PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

โอ้!“ประยุทธ์”นั่งประธานบอร์ดขับเคลื่อนประเทศคนเดียว 8 แห่ง


โอ้!“ประยุทธ์”นั่งประธานบอร์ดขับเคลื่อนประเทศคนเดียว 8 แห่ง

วันพุธ ที่ 30 กรกฎาคม 2557

พลิกประกาศ–คำสั่ง คสช.พบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานคณะกรรมการแก้ไข-ขับเคลื่อนประเทศ คนเดียว 8 ชุด ตั้งแต่พลังงาน-บีโอไอ-สวล. ล่าสุดที่ปรึกษาด้านโครงสร้าง

พื้นฐานคมนาคม

นับตั้งแต่รัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค.57 จนถึงขณะนี้ 30 ก.ค.57 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีตำแหน่งเป็นประธาน

คณะกรรมการแก้ไขปัญหาต่างๆถึง 8 ชุด ไม่นับบทบาทภาระหน้าที่ในหัวหน้า คสช.

สำนักข่าวอิศรา www.isranew.org รวบรวมดังนี้

1. ประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๔/๒๕๕๗ ) วันที่ 6 มิ.ย.57

2.ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) (ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗) วันที่ 10 มิ.ย.57

3.ประธานคณะกรรมการ ร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๗/๒๕๕๗)วันที่ 16 มิ.ย.57

4.ประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ(คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๒ / ๒๕๕๗) วันที่ 19 มิ.ย.57

5.ประธานคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๕/๒๕๕๗ วันที่ 26 มิ.ย.57

6.ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๐/๒๕๕๗ )วันที่ 10 ก.ค.57

7.ประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๕/๒๕๕๗) วันที่ 21 ก.ค.57 (ยกเลิกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่มีประกาศคณะรักษาความ

สงบแห่งชาติ ที่ ๕๕/๒๕๕๗ วันที่ 6 มิ.ย.57 )

8.ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาของ คสช.ด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม (คำสั่งฉบับที่ 110/2557) วันที่ 29 มิ.ย.57

ทั้งนี้ คำสั่ง คสช.ล่าสุดเมื่อกลางดึกวันที่ 29 ก.ค.57 คือคำสั่งฉบับที่ 110/2557 เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาของคสช.ด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม จำนวน 23 ราย โดยมีพล.อ.

ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เป็นประธาน ส่วนกรรมการมีตัวแทนหน่วยงานราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ นายกสมาคมการขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย นายกสมาคมตัวแทน

ขนส่งสินค้าทางอากาศไทย นายกสมาคมผู้จัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ส่วนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นกรรมการและฝ่ายเลขานุการ
////////////////////
คสช.สั่งคลังทำข้อมูลเตรียมลดผลปย.บอร์ดรัฐวิสาหกิจเพิ่ม
Thu, 12/06/2014
หลังมีการตัดสิทธิประโยชน์การบินฟรีของกรรมการบริษัทการบินไทย คสช. ยังสั่งการให้กระทรวงการคลังทำข้อมูลผลตอบแทนและสิทธิประโยชน์ส่วนเกินที่กรรมการรัฐวิสาหกิจไม่ควรได้ และ

รายงานให้ คสช.รับทราบ เพื่อพิจารณาลดผลประโยชน์เพิ่มเติม

หลังมีการตัดสิทธิประโยชน์การบินฟรีของกรรมการบริษัทการบินไทย คสช. ยังสั่งการให้กระทรวงการคลังทำข้อมูลผลตอบแทนและสิทธิประโยชน์ส่วนเกินที่กรรมการรัฐวิสาหกิจไม่ควรได้ และ

รายงานให้ คสช.รับทราบ เพื่อพิจารณาลดผลประโยชน์เพิ่มเติม

หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ได้มอบหมายให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้า คสช.ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ไปทบทวนและดูความเหมาะสมของสิทธิ

ประโยชน์ของกรรมการในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง โดยให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรก ที่ปรับลด

สิทธิประโยชน์ของบอร์ดด้วยการยกเลิกการให้ตั๋วโดยสาร

เบื้องต้นมีการเปิดเผยข้อมูลผลตอบแทนของบอร์ดรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง เช่น การบินไทย นอกจากตั๋วโดยสารฟรีปีละ 20 ใบ กรรมการยังได้รับเบี้ยประชุม คนละ 30,000 บาทต่อเดือน ส่วนประธาน

จะได้รับเพิ่มอีก ร้อยละ 25

ขณะที่คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. กำหนดจ่ายเบี้ยประชุมให้กับประธานบอร์ดครั้งละ 20,000 บาท ส่วนกรรมการได้รับคนละ 10,000 บาท นอกจากนี้ยังมีค่าตอบ

แทนกรรมการคนละ 50,000 บาทต่อปี ส่วนประธานบอร์ดจะได้รับปีละ 100,000 บาท

ส่วนคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ. ได้กำหนดเบี้ยประชุมให้กรรมการครั้งละ 10,000 บาทต่อคน โดยไม่มีค่าตอบแทนและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น

ด้านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ บีโอไอ ประธานบอร์ดจะได้รับเบี้ยประชุม 7,000 บาทต่อครั้ง ส่วนกรรมการจะได้รับครั้งละ 6,000 บาท โดยมีการประชุมเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง แต่จะไม่มี

ผลตอบแทนเหมือน รัฐวิสาหกิจอื่นๆ

ส่วนค่าตอบแทนของกรรมการของบริษัทปตท. จำกัด มหาชน ในส่วนของเบี้ยประชุมของคณะกรรมการปตท.ประกอบด้วย เบี้ยกรรมการเดือนละ 30,000 บาท เบี้ยประชุมเฉพาะกรรมการที่เข้า

ร่วมประชุมครั้งละ 50,000 บาท โดยจำกัดการจ่ายไม่เกินปีละ 15 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีเบี้ยประชุมอื่นที่คณะกรรมการ ปตท.แต่งตั้งขึ้นด้วย ในส่วนของเงินโบนัส ในปี 2556 ปตท.จ่ายโบนัสให้กับ

คณะกรรมการจำนวน 15 คนเป็นเงินกว่า 37.5 ล้านบาท และตลอดทั้งปี 2556 ปตท.ต้องจ่ายเงินโบนัสและเบี้ยประชุมเป็นเงินประมาณ 51.3 ล้านบาท
/////////////////////

วันเกิดบิ๊กบัง

พลเอก ดร.สนธิ บุญยรัตกลิน[1] (2 ตุลาคม พ.ศ. 2489 — ) อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบกของไทยคนแรกที่เกิดภายใต้พระบรมโพธิสมภารในรัชกาลปัจจุบันและก็เป็น ผู้บัญชาการ

ทหารบกของไทยคนแรกที่มาจากชาวไทยมุสลิม และอดีตหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในเหตุการณ์ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ.

2549 ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ

ประวัติ
พลเอก สนธิ เป็นบุตรของ พันเอกสนั่น (นามสกุลเดิม อหะหมัดจุฬา) [2] และนางมณี บุญยรัตกลิน ชาวไทยเชื้อสายมอญ เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 6 คน เติบโตในครอบครัวมุสลิม

ที่นับถือนิกายชีอะห์ ในจังหวัดปทุมธานี (บิดานับถือนิกายชีอะห์) แต่ตัวท่านนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ (มารดานับถือนิกายซุนนีย์) [3] ต้นตระกูล เฉกอะหมัด หรือ เจ้าพระยาบวรราชนายก

ขุนนางเชื้อสายเปอร์เซีย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี และ สมุหนายกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ลูกหลานบางส่วนของเฉก อาหมัด เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ เช่น ตระกูลบุนนาค ตระกูลจุฬารัตน์

โดยนามสกุล บุญยรัตกลิน (อ่านว่า บุน-ยะ-รัด-กะ-ลิน) จริงๆแล้วคือ บุณยรัตกลิน แต่พิมพ์ผิดเป็น "ญ" นั้น เป็นนามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 มีที่มาจากการที่หนึ่งในสาแหรกฝั่งย่าเป็นทหาร

เรือ สังกัดพรรคกลิน คือหลวงพินิจกลไก (บุญรอด) [4] มีชื่อทางมุสลิมว่า อับดุลเลาะห์ อหะหมัดจุฬา ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "บิ๊กบัง"

พลเอก สนธิ มีภรรยาทั้งหมด 3 คน ภรรยาคนแรกชื่อ สุกัญญา จดทะเบียบสมรสขณะที่ พลเอก สนธิยังเป็นพลโท ภรรยาคนที่สองชื่อ ปิยะดา จดทะเบียนสมรสเมื่อเป็นนายพล ภรรยาคนที่สามชื่อ

วรรณา ปัจจุบันอาศัยอยู่กับทั้งหมดแม้ว่าการมีภรรยาสามคนจะเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทยก็ตาม อย่างไรก็ตาม นายอารีย์ วงศ์อารยะ [5] [6] วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พลเอก สนธิ

กล่าวว่าตนไม่ยื่นแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินของภรรยาคนที่ 3 ต่อ ป.ป.ช. เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องกันทางกฎหมาย [7]

บุตรที่เกิดกับนางปิยะดา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ ร.อ.นิธิ บุญยรัตกลิน (ป๊อป) และ นายนิรินทร์ บุญยรัตกลิน (ไปป์) บุตรที่เกิดกับนางวรรณา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ พ.ต.ต.สุทธิเวท บุญยรัตกลิน

และ ร.ท.สุธาวิทย์ บุญยรัตกลิน และบุตรที่เกิดกับนางสุกัญญา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ นายเอกรินทร์ บุญยรัตกลิน และน.ส.ศศิภา บุญยรัตกลิน (พลอย)

การศึกษา
พลเอก สนธิศึกษาในระดับประถมและมัธยมที่ โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ และศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมทหาร (รุ่นที่ 6) และศึกษาต่อ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เหล่าทหารราบ (รุ่นที่ 17)

และได้ศึกษาในระดับอุดมศึกษา สำหรับปริญญาโท สาขาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (การทหาร) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่

42) ในปี พ.ศ. 2556จบปริญญาเอก สาขารัฐศาสตร์ (สาขาวิชาการเมือง) มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นแรกของคณะ โดยมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นประธานรุ่น ที่มีอายุมากที่สุดคือ 63 ปี

บทบาททางการเมือง

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

ดูบทความหลักที่: รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พลเอก สนธิ เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองของ รัฐบา

ลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเกิดขึ้นก่อนจะมีการเลือกตั้งเดือนหน้า และ ซึ่งอยู่ระหว่างการประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก

อนึ่งในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พลเอก สนธิ เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศคำสั่งให้อำนาจหน้าที่ของนายก

รัฐมนตรีเป็นของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ดังนั้นจึงให้ถือว่าพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เคยดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีด้วย

หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว พลเอก สนธิ ได้เปลี่ยนตำแหน่งจากหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปเป็นประธานคณะมนตรีความ

มั่นคงแห่งชาติ

หลังเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2550 พลเอก สนธิ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงโดยเฉพาะ ในรัฐบาลพลเอก สรุยุทธ์ จุลานนท์ [9]

หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ

หลังพ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี พลเอกสนธิ ก็มักปรากฏข่าวคราวว่าจะเล่นการเมือง โดยจะเป็นหัวหน้าพรรคเอง ในที่สุด ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 พลเอก สนธิก็รับตำแหน่ง

ประธานพรรคมาตุภูมิ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งโดยนักการเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นมุสลิม โดยมีเป้าหมายหวังฐานเสียงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [10] และรับตำแหน่งหัวหน้า

พรรคในปี พ.ศ. 2554 โดยการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคมาตุภูมิ[11]

ประธานคณะกรรมาธิการปรองดองฯ

บัญชีทรัพย์สิน

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้เปิดเผยรายการบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินของคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

โดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ยื่นบัญชีทรัพย์สินเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีมีทรัพย์สิน 38,796,977 บาท ประกอบด้วยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ 10,241,195 บาท เงินฝากในสถาบันการเงิน

อื่น 13,355,541 บาท หลักทรัพย์รัฐบาล และรัฐบาลค้ำประกัน 142,600 บาท หลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาต 6,393,240 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 4,664,400 บาท สิ่งปลูกสร้าง 1 หลัง

มูลค่า 4 ล้านบาท ภรรยาทั้ง 2 คน ที่จดทะเบียนสมรสคือ นางสุกัญญา มีทรัพย์สินกว่า 14 ล้านบาท และ นางปิยะดา 42 ล้านบาท บุตรสาวที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะกว่า 3 แสนบาท ซึ่งรวมทั้งครอบครัว

แล้วมีทรัพย์สินกว่า 94 ล้านบาท

ผ่ายุทธวิธี!...ชำแหละขุมทรัพย์ “รื้อโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ ฉากหน้าหรือเอาจริง?”

ผ่ายุทธวิธี!...ชำแหละขุมทรัพย์ “รื้อโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ ฉากหน้าหรือเอาจริง?”
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 18 มิ.ย. 2557 05:45

“เก้าอี้บอร์ดรัฐวิสาหกิจ” เปรียบได้ดั่งอู่ข้าวอู่น้ำของเหล่าพรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้งได้เสียงข้างมากเข้ามาบริหารประเทศ ที่จะเดินเกมส่งบุคคลที่มีสายสัมพันธ์อันดีและเป็นที่ไว้วางใจไปเป็นคณะกรรมการ หรือบอร์ดแต่ละรัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่การปูนบำเหน็จรางวัลให้คนรับใช้ใกล้ชิดในเครือข่ายเข้าไปนั่งในบ่อเงิน บ่อทอง ทำงานสนองนโยบายให้เป็นไปอย่างคล่องตัว

กระนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดโต๊ะ จัดเก้าอี้เป็นที่เรียบร้อย จึงเป็นการเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์และส่งเสริมให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันขนานใหญ่!

โดยเฉพาะระบอบทักษิณอันเป็นระบอบที่ครองอำนาจมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน บอร์ดรัฐวิสาหกิจแทบทุกแห่งจะมีคนของนายใหญ่ เข้าไปฝังตัวรับทรัพย์ตุงกระเป๋าอยู่ทั่วทุกหนแห่ง โดยที่นายใหญ่

ไม่จำเป็นต้องควักเงินในกระเป๋ามาจ่ายให้สักแดงเดียว หากเพราะนี่คือยุทธวิธีจัดสรรผลประโยชน์อย่างชาญฉลาด และสุดถนัดของคนแดนไกล


ฉะนั้น เมื่อถึงช่วงเวลาอันเหมาะเจาะที่จะรื้อกันเสียที ก็ควรจะต้องปฏิรูปกันเสียให้สิ้นซาก และเป็นมาตรการถาวร ยั่งยืน และที่สำคัญ จะต้องจับตาให้ดีว่า คสช.จะล้างบางได้สำเร็จ หรือพลาดพลั้ง

หนุนนำคนของระบอบทักษิณขึ้นมาหากินบนหลัง คสช.ได้อย่างเนียนๆ หรือไม่

‘ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์’ จะพาคุณไปไขปริศนา ค้นหาคำตอบถึง แนวทางการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจในยุครัฐประหาร ‘บิ๊กตู่’ ว่าจะเก่งกล้าสามารถรื้อได้สำเร็จ ชนิดถอนรากถอนโคน หรือจะเข้า

สำนวนลูบหน้าปะจมูก เท่านั้น...

ชำแหละ! ขุมทรัพย์รัฐวิสาหกิจ เบี้ยประชุมจัดเต็ม โบนัสจัดจริง
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)...
ประธานบอร์ดการบินไทย ได้เบี้ยประชุมครั้งละประมาณ 45,000 บาท กรรมการได้ 30,000 บาท และยังได้สิทธิตั๋วโดยสารเครื่องบินต่างประเทศปีละ 10 ใบ ในประเทศอีก 10 ใบ

ค่ายานพาหนะในแต่ละเดือนของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งขณะนี้ในระดับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้รับเดือนละ 75,000 บาท และระดับผู้อำนวยการใหญ่ได้รับ 70,000 บาท


การบินไทย รัฐวิสาหกิจที่ขึ้นชื่อว่ามีระบบเส้นสายมาก
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)...
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บอร์ดจะได้รับค่าเบี้ยประชุมเดือนละ 3 หมื่นบาท เบี้ยประชุมเฉพาะที่เข้าร่วมประชุมครั้งละ 5 หมื่นบาท จ่ายเบี้ยประชุมไม่เกินปีละ 15 ครั้ง และเบี้ยประชุมอื่นที่บอร์ด

แต่งตั้ง บอร์ดตรวจสอบได้รับเบี้ยกรรมการรายเดือน เดือนละ 1.5 หมื่นบาท ได้เบี้ยประชุมครั้งละ 1.5 หมื่นบาท

ในส่วนของเงินโบนัส จะสะท้อนและเชื่อมโยงกับผลประกอบการ หรือกำไรสุทธิของ ปตท. ในอัตรา 0.05% ของกำไรสุทธิประจำปี แต่กำหนดวงเงินสูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อคนต่อปี และในปี

2556 ปตท.ต้องจ่ายเงินบอร์ด มูลค่ากว่า 64.4 ล้านบาท แยกเป็น เงินเบี้ยประชุม 16.3 ล้านบาท และเงินโบนัส 45.12 ล้านบาท

บอร์ด ปตท.จะไม่ได้สิทธิใช้น้ำมันฟรี ส่วนพนักงาน ปตท. จะได้สิทธิซื้อน้ำมันราคาถูก หรือซื้อผลิตภัณฑ์ ปตท. ราคาถูก ในวงเงิน 3,000 บาทต่อปี

ในส่วนของบริษัท ปตท. ที่มีบริษัทลูกจำนวนมาก ยังพบว่าบริษัทลูกบางแห่ง มีการจ่ายผลตอบแทนให้กรรมการสูงกว่าบริษัท ปตท. ด้วย ซึ่งกระทรวงการคลังไม่สามารถเข้าแทรกแซงได้ เพราะไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ


ในปี 2555 ปตท. ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับที่ 95 จาก 500 ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)...
การประชุมบอร์ดได้รับเบี้ยประชุมครั้งละประมาณ 3 หมื่นบาทต่อเดือน และยังมีคณะกรรมการย่อยอีกจำนวน 6 คณะ ที่คณะกรรมการต้องเข้าไปนั่งเป็นกรรมการ ซึ่งค่าตอบแทน บอร์ดจะได้ชุดละ

3 หมื่นบาทต่อ 3 เดือน

บอร์ด 1 คน จะนั่งคณะกรรมการชุดนี้ประมาณคนละ 3 คณะ และยังมีค่าเบี้ยเลี้ยงประชุมคณะอนุกรรมการอีกครั้งละประมาณ 1 หมื่นบาทเท่านั้น และ ทอท. ไม่ได้มีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม


- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย...
กำหนดจ่ายเบี้ยประชุมให้กับประธานบอร์ดครั้งละ 20,000 บาท ส่วนกรรมการได้รับคนละ 10,000 บาท นอกจากนี้ยังมีค่าตอบแทนกรรมการคนละ 50,000 บาทต่อปี ส่วนประธานบอร์ดจะได้รับปี

ละ 100,000 บาท

บอร์ด กฟผ. ไม่มีการได้รับสิทธิประโยชน์ใช้ไฟฟ้าฟรี โดยการให้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรีแก่พนักงาน กฟผ.นั้น ที่ผ่านมา พนักงานเคยได้รับจริงแต่เป็นไปในรูปเงินยังชีพ ประเภทค่ากระแสไฟฟ้าที่รวมอยู่ใน

เงินเดือนและได้ยกเลิกไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 37 เป็นต้นมา (พนักงานที่เข้าก่อนปี 2537 ยังได้รับสิทธินี้อยู่)


บอร์ดกฟผ.ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ใช้ไฟฟ้าฟรี แต่ได้เบี้ยประชุมให้กรรมการครั้งละ 10,000 บาทต่อคน
บอร์ดรัฐวิสาหกิจสุดสะพรึง! แห่ลาออกก่อนโดนเก็บ

ภายหลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายปรับปรุงประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะประเด็นเรื่องผู้ที่มาเป็นกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ส่วนกระทรวงการคลัง ก็เร่งเดิน

หน้าประเมินสถานะและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกรรมการรัฐวิสาหกิจ และบริษัทมหาชนที่รัฐบาลถือหุ้นอยู่ทั้ง 56 แห่ง โดยรวบรวมรายละเอียด ทั้งเรื่องของผลตอบแทนและสิทธิประโยชน์ส่วน

เกิน ค่าตอบแทนกรรมการ เบี้ยประชุม โบนัส และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่กรรมการได้รับ เพื่อเสนอให้ คสช.พิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง


เหล่าบอร์ดรัฐวิสาหกิจที่แจ้งลาออกจากตำแหน่ง
ฉะนั้น จึงไม่แปลกแต่อย่างใด ที่เหล่าคณะกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ จะเริ่มร้อนๆ หนาวๆ ทยอยลาออกกันเป็นทิวแถว...

ล่าสุด ยอดรายชื่อบอร์ดรัฐวิสาหกิจที่แจ้งลาออกจากตำแหน่งแล้ว จำนวน 6 คน ทั้งนายวรวิทย์ จำปีรัตน์ ประธานธนาคารกรุงไทย นายศิธา ทิวารี ประธานกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย นาย

ปานปรีย์ พหิทธานุกร ประธานกรรมการบริษัท ปตท. พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล นายธานินทร์ อังสุวรังษี กรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ

นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)


สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นอีกหนึ่งรัฐวิสาหกิจที่นักการเมืองจะส่งพวกพ้องเข้ามานั่งเก้าอี้บอร์ด
แหก พ.ร.บ. อุ้มพรรคพวก ส่องรัฐวิสาหกิจแห่งแดนสนธยา
รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต ได้วิพากษ์ถึงประเด็นการตัดสิทธิประโยชน์ให้กับ 'ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์' ฟัง อย่างน่าสนใจว่า ณ ปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจเป็น

จำนวนน้อยมากที่มีระบบธรรมาภิบาลอันเป็นที่ยอมรับได้ หากเพราะไม่ว่าจะเป็นขั้วไหน ฝ่ายใดขึ้นมาเถลิงอำนาจ ก็ย่อมจะส่งคนของฝ่ายการเมืองเข้ามาเป็นกรรมการเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทั้งสิ้น

โดยเฉพาะระบบการจัดซื้อจัดจ้าง อันเป็นยุทธวิธีที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง มิหนำซ้ำยังเป็นหนทางที่แสนจะง่ายดายและแยบยลที่สุด...

รศ.ดร.สังศิต ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “หากผู้บริหารไม่สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้รุดหน้า สร้างผลกำไรให้เกิดแก่บริษัทได้ ฉะนั้น ควรแล้วหรือที่จะได้รับผลตอบแทน สิทธิประโยชน์นานา ในขณะ

เดียวกัน หากผู้บริหารคนนั้นๆ สามารถบริหารงานสร้างผลกำไร หนุนนำความเจริญก้าวหน้าให้แก่องค์กรได้ เช่นนั้นจึงจะควรค่าแก่การได้รับผลตอบแทน แม้ว่าจะต้องตอบแทนกันอย่างมากมาย ก็็

ถือว่าเป็นเรื่องอันควร”


ในปี 2556 คือ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นรัฐวิสาหกิจที่สามารถนำเงินส่งรัฐได้มากที่สุด

มิใช่ว่า ประเทศไทยจะไม่มีกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขใดๆ ในการสรรหาคณะกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ แต่ที่ผ่านมานักการเมืองไม่เคารพกฎหมาย และแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆ ในรัฐวิสาหกิจกัน

อย่างตามอำเภอใจ ทั้งๆ ที่มี พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 บัญญัติไว้อย่างชัดเจน

“มาตรา 5 กรรมการของรัฐวิสาหกิจ จะต้องมีคุณวุฒิและประสบการณ์เหมาะสมกับกิจการของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ, ไม่เป็นข้าราชการการเมือง, ไม่เป็นผู้ถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ จะต้องไม่เคยต้อง

คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่” นี่คือตัวอย่างข้อบังคับที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.อย่างชัดเจน


ปตท. เป็๋นรัฐวิสากิจอันดับต้นๆที่มีคนจำนวนมากอยากเข้าไปร่วมงาน
ทว่าบรรดากฎหมาย และข้อบังคับได้กำหนดไว้อย่างมากมายภายใต้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว แต่กระนั้น เหล่าผู้เรืองอำนาจทั้งหลาย ก็ยังจะแหกกฎ ฝ่าฝืนกันอย่างซึ่งหน้า บ้างก็ถ่างขาควบตำแหน่ง

หลายแห่ง ฟันค่าตอบแทนกระเป๋าตุงปีละหลายๆ ล้าน หรือการเปิดโอกาสให้ผู้ต้องโทษ หรือกลุ่มที่มีคดีร่ำรวยผิดปกติ เข้ามาเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ จนได้เข้าไปชูคอเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจจำนวน

มาก

ส่วนรัฐวิสาหกิจที่น่าเป็นห่วงและควรแก่การปฏิรูปอย่างถึงรากถึงโคน คือ ปตท. รัฐวิสาหกิจที่ขึ้นชื่อว่า เป็นแดนสนธยา การบินไทยสุดยอดแห่งระบบอุปถัมภ์ และรัฐวิสาหกิจที่เก่ียวข้องกับหน่วย

งานพลังงานและคมนาคมก็อยู่ในสถานะที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน

ดังนั้น รัฐวิสาหกิจควรจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน โดยเฉพาะการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร เนื่องจากที่ผ่านมา การปรับเปลี่ยนนั้น ฝ่ายรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลและปรับเปลี่ยนบอร์ดไป

ตามยุคตามสมัยขั้วอำนาจ ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น ทางออกควรมีผู้ทรงคุณวุฒิอิสระและมาจากการสรรหาเพื่อถ่วงดุลอำนาจ และควรแก่การร่างกฎหมายบังคับมิให้ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์การ

แต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจอย่างเด็ดขาด หากผู้ใดฝ่าฝืนให้ฟ้องร้องได้เลย เพื่อป้องกันการทุจริตในอนาคต


บอร์ดปตท. ได้เงินโบนัสคณะกรรมการได้ 0.05% ของกำไรสุทธิประจำปี 57
ค่าตอบแทนน้อย-กำไรมาก ความแตกต่างระหว่างต่างชาติ-ไทย
ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้สะท้อนทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวผ่าน ‘ทีมข่าวไทยรัฐ

ออนไลน์’ ว่า หากเราพิจารณาเปรียบเทียบรัฐวิสาหกิจของไทย กับต่างชาติ จะพบว่า ในต่างประเทศ อย่างเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย การแต่งตั้งบอร์ดใช้วิธีการสรรหา เหมือนกับเอกชนทั่วไป และไม่มี

ข้าราชการเข้ามาร่วมบริหารองค์กรรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด มีแต่มืออาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้องกับองค์กรรัฐวิสาหกิจนั้นๆ เข้ามาบริหาร อีกทั้งแต่ละคนล้วนแล้วแต่มากด้วยประสบการณ์ และเป็นที่จัด

เจนทั้งสิ้น

ส่วนสาเหตุที่ไม่ควรให้ข้าราชการเข้ามาอยู่ในคณะกรรมการบอร์ดนั้น เนื่องจากเกรงว่าจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะข้าราชการบางคนอยู่ในตำแหน่งหน้าที่กำกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจนั้นอยู่แล้ว

ฉะนั้น แม้แต่จะได้ค่าตอบแทนก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่ควรได้รับอยู่ดี ซึ่งถือว่าเป็นการทำตามหน้าที่ ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการให้การบริหารรัฐวิสาหกิจเจริญรุ่งเรืองเหมือนต่างประเทศ ข้าราชการ

ไม่ควรเข้ามาเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ


ในปี 2556 ปตท.จ่ายโบนัสให้กับคณะกรรมการจำนวน 15 คน เป็นเงินกว่า 37.5 ล้านบาท
หากต้องการปรับปรุงรัฐวิสาหกิจจริง จะต้องรื้อกระบวนการการสรรหาตำแหน่งต่างๆ ทั้งประเทศ มิใช่จะทำแค่ค่อนๆ กลางๆ และที่สำคัญจะต้องนำมืออาชีพเข้ามาบริหารรัฐวิสาหกิจ โดยให้ค่า

ตอบแทนที่มีการกำหนดไว้ให้ชัดเจน และเหมาะสมแก่คุณสมบัติของบุคคลนั้นๆ

“เปรียบเทียบค่าตอบแทนของคณะกรรมการ ปตท. กับ คณะกรรมการบริษัท สแตทออยล์ ไฮโดร ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติของประเทศนอร์เวย์ พบว่า กรรมการของบริษัทสแตทออยล์ฯ ได้รับ

ค่าตอบแทนต่อคนต่อปีน้อยกว่ากรรมการ ปตท. ร่วม 1 ล้านบาท ในขณะที่บริษัทพลังงานแห่งชาติของนอร์เวย์แห่งนี้ มียอดขายมากกว่า ปตท. 2 เท่า สามารถทำกำไรมากกว่า ปตท. 3 เท่า โดยที่มี

กรรมการน้อยกว่าแต่ประชุมมากกว่า และค่าครองชีพของประเทศนอร์เวย์สูงกว่าประเทศไทย” ดร.เดือนเด่น ได้ยกตัวอย่างไว้อย่างถึงลูกถึงคน


ทว่า ประชาชนตาดำๆ กำลังจับจ้องการรื้อโครงสร้าง ล้างคอร์รัปชัน ของ คสช. ว่าจะเข้าอีหรอบเก่า ตำราเดิมอีกหรือไม่ เพราะบรรดาเสือหิว กำลังจับจ้องเก้าอี้ว่างกันให้ตาเป็นมัน โดยมุ่งหวังที่จะ

เสียบแทนพวกเก่าที่ถูกโละออกไป...ฉะนั้น วินาทีนี้ จึงเป็นเวลาพิสูจน์ฝีไม้ลายมือว่า เหล่าทหารหาญ จะเป็นได้แค่ คสช.เทียม หรือ คสช.แท้ กันแน่!
/////////////////////
คสช.ทุบ20บอร์ดรัฐวิสาหกิจ ส่งคนคลัง-ธปท.คุมแบงก์รัฐ

updated: 24 ก.ค. 2557 เวลา 16:00:30 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เดิน หน้าปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ จัดสรรที่นั่งบอร์ดใหม่ลงตัวแล้วกว่า 20 แห่ง แค่รอไฟเขียว "ประยุทธ์" ส่งคนคลัง-แบงก์ชาติ นั่งกำกับนโยบายแบงก์รัฐปลัดรังสรรค์ควบเก้าอี้ใหญ่ ธ.ก.ส.-ทหารไทย-

ปตท. ส่วน "พิสิฐ ลี้อาธรรม-มนตรี ศรไพศาล" นั่งบอร์ดทีโอที

ผู้สื่อ ข่าวรายงานว่า หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายจะปรับปรุงรัฐวิสาหกิจทั้ง 56 แห่ง พร้อมทั้งได้มีการประกาศ แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ

หรือซูเปอร์บอร์ด เพื่อกำหนดนโยบายในการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจทั้ง ระบบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันได้รื้อสิทธิประโยชน์ และค่าตอบ

แทน บอร์ดรัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดยพุ่งเป้าไปที่ค่าตอบแทนพิเศษ รวมถึงการรื้อโบนัสพนักงานรัฐวิสาหกิจ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง

ของการดำเนินงานนอก จากนี้ ที่ผ่านมา คสช.ได้ทยอยปรับเปลี่ยนคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจไปจำนวนหนึ่ง อาทิ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ท่า

อากาศยานไทย จำกัด (ทอท.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นต้น

ล่าสุด มีความเคลื่อนไหวเรื่องการปรับเปลี่ยนบอร์ดรัฐวิสาหกิจอีกจำนวนหนึ่ง

จ่อตั้งบอร์ด รสก.กว่า 20 แห่ง

แหล่ง ข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ขณะนี้การแต่งตั้งประธานคณะกรรมการและกรรมการในรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการ เสร็จเรียบร้อยแล้วกว่า 20 แห่ง รอเพียง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หัวหน้า คสช. ออกประกาศแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเท่านั้น โดยรัฐวิสาหกิจที่มีการปรับบอร์ด อาทิ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทุกแห่ง เช่น ธนาคารออมสิน ที่มีการตั้งนายสมชัย สัจจพงษ์

อธิบดีกรมศุลกากรเป็นประธาน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) แต่งตั้งนายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นประธาน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด

ย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ตั้งนางสาลินี วังตาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.เป็นประธาน ส่วนธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยตั้งนายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ เป็นประธานขณะที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและ

สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง นั่งเป็นประธานบอร์ดโดยตำแหน่งเป็นการชั่วคราว และได้ตรวจสอบกับ ธปท.แล้ว ระบุว่านายรังสรรค์ไม่จำเป็นต้อง

ลาออกจากการเป็นประธานบอร์ดธนาคารทหารไทย ซึ่งกระทรวงการคลังถือหุ้น และยังสามารถนั่งเป็นกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ด้วยส่วนธนาคารกรุงไทยที่ต้องแต่งตั้งกรรมการ

แทนนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่ต้องลาออกไปเป็นกรรมการ ธปท. (โดยตำแหน่ง ผอ.สศค.) นั้น ขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งนายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล

รองปลัดกระทรวงการคลังเข้าไปนั่งแทน"แบงก์รัฐส่วนใหญ่จะตั้งคนของกระทรวงการ คลังกับแบงก์ชาติเข้าไปเป็นประธาน" แหล่งข่าวกล่าวส่วนรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนบอร์ดรอบนี้

อาทิ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เป็นต้น

เขย่าบอร์ดคมนาคม

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคมเป็นอำนาจของ สคร. แต่มีแนวโน้มว่ากรรมการใน

บอร์ดบางแห่งอาจจะต้องปรับเปลี่ยน หลังมีการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารในบางหน่วยงานใหม่ เช่น บอร์ดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่นายจุฬา สุขมานพ เป็นกรรมการ อาจ

ต้องเปลี่ยนเนื่องจากนายจุฬาได้รับคำสั่งให้ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมเจ้าท่า ส่วนบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) อาจจะไม่ปรับเปลี่ยนเพราะตรงกับ

สายงานอยู่แล้วผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรัฐวิสาหกิจอื่นในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่อาจมีการปรับเปลี่ยน ประกอบด้วย บอร์ดองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)

และสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) ที่นายสมชัย ศิริวัฒนโชค อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ที่ถูกโยกไปเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธาน

พลเรือเอกอภิวัฒน์ ปธ.บอร์ดท่าเรือ

สำหรับ บอร์ดการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) มีการเปลี่ยนแปลงบอร์ดชุดใหม่ โดยมีพลเรือเอกอภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ เป็นประธานกรรมการ ประกอบด้วย

พลเรือเอกจักรชัย ภู่เจริญยศ รองผู้บัญชาการทหารเรือ, พลโทฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รองเสนาธิการทหารบก,นายจุฬา

สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.), นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม, นายกฤษฎา อุทยานิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง, นางสาวชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวง

พาณิชย์ มีผลตั้งแต่ 1กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยนายจุฬาและนายศรศักดิ์ยังคงอยู่ เพราะแต่งตั้งโดยชื่อ แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งแล้วก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับตำแหน่งประธาน

บอร์ดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีกระแสข่าวผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง คือนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม

"พิสิฐ-มนตรี" นั่งบอร์ดทีโอที

รายงาน ข่าวแจ้งว่า หลังจากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท กสท โทรคมนาคมเรียบร้อยแล้วตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งบอร์ด บมจ.ทีโอทีเช่นกัน ซึ่งรายชื่อที่ออกมา ได้แก่

พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ รองเสนาธิการทหาร, นายพิสิฐ ลี้อาธรรม, นายมนตรี ศรไพศาล, ดร.ชิด เหล่าวัฒนา เป็นต้น ซึ่งช่วงที่ผ่านมาการขับเคลื่อนแผนธุรกิจรวมถึงการปรับปรุงองค์กรของทั้งสอง

องค์กรหยุดชะงักลงจากการว่างเว้นบอร์ด รวมถึงรัฐมนตรีไอซีที เช่น การทำสัญญาธุรกิจขายส่งขายต่อบริการ 3G ของทีโอที เป็นต้น

ด้านนาย ธนศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) เปิดเผยว่า เมื่อ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา กปน.ได้รับคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) กปน.ชุดใหม่ ทดแทนประธานบอร์ดเดิม

คือนายสมัย อนุวัตรเกษม และบอร์ดชุดเดิมที่ลาออกรวม 9 คน จากทั้งหมด 10 คน เมื่อ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา คงเหลือผู้ว่าการ กปน.ที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง โดยคำสั่งแต่งตั้งบอร์ดชุดใหม่

แต่งตั้งนายเจริญ ภัสสระ อดีตผู้ว่าการ กปน.เป็นประธานบอร์ดคนใหม่ และกรรมการอีก 9 คนขณะที่บอร์ดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ที่นางอัญชลี ชวนิชย์ ประธานบอร์ดได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่ง

ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน เพื่อเปิดทางให้ คสช.ปฏิรูปพลังงาน ก็กำลังถูกจับตามองเช่นเดียวกันว่าจะมีการประกาศแต่งตั้งในคราวเดียวกัน

ครม.ไฟเขียวหน.คสช.รับเหนาะๆ 125,590 บ./ด.

ครม.ไฟเขียวหน.คสช.รับเหนาะๆ 125,590 บ./ด.

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ในการประชุม ครม. วานนี้ ได้เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่น ของผู้ดำรง

ตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญบางตำแหน่ง พ.ศ.... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มาเพื่อ ครม.พิจารณา ซึ่งเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 มาตรา 40

กำหนดให้เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้ดำรงตำแหน่งตามที่กำหนด ให้เป็นไปตามกำหนดในพระราชกฤษฎีกา รวมทั้งได้กำหนดค่าตอบแทนและประโยชน์ตอบ

แทนอื่น แก่คณะกรรมาธิการและคณะอนุกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติแ ละคณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย

ครม.ไฟเขียวหน.คสช.รับเหนาะๆ125,590บ./ด.: พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ © กรุงเทพธุรกิจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก

รัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
"การกำหนดเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มเทียบเคียงจากลักษณะงานของผู้ดำรงตำแหน่งที่คล้ายคลึงกัน และกำหนดอัตราเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในประเทศและต่าง

ประเทศโดยเทียบเคียงกับทางราชการ และกำหนดค่ารักษาพยาบาล ให้ได้รับเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากมีลักษณะงานที่คล้ายคลึงกัน"

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาได้กำหนด ดังนี้ 1.หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เงินประจำตำแหน่ง 75,590 บาท/เดือน เงินเพิ่ม

อีก 50,000 บาท/เดือน รวม 125,590 บาท/เดือน โดยได้รับอัตราเดียวกับประธานสภาผู้แทนฯ 2.ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นใน คสช.และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เงินปประจำตำแหน่ง 74,420

บาท/เดือน เงินเพิ่ม 45,500 บาท/เดือน รวม 119,920 บาท/เดือน ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับประธานวุฒิสภา

3.รองประธาน สนช. และรองประธาน สปช. เงินประจำตำแหน่ง 73,240 บาท/เดือน เงินเพิ่ม 42,500 บาท/เดือน รวม 115,740 บาท/เดือน ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับรองประธานสภาผู้แทนฯ และรอง

ประธานวุฒิสภา 4.สมาชิก สนช. และสมาชิก สปช. เงินประจำตำแหน่ง 71,230 บาท/เดือน เงินเพิ่ม 42,330 บาท/เดือน รวม 113,560 บาท/เดือน ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนฯ และสมาชิก

วุฒิสภา

5.ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่มีเงินเดือน แต่ได้เบี้ยประชุม 9,000 บาท/ครั้ง 6.กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่มีเงินเดือน แต่ได้เบี้ยประชุม 6,000 บาท/ครั้ง 7.กรรมาธิการ สนช.

และกรรมาธิการ สปช. ไม่มีเงินเดือน แต่ได้รับเบี้ยประชุม 1,500 บาท/ครั้ง

"ตำแหน่งที่ 5 , 6 และ 7 ได้รับสิทธิ์ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการภายในราชอาณาจักร เดียวกับข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง"

8. อนุกรรมาธิการของ สนช. และอนุกรรมาธิการของ สปช. ไม่มีเงินเดือน แต่ได้รับเบี้ยประชุม 800 บาท/ครั้ง พร้อมได้รับสิทธิ์ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการภายในราชอาณาจักร เดียวกับข้าราชการ

ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม

อนุมัติเพิ่ม 105 ล้านให้โครงการสร้างรัฐสภาใหม่

นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) ในสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมตามโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ให้กับโรงเรียนโยธินบูรณะ จำนวน

105,654,700 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของครุภัณฑ์ระบบสาธารณูปโภค และการก่อสร้างโรงอาหารชั่วคราวของโรงเรียน

โดยใช้จ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2556 ของ สผ. ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ

อนุมัติเห็นชอบให้คว่ำบาตรเกาหลีเหนือ

พร้อมกันนี้ ครม.อนุมัติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ขอความเห็นชอบต่อการดำเนินการตามข้อเสนอของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ที่ 2141 (ค.ศ.2014)

เกี่ยวกับการให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ และคณะผู้เชี่ยวชาญภายใต้คณะกรรมการคว่ำบาตร

ทั้งนี้มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของไทย ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การท่าเรือแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ธนาคารแห่ง

ประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย คณะกรรมการการบินพลเรือน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ปฏิบัติตามข้อมติดังกล่าวและปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้

เป็นไปตามรายชื่อล่าสุด

สถานการณ์ข่าว2ต.ค.57

นายกฯ แจงผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่น ยัน บริหารประเทศเป็นธรรม ยึดโรดแมป ดูแลความมั่นคง-เศรษฐกิจ 

ร้อยเอกนายแพทย์ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นเข้าพบนายกรัฐมนตรี ว่า นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่นได้ฝากสาส์นแสดงความยินดีในการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมทั้งเชิญไปเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงถึงเหตุผลที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ต้องเข้ามามีบทบาททางการเมือง รวมถึงการเข้ามาบริหารดูแลเสถียรภาพ ด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยทางรัฐบาลญี่ปุ่นมีความเข้าใจถึงสถานการณ์ในประเทศไทยเป็นอย่างดีและให้ดำเนินการตามโรดแมปที่วางไว้

อย่างไรก็ตาม ได้มีการเสนอการลงทุนท่าเรือน้ำลึกทวายในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งทางการญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจ พร้อมเสนอให้มีการประชุมไตรภาคีร่วมกัน 3 ประเทศ ซึ่งขณะนี้การพูดคุยอยู่ในภาพรวมและอยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
----------
นายกฯ ชวนญี่ปุ่นลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 แห่งติดกับชายแดนไทย ยืนยันจะดูแลอย่างเต็มที่ 

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เชิญให้ประเทศญี่ปุ่นพิจารณาการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 5 แห่งที่ติดกับชายแดนไทย ซึ่งถือเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย และพิจารณาการลงทุน 18 จังหวัดนอกเขตนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการกระจายเม็ดเงินสู่ท้องถิ่น

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียืนยันจะดูแลนักธุรกิจญี่ปุ่นที่มาลงทุนในประเทศไทยเพื่อรักษาผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดในประเทศญี่ปุ่น ที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยทั้งสองประเทศได้ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ซึ่งเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นจะมีความยั่งยืน
------------
"ยงยุทธ" ยืนยัน นายกฯ เดินทางเยือนพม่า 9-10 ต.ค. นี้ หารือความร่วมมือเศรษฐกิจ-สังคม

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุถึง การเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความ
สงบแห่งชาติ (คสช.) ในระหว่างวันที่ 9-10 ตุลาคม นี้ ว่า ทันทีที่เดินทางถึงจะพบปะหารือแบบเต็มคณะกับ นายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ในประเด็นความร่วมมือสารัตถะต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม และในช่วงค่ำวันดังกล่าว รัฐบาลเมียนมาร์จะจัดพิธีเลี้ยงรับรองนายกรัฐมนตรีและคณะอย่างเป็นทางการ

สำหรับวันที่สอง นายกรัฐมนตรีและคณะ จะพบปะกับนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในประเทศเมียนมาร์ เพื่อหารือถึงการลดอุปสรรด้านการค้าการลงทุน ที่รัฐบาลไทยจะได้หารือขอความร่วมมือกับรัฐบาลเมียนมาร์ ซึ่งปัจจุบันมีนักธุรกิจไทยจำนวนไม่น้อยไปลงทุนที่ประเทศเมียรมาร์ในหลาย ๆ ด้าน

ร.อ.นพ.ยงยุทธ ระบุว่า เหตุที่นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนสหภาพเมียนมาร์เป็นชาติแรก เนื่องจากเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกับไทย และในฐานะประธานอาเซียน ดังนั้นการเดินทางไปเยือนครั้งนี้ก็ถือเป็นการไปแนะนำตัวหลังเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ อย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียบปฏิบัติที่นายกรัฐมนตรีจะต้องเดินทางไปแนะนำตัวกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน
//////////
"พรเพชร" นัดสมาชิกประชุม สนช. ครั้งที่ 13 เตรียมเลือกกรรมการศาลยุติธรรม พร้อมพิจารณาร่าง กม. 9 ฉบับ

การรักษาความปลอดภัยที่รัฐสภา เช้านี้เป็นไปอย่างเข้มงวด เนื่องจากในเวลา 10.00 น. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นัดสมาชิกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่
13/2557 โดยมีวาระด่วนให้พิจารณา เริ่มจากการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ และการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน จากนั้นเป็นการพิจารณาร่างกฎหมาย 9 ฉบับ อาทิ ร่างพระราชบัญญัติการถวายความปลอดภัย พ.ศ. ... ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ร่างพระราชบัญญัติการค้างาช้าง พ.ศ. ...
-------
สนช. มีมติเลือก "เมธี - ปรีชา" ดำรงตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ภายหลังจากลงคะแนนแบบลับ โดยมีผลการลงคะแนน คือ

1. ศ.เมธี ครองแก้ว ได้ 144 คะนน
2. นายพิภพ อะสีติรัตน์ ได้ 91 คะแนน
3. นายปรีชา ชวลิตธำรง ได้ 134 คะแนน
4. นายวรสิทธิ์ โรจนพานิช ได้ 29 คะแนน

ทั้งนี้ ปรากฏว่า ศ.เมธี ครองแก้ว และ นายปรีชา ชวลิตธำรง เป็นผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นลำดับที่ 1 และ 2 จึงถือเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ

จากนั้นที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน
15 คน มีกรอบระยะเวลาการทำงานภายใน 15 วัน
------------
สนช. ผ่านร่างกฎหมายวาระ 3 แล้ว จำนวน 2 ฉบับ ขณะพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต่อ

ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติผ่านวาระ 3 เห็นสมควรให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติถวายความปลอดภัย พ.ศ. .... เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 201:0 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง
และเห็นสมควรให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 199:2 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง

จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การดำเนินคดีแบบกลุ่ม) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้เสนอ (เป็นเรื่องที่เลื่อนมาจากการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2557)
///////////
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ส่งเจ้าหน้าที่เร่งเตรียมสถานที่รับรายงานตัวสมาชิก สปช. พร้อมแล้ว

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด ทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ส่งเจ้าหน้าที่เร่งจัดเตรียมสถานที่รองรับการรายงานตัวสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ให้มีความพร้อมทันทีที่มีการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งรายชื่อ สปช. จำนวน 25 คน โดยมีการจัดพื้นที่บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา 1 พร้อมประดับดอกไม้สด การติดตั้งไฟเพิ่มเติม รวมถึงการจัดบอร์ดนิทรรศการต้อนรับ

ขณะที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบผ่านวาระแรกของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การดำเนินคดีแบบกลุ่ม) จากนั้นตั้งคณะกรรมาธิการ 15 คน แปรญัตติใน 7วัน และกำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน 30 วัน

//////////
เลขาฯ ป.ป.ช. เผย ได้ข้อสรุปถอดถอนทุกคดีสัปดาห์หน้า ก่อนส่ง สนช. ขณะ สปช. ยื่นแสดงบัญชีหรือไม่ ต้องพิจารณารายบุคคล

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผย สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ทาง ป.ป.ช. จะพิจารณาเรื่องถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้ส่งเรื่องกลับคืนมา ก่อนส่งไปยัง สนช. อีกครั้ง รวมถึงทุกสำนวนคดีที่ค้างอยู่ที่ ป.ป.ช. ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์หน้าเพื่อให้ สนช. พิจารณาถอดถอนต่อไป พร้อมกันนี้ ยืนยันว่า ทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาด้วยความยุติธรรมตามหลักกฎหมาย

นอกจากนี้ การยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จะพิจารณาเป็นรายบุคคลไป ทั้งนี้หาก สปช. ทำหน้าที่เพียงปฏิรูปและร่างกฎหมายโดยไม่แสวงหากำไร ไม่ได้ทำหน้าที่เสมือนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็อาจจะไม่จำเป็นต้องยื่นแสดงบัญชี
----
พรเพชร ยัน สนช. ใช้อำนาจวุฒิสภาถอดถอนได้ รอ ป.ป.ช. ส่งสำนวนกลับ ดำเนินการภายใน 30 วัน

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ล่าสุด เข้าสู่วาระการประชุมแล้ว โดยมี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ทั้งนี้ ก่อนการประชุม นายพรเพชร กล่าวว่า ขณะนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ยังไม่ได้ส่งสำนวนถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา กลับคืนมาให้ สนช. จึงยังไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ เพราะต้องรอพิจารณาเหตุผล แต่ยืนยัน สนช. ทำหน้าที่วุฒิสภาและใช้อำนาจถอดถอนได้ และหาก ป.ป.ช.ส่งเรื่องกลับมายัง สนช. โดยยังอ้างฐานความผิดตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็จะใช้ดุลพินิจของประธานพิจารณาว่า ความผิดยังคงอยู่หรือไม่ เสนอญัตติถอดถอนต่อที่ประชุม หากมีสมาชิกเห็นแย้ง ก็จะเปิดให้อภิปรายและลงมติ ซึ่ง สนช. ต้องดำเนินการภายในกรอบระยะเวลา 30 วัน
-----------
ป.ป.ช. มีมติส่งถอดถอน นิคม-สมศักดิ์ ให้ สนช. พิจารณาใหม่ คาดสัปดาห์หน้า ขณะพรุ่งนี้เตรียมเปิดบัญชีทรัพย์สิน

บรรยากาศที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภายหลังจากที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้ส่งสำนวนคดีถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ในกรณีมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมิชอบ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาใหม่อีกครั้ง

ล่าสุด ในวันนี้ได้มีการประชุมคณะกรรมการตั้งแต่ช่วงเช้า แต่ไม่เปิดเผยวาระการประชุม ซึ่งคาดว่าอาจมีการหารือในเรื่องดังกล่าวด้วย ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างการสรุปสำนวนคดีถอดถอนที่ค้างอยู่ที่ ป.ป.ช. ทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะส่งให้ สนช. พิจารณาได้ภายในสัปดาห์หน้า

อย่างไรก็ตาม สำหรับบรรยากาศที่สำนักงาน ป.ป.ช. ขณะนี้ได้มีการจัดเตรียมห้องแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแสดงบัญชี
ทรัพย์ของสมาชิก สนช. ในวันพรุ่งนี้
////////////////
"พล.ต.อภิรัชต์" ทำพิธีรับส่งหน้าที่ ผบ.พล.1 รอ.คนใหม่ "พล.ต.พงษ์สวัสดิ์" หลังได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1

บรรยากาศความเคลื่อนไหวที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) ถนนวิภาวดี พล.ต.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ได้ทำพิธีรับ-ส่งหน้าที่ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และการบังคับบัญชา ให้กับ พล.ต.พงษ์สวัสดิ์ พรรณจิตต์ โดยในพิธีได้มีการจัดกองทหารเกียรติยศไว้ต้อนรับเพื่อเป็นเกียรติแก่ พล.ต.อภิรัชต์ และ พล.ต.พงษ์สวัสดิ์ พร้อมกับการลงนามในสมุดรับส่งตำแหน่ง ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดิ ทั้งนี้ สำหรับ พล.ต.อภิรัชต์ นั้น ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1
-------------
"พล.อ.วีรัณ" ส่งมอบ ผบ.นปอ.คนใหม่ ขอยึดมั่นอุดมการณ์ ขณะ "พล.ท.พันธ์ศักดิ์" ยัน ทำหน้าที่ด้วยความสุจริต

พล.อ.วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล มอบตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก (ผบ.นปอ.) ให้กับ พล.ท.พันธ์ศักดิ์ หลวงอุดม โดยพิธีเริ่มตั้งแต่สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหน่วย ก่อนเซ็นเอกสารรับมอบตำแหน่ง จากนั้น ออกไปเข้าพิธีรับมอบธงประจำหน่วยและรับชมการสวนสนามเทิดเกียรติ

ทั้งนี้ พล.อ.วีรัณ กล่าวขอบคุณ กำลังพลทุกหน่วยที่ร่วมมือกันปฏิบัติหน้าที่จนประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของราชการ ขอให้กำลังพลทุกนายรักษาคุณความดีไว้ และยึดมั่นอุดมการณ์ ใช้ความรู้ความสามารถในการพัฒนากองทัพให้มีประสิทธิภาพทุกมิติ พร้อมเชื่อว่า ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกคนใหม่ จะนำพาหน่วยไปสู่การพัฒนาที่ดี และสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน

ด้าน พล.ท.พันธิ์ศักดิ์ กล่าวชื่นชมการปฏิบัติหน้าที่ของ พล.อ.วีรัณ ตลอดการเป็นผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมยืนยันว่าจะปฏิบัติ
หน้าที่ด้วยความสุจริต และปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนตามธรรมเนียมทหาร พร้อมพัฒนาบุคลากรของกองทัพ รวมถึงยุทโธปกรณ์ของกองทัพ และจะปฏิบัติตามนโยบายของกองทัพอย่างเคร่ง
ครัด
-----------
"พล.ต.พลภัทร" สักการะพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 2 ส่งมอบตำแหน่งเลขานุการกองทัพบก แก่ "พล.ต.วัชระ"

ที่สำนักงานเลขานุการกองทัพบก มีการจัดพิธีรับมอบหน้าที่เลขานุการกองทัพบก ระหว่าง พล.ต.พลภัทร วรรณภักตร์ กับ พล.ต.วัชระ นิตยสุทธิ์ โดยมีพิธีสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 2 ศาลพระภูมิ ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ศาลพระชัยมงคล หน้ากองบัญชาการกองทัพบก และพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 จากนั้น พล.ต.พลภัทร จึงมาทำพิธีส่งมอบธงประจำสำนักงานเลขานุการกองทัพบกให้กับ พล.ต.วัชระ และมาลงนามในเอกสารการรับส่งหน้าที่ เมื่อเสร็จพิธี ข้าราชการ ทหาร ลูกจ้าง ได้ร่วมกันถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

ทั้งนี้ พล.ต.วัชระ เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 20 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมจอมเกล้า รุ่นที่ 31 เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญในกองทัพบก คือ อาจารย์ส่วนวิชาทหารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หัวหน้าสำนักงานเลขานุการกองทัพบก ผู้อำนวยการกองสำนักงานเลขานุการกองทัพบก รองเลขานุการกองทัพบก ก่อนที่จะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการกองทัพบก
--------------
พล.อ.อุดมเดช ประชุม ศปก.ทบ. ครั้งแรก หลังรับตำแหน่ง ผบ. ยัน ทหารป้องสถาบัน หนุนงานมั่นคง ดูแลประชาชน แรงแก้ 3 จว.ใต้ 

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานประชุมศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกเป็นครั้งแรก หลังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก โดยได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานของกองทัพบกสานต่องานในภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ทั้งภารกิจปกป้องอธิปไตยดูแลชายแดนให้มีความสงบสุข ภายใต้ความสัมพันธ์อันดีของประเทศเพื่อนบ้าน การช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะภารกิจสำคัญคือ การพิทักษ์เทิดทูนสถาบัน รวมทั้งการเผยแพร่และน้อมนำแนวทางพระราชทานมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

ในขณะเดียวกัน กองทัพบกจะยังคงให้การสนับสนุน และปฏิบัติตามนโยบายด้านความมั่นคงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และรัฐบาลอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อดูแลให้สังคมมีความสงบสุข ประชาชนมีความปลอดภัย และประเทศสามารถเดินหน้างานการปฏิรูปให้มีความก้าวหน้าตามแนวทางที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันกำหนด โดยเฉพาะความรับผิดชอบในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
///////////////
"พล.อ.อนุพงษ์" ขอ "จตุพร" อย่ามีนัยจัดวันเกิด ห่วงขัดแย้ง เชื่อคนเห็นต่างอยู่ร่วมกันได้ พร้อมหนุนช่วยชาวนา ไร่ละ 1 พัน

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุญาตให้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จัดงานฉลองวันเกิดในวันที่ 5 ต.ค. นี้ ที่โบนันซ่า เขาใหญ่ ว่า หากการจัดงานเป็นไปตามเจตนาเพื่อฉลองวันเกิดคงไม่เป็นปัญหา แต่หากมีนัยที่อาจทำให้เกิดความวุ่นวายคงไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ เชื่อว่าประชาชนเข้าใจว่าในความเห็นต่างสามารถอยู่ร่วมกันได้

นอกจากนี้ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในการนำเงินมอบให้ชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เพราะเป็นเรื่องที่ดี โดยไม่อยากให้มองว่ามาตรการดังกล่าวเป็นประชานิยม แต่อยากให้มองว่าเป็นการช่วยเหลือผู้ยากไร้มากกว่า
/////////////

คดีเกาะเต่า

ผบ.ตร. เผย เชิญเอกอัครราชทูตอังกฤษไปดูเกาะเต่า ยัน ตร. ยังเดินทางสางคดีฆ่า 2 ฝรั่งเต็มที่ 

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. เปิดเผยภายหลัง นายมาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย เดินทางเข้าพบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า ในวันนี้ เอกอัครราชทูตอังกฤษ ได้เข้ามาแสดงความยินดีในโอกาสที่ตนได้รับตำแหน่ง ผบ.ตร. พร้อมกันนี้ ตนก็ได้ชี้แจงในส่วนของความคืบหน้าคดีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่า ทั้งในเรื่องผู้มีอิทธิพลและกระแสข่าวต่าง ๆ ซึ่งในเบื้องต้นไม่ได้ยืนยันกับทางเอกอัครราชทูตอังกฤษว่าจะสามารถจับกุมตัวคนร้ายได้เมื่อไร แต่ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานเต็มที่และรอบครอบ ส่วนในเรื่องของดีเอ็นเอ เตรียมส่งไปตรวจที่ประเทศสิงคโปร์เพื่อตรวจสอบความชัดเจน

ขณะเดียวกัน ตนได้เชิญเอกอัครราชทูตอังกฤษพร้อมคณะลงพื้นที่เกิดเหตุเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจและติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมคำสั่งมอบหมายให้ พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา รอง ผบ.ตร. ลงพื้นที่ แต่ยังอยู่ระหว่าง รอรายชื่อชุดสืบสวน ซึ่งเบื้องต้นทางเอกอัครราชทูตอังกฤษก็ได้ตอบรับมาแล้ว แต่ยังไม่มีกำหนดวัน

ด้าน นายมาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตอังกฤษ กล่าวว่า พึงพอใจกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยซึ่งทำเต็มที่แล้วและได้รับความร่วมมืออย่างดี

อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.สมยศ ยังกล่าวอีกว่า ทางสถานทูตอังกฤษพร้อมเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนทางการไทยทุกด้านหากมีการร้องขอไป แต่ยืนยันว่าจะไม่เข้ามาแทรกแทรงการทำงานของเจ้า
หน้าที่ตำรวจ
-------
พล.ต.ท.จักรทิพย์ เผย สามารถรวบคนร้ายที่ฆ่า 2 นทท.ชาวอังกฤษ ได้แล้ว ชี้ทั้งหมดเป็นแรงงานพม่า 3 คน 

พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา รรท.รอง ผบ.ตร. เปิดเผยความคืบหน้าคดีฆ่า 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ ที่เกาะเต่า ว่า ล่าสุด เจ้าหน้าที่สามารถจับกุม 3 คนร้ายที่เป็นแรงงานชาวพม่าได้แล้ว หลัง 1 ใน 3

ได้สารภาพว่าก่อเหตุจริง และคำสารภาพได้สอดคล้องกับพยานหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวบรวมไว้ก่อนหน้านี้ รวมถึงในขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ส่งตัวอย่างดีเอ็นเอของคนร้ายทั้ง 3 มาตรวจพิสูจน์
ที่สำนักงานพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อยืนยันความชัดเจน และจะทราบผลภายในคืนนี้

ล่าสุด พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. บินด่วนไปยังเกาะเต่าแล้ว เมื่อเวลา 17.00 น.
-----------
พล.ต.อ.สมยศ มีคำสั่งให้ ผกก.สภ.เกาะสมุย ไปปฏิบัติราชการที่ ศปก.ตร. ตั้งแต่ 2 ต.ค. 57 เป็นต้นไป

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 536/2557 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2557ให้ พ.ต.อ.พยุงศักดิ์ สุรินทร์ ผกก.สภ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์

ธานี ไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ผบ.ตร. มอบหมายตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง โดยให้

ไปรายงานตัวที่ ศปก.ตร. ภายในเวลา 16.00 น.ของวันที่ 2 ตุลาคม 2557

ขณะเดียวกัน พล.ต.ต.เดชา บุตรน้ำเพชร รรท.ผบช.ภ.8 ได้มีคำสั่งให้ พ.ต.อ.พรศักดิ์ นวนหนู รอง ผบก.จว.สุราษฎร์ธานี ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ ผกก.สภ.เกาะสมุย ตั้งวันที่ 2 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสาเหตุการสั่งย้าย ผกก.สภ.เกาะสมุย ครั้งนี้ น่าจะมาจากหย่อนยานในการปฏิบัติหน้าที่ ปล่อยปละละเลยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาในสังกัดไปเรียกเก็บส่วยในพื้นที่ แล้ว

แอบอ้างว่าส่งให้ผู้บังคับบัญชาและนักการเมืองระดับสูง
////////////
ผบ.ตร.รับตำแหน่งใหม่

ผบ.ตร. พร้อมด้วย ภริยา ไหว้สักการะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใน สตช. เพื่อเสริมสิริมงคลในโอกาสรับตำแหน่งใหม่

เมื่อเวลา 07.00 น. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พร้อมด้วย นางพจมาน พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ ภริยา ไหว้สักการะ

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วย พระภูมิเจ้าที่หน้าประตูสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พระภูมิเจ้าที่ข้างสมาคมแม่บ้านตำรวจ พระนารายณ์ พระนิรันตราย พระบรมราชานุสาว

รีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 รูปปั้นพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ โดยมี พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.เรืองศักดิ์ จริตเอก รรท.รอง ผบ.ตร.
และภริยาร่วมด้วย

ทั้งนี้ พล.ต.อ.สมยศ กล่าวเพียงว่า ตนไม่มีพิธีการอะไร เพียงการสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