PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

ทนายพล.ร.อ.พะจุณณ์ ขอให้พนักงานสอบสวนทบทวนข้อกล่าวหา

ทนายพล.ร.อ.พะจุณณ์ ขอให้พนักงานสอบสวนทบทวนข้อกล่าวหา หลัง สตช.ฟ้องหมิ่นประมาทตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความส่วนตัว พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวหลังเป็นตัวแทนเข้าพบพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยี (ปอท.)ในวันนี้ว่า ได้เข้ายื่นหนังสือโต้แย้งรวมทั้งปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และสอบถามพนักงานสอบสวนถึงข้อความที่ใช้ในการดำเนินคดี
ขณะที่ พล.ร.อ.พะจุณณ์ ซึ่งเดินทางมาที่ ปอท.ด้วยตามหมายเรียกในวันนี้ แต่ปฏิเสธที่จะเข้าพบกับพนักงานสอบสวน โดยกล่าวว่า ยังไม่เข้ารับทราบข้อกล่าวหา แต่ขอให้พนักงานสอบสวนทบทวนการออกหมายเรียก เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นเป็นธรรม และขอให้พนักงานสอบสวนรอคำวินิจฉัยกรณีดังกล่าวจากผู้ตรวจการแผ่นดินก่อน ซึ่งพนักงานสอบสวนได้รับเรื่องไว้พิจารณา พล.ร.อ.พะจุณณ์ กล่าวว่า หากพนักงานสอบสวนยืนยันที่จะเรียกสอบปากคำ ก็ได้ทำหนังสือตอบข้อซักถาม และเตรียมหลักทรัพย์สำหรับการประกันตัวรอเอาไว้แล้ว
ทางด้าน พ.ต.อ.โอฬาร สุขเกษม ผู้กำกับการ 3 ปอท. กล่าวเมื่อวานนี้ว่า พร้อมที่จะพูดคุยกับ พล.ร.อ.พะจุณณ์ และพร้อมรับข้อมูลหลักฐานต่าง ๆ จาก พล.ร.อ.พะจุณณ์ เพื่อนำมาสู่กระบวนการสืบสวนสอบสวน และยืนยันว่าจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ทั้งนี้คดีดังกล่าว เกิดขึ้นจากกรณี พล.ร.อ.พะจุณณ์ ส่งข้อความผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ ระบุว่ามีนายทหารยศ พล.อ.เกี่ยวข้องกับการซื้อขายตำแหน่งข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต่อมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้แจ้งความดำเนินคดีกับ พล.ร.อ.พะจุณณ์ ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ทีม ศปมผ.ไทย เล่นเชิงรุก จับมือ "ท่านทูตไทย" ร่วมงาน SeaFood Expo ที่ Boston อเมริกา

ทีม ศปมผ.ไทย เล่นเชิงรุก จับมือ "ท่านทูตไทย" ร่วมงาน SeaFood Expo ที่ Boston อเมริกา พบปะ ผู้ประกิบการ NGO สื่อ แจงการแก้ปัญหาประมงผิดกม. เลิกใช้แรงงานทาส แรงงานผิดกฎหมาย และปราบการค้ามนุษย์ แจงความตั้งใจ มีพรก.ประมง ฉบับใหม่ และบังคับใช้กม. ปลื้ม "กงสุลใหญ่ฯBoston ให้กำลังใจไทย
เมื่อวันที่ 5-7 มีนาคม 2559ที่ผ่านมา นายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน พร้อมด้วย บิ๊กแป๊ะ พล.ร.อ.พลเดช เจริญพูล รอง หน.สล.ศปมผ. นายอดิศร พร้อมเทพ รองอธิบดี กรมประมง พล.ต.ต.จารุวัฒน์ ไวศยะ หน.คณะทําางานติดตามและบังคับใช้กฎหมาย ศปมผ. นายสิงหเดช ชูอํานาจ ผู้ตรวจกระทรวงแรงงาน และ นาวาเอก เบญจมาพร วงศ์นครสว่าง ทีม ปชส. ศปมผ. และ นาวาเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ผช.ทูตทหารเรือ ประจำ วอชิงตัน ดีซี.เดินทางไปเข้าร่วมประชุมย่อยที่จัดขึ้นระหว่างทางการไทยและ ตัวแทนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารทะเลชั้นนํา ในวันแรกของการจัดงาน Seafood Expo North America 2016 ซึ่งจัดขึ้น ที่ เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา
ในการนี้ คณะผู้แทนจาก ศปมผ. ได้เข้าพบ หารือกับกลุ่มผู้ค้าปลีกอาหารทะเลรายใหญ่ของสหรัฐฯ เพื่อชี้แจงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาการ ทําการประมงผิดกฎหมายของไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ
อันเป็นการหารือก่อนที่จะมีการจัดแสดงงานในวันรุ่งขึ้น ผลการเข้าพบหารือในวันนี้ถือได้ว่าเป็นที่น่าพอใจ ทาง ฝ่ายผู้ประกอบการได้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
จากนั้น 7 มีค.2559 ได้เปิดแถลงชี้แจงในหัวข้อ Moving Forward with sustainability : Latest up- dates on seafood supply chains reform in Thailand ให้ผู้ร่วมรับฟังที่เข้าร่วมงาน Sea- food Expo North America 2016
ผู้ร่วมรับฟังที่ส่วนใหญ่มาจากกลุ่ม NGOs ชั้นนําของโลก เช่น In- ternational Labor Rights Forum (ILRF), Interna- tional Justice Mission (IJM), Verite และ Green- peace รวมทั้งสื่อมวลชน และผู้ประกอบการ โดยทางสํานักข่าว CNBC ได้สัมภาษณ์ตัวแทน ทางการจากไทย ด้วย
ในการแถลงเริ่มต้นนําเสนอด้วย Video Presentation ของ ศปมผ. และการชี้แจงของ นายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และ คณะ ศปมผ. ที่สะท้อนถึงการแก้ปัญหาแบบ บูรณาการเป็นผลสําเร็จ
ทางการไทยได้ย้ำถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลไทย ในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการใช้แรงงานทาส แรงงานผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์ ที่ไทยตระหนักดีว่าเป็นเรื่องสําาคัญ ซึ่งจําเป็นต้องอาศัย ความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่นที่ผ่านมาไทยได้ มีความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น EJF ทั้งในการแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย การ ปรับปรุงระบบ VMS ร่วมมือกับ องค์กร LPN เพื่อ แก้ปัญหาด้านแรงงาน พิจารณาความร่วมมือกับ Sky- Truth เพื่อพัฒนาระบบ VMS เป็นต้น
ทางการไทย ยินดีที่จะให้สื่อต่างประเทศเข้าสังเกตการณ์ การปฏิบัติงาน ต่าง ๆ ของ ศปมผ. เพื่อสร้างความโปร่งใส และแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของไทยในการแก้ไขปัญหา
ส่วนผลการดําเนินการที่เป็นรูปธรรม เช่น การออกพระราชกําหนดประมงฉบับใหม่ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว การติดตั้งระบบ VMS การมีศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า- ออก การห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทํางานในกิจการประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
รวมทั้งผลการ ดําเนินคดีต่างๆ ในด้านการค้ามนุษย์ และความผิดต่างๆ ที่สามารถจับกุมได้เป็นจํานวนมาก ซึ่งเป็นผล จากการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอย่างจริงจัง
ในช่วงท้ายได้มีการถามตอบข้อซักถามกันหลายคําถาม แสดงถึงการให้ความสนใจของผู้เข้าร่วม การชี้แจงทําความเข้าใจในครั้งนี้
รวมทั้ง Mr. Joseph Anthony Milano กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ เมือง บอสตัน มลรัฐแมสซาชูเสตส์ ได้ใช้โอกาสนี้ขึ้นกล่าวร่วมในฐานะผู้เข้าร่วมรับฟัง สะท้อนถึงความตั้งใจ จริงของทางฝ่ายไทย และขอให้ทุกคนให้ความร่วมมือให้กําาลังใจแก่ประเทศไทยในการแก้ไขปัญหา สําคัญนี้ให้สําเร็จ
ทั้งนี้คณะผู้แทนทางการไทยจาก ศปมผ. ได้เข้าพบ หารือกับกลุ่มผู้ค้าปลีกอาหารทะเลรายใหญ่ของสหรัฐฯ ในส่วนของการแสดงงานอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารทะเล โลก Seafood Expo North America 2016 ซึ่งจัดอยู่ ในบริเวณพื้นที่จัดแสดงขนาดใหญ่ในอาคารเดียวกับที่จัด แถลงความ คืบหน้า โดยได้ใช้โอกาสนี้ชี้แจงความคืบหน้า ในการแก้ไขปัญหาการทําาการประมงผิดกฎหมายของไทย สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ
การร่วมงานในครั้งนี้ ได้ผลที่เป็นที่น่าพอใจ ช่วยให้สื่อต่างประเทศ และ NGOs ชั้นนําเข้าใจถึงความตั้งใจ ในการดําเนินการของไทยเพื่อแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายและการใช้แรงงานผิด กฎหมายที่มีผลอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
A large delegation of Thai officials, including Thai Ambassador to the United States Pisan Manawapat, delivered an update on reforms underway in the Thai seafood supply chain at Seafood Expo North America on Monday, 7 March.
In an exclusive interview with SeafoodSource, Manawapat described the Thai government’s efforts to enact comprehensive fisheries reform, including upping law enforcement, curbing human rights abuses and slavery and investing in new technology for monitoring and surveillance of the Thai fishing fleet and the traceability of Thai seafood products.
“We recognize we have serious problems, and they have been largely reported by NGOs and media – serious journalists have done a good job covering them and we find the situation unacceptable,” Manawapat said. “Laws have been passed and toughened, penalties have been raised, imprisonment terms have been raised, enforcement has been beefed up, the shrimp sheds that were on the news involving labor abuse have been shut down. Victims have been treated differently than in the past, innocent victims that had to be looked after and rehabilitated.”
Manawapat said over the weekend, he had a lengthy conversation with Thai Prime Minister Prayut Chan-o-cha to discuss the government’s continuing prioritization of improving the seafood industry.
“I spent five hours talking with the prime minister, and it is clear he is firmly committed and, because of that, his cabinet and colleagues are firmly committed to this cause,” Manawapat said.
Before the formal opening of SENA, on Saturday, 5 March, the entire Thai delegation met with representatives from companies with investments in the Thai seafood sector to update them and ask for their continued commitment to improving the industry.
“The private sector has joined us and we are holding Thai companies accountable to their pledge that their supply chain will be free of labor abuse and trafficking and we are asking the American retailers, media, NGOs and educated customers to hold them accountable to that pledge,” Manawapat said.
One of the biggest difficulties the government has faced so far is the prosecution of human rights trafficking crimes, Manawapat said. The government is in the process of prosecuting 7 to 8 “major” cases of human trafficking, he said.
“The hardest challenge we have found is to bring those criminals involved in human trafficking to jail,” he said. “We have arrested a 3-star general, four colonels, local mafia, and many criminals are behind bars, charged with trafficking Rohingyas. But it is a difficult process. This will take not months, but years to bring them to justice.”
The Thai government is also grappling with the difficulty of caring for thousands of former workers in the seafood industry displaced by the recent reforms.
“When we clean our house, there are consequences – social, economic, even security consequences,” Manawapat said. “We are registering migrant workers, but when you grant citizenship to stateless people like the Rohingya so their rights are protected - we face enormous challenges in doing so.”
Manawapat said he welcomed continued pressure from the international community, and said it had pushed Thailand to enact “irreversible” reforms.
“This is not about exports. This is not about market share. It is about human dignity,” Manawapat said.

ทีม ศปมผ.ไทย เล่นเชิงรุก จับมือ "ท่านทูตไทย" ร่วมงาน SeaFood Expo ที่ Boston อเมริกา


ทีม ศปมผ.ไทย เล่นเชิงรุก จับมือ "ท่านทูตไทย" ร่วมงาน SeaFood Expo ที่ Boston อเมริกา พบปะ ผู้ประกิบการ NGO สื่อ แจงการแก้ปัญหาประมงผิดกม. เลิกใช้แรงงานทาส แรงงานผิดกฎหมาย และปราบการค้ามนุษย์ แจงความตั้งใจ มีพรก.ประมง ฉบับใหม่ และบังคับใช้กม. ปลื้ม "กงสุลใหญ่ฯBoston ให้กำลังใจไทย
เมื่อวันที่ 5-7 มีนาคม 2559ที่ผ่านมา นายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน พร้อมด้วย บิ๊กแป๊ะ พล.ร.อ.พลเดช เจริญพูล รอง หน.สล.ศปมผ. นายอดิศร พร้อมเทพ รองอธิบดี กรมประมง พล.ต.ต.จารุวัฒน์ ไวศยะ หน.คณะทําางานติดตามและบังคับใช้กฎหมาย ศปมผ. นายสิงหเดช ชูอํานาจ ผู้ตรวจกระทรวงแรงงาน และ นาวาเอก เบญจมาพร วงศ์นครสว่าง ทีม ปชส. ศปมผ. และ นาวาเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ผช.ทูตทหารเรือ ประจำ วอชิงตัน ดีซี.เดินทางไปเข้าร่วมประชุมย่อยที่จัดขึ้นระหว่างทางการไทยและ ตัวแทนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารทะเลชั้นนํา ในวันแรกของการจัดงาน Seafood Expo North America 2016 ซึ่งจัดขึ้น ที่ เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา
ในการนี้ คณะผู้แทนจาก ศปมผ. ได้เข้าพบ หารือกับกลุ่มผู้ค้าปลีกอาหารทะเลรายใหญ่ของสหรัฐฯ เพื่อชี้แจงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาการ ทําการประมงผิดกฎหมายของไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ
อันเป็นการหารือก่อนที่จะมีการจัดแสดงงานในวันรุ่งขึ้น ผลการเข้าพบหารือในวันนี้ถือได้ว่าเป็นที่น่าพอใจ ทาง ฝ่ายผู้ประกอบการได้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
จากนั้น 7 มีค.2559 ได้เปิดแถลงชี้แจงในหัวข้อ Moving Forward with sustainability : Latest up- dates on seafood supply chains reform in Thailand ให้ผู้ร่วมรับฟังที่เข้าร่วมงาน Sea- food Expo North America 2016
ผู้ร่วมรับฟังที่ส่วนใหญ่มาจากกลุ่ม NGOs ชั้นนําของโลก เช่น In- ternational Labor Rights Forum (ILRF), Interna- tional Justice Mission (IJM), Verite และ Green- peace รวมทั้งสื่อมวลชน และผู้ประกอบการ โดยทางสํานักข่าว CNBC ได้สัมภาษณ์ตัวแทน ทางการจากไทย ด้วย
ในการแถลงเริ่มต้นนําเสนอด้วย Video Presentation ของ ศปมผ. และการชี้แจงของ นายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และ คณะ ศปมผ. ที่สะท้อนถึงการแก้ปัญหาแบบ บูรณาการเป็นผลสําเร็จ
ทางการไทยได้ย้ำถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลไทย ในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการใช้แรงงานทาส แรงงานผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์ ที่ไทยตระหนักดีว่าเป็นเรื่องสําาคัญ ซึ่งจําเป็นต้องอาศัย ความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่นที่ผ่านมาไทยได้ มีความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น EJF ทั้งในการแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย การ ปรับปรุงระบบ VMS ร่วมมือกับ องค์กร LPN เพื่อ แก้ปัญหาด้านแรงงาน พิจารณาความร่วมมือกับ Sky- Truth เพื่อพัฒนาระบบ VMS เป็นต้น
ทางการไทย ยินดีที่จะให้สื่อต่างประเทศเข้าสังเกตการณ์ การปฏิบัติงาน ต่าง ๆ ของ ศปมผ. เพื่อสร้างความโปร่งใส และแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของไทยในการแก้ไขปัญหา
ส่วนผลการดําเนินการที่เป็นรูปธรรม เช่น การออกพระราชกําหนดประมงฉบับใหม่ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว การติดตั้งระบบ VMS การมีศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า- ออก การห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทํางานในกิจการประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
รวมทั้งผลการ ดําเนินคดีต่างๆ ในด้านการค้ามนุษย์ และความผิดต่างๆ ที่สามารถจับกุมได้เป็นจํานวนมาก ซึ่งเป็นผล จากการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอย่างจริงจัง
ในช่วงท้ายได้มีการถามตอบข้อซักถามกันหลายคําถาม แสดงถึงการให้ความสนใจของผู้เข้าร่วม การชี้แจงทําความเข้าใจในครั้งนี้
รวมทั้ง Mr. Joseph Anthony Milano กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ เมือง บอสตัน มลรัฐแมสซาชูเสตส์ ได้ใช้โอกาสนี้ขึ้นกล่าวร่วมในฐานะผู้เข้าร่วมรับฟัง สะท้อนถึงความตั้งใจ จริงของทางฝ่ายไทย และขอให้ทุกคนให้ความร่วมมือให้กําาลังใจแก่ประเทศไทยในการแก้ไขปัญหา สําคัญนี้ให้สําเร็จ
ทั้งนี้คณะผู้แทนทางการไทยจาก ศปมผ. ได้เข้าพบ หารือกับกลุ่มผู้ค้าปลีกอาหารทะเลรายใหญ่ของสหรัฐฯ ในส่วนของการแสดงงานอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารทะเล โลก Seafood Expo North America 2016 ซึ่งจัดอยู่ ในบริเวณพื้นที่จัดแสดงขนาดใหญ่ในอาคารเดียวกับที่จัด แถลงความ คืบหน้า โดยได้ใช้โอกาสนี้ชี้แจงความคืบหน้า ในการแก้ไขปัญหาการทําาการประมงผิดกฎหมายของไทย สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ
การร่วมงานในครั้งนี้ ได้ผลที่เป็นที่น่าพอใจ ช่วยให้สื่อต่างประเทศ และ NGOs ชั้นนําเข้าใจถึงความตั้งใจ ในการดําเนินการของไทยเพื่อแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายและการใช้แรงงานผิด กฎหมายที่มีผลอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
A large delegation of Thai officials, including Thai Ambassador to the United States Pisan Manawapat, delivered an update on reforms underway in the Thai seafood supply chain at Seafood Expo North America on Monday, 7 March.
In an exclusive interview with SeafoodSource, Manawapat described the Thai government’s efforts to enact comprehensive fisheries reform, including upping law enforcement, curbing human rights abuses and slavery and investing in new technology for monitoring and surveillance of the Thai fishing fleet and the traceability of Thai seafood products.
“We recognize we have serious problems, and they have been largely reported by NGOs and media – serious journalists have done a good job covering them and we find the situation unacceptable,” Manawapat said. “Laws have been passed and toughened, penalties have been raised, imprisonment terms have been raised, enforcement has been beefed up, the shrimp sheds that were on the news involving labor abuse have been shut down. Victims have been treated differently than in the past, innocent victims that had to be looked after and rehabilitated.”
Manawapat said over the weekend, he had a lengthy conversation with Thai Prime Minister Prayut Chan-o-cha to discuss the government’s continuing prioritization of improving the seafood industry.
“I spent five hours talking with the prime minister, and it is clear he is firmly committed and, because of that, his cabinet and colleagues are firmly committed to this cause,” Manawapat said.
Before the formal opening of SENA, on Saturday, 5 March, the entire Thai delegation met with representatives from companies with investments in the Thai seafood sector to update them and ask for their continued commitment to improving the industry.
“The private sector has joined us and we are holding Thai companies accountable to their pledge that their supply chain will be free of labor abuse and trafficking and we are asking the American retailers, media, NGOs and educated customers to hold them accountable to that pledge,” Manawapat said.
One of the biggest difficulties the government has faced so far is the prosecution of human rights trafficking crimes, Manawapat said. The government is in the process of prosecuting 7 to 8 “major” cases of human trafficking, he said.
“The hardest challenge we have found is to bring those criminals involved in human trafficking to jail,” he said. “We have arrested a 3-star general, four colonels, local mafia, and many criminals are behind bars, charged with trafficking Rohingyas. But it is a difficult process. This will take not months, but years to bring them to justice.”
The Thai government is also grappling with the difficulty of caring for thousands of former workers in the seafood industry displaced by the recent reforms.
“When we clean our house, there are consequences – social, economic, even security consequences,” Manawapat said. “We are registering migrant workers, but when you grant citizenship to stateless people like the Rohingya so their rights are protected - we face enormous challenges in doing so.”
Manawapat said he welcomed continued pressure from the international community, and said it had pushed Thailand to enact “irreversible” reforms.
“This is not about exports. This is not about market share. It is about human dignity,” Manawapat said.

“พะจุณณ์” รับทราบข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพ์ แพร่ไลน์ “พล.อ.ขายเก้าอี้ ตร.”

“พะจุณณ์” รับทราบข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพ์ แพร่ไลน์ “พล.อ.ขายเก้าอี้ ตร.”
Cr:ผู้จัดการ
เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. วันนี้ (10 มี.ค.) พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีบ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และอดีตหัวหน้าสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษ พร้อมทนายความ เข้าพบพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปราม การกระทำผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยี (ป.อ.ท.) เพื่อรับทราบข้อกล่าวหากระทำความผิด พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา กรณีเผยแพร่ข้อความทางไลน์ ว่า บุคคลระดับ พล.อ. เกี่ยวข้องกับการซื้อขายตำแหน่งในการโยกย้ายนายตำรวจ โดยมีประชาชนมาให้กำลังใจจำนวนมาก
รายงานแจ้งว่า พล.ต.ต.เจริญ ศรีศศลักษณ์ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 2 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ จาก สน.ทุ่งสองห้อง ประมาณ 30 นาย ได้มาดูแลความสงบเรียบร้อยที่ ป.อ.ท. ด้วย พร้อมขอความร่วมมือประชาชนที่มาให้กำลังใจ ให้งดถือป้ายที่มีถ้อยคำหยาบคาย หรือเสียดสีให้มีการปฏิรูปตำรวจ โดยมีการยึดป้ายไปบางส่วนเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา

รองผบ.ตร. เห็นชอบสั่งฟ้องเสธ.อ้ายกับพวก ชุมนุมปี55

รองผบ.ตร. เห็นชอบสั่งฟ้องเสธ.อ้ายกับพวก ชุมนุมปี55
by บุญญิสา เพ็งบุญมา
9 มีนาคม 2559 เวลา 16:36 น.
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เห็นชอบ สั่งฟ้อง 'เสธ.อ้าย' กับพวก ชุมนุมปี 55 จ่อเสนอ ผบ.ตร. พิจารณา
พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผย ผลการประชุมคณะพนักงานสอบสวน เกี่ยวกับคดีการชุมนุมกลุ่มของ พลเอก บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย กับพวก เป็นผู้ต้องหา กรณีนำมวลชนองค์การพิทักษ์สยาม ชุมนุมที่ราชตฤณมัยสมาคม หรือ สนามม้านางเลิ้ง เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2555
โดยที่ประชุมเห็นชอบตามความเห็นของคณะพนักงานสอบสวนชุดเดิมที่มี พลตำรวจเอก ชัชวาล สุขสมจิตร อดีต รอง ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ที่เห็นควรสั่งฟ้อง เสธ.อ้าย กับพวก ในหลายข้อหา อาทิ ข้อหาร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป ใช้กำลังประทุธร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฝ่าฝืนประกาศและข้อกำหนดห้ามบุคคลเข้าหรือออกพื้นที่ตาม พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 โดยหลังจากนี้ จะนำเสนอ พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นต่อไป

สัญญา เลือกตั้ง....



สัญญา เลือกตั้ง....
นายกฯประยุทธ์ ยัน บนเวที รัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue (ACD) Ministerial Meeting มี เลือกตั้งปี2560 แน่นอน ยันเราจะไม่ก้าวก่ายรัฐบาลเลือกตั้ง แต่ขอทำตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ที่วางไว้ เป็นระยะๆ5-5-5-5 ปี ไม่ใช่ทำเพื่อพรรคของตนเอง เท่านั้น ไม่อย่างนั้น พอเปลี่ยนรัฐบาล ก็เอาแต่นโยบายพรรค หรือ พรรคไหนอยู่นาน ก็เอาแต่แนวทางพรรคอย่างเดียว.... เปรย ผมเตรียมกลับไปอยู่บ้านเป็นคนแก่ แล้ว แต่แค่อยากวางกรอบให้ประเทศพัฒนาในอนาคต นี่ผมพูดจากใจนะ.....ยัน ไทย-ACDจะเดินไปด้วยกัน แบบเพื่อนจูงเพื่อน เราจะ Stronger Together ด้วยกัน ยัน ตัดเสื้อตัวเดียวให้ทุกคนใส่ไม่ได้. แต่เราจะต้องตัดเสื้อที่เหมาะกับคนส่วนใหญ่. และให้ ACD เราใส่ได้ด้วยกัน เราจะร่วมพัฒนาจุดอ่อน และ เสริมสร้าง จุดแข็ง ไปด้วยกันแบบเพื่อน ไม่ใช่คู่แข่ง. เราจะเป็นศูนย์กลางด้วยกัน

"ทักษิณ"เตือนไทยตกขบวนศก.หากรธน.ใหม่ทำให้รบ.เลือกตั้งถูกแทรกแซง

ดร.ทักษิณ ชินวัตร บรรยายกลางกรุงนิวยอร์ค ชี้เศรษฐกิจโลกศตวรรษที่ 21 ต้องอาศัยการพึ่งพากันในเครือข่ายระดับนานาชาติ เตือนไทยจะตกขบวนเศรษฐกิจ หากรัฐธรรมนูญใหม่ทำให้รัฐบาลเลือกตั้งถูกแทรกแซง จนไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นด้านสเถียรภาพการเมืองได้

ดร.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในช่วงไฮไลต์ของการบรรยาย ที่งาน “สนทนาเป็นการส่วนตัวกับทักษิณ ชินวัตร” (Thaksin Shinawatra in Private Discussion) ซึ่งจัดโดยสถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute) ที่นครนิวยอร์ก ของสหรัฐฯ ว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของไทยจะไม่สามารถวางโครงสร้างพื้นฐานในเชิงสถาบัน ที่จะส่งเสริมให้มีการลงทุน การผลิต และความร่วมมือระหว่างไทยกับต่างประเทศได้ เนื่องจากอาจเปิดช่องให้มีการแทรกแซงอำนาจฝ่ายบริหาร และ นิติบัญญัติ โดยอำนาจพิเศษของวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และฝ่ายตุลาการ

“เมื่อพิจารณาถึงเค้าโครงของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันคงเป็นไปได้ยากที่จะได้มาซึ่งรัฐบาลที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและความท้าทายในศตวรษที่ 21 ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ได้กำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 200 คนซึ่งจะถูกแต่งตั้งโดย “ผู้เชี่ยวชาญ” วุฒิสภาจะมีอำนาจมากยิ่งขึ้นในการยับยั้งการออกพระราชบัญญัติต่างๆ ศาลรัฐธรรมนูญจะมีขอบเขตอำนาจในการตัดสินคดีที่มากยิ่งขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี เมื่อมีบุคคลใดก็ตามได้ดำเนินการร้องเรียน โดยไม่ได้มีเงื่อนไขที่ว่ากรณีดังกล่าวต้องเป็นข้อพิพาทจริงที่องค์กรทางการเมืองหรือศาลอื่นได้ดำเนินการยื่นเรื่องแก่ศาลรัฐธรรมนูญ”

