กมธ.ยกร่าง รธน. ในใจ มี "บวรศักดิ์" ขอ เข้าใจ จำเป็นต้องเปิดสัมปทานปิโตรเลียม

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคสช.กล่าวถึงการเสนอชื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในส่วนของคณะรัฐมนตรีและคสช.ว่า จะมีความชัดเจนในวันที่4พ.ย.นี้ ซึ่งก่อนหน้านั้นจะมีการพูดคุยกันก่อนที่จะพิจารณารายชื่อในวันดังกล่าว ขณะเดียวกันพล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่ามีชื่อของประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในใจหลายคน และมีชื่อของนายบวรศักดิ์ อุวรรโณ ว่าที่รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือสปช.ด้วย

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีการเปิดสัมปทานปิโตเลียมรอบที่21ว่า เป็นเรื่องที่กระทรวงพลังงานจะต้องหาแหล่งผลิตพลังงานใหม่ ให้เพียงพอในประเทศ  เพราะพลังงานแหล่งเก่าจะหมดลงในปี2561 จึงขอให้เข้าใจและรับฟัง พร้อมยืนยันว่ารัฐไม่เสียผลประโยชน์อย่างแน่นอน ส่วนกรณีที่นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกสปช. คัดค้านนั้น ขอให้ไปว่ากันในสภาปฏิรูป เพราะเรื่องนี้ต้องแยกส่วนกัน
-----------------
"บุญเลิศ" เผย ยกร่างข้อบังคับ สปช. เสร็จในสิ้น ต.ค. เข้าที่ประชุมต้น พ.ย. ขณะวันนี้ มีมติตั้ง กมธ.สามัญ 16 คณะ 

นายบุญเลิศ คชายุทธเดช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ว่า ที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวน 16 คณะ อาทิ กรรมาธิการปฏิรูปการเมือง กรรมาธิการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน กรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม กรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ และกรรมาธิการปฏิรูปการขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อวิเคราะห์ศึกษาจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ บุคคลที่จะมาเป็นกรรมาธิการต้องมาจาก สปช. เท่านั้น และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 13 คน แต่ต้องไม่เกิน 29 คน

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 5 คณะ โดยมีสัดส่วนจากบุคคลภายนอก
พร้อมยืนยันว่า กระบวนการขั้นตอนการยกร่างข้อบังคับการประชุมจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ และจะนำเข้าที่ประชุมได้ในต้นพฤศจิกายน
////////////
สถานการณ์ใต้

คนร้ายกราดยิงรถกระบะชาวบ้าน ใน อ.บาเจาะ นราธิวาส เจ็บยกครัว 4 ราย จนท. เร่งล่า

ช่วงเช้าที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กองกำลังผสม อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เดินทางเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ คนร้ายไม่ทราบกลุ่มและจำนวนใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาดยิงเข้าใส่ราษฎรในพื้นที่ อ.บาเจาะ
จ.นราธิวาส โดยผู้บาดเจ็บทั้งหมด 4 ราย ได้แก่ นายรอมือซี แตเมาะ อายุ 34 ปี กระสุนถูกที่บริเวณหลัง นางอัสรา ซานิ อายุ 30 ปี ด.ญ.ไซสุลา แตเมาะ อายุ 10 ปี และบุตรสาวคนเล็ก ยังไม่ทราบชื่อ
ขณะที่ทั้ง 4 คนกำลังเดินทางด้วยรถยนต์กระบะ

โดยคนร้ายซุ่มอยู่ข้างทางและใช้อาวุธปืนลอบยิงเข้าใส่ เหตุเกิดบริวณบ้านฮุแตยือลอ หมู่ 6 ต.บาแระใต้ อ.บาเจาะจ.นราธิวาส
--------------
เจ้าหน้าที่กองกำลัง 3 ฝ่ายยะลา-ปัตตานี-นราธิวาส คุมเข้มครบรอบ 10 ปี เหตุการณ์ตากใบ

เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 85 คน และในวันพรุ่งนี้ (25 ตุลาคม 2557) จะครบรอบ 10 ปี ทางเจ้าหน้าที่ ตำรวจ ทหาร และจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จ.ยะลา จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส รวมไปถึง 4 อำเภอ ใน จ.สงขลา ได้เพิ่มมาตรการคุมเข้ม เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนอย่างเต็มที่ ทั้งการตั้งด่านจุดตรวจ รถยนต์และรถจักรยานยนต์อย่างละเอียด โดยเฉพาะรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมมา ซึ่งมักถูกนำมาประกอบระเบิดหลายครั้ง รวมถึงตรวจสอบบุคคลต้องสงสัย รวมถึงตรวจสอบความเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมในพื้นที่

ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้สลายการชุมนุมของชาวบ้านและได้จับกุมชาวบ้านขึ้นบรรทุก กลุ่มคนเหล่านี้ถูกถอดเสื้อ ผูกมือไพล่ติดกับหลัง ผู้ที่ถูกจับกุมถูกทหารโยนเข้าไปในรถบรรทุกซึ่งจะนำไปส่งยังค่ายทหารในจังหวัดปัตตานี ผู้ที่ถูกจับกุมนอนทับกันในรถบรรทุก และเมื่อมาถึงค่ายทหารในอีกสามชั่วโมงถัดมา หลายคนก็เสียชีวิตไปแล้ว เนื่องจากขาดอากาศหายใจ
------------
พล.อ.ประวิตร ระบุ พูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ ตั้งคณะทำงานชัดเจนเร็ว ๆ นี้ ของคุณ "บิ๊กจิ๋ว" เป็นห่วงรัฐบาล

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าการพูดคุยเพื่อสันติสุขชายแดนใต้ ว่า ในขณะนี้ กำลังอยู่ในขั้นตอนการตั้งคณะทำงาน คาดว่าอีกไม่นานจะมีความชัดเจน ส่วนรายชื่อที่จะเป็นหัวหน้าทีมพูดคุยนั้น พลเอกประวิตร ยืนยันว่า จะเป็น พลเอกอักษรา เกิดผล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก เพราะหลายรายมีความเห็นที่ตรงกัน

นอกจากนี้ พลเอกประวิตร ได้กล่าวขอบคุณ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีความเป็นห่วงในการทำงานของรัฐบาล โดยยืนยันว่า รัฐบาลจะดำเนินการตามโรดแมปที่วางไว้ และ
จะทำการปฏิรูปไปพร้อม ๆ กับการสร้างความปรองดอง

/////////////////
คลื่นใต้น้ำ

พล.อ.ประวิตร ไม่กังวล กลุ่มปฏิรูปพลังานยกประเด็นสัมปทาน โจมตี รบ. แจงแค่ขั้นตอนการสำรวจ 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีกลุ่มต่อต้านพลังงานจะออกเดินขบวนเพื่อให้รัฐบาลชะลอเรื่องการเปิดสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน ว่า ยังไม่มีการเปิดสัมปทาน ซึ่งทุกอย่างอยู่ในขั้นตอนการสำรวจ และยังไม่รู้ว่าสำรวจแล้วจะเจอหรือไม่ จะไปถึงเรื่องสัมปทานได้อย่างไร เพียงแต่ว่าทางกระทรวงพลังงานเปิดให้บริษัทเอกชนมาทำการสำรวจพื้นที่ว่าจะมีน้ำมันหรือไม่มีน้ำมัน ซึ่งขอยืนยันว่าเป็นการเปิดให้บริษัทเอกชนเข้ามาสำรวจเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประวิตร ไม่กังวลว่าเรื่องดังกล่าวจะมาเป็นประเด็นโจมตีรัฐบาล เพราะรัฐบาลทำตามขั้นตอนและสามารถเปิดเผยได้ทุกอย่าง
///////////////////
นายกฯ มอบ "ม.ล.ปนัดดา" ขอบคุณ หมอ พยาบาล วชิระ ดูแลรักษา "ป้าสังเวียน" หลังจุดไฟเผาตัวเอง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีความห่วงใยในเรื่องของการดูแลรักษา นางสังเวียน รักษาเพ็ชร์ ที่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากราดน้ำมันจุด
ไฟเผาตัวเองขณะเข้าร้องทุกข์ ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมายให้ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
เป็นตัวแทนแสดงความขอบคุณ และให้กำลังใจแก่คณะแพทย์ และพยาบาล โรงพยาบาลวชิระ ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือดูแลรักษาอาการบาดเจ็บของ นางสังเวียน เป็นอย่างดี

ซึ่ง นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนนำกระเช้าผลไม้แสดงความขอบคุณและให้กำลังใจแก่ น.พ.พลเลิศ พันธุ์ธนากุล รองคณะบดีฝ่ายบริการ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระ
/////////////////
ทรัพย์สิน

ป.ป.ช. เตรียมเปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน อดีต สนช. ที่ลาออกไป นั่ง ครม. ด้าน สพฐ. เตรียมเข้าให้ข้อมูลสอบโกงสนามฟุตซอล

