PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง

วันนี้ (19 ก.ย.) ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด 

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กำหนดให้ ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งมีจำนวน 350 คน แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวน ส.ส. 1 คน จังหวัดใดมีจำนวน ส.ส. ได้ไม่เกิน 1 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และจังหวัดใดมีจำนวน ส.ส. ได้เกิน 1 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้ง มีจำนวนเท่ากับจำนวน ส.ส. ที่พึงจะมี 

 

ทั้งนี้ ใช้จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธ.ค. 60 ซึ่งมีจำนวน 66,188,503 คน เป็นฐานในการแบ่งเขตเลือกตั้ง

 

โดยจำนวนราษฎรโดยเฉลี่ย 189,110 คน ต่อ ส.ส. 1 คน หมายความว่า จังหวัดใดมี ส.ส. 1 คน ก็นับจังหวัดนั้นทั้งจังหวัดเป็น 1 เขตเลือกตั้ง

 

ส่วนจังหวัดใดมี ส.ส. มากกว่า 1 คน ให้แบ่งจังหวัดนั้นเป็นหลายเขตเลือกตั้งตามจำนวน ส.ส. เช่น กรุงเทพฯ มี ส.ส. ได้ 30 คน ก็แบ่งกรุงเทพฯ ออกเป็น 30 เขตเลือกตั้ง เป็นต้น

 

สำหรับการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่นี้ ได้เปลี่ยนแปลงจำนวน ส.ส. ลดลง เมื่อเทียบกับปี 2557 ทั้งสิ้น 23 จังหวัด ประกอบด้วย

กรุงเทพมหานคร เดิม 33 คน เหลือ 30 คน 

กระบี่ เดิม 3 คน เหลือ 2 คน 

กาฬสินธุ์ เดิม 6 คน เหลือ 5 คน 

ชัยภูมิ เดิม 7 คน เหลือ 6 คน 

เชียงใหม่ เดิม 10 คน เหลือ 9 คน 

ตรัง เดิม 4 คน เหลือ 3 คน 

นครราชสีมา เดิม 15 คน เหลือ 14 คน 

นครศรีธรรมราช เดิม 9 คน เหลือ 8 คน 

นนทบุรี เดิม 7 คน เหลือ 6 คน 

บุรีรัมย์ เดิม 9 คน เหลือ 8 คน 

พระนครศรีอยุธยา เดิม 5 คน เหลือ 4 คน 

เพชรบูรณ์ เดิม 6 คน เหลือ 5 คน 

แพร่ เดิม 3 คน เหลือ 2 คน 

ร้อยเอ็ด เดิม 8 คน เหลือ 7 คน 

เลย เดิม 4 คน เหลือ 3 คน 

สกลนคร เดิม 7 คน เหลือ 6 คน 

สระบุรี เดิม 4 คน เหลือ 3 คน 

สุพรรณบุรี เดิม 5 คน เหลือ 4 คน 

สุรินทร์ เดิม 8 คน เหลือ 7 คน 

อ่างทอง เดิม 2 คน เหลือ 1 คน 

อุดรธานี เดิม 9 คน เหลือ 8 คน 

อุตรดิตถ์ เดิม 3 คน เหลือ 2 คน 

อุบลราชธานี เดิม 11 คน เหลือ 10 คน

 

ขณะที่ 54 จังหวัดที่เหลือ มีจำนวน ส.ส. เท่าเดิม 

 

แต่เอาเข้าจริง หากใช้จำนวนประชากร 189,110 คน ต่อ ส.ส. 1 คน เป็นฐานคำนวณ จะมี 41 จังหวัด ที่ต้องได้จำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้น 

 

แต่เหตุที่ทำให้ยังมี ส.ส. เท่าเดิม เนื่องจาก ส.ส. แบบแบ่งเขตตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) กำหนดให้มี 350 คน ต่างจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 และ 2557 ที่มี ส.ส. แบบแบ่งเขต 375 คน

 

ขั้นตอนต่อจากนี้ ตามระเบียบ กกต. ว่าด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้ง กำหนดให้ ผอ.กกต. จังหวัด แบ่งเขตแต่ละจังหวัดตามจำนวน ส.ส. ในสามรูปแบบภายใน 14 วัน และภายใน 10 วัน รับฟังความเห็นจากพรรคการเมืองและประชาชน จากนั้นภายใน 3 วัน ผอ.กกต. จังหวัด ประมวลความคิดเห็นว่า จะมีการปรับปรุงหรือไม่ รายงานต่อ กกต. โดย กกต. มีเวลา 20 วันในการพิจารณาเพื่อเลือกรูปแบบที่ดีที่สุด เพื่อประกาศแบ่งเขตเลือกตั้ง

 

รวมใช้เวลา 50 วัน ตามระเบียบของ กกต. แต่ กกต. คาดการณ์ว่า กระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายใน 60 วัน ซึ่งจะครบกำหนดประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2561 ก่อนที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 ธันวาคม 2561 จากนั้นจะเริ่มนับถอยหลัง 150 วันสู่การเลือกตั้ง

 

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กำหนดให้ ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งมีจำนวน 350 คน

 

การแบ่งเขตเลือกตั้งใช้จำนวนประชากร 189,110 คน ต่อ ส.ส. 1 คน เป็นฐานคำนวณ โดยกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มี ส.ส. มากที่สุด คือ 30 คน ลดลงจากเดิมที่มี ส.ส. 33 คน 

 

 

ภาคเหนือเดิมมี ส.ส. 36 คน จะลดเหลือ 33 คน เชียงใหม่ แพร่ และอุตรดิตถ์ ส.ส. ลดลงจังหวัดละ 1 ที่นั่ง

 

 

ภาคกลางเดิมมี ส.ส. 82 คน ลดเหลือ 76 คน เพชรบูรณ์ อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนนทบุรี ส.ส. ลดลงจังหวัดละ 1 ที่นั่ง

 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่จำนวน ส.ส. หายไปมากที่สุด เดิมมี ส.ส. 126 คน ลดเหลือ 116 คน หายไป 10 คน สกลนคร อุดรธานี เลย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และอุบลราชธานี หายไปจังหวัดละ 1 ที่นั่ง

 

 

ภาคตะวันออกมี ส.ส. 26 คน เป็นภาคที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลง

 

 

ภาคตะวันตกมี ส.ส. 19 คน เท่าเดิม เป็นอีกภาคที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

 

 

ภาคใต้เดิมมี ส.ส. 53 คน ลดเหลือ 50 คน นครศรีธรรมราช กระบี่ และตรัง หายไปจังหวัดละ 1 ที่นั่ง

 

ภาพประกอบ: Pichamon W.

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

สูตรนี้ลงตัวที่สุด

สัญญาณเลือกตั้ง (ถ้ามี) ชัดเจนโดยไม่ต้องถามไถ่กันให้เจ็บคออีกแล้ว ทุกอย่างดูเหมือนจะพร้อมเข้าสู่เวที แกะรอยว่าบุคคลไหนจะถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกฯปริศนา พปชร.-ปชป. ตั้งรัฐบาล

ข่าว “เขย่าขวด” สุดสัปดาห์นี้รับลมหนาวคลายร้อนแรงการเมือง เป็นอีกมิติหนึ่งของสภาพสังคมไทย

หลังกระทรวงศึกษาธิการประกาศเลื่อนสอบ “GAT-PAT” จากปฏิทินที่กำหนดระหว่างวันที่ 23-26 ก.พ. ปี 62 ซึ่งคาบเกี่ยวกับวันเลือกตั้ง 24 ก.พ. ปี 62

มาเป็นวันที่ 16-19 ก.พ. ปี 62 ไม่มีปัญหาการไปใช้สิทธิของเด็กนักเรียน

อันเป็นการส่งสัญญาณว่า 24 ก.พ.62 ได้เลือกตั้งแน่

อีกจุดหนึ่งคือการที่ กกต.นัดหมายพรรคการเมืองส่งตัวแทนมาฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับการส่งผู้สมัคร จัดทำไพรมารีโหวต การหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด 22 พ.ย.61

รอประกาศเขตเลือกตั้งทั่วประเทศก็น่าจะลงตัว

ที่น่าจะเป็นการพบกันนัดสุดท้ายจากนั้นก็ไปสู้กันในสนามเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง นักการเมืองล้วนต้องเตรียมพร้อมกันให้เรียบร้อย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ คสช. จะเชิญตัวแทนพรรคการเมืองมาพบปะชี้แจงรายละเอียดราวปลายเดือน พ.ย.–ต้นเดือน ธ.ค.

เท่ากับเป็นการ “ปลดล็อก” การเมืองให้ทุกพรรคโชว์นโยบายได้ทันที

และคาดว่า 25 ธ.ค.61 จะเสนอ พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ส.ส. แต่จะมีผลวันที่ 4 ม.ค.62 นั่นแหละจะได้รู้กันว่ามีพรรคการเมืองทั้งหมดกี่พรรค นักการเมืองกี่คนอยู่ในพื้นที่เขตไหน จังหวัดไหน

ที่สำคัญจะได้รู้ว่าพรรคการเมืองไหนจะส่งชื่อใครเพื่อเข้าชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้สิทธิสามารถ

เลือกนายกฯด้วยมือของตัวเองอีกด้วย

ว่าไปแล้วรายชื่อที่แต่ละพรรคจะเสนอให้รัฐสภาลงมติเพื่อเลือกให้เป็นนายก-รัฐมนตรีนั้นว่าไปแล้วน่าจะมี 2 พรรคได้รับความสนใจ

คือเพื่อไทย เพราะเป็นคู่แข่งสำคัญ

อีกพรรคคือ “พลังประชารัฐ” ซึ่งเป็น กองหนุน “นายกฯลุงตู่”

เพราะประชาธิปัตย์นั้นยังต้องรอให้การเลือกหัวหน้าพรรคก่อนว่าจะเป็นใคร แต่เท่าที่ประเมินเสียงแล้วน่าจะเป็น “คนเก่า” เหมือนเดิม ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกฯไม่มีปัญหา

แต่ 2 พรรคที่ว่ามานั้นยังไม่มีอะไรแน่นอน แต่ก็พอจะเห็นหน้าเห็นตาได้ก่อนหลังการประกาศวันเลือกตั้ง

ยังไงเสียเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ไปต่ออย่างแน่นอนและจะมีชื่อในฐานะตัวแทนพรรคให้เป็นนายกรัฐมนตรี

ปัญหาว่าเมื่อประกาศชัดเจนแล้วแน่นอนว่ายังมีอำนาจตาม ม.44 เพราะเป็นหัวหน้า คสช.อีกตำแหน่งหนึ่ง

แต่หากยังเป็นนายกฯอยู่จะเหมาะหรือไม่?

คงเป็นคำถามไม่ต่างไปจาก 4 รัฐมนตรี ที่เข้าไปรับตำแหน่งในพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งถูกเรียกร้องให้ “ลาออก” ไม่ต้องการให้สวมหมวก 2 ใบในเวลาเดียวกัน

ก็มาถึง พล.อ.ประยุทธ์อีกคนรวมเป็น 5 คน

ล่าสุดมีข่าวว่าทั้ง 5 คนกำลังจะตัดสินใจ “ลาออก” พร้อมๆกันเลยทีเดียว เพื่อไม่ให้รัฐบาลถูกโจมตีจนเกิดปัญหาได้

เวลาที่เหลือ “บิ๊กตู่” คงเดินหน้าหาเสียงได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องหลบเลี่ยงไปมาจนไม่สามารถหาเสียงได้เต็มพิกัด

หลังเลือกตั้งผลคะแนนทุกคะแนนไม่ว่าพรรคไหนก็ตามล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้นอยู่ที่ว่าเมื่อรวบรวมกันแล้วได้เสียงมากที่สุดหรือไม่?

ถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ต้องการเป็นรัฐบาลหรือไม่?

หากร่วมรัฐบาลคนเป็นนายกฯก็ต้องหน้าเก่า!!!

“ลิขิต จงสกุล”

น.3 หมดอารมณ์ม็อบ มุ่งหน้าเข้าสภา

จับสัญญาณ “เปลี่ยนผ่าน” สถานการณ์ประเทศ

คนไทยที่โลกจดจำ

กับเหตุการณ์สูญเสียนายวิชัย ศรีวัฒนประภา นักธุรกิจเจ้าของอาณาจักรธุรกิจร้านค้าปลอดภาษีคิง เพาเวอร์ และประธานสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ ในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ จากเหตุโศกนาฏกรรมเฮลิคอปเตอร์ตกข้างลานจอดรถสนามคิง เพาเวอร์ สเตเดียม เมืองเลสเตอร์

เป็นปรากฏการณ์ช็อกโลกที่สร้างความโศกเศร้า ไม่ใช่แค่มวลหมู่มิตรสหาย คนรู้จักในประเทศไทย

แต่บรรยากาศความเสียใจยังรวมไปถึงที่ประเทศ อังกฤษ ภาพข่าวประชาชนชาวเมืองเลสเตอร์และแฟนบอลในเมืองผู้ดีพากันมาวางดอกไม้แสดงความไว้อาลัย “เจ้าสัววิชัย” ผู้สร้างตำนานทำให้ทีมฟุตบอล “จิ้งจอกสยาม” ขึ้นแท่นแชมป์พรีเมียร์ลีกแบบเซอร์ไพรส์

คนสำคัญระดับเจ้าชายวิลเลียม แห่งราชวงศ์อังกฤษ ทรงมีแถลงการณ์แสดงความเสียพระทัย นายกฯเทเรซา เมย์ แห่งสหราชอาณาจักร ก็ชื่นชมนายวิชัยที่อยู่ในหัวใจคนมากมาย

ชาวเมืองผู้ดีไม่ยอมรับคนต่างชาติง่ายๆถ้าไม่ใช่เพราะคุณงามความดีเป็นที่ประจักษ์

สถานการณ์พิสูจน์ว่า “เจ้าสัววิชัย” คือตัวอย่างที่ดีของคนที่มีเหลือแล้วเผื่อแผ่กับเพื่อนมนุษย์ ทำคุณประโยชน์ให้ชาติบ้านเมือง ไม่เลือกชาติเขาชาติเรา

อานิสงส์ของการให้ด้วยใจ เลยได้ใจคนทั้งในประเทศรวมถึงทั่วโลก

ตัวจากไปแต่ยังจารึกชื่อไว้ในความทรงจำตลอดกาล

ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การสูญเสียนายวิชัยไปอย่างกะทันหัน ได้ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนต่อวงการธุรกิจและการเมืองไทยอย่างมีนัยสำคัญ

ในฐานะทุนใหญ่ติดอันดับท็อปไฟว์ของประเทศ

“เจ้าสัววิชัย” คือมือวางอันดับต้นๆของคนที่มีคอนเนกชันกับป้อมค่ายการเมืองแทบทุกพรรค

รู้จักกันหมดทั่วทั้งวงการอำนาจ นักการเมือง ขุนทหาร

การขาด “นายทุนใหญ่” ในห้วงเข้าโหมดเลือกตั้ง ต้องมีบางพรรคกระอักกระอ่วนแน่

แต่อย่างไรก็ดี การเมืองก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป ตามเงื่อนไขสถานการณ์โรดแม็ปที่กระชั้นเข้ามา

ทุกขณะ ตามสัญญาณล่าสุดจาก “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช. เตรียมนัดหารือเพื่อทำการปลดล็อกการเมืองในปลายเดือนพฤศจิกายน หรือไม่ก็ต้นเดือนธันวาคมนี้

“ปล่อยผี” ให้ลุยเลือกตั้งอย่างเต็มรูปแบบ

ล้อกับจังหวะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ แพลมไต๋เป็นนัย คนที่จะลงรับสมัคร ส.ส. จะต้องมีสภาพสมาชิกพรรค 90 วันก่อนวันเลือกตั้ง ถ้าวันเลือกตั้งคือ 24 ก.พ.62 ก็จะต้องเป็นสมาชิกภายในวันที่ 26 พ.ย.61

ขีดเส้น “เดดไลน์” ให้นักเลือกตั้งอาชีพหาสังกัดให้ทัน

และนั่นก็จะนำมาซึ่งบรรยากาศความโกลาหล ห้วงเวลาจากนี้จนถึงวันที่ 26 พ.ย.61 “นาทีทอง” เหลืออีก 20 กว่าวัน ตลาดสด ตลาดนัดการเมืองน่าจะคึกคัก

นักเลือกตั้งวิ่งย้ายพรรค ประมูลราคา โก่งค่าตัวกันฝุ่นตลบ

และนั่นยังหมายรวมถึงพวกที่ชิ่งหนีปัญหาเขต

ทับซ้อน ชนกันเองในพื้นที่ ต้องย้ายค่ายหนีไปหาโควตาลงพรรคใหม่ ไม่เว้นแม้แต่พวกที่เปิดหน้าแถลงข่าว

โชว์ตัวเข้าสังกัดแล้วก็อาจเปลี่ยนใจชิ่งหนีนาทีสุดท้าย

เพราะตามกติการัฐธรรมนูญใหม่ ปาร์ตี้ลิสต์ไม่ได้รองรับการทับซ้อนพื้นที่ ระบบจัดสรรปันส่วนผสมไม่การันตีโซนปลอดภัยให้แม้แต่พวกเบอร์ต้นๆ ถ้าได้ ส.ส.เขตเต็มโควตาก็อาจไม่ได้ลุ้นบัญชีรายชื่อ

มันคือระบบนิเวศการเมืองแบบไทยๆ

ที่แน่ๆมาถึงตรงนี้ คำตอบจากพฤติกรรมการกระทำที่ชัดขึ้นตามลำดับ กับบทนิ่งของ “นายกฯลุงตู่”

“ขันนอตแน่น” ไม่หลุดง่ายๆ

โดยเฉพาะกับด่านทดสอบท้าทายสุดในจังหวะกระโดดเข้าร่วมโรมรันพันตูในโลกโซเชียลมีเดีย เผชิญกระแสแรงเสียดทานในสงครามไซเบอร์ที่ตัวเองไม่ถนัด

โดนรุมฟัด รุมอัด “เกรียนคีย์บอร์ด” ด่าแรงๆก็กัดฟันทนได้

ต่อเนื่องกับช็อต “ประเทศกูมี” ศิลปินแร็ปใต้ดินปล่อยเพลงเนื้อหาเสียดแทงใจผู้นำรัฐบาล “นายกฯลุงตู่” ก็แค่ส่ายหัว ไม่ต่อความยาวสาวความยืด

ผิดฟอร์ม ไม่ปรี๊ดแตกตามสไตล์ “ลุงฉุน” จุดเดือดต่ำ

แน่นอน มันคืออารมณ์ของผู้นำ คสช.ที่อยู่ในโหมดไฟต์บังคับ จำเป็นต้องตีตั๋วไปต่อ ทำได้ ยอมหมด

“ลุงตู่” อยู่ในโหมดแต่งตัวรอลงสนาม

ตามจังหวะตอกหมุดย้ำอีกช็อต กับคิวล่าสุดที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ส่งซิกบนเวที “ฟอร์บส์ โกลบอล ซีอีโอคอนเฟอเรนซ์” ต่อหน้านักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ

สังหรณ์นายกฯคนต่อไปจะมีหน้าตาคล้ายๆคนเดิม

เสริมความมั่นใจ โครงการต่างๆของรัฐบาลที่ตอกเสาเข็มไว้ยังไงก็ไม่ล่มแน่

ปฏิบัติการ “ปูทาง” สเต็ปที่สอง หลังจากสเต็ปแรกที่นายสมคิดเป็นคนเปิดไพ่ ประกาศสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์เป็นผู้นำรัฐบาลต่อ เพราะทำบ้านเมืองสงบเอื้อต่อการพัฒนาการทางเศรษฐกิจ

วางเกมเป็นระบบ “สมคิด” คุมจังหวะนำร่องให้ “ลุงตู่” เข้าเทียบท่า

ในสถานการณ์ที่ล้อกันกับการเดินหน้าขับเคลื่อนป้อมค่าย “พลังประชารัฐ” ที่รอคิว “4 กุมาร” อย่าง นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ว่าที่หัวหน้าพรรค นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ว่าที่รองหัวหน้าพรรค นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ ว่าที่เลขาธิการพรรค นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกฯ ว่าที่โฆษกพรรค ไขก๊อกจากตำแหน่งใน ครม.

เพื่อเดินเครื่องหาเสียงแบบฟูลไทม์ เต็มเวลา

จากนั้นก็เป็นทีมงานสามมิตรที่นำโดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ กับนายสมศักดิ์ เทพสุทิน จะนำกำลังอดีต ส.ส.ชุดใหญ่ เข้าร่วมสังกัดอย่างเป็นทางการ

ก่อนจบที่พระเอก “นายกฯลุงตู่” ประกาศตัว รับเทียบเป็นหนึ่งในบัญชีนายกฯพรรคพลังประชารัฐ

ประเมินจากการจัดระบบ เกมยุทธ์เปิดไพ่ทีละใบของทีมหนุน “ลุงตู่” ตีตั๋วต่อ เร่งเครื่องออกตัวแรงบ้าง แตะเบรกผ่อนคันเร่งบ้าง ไม่ให้โดนดักเจาะยาง ระดมอดีต ส.ส.เกรดเอ บี ซี มาอยู่ในสังกัด ประกอบกับปัจจัยที่เอื้อทั้งอำนาจการบริหารที่ถืออยู่ในมือ ทุนน้ำเลี้ยงจากบริษัทยักษ์ขุมข่ายประชารัฐที่ตุนไว้เต็มคลังแสง

“พลังประชารัฐ” คือพรรคที่แฝงพลังขับเคลื่อนแรงสุด

เมื่อเทียบสถานการณ์กับแชมป์เก่าพะยี่ห้อ “ทักษิณ” ที่อยู่ในสถานการณ์ “แตกพรรค” แฝง “แพแตก” แยกเป็นพรรคเพื่อไทย เพื่อธรรม เพื่อชาติ ฯลฯตัดคะแนนกันเอง

ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็ตะลุมบอนชิงติ้วหัวหน้าพรรค “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ-นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม–อลงกรณ์ พลบุตร” ชกหลอกบ้าง ชกจริงบ้าง โดยอาการทางใจยังไงก็ไม่เป็นทีม

ตัวแปรอย่างพรรคภูมิใจไทยก็ “ใจแป้ว” กับการที่ “นายทุนใหญ่” จากไปอย่างกะทันหัน

ทุกป้อมค่ายต่างเต็มไปด้วยปัญหา ไม่มีพรรคไหนลงตัว

แต่ทั้งหมดทั้งปวง มันคือบรรยากาศการเมืองที่เดินหน้าเข้าสู่โหมดเลือกตั้งอย่างเป็นธรรมชาติ

ห้วงเวลาเปลี่ยนผ่านประเทศกลับคืนสู่ประชาธิปไตย

ยิ่งเป็นอะไรที่สังเกตได้ กับปรากฏการณ์ที่ “ลุงกำนัน” นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตหัวขบวนม็อบ กปปส.ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย เดินสายเคลื่อนไหวตามยุทธศาสตร์ “คารวะแผ่นดิน”

เจอคนดักด่า รุมโห่สองข้างทาง อาเจ๊ อาม่าปิดร้านใส่หน้า ห้างหรูปิดประตูไม่ต้อนรับ

บรรยากาศผิดกันอย่างลิบลับกับตอนม็อบ กปปส.กำลังขึ้นหม้อ “ลุงกำนัน” เรตติ้งกระฉูด

ท่ามกลางเครื่องหมายคำถาม นายสุเทพออกมา “ล่อเป้า” เพื่ออะไร

แน่นอนว่า มุมหนึ่งเป็นเกมเขี้ยวของนักการเมืองเก๋าอย่างนายสุเทพที่ใช้การเคลื่อนไหวชิงกระแสพื้นที่ข่าวได้แบบรายวัน แลกกับการโดนด่า ดีดลูกคิดแล้ว ยังไงก็คุ้ม

หรือมุมของเกมแฝง เขี่ยไฟชนวนขัดแย้ง ก็มีคนระแวงเหมือนกัน

แต่ที่แน่ๆในมุมของภาพรวม ณ เบื้องนี้ ประเมินอารมณ์สังคมที่สะท้อนออกมาใส่หน้า “ลุงกำนัน”

มันคืออาการ “เหม็นเบื่อ” หัวโจกม็อบ

ผู้คนหมดอารมณ์กับเกมชุมนุมป่วนเมือง โหยหาการเลือกตั้ง

ซึ่งนั่นก็โยงได้กับเหตุที่นายสุเทพต้อง “กลืนน้ำลาย” ไปร่วมตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย ขณะที่อีกด้าน “ตุ๊ดตู่” นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มเสื้อแดง นปช. ที่เพิ่งออกจากคุก ก็หันไปร่วมก่อตั้งพรรคเพื่อชาติเป็นฐานการเมืองของกลุ่มเสื้อแดง

ต้องดิ้นหาที่ยืนในสภา เพราะแรงมวลชนถดถอย.

“ทีมการเมือง”