PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คุมตัว14น.ศ.ไปสน.พระราชวัง

เจ้าหน้าที่ได้นำหมายจับจากศาลทหารเข้าจับกุมตัวนักศึกษาที่บริเวณสวนเงินมีมา กรุงเทพฯ ที่พักของกลุ่มนักศึกษาที่ถูกออกหมายจับ 14 คน ได้แก่
นายรังสิมันต์ โรม นายวสันต์ เสดสิทธิ นายทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ นายพายุ บุญโสภณ นายอภิวัฒน์ สุนทรารักษ์ นายรัฐพล ศุภโสภณ นายศุภชัย ภูคลองพลอย นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ นายภาณุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์ นายสุวิชา พิทังกร นายปกรณ์ อารีกุล นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นายพรชัย ยวนยี และ น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว
หมายจับระบุข้อหาว่ากลุ่มนักศึกษาก่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และรวมกันมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมืองที่ใดๆที่จำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ศาลอนุมัติหมายจับดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่ายมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงเกิน 3 ปี และมีเหตุอันควรที่เชื่อว่าจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
นักศึกษาถูกนำตัวไปยัง สน.พระราชวังแล้ว
(เครดิตภาพ:กลุ่มพลเมืองโต้กลับ)
////////////////
จับแล้วนักศึกษากลุ่มดาวดิน ระบุอัตราโทษสูงสุดจำคุก 3 ปี
Cr:แนวหน้า
26 มิ.ย.58 เมื่อเวลา 17.00 น.พ.ต.ท.มานิตย์ ทองขาว พนง.ผู้ชำนาญการพิเศษ สน.สำราญราษฎร์ ได้ขอหมายจับจากศาลทหารฯ ลงวันที่ 26 มิ.ย.58 จับกุม กลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ประกอบไปด้วย 1.นายรังสิมันต์ โรม 2. นายวสันต์ เสดสิทธิ 3.นายทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ 4.นายพายุ บุญโสภณ 5.นายอภิวัฒน์ สุนทรารักษ์ 6.นายรัฐพล ศุภโสภณ 7.นายศุภชัย ภูคลองพลอย 8.นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ 9.นายภาณุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์ 10.นายสุวิชา พิทังกร 11.นายปกรณ์ อารีกุล 12.นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา 13.นายพรชัย ยวนยี 14. น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว โดยสามารถจับกุมตัวนศ.ทั้งหมดได้ที่สวนเงินมีมา ถนนเจริญนคร
ในข้อหาร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด มิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และรวมกันมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมืองที่ใดๆที่จำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่3/2558 ข้อ 12 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116,83
ทั้งนี้มีหลักฐานตามสมควรว่า ผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงเกิน 3 ปี และมีเหตุอันควร เชื่อว่าจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น


บิ๊กตู่ ลั่น วันนี้ ไม่เหมือน ตุลา16 ยันนักการเมือง อยู่เบื้องหลังนักศึกษา อย่าพูดบริสุทธิ์

บิ๊กตู่ ลั่น วันนี้ ไม่เหมือน ตุลา16 ยันนักการเมือง อยู่เบื้องหลังนักศึกษา อย่าพูดบริสุทธิ์ ห่วงโดนทำร้าย มีคนไม่พอใจ

พลเอก ประยุทธ์ เผยมีหลักฐาน นักการเมืองอยู่เบื้องหลังนักศึกษาเคลื่อนไหว ให้ไปดูในโซเชี่ยลฯ อย่าพูดว่าเคลื่อนไหวบริสุทธิ์ ....ติงสื่อ อย่าถามนศ.เคลื่อนไหวบริสุทธิ์ ธรรมชาติ เพราะมีการเมืองเบื้องหลัง ...ระบุสถานการณ์ตอนนี้ต่างจากตุลา 16 ต่างประเทศก็ไม่เข้ามายุ่ง เศรษฐกิจก็ไม่ได้เป็นแบบวันนี้ หวั่นเหมือนนิทานอิสป หมาป่ากับลูกแกะ ....เหน็บสื่อถามนักศึกษาอาจเคลื่อนไหวตามธรรมชาติเพราะมีรัฐประหารหรือไม่ "เป็นห่วงเขามากนักหรือ ไม่ธรรมชาติหรอก มาต่อต้านคนรักษากฏได้ไง.....เตือนนศ.หากเป็นรัฐบาลปกติ จะเคลื่อนไหวอะไรก็เชิญแต่ต้องอยู่ในกรอบ อย่าเอาแต่เสรีภาพ เดี๋ยวก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม ห่วงนักศึกษาเดินประท้วงมีคนไม่พอใจ เปิดกระจกด่า อาจมีคนมาทำร้ายบาดเจ็บ รัฐก็เดือดร้อนหาว่าไม่ดูแล ....ข้องใจนักศึกษาบางคน ทำไมหน้าตาอายุเยอะ เรียนยังไงไม่จบสักที ห่วงเดินประท้วงมีคนไม่พอใจมาทำร้ายบาดเจ็บ รัฐก็เดือดร้อน จะถูกหาว่าไม่ดูแล วันนี้ไม่เหมือนตุลา16 คนละสถานการณ์ ต่างชาติ เศรษฐกิจ สังคมโลก ประวัติศาสตร์เป็นบทเรียน วันนี้ปัจจุบัน คืออนาคต ฝาก ครูอาจารย์ นักวิชาการ ด้วย ต้องสร้างชาติเข้มแข็ง เราหนีพ้นfailed state มาได้แล้ว จะกลับไปอีกหรือ เรามุ่งหน้าสู่ปชต.ที่เข้มแข็ง ผมไม่เคยรังเกียจนักการเมือง คนดีก็เยอะไป แต่ผมจะไม่ประพฤติตัวในทางต่ำ..,.นายกฯโต้Amnestyระบุไทยละเมิดสิทธิ์ฯขอให้ระบุเป็นกรณีๆไปไม่ใช่ทั้งหมด ปีหนึ่งสักกี่รายติงสื่อเสนอข่าวทำชาติเสียหาย ผมไม่กลัวเพราะเสียอยู่แล้ว
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรีครบรอบปีที่ 83 ยังได้กล่าวตอนหนึ่งว่า ที่ตนมีวันนี้ได้ เพราะประชาชนเข้าใจ แต่หลายอย่างเริ่มออกมาและขอให้ดูว่าคนที่ออกมาประท้วงเข้าใจรัฐบาลหรือไม่ ประเทศชาติอยู่ตรงไหน
“ขอฝากกลุ่มนักศึกษาที่ความเคลื่อนไหว ที่เกี่ยวพันการเมือง ผมบอกไว้เลยมีหลักฐานทั้งหมดจะดำเนินการทางกฎหมาย ในส่วนที่ให้การสนับสนุนเพราะสถานการณ์วันนี้ไม่ใช่เวลาปกติที่จะสร้างความไม่สงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ ขอให้เข้าใจด้วยว่าจะทำอะไรก็ตามผมดำเนินการตามกฎหมายที่มีอยู่และปรึกษาคนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทุกคนอย่ามาอ้างในวันหน้าว่าไม่เป็นธรรม เลือกข้าง ที่ผ่านมาให้โอกาสทุกคนให้เข้าไปสู่กระบวนการยุติธรรม ถ้าใครไม่เข้าผมก็ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะให้ยกโทษ นิรโทษ หรือปรองดอง เพราะทุกอย่างมีกระบวนการของมันอยู่แล้ว อย่าให้เรื่องใดก็ตามที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลมาเป็นปัญหาของชาติ จะรักใครชอบใครไม่ว่า ผมไม่เคยถือโทษโกรธใครเขาสามารถกลับมาได้ กลับมาเป็นรัฐบาลได้ แต่ถ้ากลับมาไม่ได้จะไปใช้วิธีการอื่นก็ไม่ได้จึงทำให้เกิดวันที่ 22 พ.ค. ที่ผมต้องตัดสินใจเพราะปล่อยให้ประเทศเป็นแบบนี้ไม่ได้อีกแล้ว ทุกภาคส่วนทำงานไม่ได้เรื่องแบบนั้นต้องไม่เกิดขึ้นอีก เราต่อสู้เรื่องประชาธิปไตยความผิดความถูกมานานแล้ว ในส่วนที่อยู่วันนี้ก็ต้องทำให้ดีที่สุดเพื่ออนาคตลูกหลาน วันนี้ต้องขออภัยหากทำอะไรไม่ถูกใจเพราะผมจำเป็น” นายกฯกล่าว


แถลงคืบหน้า เจรจากลุ่มก่อความไม่สงบใต้...

แถลงคืบหน้า เจรจากลุ่มก่อความไม่สงบใต้...
BRN-Pulo 3กลุ่ม-BIPP-GMIP เรียกตัวเอง "MARAPATANI " สภาประชาชนปาตานี เปิดเจรจากับ รัฐบาลไทย แต่แนะยุบชื่อ6กลุ่มเดิมเลย...เผยบทเรียนจากคณะพูดคุยครั้งก่อน ที่ "ฮัสซัน ตอยิบ"เป็นผู้นำ BRN ไม่ได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายอื่นเข้ามา แต่ไม่ระบุ"อาแวห์ ยาบะห์"มาแทน "ตอยิบ"หรือไม่ ยันคนที่มามีพาวเว่อร์มากสุด ยังคงเป็น BRN ที่มีบทบาทมากที่สุด คาดเปิดโต๊ะเจรจา ทางการ ปลายปีนี้หรือต้นปี59 นำไปสู่ ลงสัตยาบรรณ ข้อตกลงร่วม ยันยังไม่มีข้อเสนอ หรือ ข้อตกลงใดๆ แค่การสร้างความเชื่อใจ เป็นขั้นยากที่สุด รอจบ"รอมฎอน" คุยต่อ เผย นายกฯให้ทำต่อเนื่องจริงจัง ไม่เล่นละคร ย้ำ ต้องเลือกกลุ่มที่Active ทุกกลุ่ม เปิดกว้าง กลุ่มอื่นเขัามาได้อีก
พลตรี นักรบ บุญบัวทอง เลขานุการคณะพูดคุยสันติสุข และคณะประชาสัมพันธ์ แถลงข่าวเป็นครั้งแรก ถึงความคืบหน้าของการพูดคุย ว่า คณะทำงาน เริ่มเมื่อ 1มกราคม 2558 แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะ 1 การสร้างความไว้เนื้อเชื้อใจ เริ่มตั้งแต่ 1 มค.2558 เป็นการพูดคุยทางลับ 3 ฝ่าย ยังไม่เปิดหน้าต่อสื่ออย่างเป็นทางการ จึงยังไม่มีข้อตกลง ถือว่ายากที่สุดและใช้เวลา มากที่สุด แล้วค่อยไปเปิดโต๊ะเจรจา โดยมีมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก ที่เราสร้างความไว้เนิ้อเชื่อใจ ทั้งกับมาเลเซีย และ มาเลเซีย สร้างความไว้เนิ้อเชื่อใจ กับแกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบ ด้วย โดยยืนยันว่า ผู้นำกลุ่มที่มาพูดคุย มาด้วยสมัครใจ ไม่บังคับขู่เข็ญ
ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา มีการพูดคุย 3 ฝ่าย อย่างไม่เป็นทางการ หรือ เรียกว่า "pre dialogue"แล้ว กับตัวแทนทั้ง 6 กลุ่ม คือ BRN, PULO 3 กลุ่ม BIPP, GMIP ซึ่งยัง active อยู่ อาจมากถึงนัอย และอาจมีกลุ่มอื่นมาเพิ่มอีก ถือเป็นช่วงการสร้างความไว้วางใจ คืบหน้าในระดับหนึ่ง แต่ตอนนี้ติดช่วงรอมฎอน ทึ่ต้องบำเพ็ญศาสนกิจ จึงนัดที่จะหารือกันอีกครั้ง คาดว่า ในปลายปี 2558 นี้ เราจะเริ่มเปิดเรื่อง ที่จะพูดคุยกัน ยืนยันว่า ในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่มีข้อเสนอ หรือ ข้อตกลงใดๆกันเลย
ส่วน ระยะ2 เป็นขั้นตอนการลงสัตยาบรรณ ข้อตกลงร่วม
โดยคณะพูดคุยสันติสุข เราคาดว่า ราวปลายปี 2558 หรือต้นปี 2559 จะเปิดโต๊ะเจรจา6กลุ่ม ผู้ก่อความไม่สงบ อย่างเป็นทางการ ตอนนี้คุยทางลับอยู่
ส่วนระยะ 3 เป็นการทำ "โรดแมพ" ร่วมกัน และ ทำให้เสร็จจนกว่าจะจบ ยังไม่มีกาีกำหนดกรอบเวลา
"พลเอก ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ต้องการให้ทุกกลุ่มมาพูดคุย และต้องเป็นกลุ่มที่ active อยู่ เมื่อพูดคุยแล้ว สามารถยุติปัญหาได้ ทั้ง 6 กลุ่ม BRN, PULO 3 กลุ่ม BIPP, GMIP ยัง active อยู่ อาจมากถึงนัอย และอาจมีมาเพิ่มอีก" พลตรี นักรบ กล่าว
พลตรี นักรบ กล่าวว่า 6 กลุ่มนึ้ อาจมีแนวคิดไม่ตรงกัน เราจึงเสนอให้เขาตั้ง คณะทำงานร่วม เลือกผู้นำกลุ่ม รอง และ เลขาฯมา เวลาคุยจะได้เป็นเสียงเดียวกัน แต่ชื่อยังไม่ระบุ ชื่อ
ส่วนการที่ กลุ่มก่อความไม่สงบ ทั้ง 6 กลุ่ม ที่มาพูดคุยกับ คณะพูดคุย ตัวแทนรัฐบาลไทย เรียกตัวเองว่า MARA Patani "Majlis Amanah Rakyat Patani "หรือ สภาประชาขาปาตานี นั่น ก็เป็นสิทธิ์ของเขา และหากเขายืนยันตามนั้น ก็เลยเสนอว่า ยุบชื่อ กลุ่ม BRN, PULO 3 กลุ่ม BIPP, GMIP ไปเลยหรือไม่
พลตรี นักรบ กล่าวว่า สถานการณ์ ระหว่างพูดคุย นั่น ไม่ใช่ว่าเหตุจะยุติลง ยังคงต้องมีอยู่
เพราะทีมที่มาคุย เป็นปีกการเมืองคุย ไม่ใช่เอาฝ่ายกำลังรบ การทหาร ผู้ถืออาวุธมาคุย แล้วเขาก็ไปคุยกันเองมา
"ยืนยันว่า ยังไม่มีข้อตกลงใดๆ ไม่มีการตกลง ใดๆ โดยเฉพาะ ไม่มีการตกลงยุติเหตุ หยุดยิง ช่วงรอมฎอน ยังไม่เคยมีการเสนอใดๆ"
ทั้งนี้ นายกฯ อนุมัติเรื่องการให้ข่าว ใน3 ระดับ คือ นายกฯและเลขาสมช. และ พลเอก อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุย และ ระดับคณะทำงานด้าน ประชาสัมพันธ์ ที่มี พลตรี นักรบ เป็นผู้ให้ข่าว และระดับ ประสานงานพื้นที่ ให้ แม่ทัพภาค 4 ให้ข่าว
"ดังนั้น หากใครกล่าวอ้างว่าเป็น ผู้แทนนายกฯ รมต. ถือเป็นการกล่าวอ้างทั้งสิ้น"
"นายกฯอยากให้การพูดคุยเดินอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ไม่มีเล่นละครใดๆ เอาบทเรียนจากการพูดคุยครั้งที่แล้ว เอาการพูดคุยสากลมาประยุกต์ใช้"
พลตรี นักรบ กล่าวขอโทษ สื่อด้วย ที่ผ่านมา บางสิ่งบางอย่างเราไม่ได้สื่อสารออกไป เพราะยังต้องทำงานกันในทางลับ หวังทำให้สงบสุขอย่างจริงจัง ยั่งยืน
พลตรี นักรบ เผยว่า บทเรียนจากคณะพูดคุยครั้งก่อน ที่ " ฮัสซัน ตอยิบ" เป็นผู้นำ BRN ไม่ได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายอื่นเข้ามา แต่ก็ยังถือว่ามีบทบาทตลอด แต่ไม่ขอระบุว่า "อาแวห์ ยาบะห์"มาแทนหรือไม่ แต่ยืนยันว่า คนที่มามีพาวเว่อร์มากสุด ยังคงเป็น BRN ที่มีบทบาทมากที่สุด
อีกทั้งในขั้นตอนนี้ จะไม่มีการเปิดเผย ชื่อ และ รูปภาพ ของตัวแทนที่มาพูดคุย
ทั้งนี้ การพูดคุยสันติสุข จะทำคู่ขนานไปกับ การทำงานของ กอ.รมน.ภาค4 ในโครงการ"พาคนกลับบ้าน" ตาม มาตรา 21 ของ พรบ.ความมั่นคง และมีการแบ่งการพูดคุย เป็น Track1 ,Track 2 และ Track 3

มุมมอง ผบทบ.ต่อ นักศึกษา

มุมมอง ผบทบ.ต่อ นักศึกษา
"พลเอก อุดมเดช" ผบ.ทบ.ระบุมี การเมืองอยู่เบื้องหลังนศ.เคลื่อนไหว อุบเปิดรายชื่อ แต่ลั่นจะไม่ปล่อยปละละเลย เตรียมเชิญตัวมาพูดคุย เตือนอาจมีกลุ่มที่ไม่พอใจ นศ.จะออกมาต่อต้าน จนอาจมีการใช้กำลัง ใช้อาวุธต่อสู้กันตามมาได้ บ้านเมืองเสียหาย ทหารต้องออกมาอีก หวั่นเหมือนอดีต จะเสียใจภายหลังเตือน นศ."ประชาธิปไตยใหม่"-"ดาวดิน" เคลื่อนไหว ระบุชุมนุม 2วันที่ผ่านมา ยังยอมรับได้ แต่อย่าให้บานปลายมากกว่านี้ ชี้ นศ.เคลื่อนไหวแค่กลุ่มเล็กๆเชื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ระบุรู้ตัวคนในวงการการเมือง ที่อยู่เบื้องหลังกาเคลื่อนไหวแล้ว แจง ทหารติดตามตัวนักศึกษาไปถึงบ้านเป็นเพียงเพื่อทำความเข้าใจ ถือเป็นมาตรการที่เหมาะสม ไม่ได้ใช้ความรุนแรง หรือเข้าไปรวบตัวใดๆ ขอความร่วมมือผู้ปกครองและอาจารย์ ทำความเข้าใจกับนักศึกษากลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหว

บิ๊กโด่ง พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และ ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงการชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองของ นักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ และกลุ่มดาวดิน ว่า การชุมนุม 2 วันที่ผ่านมา ยังยอมรับได้ แต่อย่าให้บานปลายไปมากกว่านี้ และมองว่า เป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มเล็กๆเท่านั้น เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย

พร้อมระบุว่า รู้ตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมือง อยู่เบื้องหลังการออกมาเคลื่อนไหวแล้ว แต่ขอไม่เปิดเผยรายชื่อ แต่จะไม่ปล่อยปละละเลย เตรียมที่จะเชิญตัวมาพูดคุยทำความเข้าใจ

อีกทั้งยังเกรงว่า แม้การชุมนุมจะเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ แต่เกรงว่า อาจมีกลุ่มที่ไม่พอใจจะออกมาต่อต้านอีก จนมีการใช้กำลัง ใช้อาวุธออกมาต่อสู้กันตามมา จนทำให้บ้านเมืองเกิดความเสียหาย และจะนำไปสู่การใช้กำลังควบคุมพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ และเหตุการณ์จะกลับไปเหมือนในอดีต ที่เกิดความขัดแย้งอีก แล้วทุกคนจะมาเสียใจในภายหลัง

ส่วนการติดตามตัวนักศึกษาไปตามบ้านนั้น เป็นเพียงการทำความเข้าใจ ซึ่งเป็นมาตรการตามความเหมาะสมและไม่ได้เป็นการใช้ความรุนแรง หรือเข้าไปรวบตัว จึงอยากขอความร่วมมือผู้ปกครองและอาจารย์ ทำความเข้าใจกับนักศึกษากลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหว เพราะรัฐบาลกับคสช. มีการเปิดช่องทาง เปิดพื้นที่มากมายที่จะรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ เช่น ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฎิรูป (ศปป.) และคณะกรรมาธิการต่างๆ พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มต่างๆอยู่แล้ว

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวถึงมาตรการรับมือการเคลื่อนไหวกลุ่มนักศึกษาประชาธิปไตยใหม่ กลุ่มดาวดิน และกลุ่มนักศึกษา ประชาธิปไตยใหม่ ที่เคลื่อนไหวหน้าหอศิลป์ว่า จากการเคลื่อนไหวของนักศึกษานั้นทางเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการด้วยมาตรการไม่รุนแรงอะไร เพราะเราเน้นการทำความเข้าใจ แต่ว่าอาจมีความไม่เข้าใจกันจึงได้แสดงออกในสิ่งต่างๆออกมา

ผบทบ. กล่าวว่า ขอชี้แจงว่าเรารับทราบว่าการสนับสนุนของกลุ่มการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของนักศึกษา ก็รู้ชื่อแล้วว่ามีใครให้การสนับสนุนบ้าง เพียงแต่ไม่อยากจะเปิดเผยเท่านั้น แต่จะเน้นการสร้างความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตามตนไม่สบายใจที่มีกลุ่มนักศึกษาออกมาแสดงออกเช่นนั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการรวมตัวขึ้นจากกลุ่มเล็กๆ ขยายผลไปสู่กลุ่มใหญ่ แล้วกลายเป็นปัญหาความไม่สงบเกิดขึ้น ในทางตรงกันข้ามประชาชนส่วนใหญ่คงไม่เห็นดีเห็นงามด้วย เนื่องจากคนให้ความสนับสนุนเหตุการณ์ต่างๆ ถ้าเกิดความไม่สงบความปั่นป่วนในประเทศเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ไม่ว่าจะปิดถนน พ่นสีสเปรย์ต่างๆ อาจเกิดการกระทบกระทั่งจากประชาชนที่ไม่พอใจ แล้วสถานการณ์กลับไปสู่การใช้อาวุธสงคราม และการวางระเบิดขึ้นมาอีก ตรงนี้อยากจะถามว่าถ้าเป็นญาติพี่น้องในครอบครัวเสียชีวิต จะดีหรือไม่ ก็ขอให้คิดดู

พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า ตนก็ขอย้ำอีกครั้งอยากจะขอความร่วมมือกับผู้ปกครองนักศึกษาให้ช่วยกันดูแล และป้องกันไม่ให้สิ่งร้ายๆ ความสูญเสียเกิดขึ้นอีก ประกอบกับก็ได้ขอร้องไปยังสถานศึกษาทั้งครู อาจารย์ต้องมีหน้าที่อบรม ไม่ใช่สอนให้นักศึกษาแสดงออกในสถานการณ์ประเทศที่บอบช้ำมามาก ในความเป็นจริงทางรัฐบาล และคสช.ก็เปิดช่องทางแสดงความติดเห็นหลายช่องทางให้หันมาพูดคุยกัน แม้ว่าจะไม่ได้ผล แต่เราพยายามดำเนินการ ประกอบกับทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งการไปยังศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) ดำเนินการตรงนี้ โดยการจัดเวทีการพูดคุย ซึ่งตนคิดว่ามันน่าจะครอบคลุมแล้ว แต่ถ้าใครคิดว่าไม่ครอบคลุมอย่างไร ไม่ครอบคลุมตรงไหนก็สามารถเสนอความคิดมาได้เสมอ เพื่อนำไปสู่ข้อคิดเห็นในการแก้ไขปัญหา

“การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษา ใน 2 วันที่ผ่านมา ผมพอรับได้ ถ้าอดทนได้ก็จะอดทน แต่ย้ำว่าอย่าให้มากมายและใหญ่โตไปกว่านี้เลย เพราะจะนำมาซึ่งความรุนแรงอีก ถ้าอะไรที่ผิดกฎหมาย และทำไม่ถูกต้องเกินกรอบที่จะทำได้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการต่อไป”

ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวเป็นกลุ่มการเมืองใด พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า "จะเป็นกลุ่มที่ไม่พึงพอใจในการบริหารราชการของรัฐยาล ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น แต่ผมอยากจะบอกว่า เรายังให้เกียรติกัน และอาจจะมีการขอพูดคุยในทางปฏิบัติ โดยจะไม่ปล่อยปละละเลยแน่นอน แต่จะให้มาบอกสื่อบางอย่างที่ไม่เหมาะสม ก็ขอไม่บอกครับ"

ผู้สื่อข่าวถามว่า มาตรการของเจ้าหน้าที่รัฐที่จะไปคุกคาม หรือติดตาม การเคลื่อนไหวขอนักศึกษา ถือเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาตรงจุด หรือไม่ เลขาธิการ คสช. กล่าวว่า คงไม่ใช่แบบนั้น แต่เป็นขั้นตอนการทำความเข้าใจ บางทีตนคิดว่าการเชิญตัวมาอาจจะไม่เหมาะสมบางกรณี บางบุคคล เราก็จะให้เกียรติไปพูดคุย เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นขั้นตอนการดำเนินการที่ไม่รุนแรงอะไรเลย และก็เป็นสิ่งที่เหมาะสมต่อการทำความเข้าใจกันกันด้วย


ความเห็นใน ไลน์อัยการ บิ๊กแจ๊ดรอดยาก เรื่องอาวุธปืน

ความเห็นใน ไลน์อัยการ บิ๊กแจ๊ดรอดยาก เรื่องอาวุธปืน
Cr:ไทยอินโฟเน็ต
จุมพลโพสต์ในไลน์อัยการรุ่นผมครับ
วันนี้ได้รับโทรศัพท์จากพวกอัยการหลายคน ถามเรื่องแนวโน้มคดีดังครอบครองอาวุธปืนที่ญี่ปุ่น(เข้าใจว่าเราเป็นอัยการยี่ปุ่นซะนี่) ว่า
1. โทษแรงไหม รอ/ไม่รอ
2. สู้ขาดเจตนา ไม่ฟ้อง/ชะลอฟ้อง ได้ไหม
ขี้เกียจจะรับโทรศัพท์เรื่องนี้อีก เลยไลน์ไปถามเพื่อนอัยการโตเกียว (เพื่อนPPด้วย) และขอโพสต์ให้เพื่อนหายสงสัย ซึ่งได้คำตอบปฐมภูมิว่า
1.Generally speaking, the possession of guns is serious crime in Japan and the punishment is harsh. The possession of a gun can be punished between 1 to 10 year imprisonment. If he has 2 and more guns, 1 to 15 yrs. If he possesses a gun/guns with bullet(s), 3 to 20 yrs.
Once he is indicted, the suspension of the sentence is hardly occurs in gun cases. In short, he must go prison.
ไทยอินโฟเน็ตแปล >>>> ตามปกติ การครอบครองปืน ถือเป็นคดีอาญา มีโทษรุนแรง ในญี่ปุ่น มีโทษจำคุก อยู่ระหว่าง 1-10 ปี ถ้าเขามี 2 และ (ปืน)มากกว่านั้น โทษ 10-15 ปี ถ้าเขาครอบครองปืน/ปืนและกระสุน โทษ 3-20 ปี
เมื่อเขาถูกตัดสินความผิด การรอลงอาญาเป็นไปได้ยากในกรณีเรื่องอาวุธปืน ง่ายๆคือ คุณต้องเข้าคุก
2. Many accused argue for lack of mens rea element. In gun case, it is difficult as well. Same as the suspension of prosecution.
ไทยอินโฟเน็ตแปล >>>> การแก้ข้อกล่าวหาว่าไม่มีเจตนาร้าย ก็เป็นไปได้่ยาก ในกรณีเรื่องอาวุธปืน
ไม่รู้เคสนี้มีกระสุนป่าว ถ้ามีสงสัยต้องอยู่ยาว ถ้าไม่มีก้ออยู่สั้น สู้องค์ประกอบภายในยาก
ที่มา Chatchai Kittikun / ต่อต้านนักการเมืองโกงชาติขายแผ่นดิน
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
เจตนาร้าย (Mens Rea) คือ สิ่งที่บ่งบอกสภาวะที่แท้จริงของจิตใจ อันเกี่ยวกับจิตใจที่ชั่วร้าย (evil mind) นอกจากนี้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ คำว่า เจตนาร้าย หมายความครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็น การกระทำโดยเจตนา (intention) และส่วนที่เป็นการกระทำโดยประมาทโดยรู้ตัว (Recklessness) ด้วย
สำหรับความเห็นของนักกฎหมายที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจุบันเห็นว่า เจตนาร้าย (mens rea) มีอยู่ในส่วนของการกระทำโดยเจตนาและการกระทำประมาทโดยรู้ตัว (recklessness) ส่วนกรณีการประมาทธรรมดา (negligence) ยังมีข้อโต้เถียงกันว่าจะถือว่าผู้กระทำมีเจตนาร้าย (mens rea) หรือไม่
ประมาทโดยรู้ตัวเช่น นายแดงรู้ทราบว่ารถของตนเบรกไม่ดี แต่ก็ยังฝืนขับไป และเกิดชนคนตายเพราะรถเบรกไม่อยู่ เป็นการกระทำโดยประมาทโดยรู้ตัว (recklessness) เพราะรู้ถึงความบกพร่องของรถ แต่ยังฝืนใช้ไปไม่ซ่อมให้ดี ตามกฎหมายคอมมอนลอว์ ถือว่ามีเจตนาร้าย (Mens Rea)
แต่ถ้าเป็นกรณีประมาทธรรมดาหรือประมาทเพราะความผลั้งเผลอ (negligence) เช่น ขับรถด้วยความเร็วเพราะรีบกลับบ้าน จนถึงทางแยกเบรกไม่ทัน รถเลยไปชนคนตาย เช่นนี้เป็นความประมาทธรรมดา (negligence) ไม่ถือว่ามีเจตนาร้าย (mens rea)


.‎ศาลทหารอนุมัติหมายจับ‬ 14 นักศึกษาฯ จนท.บุกเข้ารวบตัวแล้ว !!


.ศาลทหารอนุมัติหมายจับ‬ 14 นักศึกษาฯ จนท.บุกเข้ารวบตัวแล้ว !!
.
เวลา 16.55 น. ศาลทหารกรุงเทพฯ ออกหมายจับกลุ่ม นศ.ดาวดินพร้อมพวก รวม 14 คน ชี้ก่อความไม่สงบฝืนคำสั่ง คสช.เผยโทษจำคุกสูงเกิน 3 ปี
.
โดยพ.ต.ท.มานิตย์ ทองขาว พนง.ผู้ชำนาญการพิเศษ สน.สำราญราษฎร์ ได้ขอหมายจับจากศาลทหารฯ ลงวันที่ 26 มิ.ย. 2558 โดยจับกุม กลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ รายชื่อดังนี้
1.นายรังสิมันต์ โรม / 2. นายวสันต์ เสดสิทธิ / 3.นายทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ / 4.นายพายุ บุญโสภณ / 5.นายอภิวัฒน์ สุนทรารักษ์ / 6.นายรัฐพล ศุภโสภณ /7.นายศุภชัย ภูคลองพลอย / 8.นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ / 9.นายภาณุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์ / 10.นายสุวิชา พิทังกร / 11.นายปกรณ์ อารีกุล / 12.นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา / 13.นายพรชัย ยวนยี / 14. น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว
.
เวลา 17.20 น. ตำรวจจับบุกเข้าจับ กลุ่มนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ทั้ง 14 คน ณ สวนเงินมีมา ...รายละเอียดเพิ่มเติมแจ้งให้ทราบต่อไป


สุรชาติ บำรุงสุข : เดินทวนสายน้ำเชี่ยว! สงครามใหม่ในโลกเก่าของทหาร

ยุทธบทความ

มติชนสุดสัปดาห์ 19-25 มิถุนายน 2558



"การพัฒนาความสัมพันธ์พลเรือน-ทหาร ที่ถูกบ่งชี้จากการสนับสนุนอย่างมั่นคงของกองทัพต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น เป็นเงื่อนไขสำคัญในเบื้องต้น หากปราศจากสิ่งนี้แล้ว กระบวนการสร้างประชาธิปไตยจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลย"

Zoltan Barany

The Soldier and the Changing State (2012)



แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า หลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็นในปี 2532/2533 ซึ่งเป็นดังจุดเริ่มต้นของความเป็น "โลกาภิวัตน์" นั้น การเมืองไทยต้องเผชิญกับการรัฐประหารถึง 3 ครั้ง ได้แก่ กุมภาพันธ์ 2534 กันยายน 2549 และพฤษภาคม 2557

ปรากฏการณ์เช่นนี้ดูจะขัดแย้งกับความเชื่อที่ว่า โลกาภิวัตน์ที่มี "กระแสประชาธิปไตย" เป็นทิศทางหลักนั้น จะมีส่วนอย่างมากต่อการเป็นอุปสรรคในการยึดอำนาจของทหาร

และขณะเดียวกันก็จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนกระแสประชาธิปไตยให้ก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมๆ กับในอีกด้านหนึ่งก็จะเป็นดัง "แรงกระแทก" ที่จะทำให้ประตูของรัฐอำนาจนิยมที่ปิดไว้ จำต้องเปิดออกเพื่อให้กระแสประชาธิปไตยได้พัดผ่านเข้ามา อันนำไปสู่การล้มลงของระบอบอำนาจนิยม และเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสร้างประชาธิปไตยในหลายๆ ประเทศ

แต่สังคมการเมืองไทยดูจะเดินทวนกระแสโลกาภิวัตน์เป็นอย่างยิ่ง

สามรัฐประหารในยุคหลังสงครามเย็นบ่งบอกอย่างชัดเจนว่าการเมืองไทยยังคงอยู่ในวัฏจักรของการรัฐประหารและการเลือกตั้ง ที่ยังเดินกลับไปมาไม่จบสิ้น

แต่ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นอย่างมีนัยสำคัญว่า กองทัพไทยยังคงอยู่ในโลกเก่าของทหารกับการเมืองในยุคสงครามเย็นอย่างไม่เปลี่ยนแปลง

ดังจะเห็นได้ว่าผู้นำทหารปัจจุบันยังคงเชื่ออย่างมั่นใจว่า กองทัพคือผู้ควบคุมการเมืองและการเมืองจะต้องเดินไปในทิศทางที่ผู้นำทหารปรารถนา

และอะไรที่ขัดแย้งกับกองทัพสิ่งนั้นขัดแข้งกับความมั่นคงของรัฐ

ดังนั้น การต่อสู้ของกองทัพในเวทีการเมืองไทยปัจจุบันจึงเป็นดั่งการ "เดินทวนกระแสน้ำ" ที่แม้จะเดินไปได้ แต่ก็จะทำลายพลังที่กองทัพมีลงไปเรื่อยๆ และหากคิดจะคงอำนาจต่อไปอีก ก็คงต้องตระหนักว่าสายน้ำที่จะเดินทวนไปข้างหน้านั้น ก็จะ "ลึกมากขึ้น" และกระแสน้ำจะยิ่ง "เชี่ยว" มากขึ้นด้วยเช่นกัน

ฉะนั้น หากจะพิจารณาจากประสบการณ์ของกองทัพแล้ว ก็จะเห็นชุดความคิดเก่า ดังนี้



1)เมื่อยึดอำนาจเสร็จแล้ว คนกลัวทหาร

ใครที่เคยผ่านประสบการณ์การยึดอำนาจในยุคของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หลังจากปี 2501 แล้ว จะเห็นได้ชัดว่าคนในสังคมค่อนข้างจะเกรงกลัวต่ออำนาจของทหาร อาจจะเป็นเพราะทุกคนยอมรับว่าด้วยความเป็น "ระบอบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ" ที่อยู่ภายใต้อำนาจของมาตรา 17 ของรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502 นั้น ผู้นำทหารสามารถใช้อำนาจได้อย่างไม่จำกัด

ดังจะเห็นได้จากสาระสำคัญของ ม.17 ที่กล่าวว่า ให้ถือว่าคำสั่งของการกระทำใดๆ ก็ตามของนายกรัฐมนตรี "เป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย"

ด้วยการใช้อำนาจตาม ม.17 เช่นนี้ทำให้จอมพลสฤษดิ์ กลายเป็นผู้นำทหารที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และได้มีการใช้อำนาจตามมาตรานี้ในหลายๆ กรณี เช่น การยิงเป้าเจ้าของบ้านต้นเพลิง เมื่อเกิดกรณีเพลิงไหม้ เป็นต้น

ฉะนั้น จึงไม่แปลกใจเท่าใดนักที่จะพบว่า ผู้คนในยุคนั้นมีความเกรงกลัวต่อรัฐบาลทหารเป็นอย่างยิ่ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำอย่างจอมพลสฤษดิ์สามารถจับกุมหรือประหารชีวิตบุคคลได้โดยไม่ต้องผ่านการตัดสินของกระบวนการยุติธรรม

แต่รัฐประหาร2514 ในยุค จอมพลถนอม กิตติขจร กลับเริ่มเห็นภาพที่แตกต่างออกไป ดังจะเห็นได้ว่าอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน คือ คุณอุทัย พิมพ์ใจชน (อดีต ส.ส.ชลบุรี) คุณอนันต์ ภักดิ์ประไพ (อดีต ส.ส.พิษณุโลก) และ คุณบุญเกิด หิรัญคำ (อดีต ส.ส.ชัยภูมิ) ได้ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคณะรัฐประหารของจอมพลถนอม

แม้ศาลจะไม่ได้มีโอกาสพิจารณาคดีนี้เพราะรัฐบาลได้ออกคำสั่งให้จับกุมบุคคลทั้งสาม และอาศัยอำนาจของรัฐบาลทหารสั่งจำคุกทั้งหมด

แม้การฟ้องครั้งนี้จะจบลงด้วยการถูกจำคุกแต่ก็เปิดประเด็นให้เห็นว่า คนเริ่มไม่กลัวรัฐประหารเช่นในยุคเก่าอีกต่อไป

และความไม่กลัวเช่นนี้ขยายตัวต่อมาจนนำไปสู่เหตุการณ์14 ตุลาคม 2516

ผลที่เกิดขึ้นก็คือความพ่ายแพ้ของทหารครั้งแรกในการเมืองไทย แต่ในที่สุดแล้วกองทัพก็หวนกลับสู่การเมืองอีกครั้งในปี 2519

ในยุคต่อมา การต่อต้านรัฐประหารก็ปรากฏให้เห็นไม่แตกต่างกัน โดยเฉพาะปฏิกิริยาต่อการยึดอำนาจของ "คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ" (รสช.) ที่นำโดย พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 เกิดขึ้นเป็นระลอกคลื่น และยกระดับสู่จุดสูงสุดจนกลายเป็นการประท้วงใหญ่ในเดือนพฤษภาคม 2535 อันทำให้กองทัพเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในการเมืองไทยเป็นครั้งที่สอง และเป็นสัญญาณถึงการถดถอยของอำนาจกองทัพในการเมืองไทยในยุคหลังสงครามเย็นอย่างชัดเจน

หลังจากรัฐประหาร2549 ก็เห็นการกำเนิดของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และดำเนินการต่อเนื่องเรื่อยมา

อีกทั้งยังปรากฏรูปแบบใหม่ๆ ของการต่อต้านทหาร เช่น การจัดกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น

ตลอดรวมถึงการเปิดแนวรบในสื่อสังคมหรือในพื้นที่ของสื่อใหม่และในยุคหลังจากการยึดอำนาจในเดือนพฤษภาคม 2557 ก็เห็นได้ถึงปรากฏการณ์ใหม่ๆ

แม้รัฐบาลทหารจะใช้วิธีเรียกบุคคลเป้าหมายให้เข้ารายงานตัวแต่ใช่ว่าจะเกิดความกลัว

และในขณะเดียวกันสนามการต่อสู้ในสื่อสังคมดูจะดำเนินไปอย่างเข้มข้น...

รัฐบาลทหารถูกทำให้กลายเป็น"ตัวตลก" ทางการเมือง

ในขณะเดียวกันผู้นำทหารก็ถูกฝ่ายต่อต้านนำมา "ล้อเลียน" ทางการเมืองอย่างขบขัน

จนกลายเป็นภาพสะท้อนที่ค่อนข้างชัดเจนว่า ผู้คนในปัจจุบันไม่ได้เกรงกลัวรัฐประหารหรือรัฐบาลทหารอย่างที่คิด

ยุคของความกลัวทหารกำลังจะผ่านไป

และขณะเดียวกันอำนาจของผู้นำทหารในทางการเมืองก็มีความจำกัด พวกเขาไม่สามารถใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จได้ แม้จะมี ม.44 รองรับเช่น ม.17 ของยุคจอมพลสฤษดิ์



2)รัฐมหาอำนาจสนับสนุนรัฐประหาร

ผลของการต่อสู้ทางการเมืองและอุดมการณ์ในยุคสงครามเย็นหรือการดำเนินสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ทำให้รัฐมหาอำนาจใหญ่จำเป็นต้องสนับสนุนรัฐบาลทหารในประเทศโลกที่สามพวกเขามักจะเชื่อว่ารัฐบาลทหารมีความเข้มแข็งในการต่อสู้มากกว่ารัฐบาลพลเรือน

อีกทั้งมองว่าการเลือกตั้งอาจกลายเป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้คอมมิวนิสต์แทรกแซงการเมืองได้ง่าย

ด้วยเหตุผลเช่นนี้มหาอำนาจตะวันตกจึงมักจะเป็นผู้สนับสนุนรัฐประหาร ด้วยเหตุผลของการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์...

โลกของสงครามเย็นจึงเป็นยุคที่ต้องใช้อำนาจทหารเป็นเครื่องมือค้ำประกันความมั่นคงของรัฐ

หรืออีกนัยหนึ่งก็คือกองทัพคือฐานรองรับของแนวคิดเรื่อง "ความมั่นคงแห่งชาติ" (National Security)

สงครามอุดมการณ์ของยุคต่อต้านคอมมิวนิสต์ จึงกลายเป็น "หน้าต่างแห่งโอกาส" บานสำคัญที่เปิดให้กองทัพเดินเข้าสู่เวทีการเมืองด้วยการสนับสนุนจากรัฐมหาอำนาจภายนอก

แต่เมื่อมีการปรับทิศทางของนโยบายที่รัฐมหาอำนาจให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากกว่าการจัดตั้งรัฐบาลทหาร(ในยุคหลังสงครามเวียดนาม) รัฐบาลทหารก็เริ่มเผชิญกับความท้าทายที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนของทหารกลายเป็นปัญหาและรู้จักกันในชื่อของ "สงครามสกปรก" (Dirty War) ในละตินอเมริกา เป็นตัวอย่างที่ดีในกรณีนี้ที่ทำให้รัฐบาลทหารตกเป็นเป้าของการวิจารณ์และการต่อต้านอย่างมาก

และความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ก่อให้เกิดปรากฏการณ์"ระยะเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย" เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ และขณะเดียวกันก็บ่งบอกถึงการถดถอยของกองทัพในเวทีโลก

นอกจากนี้ ในยุคหลังสงครามคอมมิวนิสต์ ที่มาพร้อมกับโลกาภิวัตน์และการพัดแรงของกระแสประชาธิปไตย ทำให้ระบอบอำนาจนิยมดำรงตนอยู่ในกระแสโลกได้อย่างยากลำบากยิ่ง การล้มลงของระบอบทหาร พร้อมๆ กับการเปลี่ยนผ่านของระบอบสังคมนิยมในหลายประเทศ ล้วนเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการก้าวสู่ประชาธิปไตย ดังเช่นการสิ้นสุดของระบอบทหารในยุโรปใต้ ละตินอเมริกา และเอเชีย ตลอดรวมถึงการยุติของระบอบพรรคเดียวในยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียต

ปรากฏการณ์เช่นนี้ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนถึงการขับเคลื่อนของกระแสประชาธิปไตยในยุคโลกาภิวัตน์ที่รัฐมหาอำนาจล้วนแต่ให้ความสนับสนุนต่อการสร้างประชาธิปไตยมากกว่าจะให้ความสำคัญกับรัฐทหารเช่นในยุคสงครามเย็น

จนอาจกล่าวได้ว่าภารกิจทางประวัติศาสตร์ของระบอบทหารในฐานะของการเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อการต่อสู้กับการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์นั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว

และขณะเดียวกัน ระบอบประชาธิปไตยยังถูกมองว่าเป็นเครื่องมือของการผลักดันระบอบเศรษฐกิจเสรี ซึ่งจะเอื้อต่อผลประโยชน์มากกว่าการคงอยู่ของรัฐทหาร ระบอบทหารกลายเป็นดัง "สินค้าตกยุค" สำหรับรัฐมหาอำนาจในโลกปัจจุบัน



3)รัฐประหารนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง

ในท่ามกลางการขยายตัวของลัทธิสังคมนิยมและการลุกขึ้นของชนชั้นล่างในโลกที่สาม มักจะนำมาซึ่งปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง ในสถานการณ์เช่นนี้ รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งมักจะถูกมองว่าอ่อนแอและไม่สามารถรับมือกับความท้าทายเช่นนี้ได้ จนอาจทำให้เกิดข้อสรุปแก่ผู้ที่นิยมระบอบอำนาจนิยมว่า รัฐบาลพลเรือนอ่อนแอเกินกว่าที่จะรับมือกับปัญหาการสร้างเสถียรภาพของประเทศ

ข้อสรุปเช่นนี้นำไปสู่คำตอบที่ชัดเจนของยุคสงครามเย็นว่ารัฐประหารที่นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลทหารจะเป็นกลไกสำคัญของการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศและขณะเดียวกันรัฐบาลทหารจะทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันกับเสถียรภาพนั้น ด้วยการใช้ "อำนาจในการควบคุม" การเคลื่อนไหวภายในสังคม ตลอดรวมถึงการปราบปรามที่เกิดขึ้นด้วยการใช้กำลังทหารเป็นเครื่องมือ

ในทางเศรษฐกิจเสถียรภาพเช่นนี้จะนำมาซึ่งการลงทุนจากต่างประเทศที่มากขึ้น และในทางความมั่นคง เสถียรภาพเช่นนี้จะนำมาซึ่งความสงบเรียบร้อย แต่เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไปจากยุคสงครามเย็นแล้ว รัฐประหารกลับกลายเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นถึงการไร้ขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง พร้อมๆ กับเป็นการบ่งบอกถึงแนวโน้มของความไร้เสถียรภาพที่จะเกิดขึ้นในอีกแบบหนึ่ง

เพราะรัฐประหารในยุคปัจจุบันมักจะตามมาพร้อมกับการต่อต้านของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย

และขณะเดียวกันการต่อต้านเช่นนี้ก็มีโอกาสขยายตัวไปสู่เวทีระหว่างประเทศได้ง่าย เพราะในด้านหนึ่ง รัฐมหาอำนาจมีท่าทีที่ชัดเจนแล้วว่า พวกเขาไม่สนับสนุนรัฐบาลทหาร

ดังจะเห็นได้จากปัญหาการ "แซงก์ชั่น" ที่รัฐบาลเมียนมาร์ต้องเผชิญมาแล้ว และในอีกด้านหนึ่งอันเป็นผลจากการขยายตัวของกระแสประชาธิปไตยที่ขับเคลื่อนโดยสื่อใหม่ในรูปแบบต่างๆ

รัฐประหารจึงไม่เพียงจะถูกมองว่าเป็น"อนารยะทางการเมือง" เท่านั้น

หากรัฐบาลทหารยังถูกมองด้วยสายตาที่ "เหยียดหยาม" และไม่ได้รับการยอมรับจากเวทีสากลเป็นอย่างยิ่ง

เพราะถ้าโลกยอมรับการรัฐประหารแล้วการแซงก์ชั่นกับรัฐบาลทหารเมียนมาร์จะไม่เกิดขึ้น มิไยจะต้องกล่าวถึงการแสดงอาการ "รังเกียจทางการทูต" ต่อรัฐบาลดังกล่าว...

รัฐบาลทหารที่กรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นในปี 2549 หรือในปี 2557 ล้วนแต่โชคดีเท่านั้นเอง เพราะหลายประเทศจำเป็นจะต้องประคับประคองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในโลกของการแข่งขันปัจจุบันและไม่อาจใช้นโยบาย "โดดเดี่ยว" กับรัฐบาลไทยได้

ทุกประเทศจึงได้แต่มีความหวังว่า การเมืองไทยจะกลับสู่ภาวะปกติบนถนนสายประชาธิปไตยโดยเร็ว และที่สำคัญก็คือ ไม่มีใครต้องการเห็นความขัดแย้งในการเมืองไทยเดินไปสู่ความเป็น "วิกฤตใหญ่"

ขณะเดียวกัน เรื่องราวเหล่านี้ก็บ่งบอกว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าที่ผู้นำทหารไทยคิด และในความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ เห็นได้ชัดเจนว่าระบอบทหารที่กรุงเทพฯ ตกเป็น "ฝ่ายรับ" แทบจะในทุกเรื่อง

ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว อนาคตของรัฐบาลทหารน่าจะ "เหนื่อย" มากกว่าที่คิดแน่ๆ

และว่าที่จริง อาการเช่นนี้ก็เริ่มเห็นบ้างแล้วในบางกรณี

ดังนั้น การคิดจะอยู่ในอำนาจต่อไปอีกจึงเป็น "ความสุ่มเสี่ยง" ไม่ต่างกับการเดินทวนกระแสในลำน้ำลึกและเชี่ยวอย่างน่าเป็นห่วง เพราะโลกปัจจุบันไม่ใช่ "โลกเก่า" แบบที่กองทัพคุ้นเคยและควบคุมได้อีกต่อไป!

สหรัฐฯ เผยแพร่รายงานว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประจำปี 2557 ชี้ยังมีการจำกัดเสรีภาพอย่างหนักหน่วงในไทย

สหรัฐฯ เผยแพร่รายงานว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประจำปี 2557 ชี้ยังมีการจำกัดเสรีภาพอย่างหนักหน่วงในไทย บุคคลกว่า 900 ถูกเรียกไปรายงานตัวและจับกุม ขณะที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนยังเกิดขึ้นต่อเนื่องในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
บทสรุปของรายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ในส่วนของไทย ได้ปูพื้นเรื่องการก่อรัฐประหาร และให้ข้อมูลว่า แกนนำก่อรัฐประหารได้ล้มล้างรัฐธรรมนูญ ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ มีการบังคับใช้กฎอัยการศึกและออกคำสั่งอีกหลายฉบับที่จำกัดเสรีภาพส่วนบุคคล จำกัดเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการรวมตัวกันและเสรีภาพของสื่ออย่างหนัก นอกจากนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังเรียกแกนนำทางการเมือง นักวิชาการ สื่อมวลชนและบุคคลอื่นไปรายงานตัวและควบคุมตัวโดยไม่ตั้งข้อหาอีกกว่า 900 คน ขณะที่อีกหลายคนถูกควบคุมตัวไว้เกินกว่าเจ็ดวัน
รายงานบอกอีกว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมากที่สุดคือการที่กองกำลังด้านความมั่นคงและกองกำลังอาสาใช้อำนาจเกินกว่าเหตุจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการใช้กำลังเกินกว่าเหตุในบางครั้งบางครั้งบางคราว รวมทั้งมีการสังหาร ทรมาน ผู้ต้องสงสัย ผู้ถูกจับกุมและผู้ต้องโทษ
ในเวลาเดียวกันผู้ก่อเหตุในสามจังหวัดภาคใต้ก็ยังละเมิดสิทธิมนุษยชนและทำร้ายเป้าหมายที่เป็นพลเรือน
สำหรับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นอื่น ๆ ที่ยังเกิดขึ้นในไทย รวมไปถึงการจับกุมคุมขังตามอำเภอใจ สภาพของเรือนจำที่ย่ำแย่ แน่นขนัด ไทยยังไม่สามารถปกป้องกลุ่มบุคคลที่มีความอ่อนแอ ซึ่งรวมถึงผู้ลี้ภัย มีการใช้ความรุนแรงทางเพศต่อสตรี การค้าบริการทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ค้ามนุษย์ เลือกปฏิบัติต่อบุคคลพิการ ชนกลุ่มน้อย ชนเผ่า แรงงานข้ามชาติ แรงงานเด็ก ขณะที่แรงงานทั่วไปมีสิทธิ์ที่จำกัด
รายงานระบุอีกว่า มีบางครั้งบางคราวที่ทางการได้ลงโทษด้วยการไล่ออก จับกุม ดำเนินคดี และลงโทษเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ อย่างไรก็ดี การที่เจ้าหน้าที่ได้รับการนิรโทษกรรมยังคงเป็นปัญหาร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ยังมีการใช้ พ .ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 และ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ขณะที่การประกาศใช้ ม.44 ก็ให้การคุ้มครองแกนนำรัฐประหารและผู้ใต้บังคับบัญชาจากการกระทำใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังรัฐประหาร ตามคำสั่งของ คสช. โดยไม่คำถึงความชอบด้วยกฎหมาย
นายจอห์น แครี รมว.ต่างประเทศสหรัฐ กล่าวถึงสถานการณ์ในไทยว่ารัฐบาลทหารล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพิกถอนรัฐธรรมนูญ และจำกัดสิทธิส่วนบุคคล และยังพยายามอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและสร้างสถาบันทางการเมืองขึ้นมาใหม่ท่ามกลางความเป็นห่วงเรื่องการขาดการมีส่วนร่วม ขณะที่ประชาชนยังคงโหยหาเสรีภาพทางการเมือง ความสัตย์ซื่อและการปกครองโดยปราศจากการละเมิด
ทั้งนี้ รายงานว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ ฉบับล่าสุดนี้ ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ในอิหร่าน คิวบา เมียนมาร์ และเวียดนามอย่างรุนแรงด้วย