บรรยากาศที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในเช้าวันนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ข้าราชการและพนักงานเดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ

ขณะที่ ในเวลา 09.00 น. จะมีการเปิดเผยรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 5 คน ซึ่งรวมถึง นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงสาธารณสุข และ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ได้ลาออกก่อนเข้ารับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

และในเวลา 10.30 น. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงการศึกษา จะเดินทางเข้าพบคณะการ ป.ป.ช. ซึ่งคาดว่าจะเป็นการหารือกรณีการทุจริตสนามฟุตซอล โรงเรียนบ้านมาบมะค่า จ.นครราชสีมา

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สื่อมวลชนทนอยเดินทางมาเตรียมติดตามทำข่าวการเปิดรายการบัญชีทรัพสินและหนี้สินของอดีตสมาชิก สนช. อย่างต่อเนื่อง
------------          
ป.ป.ช. เปิดกรุ 5 อดีต สนช. ลาออกนั่ง ครม. "กอบกาญจน์" รวยสุด รองลงมา "ณรงค์ชัย"  น้อยสุด "พล.สุรเชษฐ์" 

บรรยากาศที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. กรณีลาออกจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ก่อนเข้ารับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

โดย นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 317,105,668.96 บาทนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีรวมมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 281,267,255.30 บาท นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีทรัพย์สิน 139,271,194 บาท โดยไม่มีหนี้สิน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 23,595,804.36 บาทพล.ท.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษา มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 16,932,902.75 บาท
-----------------
ป.ป.ช. แจงรายละเอียดถี่ยิบ ทรัพย์สิน-หนี้สิน 5 อดีต สนช. ลาออกไป นั่ง ครม. "กอบกาญจน์" ทรัพย์สินเพิ่มขึ้น


วันนี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ ประกาศเปิดบัญชีหนี้สินและทรัพย์สิน ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 5 คน กรณีพ้นจากตำแหน่งไปดำรงตำแหน่งเป็นคณะรัตมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ส.ค.

โดย นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีทรัพย์สินทั้งหมด 317,674,376 บาท หนี้สินผู้ยื่น 369,565 บาท ของคู่สมรส 199,142.21 บาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 317,105,668 บาท โดยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากกรณีรับตำแหน่ง 1,667,221 บาท

ทั้งนี้ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในส่วนของเงินลงทุน 748,450 บาท ส่วนทรัพย์สินที่เป็นที่ดินมูลค่าลดลง 1,087,600 บาท

พล.ท.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมว.ช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีทรัพย์สินทั้งหมด 24,301,127.97 บาท มีหนี้สินทั้งหมด 7,368,225.22 บาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 16,932,902.75 บาท โดยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากกรณีเข้ารับตำแหน่ง 373,444 บาท

ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินฝากในส่วนของผู้ยื่น 185,013 บาท ส่วนของผู้สมรส 96,566 บาท

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีทรัพย์สินทั้งหมด 281,352,644 บาท มีหนี้สินทั้งหมด 85,389 บาท โดยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากกรณีเข้ารับตำแหน่ง 4,328,568 บาท

ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินลงทุน และเงินให้กู้ยืม

นายรัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีทรัพย์สินทั้งหมด 139,271,194 บาท ไม่มีหนี้สิน โดยมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 139,271,194 บาท มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากกรณีเข้ารับตำแหน่ง 678,939 บาท

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม มีทรัพย์สินทั้งหมด 24,772,863 บาท โดยมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 23,595,804 บาท
////////////////
นายกฯข้าว

นายกฯ ประชุม นบข. หารือแผนบริหารจัดการข้าวเก่าค้างสต๊อกของรัฐบาล กว่า 18 ล้านตัน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว หรือ นบข. แล้ว ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง

โดยวาระสำคัญที่ต้องติดตาม คือ การพิจารณาเรื่องการบริหารจัดการข้าวเก่าที่ยังคงค้างในสต็อกของรัฐบาลกว่า 18 ล้านตัน

ทั้งนี้ ในเวลาประมาณ 15.00 น. ที่ตึกบัญชาการ 1 ยังมีการหารือแผนกระตุ้นเศรษฐกิจออกเงินกู้รายย่อย ลดหนี้นอกระบบ ระหว่างรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในเรื่องมาตรการจัดตั้งสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ เพื่อปล่อยกู้ให้กับผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินและแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