“หากพวกเราคิดว่าหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย คือ รากฐานเพื่อการสร้างความเจริญเติบโตและเสถียรภาพของประเทศ หัวข้อสำคัญที่พวกเราต้องพิจารณาคงเป็นเรื่องที่ว่า อำนาจตุลาการจะล่วงล้ำอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารหรือไม่ เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารเศรษฐกิจของประเทศในยุคที่เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว ผมหวังว่าคงจะไม่มีการใช้อำนาจตุลาการที่เกินกว่าความจำเป็นอีกในอนาคต กรณีศึกษาในประเทศต่างๆ ได้แสดงให้พวกเราเห็นว่า การใช้อำนาจพิจารณาทบทวนโดยศาล โดยไม่ได้มีการถ่วงดุลและตรวจสอบ อาจกลายเป็นการใช้อำนาจอย่างไม่ เหมาะสมและเป็น “ยุทธวิธีเตะถ่วงงาน” จนสุดท้ายก่อให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ” -- อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ กล่าว

อดีตนายกรัฐมนตรีแสดงวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 ว่าควรให้ความสำคัญแก่การขยายความร่วมมือเพื่อสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกับประเทศคู่ค้าต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในเอเชีย ควรส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความมั่งคั่งให้แก่ประชาชนแบบระหว่างประเทศและระหว่างภูมิภาค เพราะความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีการผลิตแบบอุตสาหกรรมไปสู่ “สภาวะปกติใหม่ของโลกปัจจุบัน” หรือ “New Normal” จากรูปแบบ “การผลิตสินค้าในประเทศเดียว” สู่ “ระบบเครือข่ายการออกแบบ การสรรหาปัจจัยการผลิต และการผลิตที่มีลักษณะข้ามชาติ” และอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างมากโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย-โอเชียเนีย

“ประเทศไทยคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความท้าทายของโลกในศตวรรษที่ 21 ได้ ตลอดช่วงกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนมูลค่าการส่งออกต่อรายได้ประชาชาติของประเทศไทยและมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทยได้แสดงให้พวกเราได้เห็นอย่างชัดเจนถึงทิศทางของเศรษฐกิจไทยที่เชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นเข้ากับชะตากรรมของเศรษฐกิจโลก” -- ดร.ทักษิณ เชื่อมโยงประเด็นสถานการณ์ไทย ที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับนานาชาติ

ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีน กับ สหรัฐฯ ที่มักถูกมองแบบเหมารวมว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน อดีตนายกฯไทยมองว่าการปกครองที่แตกต่างกัน ซึ่งนำไปสู่นโยบายเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศที่แม้จะเป็นคนละขั้ว แต่เป็นกระบวนการคู่ขนาน ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง จะสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมให้แก่ทั้งภูมิภาคเอเชียและโลกตะวันตก

IMFชี้ศก.โลกเสี่บงเข้าสู้ภาวะชะงักงัน

ไอเอ็มเอฟชี้เศรษฐกิจโลกเสี่ยงเข้าสู่ภาวะชะงักงัน

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เตือนว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นที่จะเข้าสู่ภาวะชะงักงัน และจะต้องเร่งกระตุ้นอุปสงค์ในตลาดโลกให้เพิ่มขึ้น

นายเดวิด ลิปตัน ผู้บริหารลำดับสองของไอเอ็มเอฟ กล่าวเรื่องนี้ต่อที่ประชุมสมาคมเศรษฐศาสตร์ธุรกิจแห่งชาติสหรัฐฯ ในกรุงวอชิงตัน โดยระบุว่าการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจโลกของไอเอ็มเอฟเผยให้เห็นภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลงอีกครั้ง และบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่เปราะบาง

นายลิปตัน กล่าวเรื่องนี้หลังจากจีนเปิดเผยตัวเลขการส่งออกในเดือน ก.พ. ที่ลดลง 25% เมื่อเทียบกับปีก่อน และถือเป็นตัวเลขการส่งออกที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบเกือบ 7 ปี ส่งผลให้ยิ่งเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มของเศรษฐกิจจีน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก

ไอเอ็มเอฟ เคยระบุว่า อาจปรับลดตัวเลขประมาณการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 3.4% ลงอีก ในการเปิดเผยตัวเลขประมาณการณ์ครั้งต่อไปในเดือน เม.ย.นี้