PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันเกิดบิ๊กบัง

พลเอก ดร.สนธิ บุญยรัตกลิน[1] (2 ตุลาคม พ.ศ. 2489 — ) อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบกของไทยคนแรกที่เกิดภายใต้พระบรมโพธิสมภารในรัชกาลปัจจุบันและก็เป็น ผู้บัญชาการ

ทหารบกของไทยคนแรกที่มาจากชาวไทยมุสลิม และอดีตหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในเหตุการณ์ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ.

2549 ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ

ประวัติ
พลเอก สนธิ เป็นบุตรของ พันเอกสนั่น (นามสกุลเดิม อหะหมัดจุฬา) [2] และนางมณี บุญยรัตกลิน ชาวไทยเชื้อสายมอญ เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 6 คน เติบโตในครอบครัวมุสลิม

ที่นับถือนิกายชีอะห์ ในจังหวัดปทุมธานี (บิดานับถือนิกายชีอะห์) แต่ตัวท่านนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ (มารดานับถือนิกายซุนนีย์) [3] ต้นตระกูล เฉกอะหมัด หรือ เจ้าพระยาบวรราชนายก

ขุนนางเชื้อสายเปอร์เซีย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี และ สมุหนายกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ลูกหลานบางส่วนของเฉก อาหมัด เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ เช่น ตระกูลบุนนาค ตระกูลจุฬารัตน์

โดยนามสกุล บุญยรัตกลิน (อ่านว่า บุน-ยะ-รัด-กะ-ลิน) จริงๆแล้วคือ บุณยรัตกลิน แต่พิมพ์ผิดเป็น "ญ" นั้น เป็นนามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 มีที่มาจากการที่หนึ่งในสาแหรกฝั่งย่าเป็นทหาร

เรือ สังกัดพรรคกลิน คือหลวงพินิจกลไก (บุญรอด) [4] มีชื่อทางมุสลิมว่า อับดุลเลาะห์ อหะหมัดจุฬา ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "บิ๊กบัง"

พลเอก สนธิ มีภรรยาทั้งหมด 3 คน ภรรยาคนแรกชื่อ สุกัญญา จดทะเบียบสมรสขณะที่ พลเอก สนธิยังเป็นพลโท ภรรยาคนที่สองชื่อ ปิยะดา จดทะเบียนสมรสเมื่อเป็นนายพล ภรรยาคนที่สามชื่อ

วรรณา ปัจจุบันอาศัยอยู่กับทั้งหมดแม้ว่าการมีภรรยาสามคนจะเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทยก็ตาม อย่างไรก็ตาม นายอารีย์ วงศ์อารยะ [5] [6] วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พลเอก สนธิ

กล่าวว่าตนไม่ยื่นแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินของภรรยาคนที่ 3 ต่อ ป.ป.ช. เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องกันทางกฎหมาย [7]

บุตรที่เกิดกับนางปิยะดา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ ร.อ.นิธิ บุญยรัตกลิน (ป๊อป) และ นายนิรินทร์ บุญยรัตกลิน (ไปป์) บุตรที่เกิดกับนางวรรณา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ พ.ต.ต.สุทธิเวท บุญยรัตกลิน

และ ร.ท.สุธาวิทย์ บุญยรัตกลิน และบุตรที่เกิดกับนางสุกัญญา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ นายเอกรินทร์ บุญยรัตกลิน และน.ส.ศศิภา บุญยรัตกลิน (พลอย)

การศึกษา
พลเอก สนธิศึกษาในระดับประถมและมัธยมที่ โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ และศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมทหาร (รุ่นที่ 6) และศึกษาต่อ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เหล่าทหารราบ (รุ่นที่ 17)

และได้ศึกษาในระดับอุดมศึกษา สำหรับปริญญาโท สาขาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (การทหาร) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่

42) ในปี พ.ศ. 2556จบปริญญาเอก สาขารัฐศาสตร์ (สาขาวิชาการเมือง) มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นแรกของคณะ โดยมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นประธานรุ่น ที่มีอายุมากที่สุดคือ 63 ปี

บทบาททางการเมือง

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

ดูบทความหลักที่: รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พลเอก สนธิ เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองของ รัฐบา

ลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเกิดขึ้นก่อนจะมีการเลือกตั้งเดือนหน้า และ ซึ่งอยู่ระหว่างการประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก

อนึ่งในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พลเอก สนธิ เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศคำสั่งให้อำนาจหน้าที่ของนายก

รัฐมนตรีเป็นของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ดังนั้นจึงให้ถือว่าพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เคยดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีด้วย

หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว พลเอก สนธิ ได้เปลี่ยนตำแหน่งจากหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปเป็นประธานคณะมนตรีความ

มั่นคงแห่งชาติ

หลังเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2550 พลเอก สนธิ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงโดยเฉพาะ ในรัฐบาลพลเอก สรุยุทธ์ จุลานนท์ [9]

หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ

หลังพ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี พลเอกสนธิ ก็มักปรากฏข่าวคราวว่าจะเล่นการเมือง โดยจะเป็นหัวหน้าพรรคเอง ในที่สุด ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 พลเอก สนธิก็รับตำแหน่ง

ประธานพรรคมาตุภูมิ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งโดยนักการเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นมุสลิม โดยมีเป้าหมายหวังฐานเสียงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [10] และรับตำแหน่งหัวหน้า

พรรคในปี พ.ศ. 2554 โดยการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคมาตุภูมิ[11]

ประธานคณะกรรมาธิการปรองดองฯ

บัญชีทรัพย์สิน

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้เปิดเผยรายการบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินของคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

โดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ยื่นบัญชีทรัพย์สินเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีมีทรัพย์สิน 38,796,977 บาท ประกอบด้วยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ 10,241,195 บาท เงินฝากในสถาบันการเงิน

อื่น 13,355,541 บาท หลักทรัพย์รัฐบาล และรัฐบาลค้ำประกัน 142,600 บาท หลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาต 6,393,240 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 4,664,400 บาท สิ่งปลูกสร้าง 1 หลัง

มูลค่า 4 ล้านบาท ภรรยาทั้ง 2 คน ที่จดทะเบียนสมรสคือ นางสุกัญญา มีทรัพย์สินกว่า 14 ล้านบาท และ นางปิยะดา 42 ล้านบาท บุตรสาวที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะกว่า 3 แสนบาท ซึ่งรวมทั้งครอบครัว

แล้วมีทรัพย์สินกว่า 94 ล้านบาท

ไม่มีความคิดเห็น: