PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

บิ๊กตู่ ขออย่าขยายความ รองอธิบดีจิ๊กภาพ อ้างโหราศาสตร์ ปีนี้คนไม่ดีถูกเปิดโปง

“บิ๊กตู่” รอผลสอบ รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ขโมยภาพที่ญี่ปุ่น เผย ดูโหราศาสตร์ บอกปีนี้เป็นปีแห่งข้อเท็จจริง วอนอย่าเหมาไทยแย่ลงหลัง “ซีพีไอ” ประกาศลดคะแนนชี้วัดคอร์รัปชัน ชี้ทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งแต่อดีต
เมื่อเวลา 11.50 น. วันที่ 25 มกราคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ขโมยภาพจากโรงแรมเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างการเดินทางไปประชุมเรื่องสิทธิบัตรกับรัฐบาลญี่ปุ่นว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการสอบสวนเรื่องดังกล่าว ส่วนตัวยังไม่เห็นรายละเอียด ทำไมข่าวทำนองนี้ออกมามาก หรือเพราะหมอดูออกมาบอกว่า ปีนี้สิ่งที่ปิดบังกันเอาไว้ จะถูกเปิดเผยมาทั้งหมด
“ผมดูโหราศาสตร์ จากหนังสือของสื่อ ว่าในปี 2560 เป็นปีแห่งการเปิดเผยข้อเท็จจริง ซึ่งผมก็ไม่เดือดร้อนอะไร และผมก็พร้อมจะตรวจสอบให้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามขอว่าอย่าขยายความกันมากนัก แต่เมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงก็ต้องมีการตรวจสอบต่อไป ถ้าขยายกันมากเดี๋ยวจะหาว่าประเทศไทยรวมทุกอย่างเลยหรือ ไม่ได้ปิดบัง แต่ต้องคิดสองด้านว่าผลดี ผลเสียมีอะไรบ้าง แต่สงสัยทำไมประเทศไทยติดอยู่หลายคดี ทั้งเรื่องการทุจริต เรื่องการให้สินบน ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน จะสืบได้หรือไม่ก็ไม่รู้ เพราะเรื่องนี้หลักฐานไม่มี เว้นแต่จะสอบได้ทางโน้น แต่ก็จะพยายามทำทุกอย่าง เรื่องอะไรที่ทำไปแล้วยังไม่ยุติอย่างมาถามผม เดี๋ยวจะเกิดความขัดแย้งอีก เมื่อวานก็พูดเร็วไปหน่อย เรื่องคณะกรรมการ หอประชุมกำลังทำอยู่ ผมให้แนวทางไปคิดมาให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะต้องผ่านอัยการอยู่แล้ว” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (ทีไอ) เปิดเผยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (ซีพีไอ) ของไทยในปี 2559 อยู่อันดับที่ 101 ได้ 35 คะแนน ว่า ต้องดูว่าต่ำลงเรื่องอะไรบ้าง เพราะบางอันก็สูงขึ้น บางอันก็ต่ำลง จึงต้องไปดูว่าที่ต่ำลงเพราะอะไร แล้วอะไรดีขึ้น ไม่ใช่มันแย่ลงทั้งหมด อย่ามองประเทศไทยอย่างนั้น มันดีขึ้นหมด แต่จะแย่ลงก็ตรงที่ข่าวที่ออกมา อย่าลืมว่าทุกอย่างเกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบันตนสั่งการให้ตรวจสอบทั้งหมด ร้องเรียนให้หน่วยงาน หรือองค์กรอิสระดูแลทั้งหมดอยู่แล้ว ตนไม่เคยไปห้ามใครเลยตรวจสอบอะไรก็ตรวจสอบไป นี่คือการบริหารราชการแผ่นดินของตนมาโดยตลอด
“ดูแล้วกันตามคำโหราศาสตร์ในหนังสือ ปีนี้เป็นปีแห่งคนไม่ดีที่จะต้องถูกอะไรก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นให้ทำตัวเป็นคนดี มีคุณธรรม อยู่ในศีลธรรมอันดี ทำงานเพื่อประเทศชาติ ช่วยกันไม่โกงกิน ไม่ทุจริต ผมว่ามันอยู่ได้ หมอดูเขาบอกไว้แล้ว โหราศาสตร์ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

อย่ามา"บัว"

สำนวน การเมือง ยุค "บิ๊กตู่" วันนี้....คือ
"อย่า มา "บัว""...5555
อย่าทำตัวเหมือน บัวใต้น้ำ !!!
เพราะเรื่อง ของ "อ่าง"
อ่างบัว
นำมาซึ่ง บัวพ้นน้ำ-บัวใต้น้ำ-บัวใต้โคลนตม
ไอ้พวกสมองไม่เปลี่ยน ก็เป็นพวก "บัว..." เป็นอาหารของ เต่า ปู ปลา
หาว่า ยุค บิ๊กตู่ มีแต่ผลงานฉาบฉวย เป็นบัวพ้นน้ำ. ไม่พูดถึง บัวในตม....
ชอบ ดอกบัว บังหลวง
อ่างบัวแตก มีประกัน มั้ย!
วันนี้ นายกฯ พูดคำว่า "บัว" ไม่น้อยกว่า 20 คำ

ข่าว25/1/60

รัฐธรรมนูญ

"ชาติชาย" ระบุ ฟังความเห็น พ.ร.ป.กสม. วันนี้เน้นใน 5 ประเด็น มีภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 200 คน 

นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น กรธ. เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ในวันนี้จะเป็นการ
เปิดเวทีรับฟังความเห็นของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เบื้องต้นมีผู้ตอบรับเข้าร่วมแล้วประมาณ 200 คน ซึ่งรวมถึงประธาน กสม. และ กรรมการ กสม. ชุดปัจจุบันด้วย

ทั้งนี้ นายชาติชาย ยังกล่าวด้วยว่า รูปแบบของการรับฟังความเห็นในวันนี้ ก็จะมีการนำร่างของ กสม.เดิม และ ร่างที่ กรธ. ยกร่างขึ้น ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปทั้งหมด มาเปรียบเทียบกันให้แต่ละฝ่ายเสนอแนะเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดีที่สุด ใน 5 ประเด็นหลัก คือ ที่มาของ กสม., กรรมการสรรหา ซึ่งจะต้องแตกต่างจาก กรรมการสรรหา องค์กรอิสระอื่น ๆ ตามพันธสัญญาผูกมัดระหว่างประเทศ, ขอบเขตอำนาจหน้าที่ วิธีการทำงานของ กสม. เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับองค์กรอื่น ๆ และรัดกุมที่สุด
-------
กรธ. จัดสัมมนารับฟังความเห็นร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย กสม. เพื่อนำมาพิจารณาแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จัดโครงการสัมมนา เรื่อง "การรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ ... โดยมี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เป็นประธานกล่าวเปิดสัมมนา ทั้งนี้ การจัดโครงการนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนของหน่วยงานต่าง ๆ และนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมายลูกฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมถึงให้ผู้ร่วมสัมมนามีความรู้ ความเข้าใจ

ขณะเดียวกัน ได้เปิดอภิปรายเสนอความคิดเห็นจาก นายโสพล จริงจิต ที่ปรึกษาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ น.ส.นัยนา สุภาพึ่ง ที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ ซึ่งดำเนินรายการโดย รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ ประธานอนุกรรมการพิจารณาศึกษาหลักการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
-----------
"มีชัย" เปิดสัมมนารับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมายลูก กสม. ชี้ คณะกรรมการสรรหาต้องมีความหลากหลาย และทำงานร่วมกันเป็นระบบ 

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. กล่าวเปิดสัมมนารับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ... ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา พบว่าการทำงานของ กสม. มีปัญหาอย่างต่อเนื่อง ที่นำไปสู่การลดบทบาทในนานาชาติ ซึ่งปัจจัยหนึ่งเกิดจากที่มาของคณะกรรมการ กสม. ไม่มีความหลากหลาย ขาดความโปร่งใสในการสรรหา และไม่เชื่อมโยงกัน ทำให้ กรธ. ได้กำหนดภารกิจในมีความชัดเจนมากขึ้น และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมได้กำหนดองค์ประกอบที่มาของคณะกรรมการ กสม. จะต้องมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ อย่างน้อยสาขาละ 1 คน ทั้งนี้ เห็นว่าการทำงานขององค์กรอิสระส่วนใหญ่ เกิดการแบ่งงานกันทำจนทำให้เกิดปัญหาตามมา จึงสร้างกลไกใหม่ในการทำงานเป็นทีม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

พร้อมปฏิเสธในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ได้เพิ่มหน้าที่ให้ กสม. เป็นโฆษกหน่วยงานของรัฐบาล แต่รายงานความเป็นจริงที่เป็นอยู่ในประเทศไทย ขณะเดียวกัน ย้ำว่าการทำงานของ กสม. ต้องทำงานให้สอดคล้อง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเกิดผลกับประชาชนอย่างแท้จริง
-------------
"มีชัย" บอก หาก กสม. ไม่จัดทำแผนประจำปีล่วงหน้า ให้พ้นตำแหน่งทั้งคณะ พร้อมขอริเริ่มทำปมละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเป็นระบบมากขึ้น

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. กล่าวในงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ... ว่า อยากให้ กสม. ริเริ่มทำเรื่องการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างเป็นระบบให้มากขึ้น มากกว่าการแก้ปัญหารายบุคคล โดยเฉพาะเรื่องการใส่โซ่ตรวนนักโทษ และการปล่อยให้ผู้สื่อข่าวซักถามผู้ต้องหา

โดยปัญหาที่ทำให้ไทยถูกมองในแง่ลบ เพราะที่มาของ กสม. ไม่หลากหลายพอ ขาดความโปร่งใสในการสรรหา ขณะเดียวกัน กสม. ต้องทำแผนงานประจำปีล่วงหน้า หากจัดทำไม่แล้วเสร็จให้ กสม. พ้นตำแหน่งไปทั้งคณะ เพื่อป้องกันไม่ให้การทำงานล่าช้า

ทั้งนี้ นายมีชัย ยังเห็นว่า ที่ผ่านมาการทำงานของ กสม. และผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเกี่ยวข้องกัน จนทำให้การทำงานเกิดความซ้ำซ้อน ดังนั้น กรธ. มองว่า หากทั้ง 2 หน่วยงานร่วมมือกันอย่างจริงจัง เชื่อว่าภายใน 5 - 10 ปี จะลดขั้นตอนและได้รับการแก้ไขให้รวดเร็วขึ้น

ขณะที่ผู้ร่วมเสวนา ได้สะท้อนความเห็นอยากให้ปรับในเรื่องของคณะกรรมการสรรหาให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะตัวคณะกรรมการสรรหาต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้ความรู้ดังกล่าวสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้อย่างตรงจุด
/////////////

ปรองดอง

"สุวิทย์" หารือ "พรเพชร - ทินพันธุ์" วางกรอบแนวทางการทำงานปฏิรูป - ยุทธศาสตร์ชาติ - ปรองดอง ก่อนประชุม ป.ย.ป. นัดแรก 1 ก.พ. นี้ 

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหารือเตรียมการประชุมเชิงปฏิบัติการ บูรณาการการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 โดยมี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ตัวแทนจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช., ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ตัวแทนจากสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. และ นายสุวิทย์ ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐบาล รวมถึงในงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว

โดย นายสุวิทย์ กล่าวว่า วันนี้มีความสำคัญที่แม่น้ำ 3 สาย ได้มาร่วมหารือกันเพื่อกำหนดทิศทางการทำงาน ปฏิรูปยุทธศาสตร์ชาติและการปรองดอง เพื่อให้สามารถเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกันได้ ซึ่งวันนี้เป็นการหารือเบื้องต้น ก่อนมีการประชุมใหญ่ คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือ ป.ย.ป. นัดแรกในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ขณะที่ นายพรเพชร ระบุว่า การให้ สนช. เข้ามามีบทบาทร่วมขับเคลื่อนกับรัฐบาล และ สปท. เป็นเรื่องที่ดี เพราะส่งผลให้กฎหมายที่เข้าสู่การพิจารณาของ สนช. สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
--------------
ผบ.ทบ. ยังไม่เห็นรายชื่อ คณะกรรมการ ป.ย.ป. เชื่อการพูดคุยเป็นวิธีการดีสุดในการแก้ปัญหา - สร้างความปรองดอง ขอทุกฝ่ายลดทิฐิ

พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงกระแสที่มีชื่ออยู่ในคณะกรรมการบริหารราชการแผนดินดำเนินการตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ว่า ยังไม่เห็นรายชื่อ ยังไม่มีคำสั่งอย่างเป็นทางการ แต่ส่วนตัวเป็นห่วงการที่สื่อมวลชนได้สอบถามจากฝ่ายต่าง ๆ ก่อนจะมีการพูดคุยจะส่งผลเสียต่อกระบวนการ จึงอยากให้ทุกอย่างดำเนินการตามขั้น หลังจากมีรายชื่อ ป.ย.ป. ทุกอย่างจะเดินต่อไป และจะเห็นผลภายใน 3 เดือน เชื่อว่าการพูดคุยกันเป็นวิธีที่ดีที่สุด จะสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่มีมาอย่างยาวนานให้จบในยุคนี้ ขอให้ทุกฝ่ายลดทิฐิ รับฟังความเห็นที่แตกต่างกัน คิดถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ เชื่อว่าถ้าทุกคนมีจิตสำนึกทุกอย่างจะเดินหน้าต่อไป
---------------
เลขาฯ ป.ย.ป. เตรียมนัดนายกฯ - รองฯ ทั้ง 6 คน พร้อมประธาน สนช. - สปท. - กรธ. จัดลำดับความสำคัญวาระปฏิรูป 1 ก.พ. นี้ 

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้เป็นการหารือกันเบื้องต้น ของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูป ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการย่อยของ ป.ย.ป. ก่อนที่จะหารือร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะเชิญนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ทั้ง 6 คน ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีประเด็นสำคัญที่จะต้องหารือ คือ ลำดับความสำคัญของวาระการปฏิรูปทั้ง 36 เรื่องที่ สปท. พิจารณาเสร็จแล้ว พร้อมนำความเห็นของรัฐบาลมาร่วมพิจารณาด้วย จากนั้นจะมีการแยกว่า เรื่องใดจำ

เป็นต้องออกกฎหมาย หรือสามารถสั่งการให้มีการดำเนินการเพื่อให้กระชับและผลักเรื่องเร่งด่วนสำคัญเพื่อให้เกิดการปฏิรูปโดยเร็วที่สุด โดยต้องคำนึงถึงงบประมาณที่ใช้ในการปฏิรูปในแต่เรื่องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต

นอกจากนี้ จะต้องดูว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไรกับการปฏิรูปในแต่ละเรื่อง พร้อมกันนี้วันที่ 1 กุมภาพันธ์ จะเชิญคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. มาร่วมหารือด้วย เพื่อวางแผนการทำงานหลังร่างรัฐธรรมนูญ มีผลบังคับใช้
-----------------
"สุวิทย์" คาด "อำพน" เริ่มงาน ผอ. PMDU 30 ม.ค. นี้ เร่งพิจารณาโครรงสร้างสำนักงาน ขณะ ป.ย.ป. เดินหน้าทำงานต่อเนื่อง

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะกรรมการย่อยของคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือ ป.ย.ป. อีก 3 ชุด ขณะนี้ยังคงเดินหน้าทำงานในส่วนที่รับผิดชอบ อาทิ คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ ที่มี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย เป็นผู้กำกับดูแล ที่จะมีการประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 30 มกราคม นี้ ส่วนคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะต้องหารือกับ พล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อดูเรื่องการขับเคลื่อนต่อไป

อย่างไรก็ตาม คาดว่า นายอำพน กิตติอำพน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสำนักบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี หรือ PMDU ในวันที่ 30 มกราคม นี้ ส่วนโครงสร้างสำนักงาน PMDU นั้น อยู่ระหว่างการพิจารณา
---------------
"อภิสิทธิ์" ได้หนังสือแสดงความเห็นปรองดอง สปท. แล้ว จ่อส่งกลับ 31 ม.ค. ยัน หลักการต้องไม่ขัดกฎหมาย

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงแนวทางการสร้างความปรองดอง ว่า ได้รับหนังสือสอบถามความเห็นจากคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา รวบรวมความเห็น วิเคราะห์ และสังเคราะห์ประเด็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และการสร้างความปรองดองทางการเมือง ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. ซึ่งตัวเองพร้อมที่จะตอบหลับเป็นลายลักษณ์อักษร ในวันที่ 31 มกราคมนี้ และเตรียมเชิญสมาชิกพรรคมาหารืออย่างไม่เป็นทางการในวันพรุ่งนี้ (26 ม.ค.) เพื่อรวบรวมความเห็นให้สมบูรณ์ที่สุด ในการแสดงจุดยืนของพรรค ทั้งนี้ หลักคิดยังคงเดิมคือ การปรองดองที่ยั่งยืนไม่ขัดต่อกฎหมาย ส่วนการนิรโทษกรรมก็ควรคำนึงถึงประชาชนในความผิดทั่วไปไม่ร้ายแรง และความผิดตามกฎหมายพิเศษ ขณะที่ความผิดอื่น ก็ให้เข้ากระบวนการยุติธรรม

พร้อมกันนี้ ยังแสดงความเป็นห่วงว่า การทำงานเรื่องการปรองดองของ ป.ย.ป. และ สปท. เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ เพราะมีการติดต่อให้มาเสนอความเห็น จึงไม่อยากให้ทำงานซ้ำซ้อน ควรมีเจ้าภาพในการดำเนินงาน
---------------
///////////////
การทุจริต/โรลส์-รอยซ์

ไทย คะแนนความโปร่งใสลด รั้งอันดับ 101 จาก 176 ประเทศ ขณะ เดนมาร์ก แชมป์ ส่วน สิงคโปร์ มีคะแนนดีสุดของทวีปเอเชีย 

องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ประกาศผลการจัดอันดับความโปร่งใสประจำปี 2016 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่า ประเทศไทย มีคะแนนความโปร่งใสลดลง จาก 38 คะแนน ในปี 2015 เหลือ 35 คะแนน ในปีนี้ โดยรั้งอันดับ 101 ร่วมกับอีก 7 ประเทศ อาทิ ฟิลิปปินส์, ติมอร์ - เลสเต, เปรู, กาบอง และทรินิแดด แอนด์โทเบโก เป็นต้น จากทั้งหมด 176 ประเทศ

ทั้งนี้ ประเทศที่คว้าแชมป์ ความโปร่งใสในปีนี้ คือ เดนมาร์ก มี 90 คะแนน รองลงมา นิวซีแลนด์, ฟินแลนด์, สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ตามลำดับ ขณะที่ สิงคโปร์ เป็นชาติในเอเชีย ที่มีอันดับความโปร่งใสสูงสุด มี 84 คะแนน รั้งอันดับ 7 ในการจัดอันดับครั้งนี้

สำหรับประเทศที่มีอันดับความโปร่งใสต่าสุด ในปีนี้ เป็นของ โซมาเลีย 10 คะแนน รองลงมา ซูดานใต้ 11 คะแนน และ เกาหลีเหนือ 12 คะแนน
-----------
"พล.อ.ประวิตร" ย้ำ กองทัพไม่เกี่ยวข้องสินบนโรลส์ - รอยซ์ เพราะกองทัพไม่มีเครื่องยนต์ยี่ห้อที่มีปัญหา ขณะการตรวจสอบยึดขั้นตอนตามนายกฯ แจง 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ พล.ท.จันสะหมอน จันยาลาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประธานคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนทั่วไปลาว - ไทย และคณะเข้าเยี่ยมคำนับ ที่ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

โดยก่อนเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พล.อ.ประวิตร กล่าวถึงความคืบหน้า การตรวจสอบทุจริตการรับสินบน บริษัท โรลส์ - รอยซ์ ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พูดไปหมดแล้ว และต้องปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินการไปตามขั้นตอน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบตามกฎหมาย ส่วนตัวขอยืนยันอีกครั้งว่ากองทัพไม่เกี่ยวข้อง เพราะกองทัพไม่มีเครื่องยนต์โรลส์ - รอยซ์แต่อย่างใด
----------
อนุฯ กมธ.ปราบปรามการทุจริต เร่งศึกษาข้อกฎหมาย ปมสินบน โรลส์ - รอยซ์ รับอนาคตอาจแก้ กม. ขยายอายุความ

ที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการศึกษา เสนอแนะมาตรการและกลไกในการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้หยิบยก กรณีผู้บริหารบริษัท โรลส์ - รอยซ์
ออกมายอมรับต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษ ว่า ได้จ่ายสินบนในหลายประเทศ ที่ทำการซื้อขายเครื่องยนต์ของโรลส์ - รอยซ์ รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่ง พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ หนึ่งในกรรมาธิการ เปิดเผยว่า เบื้องต้นคณะอนุกรรมาธิการกำลังศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อหาแนวทางการป้องกันไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้น มากกว่าการมองหาคนผิดมารับโทษ พร้อมเสนอให้มีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับคดีความดังกล่าว มาหารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และมองว่าสิ่งสำคัญที่จะไม่ทำให้การทุจริตเกิดขึ้นก็ คือ มาตรการทางสังคม ที่จะกดดันไม่ให้คนเหล่านั้นกระทำการทุจริตอีก

ส่วนเรื่องอายุความของคดี ในอนาคตอาจมีการปรับแก้กฎหมายให้ขยายอายุความของคดีที่เกี่ยวข้องกับการทจิต คอร์รัปชั่น เพื่อให้เวลากับพนักงานสอบสวนในการตรวจสอบพยานและหลักฐาน
-----------
/////
รองอธ.กรมทรัพย์สินทางปัญญาขโมยภาพวาด

สื่อท้องถิ่นญี่ปุ่นรายงานจับขรก.ไทยขโมยภาพวาด

เมื่อวันที่ 25 มกราคม สื่อท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่นรายงานเมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ เมืองเกียวโตได้เข้าควบคุมตัวชายไทยต้องสงสัยเป็นผู้ขโมยภาพวาด 3 ภาพมูลค่า 15,000
เยน ที่ติดอยู่ในโรงแรม หลังจากพนักงานโรงแรมดังกล่าวพบว่ามีภาพวาดที่ตกแต่งอยู่บริเวณชั้น9-10ได้หายไป จึงได้เข้าแจ้งความ โดยการตรวจสอบกล้องวงจรปิดพบชายไทยผู้ต้องสงสัยที่เข้าพักในโรงแรม เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงขอตรวจค้นกระเป๋าระหว่างการเช็คเอ้าท์ออกจากโรงแรมจึงพบภาพวาดดังกล่าว
จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจชายไทยคนดังกล่าว ระบุเพียงว่า ทำงานอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ของไทย

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวไปควบคุมที่สถานีตำรวจในเมืองเกียวโตและเตรียมส่งดำเนินคดี โดยจะถูกนำตัวส่งฟ้องศาลต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า คนไทยที่ถูกจับกุมครั้งนี้เป็นข้าราชการระดับรองอธิบดีคนหนึ่งในกระทรวงพาณิชย์
------------
กต. ทราบเรื่อง ขรก. ถูกจับที่ญี่ปุ่นแล้ว สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา เร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือ - เข้าเยี่ยมแล้ว 

นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณี สื่อท้องถิ่นในญี่ปุ่น รายงานการจับกุมคนไทยที่เป็นข้าราชการระดับสูง ว่า สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา ได้รับทราบข่าวดังกล่าวแล้ว และอยู่ระหว่างการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยในชั้นนี้คนไทยดังกล่าวอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจญี่ปุ่น โดยทางการญี่ปุ่น ยังไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัว เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของผู้ถูกควบคุมตัว

ทั้งนี้ โฆษก กต. กล่าวว่า สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ พร้อมให้ความช่วยเหลือด้านการกงสุล อาทิ การจัดสรรล่าม และทนายความ ตามแนวทางการให้ความช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยาก ที่ได้ปฏิบัติเป็นปกติในทุกกรณี เพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ โดยขณะนี้สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา อยู่ระหว่างการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอเข้าเยี่ยมคนไทยดังกล่าวแล้ว
------------
ปลัดพาณิชย์ ยอมรับ มีข้าราชการ ระดับรองอธิบดีถูกจับกุมที่ประเทศญี่ปุ่นจริง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานขั้นตอนทางกฎหมาย

จากกรณีที่สื่อท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองเกียวโต ได้เข้าควบคุมตัวชายไทยต้องสงสัยเป็นผู้ขโมยภาพวาดในโรงแรม และจากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ระบุเป็นข้าราชการระดับรองอธิบดีคนหนึ่งในกระทรวงพาณิชย์

ทั้งนี้ นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้รับทราบถึงกรณีดังกล่าวแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่าง การประสานงานของสถานกงสุลไทยในญี่ปุ่น และสำนักงานพาณิชย์ไทย โดยต้องเข้ากระบวนการตามกฎหมายของญี่ปุ่น แต่ในส่วนของรายละเอียดนั้น คงต้องรอการเดินทางกลับมาเพื่อชี้แจงรายละเอียดที่ประเทศไทย โดยยอมรับว่าช่วงเวลานี้ มีข้าราชการระดับรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เดินทางไปเข้าร่วมประชุม เรื่องสิทธิบัตร ที่ประเทศญี่ปุ่นจริง

อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากกระทรวงต่างประเทศยอมรับว่า ได้รับทราบรายงานจากสถานทูตไทยประจำกรุงโตเกียว กรณีที่รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ถูกจับที่ญี่ปุ่น ฐานขโมยภาพวาดของโรงแรมแล้ว และกำลังเตรียมที่จะแถลงความคืบหน้าในการประสานกับทางการญี่ปุ่นถึงการดำเนินคดีดังกล่าวภายในวันนี้

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดใด ๆ เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวได้ เนื่องจากอยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูลจากทางญี่ปุ่น
----------
ตามที่สื่อท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่นรายงานเมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ เมืองเกียวโตได้เข้าควบคุมตัวชายไทยต้องสงสัยเป็นผู้ขโมยภาพวาด 3 ภาพมูลค่า 15,000 เยน ที่ติดอยู่ในโรงแรม หลังจากพนักงานโรงแรมดังกล่าวพบว่ามีภาพวาดที่ตกแต่งอยู่บริเวณชั้น 9-10 ได้หายไป จึงได้เข้าแจ้งความ โดยการตรวจสอบกล้องวงจรปิดพบชายไทยผู้ต้องสงสัยที่เข้าพักในโรงแรม

เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงขอตรวจค้นกระเป๋าระหว่างการเช็กเอาต์ออกจากโรงแรมจึงพบภาพวาดดังกล่าว และจากการสอบสวน เบื้องต้นคนไทยดังกล่าวระบุว่า ทำงานอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ของประเทศไทย ภายหลังทราบว่ามีตำแหน่งเป็นรองอธิบดี โดยขณะนี้อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีนั้น

ความคืบหน้าล่าสุดเมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 25 มกราคม น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงตำรวจท้องถิ่นในญี่ปุ่นคุมตัวผู้ต้องสงสัยขโมยภาพตกแต่งในโรงแรม ว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ในญี่ปุ่น ไปติดตามและตรวจสอบข้อเท็จจริง และประสานขอข้อเท็จจริงกับสถานทูตไทยในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม จะดำเนินการอย่างไร ต้องรอข้อเท็จจริง และการชี้แจงจากรองอธิบดีที่ถูกกล่าวก่อน ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถติดต่อได้

“รองอธิบดีคนดังกล่าวเดินทางไปประชุม อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานพาณิชย์ ณ เมืองโอซากา ประสานอยู่ และตอนนี้อยู่ในขบวนการทางกฎหมายของญี่ปุ่น คงได้ทราบข้อเท็จจริง เมื่อเดินทางกลับมาไทย” ปลัดกล่าว
-------------
ดูประวัติ"สุภัฒ"

รายงานข่าวระบุว่า นายสุภัฒ สงวนดีกุล รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ ส่วนตัวเป็นคนน่ารัก นิสัยดี ติดดิน เป็นคนตรงๆ ทำงานจริงจัง นึกถึงผลประโยชน์ของหลวงเป็นสำคัญ
ขณะที่ประวัติการศึกษาและการทำงาน จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา High School attached to Gakugei University กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น และปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น

ประสบการณ์การทำงาน เริ่มจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นเลขานุการเอก สำนักงานที่ปรึกษาการพาณิชย์ ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา, เลขานุการเอก สำนักงานที่ปรึกษาการพาณิชย์ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น, ที่ปรึกษา(ฝ่ายการพาณิชย์) สำนักงานที่ปรึกษาการพาณิชย์ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย, อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม, ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และผู้อำนวยการ สำนักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เข้ามาดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2558

ล่าสุด น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ที่ญี่ปุ่นทำการตรวจสอบและติดตามข้อเท็จจริงในเรื่องนี้แล้ว และให้ประสานกับสถานทูตไทยในญี่ปุ่น โดยตอนนี้เรื่องอยู่ในกระบวนการทางกฎหมายของญี่ปุ่น คงจะได้ทราบข้อเท็จจริงเมื่อท่านเดินทางกลับมา ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากการตรวจสอบ มีรองอธิบดีของกระทรวงพาณิชย์ คือ นายสุภัฒ สงวนดีกุล รองกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพียงคนเดียวที่ได้เดินทางไปญี่ปุ่นโดยเป็นการเดินทางไปอบรมเรื่องสิทธิบัตรกับรัฐบาลญี่ปุ่น และตามกำหนดการเดิม มีกำหนดที่จะเดินทางกลับในวันนี้ (25 ม.ค.) แต่ได้มีการแจ้งมายังกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าจะเลื่อนการเดินทางกลับโดยไม่มีกำหนด และไม่ต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปรับ

นอกจากนี้ นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังได้มีการหารือกับปลัดกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหาถึงเรื่องที่เกิดขึ้น และเตรียมการที่จะหาทางช่วยเหลือต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับตัวนายสุภัฒ ข้าราการในกรมทรัพย์สินทางปัญญา ระบุว่า โดยส่วนตัวแล้ว เป็นคนน่ารัก นิสัยดี ติดดิน ส่วนในเรื่องการทำงาน เป็นคนตรงๆ ทำงานจริงจัง นึกถึงผลประโยชน์ของหลวงเป็นสำคัญ แต่บางครั้งอารมณ์ร้อน อาจทำให้ลูกน้องไม่ชอบบ้าง
----------
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผย ต้องรอตรวจสอบ ข้าราชการระดับสูงขโมยภาพที่ญี่ปุ่น คาดไม่กระทบเชื่อมั่น

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงกรณีที่ข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ ถูกจับที่ประเทศญี่ปุ่นในข้อหาขโมยภาพวาดในโรงแรม ว่า ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวเบื้องต้นแล้ว และอยู่ระหว่างตรวจสอบ โดยยอมรับว่า มีรองอธิบดีได้เดินทาง เข้าร่วมสัมมนาเชิงวิชาการที่ประเทศญี่ปุ่นจริง จึงได้ประสานขอข้อมูลไปยังสำนักงานพาณิชย์ที่ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงสถานทูตไทยในประเทศญี่ปุ่น เพื่อติดตามดูแลรายละเอียดข้อมูลเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิดแล้ว

โดยยืนยันว่าเรื่องดังกล่าวจะต้องมีการพิจารณาและให้ความเป็นธรรม แต่ทั้งนี้ต้องรอผลการตรวจสอบจากประเทศญี่ปุ่นก่อน ว่ามีเหตุผลและข้อเท็จจริงในการกระทำเป็นอย่างไร แต่หากผิดจริงก็จะมีการจัดการตามระเบียบขั้นตอนทางราชการ และมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง นอกจากนี้ มั่นใจว่าเรื่องดังกล่าวไม่น่าจะกระทบความเชื่อมั่นต่อข้าราชการของไทยในการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ เพราะเรื่องดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย และมั่นใจว่าข้าราชการไทยทุกคนมีระเบียบวินัยในการทำงาน และคาดว่าผลสรุปเรื่องดังกล่าว จะรู้ผลภายใน 1 - 2 วันนี้ ๆ นี้
-----------
กระทรวงพาณิชย์ ประสานขอเข้าเยี่ยมข้าราชการถูกกล่าวหาขโมยภาพที่ญี่ปุ่น พร้อมสอบข้อเท็จจริง หากพบมีความผิด ต้องลงโทษตามขั้นตอน

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณี ทางการญี่ปุ่นควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยชาวไทย ซึ่งเป็น รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่า ขณะนี้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา ได้รับเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยพร้อมให้ความช่วยเหลือด้านการกงสุล โดยมีการจัดสรรล่าม และทนายความ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอเข้าเยี่ยมในวันพรุ่งนี้ ( 26 ม.ค.) ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ให้ตัวแทนจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโอซากา ประสานทำความเข้าใจร่วมกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว อย่างใกล้ชิด ซึ่งในรายละเอียดนั้น ยังต้องติดตาม ต่อไป โดยหากพบมีการกระทำความผิดจริง หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการตามกฎหมายของญี่ปุ่นแล้วทางกระทรวงพาณิชย์จะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเอาผิดทางวินัยต่อไป

แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายด้วย ในขณะนี้ถือว่ายังไม่สิ้นสุดกระบวนการซึ่งโทษทางวินัยนั้น มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนตามกฎหมาย โดยขณะนี้ได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาในทุกชั้นได้รับทราบแล้ว
-------------
นายกฯ รอผลสอบ รองอธิบดีถูกจับที่ญี่ปุ่น ไม่กังวลเรื่องเปิดเผยข้อมูล ขออย่าขยายความ สงสัยทำไมประเทศไทยถึงมีแต่เรื่องทุจริต

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่ตำรวจเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ได้จับกุมตัว รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา หลังจากที่มีการตั้งข้อสงสัยว่าได้ขโมยภาพวาด 3 ภาพมูลค่า 15,000 เยน ที่แขวนไว้ตกแต่งบริเวณทางเดินของโรงแรม ว่า ยังไม่ได้รับทราบข่าวดังกล่าว แต่ก็จะต้องสอบสวนข้อเท็จจริง

พร้อมกล่าวว่า ได้ดูโหราศาสตร์ในหนังสือพิมพ์ที่มีการระบุ ว่า ปีนี้เป็นปีแห่งการเปิดเผยข้อเท็จจริง ซึ่งไม่ได้เดือดร้อนอะไร แต่ก็จะตรวจสอบให้ทั้งหมด จึงขออย่าไปขยายความ อยากให้คิดสองด้านทั้งผลดีและผลเสีย โดยยืนยันว่า ไม่ได้ปิดบังอะไร แต่สงสัยว่าทำไมประเทศไทยถึงมีแต่เรื่องทุจริต 4 - 5 เรื่อง ทั้งการให้สินบนกรณีบริษัท โรลส์ - รอยซ์ ด้วย ถึงแม้จะไม่ได้สืบสวนแต่ต้นและทำให้หาหลักฐานยาก แต่ก็จะพยายามทำทุกอย่าง
-------------
นายกฯ ขอให้ดูที่สาเหตุ ค่า CPI ลดลง อย่ามองแย่ทั้งหมด ยันประเทศดีขึ้น ขอให้เชื่อมั่น ดำเนินการตรวจสอบทั้งหมดแล้ว 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เผยแพร่ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นปี 2559 พบว่า ไทยอยู่ในอันดับที่ 101 จากทั้งหมด 176 อันดับ ซึ่งอันดับตกลงจากปีที่ผ่านมานั้น ว่า จะต้องไปดูที่สาเหตุว่าต่ำลงตรงไหน เพราะบางเรื่องสูงขึ้นและบางเรื่องแย่ลง เฉลี่ยกันจึงต่ำ เพราะอาจมีตัวชี้วัดที่บางข้อทำได้ไม่ดีพอ จึงขออย่ามองแย่ทั้งหมด เนื่องจากประเทศไทยดีขึ้น และขอให้เชื่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งอย่าลืมว่าทุกอย่างเกิดขึ้นในอดีต

พร้อมยืนยันว่า ปัจจุบันได้ดำเนินการตรวจสอบทั้งหมดอยู่แล้ว โดยจะร้องเรียนให้องค์กรอิสระตรวจสอบอยู่แล้ว เพราะเป็นแนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน และขอให้ดูตามคำโหราศาสตร์ทำนาย ซึ่งไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่
-------------
การบินไทย เล็งฟ้องทางแพ่ง ผู้ที่กระทำให้เกิดความเสียหายแก่องค์กร กรณีรับสินบนโรลส์ - รอยซ์ เชื่อ ป.ป.ช. สตง. สอบข้อมูลเร็ว

ร.อ.กนก ทองเผือก รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจการองค์กร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานเสวนา "อย่าให้คนโกงมีที่ยืนในการบินไทย ปตท. และประเทศไทย" กรณีสินบน โรลส์ - รอยซ์ ว่า ขณะนี้คณะกรรมการตรวจสอบที่การบินไทยได้ตั้งขึ้นอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด โดยในทางธุรกิจการบินไทยได้พิจารณาเบื้องต้นว่าหากพบหลักฐานจากหน่วยงานเอสเอฟโอ ว่ามีการจ่ายสินบนหรือค่าตอบแทนพิเศษ และพาดพิงว่าเพื่อการบินไทยและแสดงให้เห็นว่าการบินไทยจัดหาเครื่องสูงกว่าที่ควรจะเป็น การบินไทยอาจจะฟ้องทางแพ่งผู้ที่ดำเนินการ เนื่องจากทำให้การบินไทยเสียหายได้

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหากภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. และ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. จะได้ข้อมูลรวดเร็วมากขึ้น ขณะเดียวกัน การบินไทย ยังได้ทำหนังสือถึง โรลส์ - รอยซ์ ให้เปิดเผยข้อมูล ส่วนกรณีการขึ้นแบล็กลิสต์หรือยกเลิกการทำการค้ากับบริษัท โรลส์ - รอยซ์ อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะอาจจะส่งผลต่อการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ ของการบินไทยได้
--------
ปตท. ตั้งคณะกรรมการสอบปมสินบน โรลส์ - รอยซ์ พร้อมให้ความร่วมมือรัฐตรวจสอบข้อเท็จจริง

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าว ในงานเสวนา อย่าให้คนโกงมีที่ยืนในการบินไทย ปตท. และประเทศไทย กรณีสินบน โรลส์ - รอยซ์ ว่า หลังจากที่กรณี บริษัท โรลส์-รอยซ์ ประเทศไทย จำกัด มีการจ่ายสินบนแก่อดีตผู้บริหารและพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และจากการสอบสวนพบการติดสินบนให้เจ้าหน้าที่บริษัท ปตท. และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม นั้น ขณะนี้ทาง ปตท. ได้ตั้งคณะกรรมการภายในขึ้นมาเพื่อทำการจรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้วว่ามีบุคคลใดเกี่ยงข้องบ้างรวมถึงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใสหรือไม่ หลังจากนั้นจะนำเสนอข้อมูลทั้งหมดส่งให้กับ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เพื่อเป็นการสนับสนุนและให้ความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในกระบวนการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง

ขณะที่ นายเมธี ครองแก้ว อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. กล่าวยอมรับว่า เป็นเรื่องยากในการหาข้อมูล เพราะมีกฎหมายอยู่ การขอข้อมูลจึงต้องผ่านสำนักงานอัยการสูงสุด ไม่มีปัญหาเรื่องเอกสารที่มีอยู่ที่เป็นภาษาอังกฤษต้องให้เจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญ
-----------
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น ชี้ปมสินบนโรลส์ - รอยซ์ ป.ป.ช. ควรเป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่เพียงผู้เดียว

นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการกลยุทธ์ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวในงานเสวนา อย่าให้คนโกงมีที่ยืนในการบินไทย ปตท. และประเทศไทย กรณีสินบนโรลส์ - รอยซ์ ว่ากรณีการจ่ายสินบนของโรลส์ - รอยซ์ นั้น มองว่าหน่วยงานที่จะเป็นเจ้าภาพในการตรวจสอบข้อเท็จจริงแต่เพียงผู้เดียว คือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. การบินไทย และ ปตท. ไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการภายในขึ้นมาตรวจค้นหรือสอบข้อมูล แต่ควรมีหน้าที่ในการสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับ ป.ป.ช. ในการประสาน ขอความร่วมมือด้านข้อมูลและการเข้าไปตรวจสอบให้เกิดความถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม มองว่า การลงโทษกับผู้กระทำความผิดด้านคอร์รัปชั่นควรมีบทลงโทษที่รุนแรง เนื่องจากการติดสินบนขณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะรัฐวิสาหกิจเท่านั้น แต่เกิดขึ้นทุกวงการอย่างกว้างขวาง เพราะเปรียบเสมือนอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการประสานงายขายสินค้าให้กับทางภาครัฐ และที่มีการคอร์รัปชันเหตุ เพราะไม่มีการจับได้ ดังนั้นหากมีการสอบสวนและจับได้บทลงโทษจะต้องรุนแรงมากที่สุด
--------
"สุรพงษ์" เชื่อ หากรัฐบาลเอาจริงปราบทุจริต ปัญหาจะเบาบางลง ความเชื่อมั่น ตปท. จะดีขึ้นดันเศรษฐกิจดีขึ้น เหน็บต้องทำจริง ไม่ปกป้องเลือกปฏิบัติ 

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หากรัฐบาลเอาจริงการทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวงให้หน่วยงานตรวจสอบการทุจริต ทั้ง ป.ป.ช. และ สตง. ทำหน้าที่กันอย่างเต็มที่ ไม่มีการปกป้อง ไม่เลือกปฏิบัติ เชื่อว่าการทุจริตก็จะเบาบางลงไปได้ และขอให้กำลังใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สั่งการและกำกับดูแลกันอย่างใกล้ชิด และเข้มแข็ง ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่ คสช. ได้ประกาศไว้ ความเชื่อมั่นของต่างชาติในเรื่องการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในไทยก็จะฟื้นกลับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ดีขึ้น การค้าขายและการลงทุนจากต่างชาติก็อาจจะเพิ่มมากขึ้นได้เหมือนสิงค์โปร์ ที่เอาจริงเอาจังกับขบวนการปราบปรามการทุจริตในประเทศ จนเป็นที่ยอมรับในสายตาประชาคมโลก

ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ ยังกล่าวด้วยว่า หากประเทศไทยขจัดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นได้ เชื่อได้ว่าบ้านเมืองจะเจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปได้มากกว่านี้ และอยากให้ทุกคนช่วยกัน
------------
"พิชัย" จี้ รัฐตรวจสอบทุจริตทุกโครงการรัฐอย่างเท่าเทียม พุ่งเป้าจัดซื้อจากจีน - รัสเซีย หวั่นมีการคอร์รัปชั่นมากขึ้น  

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า จากการที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ตรวจสอบพบการจ่ายสินบนของบริษัท โรลส์ - รอยซ์ ให้กับ การบินไทย, ปตท. และ ปตท.สผ. รวมถึงการจ่ายสินบนของบริษัท เจเนอรัล เคเบิ้ล ให้กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และทีโอที นั้น อยากให้มีการตรวจสอบหาผู้กระทำผิดเพื่อมาดำเนินคดีให้ได้ อย่าปล่อยปละละเลย เหมือนกันคดี จีที 200 ที่ยังหาผู้กระทำผิดไม่ได้ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาล ตรวจสอบทุกโครงการของรัฐ ที่เชื่อว่ามีการจ่ายค่าคอมมิชชั่นสินบนให้เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะที่มีการจัดซื้อจากประเทศจีนและรัสเซีย เพราะประเทศดังกล่าวอาจมีระบบการตรวจสอบการจ่ายสินบนภายในประเทศไม่เหมือนในสหรัฐและยุโรป ทำให้มีความเป็นห่วง

ว่าในอนาคตจะมีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการจัดซื้ออุปกรณ์จากประเทศสหรัฐฯ และยุโรป เพราะมีการตรวจเข้มในการจ่ายสินบนทุจริต เพื่อไปจัดซื้อจากประเทศที่ไม่มีการตรวจสอบ และทำให้มีการทุจริตมากยิ่งขึ้น
---------
"อภิสิทธิ์" แนะรัฐร่วมมือ ตปท. แบ่งปันข้อมูลทุจริต เชื่อยังมีอีกหลายกรณีคล้ายโรลส์ - รอยซ์ จี้ ปรับปรุงโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการบริษัท โรลส์ - รอยซ์ ให้สินบนหน่วยงานในประเทศไทย ว่า อยากให้รัฐบาลประสานกับต่างประเทศ เพื่อนำกรณีที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบันมาแก้ไขปัญหาระดับนโยบาย ซึ่งเชื่อว่า ยังมีกรณีลักษณะเดียวกันนี้อีก รัฐบาลควรมีการออกกฎหมายหรือมีข้อตกลงกับต่างประเทศในการแบ่งปันข้อมูล เพราะอาจมีกรณีที่เมื่อมีการไกล่เกลี่ยจ่ายค่าชดเชย เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกับกรณีอื่น ๆ ในอดีต ที่บริษัทต่างประเทศไกล่เกลี่ยคดีกับประเทศนั้นแล้ว ไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อหรือข้อมูลอื่นได้ ทั้งนี้ รัฐบาลควรพิจารณาถึงการปรังปรุงโครงสร้างการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตกับบริษัทต่างประเทศ ทั้งกรณีบริษัทการบินไทยฯ ปตท. และการไฟฟ้านควรหลวง ล้วนเป็นรัฐวิสาหกิจทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยกับแนวคิดการขึ้นบัญชีดำบริษัทต่างประเทศที่ร่วมกับเอกชนหรือหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย ยกเว้นกรณีที่บริษัทเหล่านั้นเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตรวจพิสูจน์ผู้กระทำผิดต่อไป
------------
//////////
พรบ.คอมพ์ฉบับแก้ไขมีผลบังคับ

ราชกิจจาประกาศ พ.ร.บ.คอมพ์ ฉบับแก้ไขแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ (๒๕ มกราคม) ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ แล้ว (คลิกอ่านที่นี่ – พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์)

มีสาระสำคัญอาทิ

มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามของมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

“ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้

ผู้รับ สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองแสนบาท ให้รัฐมนตรีออกประกาศกําหนดลักษณะและวิธีการส่ง รวมทั้งลักษณะและ

ปริมาณของ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับ และลักษณะอันเป็นการบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย”

“มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ หรือมาตรา ๑๑ เป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษา

ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี

และปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ต้องระวางโทษจําคุก

ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึง สองแสนบาท ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ เป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง

ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาท ถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามโดยมิได้มีเจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุให้บุคคลอื่น ถึงแก่

ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท”

มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน“มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อ

ไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(๑) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความ

เสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทาง

เศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิด ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง (๑) มิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทํา

ต่อบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้”

"บิ๊กป้อม" เตรียมขอ ลาว ช่วยจัดการพวก "เสื้อแดง-หนี ม.112" เคลื่อนไหวในลาว

"บิ๊กป้อม" เตรียมขอ ลาว ช่วยจัดการพวก "เสื้อแดง-หนี ม.112" เคลื่อนไหวในลาว ชี้ลาวร่วมมือดี
เผยเตรียมคุย รมว.กลาโหมลาว ที่มาประชุมคณะกรรมการชายแดน GBC ขอความร่วมมือ จับตากลุ่มเคลื่อนไหว ที่หนีคดีจากไทย ไปใช้พื้นที่ประเทศลาวเคลื่อนไหว ชี้ลาวให้ความร่วมมือดีมาก รวมทั้งการตรวจสอบ พวกที่ออกอากาศวิทยุ โจมตีรัฐบาล และประเทศไทย ส่ง พลเอกทวีป เนตรนิยม เลขาฯสมช.ไปคุยรายละเอียด‬
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม ต้อนรับ พลโท จันสะหมอน จันยาลาด(Lt.Gen.Chansamone Chayalath)รมว.ป้องกันประเทศลาว คนใหม่ มาเยือนในฐานะแขกของกลาโหม เพื่อประชุมกก.ชายแดนทั่วไป GBC-General Border Committee ความร่วมมือชายแดน 25-27มค.2560
โดยมี พลเอกชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกลาโหม พลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ผบ.สส. และตัวแทนเหล่าทัพ ร่วมต้อนรับ โดยมีการตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ3 เหล่าทัพ และ มีกำหนดเข้าพบ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล บ่ายนี้
พลเอกประวิตร เผยว่า เตรียมคุย กะบ รมว.กลาโหมลาว เพื่อ ขอความร่วมมือ จับตากลุ่มเคลื่อนไหว ที่หนีคดีจากไทย ไปใช้พื้นที่ประเทศลาวเคลื่อนไหว ชี้ลาวให้ความร่วมมือดีมาก เขาร่วมมือดีอยู่แล้ว รวมทั้งการตรวจสอบ พวกที่ออกอากาศวิทยุ โจมตีรัฐบาล และประเทศไทย มอง พลเอกทวีป เนตรนิยม เลขาฯสมช.ไปคุยรายละเอียดกับฝ่ายลาว

บิ๊กป้อม สั่งปลัดกลาโหม เตรียมเชิญ นักวิชาการ พลเรือน ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการฯปรองดองของกลาโหม

บิ๊กป้อม สั่งปลัดกลาโหม เตรียมเชิญ นักวิชาการ พลเรือน ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการฯปรองดองของกลาโหม เพิ่ม เพื่อให้หลากหลาย ไม่ใช่มีแต่ทหาร คาดได้รายชื่อครบทุกคณะ ในสัปดาห์นี้
พลเอกชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมอำนวยการสร้างสามัคคีปรองดอง ในส่วนของกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม เพื่งสั่ง ให้ตนเอง เชิญนักวิชาการพลเรือน มาร่วม เป็นคณะอนุกรรมการ ชุดต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้หลากหลาย และไม่ถูกมองว่ามีแต่ทหาร
ทั้งนี้ ไม่จำกัดว่าจะเป็นนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยไหน ขอเวลาในการคัดเลือกและเชิญ คาดรายชื่อทั้งหมดจะเสร็จในสัปดาห์นี้ เพื่อให้เริ่มทำงาน ได้ 1กพ.นี้ ตามกรอบ ปยป.
พลเอกชัยชาญ กล่าวว่า โครงสร้าง และรายชื่อของคณะกรรมการชุดใหญ่ และชุดต่างๆ เกือบเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากมีการแก้ไขเพิ่มเติม แต่ล่าสุด พลเอกประวิตร ให้นโยบายมาว่า ให้เชิญ นักวิชาการ ที่เป็นพลเรือนมาร่วมด้วย
ส่วนนักวิชาการทหารนั้น มีร่วมอยู้ในคณะอนุกรรมการต่างๆ อยู่แล้ว

"บิ๊กตู่"บอก ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่ ...ปีนี้เป็นปีแห่งการตรวจสอบ



"บิ๊กตู่"บอก ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่ ...ปีนี้เป็นปีแห่งการตรวจสอบ ปีที่คนไม่ดี จะต้องโดนเปิดเผยออกมา
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามถึง กรณีรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ถูกจับที่ญี่ปุ่น ว่า ยังไม่เห็นรายละเอียด เดี๋ยวก็สอบสวน หมอดูออกมาบอกแล้วว่า ปีนี้สิ่งที่ปิดบังกันเอาไว้ จะถูกเปิดเผยมาทั้งหมด
"ผมเห็นจาก คำทำนายตามโหราศาสตร์ในหนังสือ บอกว่า ปี 60 จะเป็นปีแห่งการตรวจสอบข้อเท็จจริง ปีแห่งคนไม่ดี จะต้องโดนเปิดเผย ปีแห่งคนไม่ดีที่จะต้องถูกอะไรก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นให้ทำตัวเป็นคนดี มีคุณธรรม อยู่ในศีลธรรมอันดี ทำงานเพื่อประเทศชาติ ช่วยกันไม่โกงกิน ไม่ทุจริต ผมว่ามันอยู่ได้ หมอดูเขาบอกไว้แล้ว โหราศาสตร์ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่" พล.อ.ประยุทธ์

"บิ๊กเจี๊ยบ" ติงสื่อ "ปรองดอง"ไม่ใช่เรื่องที่จะมาถามรายวัน

"บิ๊กเจี๊ยบ" ติงสื่อ "ปรองดอง"ไม่ใช่เรื่องที่จะมาถามรายวัน ถามคนนั้นที คนนี้ที ห่วงพูดกันคนละที กลัวว่าจะทะเลาะกัน ก่อนเข้าห้อง ชี้สื่อสนใจทุกวัน แต่จะเป็นการจุดประเด็น บางคน อาจหลุดบางคำพูดออกมา ทีนี้ก็ไม่คุยกันเลย ก็จะกลายเป็นข้อเสีย

พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. ซึ่งเดินทางกลับจากเยือนเมียนมา ถูกนักข่าวถามเรื่องกรรมการปรองดองฯ บอกคำสั่งแต่งตั้งกรรมการยังไม่ออกมา"ไม่ใช่เรื่องที่คนนั้นหรือคนนี้ จะออกมาพูดกันในแต่ละที ผมเป็นห่วง ที่สื่อไปถามคนนั้นที หรือคนนี้ที เพราะกลัวว่าจะทะเลาะกันก่อนเข้าห้อง"

เพราะเรื่องนี้อยู่ในกระบวนการของคณะกรรมการปรองดอง ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็บอกแล้วว่า ต้องรอให้กระบวนการขับเคลื่อนเดินหน้าไป อีกไม่นานรายชื่อคณะกรรมการฯและโครงสร้างการทำงานก็จะออกมา ทุกอย่างก็จะเดินหน้าต่อไป สื่อค่อยไปติดตามตอนนั้น

ผมเข้าใจสื่อและสังคมให้ความสนใจเรื่องนี้ และพยายามซักถาม แต่บางครั้งยังไม่มีขัอมูลที่ตอบได้ เพราะกระบวนการยังไม่ถึงขั้นตอนต่าง ๆ เช่นการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ก็ยังเดินหน้าต่อไปไม่ได้ หากตั้งคณะกรรมการเสร็จ โครงสร้างเรียบร้อย การพิจารณารายละเอียดเข้าสู่การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการทุกอย่างก็จะเดินออกไป

" การพูดคุยเป็นเรื่องที่ดีที่สุด แต่ใจผมอยากให้เป็นไปตามขั้นตอน ที่พูดกันว่า 3 เดือนจะเห็นผล
แต่ถ้าผู้สื่อข่าวสนใจทุกวัน ๆ ก็จะเป็นการจุดประเด็น บางทีคนนั้นหลุดออกมาคำคนนี้หลุดออกมาคำ ทีนี้ก็ไม่คุยกันเลย ก็จะกลายเป็นข้อเสีย

พวกเราเอาใจช่วยทุกคน ไม่ว่าจะขัดแย้งหรือไม่ก็ตาม มานั่งคุยกันจะได้ประโยชน์ ขอให้ช่วยมองอนาคตของประเทศร่วมกัน นำความเห็นมาแชร์กัน และสรุปว่าตรงไหนสามารถเดินไปข้างหน้าได้ ความขัดแย้งที่มีจะแก้ไขตรงไหนอย่างไร กติกาก็จะค่อย ๆ ออกมา"

"ผมเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ เพราะเราเป็นคนไทยด้วยกัน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องแก้ไขในยุคเราให้จบ อย่าเป็นภาระกับลูกหลาน ถ้าทุกคนมีจิตสำนึกรักชาติ อยากเห็นประเทศเดินไปข้างหน้า ถ้าเราลดทิฐิ ซึ่งสามารถเสนอความคิดเห็นในจุดของเราและต้องรับฟังคนอื่นด้วย ดังนั้นการไปคุยในที่ประชุม มีโอกาสถามและตอบกัน เชื่อว่าปัญหาก็จบได้

แต่ถ้ามาพูดผ่านสื่อมวลชนคนละคำแล้วลงหน้าหนังสือพิมพ์ มันก็จะกลายเป็นความน่ากลัว และความขัดแย้งจะถ่างออกไป

ดังนั้นทุกคนต้องช่วยกัน สื่อก็ทำตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง นำเสนอในประเด็นที่บวกก็จะดี ค่อยตะล่อมให้แนวคิดนี้ เดินไปได้ ถ้าคนไทยอยากเห็นประเทศเดินไปข้างหน้า

ขอให้ช่วยกันคนละไม้คนละมือ แต่ถ้าเราตัดซ้าย ตัดขวากันทีก็จะเป็นปัญหา พูดกันคนละคำสองคำ แล้วมีคำพูดไปค้างหน้าสื่อ ก็จะไปคิดมาก ไม่มาเข้าร่วม ก็จะเกิดปัญหาอีก พวกเราก็จะมาเหนื่อยและลูกหลานจะลำบาก

พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า ตนตั้งใจให้นี่เป็นครั้งสุดท้ายของการให้มาปรองดองกัน เชื่อว่าทุกคนมีจิตสำนึกและทุกอย่างจะดีขึ้น

และนักการเมืองพอเข้าไปพูดคุยตกลงกันแล้ว แต่ออกมาภายนอกจะพูดอีกอย่าง พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า เป็นจิตสำนึกของแต่ละคน ตอนนี้เรากำลังทำเพื่อส่วนรวมเพื่อชาติและเพื่ออนาคตของที่ดีชาติและของลูกหลานเรา ถ้าเรามีจิตใจรักชาติและมีจิตสำนึกที่ดี ทุกอย่างเดินหน้าต่อไปได้หมด ขอให้ถอยคนละเล็กคนละน้อย และลดทิฐิลง