PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ศาลอุทธรณ์สั่งยึดทรัพย์นางภคินี สุวรรณภักดี มารดานายอรรถวิชช์

ศาลอุทธรณ์สั่งยึดทรัพย์นางภคินี สุวรรณภักดี มารดานายอรรถวิชช์ เป็นที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง3รายการ ในคดีปล่อยกู้หนี้เน่า สูญ4.2พันล้าน
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ศาลแพ่งอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของ นางภคินี สุวรรณภักดี มารดานายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ผู้คัดค้านที่ 1 น.ส.อรภัค สุวรรณภักดี บุตรสาวนางภคินี ผู้คัดค้านที่ 2 นายอรรถวิชช์ ผู้คัดค้านที่ 3 และนายนัฐพงศ์ สุวรรณภักดี บุตรชายนางภคินี ผู้คัดค้านที่ 4 ตกเป็นของแผ่นดิน กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. ตรวจสอบพบว่านางภคินี ขณะเป็นกรรมการให้สินเชื่อชุดบริหารธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) อนุมัติสินเชื่อให้ลูกหนี้กลุ่มนายสุเทพ เจริญพรพาณิชกุล มียอดหนี้ค้างชำระ 4,278,000,000 บาท ขณะที่มียอดสินเชื่อรวม 8 บัญชี เป็นเงิน 5,195,000,000 บาท เป็นการทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สิน 4 รายการ ได้แก่ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 3 รายการ หลักทรัพย์บริษัทอินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) 333 หุ้น รวมมูลค่า 6,765,300 บาท พร้อมดอกผลตกเป็นของแผ่นดิน
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 3 แปลง เขตบางเขน ตกเป็นของแผ่นดิน ส่วนหลักทรัพย์ 333 หุ้นให้คืนแก่ผู้คัดค้านที่ 1 ต่อมาผู้คัดค้านทั้ง 4 ยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ขณะผู้คัดค้านที่ 1 เป็นคณะกรรมการพิจารณาให้สินเชื่อชุดบริหารของธนาคารมหานครฯ ได้อนุมัติสินเชื่อให้ลูกหนี้กลุ่มนายสุเทพกับพวก โดยไม่มีการวิเคราะห์ฐานะการเงินของกลุ่มลูกหนี้ทั้งที่มีฐานะไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีการเรียกหลักประกันให้คุ้มหนี้เป็นการกระทำโดยทุจริตทำให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคาร โดยธนาคารยังไม่ได้รับชำระหนี้คืน เป็นเงิน 4,278,000,000 บาท นอกจากนี้ ยังพบความผิดปกติในการให้สินเชื่อแก่กลุ่มบุคคลอื่นในทำนองเดียวกัน
ต่อมามีการดำเนินคดีอาญากับผู้คัดค้านที่ 1 ฐานหลบหนีหมายจับในคดีอาญา ของศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อปี 2549 จากการตรวจสอบของ ปปง.พบว่าผู้คัดค้านที่ 1 มีทรัพย์สินประเภทที่ดินและหลักทรัพย์หลายรายการที่ได้มาหลังการกระทำผิดโดยไม่ปรากฏว่ามีเงินเพียงพอที่จะซื้อที่ดินและไม่ปรากฏหลักฐานการชำระค่าที่ดิน มูลค่าของที่ดิน ไม่สอดคล้องกับฐานะและรายได้ของผู้คัดค้านที่ 1 ในส่วนทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2-4 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้คัดค้านที่ 1 และได้รับโอนทรัพย์สินจากผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คัดค้านที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ปปง. พ.ศ.2542 มาตรา 51 วรรคสาม ที่บัญญัติว่าให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดซึ่งผู้คัดค้านที่ 2-4 ได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต
ผู้คัดค้านทั้ง 4 จึงมีภาระพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานของผู้คัดค้านทั้ง 4 ที่นำสืบมาไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ที่ดินหรือทรัพย์สิน 3 รายการของผู้คัดค้านทั้ง 4 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือรับโอนมาโดยไม่สุจริต และมีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย พิพากษายืน

Source : Matichon

ว่าด้วยกรณีโตโยต้าลดคนงาน

เกี่ยวกับการที่ ‪#‎โตโยต้า‬ กำลังลดขนาดแรงงาน (Downsizing) อยู่นั้น ผมขออธิบายเล็กน้อยว่ามันไม่ใช่เพราะปัญหาเศรษฐกิจโลกเป็นเหตุผลหลัก เพราะถ้าเชื่อกันตามนั้นอย่างเดียว ภาครัฐและเอกชนและคนทั่วไปในประเทศนี้ก็จะ ‪#‎ปั้นหน้าโลกสวย‬ บอกตัวเองเหมือนทุกครั้งว่า ‪#‎เดี๋ยวเศรษฐกิจดีขึ้น‬ ‪#‎ก็จะมีการจ้างงานเหมือนเดิม‬
ผมใคร่ขออนุญาติบอกว่า .. ครั้งนี้ยุคสมัยและวิวัฒนาการมันเปลี่ยนไปมากแล้ว .. สาเหตุที่โตโยต้าลดขนาดคนงานก็เพราะ เค้ามีนโยบายเตรียมนำเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) เข้ามาใช้แทนมนุษย์ ซึ่งเค้าเพิ่งลงทุนวิจัยไป 1,000,000,000 ดอลล่าร์สหรัฐ (ไปคูณเป็นเงินไทยกันเอาเองนะครับ ผมกลัวพวกท่านโลกสวยจะหัวใจวาย) 

และที่บอกว่านำเทคโนโลยีมาแทนมนุษย์ก็ไม่ใช่แค่คนงานในโรงงานนะจ๊ะ แต่นำมาแทนคนที่ศูนย์บริการด้วยจ๊ะที่รัก ทำไมต้องทำอย่างนั้น? ทางด้านโรงงาน เค้ามีแผนลงทุนในประเทศแถบ AEC อย่างในเมียนมาร์ซึ่งญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับเมียนมาร์ คนงานเมียนมาร์ในโรงงานรับอัตราค่าจ้างต่ำกว่าคนงานไทยแต่ทำงานอึดกว่า ไม่เรื่องมาก และรักการเรียนรู้มากกว่า เหมาะกับการเติมความรู้ทางด้านเทคโนโลยีให้ใหม่มากกว่าคนไทย ที่จะปรับเปลี่ยนอะไรทีก็ต้องจ้างวิทยากรหรือที่ปรึกษามาอบรม เอาใจ จุดไฟแรงบันดาลควาย โน่นนี่นั่นนู่น กันทุกระดับตั้งแต่ผอ.ลงมาถึงแม่บ้านทำความสะอาดคือแต่ละคนแม่มก็มีเงื่อนไขของตัวเองตลอด สอนกันไม่เป็น หรือเจ้านายพัฒนาคนไม่เป็นเพราะตัวเองก็ชอบอยู่ใน comfort zone
.. แต่เดี๋ยวนี้สำหรับงานแบบ unskilled จนถึง semi-skilled นั้น หุ่นยนต์หรือสมองอัจฉริยะมันทำแทนได้หมดแล้ว
ส่วนทางด้านศูนย์บริการ เค้าก็เตรียมทำ format ให้กับดีลเลอร์ต่างๆคือมาเป็นแพ้คแบบนวัตกรรมการบริการสมัยใหม่ เจ้าของศูนย์ที่เป็นคน Generation M ก็ยิ่งชอบเพราะ ประหยัดต้นทุน ประหยัดพื้นที่ (อาจจะทำขึ้นเป็นแนวดิ่งแทน) คำนวณเวลาการเปิดปิดจ้อบได้แม่นยำกว่า ไม่ต้องคอยเอาใจคนเก่าคนแก่ที่ทำงานก็งั้นๆแต่กูว์เกรงใจพ่อถึงต้องเลี้ยงพวกคุณๆไว้แต่แม่มทำงานก็งั้นๆ แถมหลายๆครั้งก็ตั้งกันเป็นขบวนการโกงกินของเล็กของน้อยภายใน โกงข้อมูลการให้บริการที่ส่งให้กับโตโยต้ามอเตอร์ ไทยแลนด์ เป็นวงจรอุบาทว์ในประเทศไทยที่แก้แล้วก็ย้อนกลับมาใหม่เรื่อยๆตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา

ถึงเวลาแล้วที่สถาบันการศึกษาทั้งสายอาชีวะและสายสามัญ(แต่ไร้สามัญสำนึกความเป็นมืออาชีพ) ต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงรับมือกับ Radical Change และ Disruptive Innovation นี้ 
.. รัฐบาลต่อๆไปกำลังจะประสบปัญหาต้องรับมือกับแรงงานในปัจจุบันที่จะตกงานเป็นแสน และนักศึกษาที่กำลังจะจบมากับความรู้เก่าๆ ที่ผู้จ้างงานกำลังจะโละทิ้ง .. ยุคนี้คือยุคที่วิศวกรจะกลายเป็นแค่ช่างเล็กๆ ถ้าเดินตามไม่ทันอุตสาหกรรมการจัดการจากปีนี้ไปสู่ศตวรรษหน้า

นี่ยังไม่ได้พูดเรื่องรถไฟฟ้าที่กำลังจะเข้ามาแทนที่รถน้ำมันเลยนะ รู้กันบ้างเปล่าว่าชีวิตและสังคมจะเปลี่ยนไปยังไง?
ให้ตายเถอะโรบิ้น!!!
ป.ล. นี่ไม่ใช่หนัง เพราะชีวิตจริงมีแต่วายร้าย ไม่มีซูเปอร์ฮีโร่
รักนะ พี่น้อ งอุตสาหกรรมยานยนต์เอ๋ย
ดร.เอ็กซ์ (รศ.ดร.ภคพล อนุฤทธิ์)

สมัชชาเสรี มช. แจกเอกสารเห็นแย้งร่างรัฐธรรมนูญมีชัย - จนท.สภาตามเก็บเกลี้ยง

(ที่มา ก่อนจะมาถึงข่าว รธน.ปลอม)****

///

สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร เปิดเวทีสัญจร 3 จังหวัด “รู้จักร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการทำประชามติที่ถูกต้อง” โดยเวทีซึ่งจัดที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนักศึกษาสมัชชาเสรีแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ฯ เดินแจกเอกสาร “ความเห็นแย้งต่อร่างรัฐธรรมนูญ” แต่แจกไปได้ 5 นาที ก็ถูกเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเดินเก็บเอกสารคืนทั้งหมด
ที่มาของภาพ: เพจสมัชชาเสรีแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตย
4 ก.ค.59 เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุม 40 ปี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “รู้จักร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการทำประชามติที่ถูกต้อง” โดยเดิมนั้นนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีกำหนดเดินทางมาร่วมงาน แต่ได้ยกเลิกกำหนดการมา วิทยากรหลักที่ร่วมพูดคุยในงานเสวนาจึงมีนายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ของจังหวัดเชียงใหม่
ทั้งนี้ ตามจดหมายและเอกสารของโครงการเสวนา นี้ที่สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎรทำถึงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุวัตถุประสงค์กิจกรรมว่าเพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ กระบวนการก่อนและหลังทำประชามติ จนนำไปสู่การเลือกตั้ง จึงมีการขอให้ส่งนักศึกษาในสถานศึกษาเข้าร่วมจำนวนคณะละ 15 คน
ตัวโครงการระบุว่าได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ (Konrad Adenauer Foundation) จำนวน 700,000 บาท เพื่อจัดเวทีในลักษณะนี้จำนวน 3 ครั้ง ใน 3 ภูมิภาค ได้แก่ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากิจกรรมมีผู้เข้าร่วมราว 300 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษา และครึ่งหนึ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับค่าเดินทางจำนวน 100 บาท นอกจากนั้นยังมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบทั้งทหารและตำรวจราว 40 นาย คอยสังเกตการณ์ในเวทีเสวนา
ทั้งนี้ในระหว่างการเสวนาได้มีกลุ่มนักศึกษาจากสมัชชาเสรีแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตย ได้เดินแจกเอกสารความเห็นแย้งต่อร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดทำโดยขบวนการประชาธิปไตยใหม่ อย่างไรก็ตามผู้จัดงานไม่ยอมให้มีการแจกเอกสารดังกล่าว โดยเมื่อกลุ่มนักศึกษาแจกเอกสารดังกล่าวได้ราว 5 นาที ได้มีเจ้าหน้าที่ผู้จัดงานจากสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมกับเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเดินเก็บเอกสารดังกล่าวไปในทันที แต่ไม่ได้มีการดำเนินการใดกับผู้แจกเอกสาร

"รถคันแรก - ศกซบ." ต้นต​​อปลดแรงงาน


อุตฯ รถยนต์ชี้ต้นตอค่ายรถปลดคนงานผลพวงรถคันแรก - เศรษฐกิจซบฉุดยอดขายดิ่งต่อเนื่องมา 2-3 ปีจำต้องปลดแรงงานส่วนเกิน แนะรัฐจับตาค่ายเล็กและผู้ผลิตชิ้นส่วน


               นางเพียงใจแก้วสุวรรณ กล่าวถึงกรณี บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เปิดให้พนักงานรับเหมาค่าแรง (ซับคอนแทรก) สมัครใจลาออกโดยตั้งเป้ามีผู้สมัครร่วมโครงการ "จากกันด้วยใจ" 1 พันคนว่า 2.4 ล้านคันยอดผลิตรถยนต์ก็ลดลงต่อเนื่องประกอบกับ 2-3 ปีที่ผ่านมา จนในปี 2558 ที่ผ่านมายอดขายรถยนต์ลดลงเหลือ 1.91 ล้านคัน
               "หลังจากโครงการรถยนต์คันแรกหมดลงยอดขายรถยนต์ก็ลดลงต่อเนื่อง แต่ บริษัท ต่างๆไม่ได้ปลดคนงาน จึงถูกมองว่าลดคนงานจำนวนมาก "นางเพียงใจกล่าวและว่าอย่างไรก็ตาม ทยอยปลดคนงานอีก แต่ก็มีจำนวนไม่มากเพราะการปลดคนงานจะต้องมีเหตุมีผลและต้องได้รับความยินยอม ที่ต้องใช้เวลาในการฝึกอบรมนาน
               ด้านแหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมยานยนต์กล่าวว่า แต่ภาครัฐจะต้องจับตาอย่างใกล้ชิด โดยค่ายรถยนต์ขนาดใหญ่อันดับ 1-5 ของไทยยังไม่น่าเป็นห่วง แต่ค่ายรถยนต์อันดับ 6-8 อาจจะได้รับผลกระทบที่หนัก
               "สิ่งที่ต้องจับตาต่อไปคือ ก็จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมาได้ "แหล่งข่าวกล่าว
               นายสมชายหาญหิรัญปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า เพราะยอดการผลิตช่วง 5 เดือนยังสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว