PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กรือเซะ-ตากใบ...เกี่ยวอะไรด้วย

กรือเซะ-ตากใบ...เกี่ยวอะไรด้วย

โดย : สิงห์ม่วง twitter@pakorn_kt

มีการตั้งข้อสังเกตกันว่าเหตุใดร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม "ฉบับสุดซอย" จู่ๆ จึงต้องขยายเวลาย้อนหลังกลับไปถึงปี 2547

แถมยังขยายไปแบบไม่เฉพาะเจาะจงเสียด้วย คือไม่ระบุวันที่ให้ชัดเจน ผิดกับกรอบเวลาอีกด้านหนึ่งที่บอกไว้ชัดว่านิรโทษถึงแค่วันที่ 8 ส.ค.2556

O เมื่อจะเอากันถึงปี 2547 ก็ชัดว่าต้องการให้นิรโทษครอบคลุมไปถึง คดีที่ไม่เกี่ยวกับการรัฐประหาร เพราะการ “ยึดอำนาจ” เกิดขึ้นเมื่อ 19 ก.ย.2549 ด้วยเหตุนี้ทำให้หลายคนนึกไปถึงสถานการณ์

ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะปี 2547 มีโศกนาฏกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้น 2 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์ “กรือเซะ” กับ “ตากใบ” เป็นเหตุร้ายในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งคู่ โดยเฉพาะ

เหตุการณ์หลังคือ “ตากใบ” ส่งผลให้ “กลุ่มวาดะห์” และพรรคการเมืองเครือข่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ล้มเหลวในสนามเลือกตั้งชายแดนใต้มาตลอดตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ฟื้น

O หากยังจำกันได้ “กรณีกรือเซะ” คือเหตุการณ์รุนแรงเมื่อวันที่ 28 เม.ย.2547 มีวัยรุ่นและชายฉกรรจ์มุสลิมหลายร้อยคนบุกเข้าโจมตีป้อมจุดตรวจ และโรงพักของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร รวม 11 จุด

ใน จ.ปัตตานี ยะลา และสงขลา แต่จุดใหญ่ที่สุดอยู่ที่ป้อมจุดตรวจกรือเซะ หน้ามัสยิดกรือเซะ อ.เมือง จ.ปัตตานี มีการยิงปะทะกัน และกลุ่มผู้โจมตีส่วนหนึ่งได้หนีเข้าไปหลบในมัสยิด ฝ่ายเจ้าหน้าที่

ได้วางกำลังล้อมอยู่หลายชั่วโมง กระทั่งตอนบ่ายได้สั่งยิงอาวุธหนักเข้าไปด้านในมัสยิด ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 32 ราย ขณะที่เหตุการณ์โจมตีป้อมจุดตรวจในวันนั้นทั้ง 11 จุด มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 108 ราย

O ต่อมารัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นไต่สวนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ โดยมี นายสุจินดา ยงสุนทร เป็นประธาน ผลการไต่สวนสรุปว่าเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติการในวันนั้น (ที่มัส

ยิกรือเซะ) กระทำการเกินสมควรแก่เหตุ

O ขณะที่เหตุการณ์ตากใบ คือเหตุการณ์สลายผู้ชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส และเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมไปควบคุมสอบสวนต่อที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2547

ทำให้มีผู้เสียชีวิตระหว่างการสลายการชุมนุม 7 ราย และระหว่างการเคลื่อนย้ายด้วยการจับถอดเสื้อมัดมือไพล่หลัง แล้วนำไปนอนเรียงซ้อนกันบนรถบรรทุกของทหารอีก 78 ราย รวมมีผู้เสียชีวิตทั้ง

สิ้น 85 ราย

O หลังเกิดเหตุมีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นไต่สวนข้อเท็จจริงเช่นกัน โดยมี นายพิเชต สุนทรพิพิธ เป็นประธาน สรุปว่าการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จนทำให้มีผู้เสียชีวิต

จำนวนมากนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง และขาดความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาระดับต่างๆ ของทหารที่ควบคุมสถานการณ์ในวันนั้น

O ไล่ดูรายชื่อเจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกตำหนิอยู่ในรายงานทั้ง 2 ฉบับ ก็มีเพียงบางคนเท่านั้นที่ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่จะมีความสำคัญถึงขนาดต้องนิรโทษกรรมให้หรือไม่ ดูๆ แล้วก็ไม่น่าเป็นไปได้

เพราะคดีอาญาที่เกิดขึ้นจากทั้งสองเหตุการณ์ อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เพียงแต่ยังอยู่ในอายุความที่ผู้เสียหายหรือญาติจะยื่นฟ้องเอง

O ฉะนั้นเหตุผลที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือ ความต้องการล้างผิดชนิดที่ไม่ให้กรณีกรือเซะ-ตากใบถูกหยิบไปเป็นเงื่อนไขทางการเมืองอีกเลย เพราะต้องไม่ลืมว่าเวลาที่ฝ่ายสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ

เปิดเกมรุกฝ่ายตรงข้ามว่า “สั่งฆ่าประชาชน” ก็มักจะถูกย้อนศรด้วยเหตุการณ์ “กรือเซะ-ตากใบ” และ “ฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ” ทุกครั้ง ถึงกับมีการขู่จะนำไปร้องศาลอาญาระหว่างประเทศกันมาแล้ว

O ถึงนาทีนี้ “สิงห์ม่วง” ก็ยังสรุปไม่ได้ว่าการพยายามนิรโทษย้อนหลังไปถึงปี 2547 มุ่งหวังอะไรกันแน่ แต่ที่แน่ๆ คือความกำกวมแบบนี้ ผู้ที่จะได้ประโยชน์ไปเต็มๆ คือ บรรดาเจ้าหน้าที่รัฐที่

กระทำการละเมิดสิทธิชาวบ้าน และยังมีคดีความค้างอยู่ใน ป.ป.ช. เท่าที่นึกออกเร็วๆ ก็เช่น คดีซ้อมทรมาน อิหม่ามยะผา กาเซ็ง จนเสียชีวิตเมื่อปี 2551

O และที่น่าเป็นห่วงคือนิยามของคำว่า “ความขัดแย้งทางการเมือง” อันเป็นเหตุให้กระทำการต่อสู้ขัดขืนอำนาจรัฐ ซึ่งบัญญัติไว้ไม่ค่อยชัด แต่อยู่ในข่ายได้รับ “นิรโทษสุดซอย” ระวังผู้ก่อความไม่

สงบจะพากันออกมาอ้าง “แรงจูงใจทางการเมือง” ขอร่วมวงล้างผิดด้วยล่ะ...เดี๋ยวมันจะยุ่งกันใหญ่
//////////////////////////////////

วันพุธ ที่ 22 มิถุนายน 2554
...ทักษิณ!!!!... “กรือเซะ ๓๒ ศพ” “ ตากใบ ๗๘ ศพ” “ฆ่าตัดตอนยาเสพติด ๒๕๐๐ ศพ” ใคร??? สั่ง!!!! “ฆ่าประชาชน”      

                  กรือเซะ ๓๒ ศพ  เหตุเกิด ๒๘ เมษายน ๒๕๔๕

                 เหตุการณ์ มีกลุ่มบุคคลประมาณ ๓๒ คน ได้เดินมุ่งไปยังจุดตรวจกรือเซะฝั่งป้อมยาม ขณะเดียวกันนั้น สิบตำรวจเอก อันวาร์ เบ็ญฮาวัน สังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน 444 ซึ่งปฎิ

บัติหน้าที่อยู่ ณ จุดตรวจฯ ได้รับแจ้งเตือนจากทหารจำนวน 3 คนที่วิ่งมาจากจุดตรวจฝั่งสถานีอนามัยว่าให้ระวังกลุ่มบุคคลดังกล่าวด้วย และต่อมาทหารที่เหลืออยู่อีก 1 คน ที่อยู่ ณ จุดตรวจได้ถูก

ฟันทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บ และกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบดังกล่าว ได้โจมตีป้อมตำรวจที่อยู่ใกล้ๆ กับมัสยิดกรือเซะ และได้มีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทหาร ผลจากการปะทะทำให้เจ้าหน้าที่

ตำรวจและทหารเสียชีวิต 3 นาย และบาดเจ็บ 17 นาย
  หลังจากนั้นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทั้ง 32 คน ได้หลบหนี้เข้าไปภายในมัสยิดกรือเซะ พลเอก พัลลภ ปิ่นมณี รองผอ.กอ.รมน.ในขณะนั้น ได้เดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ มีประชาชนประมาณ 2,000-3,000

คน รวมตัวกันอยู่ที่บริเวณมัสยิด เจ้าหน้าที่ปิดล้อมมัสยิดอยู่นานราว ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 14.00 น. ทางตำรวจทหารตัดสินใจบุกเข้าไปในมัสยิด ใช้ระเบิดมือและอาวุธ จนเป็นเหตุให้กลุ่ม

ผู้ก่อความไม่สงบที่อยู่ภายในมัสยิดทั้ง 32 คนเสียชีวิต

                      ผู้มีส่วนเกียวข้อง

          นายกรัฐมนตรี ชื่อ    “ทักษิณ ชินวัตร”                 ปัจจุบัน เจ้าของพรรคเพื่อไทย

          ผู้อำนวยการ กอ. รมน. ชื่อ  “ทักษิณ ชินวัตร”

          รอง กอรมน. และผู้อำนวยเหตุการณ์ ตอนนั้น ชื่อ “พัลลภ ปิ่นมณี”     ปัจจุบันแกนนำพรรคเพื่อไทย คุมการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยภาคอีสานตอนล่าง
---
               คดีตากใบ  มีผู้เสียชีวิต ๘๗ ศพ  เหตุเกิด ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๗

                    เป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ที่เกิดขึ้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เหตุการณ์เริ่มจากการชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ประท้วงที่ก่อ

ความไม่สงบที่ถูกจับกุม ๖ คน และต่อมารัฐได้ใช้มาตรการในการสลายการชุมนุม จนนำไปสู่การจับกุมผู้ประท้วง  และได้ รถบรรทุกผู้ถูกควบคุมขบวนที่สอง(จำนวน 22 คัน หรือ 24 คัน) ซึ่งพบผู้

เสียชีวิต 77 รายใช้เวลาเดินทางจาก สภ.อ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ประมาณ 5 ชั่วโมง และมีผู้เสียชีวิตระหว่างขนส่ง

         การสลายการชุมนุมทำให้ฝ่ายผู้ชุมนุมเสียชีวิต 7 ศพ (5 ศพถูกกระสุนปืนที่บริเวณศีรษะ) เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 14 นาย (1 นายถูกกระสุนปืน) ผู้ชุมนุมถูกควบคุมตัว 1,370 คน   สรุปรวม ผู้

ต้องหา ๘๔  ศพ และสูญหายอีกจำนวนมากกว่า ๖๐ คน

                คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และศาล ได้พิพากษาปิดคดีแล้ว แล้ว ว่า เจ้าหน้าที่ มีความผิด ในการปฏิบัติ หน้าที่บกพร่อง

                      ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

           แม่ทัพภาค ๔ ชื่อ   พล.ท.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี  เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดเมื่อประกาศกฎอัยการศึก ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ขาดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา

            ผบ.ทบ ชื่อ  พล.อ ชัยสิทธิ์ ชินวัตร         ผู้สมัคร ส.ส. เขต พรรคเพื่อไทย จ.ราชบุรี

            นายกรัฐมนตรี ชื่อ  ทักษิณ  ชินวัตร                เจ้าของพรรคเพื่อไทย
---
                    คดีฆ่าตัดตอนยาเสพติด ๒๕๐๐ ศพ  เหตุเกิด๒๕๔๖                                                                                            

        สืบเนื่อง ปัญหายาเสพติด นับเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยในขณะนั้นเยาวชนกว่า ๘ แสนคนติดยาเสพติด ผู้ค้าในประเทศก็มากมายขึ้นทุกที ๆ รัฐบาลโดยการนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

นายกรัฐมนตรี จึงชูนโยบายการปราบปรามยาเสพติดขึ้นมาจัดการกับปัญหานี้อย่างหวังผล และเผด็จการ เพราะนับตั้งแต่มีการปฏิบัติตามมาตรการปราบปรามยาเสพติดเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖

มีผู้ค้ายาเสพติดถูกฆ่ากว่า ๒๐๐๐ ราย และไม่สามารถจับกุมผู้ฆ่าตัดตอนในคดีเหล่านี้ มีหลายกรณี คือคนบริสุทธ์ เช่น

           ๑.) เมื่อ ๒๓ ก.พ.๔๖ ตำรวจบางชันล่อซื้อยาบ้าพ่อของ "น้องฟลุก" อายุ ๙ ขวบ บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์สะพานขาว ขณะนั้นน้องฟลุกนั่งอยู่ในรถ นส.วิภา เกิดรุ่งเรือง นส.วิภาขับรถหนี

ตำรวจยิงสกัด ปรากฏว่าถูกน้องฟลุกตายคาที่ ส่วน นส.วิภาหายตัวไปจนถึงทุกวันนี้

            ๒.) เมื่อ ๒๘ มี.ค.๔๖ นายนิคม-นางกัญญา อุ่นแก้ว สองสามี-ภรรยา ชาวอำเภอครบุรี นครราชสีมา ถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ ได้เงิน ๖ ล้านบาท แต่ตำรวจหาว่าเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด เลย

ถูกยิงตาย และ ป.ป.ส.อายัดทรัพย์ไว้ด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคืนให้ญาติ

           ๓.)เมื่อ ๙ เม.ย.๔๖ ในท้องที่จังหวัดตาก นายสมาน ทองดี ซึ่งไม่เคยมีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่กลับถูกตำรวจยิงตาย โดยพบของกลางยาเสพติดอยู่ในกระเป๋า

           ๔.)เมื่อ ๑๘ พ.ค.๔๖ ท้องที่จังหวัดตากเช่นกัน นายพงษ์เทพและนางอำไพพรรณ รู้คงประเสริฐ ไม่เคยมีประวัติเกี่ยวข้องยาเสพติด แต่ตำรวจยิงตาย และพบยาบ้าในรองเท้าส้นสูงของนาง

อำไพพรรณ รายนี้ ป.ป.ส.ก็อายัดทรัพย์ไว้ กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาคืนให้ญาติ

          ผู้ที่เกี่ยวข้อง

พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิต  เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อดีต เป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย

ปัจจุบันถูตัดสิทธิ์ ทางการเมือง

 นายกรัฐมนตรี  ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร

 คดีความยังไม่สิ้นสุด ยังคงค้าง ไม่มีการดำเนินการต่อ
   
..............................................................................................................................................................

  ส่วนคดีการเสียชีวิตจากการชุมนุม เดือน เมย.- พ.ค ๕๓ รอฟัง ความจริง วันที่ ๒๓ มิ.ย. ๕๔

             ............................................................................................................................

                  หากคนเสื้อแดง ผู้มีเลือดนักประชาธิปไตยชนิดแตะไม่ได้ มีเลือดนักสิทธิมนุษยชนสูง ทำไมไม่เรียกร้อง ให้กลุ่มคนที่เสียชีวิต เหล่านี้ด้วยล่ะ หรือเพียงเพราะว่าคนเหล่านั้น เค้าไม่ได้ใส่

เสื้อสีแดงเหมือนพวกท่าน จึงมิได้สนใจ  หรือเพราะว่าคนเหล่านั้นไม่สนับสนุนพรรคการเมืองเดียวกับพวกท่าน   มิใช่พวกท่านดอกหรือที่เรียกร้องกัน อย่าใช้สองมาตรฐาน แล้วเหตุการณ์เหล่านี้ล่ะ

มาตรฐานของพวกท่านอยู่ที่ไหน ฝากไปถึง “ธิดาแดง” หากยังมีจิตสำนึก ผู้เรียกตัวเองว่าอาจารย์ หากยังมีเลือดของความเป็นครูหลงเหลืออยู่บ้าง ขออย่าทำเพียงเพื่อประจบสอพลอ หาเศษเงินไปวันๆ

หรือเป็นเพียงเพราะว่า คนเหล่านั้น “ ทักษิณ เป็นผู้มีส่วนในการฆ่า”  จึงไม่ผิด

           ณ.เมืองลุง

         ๒๒/๐๖/๒๕๕๔

ไม่มีความคิดเห็น: