PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความเห็นใน ไลน์อัยการ บิ๊กแจ๊ดรอดยาก เรื่องอาวุธปืน

ความเห็นใน ไลน์อัยการ บิ๊กแจ๊ดรอดยาก เรื่องอาวุธปืน
Cr:ไทยอินโฟเน็ต
จุมพลโพสต์ในไลน์อัยการรุ่นผมครับ
วันนี้ได้รับโทรศัพท์จากพวกอัยการหลายคน ถามเรื่องแนวโน้มคดีดังครอบครองอาวุธปืนที่ญี่ปุ่น(เข้าใจว่าเราเป็นอัยการยี่ปุ่นซะนี่) ว่า
1. โทษแรงไหม รอ/ไม่รอ
2. สู้ขาดเจตนา ไม่ฟ้อง/ชะลอฟ้อง ได้ไหม
ขี้เกียจจะรับโทรศัพท์เรื่องนี้อีก เลยไลน์ไปถามเพื่อนอัยการโตเกียว (เพื่อนPPด้วย) และขอโพสต์ให้เพื่อนหายสงสัย ซึ่งได้คำตอบปฐมภูมิว่า
1.Generally speaking, the possession of guns is serious crime in Japan and the punishment is harsh. The possession of a gun can be punished between 1 to 10 year imprisonment. If he has 2 and more guns, 1 to 15 yrs. If he possesses a gun/guns with bullet(s), 3 to 20 yrs.
Once he is indicted, the suspension of the sentence is hardly occurs in gun cases. In short, he must go prison.
ไทยอินโฟเน็ตแปล >>>> ตามปกติ การครอบครองปืน ถือเป็นคดีอาญา มีโทษรุนแรง ในญี่ปุ่น มีโทษจำคุก อยู่ระหว่าง 1-10 ปี ถ้าเขามี 2 และ (ปืน)มากกว่านั้น โทษ 10-15 ปี ถ้าเขาครอบครองปืน/ปืนและกระสุน โทษ 3-20 ปี
เมื่อเขาถูกตัดสินความผิด การรอลงอาญาเป็นไปได้ยากในกรณีเรื่องอาวุธปืน ง่ายๆคือ คุณต้องเข้าคุก
2. Many accused argue for lack of mens rea element. In gun case, it is difficult as well. Same as the suspension of prosecution.
ไทยอินโฟเน็ตแปล >>>> การแก้ข้อกล่าวหาว่าไม่มีเจตนาร้าย ก็เป็นไปได้่ยาก ในกรณีเรื่องอาวุธปืน
ไม่รู้เคสนี้มีกระสุนป่าว ถ้ามีสงสัยต้องอยู่ยาว ถ้าไม่มีก้ออยู่สั้น สู้องค์ประกอบภายในยาก
ที่มา Chatchai Kittikun / ต่อต้านนักการเมืองโกงชาติขายแผ่นดิน
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
เจตนาร้าย (Mens Rea) คือ สิ่งที่บ่งบอกสภาวะที่แท้จริงของจิตใจ อันเกี่ยวกับจิตใจที่ชั่วร้าย (evil mind) นอกจากนี้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ คำว่า เจตนาร้าย หมายความครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็น การกระทำโดยเจตนา (intention) และส่วนที่เป็นการกระทำโดยประมาทโดยรู้ตัว (Recklessness) ด้วย
สำหรับความเห็นของนักกฎหมายที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจุบันเห็นว่า เจตนาร้าย (mens rea) มีอยู่ในส่วนของการกระทำโดยเจตนาและการกระทำประมาทโดยรู้ตัว (recklessness) ส่วนกรณีการประมาทธรรมดา (negligence) ยังมีข้อโต้เถียงกันว่าจะถือว่าผู้กระทำมีเจตนาร้าย (mens rea) หรือไม่
ประมาทโดยรู้ตัวเช่น นายแดงรู้ทราบว่ารถของตนเบรกไม่ดี แต่ก็ยังฝืนขับไป และเกิดชนคนตายเพราะรถเบรกไม่อยู่ เป็นการกระทำโดยประมาทโดยรู้ตัว (recklessness) เพราะรู้ถึงความบกพร่องของรถ แต่ยังฝืนใช้ไปไม่ซ่อมให้ดี ตามกฎหมายคอมมอนลอว์ ถือว่ามีเจตนาร้าย (Mens Rea)
แต่ถ้าเป็นกรณีประมาทธรรมดาหรือประมาทเพราะความผลั้งเผลอ (negligence) เช่น ขับรถด้วยความเร็วเพราะรีบกลับบ้าน จนถึงทางแยกเบรกไม่ทัน รถเลยไปชนคนตาย เช่นนี้เป็นความประมาทธรรมดา (negligence) ไม่ถือว่ามีเจตนาร้าย (mens rea)


ไม่มีความคิดเห็น: