PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

คือคนหนังสือพิมพ์.."ทองใบ ทองปาวน์"บ๊อบการเมือง...

16 นักหนังสือพิมพ์รุ่นใหญ่...ที่น้องๆสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทย...ไปคุยมา เขียนรวมเป็นเล่มชื่อ คือ...คนหนังสือพิมพ์ ได้อ่านกันในวันนักข่าว 5 มีนาคม 2558

เรียงตามลำดับอายุ "เลิศ อัศเวศน์ พิศาล พ้นภัย สัมผัส พึ่งประดิษฐ์ มานะ แพร่พันธุ์ บัญญัติ ทัศนียเวช ประเวทย์ บูรณะกิจ บรรเจิด ทวี คณิต นันทวาณี ปรีชา สามัคคีธรรม มานิจ สุขสมจิตร สำเริง คำพะอุ ตุลย์ ศิริกุลย์พิพัฒน์ ผุสดี คีตวรนาฏ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ กวี จงกิจถาวร


นักข่าวรุ่นกลางๆอย่างผม รู้จักมักคุ้นเกือบทุกคน ยกเว้นสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ ที่เพิ่งทำความคุ้นเคยกันในวันงาน

ผู้คนเหล่านี้เป็นเหมือนห่วงโซ่ข้อกลาง เรื่องราวแต่ละท่าน เกี่ยวร้อยไปถึงนักหนังสือพิมพ์ “รุ่นตำนาน” ห่วงโซ่ข้อแรก ที่ผมคิดว่า นักข่าวรุ่นหลังๆ... ซึ่งเป็นห่วงโซ่ข้อต่อไป...ควรได้เรียนรู้

คิดจะมาเป็นนักข่าว...หากไม่รู้จักคน นสพ.อย่างพระยาศราภัย-พิพัฒน์ กุหลาบ สายประดิษฐ์ อิศรา อมันตกุล อุทธรณ์ พลกุล คึกฤทธิ์ ปราโมช ฯลฯ จนถึงกำพล วัชรพล...

ก็น่าเสียดาย!

บนเวทีเสวนา สัมผัส พึ่งประดิษฐ์ เล่าว่า ถูกจับตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โทษฐานเขียนข่าวเขียนบทความต่อต้านเผด็จการ...เจอและรู้จักรุ่นตำนาน อย่างกุหลาบ สายประดิษฐ์ ก็ในห้องขัง

ธงชัยที่ยื่นให้นักข่าวรุ่นตำนาน...ดูจะมีเรื่องเดียว คือ เข้มแข็ง มั่นคง และกล้าปะทะ หักหาญ กับอำนาจเผด็จการ

หลายคนติดคุกยาว...แต่ที่ทำลายสถิตินานกว่า...เข้าคุกตั้งแต่ยุค จอมพล ป. ต่อรอบสองในยุคจอมพลสฤษดิ์ สิริอายุในคุกรวม 11 ปี 1 เดือน หนึ่งเดียวคนนั้นชื่ออุทธรณ์ พลกุล ผู้ริเริ่มคอลัมน์การเมืองหน้า 3
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐที่ท่านทั้งหลายกำลังอ่านกัน ณ บัดนี้

แถมสิน รัตนพันธุ์ นักข่าวตำนานอีกคน วันนี้อายุ 85 ปี เขียนไว้ในหนังสือตำนานลึก (ไม่) ลับ ฉบับ
ทระนง คนหนังสือพิมพ์ (สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ.2548) ว่า

ชีวิตพิสดาร อุทธรณ์ พลกุล ครั้งหนึ่งถูกกำพล วัชรพล อัปเปอร์-คัตขวา เลือดกบ–ฟันหัก

แล้วคนที่ชก...ก็ต้องไปเจรจาชวนคนที่ถูกชกมาร่วมทำหนังสือพิมพ์ ให้กำเนิด “ไทยรัฐ” จนยิ่งใหญ่ ยืนยง มั่นคง มาด้วยกัน

แต่เรื่องของ “พี่แถม” ที่ผมอ่านแล้วติดใจ ...เจอใครก็เล่าต่อ...ก็คือเรื่อง ไอ้บ๊อบ การเมือง

เปิดลิ้นชักแห่งความจำ...พี่แถมพบว่า ทองใบ ทองเปาด์ เคยเข้าคุกข้อหาคอมมิวนิสต์ 2 ครั้ง 8 ปี 4 เดือน 16 วัน เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับ กุหลาบ สายประดิษฐ์ อุทธรณ์ พลกุล จิตร ภูมิศักดิ์ ฯลฯ

ปี 2527 มูลนิธิรามอนแม็กไซไซ ประกาศให้รางวัลเงิน 1 แสนบาท ทองใบ ทองเปาด์ ประธานสภาสิทธิมนุษยชนแห่งภูมิภาคเอเชีย ขอสละสิทธิ์ ด้วยเหตุผล ไม่อยากไปจับมือเปื้อนของประธานาธิบดีเผด็จการ อย่างเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส

ย้อนหลังไปในเกมชิงอำนาจระหว่างจอมพล ป.กับจอมพลสฤษดิ์ วันที่ 11 ก.ย.2500 หลังจอมพล ป.เข้าเฝ้าในหลวง ขับรถออกไม่ได้ มีนักข่าวไว้ผมยาวทรงบ๊อบที่คุ้นหน้า...ยืนจังก้าขวางทาง
เมื่อได้ยินว่า ต้องการรู้ว่านายกฯเข้าเฝ้าในหลวงด้วยเรื่องอันใด

จอมพล ป.ก็บอกให้มายืนฟังข้างหู ทันทีที่คุณบ๊อบ การเมือง เลี่ยงจากหน้ามาด้านข้าง...จอมพลก็เร่งรถวิ่งตะบึงออกไป

ไม่ได้ไปบ้าน แต่ไปไกลถึงชายแดนเมืองตราด ลี้ภัยไกลไปถึงเขมร

อีกเรื่อง เกิดปี พ.ศ.2508 ตีนบันไดตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ว่า “หมู่นี้อั๊วไม่เห็นหน้าไอ้บ๊อบ การเมือง ไม่เห็นมันตั้งนาน อยากรู้มันหายหัวไปไหน”

“ถ้าไอ้บ๊อบ ที่ท่านถาม หมายถึงทองใบ ทองเปาด์...” เสียงตอบจากสว่าง ลานเหลือ นักข่าวรุ่นใหญ่ “มันไม่ได้หายไปไหน ท่านนายกฯเองที่ลืมไปว่า ท่านสั่งจับมันเข้าคุกมา 5 ปีแล้ว”

อ่านเรื่องของแถมสิน รัตนพันธุ์ มาถึงแค่นี้ ก็รู้แล้วว่านักข่าวรุ่นตำนานนั้น...เขาเล่นกับเผด็จการกันแบบไหน

แบบที่สัมภาษณ์ไป เขียนเย้า ยั่ว หยอกกันแบบเดาใจ ว่าพอทนได้ “เอาตัวรอดไปวันๆ ” เป็นสไตล์ของนักข่าวยุคไหน สมัยไหน อย่ามาถามผม เพราะผมก็ไม่รู้.

กิเลน ประลองเชิง

ไฟเขียวซื้อเรือดำน้ำจีน 1.35 หมื่นล้าน

ไฟเขียวซื้อเรือดำน้ำจีน 1.35 หมื่นล้าน

by วันเพ็ญ แถวอุดม24 มกราคม 2560 เวลา 12:30 น.
โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยการจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีน ผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว เตรียมจัดซื้อลำแรก 1.35 หมื่นล้าน 
พลเรือเอก จุมพล ลุมพิกานนท์ โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยการจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีน ผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว เตรียมจัดซื้อลำแรก โดยงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 วงเงิน 13,500 ล้านบาท เป็นการซื้อแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี 
โดยเป็นราคาแพคเกจ รวมระบบ อาวุธ การฝึกอบรม ส่งบุคลากรจากจีนมาไทย และการซ่อมบำรุง ใช้เวลาต่อเรือ 6 ปี พร้อมชี้แจงความคุ้มค่าการใช้งาน หลังมีกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ซื้อมาแล้วจะจอดแช่น้ำ
//////////
‘ทัพเรือ’เผย’เรือดำน้ำ Yuan Class S26T’ จากจีน ผ่าน ครม.แล้ว จัดซื้อปีนี้ 1 ลำ 13,500 ล้านบาท ซื้อแบบ G to G รวมแพคเกจ ฝึกอบรม-อาวุธ-ซ่อมบำรุง คาด 6 ปีส่งถึงไทย โต้คนวิจารณ์ซื้อมาแช่น้ำ ย้ำไม่มีอาวุธชิ้นใดของ ทร.ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้งาน
พล.ร.อ.จุมพล ลุมพิกานนท์ โฆษก ทร. กล่าวถึงกรณีการจัดซื้อเรือดำน้ำ Yuan Class S26T จากจีน ผ่านความเห็นชอบแล้วจากรัฐบาล-สนช. เตรียมจัดซื้อลำแรกปี 2560 ในงบประมาณ 13,500 ล้านบาท มีราคาแพงกว่าซื้อเหมา 3 ลำ ราคาเหมาจ่าย 36,000 ล้านบาท เป็นการซื้อแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) เพราะทางกองทัพเรือได้งบประมาณมาเท่านี้ จะใช้อย่างไรให้ดีที่สุดตามกรอบงบ ตามแนวทางแปลงยุทธศาสตร์เป็นกำลังรบ
โดยเป็นราคาแพคเกจ รวมระบบ อาวุธ การฝึกศึกษา อบรม ส่งบุคลากรจากจีนมาไทย และการซ่อมบำรุง ใช้เวลาต่อเรือ 6 ปี ไม่ใช่สั่งแล้วได้เลย และต้องดูด้วยว่า 6 ปีเทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
ซึ่งทางเทคนิคของคนปฏิบัติการเรือดำน้ำ การจะสอนคนให้อยู่กับเรือดำน้ำได้ ใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี
ทั้งนี้ ยอมรับว่าเรือดำน้ำมีเทคโนโลยีที่ยากแก่การเข้าใจของสังคม เพราะมีเทคโนโลยีสูง ทางกองทัพเรือให้ประชาชนเรียนรู้โดยธรรมชาติ หลังคณะทำงานของ ทร.ได้ศึกษามายาวนานกว่า 10 ปีแล้ว

พร้อมชี้แจงถึงกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ซื้อมาแล้วจะจอดแช่น้ำ ไม่ได้ใช้งาน ว่า “มีอาวุธชิ้นไหนของกองทัพเรือ ใช้ไม่ได้บ้าง”

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง"22 นายพล"เป็น"ผู้ทรงคุณวุฒิ-ผู้ทรงคุณพิเศษ"สนง.ปลัด กห.

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง"22 นายพล"เป็น"ผู้ทรงคุณวุฒิ-ผู้ทรงคุณพิเศษ"สนง.ปลัด กห.
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการความว่า มีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้นายทหารสัญญาบัตรรับราชการสนองพระเดชพระคุณจํานวน 22 ราย
rachakitja 240160
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2560 เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการความว่า มีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้นายทหารสัญญาบัตรรับราชการสนองพระเดชพระคุณจํานวน 22 ราย (เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ-คุณวุฒิพิเศษ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม) ดังนี้
1. พลเอก อธิคม สุขสมสถาน ผู้อํานวยการสํานักงานกิจการพิเศษ กรมราชองครักษ์ (อัตรา พลเอก) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
2. พลเอก ธนรัชฏ์ หิรัญบูรณะ ผู้อํานวยการสํานักยุทธบริการ กรมราชองครักษ์ (อัตรา พลเอก)เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
3. พลโท อดิเรก วงษ์บัณฑิต รองผู้อํานวยการสํานักนโยบายและแผน กรมราชองครักษ์(อัตรา พลโท) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
4. พลโท พิชญ์ โชติสุต ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกรมราชองครักษ์ (อัตรา พลโท) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
5. พลโท ขัตติยะ อุ่นอก รองเสนาธิการกรมราชองครักษ์ (อัตรา พลโท) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
6. พลโท สมนึก ฉันทะ รองผู้อํานวยการสํานักงานกิจการพิเศษ กรมราชองครักษ์ (อัตรา พลโท)เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
7. พลโท พูนศักดิ์ คัมภีร์พันธุ์ รองผู้อํานวยการสํานักงานรักษาความปลอดภัย กรมราชองครักษ์(อัตรา พลโท) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
8. พลโท พรชัย ขาวสบาย รองผู้อํานวยการสํานักยุทธบริการ กรมราชองครักษ์ (อัตรา พลโท)เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
9. พลโท โสภณ น้อยเพิ่ม รองเสนาธิการกรมราชองครักษ์ (อัตรา พลโท) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
10. พลตรี ณัฐพล สมประสงค์ ผู้อํานวยการสํานักกิจการพิเศษที่ 1 สํานักงานกิจการพิเศษ กรมราชองครักษ์ (อัตรา พลตรี) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลตรี)
11. พลตรี วินัย เกตุสุวรรณ ผู้อํานวยการสํานักรักษาความปลอดภัยที่ ๑ สํานักงานรักษาความปลอดภัย กรมราชองครักษ์ (อัตรา พลตรี) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม(อัตรา พลตรี)
12. พลตรี มานพ แฝดกลาง ผู้ช่วยผู้อํานวยการสํานักยุทธบริการ กรมราชองครักษ์ (อัตรา พลตรี)เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลตรี)
13. พลตรี มนศักดิ์ สุวงศ์สินธุ์ ผู้อํานวยการสํานักกิจการพิเศษที่ 3 สํานักงานกิจการพิเศษกรมราชองครักษ์ (อัตรา พลตรี) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลตรี)
14. พลตรี ภิญโญ คัมภีร์พันธุ์ หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจําผู้บังคับบัญชา กรมราชองครักษ์(อัตรา พลตรี) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลตรี)
15. พลตรี ธีรสาสน์ แสงแก้ว ผู้อํานวยการสํานักกิจการพิเศษที่ ๑ สํานักงานกิจการพิเศษกรมราชองครักษ์ (อัตรา พลตรี) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลตรี)
16. พลเรือตรี เกริกพันธ์ พันธุ์สัมฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้อํานวยการสํานักนโยบายและแผน กรมราชองครักษ์(อัตรา พลเรือตรี) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเรือตรี)
17. พลเรือตรี วัลลภ บุรารักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมราชองครักษ์ (อัตรา พลเรือตรี) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเรือตรี)
18. พลอากาศตรี วรวัฒน์ คงมั่น ผู้ชํานาญการกรมราชองครักษ์ (อัตรา พลอากาศตรี) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลอากาศตรี)
19. พลตรีหญิง อรุณรัตน์ อินทรสุวรรณ ผู้ชํานาญการกรมราชองครักษ์ (อัตรา พลตรี) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลตรี)
20. พลตรีหญิง เพชราภรณ์ หิรัญบูรณะ ผู้ชํานาญการกรมราชองครักษ์ (อัตรา พลตรี) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลตรี)
21. พลตรีหญิง รัตตินันท์ นวลสุวรรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมราชองครักษ์ (อัตรา พลตรี) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลตรี)
22. พลอากาศตรีหญิง ไพลิน สุประดิษฐ์ ผู้ชํานาญการกรมราชองครักษ์ (อัตรา พลอากาศตรี) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลอากาศตรี)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

สินบน Rolls-Royce


Vachara Riddhagni

ขณะนี้มีเรื่องอื้อฉาว การติดสินบนโดยบริษัท Rolls-Royce และการรับสินบนของรัฐมนตรี ข้าราชการและกรรมการรัฐวิสาหกิจไทย ในช่วงปี ค.ศ.1991-2005

เป็นคดีทุจริตคอร์รัปชั่นระดับโลกของรัฐวิสาหกิจไทยเกี่ยวข้อง ที่กำลังดังไปทั่วโลก และเรื่องนี้กำลังอยู่ในการพิจารณาของศาลสูงอังกฤษ คือ บริษัทอุตสาหกรรมอากาศยาน Rolls-Royce ที่ใหญ่ระดับโลกและมีชื่อเสียงมาช้านานแล้วในเรื่องรถยนต์ เครื่องบินและเครื่องยนต์ยานพาหนะทั้งหลาย ได้ติดสินบนบริษัทการบินไทยให้ซื้อเครื่องยนต์ RR ติดตั้งกับเครื่องบิน Boeing -777 จำนวน 8 ลำ

โดยในปัจจุบันการบินไทยมีเครื่องบินที่ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์ทั้งหมด 47 ลำประกอบไปด้วยแอร์บัสเอ330-300 จำนวน 15 ลำแอร์บัสเอ380-800 จำนวน 6 ลำโบอิ้ง 777-200 จำนวน 8 ลำโบอิ้ง 777-200อีอาร์จำนวน 6 ลำโบอิ้ง 777-300 จำนวน 6 ลำและโบอิ้ง 787-8 ดรีมไลเนอร์จำนวน 6 ลำ (มีความสัมพันธ์กัน 50 ปี)

ข้อสรุปของผม 
1. การทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทยมีจริง ซึ่งเป็นคดีในต่างประเทศ ดังนั้นอิทธิพลนักการเมืองไทยและข้าราชการไทยจึงก้าวล่วงไม่ถึง (เรื่องการติดสินบนนี้ เรียกกันง่ายๆว่า "การกินตามน้ำ หรือการโกงกินในพื้นที่สีเทา")
แต่มีผู้เสียหาย เพราะเขาไม่ได้รับความยุติธรรมจากการประมูล ผู้บริโภคไม่รับความยุติธรรมเพราะไม่ได้รับของมีคุณภาพสูงสุด ผู้เสียภาษีเสียผลประโยชน์ เกิดความเสียหายใหญ่หลวงกับประเทศและคนในชาติ นักการเมืองมักบอกว่าการตัดสินใจในพื้นที่สีเทานั้นเป็นเป็นเรื่องปกติ)
2. ระบบราชการไทยและรัฐวิสาหกิจ มีช่องโหว่ในการบริหาร ทำให้ทุจริตได้ง่าย จึงเป็นแรงกระตุ้นให้นักการเมือง และข้าราชการ อยากเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงเกรด A (มีการลงทุน ซื้อตำแหน่ง)
3. คนที่มีอำนาจรัฐปกป้องและปิดบังตัวเองได้ง่ายจากการถูกกล่าวหาว่าทุจริตคอร์รัปชั่น
4. หลายคดีทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นถูกเปิดโปงจากคดีอื่อฉาวในต่างประเทศ หรือเป็นกระทำผิดกฎหมายต่างประเทศ (การบินไทยมีปัญหาบินเข้าสหรัฐฯ ไม่ได้ เรื่องการทุจริตอาจถูกโยงไปเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการบินได้ง่ายๆ)

เรื่องราวมีอยู่ว่า การบินไทย ซื้อ Boeing-777 รวม 8 ลำและเลือกใช้เครื่องยนต์ Rolls-Royce RR (คู่แข่งที่สำคัญน่าจะเป็นเครื่องยนต์ของบริษัท GE และ Prat & Whitney)

ต่อมาทางการระดับสูงว่าด้วยเรื่องความโปร่งใสของอังกฤษสอบสวนเรื่องนี้ โดยใช้เวลาหลายปี พบว่า Sir John Rose ตำแหน่ง Rolls-Royce CEO ติดสินบนหลายบริษัทหรือหลายหน่วยงานของรัฐ ในอย่างน้อย 3 ประเทศ ในช่วงปี ค.ศ.1996-2011 และมีไทยรวมอยู่ด้วย 2 รัฐวิสาหกิจ คือ การบินไทยและ ปตท.และเขาจนด้วยหลักฐาน จึงยอมรับสารภาพ โดยการบินไทยได้รับสินบนเป็นเงินรวม 28.5 พันล้านบาท

ในการนี้เขาจะถูกถอดออกจากการเป็นอัศวิน หรือคนที่ได้เหรียญตรา Order of British Empire และจะมีคำนำหน้าว่า Sir ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ในการพิจารณาของศาลสูงอังกฤษ และผู้พิพากษา Brian Leverson สั่งในสอบสวนในวันอังคารนี้ (เราติดตามได้จาก BBC หรือ Fhe Guardian online)รายชื่อคนรับสินบนคงถูกเปิดเผยในศาล

ข่าว24/1/60

"เจตน์" เชื่อทุกพรรคการเมืองเข้าร่วมปรองดองแน่ แม้ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน ไม่จำเป็นต้องมีการบังคับให้ทำMOU 

นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะโฆษกกรรมาธิการกิจการ สนช. (วิป สนช.) เปิดเผยกับสำนักข่าว INN  ว่า ตามที่รัฐบาล และ คสช.เดินหน้าสร้างความ

ปรองดองให้คนในชาติ และมีหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง และแตกต่างกันนั้น โดยส่วนตัว เชื่อว่าเรื่องดังกล่าว เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ และเป็นไปตามที่รัฐบาล และ คสช.

ได้กำหนดไว้ในโรดแม็ปแล้ว ทำให้มั่นใจว่า พรรคการเมืองต่างๆ จะไม่ปฏิเสธการเข้าร่วม แต่ในทางปฏิบัติก็จำเป็นต้องมีหลายแนวทางในการดำเนินการ ส่วนจะมีการทำMOU หรือไม่นั้น คงไม่

สำคัญเท่ากับการมีส่วนร่วม การยอมรับ ในการปรองดองของทุกฝ่าย และไม่จำเป็นต้องมีการบังคับให้ทำMOU แต่อย่างใด

นอกจากนี้ นพ.เจตน์ ยังกล่าวด้วยว่า สนช.พร้อมเข้าร่วมเวทีรับฟังความเห็น ที่ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะจัดขึ้น เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำกฏหมายลูกในฉบับต่างๆ เพื่อ

เป็นข้อมูล และเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการพิจารณา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.)ทั้ง 10 ฉบับของ สนช.ด้วย
--------
นายกฯ บอกปรับภูมิทัศน์เพิ่มอ่างบัว แค่เพื่อสวยงาม ติงต้องเปลี่ยนแปลงเสมอ ด้าน "พล.อ.ประวิตร" ปัดตอบปมจัดซื้อเรือดำน้ำ

บรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาลล่าสุด อยู่ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้ ก่อนการประชุมนั้น สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้พยายามสอบถามนายกรัฐมนตรี ถึงการปรับภูมิทัศน์ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยการนำอ่างบัวสีมาตั้งไว้บริเวณจุดต่าง ๆ ที่สวนหย่อมทำเนียบรัฐบาล จำนวน 10 ใบ ว่า เป็นปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีความสวยงาม ให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง โดยเปรียบเปรยว่า ผู้ที่สมองไม่เปลี่ยน ก็จะเป็นอาหารของเต่า ปลาใต้น้ำ

ด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปฏิเสธตอบคำถามสื่อมวลชน ถึงกรณีโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ จากประเทศจีน จำนวน 3 ลำ ตามแผนการจัดซื้อ โดยเป็นเเผนลำแรกในการจัดซื้อ ซึ่งจะใช้งบประมาณปี 2560

ขณะที่บรรยากาศก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ในช่วงเช้าวันนี้ นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำ นายฮาซัน สาเมาะ เยาวชนผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศการทดสอบท่องจำพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน นานาชาติ ประเทศซูดาน เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
----------
"พล.อ.อนุพงษ์" ยัน เร่งสอบสินบนจัดซื้อสายเคเบิล การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ย้ำทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้เบาบางลง แต่ได้มีการประเมินไว้ว่า จะมีฝนลงมาอีกในช่วงนี้ ถ้ายังไม่ตกลงมามากกว่านี้

สถานการณ์น้ำคงจะดีขึ้น และจะมีการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าฟื้นฟูในทันที ส่วนข้อเสนอการสร้างเขื่อนในพื้นที่ภาคใต้นั้น ถ้าหากมีส่วนที่กระทรวงมหาดไทย เข้าไปเกี่ยวข้องก็จะต้องนำมาพิจารณา

นอกจากนี้ พล.อ.อนุพงษ์ ยังกล่าวถึงกรณีการให้สินบนเจ้าพนักงานในการจัดซื้อสายเคเบิล การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ว่า เรื่องนี้ได้มีการหารือกับผู้ว่าฯ กฟภ. แล้ว ว่าจะต้องมีการตั้งกรรมการ

สอบข้อเท็จจริง อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย
---------------
นายกฯ หวังทุกคนร่วมปรองดอง ย้ำยึดหลักการ ปัดนิ่งนอนใจแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ เตรียมลงพื้นที่อีกสัปดาห์นี้ 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวชื่นชมเยาวชนผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศการทดสอบท่องจำพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอานนานาชาติ ประเทศซูดาน ที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ ซึ่งการแข่งขันดังกล่าว เป็นการแข่งขันระดับโลก ถือเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ พร้อมยังฝากไปยัง ผู้อาวุโส เด็ก เยาวชน ให้ช่วยกันทำบ้านเมือง สงบสุข

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงแนวทางการสร้างความปรองดอง ว่า จะต้องมีหลักการด้านการทำงาน จึงขอฝากทุกคน รวมถึงคณะกรรมการที่ทำงานทั้งหมด พร้อมถึงระบุเหตุการณ์ในภาคใต้ เป็นเรื่องอัตลักษณ์ แม้ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม จะมีจำนวนน้อยแต่ก็มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะมุสลิมสมัยใหม่ ที่ใช้ความทันสมัยควบคู่กับการคงอัตลักษณ์ไว้

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจ ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ ซึ่งจะลงพื้นที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ในสัปดาห์นี้ เพื่อติดตามการช่วยเหลือ ทั้งหมดที่เป็นความช่วยเหลือเร่งด่วน รวมทั้งแนวทางการฟื้นฟู และการแก้ปัญหาระยะยาวอย่างยั่งยืน รวมทั้งจะไปติดตาม โครงการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงรับสั่งไว้นานแล้ว ว่า จะสามารถประยุกต์ใช้ได้หรือไม่ จึงต้องขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ด้วย เพราะหลายอย่างต้องทำใหม่ เช่น ขุดลอกคูคลอง ทำทางระบายน้ำ
------------------
นายกฯ ยินดีพรรคการเมืองร่วมสร้างปรองดอง ยันไม่โยงป๋าเปรมโมเดล หากคุยกันไม่ได้ ก็ขอให้สังคมเป็นผู้ตัดสิน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงประเด็นเรื่องการปรองดอง ที่หากพรรคการเมืองใหญ่บางพรรคไม่เข้าร่วม จะทำให้การปรองดองเกิดประโยชน์ได้หรือไม่ ว่า เป็นการพูดจา เพื่อหาทางออก และเพื่อความสงบสุขให้แก่ประเทศ หากพรรคการเมืองไม่เข้าร่วม ก็ถือว่าไม่เห็นสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญกับประเทศชาติ

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ขอขอบคุณพรรคการเมืองหลายพรรค ที่ตอบรับเข้าร่วมพูดคุยในการสร้างความปรองดอง ซึ่งหลังจากนี้หากคุยกันไม่ได้ ก็ขอให้สังคมเป็นผู้ตัดสิน

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึง ข้อเสนอที่ให้นำสูตรการปรองดอง 66/23 ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาใช้ ว่า เป็นคนละส่วนกัน เพราะขณะนี้ไม่ใช่เป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธ และทำสงคราม หรือลัทธิความเชื่อ แต่ทั้งนี้ ยืนยันว่า จะเดินหน้าปรองดองเพื่อให้ประเทศเดินต่อไปได้ตามกลไกปกติ

ส่วนรายชื่อคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ขณะนี้รายชื่อต่าง ๆ ยังไม่เรียบร้อย โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปลายเดือนนี้
-----------------
"พล.อ.ประวิตร" ยังไม่ชัด กรรมการ ป.ย.ป. ยัน ไม่ใช้คำสั่ง 66/23 นำปรองดอง ปัดตอบซื้อเรือดำน้ำ 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ ไม่มีการพิจารณารายชื่อคณะกรรมหารบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ต้องรอภายหลังการประชุมคณะกรรมการเตรียมการสร้างความปรองดองจึงจะมีความชัดเจน ส่วนกรณีที่กรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง เสนอให้ใช้คำสั่ง 66/23 และ 66/25 เช่นเดียวกับสมัยที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ใช้ยุติสงครามคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลในขณะนั้น

พล.อ.ประวิตร ระบุว่า จะไม่ใช้วิธีการดังกล่าว เพราะแนวทางของตนเองจะไม่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย แต่เน้นการสร้างความเข้าใจของทุกฝ่าย เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังเปิดเผยว่า ไม่มีการเสนอเรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือ เข้าที่ประชุม ครม. เพราะเป็นเรื่องที่ใช้งบประมาณของกองทัพเรือเอง ซึ่งได้ผ่าน

ความเห็นชอบจาก สนช. แล้ว ขณะนี้จึงอยู่ในระหว่างการเตรียมการ แต่จะต้องเสนอรายงานให้ ครม. รับทราบก่อนดำเนินการจัดซื้อ
----------------
"มีชัย" เผย มติกฤษฎีกาให้ "วิษณุ" แจงคืบหน้าแก้ไข รธน. คนเดียว - ขออย่ากังวลคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา มีมติให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขร่าง

รัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติ เพียงคนเดียว เพื่อให้ข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนกรณีที่สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. ขอให้ กรธ. กำหนดให้ชัดเจนว่า หากคณะ

กรรมการการเลือกตั้งชุดเก่าคนใดขาดคุณสมบัติแล้ว ต้องพ้นจากตำแหน่งทันที เพราะกังวลว่าคณะกรรมการสรรหา ที่มีตัวแทนจากคณะกรรมการองค์กรอิสระอื่น ร่วมเป็นคณะกรรมการด้วยนั้น

อาจมีช่องให้เกิดการช่วยเหลือกันได้ นายมีชัย ระบุว่า ขออย่าเป็นกังวล เนื่องจากการจะพิจารณาเรื่องใด ต้องมีหลักฐานและพิสูจน์ได้ นอกจากนี้ บุคคลระดับประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครอง

ร่วมเป็นคณะกรรมการ จึงขอให้เชื่อมั่นในตัวของบุคคลเหล่านี้

ขณะเดียวกัน ในวันพรุ่งนี้ กรธ. ได้จัดสัมมนารับฟังความเห็น ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยได้เชิญ ผู้แทนจาก กสม. และตัวแทนจาก

องค์กรภาคประชาชนด้านสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมให้ความคิดเห็น โดยมี ประธาน กรธ. เป็นผู้กล่าวเปิดสัมมนา
-----------------
"สุเทพ" ยัน พร้อมสนับสนุน รบ. เดินหน้าปรองดอง ชี้ MOU ไม่ใช่สิ่งสำคัญ แนะต้องวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงให้ได้

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (กปปส.) กล่าวว่า ตนเอง และแกนนำ กปปส. พร้อมที่จะสนับสนุนรัฐบาลในการสร้างความปรองดอง เพราะเห็นถึงความตั้งใจจริงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ที่จะปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ และเพื่อที่จะทำให้ประเทศเกิดความปรองดองและเดินไปข้างหน้า สนับสนุนให้มีการปฏิรูปประเทศให้สำเร็จ เพราะทุกอย่างคืออนาคตของประเทศไทย

ทั้งนี้ นายสุเทพ ยังระบุด้วยว่า หากมีการเชิญให้ไปร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรองดอง ก็ยินดี พร้อมเสนอให้รัฐบาลหาแนวทางเพื่อทำให้เกิดความปรองดองในระยะยาวให้ได้ และขอให้มีการวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ส่วนการลงนามเอ็มโอยูนั้น ไม่ใช่สิ่งสำคัญ และไม่อยากตอบในขณะนี้ว่าจะลงนามหรือไม่ เพราะจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเพื่อความปรองดองได้อย่างแท้จริง ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความปรองดองมากกว่า

นอกจากนี้ นายสุเทพ ปฏิเสธมีส่วนเกี่ยวข้องกับสินบนของบริษัทโรลส์-รอยซ์ โดยระบุให้ดูปีที่มีการติดสินบนอย่างชัดเจนก่อน พร้อมยืนยันว่ากรณีดังกล่าวนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่ตนเองดำรงตำแหน่ง และขณะนี้อยู่ในระหว่างการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ จึงไม่สามารถแสดงความคิดเห็นใด ๆ ได้ ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน

-------------
"อภิสิทธิ์" ได้รับหนังสือขอความเห็นปรองดองจาก สปท. แล้ว ย้ำยึดหลักการเดิมต้องมองอนาคต เรื่องในอดีตให้กระบวนการ ยธ. ดำเนินการ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เกินทางลงพื้นที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม พร้อมกับเปิดเผยว่า ได้รับหนังสือขอความเห็นเกี่ยวกับแนว

ทางการสร้างความปรองดอง จากคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. แล้ว โดยจะมีการหารือกับแกนนำพรรค อย่างไม่เป็น

ทางการในวันพรุ่งนี้ (25 ม.ค.) ก่อนที่จะส่งความเห็นเป็นเอกสารกลับไปภายในวันที่ 31 ม.ค. ต่อไป

ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวด้วยว่า ส่วนตัวยังยืนยันหลักการเดิมที่เคยเสนอต่อสาธารณชนไปแล้วว่า การปรองดองต้องมองไปที่อนาคต ส่วนเรื่องอดีตก็ปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมทำงาน  ยกเว้น

คดีที่เกี่ยวข้องกับประชาชนที่มาชุมนุมทำผิดกฎหมายพิเศษ ก็ควรจะได้รับนิรโทษกรรม และกระบวนการยุติธรรมทำงานได้ข้อยุติในกรณีอื่น ๆ แล้ว ทั้งในเรื่องข้อเท็จจริง และความรับผิดชอบต่อ

ผลจากการกระทำ จะมีช่องทางอภัยโทษอย่างไร ก็ยึดตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่มีอยู่
------------------
"วีระ" FB ท้าทายนายกฯ ใช้ ม.44 ประกาศให้คดีการทุจริตไม่มีอายุความ เหน็บเรื่องที่ควรทำกลับไม่ทำ

นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Veera Somkwamkid" ว่า ถ้ารัฐบาล คสช. มีความจริงใจและจริงจังในการปราบปรามการทุจริต

ควรใช้อำนาจตามมาตรา 44 ประกาศให้คดีการทุจริตไม่มีอายุความ ตรวจสอบพบเมื่อใด ดำเนินคดีได้ทันที ทำให้ได้อย่างประเทศจีน นายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล้าทำไหม

นายวีระ ยังกล่าวอีกว่า เรื่องที่ไม่ควรทำ เพราะอาจเข้าข่ายเป็นการเอื้อประโยชน์โดยมิชอบ ยังกล้าทำ เช่น กรณี ครม. แก้สัญญาเช่าที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จากเดิม 25 ปี เป็น 50 ปี ให้แก่ธุรกิจ

ในกลุ่มของเจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้ซื้อที่ดินของพ่อนายกฯ โดยไม่มีการประมูลแข่งขัน ไม่กลัวคนทั่วไปจะเข้าใจผิด ว่า อาจจะเป็นการเอาผลประโยชน์ของชาติ ไปตอบแทนบุญคุณส่วนตัว แต่
เรื่องที่สมควรทำ กลับไม่รีบทำ

////////////
สินบน

"อาคม" อุบตอบสินบนโรลส์รอยซ์ - บินไทยโยงการเมือง ระบุต้องรอผลการตรวจสอบตามขั้นตอน 

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณี บริษัท โรลส์-รอยซ์ ยอมรับว่ามีการจ่ายสินบนให้กับคนในบริษัทการบินไทย ว่า ได้ให้การบินไทยรายงานผลการตรวจสอบภายใน 30 วัน หลังตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมา 2 ชุด ชุดแรก ทำหน้าที่ตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นที่นอกจากการบินไทย ส่วนชุดที่สองจะดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการซึ่งจะต้องประสานข้อมูลจาก สำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษ (Serious Fraud Office : SFO) และขณะนี้การบินไทยกำลังขอข้อมูลจากทางบริษัท โรลส์-รอยซ์ ส่วนจะเชื่อมโยงกับนักการเมืองหรือไม่นั้น นายอาคม กล่าวว่า จะต้องรอการตรวจสอบตามที่บริษัท โรลส์-รอยซ์รายงานกับ SFO แต่จะต้องดูมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2547 ที่ให้การจัดซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 มาพิจารณาทั้งหมดเพื่อความกระจ่างจึงต้องดูรายละเอียดทั้งหมดเพื่อความมั่นใจ แม้เหตุการณ์ดังกล่าวจะผ่านมานาน ถึง 20 ปี แล้วก็ตาม
-------------
นายกฯ สั่ง ตรวจสอบสินบนโรลส์รอยซ์ - บินไทย ตามขั้นตอน อาคม ระบุที่ผ่านมา บินไทยจัดซื้อผ่านระบบนายหน้า สั่งแก้ไขแล้ว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการจัดซื้อจัดจ้างของ บริษัท การบินไทย ที่มักจะดำเนินการผ่านนายหน้า ว่า ได้สั่งการให้การบินไทยซื้อของจากผู้ผลิตโดยตรงแล้ว ส่วนจะมอบหมายเรื่องนี้ให้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ดูแลหรือไม่นั้น ต้องรอดู เนื่องจากมีหลายหน่วยงานที่เริ่มเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. เพราะหน่วยงานเหล่านี้จะมีอำนาจโดยตรงในการขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ขณะที่นายกรัฐมนตรีก็ได้สั่งให้ดำเนินการตามขั้นตอนของหน่วยงาน
------------
นายกฯ แจงปมโรสลส์ - รอยซ์ ชี้ ให้ คค. ตรวจสอบองค์กรการบินไทยอยู่แล้ว ยัน รบ. พยายามปรับแก้การจัดซื้อจัดจ้างไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้น

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการตรวจสอบการติดสินบนของบริษัท โรลส์ - รอยซ์ ให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่า รัฐบาลนี้อยู่ภายใต้การตรวจสอบ มีคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ตัดสินตามหลักฐาน วัตถุพยาน ซึ่งต้องมีการตรวจสอบ และรัฐบาลนี้ก็ถูกตรวจสอบจาก ป.ป.ช. รวมทั้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ก็มีการตรวจสอบเช่นกัน และหน่วยงานต่าง ๆ ก็ต้องมีการชี้แจงให้เข้าใจ

ทั้งนี้ ในคดีดังกล่าว รัฐบาลมีหน้าที่ตรวจสอบอยู่แล้ว โดยให้กระทรวงคมนาคมตรวจสอบภายในองค์กร คือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รวมถึง ป.ป.ช. และ สตง. ก็จะทำหน้าที่ตรวจสอบเช่นกัน โดยจะดำเนินการลงโทษตามความผิด ซึ่งขณะนี้รัฐบาลก็พยายามอุดช่องโหว่ และปรับแก้เรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง ให้รัดกุมเพื่อไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้น
---------
ป.ป.ช. ตั้ง คกก.สอบสวน สรุปข้อเท็จจริงคดีสินบนโรลส์ - รอยซ์ 15 คน "สรรเสริญ" เป็นประธาน

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เปิดเผย ว่า เมื่อวันที่ 23 มกราคม ที่ผ่านมา นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ลงนามในคำสั่งสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ 33/2560 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานสืบสวนและรวบรวมข้อมูล กรณี บริษัท โรลส์ - รอยซ์ (Rolls-Royce) จ่ายสินบนในการซื้อขายเครื่องยนต์อากาศยานและเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรม ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในประเทศไทย ในช่วงที่มีการจัดซื้อเครื่องยนต์เครื่องบินโบอิ้ง 777 รวม 3 ครั้ง ในช่วงปี พ.ศ.2534 - 2548 โดยมี นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธาน และประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ พนักงานไต่สวนชำนาญการพิเศษ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ พนักงานไต่สวนชำนาญการ เจ้าหน้าที่การต่างประเทศปฏิบัติการ นิติกรปฏิบัติการ ผู้ช่วยพนักงานไต่สวนปฏิบัติการ รวม 15 ราย เพื่อให้การดำเนินการรวบรวมข้อมูลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและรอบคอบ

ทั้งนี้ ในคำสั่งกำหนดให้คณะทำงานมีหน้าที่สืบสวนและรวบรวมข้อมูล สรุปข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนและรวบรวมข้อมูลเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณา
-----------
"วัฒนา"FBย้ำสินบนโรลส์รอยส์จ่ายบินไทยล็อต 3 ไม่เกี่ยว ครม."ทักษิณ" เหน็บ รบ.เป็นคนที่มาจาก ปชช.พร้อมให้ตรวจสอบเสมอ 

นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว"Watana Muangsook" ว่า หลังจากได้ชี้แจงเรื่องที่โรลส์รอยส์จ่ายเงินสินบน 254 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อเครื่องยนต์ไอพ่นล็อต 3 ว่า ไม่เกี่ยวข้องกับ ครม. ทักษิณ เพราะคุณสมบัติของเครื่องยนต์เป็นเรื่องทางเทคนิคเฉพาะที่การบินไทยจะเป็นผู้กำหนดและจัดซื้อจัดจ้างเองโดยไม่ต้องเข้า ครม. แต่ยังมีคอลัมน์นิสต์และสำนักข่าวแห่งหนึ่งพยายามโยงเรื่องให้มาเกี่ยวข้อง อ้างว่า ครม. เคยมีมติเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2547 อนุมัติการจัดซื้อฝูงบินจำนวน 14 ลำ ในวงเงินลงทุน 96,355 ล้านบาท นั้น ข้อเท็จจริง คือ  มติ ครม. ดังกล่าวเป็นการเห็นชอบการจัดซื้อเครื่องบินจากแอร์บัสและโบอิ้งตามข้อเสนอของการบินไทย เหตุที่ต้องเข้า ครม. เพราะเป็นวงเงินสูงถึง 96,355 ล้านบาท การบินไทยน่าจะใช้เงินกู้ที่รัฐบาลต้องเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งถือเป็นการก่อหนี้สาธารณะจึงต้องเสนอเรื่องให้ ครม. เห็นชอบ ส่วนสินบนเป็นเรื่องที่การบินไทยสั่งซื้อเครื่องยนต์ไอพ่น ล็อต 3 ของโรลส์รอยส์ และ แผนการที่จะซื้อเครื่องบินแบบไหน รุ่นอะไร จำนวนกี่ลำ และจะใช้เครื่องยนต์ของใครจึงจะเหมาะกับภารกิจและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด เป็นเรื่องทางเทคนิคที่การบินไทยพิจารณาเองมาโดยตลอด

ทั้งนี้ นายวัฒนา ยังระบุ เห็นด้วยที่สังคมจะช่วยกันตรวจสอบเรื่องการทุจริต แต่จะต้องอยู่บนข้อเท็จจริงและมีความเป็นกลาง เรื่องสินบนมีการจ่ายรวม 3 ครั้ง คือครั้งที่ 1 ปี 2534-2535 จำนวน 663 ล้านบาท ครั้งที่ 2 ปี 2535-2540 จำนวน 336 ล้านบาท และครั้งที่ 3 ปี 2547-2548 จำนวน 254 ล้านบาท เหตุที่ชี้แจงเพียงครั้งที่ 3 เพราะเกี่ยวข้องกับตัวเองเพียงแค่นี้และถือเป็นมารยาทที่จะไม่ไปพาดพิงถึงคนอื่น การบินไทยเป็นองค์กรที่เข้มแข็งเห็นได้จากการออกมาเป่านกหวีดกู้ชาติครั้งล่าสุด จึงเชื่อว่าจะหาคนที่เกี่ยวข้องกับการรับสินบนได้ไม่ยาก ส่วนที่บอกว่าไม่เกี่ยวข้องก็คือการพูดความจริงไม่ได้กลัวการตรวจสอบ เพราะคนที่มาจากประชาชนพร้อมเสมอที่จะให้มีการตรวจสอบและไม่เคยนิรโทษกรรมตัวเองหนีความผิด
------------------
"สุวพันธุ์" รอหน่วยงานเกี่ยวข้องรายงานผลสอบสินบนโรลส์ - รอยซ์ ยัน รบ. ไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพิ่มเติม

นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบการทุจริตติดสินบนพนักงาน เจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมือง ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องยนต์ของบริษัท โรลส์ - รอยซ์ ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่า ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.), คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กำลังตรวจสอบ ส่วนกรณีที่ สตง. ระบุว่า มีรายชื่อของเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองที่เกี่ยวข้อง ได้ส่งรายชื่อไปตรวจสอบกับเอสเอฟโอของอังกฤษ แต่ยังไม่ได้ส่งมายังศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ดั้งนั้น ศอตช. จึงรอหน่วยงานรัฐส่งข้อมูลเพื่อพิจารณาต่อไป

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า รัฐบาลไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อตรวจสอบกรณีดังกล่าว เพราะหน่วยงานที่ตรวจสอบขณะนี้ล้วนอยู่ใต้กำกับของภาครัฐอยู่แล้ว ส่วนการแก้ไขปัญหาในระยะยาว เมื่อประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างที่ชัดเจน น่าจะส่งผลให้การทุจริตในภาครัฐและรัฐวิสาหกิจลดลง
////////////////////
เปิดมติครม.ปี47โยงคดีสินบนโรลส์รอยซ์ พบสุริยะชงเปลี่ยนซื้อโบอิ้ง777 วิษณุรับเป็นรองนายกฯสมัยนั้นขอสำนึกรับผิดชอบช่วยรวบรวมข้อมูล???

2017-01-23 17:17:50
 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีบริษัท โรลส์รอยซ์ ยอมรับต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษ (ป.ป.ช. อังกฤษ)ว่า ได้จ่ายสินบนในหลายประเทศที่ทำการซื้อขายเครื่องยนต์ของโรลส์รอยซ์ รวมถึงประเทศไทยในช่วงปี 2534-2548 ว่า เมื่อปี 2547 ตนเป็นรองนายกรัฐมนตรี แต่จำไม่ได้ว่าคณะรัฐมนตรีขณะนั้นอนุมัติอะไรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไปบ้าง แต่หลังจากนี้ด้วยความสำนึกรับผิดชอบของตนจะได้รวบรวมและหาข้อมูล โดยทราบว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ตั้งกรรมการสอบขึ้นมา 2 ชุด เช่นเดียวกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่จะประสานข้อมูลกับทางป.ป.ช.อังกฤษ ทั้งนี้ การบินไทย มีข้อมูลอยู่แล้ว แต่อาจจะยังไม่เพียงพอ จึงต้องรวบรวมหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง เนื่องจากกินระยะเวลาหลายปี จึงต้องให้เวลาทำงาน อย่าเพิ่งไปตำหนิ และการรวบรวมข้อมูลส่วนนี้ ยังไม่ใช่ขั้นตอนเพื่อเอาผิด

       ขณะที่สำนักข่าวอิศรา ได้เปิดเผยข้อมูลบางส่วนด้วยว่า มติครม.วันที่ 23 พ.ย.2547  มีวาระการพิจารณาโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2548/49 -2552/53 ของบริษัทการบินไทย
ของกระทรวงคมนาคม ลงนามโดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ลงนามในเอกสารเสนอเรื่องต่อที่ประชุม ครม. มีการขออนุมัติดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2548/49 -2552/53  จำนวน 14 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินพิสัยไกลขนาดใหญ่มาก แบบ A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ แบบ A340-500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ B777-200 ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 96,355 ล้านบาท โดยจะลงทุนในปี 2547/2548 จำนวน 7,818 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การนำเสนอครม.ขออนุมัติโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2548/49 -2552/53 จำนวน 14 ลำ ดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดจากมติ ครม. เดิม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2546 ที่ให้ การบินไทย ดำเนินโครงการจัดซื้อเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2545/2546-2549/2550 เพื่อจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติม 15 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบินใช้แล้ว แบบ B747-400 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ 7 ลำ เครื่องบิน แบบ A340-500 จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินA340-600 จำนวน 5 ลำ แต่การบินไทยไม่สามารถรับมอบเครื่องบินใช้แล้วแบบ B747-400 จำนวน 7 ลำ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตในปี 2546/2547 -2547/2548 จึงได้เลื่อนการรับมอบเครื่องบิน แบบ A340-500/600  และปรับปรุงแผนวิสาหกิจฉบับเดิม (ปี 2545/46-2549/50)เป็นแผนวิสาหกิจฉบับใหม่ ปี 2548/49 -2552/53  ตามที่นำเสนอครม. เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2547

       อย่างไรก็ตาม ในรายงานการสอบสวนของสำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ไม่ได้มีการระบุชื่อของนายสุริยะ ว่าเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของสินบนหรือไม่ ดังนั้นนายสุริยะ จึงยังถือว่า
เป็นผู้บริสุทธิ์อยู่

เรียบเรียงโดย : ศิริพงศ์ สำนักข่าวทีนิวส์

ขอบคุณ : สำนักข่าวอิศราhttp://www.isranews.org/
////////////
 รองนายกฯ วอนให้เวลา “การบินไทย” รวบรวมข้อเท็จจริงปมสินบน “โรลส์-รอยซ์” ใครเอี่ยว คาดสัปดาห์หน้า ป.ป.ช.ได้ข้อมูลจาก ป.ป.ช.อังกฤษ เพื่อรู้ตัวคนรับ-คนให้
     
       (23 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 13.45 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีบริษัท โรลส์-รอยซ์ ยอมรับต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษ (ป.ป.ช.

อังกฤษ) ระบุว่าได้จ่ายสินบนในหลายประเทศที่ทำการซื้อขายเครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์ รวมถึงประเทศไทยในช่วงปี 2534-2548 ว่า เมื่อปี 2547 ตนเป็นรองนายกรัฐมนตรี แต่จำไม่ได้ว่าคณะ

รัฐมนตรีขณะนั้นอนุมัติอะไรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไปบ้าง แต่หลังจากนี้ด้วยความสำนึกรับผิดชอบของตนจะได้รวบรวมและหาข้อมูล ทั้งนี้ ทราบว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ตั้ง

กรรมการสอบขึ้นมา 2 ชุด เช่นเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่จะประสานข้อมูลกับทาง ป.ป.ช.อังกฤษ ส่วนการรวบรวมข้อมูลของ ป.ป.ช.นั้น

คาดว่าสัปดาห์จะได้ข้อมูล ส่วนการบินไทยมีข้อมูลอยู่แล้ว แต่อาจจะยังไม่เพียงพอ จึงต้องรวบรวมหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง เนื่องจากครอบคลุมระยะเวลาหลายปี จึงต้องให้เวลา

ทำงาน อย่าเพิ่งไปตำหนิ และขณะนี้ไม่ใช่ขั้นตอนเพื่อเอาผิด แต่เป็นขั้นตอนรวบรวมข้อเท็จจริงของการบินไทย จึงต้องใช้คนในก่อน เมื่อได้ผลเช่นไรจะรายงาน รมว.คมนาคมต่อไป แต่วันนี้มี

ข่าวออกมาว่าไม่ยอมเอาคนนอกเข้าไปสอบ ซึ่งความจริงถ้าจะเอาผิดโดยให้คนนอกมาร่วมสอบนั้นไม่ได้
     
       “ผู้แทนของโรลส์-รอยซ์เคยให้ข้อมูลกับการบินไทยแล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดเผย เนื่องจากข้อมูลบางอย่าง หากจะเปิดเผยได้ต้องขออนุญาต ป.ป.ช.อังกฤษก่อน จึงเป็นเรื่องของ ป.ป.ช.ไทยที่ต้องขอ

ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวว่ามีใครให้สินบน หรือรับเงิน เมื่อไหร่ วันใด” นายวิษณุกล่าว
     
       ผู้สื่อข่าวถามว่า เวลาผ่านมาเนิ่นานแล้วจะเอาผิดได้หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า อย่าเพิ่งไปถึงขั้นว่าผิดหรือไม่ผิด เพราะเรายังไม่พูดกันเลยว่าจะตั้งข้อหาอะไร อย่างไรก็ตาม รัฐบาลถ้าจะดำเนิน

การอย่างไรต่อไปคงต้องรอข้อมูลจากการบินไทยก่อน แต่ตนไม่คิดว่าการบินไทยจะได้ข้อมูลมาก เพราะเป็นการรวบรวมข้อมูลภายในเท่านั้น และไม่มีสิทธิขอข้อมูลจาก ป.ป.ช.อังกฤษ เหมือน

ป.ป.ช.ไทย ส่วนที่มีการระบุว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ถูกพาดพิงว่ามีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันนี้ก็จะได้ตรวจสอบว่าเป็นอย่างไร และมีหน่วยงานใดที่ถูกพาดพิงอีกบ้าง

หลักฐานเด็ด!มติ ครม.ปี 47 คดีสินบนโรลส์รอยส์-'สุริยะ'ชงเปลี่ยนซื้อ'B777' 6 ลำ

เปิดมติ ครม. 23 พ.ย.47  ในสำนวนสอบคดีสินบน'โรลส์-รอยซ์' จ่ายเงินก้อน 3 เผยชื่อ 'สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ' ในฐานะ รมว.คมนาคม ชงอนุมัติเปลี่ยนแผนซื้อเครื่องบิน 14 ลำ 9.6 หมื่นล.
pichnhdddddddd88.jp
จากกรณีสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ได้แปลเนื้อหาผลสอบสวนกรณีบริษัทโรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนให้กับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 3 จำนวน 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 254 ล้านบาท) ช่วงปี 2547-2548 ของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ประเทศอังกฤษ พบว่า มีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 พ.ย.2547 เกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ แอร์บัส A340 และ โบอิ้ง 777 และส่วนแบ่งจำนวน 4 % จากการอนุมัติของของรัฐบาลด้วย 
โดยมีการระบุว่า " จดหมายภายในบริษัทRR ฉบับลงวันที่ 19 พฤจิกายน 2547 บันทึกการประชุมซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง นายหน้า 3 และนายหน้าส่วนภูมิภาค และคนในรัฐบาลไทย (the Thai Government) ซึ่งระบุบรรยากาศการประชุมครั้งนั้นว่า
“ช่างเป็นการประชุมที่ดีเหลือเกิน การจัดซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ แอร์บัส A340 และ โบอิ้ง 777 กำลังอยู่ในวาระการประชุมของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 23 พฤจิกายนนี้ (2547)”
118. อีเมล์ฉบับเดียวกันยังพูดถึงเรื่องข้อตกลงค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่น โดยที่นายหน้า3 และนายหน้าส่วนภูมิภาค ได้ปฏิเสธข้อเสนอของบริษัท RR โดยทั้งสองยื่นข้อเสนอใหม่ว่า
“ต้องการส่วนแบ่งเป็น 4% จากการอนุมัติของรัฐบาลในครั้งนี้ ลงวันที่ ธันวาคม 2547” ("4% on Government approval, i.e. Dec 04".)

(อ่านประกอบ : แกะรอย บ.โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนครั้งที่ 3 ช่วงปี 47-48 "ดินเนอร์กับคนในรัฐบาล" (จบ))

ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา สืบค้นมติการประชุม ครม.ย้อนหลัง ในวันที่ 23 พ.ย.2547 พบว่า มีวาระการพิจารณาโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2548/49 -2552/53 ของบริษัทการบินไทย ของกระทรวงคมนาคม ลงนามโดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ลงนามในเอกสารเสนอเรื่องต่อที่ประชุม ครม. ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การขออนุมัติดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2548/49 -2552/53  จำนวน 14 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินพิสัยไกลขนาดใหญ่มาก แบบ A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ แบบ A340-500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ B777-200 ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 96,355 ล้านบาท โดยจะลงทุนในปี 2547/2548 จำนวน 7,818 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในการนำเสนอครม.ขออนุมัติโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2548/49 -2552/53 จำนวน 14 ลำ ดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดจากมติ ครม. เดิม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2546 ที่ให้ การบินไทย ดำเนินโครงการจัดซื้อเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2545/2546-2549/2550 เพื่อจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติม จำนวน 15 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบินใช้แล้ว แบบ B747-400 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ จำนวน 7 ลำ เครื่องบิน แบบ A340-500 จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินแบบA340-600 จำนวน 5 ลำ แต่การบินไทยไม่สามารถรับมอบเครื่องบินใช้แล้วแบบ B747-400 จำนวน 7 ลำ ทำให้การบินไทย ไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตในปี 2546/2547 -2547/2548 การบินไทย จึงได้เลื่อนการรับมอบเครื่องบิน แบบ A340-500/600 ให้เร็วขึ้น และปรับปรุงแผนวิสาหกิจฉบับเดิม (ปี 2545/46-2549/50)เป็นแผนวิสาหกิจฉบับใหม่ ปี 2548/49 -2552/53  ตามที่นำเสนอครม. เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2547  
จึงเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2548/49 -2552/53  จำนวน 14 ลำ ดังกล่าว ประกอบด้วย เครื่องบินพิสัยไกลขนาดใหญ่มาก แบบ A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ แบบ A340-500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ B777-200 ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 96,355 ล้านบาท ดังกล่าว
picnhbggggg1333
picbhhdnjuiiiiiii
ขณะที่ผลการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2547 มีมติอนุมัติหลักการให้การบินไทย ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี พ.ศ. 2548/49-2552/53 ของการบินไทย จำนวน 14 ลำ วงเงินลงทุน 96,355 ล้านบาท และดำเนินงานตามแผนการเงินและแผนเงินกู้ของการบินไทย ส่วนการจัดทำข้อตกลง หรือลงนามในสัญญาจัดหาเครื่องบิน ให้การบินไทยรายงานความคืบหน้าการดำเนินการดังกล่าวและนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการดำเนินการด้วย
picnjhgg23 1 17
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ ในผลการสอบสอนของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ระบุว่า การจัดซื้อเครื่องบินโบอิ้ง B777 ครั้งที่สามของสายการบินไทย ได้เริ่มหารือตั้งแต่ต้นปี 2539 แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปจนกระทั่งปลายปี 2547 ซึ่งในขณะนั้น บริษัท โรลส์-รอยซ์ ยืนยันว่า มีงบประมาณเพียงพอสำหรับจ่ายให้นายหน้าในภูมิภาคและนายหน้า 3 ทั้งนี้ บริษัทได้ติดสินบนเงินจำนวนหนึ่งเพื่อจูงใจให้สายการบินไทยซื้อเครื่องบินพร้อมเครื่องยนต์รุ่นT-800 เพิ่มเติมจากเดิม ส่วนแบ่งของเงินจำนวนนี้ได้ส่งต่อไปยัง คนในรัฐบาลไทย และมีการระบุถึงการนำเรื่องเข้าเสนอที่ประชุมครม. ในวันที่ 23 พ.ย.2547 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่นายสุริยะ ดำรงตำแหน่งรมว.คมนาคม และเป็นผู้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุม ส่วนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย ในช่วงเวลาดังกล่าว  คือ  นายกนก อภิรดี (2545-2549)  นายทนง พิทยะ เป็น ประธานบอร์ด ตั้งแต่ช่วงมิ.ย. 2545 - มี.ค. 2548
อย่างไรก็ตาม ในรายงานการสอบสวนมิได้มีการระบุชื่อ ของนายสุริยะ นายกนก และนายทนง ว่าเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของสินบนหรือไม่ นายสุริยะ นายกนก และนายทนง  จึงยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ 

เปิดแฟ้มฉาว ‘โรลส์-รอยซ์’คนบินไทย-ยุคทักษิณเอี่ยว

เปิดแฟ้มฉาว ‘โรลส์-รอยซ์’คนบินไทย-ยุคทักษิณเอี่ยว

245
เปิดแฟ้มฉาว 'โรลส์-รอยซ์'คนบินไทย-ยุคทักษิณเอี่ยว
Advertisement
การที่ดีดีบินไทย “จรัมพร โชติกเสถียร” สั่งตั้งกรรมการสอบพนักงาน-ผู้บริหารการบินไทย หลัง “โรลส์-รอยซ์” ยอมจ่ายเงินกว่า 800 ล้านดอลลาร์ เพื่อยอมความข้อหาติดสินบนให้กับนายหน้าในหลายประเทศ รวมถึงไทย ในการขายเครื่องยนต์รุ่นเทรนท์ 800 ช่วงปี2534-2548 เมื่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษหรือเอสเอฟโอและเจ้าหน้าที่ต้านทุจริตของสหรัฐฯ พบว่าโรลส์-รอยซ์จ่ายสินบนจริง
จ‹่ายสินบน 3 ครั้ง1.3 พันล.
คดีสินบนฉาวข้ามชาติที่ผ่านมาร่วม 25 ปีวันนี้การจะตรวจสอบข้อเท็จจริงกันเองภายในองค์กร เชื่อว่าคงไม่ง่าย เพราะพนักงานและผู้บริหารหลายคนในการบินไทยที่เป็นตัวละครที่เกี่ยวข้อง หลายคนก็เสียชีวิตและเกษียณกันไปแล้ว ทั้งการจ่ายสินบน ยังมีพาดพึงประเด็นการจ่ายสินบนให้ระดับรัฐบาลอีกต่างหาก การตั้งกรรมการสอบภายในจะไปได้เรื่องอะไรมากมาย ถ้าไม่มีหน่วยงานด้านการตรวจสอบทุจริตของประเทศเข้าไปร่วมด้วย
ใครจะผิดจะถูก ก็ต้องพิสูจน์กันแต่แน่ๆคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการกินสินบนจากคนในการบินไทย คนของรัฐบาลจริง ซึ่งรัฐบาลไหน ประธานบอร์ดคนใด ดีดีท่านไหน ดูแลการบินไทย ในช่วงดังกล่าว ตรวจสอบกันไม่ยาก เพราะคำแถลงข้อเท็จจริง จากศาลที่เมืองซัธเธิร์ก ที่กรุงดอนลอน ยกเฉพาะกรณีที่พัวพันกับการบินไทย พบว่ามีการจ่ายสินบนที่มีทั้งหมด 3 ครั้งรวมวงเงินสินบน 1,300 ล้านบาท
MP26-3229-Bครั้งแรก เกิดขึ้นในการจัดซื้อ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2534 – 30 มิถุนายน 2535 โดยโรลส์-รอยซ์ยอมจ่ายเงิน ราว 18.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 663 ล้านบาท) ให้แก่ นายหน้าคนกลางในภูมิภาค โดยเงินบางส่วนจ่ายให้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐและพนักงานของการบินไทย ซึ่งบุคคลเหล่านี้คาดหวังว่าจะให้ความความช่วยเหลือโรลส์-รอยซ์ในการจัดซื้อเครื่องเครื่องยนต์เทรนท์ 800 ซึ่งในเดือนมิถุนายน 2534 การบินไทยสั่งซื้อเครื่องยนต์เทรนท์800 ในเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 777 จำนวน 6 ลำ ต่อมาซื้อเครื่องยนต์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก 8 ลำ ขณะเดียวกันโรลส์-รอยซ์ก็ได้เพิ่มเงินจ่ายให้กับนายหน้าในภูมิภาค ผู้ซึ่งมีอิทธิพลในการตัดสินใจการซื้อขาย
ในเอกสารระบุว่าโรลส์-รอยซ์บอกนายหน้าในภูมิภาคว่าราคาของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเครื่อง และในเดือนมิถุนายน 2534 บันทึกภายในของโรลส์-รอยซ์ระบุว่า นายหน้าคนกลางมีเงินจำนวนทั้งหมดรวม 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อใช้ขยายความต้องการ โรลส์-รอยซ์จึงได้จัดการเงินจำนวนดังกล่าวเป็น 1.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเครื่องยนต์ เพื่อจ่ายให้กับนายหน้าคนกลาง ซึ่งพนักงานที่ร่างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวสำเนาเอกสารควรเก็บไว้เพียงหนึ่งชุด นอกนั้นควรทำลายทิ้ง
ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2535-31 มีนาคม 2540 โดยโรลส์-รอยซ์ จ่ายเงิน 10.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 336 ล้านบาท) ให้นายหน้าคนกลาง ซึ่งเงินดังกล่าวบางส่วนไปให้พนักงานการบินไทย และการบินไทยสั่งซื้อเครื่องยนต์เทรนท์800 ในเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 777อีก 6 ลำโรลส์รอยซ์จ่ายเงินให้กับนายหน้าคนกลาง สำหรับค่าความสำเร็จ เป็นเงินราว 5.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (135 ล้านบาท) ได้ถูกทำให้เป็นทางการผ่านสัญญาตกลงร่วมกันให้แก่นายหน้าคนกลาง
อย่างไรก็ตามในเวลานั้นการสั่งซื้อดังกล่าวไม่มีการดำเนินการ 2 ปีต่อมา ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 โรลส์รอยซ์จ่ายเงิน 5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯให้กับนายหน้าคนกลาง ในแง่ที่ว่าการตกลงยังไม่เป็นผลสรุป ในเดือนเมษายน 2538 การสั่งซื้อยังไม่เรียบร้อย ทำให้โรลส์รอยซ์ส่งสัญญาตกลงร่วมกันไปให้นายหน้าคนกลางในปี 2535 ที่เสนอจ่าย 1 ล้านดอลลาร์หสรัฐฯต่อเครื่องยนต์ และยังมีการเปลี่ยนแปลงข้อเสนอถึงเปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชั่นของนายหน้าคนกลาง
โดยในสัญญาตกลงร่วมกันระบุว่า การจ่ายเงิน 5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการจ่ายล่วงหน้าถึงเปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชั่นของนายหน้าคนกลาง โดยในเดือนเมษายน 2538 นายหน้าคนกลางเขียนถึงโรลส์รอยซ์อธิบายว่าไม่ถูกต้อง
“การจ่ายเงินของโรลส์รอยซ์เป็นเพียงล็อบบี้เจ้าหน้าที่ของการบินไทย ไม่ใช่เงินที่จ่ายเป็นการล่วงหน้า”
ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2538 สัญญาตกลงร่วมกันถูกคอนเฟิร์มว่าการจ่ายเงิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสินไหมกรุณาและไม่ได้หักจากค่าคอมมิชชั่นของนายหน้าคนกลาง
 จ‹่ายครั้งที่ 3 มีรมต.ร‹วมเอี่ยว
สุดท้ายครั้งที่ 3 เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2547-28กุมภาพันธ์ 2548 ระบุว่ามีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องโรลส์-รอยซ์จ่ายเงินให้กับนายหน้าคนกลาง 7.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 254 ล้านบาท) ซึ่งมีเงินบางส่วนตกไปสู่เจ้าหน้าที่รัฐและพนักงานของการบินไทยเมื่อคณะรัฐมนตรีของไทย มีกำหนดการในการประชุม จดหมายฉบับล่าสุดถูกส่งไปยังนายหน้าคนกลาง โดยระบุว่าค่าคอม-มิสชัน ของเครื่องยนต์เทรนท์ 800 ทั้งหมดควรจ่ายในวันที่ 7 มกราคม2548
ทั้งนี้ในวันที่ 4 ธันวาคม 2547 อี-เมล์โรลส์-รอยซ์ ระบุว่าการสั่งซื้อของการบินไทยได้รับการอนุมัติ และในอีเมล์ของวันที่ 4 ธันวาคม 2547 ยังมีการกล่าวถึง “การเตือน-นายหน้าคนกลาง ได้รับประทานอาหารกับผู้ช่วยรัฐมนตรี ในวันที่ 18 ธันวาคม และนายหน้าคนกลางอาจตัดสินใจในทันทีในการช่วยเหลือสนับสนุนตามคำร้องขอ”
นี่เป็นเพียงการจ่ายสินบนที่มีหลักฐานชัดเจน ซึ่งเป็นเครื่องยนต์เพียงรุ่นเดียว แต่จริงๆแล้วปัจจุบันการบินไทย ได้ใช้เครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์ ทั้งหมด 47 ลำ และใช้บริการเครื่องยนต์เทรนท์ทุกรุ่น ไม่ว่าจะเป็นเทรนท์ 500 เทรนท์ 700 เทรนท์ 900 เทรนท์ 1000 และเทรนท์ XWB
หากถามว่านายหน้าโรลส์-รอยซ์ เป็นใคร วงในรู้กันดีว่าเป็นเจ้าเดียวกับตัวแทนของโบอิ้งในไทยนั่นเอง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,229 วันที่ 22 – 25 มกราคม 2560

จ่ายก้อน3 ช่วง นัดรมต.ยุคแม้วกินข้าว!สตง.แจ้งSFOขอผลสอบคดีสินบนโรลส์รอยซ์'

เผยข้อมูลผลสอบคดีสินบน โรลส์รอยซ์-บินไทย 1.2 ล้าน เกิดขึ้นยุคทักษิณ จ่ายเงินก้อน 3 ช่วงนัดรมต.กินข้าว ล็อบบี้ครม.อนุมัติสัญญาซื้อไอพ่น T-800 - ล็อต 2 เบิกล่วงหน้า2ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อ"จัดการขั้นตอนทางการเมือง"-ผู้ว่าฯ สตง.สั่งลุยตรวจกระบวนการจัดซื้อจ้าง ทำหนังสือประสาน SFO ขอผลสอบสวนเป็นทางการ
picbanthai
เมื่อวันที่ 19 ม.ค.2560 นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า ภายหลังจากที่ปรากฎข่าวว่า ศาลสหราชอาณาจักรสั่งปรับ โรลส์-รอยซ์ บริษัทเครื่องยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกสัญชาติอังกฤษ 671 ล้านปอนด์ หรือ ราว 3 หมื่นล้านบาท หลัง สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ของประเทศ พบว่า บริษัทสมรู้ร่วมคิดกับการทุจริต หรือ ละเลยต่อการป้องกันการติดสินบนในไทย จีน อินเดีย รัสเซีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไนจีเรีย ซึ่งในส่วนของประเทศไทย ถูกระบุว่าเป็นกรณีการจัดซื้อเครื่องยนต์ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) นั้น
เบื้องต้น ตนได้สั่งการให้สายตรวจ สตง. เข้าไปตรวจสอบข้อมูลการจัดซื้อเครื่องยนต์ หรือเครื่องบิน ของการบินไทย ที่จัดซื้อจากโรลส์-รอยซ์ ย้อนหลังทั้งหมด เพื่อนำมาประกอบการตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลผลการสอบสวนของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ซึ่งสตง.จะทำหนังสือแจ้งประสานขอผลการสอบสวนมาใช้ประกอบการตรวจสอบด้วย ซึ่งหากผลการตรวจสอบที่ออกมา พบข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบกรณีทุจริตเรียกรับสินบน ของเจ้าหน้าที่รัฐ จะมีการส่งเรื่องให้หน่วยงานตรวจสอบ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รับไปตรวจสอบในขั้นตอนต่อไป 
"กรณีนี้ มีเหตุอันควรรับฟังได้ว่า ไม่ใช่ข้อมูลทั่วไป แต่เป็นข้อมูลการสอบสวนของสำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) และมีการนำข้อเท็จจริงเข้าสู่การพิจารณาในชั้นศาลด้วย ข้อมูลหลักฐานประกอบต่างๆ จึงมีน้ำหนักอย่างมาก ซึ่งในส่วนของประเทศไทย ถูกระบุว่ามีการจ่ายสินบนให้ด้วย ก็คงต้องไปดูว่า มีการจ่ายเงินให้กับใครบ้าง ทั้งในส่วนของภาคเอกชน และเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งการจ่ายเงินสินบนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ  ในส่วนประเทศไทย มีกฎหมายควบคุมกำกับดูแลอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว" ผู้ว่าฯ สตง.ระบุ   
ขณะที่ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า ในผลการสอบสวนของสำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ของอังกฤษระบุว่า บ.โรลส์รอยส์ จ่ายสินบนให้จนท.ไทยและการบินไทยรวม3ครั้ง มูลค่า 36.38 ล้านดอลล่าร์(1,300 ล้านบาท)
ครั้งแรกปี 2534 -2535 จ่ายให้จนท.รัฐและพนง.การบินไทย ผ่านนายหน้าจำนวน18.8ล้านUSD ให้เลือกซื้อเครื่องไอพ่นT800 สำหรับโบอิ้ง777 ของการบินไทย
ครั้งที่2 ปี2535 -2540 จ่ายสินบนให้พนง.การบินไทย 10.38 ล้านUSD เพื่อซื้อไอพ่น T800 ล็อต2 โดยเบิกล่วงหน้า2ล้านUSD เพื่อ"จัดการขั้นตอนทางการเมือง"
ครั้งที่3 ปี 2547-2548 จ่ายจนท.รัฐ/พนง. การบินไทย 7.2ล้านUSD เพื่อซื้อไอพ่น T800ล็อต3 โดยได้ไปคุยและกินข้าวกับรัฐมนตรีเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติสัญญา 
picghddddddddd
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการจ่ายเงินสินบน ทั้ง 3 ก้อน อยู่ในช่วงรัฐบาล ดังต่อไปนี้  
จ่ายครั้งแรก 2534-2535 รัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน 
จ่ายครั้งที่ 2 ปี 2535-2540 รัฐบาล นายชวน หลีกภัย , นายบรรหาร ศิลปอาชา  และพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 
ครั้งสุดท้าย ปี 2547-2548 รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในช่วงปี 2547-2548 ในยุครัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกระบุว่ามีรัฐมนตรีรายหนึ่งได้ไปคุยและกินข้าวเพื่อให้ครม.อนุมัติสัญญา  มีรายละเอียดดังนี้ 
ครม.คณะที่ 54 (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2548) รายชื่อประกอบด้วย 
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายเดช บุญ-หลง เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
นายปองพล อดิเรกสาร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายกระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายวราเทพ รัตนากร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นายสุรเกียรติ เสถียรไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายนที ขลิบทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายประชา มาลีนนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายพงศกร เลาหะวิเชียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายอดิศัย โพธารามิก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายสุวรรณ วลัยเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสมบัติ อุทัยสาง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
นายสนธยา คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
นายเกษม วัฒนชัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายจำลอง ครุฑขุนทด เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายพิเชษฐ์ สถิรชวาล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายสุธรรม แสงประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ครม. คณะที่ 55 (11 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549) รายชื่อประกอบด้วย 
 ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี
(จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี)
 Nuvola apps kbouncey.png รัฐมนตรีว่าการ
Nuvola apps kbouncegr.png รัฐมนตรีช่วยว่าการ
Nuvola apps kbounce.png รัฐมนตรีลอย
 ออกจากตำแหน่ง
 เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย
 แต่งตั้งเพิ่ม
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 55 ของไทย
ตำแหน่งรายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระหมายเหตุพรรคการเมือง
นายกรัฐมนตรี   พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549ถูกรัฐประหารหลังจากยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยรักไทย
รองนายกรัฐมนตรี   นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
   พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
   นายจาตุรนต์ ฉายแสง11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทยรักไทย
   นายสุรเกียรติ เสถียรไทย11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
   นายพินิจ จารุสมบัติ11 มีนาคมพ.ศ. 254831 ตุลาคมพ.ศ. 2548ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทยรักไทย
   นายวิษณุ เครืองาม11 มีนาคมพ.ศ. 254824 มิถุนายนพ.ศ. 2549ลาออก (ขณะรักษาการ)-
   นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
   นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
   นายสุชัย เจริญรัตนกุล2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
สำนักนายกรัฐมนตรีLACMTA Circle Gold Line.svg  นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงกลาโหมLACMTA Circle Gold Line.svg  พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงการคลังLACMTA Circle Gold Line.svg  นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทยรักไทย
LACMTA Circle Gold Line.svg  นายทนง พิทยะ2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 -
Circle Ash-grey Solid.svg  นายวราเทพ รัตนากร11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
Circle Ash-grey Solid.svg  นายไชยยศ สะสมทรัพย์11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงการต่างประเทศLACMTA Circle Gold Line.svg  นายกันตธีร์ ศุภมงคล11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
Circle Ash-grey Solid.svg  นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทยรักไทย
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาLACMTA Circle Gold Line.svg  นายสมศักดิ์ เทพสุทิน11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไทยรักไทย
LACMTA Circle Gold Line.svg  นายประชา มาลีนนท์2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์LACMTA Circle Gold Line.svg  นายประชา มาลีนนท์11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาไทยรักไทย
LACMTA Circle Gold Line.svg  นายวัฒนา เมืองสุข2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
LACMTA Circle Gold Line.svg  นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
Circle Ash-grey Solid.svg  นายเนวิน ชิดชอบ11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทยรักไทย
Circle Ash-grey Solid.svg  นายอดิศร เพียงเกษ2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงคมนาคมLACMTA Circle Gold Line.svg  นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทยรักไทย
LACMTA Circle Gold Line.svg  นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
Circle Ash-grey Solid.svg  นายภูมิธรรม เวชยชัย11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
Circle Ash-grey Solid.svg  นายอดิศร เพียงเกษ11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทยรักไทย
Circle Ash-grey Solid.svg  พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 -
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมLACMTA Circle Gold Line.svg  นายยงยุทธ ติยะไพรัช11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารLACMTA Circle Gold Line.svg  นายสุวิทย์ คุณกิตติ11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548 ไทยรักไทย
LACMTA Circle Gold Line.svg  นายสรอรรถ กลิ่นประทุม2 สิงหาคมพ.ศ. 25484 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2549ลาออกจากตำแหน่งไทยรักไทย
กระทรวงพาณิชย์LACMTA Circle Gold Line.svg  นายทนง พิทยะ11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง-
LACMTA Circle Gold Line.svg  นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
Circle Ash-grey Solid.svg  นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน11 มีนาคมพ.ศ. 25486 กรกฎาคมพ.ศ. 2548ลาออกจากตำแหน่งไทยรักไทย
Circle Ash-grey Solid.svg  นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงพลังงานLACMTA Circle Gold Line.svg  นายวิเศษ จูภิบาล11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงมหาดไทยLACMTA Circle Gold Line.svg  พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทยรักไทย
LACMTA Circle Gold Line.svg  พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 -
Circle Ash-grey Solid.svg  นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
Circle Ash-grey Solid.svg  นายสมชาย สุนทรวัฒน์11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงยุติธรรมLACMTA Circle Gold Line.svg  นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรีไทยรักไทย
LACMTA Circle Gold Line.svg  พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงแรงงานLACMTA Circle Gold Line.svg  นายสรอรรถ กลิ่นประทุม11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไทยรักไทย
LACMTA Circle Gold Line.svg  นายสมศักดิ์ เทพสุทิน2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงวัฒนธรรมLACMTA Circle Gold Line.svg  นางอุไรวรรณ เทียนทอง11 มีนาคมพ.ศ. 25483 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2549ลาออกจากตำแหน่งไทยรักไทย
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีLACMTA Circle Gold Line.svg  นายกร ทัพพะรังสี11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548 ไทยรักไทย
LACMTA Circle Gold Line.svg  นายประวิช รัตนเพียร2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 -
กระทรวงศึกษาธิการLACMTA Circle Gold Line.svg  นายอดิศัย โพธารามิก11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548 ไทยรักไทย
LACMTA Circle Gold Line.svg  จาตุรนต์ ฉายแสง2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
Circle Ash-grey Solid.svg  นายรุ่ง แก้วแดง11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 -
กระทรวงสาธารณสุขLACMTA Circle Gold Line.svg  นายสุชัย เจริญรัตนกุล11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรีไทยรักไทย
LACMTA Circle Gold Line.svg  นายพินิจ จารุสมบัติ2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
Circle Ash-grey Solid.svg  นายอนุทิน ชาญวีรกูล11 มีนาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงอุตสาหกรรมLACMTA Circle Gold Line.svg  นายวัฒนา เมืองสุข11 มีนาคมพ.ศ. 25482 สิงหาคมพ.ศ. 2548ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไทยรักไทย
LACMTA Circle Gold Line.svg  นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ2 สิงหาคมพ.ศ. 254819 กันยายนพ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
หมายเหตุที่มาข้อมูลรายชื่อ ครม. ชุดที่ 54-55 จากwikipedia.org