- Thursday, July 6, 2017 - 00:00
"ทำไมเอาทหารมาปฏิรูปตำรวจ?"ผมไม่ได้ถาม........แต่นักข่าว-นักโพสต์ออนไลน์ เขาถาม เมื่อทราบข่าว"ครม.ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ)" เมื่อวานซืนกรรมการทั้งหมด ๓๖ ท่าน คนที่ ครม.แต่งตั้งเป็นประธานปฏิรูปตำรวจ คือ"พลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์" อดีต ผบ.สูงสุดท่านเป็นใคร มาจากไหน?"เป็นดอกเตอร์ จบจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก เวสต์ปอยต์ สหรัฐอเมริกา ไว้ใจได้ และท่านเป็นอาจารย์ของผม"นี่คือคำตอบ และใบรับรองคุณภาพ ออกโดย "นายกฯ ประยุทธ์"!ก็ดีใจแทนนายกฯ......ไม่ใช่ดีใจที่ได้พลเอกบุญสร้างมาเป็นมือผ่าตัดโครงสร้างตำรวจแต่ดีใจตรงที่ท่านจะได้รับรสชาติใหม่ๆ จากเสียงวิพากษ์-วิจารณ์หลังจากหูซ้ำซากกับเรื่องเดิมๆ หลายวันเช่นเรื่อง.........-รถไฟความเร็วสูง สร้างทำไม สร้างก็เจ๊ง ใครจะนั่ง?-หอชมเมือง สร้างทำไม เอาใจนายทุน ใครจะขึ้น? เป็นต้นเรื่องเหล่านั้น กระแสจะจืดไปเพราะได้เรื่องปฏิรูปตำรวจเป็นโปรแกรมใหม่ให้วิพากษ์แทนจริงๆ แล้ว จะตั้งทหาร-ไม่ทหาร เป็นประธาน ไม่เกี่ยวว่าจะเข้าท่าหรือไม่เข้าท่าในงานปฏิรูปตำรวจประธานคนเดียว จะตั้งธง-กำหนดทิศตามใจชอบหรือตามใจศิษย์กตัญญูไม่ได้หรอกประธานเป็นได้อย่างเดียว คือ "หนังหน้าไฟ"สำหรับให้คนด่า!จะว่าไป เรื่องปฏิรูปตำรวจ เป็นหนึ่งใน "ปฐมเหตุ" ดาลใจนายกฯ ประยุทธ์ให้เข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ (๒๒ พ.ค.๕๗)ชาวประชาหนุนตรึม เมื่อผู้นำ คสช.บอก จะรื้อ-ผ่าตัด โครงสร้างองค์กรตำรวจผ่านไป ๓ ปี..........เหงือกชาวประชาแห้งจนราขึ้น รัฐบาล คสช.เพิ่งหยิบงานปฏิรูปตำรวจทำเป็น "ปัจฉิมเหตุ"ให้เห็น "คล้ายจริง" ส่งท้ายอายุรัฐบาล คสช.!ที่ผมว่า "คล้ายจริง" เพราะที่ ครม.ตั้งคณะกรรมการนี้ ไม่ใช่เกิดจากจิตศรัทธาจริงๆ ของรัฐบาลที่จะทำแต่ทำเพราะ......เงื่อนไขตาม "รัฐธรรมนูญ" มาตรา ๒๖๐ บังคับ"ให้แล้วเสร็จ" ภายใน ๑ ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญก็นับไปซี รัฐธรรมนูญประกาศใช้ เมื่อ ๖ เม.ย.๖๐ อีกกี่วันจะถึง ๖ เม.ย.๖๑ ล่ะ?ประมาณ ๙ เดือน นั่นแหละคือ "เส้นตาย" ที่คณะกรรมการชุดนี้ ต้องปฏิรูปให้เสร็จถามว่า "ถ้าไม่เสร็จ อะไรจะเกิดขึ้น"?ให้ยุบคณะกรรมการหรือยุบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ งั้นหรือ?ไม่ใช่.........!คำตอบ ในรัฐธรรมนูญ มีว่า.........."ถ้าการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายยังไม่แล้วเสร็จ ให้การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจดำเนินการตามหลักอาวุโสตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา"สรุป ตามนัยรัฐธรรมนูญ "หัวใจตำรวจ" ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ สนช.และรัฐบาลวางไว้อยู่ตรง "แต่งตั้ง-โยกย้าย" นี่เป็นสำคัญสูงสุด!ถ้าถามต่อ แต่งตั้ง-โยกย้ายตามนัยนี้แล้ว คณะกรรมการฯ ก็ยังทำไม่เสร็จอีกล่ะ จะทำไง?ไม่รู้ (โว้ย) ครม.ก็เป็นฝ่ายแต่งตั้ง-โยกย้ายตำรวจไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเสร็จชาติไหนนั่นแหละเพราะในรัฐธรรมนูญบอกไว้แค่นั้น!?การวิพากษ์-วิจารณ์ เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ใครจะวิพากษ์ ควรอ่านกติกา จากรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๐ เป็นฐานคิด-ฐานวิจารณ์ก่อนเสร็จแล้ว ย้อนไปอ่านมาตรา ๒๕๘ ให้รู้ว่า รัฐธรรมนูญบอกให้ปฏิรูปด้านไหนบ้าง?การปฏิรูปตำรวจ อยู่ในหมวด ง. "ด้านกระบวนการยุติธรรม"ที่เห็น "เพื่อยุติธรรมประชาชน" ในการปฏิรูป ก็ใน (๒) ที่ว่าด้วยเรื่อง........."ปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม....ฯลฯ....."พูดกันตรงๆ กรอบตามรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูป เหมือนเราอยู่ในทะเล แล้วมองไปข้างหน้า"ขอบฟ้าจรดขอบน้ำ" นั่นแหละ ที่ให้ปฏิรูป!ใครไปถึงเส้นบรรจบ "ขอบน้ำกับขอบฟ้า" ได้เมื่อไหร่ การปฏิรูปตำรวจ ก็เกิดได้เมื่อนั้นผมหมายถึง ปฏิรูปตำรวจ อย่างที่ประชาชน อยากเห็น-อยากเป็น-อยากได้แต่ถ้าปฏิรูปอย่างที่ ตำรวจอยากเห็น-อยากเป็น-อยากได้ นั่นเกิดได้แน่นอนถึงไม่ปฏิรูป ก็เป็นโอปปาติกะ เกิดอยู่แล้ว ทุกวันนี้!ไมได้ "ติเรือทั้งโกลน" หรือดูถูกคณะกรรมการฯแต่ประมวลเจตนารัฐบาล ผ่านปฏิกิริยาตอบสนองเสียงร้องประชาชนตลอด ๓ ปี ผนวกกรอบในการปฏิรูปตามรัฐธรรมนูญอย่างที่ว่า...ขอบฟ้าจรดขอบน้ำ!ผมไม่เกี่ยงงอน-ตั้งแง่ ในตัวบุคคลแห่ง ๓๖ คณะกรรมการเลย แต่มองโลกในด้านเป็นจริง จะเห็น........จากปี ๒๕๐๐ สิ้นยุคเผ่า ด้วยสโลแกน "ภายใต้ดวงอาทิตย์ ไม่มีอะไรที่ตำรวจไทยทำไม่ได้" มาจนถึงวันนี้ตีซะว่า ๖๐ ปี........ตลอด ๖๐ ปี เสียงร้องให้ปฏิรูปตำรวจระงม ก็ปฏิรูปเหมือนกัน จาก "กรมตำรวจ" สังกัดกระทรวงมหาดไทยมาเป็น "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ"ก็ "เสฉวน" ตัวเดิมแค่เปลี่ยนกระดอง ส่วนพฤติกรรม-สันดาน การใช้อำนาจ "จับเอง-สอบสวนเอง" ในด้านความยุติธรรมไม่มีอะไรเปลี่ยน!ก็คิดซี....๖๐ ปี ปฏิรูปได้แค่ "ย้ายสังกัด-เปลี่ยนชื่อ"แล้วนี่ ในเวลา ๙ เดือน จะให้ผ่าตัด-เปลี่ยนเพศตำรวจใหม่ทั้งระบบ?ผมว่า แค่นำข้อมูลทั้งหมดมาวาดแบบ แล้วตัดเป็นส่วนๆ สำหรับประกอบเข้าเป็นรูปร่าง แค่นั้นก็ยังยากต่อให้วิญญาณ "เซอร์ปิโก" เข้าสิง "พลเอกบุญสร้าง"ก็ยังยากที่จะวางโครงสร้างตำรวจใหม่ไว้เหนือเสาเข็ม แห่งคำว่า "สุจริต-ยุติธรรม" ต่อประชาชนได้สำเร็จ!๖๐ ปีไม่เสร็จ (เพราะไม่จริงใจ)........ถ้า ๙ เดือนเสร็จ (เพราะจริงใจ) สมมโนรสปรารถนาประชาชนผมจะจัดงานสมโภช ๓๖ คณะกรรมการ จ้าง "ลำไย ไหทองคำ" มาเด้าหน้า-เด้าหลัง ๗ วัน ๗ คืน!จะว่าไปแล้ว ๓ ปีที่ผ่าน ทั้งฝ่ายตำรวจ ฝ่าย สปท.และฝ่าย คสช.ออกแบบไว้คนละโมเดล-สองโมเดล อย่างของตำรวจที่ทำไว้ก็มี-การถ่ายโอนภารกิจ-การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์-การปรับปรุงค่าตอบแทนสวัสดิการ-เส้นทางการเจริญเติบโต-การปฏิรูปงานสอบสวนและการบังคับใช้กฎหมาย-การนำเทคโนโลยีมาใช้เท่าที่ดูๆ จะเห็นว่าทุกโมเดล การปฏิรูปแทนที่เอาภาคประชาชนเป็นตัวตั้งกลับมุ่งไปทางปลีกย่อย เช่น สวัสดิการ การอยู่-การกิน-การได้เสียตำแหน่งของตำรวจเป็นหลักใหญ่อย่าง ๖ ด้าน มี ๒ ด้านเท่านั้น ที่จะตรงโจทย์ชาวบ้าน แต่เป็นกรอบเวิ้งว้างมากคือ การถ่ายโอนภารกิจกับการปฏิรูปงานสอบสวนและการบังคับใช้กฎหมายทั้งหมด ไม่ได้ต่อต้าน..ขอย้ำ เพียงเป็นมุมมองจากกรอบ จะรอความชัดเจนจากคณะกรรมการฯ อีกที ตอนลงมือทำงานว่าจะทำกันตามกรอบไหน-แบบไหน?อย่างน้อย การ "จับเอง-สอบสวนเอง" จะต้องผ่าแยกขาดไปสู่จุดคานอำนาจ-ถ่วงดุล ระหว่างฝ่ายตำรวจ กับฝ่ายสอบสวนและการกระจุกตัว-กระจุกอำนาจของตำรวจอย่างทุกวันนี้ ต้องไม่มีตำแหน่งเฟ้อ ยศเฟ้อ งานเฟอะฟะ ตำรวจเป็นโรค "คดในข้อ-งอในกระดูก" ต้องผ่าตัดความจริง ถ้าจะปฏิรูปจริง หลักการง่ายนิดเดียวจะปฏิรูป "เพื่อประชาชน"หรือ "เพื่อตำรวจ" เท่านั้น!
PR
วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
(ข้อมูล)สปท.ชงปฏิรูปตำรวจ ตั้ง คกก.บริหาร ปรับโครงสร้าง กต.ตร.
สปท.ชงปฏิรูปตำรวจ ตั้ง คกก.บริหาร ปรับโครงสร้าง กต.ตร.
ที่ประชุม สปท.ลงมติเห็นชอบรายงานปฏิรูปตำรวจ 140 ต่อ 7 เสียง ตั้งคณะกรรมการบริหาร-ปรับโครงสร้าง กต.ตร. พร้อมเสนอ ครม.ต่อไป
เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) ที่มี น.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ รองประธาน สปท. คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธาน มีวาระพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกิจการของตำรวจ เสนอโดยคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สปท.โดยมีสาระสำคัญ คือให้ตัดอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ปฏิบัติงาน หรือเป็นผู้สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ(กต.ตร.) ออก สำหรับโครงสร้าง กต.ตร.เห็นควรให้ปรับลดจำนวนคณะกรรมการลงให้มีจำนวนพอเหมาะ โดยให้ยุบ กต.ตร.สถานีตำรวจทั้งภูธรและนครบาลทั้งหมด และให้ กต.ตร.จังหวัดทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจภูธรทุกสถานีในจังหวัดของตนเอง อีกทั้งตั้ง กต.ตร.กองบังคับการตำรวจนครบาล เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานีในสังกัด
โดยมี กต.ตร.ในระดับกองบัญชาการเป็นผู้คอยตรวจสอบติดตาม กต.ตร.กองบังคับการตำรวจนครบาล และยังเสนอให้ตั้ง กต.ตร.ตำรวจภูธรและ กต.ตร.ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ส่วนองค์ประกอบ กต.ตร. เสนอให้ตัดข้าราชการตำรวจออก แต่ให้แต่งตั้งอดีตข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธาน กต.ตร.ในระดับต่างๆ แทน มีข้าราชการอื่นที่มีลักษณะงานเกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาชน และประชาชนผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมเป็นคณะกรรมการ
นอกจากนี้ในส่วนการปรับปรุงระบบงานของ กต.ตร. และก.ต.ช.ใหม่ ให้วางระบบการตรวจสอบติดตามประเมินผล และการรายงานผลให้ กต.ตร. ถือปฏิบัติ รวมทั้งให้มีการประเมินและรายงานผลการปฏิบัติงานของตำรวจ ปีงบประมาณละ 2 รอบ ดังนี้ 1 ต.ค.-31 มี.ค. และ 1 เม.ย.-30 ก.ย.
นอกจากนั้นยังเสนอตั้งคณะอนุกรรมการ ก.ต.ช. เพื่อปรับระบบการรับคำร้องเรียนและข้อเสนอแนะของประชาชน และทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองคำร้องเรียนและข้อเสนอแนะของประชาชน และทำหน้าที่ควบคุมกำกับดูแล เนื่องจากกรรมการ ก.ต.ช. แต่ละคนมีภารกิจมาก ไม่สามารถจัดประชุม ก.ต.ช.ได้บ่อยครั้ง
นอกจากนี้ เสนอให้ตั้ง "คณะกรรมการบริหาร” ทั้งในระดับสถานีตำรวจ ระดับกองบังคับการตำรวจนครบาลพื้นที่และตำรวจภูธรจังหวัด และระดับกองบัญชาการตำรวจนครบาล กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน ประชาชน ข้าราชการตำรวจที่รับผิดชอบพื้นที่และข้าราชการอื่นในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อให้ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย สนับสนุนงบประมาณและอาสาสมัครในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยของประชาชนให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน ส่วนหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบการบริหารงานตำรวจมี กต.ตร. ทำอยู่แล้ว โดยที่ประชุม สปท.ได้ลงมติเห็นชอบต่อรายงานดังกล่าว 140 ต่อ 3 งดออกเสียง 7 เสียงก่อนเสนอไปยัง ครม.ต่อไป

เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) ที่มี น.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ รองประธาน สปท. คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธาน มีวาระพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกิจการของตำรวจ เสนอโดยคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สปท.โดยมีสาระสำคัญ คือให้ตัดอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ปฏิบัติงาน หรือเป็นผู้สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ(กต.ตร.) ออก สำหรับโครงสร้าง กต.ตร.เห็นควรให้ปรับลดจำนวนคณะกรรมการลงให้มีจำนวนพอเหมาะ โดยให้ยุบ กต.ตร.สถานีตำรวจทั้งภูธรและนครบาลทั้งหมด และให้ กต.ตร.จังหวัดทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจภูธรทุกสถานีในจังหวัดของตนเอง อีกทั้งตั้ง กต.ตร.กองบังคับการตำรวจนครบาล เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานีในสังกัด
โดยมี กต.ตร.ในระดับกองบัญชาการเป็นผู้คอยตรวจสอบติดตาม กต.ตร.กองบังคับการตำรวจนครบาล และยังเสนอให้ตั้ง กต.ตร.ตำรวจภูธรและ กต.ตร.ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ส่วนองค์ประกอบ กต.ตร. เสนอให้ตัดข้าราชการตำรวจออก แต่ให้แต่งตั้งอดีตข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธาน กต.ตร.ในระดับต่างๆ แทน มีข้าราชการอื่นที่มีลักษณะงานเกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาชน และประชาชนผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมเป็นคณะกรรมการ
นอกจากนี้ในส่วนการปรับปรุงระบบงานของ กต.ตร. และก.ต.ช.ใหม่ ให้วางระบบการตรวจสอบติดตามประเมินผล และการรายงานผลให้ กต.ตร. ถือปฏิบัติ รวมทั้งให้มีการประเมินและรายงานผลการปฏิบัติงานของตำรวจ ปีงบประมาณละ 2 รอบ ดังนี้ 1 ต.ค.-31 มี.ค. และ 1 เม.ย.-30 ก.ย.
นอกจากนั้นยังเสนอตั้งคณะอนุกรรมการ ก.ต.ช. เพื่อปรับระบบการรับคำร้องเรียนและข้อเสนอแนะของประชาชน และทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองคำร้องเรียนและข้อเสนอแนะของประชาชน และทำหน้าที่ควบคุมกำกับดูแล เนื่องจากกรรมการ ก.ต.ช. แต่ละคนมีภารกิจมาก ไม่สามารถจัดประชุม ก.ต.ช.ได้บ่อยครั้ง
นอกจากนี้ เสนอให้ตั้ง "คณะกรรมการบริหาร” ทั้งในระดับสถานีตำรวจ ระดับกองบังคับการตำรวจนครบาลพื้นที่และตำรวจภูธรจังหวัด และระดับกองบัญชาการตำรวจนครบาล กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน ประชาชน ข้าราชการตำรวจที่รับผิดชอบพื้นที่และข้าราชการอื่นในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อให้ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย สนับสนุนงบประมาณและอาสาสมัครในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยของประชาชนให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน ส่วนหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบการบริหารงานตำรวจมี กต.ตร. ทำอยู่แล้ว โดยที่ประชุม สปท.ได้ลงมติเห็นชอบต่อรายงานดังกล่าว 140 ต่อ 3 งดออกเสียง 7 เสียงก่อนเสนอไปยัง ครม.ต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)