PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

24เดือน คสช.

ที่มา เพจ I LaW

ถึง ผู้อ่านทุกท่าน

หวังว่าเราจะคิดตรงกันว่า 'ความเงียบ' ที่สังคมพึงปรารถนา คือ "ความเงียบสงบ" มิใช่ "ความเงียบสงัด"
ครบรอบ 24 เดือนหลังการรัฐประหาร จึงเป็นอีกวาระหนึ่งที่จะทบทวนบทเรียนจากการบริหารความเงียบและความดังในสังคมนี้ว่า คสช. มีวิธีการรับมือกับประชาชน ที่กำลังรอการคืนความสุขอย่างไร

ที่ผ่านมา แม้จะยกเลิกกฎอัยการศึกมาได้หนึ่งปีเศษ แต่การเปลี่ยนมาใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ที่ออกโดย "มาตรา 44" ไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรือบรรเทา การใช้อำนาจเพื่อปราบ
ปรามประชาชนที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออก อย่าง การชุมนุม การจัดงานเสวนา หรือแม้แต่การโพสต์สเตตัสเฟซบุ๊ก แต่อย่างใด

ซ้ำร้ายรูปแบบและวิธีการกลับพัฒนาตัวจนเข้มแข็งและเข้มข้นมากขึ้น นับจนถึงวาระ 24 เดือน ทหารวางระบบให้สถาบันของทหารเองมีอำนาจอย่างสมบูรณ์ครบทั้งวงจรของกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่การจับกุม ควบคุมตัว สอบสวน ฟ้องคดี ตัดสินคดี และดูแลเรือนจำ

รายงานฉบับนี้มีความมุ่งหวังว่า สังคมจะได้รู้ ได้เห็น ถึงกลไกที่รัฐใช้เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะเมื่อรัฐอ้างว่ามันเป็นไปตาม "กระบวนการยุติธรรมปกติ"

ส่วนเมื่ออ่านแล้วผู้อ่านแต่ละคนจะเข้าใจและมีความเชื่ออย่างไรก็สุดแล้วแต่จะคิดเห็นไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน

ท่านสามารถอ่านบทสรุปรายงาน 24 เดือนคสช.: เมื่ออำนาจทหารอยู่เหนือระบบยุติธรรม ได้ที่
/////////////
24 เดือน คสช.: เมื่ออำนาจทหารอยู่เหนือระบบยุติธรรม

ตลอดสองปีที่คสช. อยู่ในอำนาจ รัฐเลือกที่จะปราบปรามคนที่แสดงออกในทางไม่เห็นด้วยกับการบริหารประเทศของคสช. อย่างแข็งขัน ไม่ว่าจะปราบปรามด้วยกระบวนการกฎหมายปกติ หรือ

กฎหมายพิเศษก็ตาม

กฎหมายที่ถูกนำมาใช้กว้างขว้างมากขึ้น เช่น ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, มาตรา 116 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มีการบังคับใช้กฎหมายที่มากเกินกว่าตัวบทหลายกรณี เช่น การกดถูกใจใน

เฟซบุ๊ก การโต้ตอบกับบุคคลอีกฝ่ายโดยไม่ติเตียน แม้แต่การโพสต์เฟซบุ๊กเพื่อล้อเลียนผู้บริหารประเทศ ก็ล้วนถูกตั้งข้อหาว่าเป็น "ภัยความมั่นคง" ทั้งสิ้น ยังมีกฎหมายพิเศษอีกหลายฉบับที่ออกโดย

คณะรัฐประหาร เช่น การประกาศห้ามการชุมนุมทางการเมือง การประกาศให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหาร นับถึงวันครบสองปีของการรัฐประหาร มีผู้ถูกตั้งข้อหามาตรา 112 อย่างน้อย 67 คน มีผู้ถูก

ตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมือง อย่างน้อย 85 คน

ภายหลังการยกเลิกกฎอัยการศึก "คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558" ที่อาศัยอำนาจมาตรา 44 ก็เข้าแทนที่ ผลในทางปฏิบัติ คือ การใช้อำนาจปราบปรามอย่างไรขอบเขตยังมีอยู่ต่อเนื่องไม่ต่างกัน

คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/255 ยังสถาปนาเจ้าหน้าที่ทหารให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม โดยมีอำนาจสอบสวนร่วมกับตำรวจ ให้อำนาจทหารควบคุมตัวบุคคลได้สูงสุด 7 วัน ใน

ช่วงระยะ 7 วัน บางคนอาจถูกเรียกไปพูดคุยสั้นๆ และปล่อยตัวในวันเดียวกัน และบางคนอาจต้องค้างคืนในค่ายทหารหลายวัน บางคนอาจถูกสอบสวนและทำบันทึกไว้เป็นหลักฐาน บางคนต้อง

เซ็นข้อตกลงว่าจะไม่เคลื่อนไหวทางการเมือง หลายกรณีคนที่ถูกควบคุมตัวอ้างว่าถูกซ้อมหรือข่มขู่ให้รับสารภาพ โดยในระหว่างการควบคุมตัวของทหารทุกคนจะไม่มีสิทธิพบทนายความ หรือ

ติดต่อญาติ และทหารจะไม่เปิดเผยสถานที่ควบคุมตัว กระบวนการนี้ทำให้ทหารกลายเป็นด่านแรกที่คัดกรองการตั้งข้อหา

เมื่อเจ้าหน้าที่ทหารส่งไม้ต่อให้ตำรวจส่งฟ้อง เจ้าหน้าที่ทหารก็ยังสามารถเข้าร่วมเป็นพนักงานสอบสวนกับตำรวจได้ คดีส่วนใหญ่ที่ทหารเกี่ยวข้องในกับจับกุมและสอบสวน จะอยู่ใต้ประกาศคสช.

ฉบับที่ 37/2557 ที่ให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหาร เมื่อขึ้นศาลทหารจะพบกับอัยการที่เป็นทหาร และผู้พิพากษาที่เป็นทหาร คดีที่จำเลยปฏิเสธจะสืบพยานอย่างล่าช้า และมีหลายคดีที่ศาลทหารกำหนด

โทษหนัก โดยเฉพาะคดีมาตรา 112  นับถึงวันครบสองปีของการรัฐประหาร มีพลเรือนต้องขึ้นศาลทหารในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างน้อย 167 คน

สุดท้ายเมื่อจำเลยถูกศาลสั่งให้ต้องอยู่ในเรือนจำ ในยุคคสช. ยังมีการจัดตั้งเรือนจำพิเศษขึ้นภายในค่ายทหาร ทำให้ทหารเข้ามาอยู่เหนือระบบยุติธรรมแบบครบวงจร ตั้งแต่เป็นการออกกฎหมาย

การจับกุม การตั้งข้อกล่าวหา การสอบสวน การดำเนินคดี การตัดสินคดี และการรับโทษ

เมื่ออำนาจทหารอยู่เหนือระบบยุติธรรม คนจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับการปกครองของทหารย่อมได้รับผลกระทบ นับถึงวันครบสองปีของการรัฐประหาร มีคนอยู่ในเรือนจำ

เพราะการแสดงออกทางการเมืองอย่างน้อย 44 คน และมีคนต้องลาจากแผ่นดินที่เป็นบ้านเกิดอย่างน้อย 200 คน

ดูรายละเอียดของรายงาน 24 เดือนคสช. แต่ละส่วนได้ที่
//////////////////
24 เดือน คสช.: อำนาจทหารเหนือระบบยุติธรรม เมื่อทหารทำตัวเป็นตำรวจ
โดย ilaw-freedom เมื่อ 20 พฤษภาคม 2016 17:58

“ถ้าไม่เคารพกฎหมายอย่างนี้จะอยู่กันอย่างไรเล่า”
“เขาก็จับทุกรูปแบบ ทำไมจับแล้วให้พวกเธอเห็นแล้วถ่ายรูป จะได้ไปต่อต้านเจ้าหน้าที่กันหรืออย่างไร แล้วกรณีไปจับโจรอื่นทำไมไม่พูดกันบ้าง”

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน จากกรณีเจ้าหน้าที่ทหารอุ้ม จ่านิว สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งปรากฏภาพวีดีโอหลักฐานชัดเจน และเป็นที่กล่าว

ถึงกันอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ แม้กรณีของจ่านิวจะไม่ใช่การจับกุมอย่างอุกอาจครั้งแรกหรือครั้งที่ทารุณโหดร้ายที่สุด แต่ก็สั่นสะเทือนจนพล.อ.ประยุทธ์ต้องออกมายืนยันต่อสาธารณะว่า

ประชาชนที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกต่อต้านรัฐบาลทหารนั้นย่อมมีโอกาสถูกจับกุมได้ในทุกรูปแบบ

ตลอดสองปีของคสช. เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจเข้าจับกุมบุคคลด้วยเหตุผลทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ในช่วงปีแรกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เจ้าหน้าที่อ้างอำนาจการจับกุมตามกฎ

อัยการศึก ซึ่งให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมอย่างไร้ขอบเขต ทุกสถานที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องมีข้อกล่าวหา แม้ในช่วงหนึ่งปีหลังกฎอัยการศึกจะถูกยกเลิก แต่ต่อมาก็มีประกาศหัวหน้าคสช. ฉบับที่

3/2558 ออกมาใช้แทน ซึ่งให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมบุคคลได้ต่อเมื่อมีหมายศาล หรือเป็นความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น แต่ดูเหมือนว่าเจ้าหน้าที่ก็ยังใช้อำนาจจับกุมบุคคลอย่างไร้

ขอบเขตเช่นเดิมมาตลอดสองปีเต็ม

มากกว่าอำนาจจับกุม คือการ “ถูกอุ้ม” และมีกล้องบันทึกเหตุการณ์ไว้ได้

“พี่ผู้หญิงเสื้อฟ้าเขาตะโกนขึ้นมา ชายนอกเครื่องแบบเลยเดินตาม แล้วสักพักนึงก็ได้ยินเสียงผู้หญิงกรี๊ดตอนนั้นแท็กซี่ก็ขับเข้ามาประชิดแล้ว นอกเครื่องแบบอีกสองคนก็ลงมาจากแท็กซี่ ชายนอก

เครื่องแบบก็ผลักผู้หญิงเข้ามาในแท็กซี่ คนแถวนั้นก็ช่วยกันดึงตัวไว้ มีการฉุดยื้อกันระหว่างนอกเครื่องแบบกับคนแถวนั้น ผู้หญิงเสื้อฟ้าเขาก็พยายามฝืนตอนที่ถูกกระชาก แต่สุดท้ายก็ถูกผลักเข้าไป

ผลักให้นั่งลงในแท็กซี่เลย”

ดวงทิพย์ ฆารฤทธิ์ ผู้เห็นเหตุการณ์เล่า

เมื่อประชาชนถูกจับกุมจากเหตุเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของคสช.สื่อมวลชนต่างพร้อมใจใช้คำว่า “ถูกอุ้ม” เพราะภาพการอุ้มผู้หญิงขึ้นรถแท็กซี่เป็นภาพที่สังคมจดจำได้ เหตุการณ์การจับกุมสุนัน

ทาหญิงสวมเสื้อสีฟ้าที่ถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบสองคนฉุดกระชาก  ขึ้นรถแท็กซี่สีชมพูบริเวณหน้าศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2557 หลังร่วมกิจกรรมปิดตาและชูสามนิ้วต้าน

รัฐประหาร ถูกบันทึกไว้ทั้งภาพถ่ายและวิดีโอ แล้วกระจายทั่วเฟซบุ๊กในระยะเวลาอันรวดเร็ว ภาพและวีดีโอเผยให้เห็นแนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการนำประชาชนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในยุค

คสช.

หลังถูกจับกุม สุนันทาถูกนำตัวไปคุมขังที่กองบังคับการปราบปรามเป็นเวลาสองคืน และถูกปล่อยตัวโดยไม่ถูกตั้งข้อหา จนถึงวันครบรอบสองปีของ คสช. สุนันทายังไม่เคยออกมาแสดงออกทาง

การเมืองใดๆ อีก แต่เรื่องราวการจับกุมตัวเธอในวันก่อนยังคงเป็นที่จดจำ

480


“ตอนขึ้นรถก็ถูกหมวกไอ้โม่งคลุมหน้าไว้ แล้วก็ถูกเอาสายมารัดตาไว้อีกชั้นหนึ่งไม่ให้เห็นอะไรเลย ก็นั่งรถไปอีกนานมาก วนหลายรอบเหมือนกัน วนไปวนมาเลี้ยวหลายตลบกลับกันประมาณ 20

รอบแล้วเขาพาไปป่าหญ้า ลากผมเข้าไปวิ่ง ลากเข้าไปในป่าหญ้า มีหญ้าตลอดทาง แล้วก็บังคับให้ผมนั่งลง ผมก็ไม่นั่งเพราะว่ามันคัน ใครจะไปนั่ง เขาก็ถีบผมลงไปนั่ง แล้วเดินมาพูดถากถางใส่ มี

ตบ มีตีหัวครั้งหนึ่ง มีตีหลังครั้งหนึ่ง แล้วก็เอาไม้มาจิ้มเบาๆ มันเหมือนปืน ผมว่าน่าจะไม่ใช่ไม้ น่าจะเป็นปืน”

สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว เล่าเหตุการณ์ในคืนที่เขาถูกอุ้มขึ้นรถจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การอุ้มสิรวิชญ์ เกิดขึ้นเกิดขึ้นในเวลาประมาณ 22.45 น. ของวันที่ 20 มกราคม 2559 บริเวณประตูหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ฝั่งเชียงราก สิรวิชญ์ ถูกชายฉกรรจ์แต่งกายคล้ายทหาร

แปดคนเข้าคุมตัวขึ้นรถกระบะที่ถอดป้ายทะเบียนออก การจับกุมครั้งนี้ดำเนินการอย่างอุกอาจและเห็นได้ชัดว่าเป็นการจับกุมด้วยรูปแบบและวิธีที่เกินกว่าเหตุหรือตามอำเภอใจ นับว่าโชคดีที่ถูก

บันทึกภาพไว้ได้ หลังเหตุการณ์นี้ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติแถลงว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ และการดำเนินการทุกขั้นตอนเป็นไปตามกรอบกฎหมาย ปฏิบัติอย่างให้เกียรติ

ไม่มีความรุนแรง

นอกจากนี้ การจับกุมขณะทำกิจกรรมในที่สาธารณะก็เกิดขึ้นหลายกรณีตลอดสองปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ปรากฏในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนหรือบันทึกภาพไว้โดยประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์

เช่น เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2557 บริเวณลานน้ำพุ สยามพารากอน ‘แชมป์’ ซึ่งมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์นั่งกินแซนวิชและอ่านหนังสือ 1984 ถูกเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจนอกเครื่องแบบควบคุมตัว

และลากตัวออกจากพื้นที่ไป ก่อนถูกปล่อยตัวที่สโมสรกองทัพบก วิภาวดี ในกลางดึกคืนเดียวกัน

หรือกรณีของอานนท์ นำภาและสมาชิกกลุ่มพลเมืองโต้กลับรวมห้าคนเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 ซึ่งจัดกิจกรรมยืนเฉยๆ ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัววัฒนา เมืองสุข เพียงไม่กี่

นาทีหลังจากเริ่มกิจกรรม อานนท์และพวกก็ถูกควบคุมตัวขึ้นรถเจ้าหน้าที่ตำรวจ และอีกกิจกรรมหนึ่งในบริเวณเดียวกันเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2559 ที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับกรณีทหาร

เข้าควบคุมตัวประชาชนแปดคนในกรุงเทพฯ และจังหวัดขอนแก่น ซึ่งกรณีหลังนี้มีผู้ร่วมกิจกรรมถูกจับกุมทั้งหมด 14 คน

การจับกุมที่เกินกว่าเหตุ หลายกรณีที่ข้อเท็จจริงไม่ถูกบันทึกไว้ด้วยกล้อง

“เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบหนึ่งในสองที่เข้าควบคุมธเนตรไว้ได้ โดยทั้งสามลงลิฟท์จากชั้นเจ็ดไปก่อนขึ้นรถ มั่นใจว่าจะเป็นรถแท็กซี่สีเขียวเหลือง ไม่ติดป้ายทะเบียนกระจกใสแต่ถูกปิดด้วย

กระดาษ ขับออกไปจากโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว ใช้เส้นทางอ่อนนุช-ลาดกระบัง ขาเข้า พลเมืองดีขับไม่ทันจบข่าว”

ผู้ใช้เฟซบุ๊กบัญชีชื่อ Piyarat Chongthep โพสต์ข้อความพร้อมภาพถ่ายจังหวะที่เจ้าหน้าที่เข้าจับกุมธเนตรในวันเกิดเหตุ

ธเนตรเป็นนักกิจกรรมที่เข้าร่วมกิจกรรมกับสิรวิชญ์และกลุ่มประชาธิปไตยใหม่อยู่บ่อยครั้ง หลังถูกจับกุมเขาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 116 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ธเนตรถูกควบ

คุมตัวไปจากโรงพยาบาลสิรินธร เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558 ขณะพักรักษาอาการลำไส้อักเสบและรอเข้ารับการผ่าตัด ในวันดังกล่าวมีเพื่อนอีกสองคนกำลังเข้าเยี่ยมและเห็นเหตุการณ์ขณะเจ้า

หน้าที่ควบคุมตัวธเนตรออกไปจากโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้งชื่อหรือนามสกุล ต้นสังกัด และไม่แจ้งว่าจะควบคุมตัวธเนตรไปที่ใดและควบคุมตัวเพราะเหตุใด อีกทั้งไม่ได้แสดงหมายจับของ

ศาล ปัจจุบันธเนตรได้รับการประกันตัว เท่าที่มีการบันทึกไว้ ธเนตรเป็นหนึ่งในสองกรณีที่ถูกจับกุมขณะกำลังตรวจรักษาอยู่ในโรงพยาบาล

“ไม่ได้เป็นการควบคุมตัวออกจากเตียงที่รักษาตามที่มีการโพสต์กันในโลกออนไลน์แต่อย่างใด แต่เป็นการควบคุมตัวโดยถูกต้องตามหมายจับของศาลขณะที่ผู้ต้องหากำลังจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล

และมีพฤติกรรมคาดว่าจะหลบหนีไป ทุกอย่างสามารถตรวจสอบได้จากเอกสารหลักฐานต่างๆ"

พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกล่าวชี้แจงการจับกุม ธเนตร

ก่อนหน้ากรณีของธเนตร มีการจับกุมนัชชชา หนึ่งในแปดนักศึกษาที่ถูกออกหมายจับจากการชุมนุมหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยเธอถูกจับกุมขณะอยู่ในห้องพักผู้ป่วย โรง

พยาบาลวิภาวดี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2558 และถูกนำตัวส่งศาลทหารทันที โดยเจ้าตัวเผยว่ากำลังจะเดินทางเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนในช่วงบ่ายวันเดียวกันนั้นแต่ถูกจับก่อน

หรืออย่าง การจับกุมสิรภพ ผู้ต้องหาในคดีฝ่าฝืนคำสั่งเรียกรายงานตัวของ คสช. เป็นอีกกรณีตัวอย่างหนึ่งของการจับกุมที่เกินกว่าเหตุ โดยในวันที่ 25 มิถุนายน 2557 ขณะเดินทางด้วยรถยนต์ส่วน

บุคคลเข้าตัวเมืองกาฬสินธุ์ รถยนต์โตโยต้า รุ่นฟอร์จูนเนอร์ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารนอกเครื่องแบบอย่างน้อยห้านายโดยสารมาพร้อมอาวุธครบมือได้ขับปาดหน้าก่อนลงจากรถ และถูกจอดประกบโดย

รถอีกคันหนึ่ง ทหารบังคับให้ทุกคนหมอบลงบนพื้นที่เปียกด้วยฝน ต่อมาจึงควบคุมตัวคนขับรถและสิรภพ ไปที่หน่วยราชการในจังหวัดหนึ่งคืน ก่อนจะส่งตัวมาที่กรุงเทพฯ ในวันครบรอบสองปี

ของ คสช. สิรภพยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ


ในช่วงปีแรกของการรัฐประหาร การไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งหัวหน้า คสช. เป็นเหตุให้ณัฐถูกเจ้าหน้าที่บุกไปจับถึงห้องพักของเขาในอาคารชุดถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน

2557 และต่อมาในวันที่ 28 มิถุนายน 2557 ณัฐเล่าว่า ในการถูกจับครั้งแรก เมื่อได้ยินเสียงเคาะประตูเขาก็เดินไปเปิดประตู ทันใดนั้นทหารก็ผลักประตูเข้ามาทำให้เขาเสียหลัก เขาถูกจับกดลงกับพื้น

ถูกจับมือไพล่หลังและรัดแน่นทำให้เขาเจ็บปวด โดยทหารไม่ได้แจ้งเหตุผลใดๆ ในการเข้าจับกุม


483


ทหารบุกบ้านจับประชาชนทำเพจล้อคสช. 8 คน ในวันเดียวกัน

เช้ามืดของวันที่ 27 เมษายน 2559 จากการรายงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โลกออนไลน์ถูกปลุกด้วยกระแสข่าวการจับกุมประชาชนรวมแปดรายออกจากที่พักไปยังค่ายทหาร อาทิ

กรณีของหฤษฎ์ และนิธิ ทั้งสองถูกทหารประมาณ 20 นายพร้อมอาวุธบุกที่พักในจังหวัดขอนแก่น ก่อนควบคุมตัวไปพร้อมยึดโทรศัพท์ หนังสือเดินทางและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

ในเวลาไล่เลี่ยกัน ศุภชัย ก็ถูกควบคุมตัวไปจากบ้านพักในกรุงเทพฯ ไปยังมณฑลทหารบกที่ 11 ด้วย ญาติของผู้ถูกจับรายหนึ่งเล่าว่า มีคนแต่งกายคล้ายทหารประมาณสิบนายงัดประตูบ้านเข้ามา

ถามหาหลานชายโดยไม่มีหมายค้นหรือหมายจับ ญาติของผู้ถูกจับอีกคนหนึ่งเผยว่า เจ้าหน้าที่กดกริ่งติดต่อกันหลายครั้ง เมื่อเปิดประตูช้า เพราะมัวหากุญแจก็มีเจ้าหน้าที่บางส่วนปีนเข้ามาพร้อมต่อ

ว่าที่เปิดประตูช้าและตั้งข้อสงสัยว่าอาจกำลังทำลายเอกสารอยู่

จากเหตุที่เกิดขึ้น พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคสช.แถลงว่า เป็นการควบคุมตัวผู้ที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดียที่เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการเปิดเฟซบุ๊กเพจที่มีเนื้อหาล้อเลียน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ศาลทหารอนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาหกคน โดยวางเงื่อนไขห้ามยั่วยุปลุกปั่นและห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ส่วนอีกสองคนที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาท

พระมหากษัตริย์ฯ ถูกนำตัวไปกองบังคับการปราบปรามทันที

จากการเก็บข้อมูลของไอลอว์ ตลอดสองปีในยุคคสช. มีประชาชนถูกจับกุมแล้วอย่างน้อย 527 คน ในจำนวนนี้ 225 คน ถูกจับกุมจากการเข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบ

 “เรียกให้ไปรายงานตัว” คือการใช้อำนาจเพื่อสร้าง “ความกลัว”

“ผมถูกเรียกในวันที่ 1 มิถุนาฯ เขาให้ผมไปรายงานตัวในช่วงระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 3 ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าผมถูกเรียกไปในข้อหาอะไร และการเรียกไปมีเพียงการประกาศชื่ออย่างเดียว และก่อนที่จะไป

รายงานตัวก็มีเจ้าหน้าที่ทหารกับฝ่ายปกครองไปที่บ้านที่ต่างจังหวัดด้วย ซึ่งมันสร้างต้นทุนของความกลัวให้กับครอบครัว พ่อแม่ ไม่ใช่แค่กับตัวเอง” หนึ่งในบุคคลที่ถูกเรียกไปรายงานตามคำสั่ง

คสช. เล่าถึงสถานการณ์ก่อนจะเข้าไปรายงานตัว

เขาบรรยายถึงความรู้สึกในตอนนั้นอีกว่า “กลัวครับ แม้จะรู้ว่าทุกอย่างที่เราทำสามารถอธิบายได้ และไม่มีอะไรที่ผิดกฎหมาย แต่ภายใต้อำนาจรัฐ โดยเฉพาะขณะนั้นก็ไม่ได้อยู่บนฐานของเหตุผล

หรือกฎหมาย แต่เป็นฐานของกำลังและความกลัว ดังนั้นเราไม่สามารถคาดการณ์อะไรได้เลยถึงสิ่งที่เขาจะทำกับเรา อีกทั้งฝ่ายที่จะมาปกป้องเราก็ไม่มีด้วย ถึงมีก็พลังน้อยมากเมื่อเทียบกับฝ่ายเขา

ลูกไก่ในกำมือนั่นล่ะ อารมณ์นั้น”

ภายหลังการรัฐประหาร คสช. ได้ออกคำสั่งให้บุคคลมารายงานตัวผ่านทางโทรทัศน์ แล้วจากนั้น จึงค่อยปรับวิธีการมาเป็นการออกหมายเรียกหรือใช้การโทรศัพท์เรียกแทน ซึ่งการใช้อำนาจด้วยวิธี

การดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนเกิดความไม่สบายใจ หวาดกลัว และสับสน เพราะว่า เกือบทุกครั้งที่เรียกบุคคลไปรายงานตัว เจ้าหน้าที่ไม่ได้ชี้แจงเหตุผลว่าเรียกไปเพื่ออะไร

ในกระบวนการยุติธรรมปกติ บุคคลที่ถูกเรียกต้องได้รับสิทธิต่างๆ เช่น การมีทนายเข้าร่วมการรับฟัง หรือหากจะควบคุมตัวก็ต้องมีสิทธิที่จะติดต่อกับญาติและต้องเปิดเผยสถานที่ควบคุม แต่ภาย

ใต้อำนาจกฎอัยการศึกและคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 กลับมองข้ามขั้นตอนเหล่านี้ไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งบุคคลที่ถูกเรียกไปรายงานตัวก็ไม่มีทางเลือกมาก เพราะถ้าไม่ไปรายงานตัวก็จะมีโทษ

จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เบื้องหลัง “การปรับทัศนคติ” คือ การเรียกมารับฟังคำสั่งและให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

“แม้ไม่ได้ถูกทรมาน แต่รู้สึกถูกคุกคามอย่างมาก” ประวิตร โรจนพฤกษ์ อดีตผู้สื่อข่าวเนชั่นกล่าวความรู้สึกกับประชาไท ภายหลัง คสช. ปล่อยตัวเขาหลังจากออกหมายเรียกและควบคุมตัวเพื่อ “

ปรับทัศนคติ” ตั้งแต่วันที่ 13-15 กันยายน 2558

ประวิตรบอกเล่าเหตุการณ์ผ่านประชาไทบล็อกกาซีนว่า หลังจากที่เขาเข้าไปรายงานตัว ก็มีชายสี่คนที่ไม่สวมใส่ชุดทหารแต่สวมผ้าปิดจมูกและปาก ใช้ผ้าสองชั้นปิดตาแล้วพาขึ้นรถตู้ไปยังสถานที่

ที่ไม่ทราบว่าเป็นที่ใด ในห้องขังมีพื้นที่ประมาณ 4 คูณ 4 เมตร หน้าต่างในห้องล้วนถูกปิดสนิท และมีลูกกรงเหล็กติดทับอีกที มีกล้องวงจรปิดส่องลงมาจากมุมบนซ้ายของเพดาน ประวิตรเล่าด้วย

ว่าในระหว่างการสอบสวน เจ้าหน้าที่ต้องการทราบว่าทําไมเขาถึงไม่เอารัฐประหารและทำไมถึงต้องการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือ ม.112 ทั้งนี้ ในการพูดคุยนั้น จะมีเจ้าหน้าที่อัด

วิดีโอ และพิมพ์คําตอบลงในคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ก่อนจะตามมาด้วยการอธิบายให้ประวิตรทราบถึงความจำเป็นที่จะต้องทำการรัฐประหาร

ก่อนทหารจะปล่อยตัว ประวิตรต้องเซ็นเอกสารที่มีข้อความว่า ข้าพเจ้าได้รับการดูแลเป็นอย่างดี มิได้ถูกทําร้าย ทรัพย์สินต่างๆ ได้รับคืนครบถ้วนทั้งหมดแล้ว และต้องลงนามในเอกสารว่า

1. ข้าพเจ้าพักอาศัยอยู่บ้านเลขที่... และข้าพเจ้าจะไม่เดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่ได้รับอนุมัติจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
2. ข้าพเจ้าจะละเว้นการเคลื่อนไหวหรือประชุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ
3.หากข้าพเจ้าฝ่าฝืนเงื่อนไขดังกล่าวหรือดําเนินการช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง ข้าพเจ้ายินยอมที่จะถูกดําเนินคดีทันที และยินยอมถูกระงับธุรกรรมทางการเงิน

อีกกรณีที่สะท้อนให้เห็นถึงการปรับทัศนคติด้วยท่าทีที่กดดันจากเจ้าหน้าที่ทหาร คือการเรียก ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปรายงานตัว เมื่อวันที่ 29

เมษายน 2559 ซึ่งใช้อำนาจตามคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 3/25558 โดยปิ่นแก้วได้โพสต์ข้อความบอกเล่าและแสดงความคิดในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า

“ในการถูกเชิญให้ไปปรับทัศนะคติครั้งที่สอง ณ ค่ายกาวิละ ในวันนี้พร้อมๆกับเพื่อนๆอีกสองท่าน ทำให้ดิฉันอดย้อนคิดเปรียบเทียบกับเมื่อครั้งเข้าค่ายกาวิละตามคำเชิญของทหารเป็นครั้งแรก เมื่อ

หลังรัฐประหารใหม่ๆ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2557 ไม่ได้ สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้ว่าสิ่งที่ทางฝ่ายทหารขอร้องจะเหมือนกันในทั้งสองครั้ง คือ การขอให้ยุติการแสดงออกทางความคิดเห็นและกิจกรรม

ต่างๆในที่สาธารณะ เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม แต่เหตุผล และวาทกรรมที่ใช้ในการรองรับคำขอดังกล่าว มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

ในตลอดสองชั่วโมงที่นั่งฟังการบรรยายของฝ่ายทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจและตัวแทนจากฝ่ายปกครอง ถึงความจำเป็นที่ต้องเรียกตัวดิฉันและเพื่อนอีกสองคนเข้าพบ คีย์เวิร์ดสองคำที่ไม่พบในวาท

กรรมของฝ่ายทหาร ทั้งที่เป็นคำที่ได้ยินอยู่บ่อยครั้งในการปรับทัศนะคติครั้งแรก และเป็นวาทกรรมที่ถูกใช้มาโดยตลอดในการสร้างความชอบธรรมที่จะริดรอนเสรีภาพของประชาชนคือ “เพื่อ

ความปรองดอง” และการอยู่ในช่วงของ “โรดแมป” ในการคืนความสุขให้กับประชาชน คำที่มาแทนที่ ความปรองดอง และโรดแมปในการสนทนาวันนี้ คือ “บ้านเมืองอยู่ในสภาวะพิเศษ” ที่ต้องการ

“ความสงบเรียบร้อยปราศจากความวุ่นวายก่อนการเลือกตั้ง” และ “อย่าบังคับให้ทหารต้องใช้ความรุนแรง”

จากการเก็บข้อมูลของไอลอว์พบว่า บุคคลที่ถูกเรียกรายงานตัวเพื่อ “ปรับทัศนคติ” นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นนักการเมือง นักเคลื่อนไหว นักวิชาการ สื่อมวลชน ประชาชน และนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อน

ไหวเพื่อสะท้อนปัญหาภายหลังการรัฐประหาร หรือวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหาร ตลอดสองปีในยุคคสช. มีคนถูกเรียกรายงานตัวอย่างน้อย 992 คน ในจำนวนนี้ถูกเรียกโดยวิธีการประกาศเป็นคำสั่ง

คสช. ผ่านทางโทรทัศน์ อย่างน้อย 480 คน

ข่มขู่ ล่วงข้อมูล ด่านแรกของกระบวนยุติธรรมในค่ายทหาร

ไม่ว่าจะเรียกบุคคลมารายงานตัวหรือการเข้าไปจับกุมก็ตาม เจ้าหน้าที่ทหารมีอำนาจที่จะควบคุมตัวบุคคลไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน โดยไม่ต้องมีหมายศาล ไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวหา หรือการกระทำความผิด

ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่มักอ้างว่า ระหว่างเวลานี้ผู้ถูกควบคุมตัวยังไม่ใช่ผู้ต้องหา จึงไม่มีสิทธิติดต่อญาติหรือทนายความ และไม่จำเป็นต้องแจ้งสถานที่ควบคุมตัว โดยช่วงเวลาดังกล่าวเจ้าหน้าที่

ทหารใช้การข่มขู่ และล้วงข้อมูลส่วนบุคคล โดยอ้างอำนาจจากกฎอัยการศึกและคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ทหารสถาปนาตัวเองไปเป็นด่านแรกของกระบวนยุติธรรม

“การข่มขู่หรือยัดข้อหา” ในชั้นซักถามของเจ้าหน้าที่ทหารจึงเกิดขึ้น อย่างเช่น ทอม ดันดี ซึ่งเขียนเรื่องราวระหว่างถูกควบคุมตัวไว้ในเว็บไซต์ประชาไทว่า ในระหว่างการสอบสวน ทอมถูกยัดข้อ

หาหลบหนีและขัดขืนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน และยังพยายามยัดเยียเรื่องอาวุธสงคราม, การซ่องสุมกำลังพล, แผนผังการวางระเบิดที่จังหวัดราชบุรีและความผิดในข้อหา หมิ่นประมาท ดู

หมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายเบื้องสูง (มาตรา 112) อีกด้วย

ทอม เล่าอีกว่า ตลอดเวลาในการสอบสวน เขาได้ยินแต่เสียงขู่ เสียงด่า ตะโกนคำหยาบคาย ประโยคซ้ำๆ ด้วยการข่มขู่ว่าสามารถจะฆ่าเขาทิ้งได้โดยไม่มีความผิดและจะนำลูกเมียมาทรมานจนกว่า

เขาจะรับสารภาพ

อีกกรณีตัวอย่าง รายงานจากประชาไท ทำให้ทราบว่าผู้ต้องหาจากเหตุการณ์ระเบิดหน้าศาลอาญาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 ถูกซ้อมทรมาน และหนึ่งในนั้นก็คือ สรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน โดย สรรเสริญ

เล่าว่า กระบวนการที่เจ้าหน้าที่พยายามทำให้สารภาพคือ การขู่ตะคอก ตบหน้า ชกเขาที่บริเวณลิ้นปี่และชายโครง รวมถึงเหยียบบริเวณลำตัว รอยช้ำส่วนใหญ่เริ่มจางลงไปไปหมดแล้ว เหลืออยู่

เพียงบางส่วน นอกจากนี้ พอเขาไม่ยอมรับสารภาพว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว เจ้าหน้าที่จึงได้ใช้ไฟฟ้าช็อตที่บริเวณต้นขา โดยสรรเสริญเล่าว่า เขาถูกช็อตราว 30-40 ครั้ง

457
Sansern Sriounruen

รูปภาพจาก Prachatai

“การล้วงค้นข้อมูลส่วนบุคคล” เพื่อตรวจหาความผิด ซึ่งเป็นอีกวิธีการของเจ้าหน้าที่ทหาร ภายใต้การควบคุมตัวที่ผู้ถูกควบคุมตัวไม่ได้รับสิทธิใดๆ โดยเจ้าหน้าที่มักจะยึดสิ่งของที่ติดตัวผู้ถูกควบ

คุมตัวทันที หรือการบุกไปยึดที่บ้านในภายหลัง ซึ่งส่วนใหญ่การตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสารของเจ้าหน้าที่เป็นไปโดยไม่มีหมายศาลหรือไม่มีอำนาจในการเข้าค้น

การยึดสิ่งของและตรวจค้นดังกล่าวมีความสุ่มเสี่ยงที่จะละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ซึ่งที่ผ่านมาก็มีหลายกรณีที่เจ้าหน้าที่ยึดอุปกรณ์การสื่อสารหลังจับกุมตัว ในกรณีชัดเจนคือ กรณีของ บุรินทร์

และ พัฒน์นรี หรือ แม่ของสิรวิชญ์ ที่ทหารได้เข้าตรวจกล่องข้อความเฟซบุ๊กที่ทั้งคู่สนทนากัน ท้ายที่สุดก็เป็นเหตุให้ทั้งคู่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 112

สิ่งที่น่าสงสัยในกรณีนี้ก็คือ วิธีการได้มาซึ่งข้อมูลการสนทนา เพราะ โดยปกติการได้มาซึ่งพยานหลักฐานในคอมพิวเตอร์ ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 18 และ 19 คือ เจ้าหน้าที่ต้อง

ขอหมายศาลเพื่อให้บุคคลส่งมอบคอมพิวเตอร์ให้แล้วจึงตรวจค้นได้ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ก็มีภาระผูกผันก่อนจะขอหมายศาลว่า จะต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อเสียก่อนว่า ในกล่องข้อความเฟซบุ๊กมีการ

กระทำความผิด ดังนั้น บทสนทนาในกล่องข้อความเฟซบุ๊ก เป็นพื้นที่ส่วนตัวที่รัฐไม่มีสามารถล่วงรู้ได้ว่ามีการกระทำความผิดหรือไม่ ถ้าหากไม่ขอหมายศาลก่อน กรณีดังกล่าวจึงค่อนข้างชัดเจนว่า

เจ้าหน้าที่รัฐรุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวโดยไม่มีอำนาจ

ตลอดสองปีของคสช. คนส่วนใหญ่ที่ถูกจับกุมจากการแสดงออกทางการเมืองจะถูกยึดอุปกรณ์สื่อสารไปตรวจค้น โดยก่อนหน้านี้ ชโย และ ณัฏฐธิดาเคยถูกตั้งข้อหามาตรา 112 จากการสนทนาใน

กล่องข้อความมาแล้ว และยังมีกรณีเจ้าหน้าที่พยายามค้นรถของทนายความโดยไม่มีหมายศาล เพื่อยึดโทรศัพท์ของผู้ต้องหากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ด้วย

ภายใต้การควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ทหาร มีคน “เกือบสูญหาย” และ “เสียชีวิต”

สองปีที่ผ่านมาภายใต้ยุค คสช. มีคนจำนวนมากเสี่ยงต่อการถูกอุ้มหาย ถูกจับไปโดยไม่เปิดเผย ไม่มีการแจ้งสถานที่ควบคุมตัว ไม่ให้สิทธิพบทนายหรือติดต่อญาติ เงื่อนไขเหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่

บุคคลจะสูญหาย แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ยังเกิดขึ้นซ้ำๆ ตั้งแต่กรณีของกริชสุดา และ กรณีของสราวุธ หรือแอดมินเพจเปิดประเด็น

กระแสการหายตัวไปของ สราวุธ เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2559 จากนั้น วันรุ่งขึ้น พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ รองหัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ คสช. ในฐานะทีมโฆษก คสช. ระบุว่า ยังไม่ทราบราย

ละเอียดที่ชัดเจน และไม่ทราบว่า แอดมินเพจเปิดประเด็น ถูกทหารเชิญตัวไปจริงหรือไม่ และถูกเชิญตัวด้วยเหตุผลใด อย่างไรก็ดี สุดท้ายเขาก็ได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 16 มีนาคม 2559 โดยให้

ญาติมารับจากค่ายวิภาวดีรังสิต จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา

กรณีของสราวุธ เป็นหนึ่งในอีกหลายกรณีที่เจ้าหน้าที่สื่อสารข้อมูลที่ผิดพลาดและก่อให้เกิดความสับสนว่า ใครเป็นคนจับกุมและควบคุมตัวประชาชน ด้วยเหตุอะไร และใช้อำนาจอะไร ทำให้

ประชาชนไม่อาจทราบได้ว่าเมื่อญาติพี่น้องของตัวเองหายตัวไป จะเป็นเพราะถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวหรือหายไปด้วยเหตุอื่น สร้างบรรยากาศความวิตกกังวลต่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของคน

ทั่วไปในสังคม

ไม่ใช่แค่กรณีเกือบสูญหาย แต่การกระทำที่รัฐบาลถูกตั้งคำถามและยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนก็คือ การเสียชีวิตระหว่างการถูกควบคุมตัวในค่ายทหาร ของ สารวัตรเอี๊ยด พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา

และ หมอหยอง สุริยัน สุจริตพลวงศ์ ผู้ต้องหาคดีแอบอ้างสถาบันฯ ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี ทั้งสองเสียชีวิตภายใต้การควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่โดยไม่มีการไต่สวน

การตายตามขั้นตอนของกฎหมาย ทำให้การเสียชีวิตของสองคนนี้ยังคงถูกกล่าวถึงด้วยข่าวลือมากกว่าข้อเท็จจริง

หลักสูตร "ผู้นำการสร้างชาติ อย่างสร้างสรรค์" อำนาจที่ไม่มีกฎหมายรองรับ

ไม่ได้มีอำนาจหรือบทบัญญัติใดที่รองรับ "การปรับทัศนคติ” ไม่ว่าจะเป็นทั้งกฎอัยการศึกหรือคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ก็ให้อำนาจในการเรียกตัวบุคคลและการกักตัวไม่เกิน 7 วันเท่านั้น

แต่ตลอดสองปีที่ผ่านมาคสช. ใช้นโยบายปรับทัศนคติประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งล่าสุดนำไปสู่การออกแบบหลักสูตร "ผู้นำการสร้างชาติ อย่างสร้างสรรค์" เพื่อเป็นแนวทางใหม่ในการ

ปรับทัศนคติกับคนที่เห็นต่างกับรัฐบาล

พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ รองหัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ส่วนงานรักษาความสงบ สำนักงานเลขาธิการ คสช. ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวไว้กับไทยรัฐว่า

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม คือ ผู้ที่เป็นแกนนำภาคประชาชน แกนนำองค์กรเอกชน แกนนำของพรรคการเมือง ผู้ที่มีคุณสมบัติเข้าข่าย หรือผู้ที่ได้สร้างกระแสไปในทางขัดคำสั่งของทาง คสช.

ยุยง ปลุกปั่น สร้างกระแสของความสับสนวุ่นวาย หรือชี้นำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ โดยจะเชิญตัวเพื่อพูดคุย ให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในการทำหน้าที่ของ คสช. และรัฐบาล ว่าต้องการ

ปฏิรูป และต้องการสร้างพัฒนาการให้กับประเทศ ไม่ต้องการให้เงื่อนไขเก่าๆ กลับมาอีก และสุดท้าย ขอความร่วมมือไม่อยากให้ขัดขวาง และให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของรัฐบาล และ คสช.

นอกจากนี้ ในระหว่างที่ฝึกอบรมสงวนสิทธิ์ในเรื่องของการติดต่อสื่อสาร แต่มีโทรศัพท์ให้ติดต่อกับญาติเป็นบางช่วงเวลา และไม่สามารถออกมานอกค่ายได้

เป็นข้อสังเกตว่าหลังจากนี้หลักสูตรผู้นำการสร้างชาติ อย่างสร้างสรรค์ จะเป็นเครื่องมือใหม่ที่มาทดแทนกระบวนการควบคุมตัวเพื่อปรับทัศนคติประชาชนแบบเดิม

กลไกการตรวจสอบการจับกุมและควบคุมตัวโดยมิชอบไม่สามารถทำงานได้

การจับกุมนั้นถือเป็นการจำกัดเสรีภาพที่ร้ายแรง จึงต้องมีกลไกเพื่อควบคุมการใช้อำนาจ เช่น การออกหมายจับโดยศาล หากการจับกุมเริ่มต้นขึ้นโดยไม่ถูกต้อง พยานหลักฐานซึ่งได้มาหลังจากนั้น

ย่อมรับฟังในชั้นศาลไม่ได้ เพราะต้นทางมาอย่างไม่โปร่งใส และศาลต้องยกฟ้องไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะกระทำความผิดจริงหรือไม่ก็ตาม

กระบวนการยุติธรรมภายใต้ยุค คสช. หลายครั้งที่ต้นทางของกระบวนการยุติธรรมโดยเจ้าหน้าที่ทหารเป็นไปโดยไม่ชอบ แต่องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจกลับไม่สามารถทำงานได้

อย่างกรณี ศาลอาญายกคำร้องขอให้ปล่อยตัวธเนตร โดยไม่มีการไต่สวนว่า เจ้าหน้าที่มีพฤติการณ์การจับกุมอย่างไร ปฏิบัติไปตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ นอกจากนี้ ศาลยังรับรองอำนาจ

การจับกุมและควบคุมตัวตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 อีกด้วย
/////////////
24 เดือน คสช.: อำนาจทหารเหนือระบบยุติธรรม เมื่อทหารทำตัวเป็นอัยการและศาล
โดย ilaw-freedom เมื่อ 20 พฤษภาคม 2016 15:40
ในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีการออกประกาศคสช.ฉบับที่ 37/2557 ให้คดีของพลเรือนในข้อหาความผิดต่อพระมหากษัตริย์ฯ ความผิดต่อความมั่นคง และความผิดฐานฝ่าฝืน

ประกาศหรือคำสั่งของคสช. ต้องพิจารณาที่ศาลทหาร โดยส่วนใหญ่แล้วศาลทหารใช้กระบวนการพิจารณาคดีคล้ายกับศาลพลเรือน แต่บุคลากรของศาลทหารรวมทั้งอัยการและตุลาการ เป็นนาย

ทหาร และทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นในรอบสองปี ศาลทหารได้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการที่พิเศษไปจากศาลพลเรือนบ้าง

ศาลทหารทำโอที ฝากขัง 14 "ประชาธิปไตยใหม่" ตอนเที่ยงคืน  

โดยปกติเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจับตัวผู้ต้องหาได้จะมีอำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาเพื่อการสอบสวนไม่เกิน 48 ชั่วโมง หลังจากนั้นหากมีเหตุให้ต้องควบคุมตัวต่อตำรวจต้องนำตัวผู้ต้องหาไปที่ศาลเพื่อ

ขออำนาจศาลฝากขังต่อ ในกรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับกุมนอกเวลาราชการ ระยะเวลา 48 ชั่วโมงนี้ก็เพียงพอสำหรับตำรวจที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้จนกว่าศาลจะเปิดทำการ

ในคืนวันที่ 26 มิถุนายน 2558 เกิดกรณีที่ไม่ปกติ เมื่อศาลทหารที่ปกติจะเปิดทำการระหว่าง 8.30 น. ถึงเวลา 16.30 น. กลับต้องเปิดทำการถึงเที่ยงคืน เพื่อรอพนักงานสอบสวนนำตัว 14 ผู้ต้อง

หากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งถูกจับในเย็นวันเดียวกันมาฝากขัง ทั้งที่ผู้ต้องหาทั้งหมดเพิ่งถูกจับกุมแค่สามถึงสี่ชั่วโมงและพนักงานสอบสวนยังมีอำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาเพื่อรอศาลทหารเปิดทำ

การในวันรุ่งขึ้นได้

เหตุผลที่อาจอธิบายความเร่งรีบครั้งนี้ คือตำรวจอาจเกรงว่า การควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจชั่วคราว อาจทำให้นักกิจกรรมและประชาชนจำนวนมากไปรวมตัวกันทำกิจกรรมเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้

ถูกจับกุม เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในกรณีควบคุมตัวผู้ชุมนุมกิจกรรมเลือกตั้งที่(รัก)ลัก และกรณีชุมนุมครบรอบหนึ่งปีรัฐประหารที่หอศิลปกรุงเทพ ที่เมื่อนักกิจกรรมถูกจับจากที่ชุมนุมไปควบคุมที่

สถานีตำรวจก็มีคนจำนวนมากมาให้กำลังใจ ทำกิจกรรมจุดเทียน ร้องเพลง รอการปล่อยตัว ซึ่งยากที่เจ้าหน้าที่จะควบคุมสถานการณ์ได้ การนำผู้ต้องขังไปควบคุมตัวยังเรือนจำจะลดแรงเสียดทาน

ต่อตำรวจได้ระดับหนึ่ง

458


กระบวนการสืบพยานที่ศาลทหาร นานจนสายเกินไป

การต้องตกเป็นจำเลยในคดีอาญาขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นเรื่องที่น่าหนักใจอยู่ไม่น้อยสำหรับคนทั่วไป เพราะต้องเสียทั้งเวลาในการมาศาล รวมทั้งคอยกังวลใจว่าจะสู้คดีอย่างไร แล้วศาลจะตัดสินว่าอย่าง

ไร การพิจารณาคดีโดยรวดเร็ว เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนในกระบวนการยุติธรรม และช่วยให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ต้องทนอยู่ในความทุกข์นานจนเกินไป

ระบบที่ออกแบบกันมาในศาลยุติธรรม คือ การนัดสืบพยานต่อเนื่องกัน เพื่อให้การพิจารณาคดีดำเนินไปอย่างรวดเร็วและไม่เปิดช่องให้แต่ละฝ่ายมีเวลาไปสร้างพยานหลักฐานใหม่จนได้เปรียบเสีย

เปรียบกัน สำหรับคดีที่พิจารณาในศาลทหาร กระบวนการสืบพยานจะต่างออกไปเพราะศาลทหารจะนัดสืบพยานของแต่ละคดี 1-2 นัด ต่อเดือน และจะสืบเฉพาะช่วงเช้าเท่านั้น บางครั้งพยานไม่มา

ศาลก็ต้องเลื่อนการสืบพยานออกไปอีกเรื่อยๆ ทำให้การสืบพยานของหลายๆ คดีกินเวลานาน

"วันนี้จะตัดสินหรือยังครับ" คือคำถามที่สมัคร จำเลยคดี 112 ซึ่งถูกฟ้องต่อศาลทหารเชียงรายเฝ้าถามทนายแทบทุกครั้งที่ถูกนำตัวมาพิจารณาคดีที่ศาล ศาลนัดสืบพยานคดีของสมัครครั้งแรกในวันที่

12 มกราคม 2558 หลังจากนั้นก็นัดสืบพยานเดือนละหนึ่งนัดเรื่อยมาโดยสืบเฉพาะช่วงเช้า การสืบพยานโจทก์ปากที่สาม ถูกเลื่อนออกไปถึงสามครั้งเพราะพยานโจทก์ไม่มาศาลทำให้การสืบพยาน

ซึ่งควรจะมีในเดือนมีนาคม 2558 ถูกเลื่อนไปเป็นเดือนมิถุนายน 2558 โดยสมัครต้องเดินทางมาศาลโดยไม่มีการพิจารณาคดีถึงสามครั้งภายในสามเดือน

ในเดือนกรกฎาคม 2558 สมัครตัดสินใจเลิกสู้คดีและรับสารภาพต่อศาล เนื่องจากทุกข์ใจเพราะที่ผ่านมาคดีนี้นัดสืบพยานมาหลายนัดแต่คดีก็ยังไม่เสร็จเสียที ทั้งที่ข้อต่อสู้ของเขา คือ การมีใบรับรอง

แพทย์ว่ามีอาการทางจิต และยังไม่มีโอกาสได้บอกศาล ศาลพิพากษาจำคุกสมัครเป็นเวลาสิบปีก่อนลดโทษเหลือห้าปี “มันนานเกินไป...” สมัครกล่าวหลังทราบคำพิพากษาแต่ก็ก้มหน้ายอมรับชะตา

กรรม

นอกจากคดีของสมัคร คดีอื่นๆ ที่พิจารณาในศาลทหารแล้วจำเลยเลือกสู้คดีแทนรับสารภาพก็มีการพิจารณาที่ยาวนานเหมือนกัน เช่น คดีข้อหาไม่ไปรายงานตัวของสิรภพ ที่นอกจากจะกินเวลานาน

เพราะศาลนัดสืบเฉลี่ยน้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อเดือนแล้ว บางครั้งพยานโจทก์ไม่มาศาลทำให้ต้องเลื่อนการสืบพยานอย่างน้อยสามครั้ง (ดูตารางตัวอย่างการนัดสืบพยานในศาลยุติธรรมและศาลทหาร คลิ

กที่)


461


การต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาล เพื่อออกจากกระบวนการยุติธรรมของคสช.

จากที่ไอลอว์เก็บข้อมูล ตลอดสองปีในยุคคสช. มีพลเรือนอย่างน้อย 167 คน ถูกดำเนินคดีในศาลทหารในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมือง มีพลเรือนจำนวนหนึ่งที่เห็นว่าการนำพลเรือนขึ้นศาลทหารเป็น

เรื่องที่ผิดหลักการ จึงยื่นคำร้องคัดค้านอำนาจศาลทหารแม้จะรู้ว่านั่นจะทำให้กระบวนการพิจารณาคดีที่ล่าช้าอยู่แล้วต้องใช้เวลามากขึ้นไปอีก เนื่องจากศาลทหารจะต้องชะลอการพิจารณาคดีจน

กว่าจะมีข้อยุติว่าคดีอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลใด สำหรับประเด็นที่ใช้ในการคัดค้านอำนาจศาลทหารอาจแบ่งเป็นสองประเด็นใหญ่ๆ ได้แก่ ประเด็นเงื่อนเวลา ว่าการกระทำตามข้อกล่าวหา

เกิดก่อนหรือหลังมีการออกประกาศฉบับที่ 37/2557 กับว่าการนำพลเรือนขึ้นศาลทหารไม่ชอบธรรมขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล

จาตุรนต์ ฉายแสง จำเลยคดีฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวของคสช.และคดียุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 คัดค้านอำนาจศาลโดยระบุว่า คดีไม่รายงาน

ตัวไม่อยู่ในศาลทหารเพราะเหตุเกิดก่อนมีการออกประกาศให้ผู้ฝ่าฝืนคำสั่งคสช.ขึ้นศาลทหาร ขณะที่ความผิดฐานยุยงปลุกปั่นที่เกิดจากการโพสต์เฟซบุ๊กและการจัดแถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่าง

ประเทศ แม้เกิดหลังมีการออกประกาศแต่ประกาศยังไม่ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา จึงถือว่ายังไม่มีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ประกาศให้พลเรือนขึ้นศาลทหารก็ขัดต่อมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว

2557 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ให้ความคุ้มครองสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยโดยตุลาการที่เป็นอิสระ

สิรภพ จำเลยคดีฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวและคดี 112 เป็นจำเลยอีกคนหนึ่งที่ต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาล แม้สิรภพจะไม่ได้ประกันตัวแต่ก็ยอมที่จะต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาลแม้จะรู้ว่านั่นจะทำให้การ

พิจารณาคดีของเขาต้องล่าช้าออกไป สิรภพต่อสู้ว่าการกระทำตามข้อกล่าวหาในคดีของเขาเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนมีประกาศให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร คดีของเขาจึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม สิรภพยัง

ขอให้ศาลทหารส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยว่าประกาศคสช.ฉบับที่ 37/2557 ขัดหรือแย้งกับมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว

ในภาพรวมมีอย่างน้อย 11 คดี ที่จำเลยยื่นเรื่องคัดค้านอำนาจของศาลทหาร ซึ่งอย่างน้อย 3 คดีที่ศาลทหารมีคำสั่งแล้วว่า จะไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพราะศาลทหารไม่มีหน้าที่ส่งเรื่องให้

ศาลรัฐธรรมนูญ (ดูรายละเอียดการคัดค้านอำนาจศาลทหารในคดีพลเรือนได้ คลิกที่นี่)

462


ศาลทหารสั่งเอง หมิ่นประมาท "ผู้นำ" ไม่ใช่คดีความมั่นคง ไม่ต้องขึ้นศาลทหาร

ในภาพรวมศาลทหารมีปัญหาหลายอย่าง ตั้งแต่ปัญหาทางวิธีปฏิบัติ เช่น การนำตัวผู้ต้องหา/จำเลยที่ได้ประกันไปปล่อยจากเรือนจำทำให้ต้องผ่านกระบวนการตรวจร่างกาย หรือ ปัญหาในการ

พิจารณาคดีที่มักสั่งพิจารณาคดี 112 เป็นการลับ รวมทั้งการลงโทษจำเลยคดี 112 หลายคนอย่างหนัก แต่การทำงานของอัยการทหารและศาลทหารก็พอจะมีพัฒนาการทางบวกอยู่บ้าง คือ การใช้

ดุลพินิจพิจารณาความสอดคล้องระหว่างกฎหมายที่ใช้ฟ้องกับการกระทำตามข้อกล่าวหา ดังกรณี ของรินดาและ “แจ่ม”

รินดา ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 จากการโพสต์เฟซบุ๊กกล่าวหาว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โอนเงินจำนวนมหาศาลไปสิงคโปร์ ซึ่งเป็นข้อหาที่อยู่ในอำนาจ

พิจารณาของศาลทหาร เธอถูกฝากขังต่อศาลทหาร ต่อมาในเดือนธันวาคม 2558 ศาลทหารแจ้งว่าหลังพิจารณาสำนวนแล้วเห็นว่า คดีนี้ไม่ใช่คดีตามมาตรา 116 แต่น่าจะเป็นคดีหมิ่นประมาท ซึ่ง

ศาลทหารไม่มีอำนาจพิจารณา คดีของรินดาจึงถูกจำหน่ายออกให้ไปฟ้องใหม่ที่ศาลของพลเรือน ในข้อหาหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา ซึ่งมีโทษเบากว่าคดีตามมาตรา 116

“แจ่ม” ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความเกี่ยวกับข้อสงสัยเรื่องการทุจริตในการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์และความขัดแย้งในกองทัพ “แจ่ม” ถูกนำตัวไปฝากขังกับศาลทหารในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2558

ต่อมาในเดือนเมษายน 2559 อัยการทหารมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง “แจ่ม” ในข้อหายุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ศาลทหารไม่มีอำนาจพิจารณาคดีพลเรือน จึงคืน

สำนวนให้พนักงานสอบสวนไปดำเนินการฟ้อง “แจ่ม” ต่อศาลพลเรือนต่อไป    

กรณีของ “แจ่ม” และรินดาแสดงให้เห็นว่ายังมีพัฒนาการทางบวกอยู่บ้างที่ศาลทหาร เพราะอัยการทหารและผู้พิพากษาศาลทหารมีความพยายามที่จะกลั่นกรองคดีอยู่บ้าง เมื่อพิจารณาเห็นว่าข้อหา

ที่จำเลยถูกกล่าวหาไม่ถูกต้องก็ไม่ดำเนินคดีต่อ ยังมีอีกหลายคดีที่ลักษณะคล้ายกับรินดาและ “แจ่ม” เช่น คดีที่มีแอดมินเพจแปดคนถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 116 จากการทำเนื้อหาล้อเลียนพล.อ.

ประยุทธ์ จากนี้จึงต้องจับตาต่อไปว่าศาลหรืออัยการจะมีความเห็นอย่างไร


ศาลทหารลงโทษหนักในคดีมาตรา 112 แต่มาตรฐานยังไม่แน่นอน

"การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จำนวน 6 กรรม ลงโทษจำคุกกรรมละ 10 ปี รวมทั้งหมด 60 ปี เนื่องจากจำเลยรับ

สารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 30 ปี"

465

คำพิพากษาของศาลทหารกรุงเทพ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ให้ลงโทษจำคุก พงษ์ศักดิ์ 60 ปี ตามมาตรา 112 อาจเป็นหมุดหมายหนึ่งที่ผู้คนจดจำกันได้ในช่วงเวลาสองปีของคสช. เพราะเป็นคดีที่มี

สถิติการลงโทษตามมาตรา 112 สูงที่สุดเท่าที่เคยมีบันทึกไว้ นอกจากนี้ยังมีคำพิพากษาอีกหลายคดีที่พบปรากฏการณ์ศาลทหารกำหนดโทษจำคุกสูงๆ เช่น คดีของเธียรสุธรรม ศาลทหารให้จำคุก 50

ปี คดีของศศิวิมล ศาลทหารให้จำคุก 56 ปี
แนวการกำหนดโทษของศาลทหารก็ยังไม่แน่นอน หลายคดีศาลทหารกำหนดโทษจำคุก 10 ปีต่อการกระทำ 1 กรรม ขณะที่อีกหลายคดีศาลทหารก็กำหนดโทษน้อยลงมา เช่น คดีของ “สมศักดิ์ ภักดี

เดช” ศาลให้จำคุก 9 ปี คดีของธนิตศักดิ์ศาลให้จำคุก 8 ปี และคดีของศศิวิมลศาลให้จำคุก 8 ปี ต่อการกระทำ 1 กรรม

แม้ว่าคดีมาตรา 112 ส่วนใหญ่ศาลทหารจะกำหนดบทลงโทษสูงตาม แต่ก็มีสองคดีของโอภาสที่ศาลทหารกำหนดโทษจำคุก 3 ปี ก่อนลดโทษให้เหลือ 1 ปี 6 เดือน เนื่องจากจำเลยรับสารภาพ จาก

การเขียนฝาผนังห้องน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นการกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำที่สุดเท่าที่กฎหมายเปิดช่องไว้สำหรับข้อหานี้ และยังมีคดีการเผยแพร่แถลงการณ์สำนักพระราชวังปลอมของนิรันดร์ และ “เนส” ที่

ศาลทหารตัดสินลงโทษจำคุก 5 ปี และให้รอลงอาญาโทษจำคุก

ศาลยุติธรรมยังตีความกฎหมายผิดพลาด เป็นผลเสียแก่จำเลย

"ศาลพิพากษาว่า จำเลยทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ทั้งหมด 9 กรรม ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ลงโทษกรรมละ 3 ปี รวม

27 ปี ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้ลงโทษกรรมละ 4 เดือน รวม 36 เดือน รวมจำคุก 27 ปี 36 เดือน"

คำพิพากษาคดีของศาลจังหวัดอุบลราชธานี ในคดีของ “จักราวุธ” เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 เป็นคำพิพากษาคดีที่จำเป็นต้องยกมาพูดถึง เพราะกำหนดโทษแปลกไปจากคดีอื่นๆ

“จักรวุธ” ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กผิดมาตรา 112 ทั้งหมด 9 ข้อความ ศาลจังหวัดอุบลราชธานีพิพากษาว่าการโพสต์ข้อความหนึ่งครั้ง จะถูกลงโทษทั้งตามมาตรา 112 และความผิด

ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แยกกระทงความผิดกัน โดยให้ลงโทษตามมาตรา 112 ข้อความละ 3 ปี และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ข้อความละ 4 เดือน หลังศาลจังหวัดอุบลราชธานีอ่านคำพิพากษาในคดีนี้

“จักราวุธ” จึงเป็นจำเลยคนเดียวที่ต้องรับโทษสูงขึ้นอย่างไม่ปกติ แต่เขาตัดสินใจไม่ยื่นอุทธรณ์ เพื่อยื่นขออภัยโทษเพราะหวังว่าจะเป็นช่องทางให้ได้อิสรภาพเร็วขึ้น จนถึงวันที่ครบรอบสองปีของ

การรัฐประหาร “จักราวุธ” ยังอยู่ในเรือนจำ

ขณะที่คำพิพากษาคดีที่มีลักษณะเดียวกับคดี “จักราวุธ” ทุกคดีถือว่าการโพสต์ข้อความเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นกฎหมายที่หนักที่สุดเพียงบท

เดียว เช่น คดีของธันย์ฐวุฒิ คดีของอำพล คดีของปิยะ ฯลฯ คำพิพากษาของศาลจังหวัดอุบลราชธานีน่าจะผิดจากหลักกฎหมายเรื่องการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทอย่างชัดเจน ทำให้

จำเลยต้องรับโทษจำคุกสูงขึ้นอีก 36 เดือน

464


"แม้ในใบปลิวจะมีข้อความดูหมิ่นหลายบุคคล แต่เป็นข้อความที่กล่าวในเอกสารฉบับเดียวกัน ดังนั้นถือเป็นการกระทำกรรมเดียว ทำให้ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

คุ้มครองไปถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ด้วยหรือไม่ จึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โทษจำคุก 6 ปี"

คำพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558 ให้จำคุกชาญวิทย์ 6 ปี เป็นคำพิพากษาอีกฉบับหนึ่งที่ต้องถูกหยิบขึ้นมาพูดถึงกัน คดีนี้จำเลยถูกฟ้องว่าแจกใบปลิว 1 ชุด มีเนื้อหาดู

หมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา รวม 4 พระองค์ โจทก์ฟ้องว่าเป็นความผิด 4 กรรม จำเลยรับสารภาพว่าทำใบปลิวขึ้นแจกจริง แต่ในชั้นพิจารณาคดี

จำเลยยกข้อต่อสู้ขึ้นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว เพราะแจกใบปลิวชุดเดียว และสมเด็จพระเทพฯ ไม่ใช่บุคคลที่มาตรา 112 คุ้มครอง

สุดท้ายศาลเห็นด้วยกับข้อต่อสู้ของจำเลย ว่าการแจกใบปลิวเป็นการกระทำกรรมเดียว และพิพากษาลงโทษจำคุก 6 ปี คดีนี้จึงต้องถือว่าจำเลยรับสารภาพแล้วว่ากระทำความผิดจริงเพียงแต่ต่อสู้ใน

ประเด็นข้อกฎหมาย จำเลยจึงต้องได้รับลดโทษครึ่งหนึ่ง ดังนั้นชาญวิทย์ควรได้รับโทษลดโทษกึ่งหนึ่งคือจำคุก 3 ปี ไม่ใช่ 6 ปี แต่ศาลจังหวัดนนทบุรีกลับมองว่าคดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธ และไม่

ลดโทษให้ อย่างไรก็ตามชาญวิทย์ ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลดโทษให้ คดีนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์


466


จากคำพิพากษาทั้งสองคดีสะท้อนให้เห็นมาตรฐานที่อ่อนแอและความไม่เป็นเอกภาพในการตีความกฎหมายของศาลยุติธรรม ซึ่งส่งผลให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นกว่าความเป็นจริง คดีที่มีข้อ

กล่าวหาและการกระทำลักษณะเดียวกันเมื่อขึ้นสู่ชั้นศาลแล้วไม่อาจแน่ใจได้ว่าศาลจะพิพากษาในลักษณะเดียวกัน นอกจากการตีความกฎหมายแตกต่างกันไปในแต่ละคดีแล้ว ศาลยุติธรรมก็ยัง

กำหนดโทษในคดีมาตรา 112 ต่อการกระทำ 1 กรรมต่างกันออกไป เช่น คดีของ “จักราวุธ” กำหนดโทษ ปี 3 คดีของชาญวิทย์กำหนดโทษ 6 ปี คดีละครเวรทีเรื่องเจ้าสาวหมาป่า กำหนดโทษ 5 ปี

และคดีของปิยะ กำหนดโทษ 9 ปี

คดีข้อหาทางการเมืองอื่น ศาลพลเรือนตีความให้เป็นประโยชน์แก่จำเลย

“ประกาศ คสช. ฉบับที่ 29/2557 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ซึ่งกำหนดโทษสำหรับบุคคลที่มีชื่อถูกเรียกตามคำสั่งคสช. ฉบับที่ 1-3/2557 และ 5-6/2557 เป็นการกำหนดโทษเพิ่มเติมย้อนหลังและ

เป็นประกาศที่มุ่งใช้กับเฉพาะบุคคลที่มีรายชื่อในประกาศเรียกรายงานตัว ซึ่งตามหลักของกฎหมายอาญา กฎหมายจะกำหนดโทษทางอาญาให้มีผลย้อนหลังไม่ได้ และกฎหมายจะออกมาเพื่อเอา

โทษกับเฉพาะบุคคลไม่ได้”

วันที่ 21 กันยายน 2558 ศาลแขวงดุสิตพิพากษา คดีที่สมบัติ บุญงามอนงค์ ถูกฟ้องฐานไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งคสช. โดยศาลยกฟ้องในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งคสช. เพราะเห็นว่า ประกาศคสช. ฉบับที่

29/2557 กำหนดโทษย้อนหลังและมุ่งใช้เฉพาะบุคคล จึงเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ไม่ได้ ซึ่งถือเป็นคำพิพากษาฉบับแรกที่ศาลวินิจฉัยสวนทางกับการใช้อำนาจออกประกาศและคำสั่งตามอำเภอใจ

ของคสช. ในทางที่เป็นประโยชน์กับจำเลย

468


อีกคดีหนึ่งที่น่าสนใจ คือ คดีไม่มารายงานตัวของณัฐ คดีนี้ณัฐให้การรับสารภาพว่าไม่ได้ไปรายงานตัวตามที่ถูกคสช.ออกคำสั่งเรียกจริง ซึ่งคดีไม่มารายงานตัวส่วนใหญ่ที่จำเลยรับสารภาพ ศาลจะ

พิพากษาจำคุกและให้รอลงอาญา แต่เนื่องจากณัฐเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่จะรอลงอาญาได้ ศาลแขวงดุสิตจึงพิพากษาให้จำคุก 1 เดือน 10 วัน โดยไม่รอลงอาญา แต่ต่อมาศาล

อุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษา โดยยกเอาหลักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 55 ขึ้นมาใช้ว่า คดีนี้มีโทษจำคุกน้อย ศาลจึงยกโทษจำคุกให้ เหลือเพียงโทษปรับสถานเดียว

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 55 ที่กำหนดให้ศาลมีอำนาจยกโทษจำคุกในกรณีที่จะลงโทษน้อยกว่าสามเดือน เป็นกฎหมายที่มีอยู่แล้ว แต่ปกติศาลไม่ค่อยใช้อำนาจตามมาตรานี้บ่อยนัก และไม่เคย

ปรากฏมาก่อนในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมือง การที่ศาลอุทธรณ์นำมาตรา 55 มาเป็นเหตุให้ณัฐไม่ต้องถูกจำคุกจึงเป็นนิมิตรหมายใหม่ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อจำเลย

“คดีนี้เหตุเกิดที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นท้องที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน แต่ ร.ต.ท.ชลิต เป็นเจ้าพนักงานสังกัดกองบังคับการปราบปราม ซึ่งโจทก์มิได้

นำสืบถึงการแบ่งหน่วยงานและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ทราบว่า ร.ต.ท.ชลิต ผู้ทำการสอบสวนเป็นผู้มีอำนาจสอบสวนโดยชอบ กรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าคดีนี้มีการสอบ

สวนตามกระบวนการโดยชอบแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดี กรณีจึงไม่มีเหตุให้ต้องวินิจฉัยประเด็นปัญหาอื่นอีก พิพากษายกฟ้อง”

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ศาลแขวงปทุมวันอ่านคำพิพากษาคดีที่อภิชาตถูกฟ้องในข้อหาชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน คดีนี้จำเลยรับว่าเข้าร่วมการชุมนุมคัดค้านการรัฐประหารจริงแต่ต่อสู้เรื่อง

ความชอบธรรมของคณะรัฐประหาร ศาลได้ยกเอาประเด็นอำนาจการสอบสวนของตำรวจจากกองบังคับการปราบปราม มาเป็นเหตุยกฟ้องทั้งคดี โดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นการกระทำของจำเลย

และความชอบธรรมของคณะรัฐประหารตามที่จำเลยต่อสู้

จากคำพิพากษา ในคดีไม่มารายงานตัวของสมบัติ บุญงามอนงค์ และณัฐ กับคดีชุมนุมของอภิชาต จะเห็นได้ว่า ในคดีการเมืองที่เกี่ยวข้องกับอำนาจของ คสช. โดยตรงศาลพลเรือนมีแนวโน้ม

พยายามตีความและบังคับใช้กฎหมายในทางที่ไม่ต้องให้จำเลยได้รับโทษหนักจากเหตุความขัดแย้งทางการเมือง ขณะที่คดีในข้อหาไม่มารายงานตัวและข้อหาชุมนุมทางการเมือง ที่จำเลยต่อสู้คดีใน

ศาลทหารรวมอย่างน้อย 14 คดี นับจนถึงวันครบรอบสองปีคสช. ศาลทหารก็ยังพิจารณาไม่เสร็จแม้แต่คดีเดียว จึงยังไม่มีแนวทางออกมาให้เห็นว่า ศาลทหารจะตีความกฎหมายในทางที่เป็น

ประโยชน์ต่อจำเลยเช่นเดียวกับศาลพลเรือนหรือไม่

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาของคำพิพากษาในคดีที่เกี่ยวกับเสรีภาพการแสดงออกทั้งหมดแล้ว จะเห็นว่า มีคำพิพากษาของศาลพลเรือนที่ออกมาถ่วงดุลกับอำนาจของคสช. อยู่บ้าง แต่คำพิพากษาที่ผิด

จากหลักกฎหมายชัดเจนทั้งสองคดีก็เป็นคำพิพากษาของศาลพลเรือน และแม้ในคดีมาตรา 112 ศาลทหารจะมีแนวโน้มกำหนดโทษจำคุกสูงกว่า แต่ก็มีคดีที่ศาลทหารกำหนดโทษขั้นต่ำ หรือ ให้รอ

ลงอาญา ขณะที่ศาลพลเรือนเคยกำหนดโทษจำคุกสูงถึง 9 ปี ต่อการกระทำ 1 กรรม ดังนั้น ในภาพรวมจึงยังสรุปไม่ได้อย่างชัดเจนว่าศาลพลเรือนจะพิพากษาคดีไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่จำเลย

มากกว่าศาลทหาร

ตลอดสองปีในยุคคสช. มีการจับกุมประชาชนและดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองแล้วอย่างน้อย 106 คดี เป็นคดีที่ศาลทหาร 81 คดี และเป็นคดีที่ศาลพลเรือน 25 คดี ใน

จำนวนนี้ศาลมีคำพิพากษาแล้ว 45 คดี  คดีในศาลทหารที่จำเลยปฏิเสธและต่อสู้คดีจนถึงปัจจุบันศาลทหารมีคำพิพากษาไปแล้วเพียง 1 คดี

ดูตารางการตั้งข้อหาและดำเนินคดีทางการเมือง ในยุคคสช. ทั้งหมด คลิกที่นี่
//////////////
24 เดือน คสช.: อำนาจทหารเหนือระบบยุติธรรม เมื่อทหารทำตัวเป็นผู้คุม
โดย ilaw-freedom เมื่อ 20 พฤษภาคม 2016 10:43
ตั้งแต่เหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 เรือนจำพิเศษกรุงเทพและเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ (เรือนจำพลตำรวจบางเขน) กลายเป็น "บ้าน" หลังใหม่ของจำเลยที่ถูกดำเนินคดีจากการเข้าร่วมการชุมนุม

ทางการเมืองในปี 2553 ทั้งญาติและกลุ่มผู้มีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกันต่างแวะเวียนมาเยี่ยมผู้ต้องขังคดีการเมืองที่เรือนจำเป็นจำนวนมาก บางครั้งก็เป็นการมาเยี่ยมตามปกติ บางครั้งก็มีการจัด

กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ เช่น กิจกรรมฉลองวันเปลี่ยนแปลงการปกครองกับนักโทษการเมือง ทำให้พื้นที่หน้าเรือนจำกลายเป็นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือพบปะสังสรรค์ยามที่ไม่มีการ

ชุมนุมทางการเมืองบนท้องถนน

โดยปกติแต่ละเรือนจำจะมีกฎระเบียบจำกัดจำนวนญาติที่เข้าเยี่ยมผู้ต้องขังในแต่ละวัน แตกต่างกันไปตามแต่เงื่อนไขด้านสถานที่และจำนวนเจ้าหน้าที่ของเรือนจำแต่ละแห่ง เช่น เรือนจำพิเศษ

มีนบุรีให้พบญาติได้ไม่เกินสามคนต่อการเยี่ยมหนึ่งครั้ง หรือที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพไม่เกินห้าคนต่อหนึ่งครั้ง แต่เมื่อมีผู้มาเยี่ยมนักโทษการเมืองเป็นจำนวนมาก บางครั้งเรือนจำพิเศษกรุงเทพก็

อนุโลมให้ผู้ต้องขังออกมาพร้อมกันหลายคนในคราวเดียวและให้ผู้มาเยี่ยมเข้าเยี่ยมพร้อมกันโดยไม่จำกัดจำนวน นอกจากนี้ก็ยังผ่อนคลายระเบียบเรื่องการฝากเงินฝากของ ทำให้กลุ่มญาติผู้ต้องขัง

และเพื่อนร่วมอุดมการณ์มีโอกาสฝากเงินหรือสิ่งของเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีการเมืองร่วมกัน

กฎใหม่เรือนจำหลังรัฐประหาร

หลังการยึดอำนาจ มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในเรือนจำทั้งในแง่นโยบายและผู้บริหารองค์กร ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม คสช.ออกคำสั่งฉบับที่ 84/2557 เปลี่ยนตัวอธิบดีกรมราชทัณฑ์ซึ่ง

เป็นผู้รับผิดชอบเรือนจำ หลังจากนั้นกฎระเบียบในเรือนจำพิเศษกรุงเทพเริ่มเข้มงวดขึ้น จากคำบอกเล่าของสุกัญญา ภรรยาของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องขังคดี 112 พบว่าสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนหลัง

การรัฐประหารคือการที่ผู้ต้องขังแต่ละคนจะต้องส่งชื่อผู้ที่จะมาเข้าเยี่ยมไม่เกินสิบคนให้กับเจ้าหน้าที่ทำให้บุคคลอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในรายชื่อจะเข้าเยี่ยมไม่ได้

"กฎสิบคน" จริงๆแล้วไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นส่วนหนึ่งของข้อบังคับกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการเยี่ยมติดต่อ ของบุคคลภายนอกต่อผู้ต้องขัง และการเข้าดูกิจการ หรือติดต่อการงานกับเรือนจำ พ.ศ. 2555

ข้อ 8. ที่กำหนดว่า เพื่อความมั่นคงของเรือนจำ ให้ผู้ต้องขังแจ้งชื่อบุคคลภายนอกไม่เกินสิบคน ที่จะให้เข้ามาพบหรือติดต่อกับตนในเรือนจำ หากจะแก้ไขรายชื่อก็ให้แจ้งล่วงหน้าสามสิบวัน

สถานการณ์ก่อนหน้านี้ที่มีนักโทษการเมืองอยู่ในเรือนจำจำนวนมาก เรือนจำพิเศษกรุงเทพเคยผ่อนคลายความเข้มงวดของกฎระเบียบข้อนี้ โดยอนุญาตให้ผู้ต้องขังที่ถูกจับในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการ

ชุมนุมปี 2553 รวมทั้งผู้ต้องขังคดี 112 ออกมาในห้องเยี่ยมพร้อมกันคราวละหลายๆ คนและไม่จำกัดรายชื่อผู้เข้าเยี่ยม เป็นโอกาสให้ผู้มาเยี่ยมทำกิจกรรมให้กำลังใจผู้ต้องขังได้ แต่ในยุคของรัฐบาล

คสช. “กฎสิบคน” ถูกนำมาบังคับใช้อย่างเคร่งครัด กิจกรรมเยี่ยมให้กำลังใจผู้ต้องขังทางการเมืองจึงต้องยุติไปโดยปริยาย

นอกจาก "กฎสิบคน" แล้ว กฎระเบียบเรื่องการฝากเงินให้ผู้ต้องขังก็เข้มงวดขึ้นด้วย โดยก่อนการรัฐประหาร ผู้ฝากเงินเพียงแต่กรอกแบบฟอร์มยื่นแก่เจ้าหน้าที่ก็สามารถฝากเงินได้โดยไม่จำเป็นต้อง

เป็นญาติกัน ผู้ต้องขังบางคนจึงอาจให้ญาติของตัวเองช่วยฝากเงินให้เพื่อนผู้ต้องขังที่ไม่มีญาติได้อยู่บ้าง หรือกลุ่มคนที่คิดเห็นทางการเมืองเหมือนกันก็อาจรวมตัวกันฝากเงินช่วยผู้ต้องขังคดีการ

เมืองได้ แต่ในยุค คสช. การฝากเงินให้ผู้ต้องขังก็เข้มงวดขึ้นโดยกำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิเยี่ยมผู้ต้องขังเท่านั้นจึงจะมีสิทธิฝากเงิน นอกจากนี้ผู้ไม่ประสงค์นามคนหนึ่งให้ข้อมูลว่า เธอและคนอีกจำนวน

หนึ่งมีชื่อในคำสั่งเรียกรายงานตัวของ คสช. เพราะเหตุว่าเคยฝากเงินและร่วมทำกิจกรรมเยี่ยมนักโทษการเมืองที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

นอกจากความเปลี่ยนแปลงสองเรื่องข้างต้น ก็มีความเปลี่ยนแปลงที่น่ากังวลในเรื่องอื่นๆ เช่น สุกัญญาเล่าเรื่องที่ได้รับฟังมาจากสามีว่า ก่อนการรัฐประหารผู้ต้องขังยังพอได้อ่านหนังสือพิมพ์เก่าบ้าง

แต่หลังการรัฐประหารแม้แต่หนังสือพิมพ์เก่าก็ไม่มีสิทธิอ่าน และเวลาผู้ต้องขังคดีการเมืองออกมาพบญาติ จะถูกจัดให้อยู่ในห้องเยี่ยมเฉพาะซึ่งน่าจะมีการติดเครื่องดักฟังทำให้ญาติและตัวผู้ต้องขัง

ไม่อาจพูดคุยกันได้อย่างอิสระ

478


ปิดคุกการเมืองหลักสี่ สลายพื้นกิจกรรมเสื้อแดง

เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ถูกจัดตั้ง ขึ้นตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรม ในปี 2554 เพื่อใช้เป็นสถานที่คุมขังผู้ที่ทำความผิดที่เกี่ยวเนื่องอันกับเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองปี 2553 การย้ายผู้ต้องขังซึ่งเป็นคน

เสื้อแดงมารวมกันที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ทำให้ญาติผู้ต้องขัง และนักกิจกรรมเสื้อแดงเดินทางมาเยี่ยมผู้ต้องขัง และทำกิจกรรมร่วมกันอยู่บ่อยๆ ในช่วงเทศกาลสำคัญ

เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ทำหน้าที่เป็นสถานที่คุมขังนักโทษการเมืองและที่นัดพบของนักกิจกรรมเสื้อแดงจากปี 2554 เรื่อยมาจนถึงการรัฐประหารปี 2557 ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่ออธิบดี

กรมราชทัณฑ์คนใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคสช. ลงนามคำสั่งย้ายผู้ต้องขัง 22 คน ที่อยู่ในเรือนจำแห่งนี้ไปคุมขังต่อที่เรือนจำตามภูมิลำเนาโดยให้เหตุผลว่าเป็นไปเพื่อประหยัดงบประมาณ ต่อมาใน

เดือนพฤศจิกายน พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.กระทรวงยุติธรรม ออกคำสั่งยุบเลิกเรือนจำชั่วคราวหลักสี่โดยให้เหตุผลว่ากองบัญชาการตำรวจสันติบาล ต้องการใช้พื้นที่ดังกล่าว

เปิดเรือนจำในค่ายทหาร จิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายอำนาจทหารเหนือระบบยุติธรรม

การจัดตั้งเรือนจำชั่วคราวในค่ายทหาร เป็นอีกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจซึ่งเกิดขึ้นในรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เรือนจำชั่วคราว แขวงถนนนครชัยศรี ถูกจัดตั้งโดยคำสั่งของพล.อ.ไพบูลย์

คุ้มฉายา รมว.กระทรวงยุติธรรม ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2558 ซึ่งเป็นเรือนจำที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) ค่ายทหารที่มักใช้คุมขังบุคคลที่ถูกจับด้วยเหตุทางการเมือง เรือน

จำชั่วคราวแห่งนี้ถูกตั้งขึ้นโดยเหตุผลว่าเพื่อใช้ควบคุมตัวผู้ต้องขังคดีความมั่นคงซึ่งไม่ควรควบคุมปะปนกับผู้ต้องขังอื่น ชายชาวอุยกูร์สองคนซึ่งเป็นจำเลยคดีระเบิดราชประสงค์ เป็นผู้ต้องขังชุด

แรกของเรือนจำแห่งนี้


474

เรือนจำชั่วคราว มทบ.11 ได้ถูกใช้เป็นที่คุมขังผู้ต้องหาและจำเลยคดีความมั่นคงคนสำคัญอีกหลายคนรวมทั้ง พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา, สุริยัน สุจริตพลวงศ์ หรือหมอหยอง และจิรวงศ์ วัฒนเท

วาศิลป์ เลขาของสุริยันซึ่งถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 จากการแอบอ้างสถาบันฯ โดยพ.ต.ต.ปรากรมและสุริยันเสียชีวิตระหว่างถูกฝากขังในเรือนจำมทบ.11 ปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือน

พฤศจิกายนตามลำดับ ซึ่งปรากฏว่าญาติของทั้งพ.ต.ต.ปรากรม และสุริยันต์ ต่างไม่ติดใจการตายและนำศพไปประกอบพิธีอย่างรวดเร็วโดยยังไม่มีรายงานว่ามีการไต่สวนเพื่อหาสาเหตุการตายโดย

ศาลตามที่กฎหมายกำหนดแต่อย่างใด นอกจากผู้ต้องขังห้าคนข้างต้น เท่าที่ยืนยันได้ยังมีผู้ต้องขังคดี 112 ป่วน "Bike for Dad" อีกอย่างน้อยห้าคนที่เคยมาอยู่ในเรือนจำแห่งนี้ระยะหนึ่งแต่ภายหลังถูก

ย้ายไปเรือนจำอื่น

ชูชาติ ทนายของจำเลยคดีระเบิดราชประสงค์เล่าถึงอุปสรรคในการคุยกับลูกความในเรือนจำ มทบ.11 ให้ฟังว่า เมื่อทนายเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง ระหว่างการสนทนาจะมีเจ้าหน้าที่ทหารมานั่งใกล้ๆ เพื่อ

จดบันทึกบทสนทนารวมทั้งมีการอัดเสียงไว้ นอกจากนี้ทนายยังต้องส่งคำถามที่จะถามลูกความให้เจ้าหน้าที่ดูก่อนด้วยซึ่งเจ้าหน้าที่อาจตัดคำถามได้ ขณะที่เบญจรัตน์ ทนายของคดีป่วน " Bike for

Dad " ก็เล่าไม่ต่างกันว่า ระหว่างการพูดคุยจะมีทหารมาอยู่ใกล้เสมอซึ่งขัดกับหลักการที่ทนายและลูกความมีสิทธิปรึกษากันอย่างเป็นส่วนตัว

การจัดตั้งเรือนจำในค่ายทหาร ทำให้ทหารเข้ามาอยู่ในกระบวนการยุติธรรมแบบครบวงจรหลังจากก่อนหน้านี้ มีคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ให้อำนาจทหารเรียกบุคคลไปสอบถามได้ไม่เกิน 7

วันก่อนชั้นสอบสวนและให้เป็นพนักงานสอบสวนในชั้นสอบสวนด้วย ขณะที่ชั้นพิจารณาก็มีการประกาศให้ศาลทหารพิจารณาคดีพลเรือนในความผิดบางประเภท ก่อนที่ในขั้นสุดท้ายจะมีการจัด

ตั้งเรือนจำชั่วคราวในค่ายทหาร เพื่อควบคุมตัวจำเลยส่วนหนึ่งระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งคำบอกเล่าของทนายและข่าวการเสียชีวิตของผู้ต้องหาคดี 112 จำนวนสองคนที่ยังไม่มีการไต่สวนเพื่อหา

สาเหตุที่แท้จริงโดยศาล ก็ทำให้เรือนจำชั่วคราว มทบ. 11 กลายเป็นหลุมดำในกระบวนการยุติธรรมยุคคสช.ที่พร้อมจะเปิดรับแขกรายใหม่ได้ทุกเมื่อ  

ประกันตัวศาลทหาร เข้าเรือนจำก่อนปล่อยทีหลัง

โดยปกติกระบวนการของศาลพลเรือน เมื่อผู้ต้องหาถูกนำตัวมาศาลเพื่อขออำนาจศาลฝากขังครั้งแรก ผู้ต้องหาจะถูกนำตัวไปไว้ที่ห้องควบคุมชั่วคราวใต้ถุนศาล หากศาลอนุญาตให้ประกันตัวก็จะ

ถูกปล่อยตัวจากศาลกลับบ้านทันที แต่หากไม่ได้ประกันก็จะถูกส่งไปควบคุมตัวที่เรือนจำ
ในยุครัฐบาลคสช. เท่าที่เก็บข้อมูลไว้มีพลเรือนอย่างน้อย 167 คน ต้องขึ้นศาลทหารในคดีการเมือง แต่ศาลทหารมีกฎระเบียบต่างจากศาลพลเรือน เมื่อผู้ต้องหาถูกนำตัวมาฝากขังกับศาลทหารแม้จะ

ยื่นประกันตัวก็จะถูกส่งตัวไปกักที่เรือนจำระหว่างรอคำสั่งและต้องผ่านกระบวนการต่างๆ เฉกเช่นผู้ต้องขังปกติ

จิตรา คชเดช นักกิจกรรมด้านแรงงานซึ่งตกเป็นจำเลยในคดีฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวกับคสช.เล่าถึงกระบวนการเมื่อถูกส่งเข้าเรือนจำว่า เมื่อเข้าไปถึงก็ต้องถอดเสื้อผ้าให้ผู้คุมตรวจร่างกายและถูก

ตรวจช่องคลอดเพื่อหายาเสพติด นอกจากนี้ระหว่างทำประวัติก็ถูกห้ามไม่ให้เดินแต่ต้องใช้วิธีถัดก้นไป
“กลไกที่เข้าเรือนจำหรือทัณฑสถานหญิงฯ นั้น กระทำกับเราเหมือนนักโทษ เรียกได้ว่ามีกระบวนการทำให้กลายเป็นนักโทษ โดยปฏิบัติกับเราเท่ากับนักโทษที่ถูกศาลสั่งจำคุกในคดีอาญาทั่วไป

แล้ว” แม้ศาลทหารจะออกคำสั่งให้ประกันตัวจิตราตั้งแต่เวลา 16.20 น. แต่กว่าจิตราจะออกจากทัณฑสถานหญิงกลางก็ล่วงไปถึง 21.05 น.แล้ว

กรกนก ผู้ต้องหาคดีนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ เป็นอีกคนหนึ่งที่ออกมาเปิดเผยถึงการตรวจภายในด้วยขาหยั่ง การบังคับให้ถอดเสื้อผ้าต่อหน้าคนอื่น และการปฏิบัติภายในทัณฑสถานหญิงกลางจน

เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม จนในที่สุด สิริพร ชูติกุลัง ผอ.ทัณฑสถานหญิงกลาง ได้กล่าวขอโทษกรกนก ระหว่างเวทีเสวนาซึ่งจัดที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เมื่อวันที่

10 พฤษภาคม 2559 สิริพรระบุว่า หลังจากนี้จะมีการเลิกใช้ขาหยั่งและกำชับให้การตรวจค้นตัวเป็นไปตามหลักแบงค็อก รูลส์ หรือ ข้อกำหนดของสหประชาชาติสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง

ในเรือนจำ
/////////////////
"วันหนึ่งกำลังประชุมเตรียมจะจัดงานกัน มีโทรศัพท์เข้ามาจากทหาร ให้เราชี้แจงว่างานนี้มีที่มาที่ไปยังไง พอชี้แจงไปเสร็จปุ๊บ เย็นวันนั้นเลย เขาก็โทรกลับมาประมาณว่า ดูแล้วเนี่ย เขาลำบากใจที่

จะให้มีงานนี้เกิดขึ้นอยากจะให้เลื่อนไปก่อน"

ปกรณ์ อารีกุล Co-Producer งานผืนดินเราที่ดินใคร เล่าให้ฟังถึงวินาทีที่เจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาพูดคุย และท้ายที่สุดงานที่ปกรณ์เป็นผู้ดูแลก็ไม่ได้จัด

475

การจัดกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นงานเสวนา การจัดนิทรรศการ หรือแม้แต่งานศิลปะ ต่างก็ถูกจับตาโดยฝ่ายความมั่นคงและบ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ทหารมักจะอ้างเหตุผลในการปิดกั้นกิจกรรมว่า พวกเขา

ไม่สบายใจต่อกิจกรรมเพราะอาจจะมีเนื้อหาที่เป็นภัยต่อความมั่นคง หรือก่อให้เกิดความขัดแย้ง เป็นต้น

กิจกรรมใดที่ไม่ขออนุญาต มีโอกาสไม่ได้จัดพร้อมกับถูกตั้งข้อหา

ในยุคของคสช. รัฐสร้างเงื่อนไขการทำกิจกรรมขึ้นมาใหม่ โดยพยายามบีบให้การจัดกิจกรรมเสวนาสาธารณะไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรงหรือไม่ก็ตาม ต้องทำหนังสือชี้แจงรายละเอียด

และขออนุญาตจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก่อน ซึ่งในหนังสือขออนุญาตต้องระบุ รายละเอียดการจัดงาน ว่ากิจกรรมในงานมีอะไรบ้าง ระบบที่เกิดขึ้นนี้ช่วงแรกไม่มีกฎหมายใดสั่ง

ให้ผู้จัดงานต้องขออนุญาตก่อน แต่ช่วงหลังคสช.อ้างคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองยกเว้นได้รับอนุญาต แต่การขออนุญาตก่อนก็ใช่ว่าจะได้จัดงานเสมอไป

ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มนปช.จะจัดงานแถลงข่าวเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ โดย จตุพร พรหมพันธ์ ประธาน นปช. ได้มอบหมายให้ ธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ โฆษก นปช. และสมหวัง อัสราษี แกนนำ นปช. ยื่น

หนังสือขออนุญาตคสช.แถลงข่าวเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล แต่ คสช.ไม่อนุญาต โดยอ้างเหตุว่า จำเป็นต้องยึดถือแนวทาง

เดิมที่ได้ขอความร่วมมือไว้ โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมใดๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการสร้างความสับสนหรือมีผลต่อแนวทางการเสริมสร้างความสามัคคีและแนวทางการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือที่อาจ

ไปกระทบต่อแนวทางการเดินตามโรดแมป

มิใช่แค่การปิดกั้นแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีบางกิจกรรมที่ผู้จัดถูกเรียกเข้าพบและถูกตั้งข้อหา เช่น ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ กับพวก ที่ถูกตั้งข้อหาร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคน

ขึ้นไป จากการจัดงานแถลงข่าวเรื่องมหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร

“แก้ไข หรือ ยกเลิก” ทางเลือกของผู้จัดกิจกรรมภายใต้รัฐบาลทหาร

“เขาไม่สบายใจกับแขกรับเชิญบางคน ก็อยากจะให้เราถอดคนนั้นออก”
“เราเสียหาย เราพีอาร์ไปแล้ว เราก็ต้องมีเหตุผลอธิบายกับสาธารณะ เราคงถอดไม่ได้ เขาก็เลยบอกว่า ถ้าถอดไม่ได้ก็คงจัดไม่ได้”
“เขาก็อยากให้เราจัดได้ แต่ในเมื่อเราไม่ยอมที่จะเปลี่ยนแปลงตัววิทยากร มันก็ต้องจบแบบนี้”

ปกรณ์ อารีกุล บอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาแทรกแซงกิจกรรม “ผืนดินเราที่ดินใคร” ที่เขาเป็นผู้ประสานงาน และท้ายที่สุดกิจกรรมของเขาก็ถูกสั่งให้ยกเลิก ทำให้ผู้จัดงานบางส่วน

ถูกพาตัวไปพูดคุยที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามแม้จะยังไม่มีการตั้งข้อหาก็ตาม

ทั้งนี้ไม่ใช่แค่วิทยากรที่ทำให้ทหารต้องเข้ามาเซ็นเซอร์ แม้แต่สิ่งของบางอย่างในนิทรรศการ ก็เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ไม่สบายใจ อย่างเช่น งานปล่อยปีก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ใน

โครงการของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ได้ปล่อยของหรือโชว์ผลงานและสื่อสารประเด็นทางสังคมที่ได้เรียนรู้มา แต่ทว่า หนึ่งในนิทรรศการที่ทหารไม่สบายใจก็คือ “นิทรรศการห้องส้วม” ซึ่งสื่อ

สารถึงบางเรื่องที่ไม่สามารถพูดในที่สาธารณะได้ เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร หรือเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ

ศักดิ์สินี เอมะศิริ หรือ หญิง  เล่าว่า นิทรรศการส้วมเริ่มจัดตั้งแต่วันแรก แต่วันที่สองมีการใส่ข้อมูลเพิ่มทหารจึงรู้สึกว่าเนื้อหาค่อนข้าง "ชี้เป้า" หญิงก็บอกว่าจะให้คนทำนิทรรศการเอาออกเองก็รู้สึก

ไม่ดี อยากให้ทหารเป็นคนมาบอกเองว่าจะให้เอาอันไหนออกบ้าง แต่ทหารบอกว่าไม่ออยากเข้ามาเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงเพราะเดี๋ยวเป็นข่าวแล้วจะไม่ดี ทางผู้จัดเลยเสนอทางเลือกใหม่ว่าจะรื้อห้อง

น้ำออกทั้งหมด ทหารบอกว่าจะรื้อทั้งห้องน้ำเลยก็ได้แต่ต้องไม่ทำข่าว ไม่ให้เป็นประเด็นขึ้นมาอีก

“ถ้าไม่คิดจะแก้ไข ก็คงจะไม่ได้จัด” นี่คือทางเลือกที่รัฐหยิบยื่นให้ในวันที่เสรีภาพมีจำกัด

มหาวิทยาลัยหรือค่ายทหาร? การกดดันเจ้าของสถานที่ไม่ให้อำนวยความสะดวก

พื้นที่มหาวิทยาลัยถูกคาดหมายว่า จะเป็นพื้นที่ที่มีเสรีภาพในการแสดงออกโดยเฉพาะในเชิงวิชาการ แต่ทว่า ภายหลังการรัฐประหาร มหาวิทยาลัยมีความสุ่มเสี่ยงเป็นอันดับต้นๆ ที่จะถูกปิดกิจกรรม

และบางกิจกรรม มหาวิทยาลัยก็ให้ความร่วมมือกับทหารในการปิดกั้น-แทรกแซงเสียเอง

ตัวอย่างเช่น งานเสวนา “จากทุ่งบางเขนสู่ราชดำเนิน: เกษตรศาสตร์กับการเมืองไทย” ที่จัดโดยกลุ่มเสรีนนทรี กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ และขบวนการประชาธิปไตยใหม่ โดยใช้ลานกิจกรรมหน้าตึก 8

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที่จัดงาน แต่ก่อนเริ่มงาน เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยแจ้งผู้จัดว่า ไม่ให้จัดงานเพราะยังไม่ได้ขออนุญาตกองกิจการนิสิต ขณะที่เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งเข้ามาเก็บ

เก้าอี้ที่เตรียมไว้ให้ผู้ฟังเสวนาไป ทางผู้จัดจึงทำกิจกรรมต่อโดยนั่งกับพื้นแทน

หลังการเสวนาเริ่มไปได้ครู่หนึ่ง ก็มีการตัดไฟในพื้นที่ทำให้บริเวณที่จัดกิจกรรมตกอยู่ในความมืด ขณะที่เครื่องเสียงก็ใช้ไม่ได้ ผู้จัดกิจกรรมจึงแก้ปัญหาด้วยการนำเทียนมาจุดและดำเนินกิจกรรม

ต่อไปจนถึงเวลา 19.00 น.

476

ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีหลายกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยมีท่าทีจะไม่ยินดีจะอำนวยความสะดวก เช่น เสวนา "ลายพรางโกงชาติ" ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ของขบวนการประชาธิปไตยใหม่ และกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ทั้งนี้ในงานมีทั้งการจัดแสดงนิทรรศการและการเสวนาในหัวข้อ "จอมพลสฤษดิ์ และมรดกที่ประกอบสร้างจากยุค

พัฒนา" แต่ก็มีเจ้าหน้าที่เข้ามาเจรจาขอให้ผู้จัดย้ายนิทรรศการบางส่วน ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อยุทโธปกรณ์และอุทยานราชภักดิ์ออกไป เหลือไว้แต่นิทรรศการเกี่ยวกับจอมพลสฤษดิ์ แม้ผู้จัดจะยอมให้

ความร่วมมือ แต่เมื่อกิจกรรมดำเนินไปจนถึงเวลาประมาณ 18.30 น. ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยตัดไฟบริเวณหอประชุม ทำให้ผู้จัดต้องออกมาทำกิจกรรมต่อด้านนอกโดยใช้โทรโข่งแทน

"สิทธิ" และ "รัฐธรรมนูญ" คือคำอ่อนไหวที่เจ้าหน้าที่ไม่อยากให้ใช้จัดกิจกรรม

ในช่วงแรกหลังการรัฐประหาร การจัดงานเสวนาที่มีคำว่า “สิทธิ” “เสรีภาพ” หรือ “สิทธิมนุษยชน” มักจะเป็นรายชื่องานต้นๆ ที่ถูกเจ้าหน้าที่เข้าไปสั่งห้ามหรือแทรกแซง ซึ่งจากการเก็บข้อมูล พบว่า

สองปีในยุคของคสช.มีกิจกรรมที่ใช้คำว่า “สิทธิ” “เสรีภาพ” หรือ “สิทธิมนุษยชน”  ถูกปิดกั้นหรือแทรกแซงอย่างน้อย 9 กิจกรรม

แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนคนก็เปลี่ยน คำที่อ่อนไหวสำหรับทหารไม่แพ้คำว่าสิทธิเสรีภาพก็คือคำว่า “รัฐธรรมนูญ” โดยลักษณะเริ่มเห็นชัดภายหลังรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยร่างแรกได้ถูกเผยแพร่สู่สาย

ตาประชาชนในช่วงปลายเดือนมกราคม 2559 และนำไปสู่การถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขว้าง ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องหันมาจับตาเวทีเสวนาที่มีคำว่ารัฐธรรมนูญมากขึ้น

อย่างเช่น ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2559 พบว่า มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างน้อย 5 งานถูกปิด คือ กิจกรรมวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญของนักวิชาการกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ถูกห้ามจัด,

กิจกรรมเสวนาร่างรัฐธรรมนูญและการมีส่วนร่วมของประชาชนของกลุ่มผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (วีมูฟ) ถูกห้ามจัดกลางคัน, กิจกรรมรณรงค์โหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของกลุ่มเส้นทางสีแดง

ถูกขอให้ยุติ, นอกจากนี้กิจกรรมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของเว็บไซต์ประชามติก็ถูกแทรกแซงจนต้องย้ายสถานที่ถึงสองงานในวันเดียวกัน ทั้งนี้ รัฐบาลและคสช.เคยออกมาเรียกร้องให้หลายฝ่ายแสดง

ความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างสร้างสรรค์ ภายใต้วิธีการที่เหมาะสม หากพบว่าผู้ใดบิดเบือนรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญ คสช.จะเชิญมาพูดคุยทำความเข้าใจ เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการ

ปรองดอง

ตลอดสองปีในยุคคสช. มีกิจกรรมสาธารณะที่ถูกปิดกั้นหรือแทรกแซงโดยเจ้าหน้าที่รัฐอย่างน้อย 130 ครั้ง ในจำนวนนี้เป็นกิจกรรมเสวนาสาธารณะอย่างน้อย 76 ครั้ง และเป็นการกิจกรรมที่ไม่ใช่

เรื่องสถานการณ์การเมือง การต่อต้านคสช.หรือนโยบายของคสช.อย่างน้อย 20 ครั้ง

พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ในฐานะเครื่องมือชิ้นใหม่ ในการข่มขู่ผู้จัดกิจกรรม

นอกจากการห้ามแสดงความคิดเห็นด้วยการอ้างอำนาจตามประกาศและคำสั่ง คสช.แล้ว พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ที่ออกมาในเดือนกรกฎาคม 2558 ก็เป็นเครื่องมืออีกชิ้นที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่น

คงหยิบมาใช้เพื่อข่มขู่คนจัดกิจกรรม เช่น วันที่ 25 สิงหาคม 2558 พ.อ.อำนวย จุลโนนยาง รองผู้บัญชาการจังหวัดทหารบกเลย ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดเลย มีคำสั่งห้ามไม่ให้มูลนิธิอาสา

สมัครเพื่อสังคม (มอส.) จัดค่าย “เยาวชนฮักบ้านเจ้าของ” เพราะเกรงว่า จะมีการปลุกปั่นเยาวชนให้ต่อต้านอำนาจรัฐ และยุยงให้ชาวบ้านแตกแยกกัน และขู่ว่าหากทีมงานค่ายยังดื้อรั้นไม่ยอมยกเลิก

การจัดค่ายเยาวชนฯ จะใช้กฎหมายห้ามชุมนุมจัดการกับทีมงานที่เข้ามามาจัดค่ายครั้งนี้ เพราะถือเป็นภัยต่อความมั่นคง

อีกกรณีตัวอย่าง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 สำนักข่าวสิ่งแวดล้อมรายงานว่า สน.นางเลิ้ง ใช้อำนาจตามพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ สั่งไม่อนุญาตให้เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ชุมนุมคัดค้านการออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3 และ 4/2559 เรื่องการยกเว้นผังเมืองในกิจการบางประเภท และในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ

ดูรายงานปรากฏการณ์ ใช้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ "ขู่" ประชาชนห้ามชุมนุมทุกประเภท ได้ที่ http://ilaw.or.th/node/3991


เสรีภาพสื่อและอินเทอร์เน็ตในวันที่ไม่มีเสรี

“เสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตประเทศไทย ‘ไม่เสรี’ (Not Free)” คือสิ่งที่อยู่ในรายงานเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตที่ทาง “ฟรีดอมเฮาส์ (Freedom House)” องค์กรภาคเอกชนทำวิจัยด้านประชาธิปไตยและ

เสรีภาพทางการเมืองเป็นผู้จัดทำและเผยแพร่

จากรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดย คณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) พบว่า ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2557

ถึง 12 มีนาคม 2558 มีจำนวนยูอาร์แอลที่ถูกระงับประมาณ 2,308 ยูอาร์แอลเนื่องจากมีเนื้อหาที่อาจจะผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อีกทั้งยังมีจำนวนยูอาร์แอลที่กระทรวงไอซีทีส่งให้

ฝ่ายกฎหมายดำเนินการอยู่อีกประมาณ 3,604 ยูอาร์แอล และทั้งสองตัวเลขเป็นแค่จำนวนอย่างน้อยที่กระทรวงไอซีทีเปิดเผยออกมา

รายงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2557 ของกระทรวงไอซีที ยังระบุว่า รัฐบาลไทยได้ขอความร่วมมือและประสานงานไปยังเว็บไซต์ยูทูปอีกด้วย มิใช่แค่นั้น มีรายงานจากประชาไทว่า ในวันที่ 5

พฤษภาคม 2559 เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'กูkult' ซึ่งมีผู้กดไลค์หลายหมื่น และมักมีการโพสต์ภาพเชิงล้อเลียนเสียดสีสังคมและการเมือง รวมทั้งสถาบันกษัตริย์ ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ และเฟซบุ๊กก็ชี้

แจ้งว่า "ไม่มีเนื้อหาอยู่ในไทย คุณไม่สามารถดูเนื้อหานี้ได้เนื่องจากกฎหมายในท้องถิ่นจำกัดความสามารถของเราในการแสดงเนื้อหานั้น หากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ศูนย์ช่วยเหลือ"

นอกจากพื้นที่การแสดงออกในโลกออนไลน์แล้ว พื้นที่ของสื่อมวลชนเองก็ได้รับผลกระทบภายหลังการรัฐประหารไม่แพ้กัน วิธีการ และวิธีคิดในการกำกับดูแลสื่อโทรทัศน์ในประเทศไทยกำลัง

เปลี่ยนไปภายใต้ยุค คสช. เริ่มตั้งแต่การออกประกาศอย่างน้อย 10 ฉบับ การตั้งคณะกรรมการพิเศษติดตามตรวจสอบเนื้อหา และการส่งเรื่องผ่าน กสทช.ให้ใช้อำนาจแทน

กสทช. ในฐานะ ‘ผู้จัดระเบียบสื่อ’ ให้คสช.

อำนาจที่ กสทช. หยิบมาใช้ในการจัดการกับสื่อที่ออกนอกลู่นอกทางจากที่รัฐตีกรอบก็คือ มาตรา 37 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ประกอบ

กิจการฯ) ซึ่งกำหนดว่า สื่อใดๆ จะนำเสนอเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบ

เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรงไม่ได้ และ

หากมีการละเลยและปล่อยให้มีการนำเสนอข้อมูล ที่เข้าข่ายความผิดข้างต้น ก็จะเป็นผลให้เจ้าของสถานีถูกปรับ ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้

จากการติดตามข้อมูลดังกล่าวตั้งแต่  22 พฤษภาคม 2557 จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 พบว่า มีอย่างน้อย 18 กรณี จาก 12 สถานี ที่ถูกเรียกให้เข้าสู่กระบวนการกำกับเนื้อหาโดยรัฐ โดยมีกรณี

ตัวอย่างเช่น การสั่งปิดพีซทีวี  เพราะมีบางรายการ(http://freedom.ilaw.or.th/case/665) ที่ละเมิดข้อตกลงใน MoU การตรวจสอบไทยพีบีเอส เนื่องจากเสนอสกู๊ป “กลุ่มดาวดิน” เป็นต้น

 ‘ฟ้าให้ทีวี’ จุดเริ่มต้นการใช้อำนาจนอกระบบกับสื่อ

สถานีวิทยุโทรทัศน์ ฟ้าให้ทีวี (Fah Hai TV) ที่มีพรทิพา หรือ ดีเจฟ้า เป็นเจ้าของ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ของสถานี โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 หลัง

ตรวจสอบพบว่า รายการทีวีรายการหนึ่งที่ออกอากาศทางสถานี อาจมีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน

เหตุการณ์นี้นับเป็นครั้งแรกที่ทหารใช้อำนาจเข้ามาจัดการสื่อเอง โดยผ่านกลไก กสทช. นอกจากนี้ ภายหลังตรวจค้น ยึดอุปกรณ์ของสถานีแล้ว เจ้าหน้าที่ทหารยังนำบุคคลห้าคนที่เกี่ยวข้องกับ

สถานีไปแจ้งความ ที่กองบังคับการปราบปราม ข้อหา ร่วมกันประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง ตาม

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 อีกด้วย

บรรยากาศทางการเมืองที่บีบให้ต้องเซนเซอร์ตัวเอง

ภายใต้เสรีภาพที่มีอยู่อย่างจำกัด สื่อมวลชนจึงจำเป็นจะต้องระแวดระวังการแสดงออกของตัวเองเพื่อไม่ให้ไปขวางหูขวางตาของผู้มีอำนาจ ดังนั้นการเลือกนำเสนอหรือการไม่นำเสนอข้อมูลบาง

ส่วนจึงเกิดขึ้น หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เซนเซอร์ตัวเอง”

ปรากฏการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งภายหลังการรัฐประหาร อย่างเช่น ผู้พิมพ์ในไทยการถอดบทความหน้าแรกของ International New York Times ถึงสองครั้ง โดยในครั้งแรกคือวันที่ 1 ธันวาคม

2558 ซึ่งเขียนโดย โทมัส ฟุลเลอร์ ผู้สื่อข่าวของนิวยอร์คไทมส์ ในหัวข้อ "เศรษฐกิจและกำลังใจของคนไทยกำลังตกต่ำ" และครั้งที่สองคือวันที่ 4 ธันวาคม 2558 โดยบทความทั้งสองมีการพูดถึง

สถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้พื้นที่บทความดังกล่าวเหลือเพียงที่ว่างและข้อความที่ระบุว่า “บทความนี้ถูกถอดโดยผู้จัดพิมพ์ของเราในประเทศไทย โดยหนังสือพิมพ์ International New York Times

และกองบรรณาธิการ ไม่ได้มีส่วนในการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใด”

477

มิใช่แค่สื่อในต่างประเทศ ที่ผ่านมาก็มีสื่อไทยหลายแห่งที่เลือกจะเซนเซอร์ตัวเอง โดยหนึ่งในนั้นก็คือเว็บไซต์ข่าวภาษาอังกฤษ “บางกอกโพสต์” ที่เผยแพร่บทสัมภาษณ์ครั้งแรกของอดีตนายก

รัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังการรัฐประหาร แต่วันต่อมาบทสัมภาษณ์ดังกล่าวถูกลบหายไปจากเว็บไซต์ โดยวาสนา นาน่วม เจ้าของบทความดังกล่าวชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า บทความดังกล่าวไม่

ได้มาจากการให้สัมภาษณ์ของยิ่งลักษณ์ เพียงแต่เป็นการพูดคุยกันและหยิบส่วนที่เป็นเรื่องเบาๆ ว่าชีวิตในแต่ละวันเปลี่ยนไปอย่างไรมาเขียนเท่านั้น เพราะตนทราบดีว่าอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้

อยู่ในสถานะที่จะให้สัมภาษณ์ในประเด็นทางการเมืองได้

จะเห็นได้ว่า สถานะของเสรีภาพของการแสดงออก การจัดกิจกรรม สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์ กำลังถูกจัดระเบียบและปกคลุมไปด้วยความกลัว ซึ่งผลกระทบจากการปิดกั้นช่องทางเหล่านี้นอก

จากจะตัดโอกาสในการแลกเปลี่ยนถกเถียงแล้วนั้น ยังลดทอนภูมิคุ้มกันของประชาชนในการเผชิญหน้ากับความจริงภายใต้สภาวะความขัดแย้งอย่างทุกวันนี้อีกด้วย
 /////////////////
24 เดือน คสช.: อำนาจทหารเหนือระบบยุติธรรม เมื่อทหารไม่ได้คืนแต่ "ความสุข"
โดย ilaw-freedom เมื่อ 20 พฤษภาคม 2016 10:19

"จากเด็กค่อนข้างร่าเริง ยายบอกว่า ทั้งสองสาวกลายเป็นคนเงียบๆ ซึมๆ ไปมากขึ้น นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่แม่ไม่ได้อยู่บ้านอีกต่อไป"

คำบอกเล่าของผู้เป็นยายถึงความรู้สึกของหลานสาวหลังลูกสาวเธอ ศศิวิมล ผู้เป็น “แม่” ของเด็ก ต้องถูกคุมขังในความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ

ครอบครัวคือรากชีวิตของมนุษย์ คือสถาบันพื้นฐานการดำรงอยู่ของมนุษย์ การขาดหายไปของใครสักคนล้วนทำให้ผลกระทบเกิดขึ้นมากบ้างน้อยบ้าง แต่หากสิ่งที่ทำให้พวกเขาพลัดพรากจากกัน

เป็น 'รัฐ' ที่ใช้อำนาจมากกว่าเหตุผลในกระบวนการยุติธรรมดั่งเช่นภายใต้สองปีของ คสช. ก็น่าสนใจว่ากระบวนการยุติธรรมที่ไม่ปกติส่งผลกระทบต่อคนจำนวนหนึ่งอย่างไรบ้าง

หลังรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก และตามประกาศและคำสั่งต่างๆ เพื่อเรียกบุคคลเข้ารายงานตัวเพื่อปรับทัศนคติ พร้อม

กำหนดโทษฐานไม่มารายงานตัว, ใช้อำนาจคุมขังบุคคลไว้ 7 วันโดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา, สั่งให้คดีทางการเมืองของพลเรือนต้องพิจารณาที่ศาลทหาร คนจำนวนมากถูกจับกุมและดำเนินคดี คน

จำนวนมากตัดสินใจหลบภัยการเมืองออกจากประเทศไทย จากนี้คือเรื่องเล่าบางแง่บางมุมของผู้คนที่ต้องพลัดพรากอันเป็นผลจากการใช้อำนาจทหารเหนือกระบวนการยุติธรรม

ศศิวิมล: ในวันที่ไม่มีแม่อยู่ด้วย

ศศิวิมลถูกดำเนินคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ จากการโพสต์เฟซบุ๊ก ก่อนถูกจับกุมเธอ อายุ 29 ปี เป็นชาวจังหวัดเชียงใหม่ มีอาชีพเป็นพนักงานที่โรงแรมแห่งหนึ่ง มีบุตรสาว 2 คน อายุ 10 ปี

และ 7 ปี เมื่อ ศศิวิมลถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2558 ยายจึงต้องเป็นผู้ดูแลหลานสาวทั้งสอง

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เจ้าหน้าที่ตำรวจ เรียกตัวศศิวิมลไปที่ สภ.เมืองเชียงใหม่ โดยแจ้งว่า ให้มาเซ็นหมายศาล แต่เมื่อไปถึงปรากฏว่า ถูกนำตัวไปที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 33 ค่ายกาวิละ เพื่อขอ

อำนาจฝากขัง ในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ และถูกส่งตัวไปที่ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ทันที ก่อนหน้านี้ในเดือนกันยายน 2557 เธอเคยถูกเจ้าหน้าที่ค้นบ้าน ก่อนนำตัวไปสอบสวน ซึ่ง

เธอเองก็ยอมรับว่าไม่ทราบถึง 'ความร้ายแรง' ของข้อหามาตรา 112 นี้มาก่อน วันที่ไปก็พาลูกสาวคนเล็กไปด้วยเนื่องจากไม่มีใครดูแล ในขณะที่หัวหน้างานก็โทรตามงานเธอเรื่อยๆ จึงรู้สึกร้อนรน

อยากให้เรื่องนี้จบๆไป จึงให้การรับสารภาพกับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรภูพิงราชนิเวศน์โดยไม่มีทนายความอยู่ด้วย

กระทั่ง 7 สิงหาคม 2558 ในชั้นสืบพยาน ศศิวิมลให้การรับสารภาพ พร้อมให้ทนายยื่นคำร้องประกอบคำรับสารภาพเพื่อโอกาสลดหย่อนโทษภายหลัง แต่ศาลทหารเชียงใหม่พิพากษาคดีในวันดัง

กล่าวทันที โดยตัดสินจำคุกกรรมละ 8 ปี จาก 7 ข้อความที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นฯ รวมเป็น 56 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 28 ปี

"ยายเล่าว่าวันนั้น หลังกลับถึงบ้าน ได้พยายามบอกเรื่องคำพิพากษากับหลานๆ ทั้งสองคน ลูกสาวคนโตพอเข้าใจว่าแม่ต้องติดคุกอีกสักพักใหญ่ๆ แต่ดูเหมือน เธอจะไม่รู้หรอกว่า 28 ปี มันนานเท่าไร

เธอเงียบซึมไป"

469


โอภาส: เจอคดีซ้ำสอง ภรรยารอต่อไปนานเท่าตัว

"ภรรยาของลุงโอภาสหอบโฉนดที่ดินมูลค่าประเมิน 2.5 ล้านบาท เพื่อยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งถือว่าเป็นคดีมาตรา 112 ที่ยื่นประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ที่สูงที่สุดของปี แต่ศาลไม่อนุญาต"

ตุลาคม 2557 มีข่าวจับชายสูงวัยคนหนึ่งจากการเขียนฝาผนังห้องน้ำ คนคนนั้นคือโอภาสวัย 67 ปี ประกอบอาชีพค้าขาย เบื้องต้นเจ้าตัวรับว่าเขียนข้อความตามข้อกล่าวหาจริง แต่ไม่ได้มีเจตนาหมิ่น

ประมาทกษัตริย์ฯ เพียงแต่ต้องการวิจารณ์คณะรัฐประหาร เขาถูกคุมขังอยู่ที่ห้องขังกองปราบปรามเป็นเวลาห้าวัน ภายใต้บรรยากาศทางการเมืองที่เข้มงวด ท่ามกลางความไม่รู้ไม่เข้าใจกระบวน

การกฎหมายและอนาคตที่ต้องขึ้นอยู่กับอำนาจศาลทหาร ประกอบกับความเครียดทั้งเรื่องการงานการเงินและครอบครัว โอภาสมีภรรยาสุดรักเพียงคนเดียวที่ยังคอยเป็นกำลังใจอยู่ข้างๆ เดินทางมา

เยี่ยม ซื้อข้าวซื้อน้ำ และของใช้จำเป็นอื่นๆ มาส่งให้ทุกวัน

"หากปล่อยตัวผู้ต้องหาอาจไปกระทำการใดๆ หรือก่อเหตุประการอื่น หรือผู้ต้องหาอาจหลบหนี" คือเหตุผลที่ศาลยกคำร้องหลังภรรยายื่นขอประกันตัวในทุกครั้ง

มีนาคม 2558 ศาลทหารพิพากษาจำคุกโอภาส 3 ปี เขาให้การรับสารภาพจึงลดโทษ เหลือ 1 ปี 6 เดือน แต่แล้วโอภาสเหมือนต้องคำสาป เพราะเขาถูกฟ้องอีกคดีจากการเขียนฝาห้องน้ำอีกบานใน

ลักษณะเดียวกัน ศาลนัดสอบคำให้การเดือนตุลาคม 2558 ซึ่งทนายความแย้งว่าการเขียนประตูห้องน้ำบานที่สองของโอภาสในวันเดียวกัน อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดครั้งแรกเป็นการกระทำครั้ง

เดียวกัน โอภาสให้การรับสารภาพอย่างเช่นคดีแรกศาลทหารลงโทษ 3 ปี ลดเหลือ 1 ปี 6 เดือน  ให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษคดีเดิม มากไปกว่าโทษทัณฑ์คือการรอต่อไปของครอบครัวที่จะได้อยู่กัน

พร้อมหน้า

สิรภพ: เสาหลักที่หายไปพร้อมการพิจารณาคดีที่เชื่องช้า

"วันนั้นลูกสาวทั้งสองอุ้มหลานทำอะไรไม่ถูก ได้แต่กอดกันร้องไห้ มีเพียงลูกชายที่ยังพอควบคุมสติได้ เมื่อทหารบุกเข้ามา"

สิรภพจำเลยคดี 112 อีกคนเล่าถึงเหตุการณ์ทหารเข้าไปค้นบ้านหลังรัฐประหาร เมื่อเขามีชื่อถูกเรียกรายงานตัว

สิรภพ หรือ รุ่งศิลา เป็นกวีที่เขียนเรื่องกลอนเนื้อหาเชิงการเมืองลงในเว็บไซต์ เขามีอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างที่จังหวัดสงขลา แต่เมื่อเขาถูกดำเนินคดี ก็ทำให้ครอบครัวตกอยู่ในสภาพที่เลวร้ายลง

กิจการรับเหมาก่อสร้างต้องเลิกเนื่องจากขาดคนหลักในการทำต่อ สิรภพยังถูกดำเนินคดีถึง 2 คดีในเวลาเดียวกัน คือ คดีฝ่าฝืนไม่ไปรายงานตัวต่อคสช. และคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตาม

มาตรา 112 ซึ่งสิรภพปฏิเสธทั้งสองข้อหา แม้จะผ่านมาเกือบสองปีแล้ว แต่การพิจารณาของทั้งสองคดี ยังอยู่ในชั้นสืบพยานฝ่ายโจทก์ เพราะการพิจารณามักถูกเลื่อนอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ยังไม่รู้ว่าอีก

นานแค่ไหนจะถึงวันตัดสินคดี

สิรภพตัดสินใจต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่าเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างไรบ้าง โดยเลือกที่ยอมแลกกับการต้องต่อสู้คดีเป็นเวลานานและเวลาที่เขาจะต้องพลัดพรากจากครอบครัวก็จะ

ยาวนานออกไปเรื่อยๆ ปัจจุบันลูกสาวคนโตของสิรภพเพิ่งเรียนจบปริญญาตรีและต้องทำงานเพื่อส่งเสียให้น้องอีกสองคนได้เรียนให้จบ ลูกทั้งสามคนยังคงทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป

เยี่ยมสิรภพทั้งที่เรือนจำและวันที่ต้องมาศาล

471


รินดา: ลูกๆที่เกือบพรากจากแม่เลี้ยงเดี่ยว

รินดา อายุ 44 ปี ถูกจับจากการโพสต์เฟซบุ๊กกล่าวหาว่า พล.อ.ประยุทธ์ และภรรยา โอนเงินไปสิงคโปร์หลายหมื่นล้านบาท พร้อมข้อหายุงยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 ในวันแรกที่เธอถูกฝากขัง ศาล

ทหารไม่ให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า เห็นว่าผู้ต้องหาถูกจับกุมในคดีความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากปล่อยชั่วคราวอาจเป็นอุปสรรคหรือก่อให้

เกิดความเสียหายแก่การสอบสวน รินดาถูกขังอยู่ที่เรือนจำเป็นเวลา 3 วัน ก่อนได้รับการประกันตัว ล่าสุดศาลทหารและศาลอาญา เห็นตรงกันว่าคดีนี้ไม่ใช่ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แต่อาจเป็น

แค่ความผิดฐานหมิ่นประมาท พล.อ.ประยุทธ์ จึงให้จำหน่ายคดีไปฟ้องใหม่ที่ศาลอาญา

รินดา เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่มีลูกสาวและลูกชายวัย 13 และ 7 ปี ระหว่างที่เธอถูกคุมขัง ครอบครัวของเธอต้องเผชิญสภาวะสุ่มเสี่ยงที่ลูกๆ อาจต้องขาดแม่เนื่องจากสามีเธอเสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 2555 ถึง

แม้จะมีปู่และย่าที่คอยดูและเด็กๆ บ้าง แต่รินดาก็เป็นเสาหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว

หนุ่มธนาคารที่ต้องสูญเสียความมั่นคงในชีวิต

"ผมไม่ได้ขึ้นตำแหน่ง ความก้าวหน้าทางอาชีพจะไม่มี โบนัสก็ไม่ได้ สิทธิในการสอบขึ้นระดับ การพิจารณาขั้นพิเศษ ผมจะไม่ได้เลย มันเป็นการสร้างความยากลำบากให้กับชีวิตอย่างสาหัสมาก เรา

ไม่สามารถวางแผนการเงินในชีวิตได้ พูดง่ายๆ กลายเป็นคนไม่มีอนาคต ต้องลูบหน้าปาดจมูกเป็นเดือนๆ ไป มันสร้างความเครียดให้ผมอย่างมาก"

ชายผู้หนึ่งกล่าวถึงสถานการณ์ที่กำลังเกิดกับเขา ภายหลังเจ้าหน้าที่ทหารบุกเข้ามาจับกุมตัวเขาไปจากที่ทำงานเนื่องจากการโพสต์เฟซบุ๊กวิพากษ์วิจารณ์ทหาร การจับกุมดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจ

ตามกฎอัยการศึก ทำให้เขาต้องอยู่ในการควบคุมตัวของทหารนานถึงเจ็ดวัน และต่อมาถูกตั้งข้อหาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

ภายหลังการตั้งข้อหา เขาถูกที่ทำงานซึ่งเป็นธนาคารแห่งหนึ่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยและทำให้เขาถูกระงับสวัสดิการและความก้าวหน้าในชีวิตเขากลายเป็นคนไม่มีความมั่นคง จนกว่าคดี

จะเสร็จสิ้น เขาต้องอยู่ในสภาวะเสี่ยงจะตกงานไปตลอด
"สิ่งที่ผมสูญเสียไม่ใช่แค่ความมั่นคงในหน้าที่การงาน ผมรู้สึกไม่ปลอดภัย แค่ผมเห็นรถเจ้าหน้าที่ทหารผมก็สะดุ้ง ยิ่งมีรถทหารมาต่อท้ายผมก็จะรู้สึกว่าโดนติดตามหรือเปล่า จนบ่อยครั้งผมก็ฝันร้าย

ฝันว่าเหตุการณ์แบบนั้นมันจะเกิดขึ้นอีก.." เขากล่าว

อัครเดช: การขาดไปของอิสรภาพของทั้งพ่อและลูก

กรณีของอัครเดช นักศึกษาคณะวิศวะกรรมศาสตร์ ถูกดำเนินคดี 112 จากสเตตัสในเฟซบุ๊ก เขารับสารภาพศาลอาญาลงโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือน ในระหว่างที่อัครเดชต้องอยู่ในเรือนจำคนที่คอยมาเยี่ยม

เยือนและดูแลเขาอยู่ตลอดเวลาอยู่เวลา คือ พ่อของเขา แต่ต่อมาสุรพลพ่อของอัครเดช ก็ถูกจับกุมและดำเนินคดีจากเหตุที่มีคนปาระเบิดใส่ลานจอดรถศาลอาญา สุรพลต้องถูกดำเนินคดีที่ศาลทหาร

และไม่ได้รับการประกันตัว ขณะนี้ทั้งอัครเดชและสุรพลต่างถูกจองจำในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตของพ่อลูกคู่นี้
จอม เพชรประดับ: ความอบอุ่นจางหายเมื่อไม่ได้กลับบ้าน


แม้ไม่ได้อยู่ในคุก แต่ไม่มีโอกาสได้กลับบ้าน

"ความรู้สึกผิด..กลับมาอยู่ในห้วงความคิดอีกครั้ง เมื่อทราบว่า พี่ชายคนที่ 4 เสียชีวิตไปอีกคน แม้ว่ายังมีพี่น้องอีกหลายคนอยู่เคียงข้าง แต่ธรรมเนียมปฏิบัติของครอบครัว วันสุดท้ายของใครคนใด

คนหนึ่ง สมาชิกทุกคนต้องอยู่พร้อมหน้ากัน เพื่อร่วมส่งดวงวิญญาณของบุคคลอันเป็นที่รักให้ได้ไปสู่ภพที่ดี สุข สงบ และสว่าง รวมทั้งเพื่ออโหสิกรรมในสิ่งที่ได้ทำผิดพลาดไป ทั้งกาย วาจา ใจ ทั้ง

ที่ตั้งใจ และไม่ตั้งใจ
เรา..ไม่มีโอกาสที่จะได้ทำเช่นนั้น 3 ปี..ของการหนีจากบ้าน ทำให้ ความรู้สึกมั่นคง ความอบอุ่น จางหายออกจากใจไปไม่น้อย"

จอม เพชรประดับ อดีตผู้สื่อข่าว พิธีกรช่อง NBT, VoiceTV เขียนโพสต์เฟซบุ๊กแสดงความรู้สึก และตัดพ้อต่อโชคชะตาในวาระที่พี่ชายของเขาเสียชีวิต แต่เขาไม่อาจกลับมาร่วมงานศพได้ จอมถูก

คสช.ออกคำสั่งที่ 82/2557 เรียกให้มารายงานตัว แต่ไม่มารายงานตัวและลี้ภัยไปใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกา

ระหว่างการใช้ชีวิตในต่างแดน จอมยังคงพยายามทำหน้าที่สื่อมวลชนและผลิตรายการวิเคราะห์การเมืองด้วยตัวเอง เขาเชิญผู้คนมาสัมภาษณ์ออกรายการอย่างต่อเนื่องทางยูทูป “Thaivoicemedia”

ซึ่งการพยายามเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของเขายิ่งทำให้โอกาสกลับบ้านของเขาน้อยลงไปอีก
ธันย์ฐวุฒิ: สองปีที่ผ่านมา ยังไม่เคยได้เจอลูกเลย

473
จอม ขณะใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกา


"ตอนที่เข้ามาใหม่ๆ อยู่ในสภาพที่ยังพอมีเงินติดตัวมาและคิดว่ายังต้องต่อสู้ต่อไป แต่พอผ่านไประยะนึงการต่อสู้ทางการเมืองไม่ตอบโจทย์ว่าจะทำให้เราเลี้ยงตัวเองได้ เพราะคำถามหลักของเรา คือ

เราจะกลับเมืองไทยได้เมื่อไร เลยต้องตัดสินใจว่าจะยุติการเคลื่อนไหวและสนใจเรื่องทำมาหากิน”

ธันย์ฐวุฒิ หรือ “หนุ่มเรดนนท์” อดีตนักโทษคดีมาตรา 112 กล่าว ธันย์ฐวุฒิเคยต้องรับโทษอยู่ในเรือนจำกว่าสามปีก่อนได้รับพระราชทานอภัยโทษออกมา หลังการรัฐประหาร เขาถูกคสช.ออกคำสั่งที่

44/2557 เรียกให้มารายงานตัว แต่ไม่มารายงานตัวเพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัยของตัวเอง และตัดสินใจลี้ภัยไปใช้ชีวิตอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน

"สองปีที่ผ่านมา ยังไม่เคยได้เจอลูกเลย ตอนแรกเรายังไม่อยากย้ายไปไหนเพราะแม่ของผมบอกว่าพอลูกจบม.3 จะส่งลูกมาอยู่กับผม เราก็เตรียมตัวว่าถ้าทำธุรกิจประสบความสำเร็จลูกมาก็จะต้อง

สบาย เราก็จะเอาเงินให้ลูกได้ สองปีที่ผ่านมาก็คอยอยู่ แต่พอตอนนี้เขาก็ต่อม.ปลายที่เมืองไทย ทุกวันนี้ก็เริ่มมีเงินส่งกลับไปเป็นค่าเรียนได้บ้าง แต่ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้ช่วยเหลือทางบ้านเลย ถ้าเราส่ง

ได้มากกว่านี้เราก็จะทำ แต่ลำพังเราอยู่ที่นี่ก็ลำบากเพราะอาหารก็แพง" ธันย์ฐวุฒิเล่า

ธันย์ฐวุฒิ เป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยวที่ใช้ชีวิตอยู่กับลูกชายหนึ่งคนตามลำพัง เขาถูกจับและเข้าเรือนจำครั้งแรกเมื่อปี 2553 ทำให้เขาต้องพลัดพรากจากลูกครั้งแรก เขาได้ออกจากเรือนจำมาและอยู่กับลูกอีก

ครั้งไม่ถึงหนึ่งปี เมื่อสถานการณ์การเมืองเปลี่ยนแปลง ความพลัดพรากก็เกิดขึ้นอีกครั้งแต่คราวนี้ยังไม่อาจบอกได้ว่านานเท่าไร

472
ธันย์ฐวุฒิ ก่อนเดินทางออกนอกประเทศ


ตั้งแต่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีผู้คนจำนวนมากได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจทหารเหนือกระบวนการยุติธรรม คนจำนวนมากต้องถูกดำเนินคดี คนหลายคนต้องถูกจำคุก และคนอีก

หลายคนต้องตัดสินใจลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ จากการบันทึกข้อมูลของไอลอว์ ตลอดสองปีในยุคคสช.มีคนอย่างน้อย 93 คนที่ต้องเข้าไปใช้ชีวิตในเรือนจำ เพราะการแสดงความคิดเห็น และอย่างน้อย

303 คนที่ผ่านการถูกคุมขังในค่ายทหาร ปัจจุบันบุคคลที่ยังถูกคุมขังอยู่เพราะการแสดงออกอย่างสงบมีอย่างน้อย 44 คน ซึ่งเป็นการคุมขังตามคำพิพากษา 26 คน และเป็นการคุมขังระหว่างการ

พิจารณาคดี 18 คน

สำหรับจำนวนคนถูกประกาศเรียกรายงานตัวตามคำสั่งคสช.เท่าที่บันทึกได้จากการรายงานของสื่อมวลชน และคำบอกเล่าที่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงได้มี 480 คน จากจำนวนนี้ จนถึงปัจจุบันมีคน

เข้ารายงานตัวแล้ว 349 คน ส่วนอีก 131 คน ยังไม่ทราบชะตากรรม

จากการเก็บข้อมูลพบว่า ปัจจุบันมีคนไทยที่ต้องไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดน เพราะหนีภัยทางการเมืองมากกว่า 200 คน ในจำนวนนี้มีเพียงคนเดียวที่มีรายงานว่าได้รับสถานะผู้ลี้ภัย คือ เอกภพ หรือ “ตั้ง

อาชีวะ” ผู้หนีภัยทางการเมืองประมาณ 10 คน ซึ่งอยู่ในสหรัฐอเมริกาหรือยุโรปอยู่ระหว่างกระบวนการขอสถานะผู้ลี้ภัยและอยู่ในต่างประเทศได้โดยถูกกฎหมาย ส่วนผู้ที่หนีภัยทางการเมืองส่วน

ใหญ่ยังอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านและมีสถานะเป็นเพียงผู้เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย หลายคนยังคงเคลื่อนไหวพยายามแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ขณะที่หลายคนเลิกยุ่งเกี่ยวกับการ

เมืองและสนใจแต่เรื่องการทำมาหากินเท่านั้น

"ทุกคนอยากกลับบ้านหมด ต่อให้คนที่ได้สถานะผู้ลี้ภัยในต่างประเทศ ก็อยากกลับประเทศไทย ต่อให้จะเกลียดเผด็จการประเทศไทยขนาดไหน ต่อให้จะต้องหนีมายังไงก็ตาม มนุษย์ทุกคนยังไงก็

อยากกลับไปพบญาติพี่น้องบนแผ่นดินเกิดตัวเอง เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ แต่ถ้ากลับไปไม่ได้เพราะด้วยปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ก็ต้องปลอบใจตัวเองไป ถึงแม้จะมีการเลือกตั้งแล้วกลับไปสู่

ประชาธิปไตยแล้ว แต่เราก็ไม่รู้ว่าทิศทางการเมืองจะเป็นอย่างไร เมื่อความอยุติธรรมยังคงมีอยู่ ก็ยังกลับไม่ได้ แม้ว่าจะอยากกลับแค่ไหนก็ตาม" จอม เพชรประดับ กล่าว

หลากหลายเรื่องราวการพลัดพรากที่เกิดขึ้น เป็นผลจากการใช้อำนาจของรัฐที่ใช้อารมณ์ในกระบวนการยุติธรรมมากกว่าเหตุผล ผู้คนจำนวนมากเป็นเพียงคนตัวเล็กๆ ที่ได้รับผลกระทบเพียงเพราะ

การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ตลอดสองปีของคสช.ได้บีบให้คนจำนวนมากไม่มีทางเลือก ผู้ได้รับผลกระทบต้องบ้านแตกสาแหรกขาด ธุรกิจล้มละลายหาย บางคนไม่ได้กลับประเทศ เพียง

เพราะความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง ...