PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

(ย้อนหลัง)ศึกชิงเมืองหลวง2ขั้วอำนาจ


ศึกชิงเมืองหลวง2ขั้วอำนาจ
บทความ วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ.2556 17:21น.
428637
ปี่กลองเริ่มโหมโรง บรรยากาศการลงพื้นที่และติดป้ายหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ในที่สุดก็มีการเปิดตัวคู่เอกครบถ้วน จากทั้งพรรคประขาธิปัตย์ ที่ส่ง "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" ลงสมัคร หวังทำแฮตทริก ขณะที่พรรคเพื่อไทย ส่ง"พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ" ลาออกจาก เลขาฯป.ป.ส. เป็นตัวแทน ที่หลังการเปิดตัวที่พรรค (15 ม.ค.) ก็ลงพื้นที่ประเดิมหาเสียงกับชาวบ้าน โดยเลือกเขต กทม.โซนรอบนอก โดยเฉพาะฝั่งตะวันออก ย่าน กม.8 รามอินทรา พื้นที่ของเจ้าแม่เมืองหลวง (คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่เจ้าตัวไม่ปรากฏตัวนับแต่ที่พรรคและการลงพื้นที่ครั้งนี้) อันเป็นฐานที่มั่นสำคัญของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพฯ โดยมี "น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี มาร่วมเดินรณรงค์ พร้อมด้วย "นางปวีณา หงสกุล" ที่มีฐานเสียงย่านสะพานใหม่ ดอนเมือง ร่วมด้วย "บิ๊กแจ๊ด พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง" ผบช.น. มาประกบ และระดมทีม ส.ส.กทม. ทีมที่ปรึกษามาเต็มขบวน แบบจัดเต็ม (16 ม.ค. 56)
โดย "พล.ต.อ.พงศพัศ" พยายามชูภาพความสดใหม่ให้ทดลอง แบบ "ขอโอกาส" เข้าไปเปลี่ยนแปลง พร้อมเปิดยุทธศาสตร์หลักหาเสียงเน้นการทำงานที่ "ไร้รอยต่อกับรัฐบาล" เป็นมือประสาน 10 ทิศ สามารถเชื่อมต่อกับทุกหน่วยงาน เพื่อแก้ไขปัญหาให้คน กทม. ได้อย่างรวดเร็วทันใจ แบบ บลัฟเปรียบเทียบ ไปยัง "ข้ออ่อน" ของฝ่ายตรงข้าม ครั้งที่พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาล แต่เกิดปัญหาการสื่อสารทำงานกับ ผู้ว่าฯกทม. พร้อม ชูเวิร์ดดิ้ง สัญญา "จะคืนความสุขให้คนไทยให้ได้"
ขณะที่ ฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ เลือกที่จะตะลุยในเขตกรุงเทพฯชั้นใน ที่เป็นฐานที่มั่นย่านธุรกิจ โดย "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์"ได้ลงพื้นที่หาเสียงบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสโพธินิมิตร (15 ม.ค.) โดยมีการชูสโลแกน "รักกรุงเทพฯ ร่วมสร้างกรุงเทพฯ" และชู 2 ยุทธศาสตร์ ด้วยการรณรงค์ให้ประชาชนสนับสนุนให้ผู้ว่าฯกทม. ทำงานอย่างต่อเนื่อง กับสิ่งที่ทำไว้
ส่วนการขับเคลื่อนการรณรงค์หาเสียง พรรคประชาธิปัตย์ มีระดมสรรพกำลังเครือข่ายของ ปชป. ไม่ว่าจะเป็น ส.ก. ส.ข. ส.ส. สาขาพรรค และผู้สนับสนุนพรรค เข้ามาขับเคลื่อนรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และ ประสานงานกับองค์กร เครือข่ายภาคประชาชน กลุ่มวิชาชีพต่างๆ ในการร่วมกันขับเคลื่อน
น่าสนใจว่า ศึกการชิงพื้นที่เมืองหลวงครั้งนี้ ถูกประเมินจากหลายฝ่ายว่า เปรียบเสมือนเป็นการทำสงครามผ่านตัวแทนของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ จากคนละขั้วข้างทางการเมือง โดยฝ่ายหนึ่งกุมฐานบน-กลาง อีกฝั่งกุมฐาน กลาง-ล่าง มีสรรพกำลัง สื่อ ทุนปัจจัย มวลชน และอำนาจ พอๆ กัน ที่ต่างฝ่ายก็แพ้ไม่ได้
มีการประเมินกันว่า คะแนนเสียงพื้นฐานจัดตั้ง ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์เป็นต่อมากกว่า โดยเฉพาะพื้นที่ กทม. ชั้นใน ขณะที่พรรคเพื่อไทยมีคะแนนหลักอยู่ที่ กทม. ชั้นนอก โดยเฉพาะโซนฝั่งตะวันออก
แต่ก็ยังมีะคะแนนที่จะชี้ขาดว่า ใครแพ้ชนะ จึงอยู่ที่คน กทม. อีกประมาณ 40% ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกผู้สมัครจากพรรคไหน ซึ่งต้องสู้กันที่นโยบาย และการหาเสียง
ที่น่าสนใจคือ เทียบฟอร์มแบ็คอัพทั้ง 2 ฝ่าย (ยิ่งลักษณ์ - อภิสิทธิ์) อาจก้ำกึ่ง แม้ฝ่ายเพื่อไทยจะคุมอำนาจบริหารของรัฐบาลอยู่ แต่ในสนาม กทม. ที่คนชั้นกลาง คนชั้นสูง ที่มีพลังเสียงมากกว่ารากหญ้า ทำให้ "น.ส.ยิ่งลักษณ์"ขวัญใจชาวบ้านรากหญ้า ไม่อยู่ในสถานะได้เปรียบ "อภิสิทธิ์" ที่ยังครองใจคนชั้นกลาง คนชั้นสูง
อย่างไรก็ตาม ยังมีคะแนน "ตัวแปร" ที่อาจส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. หนนี้ จากที่สนับสนุน "พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส" ที่ถูกมองว่ามีกลุ่มสนับสนุนเดียวกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
น่าสนใจที่ว่า จากที่ผ่านมา ใครที่มีแวว อย่างน้อยต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 800,000 คะแนน ซึ่งหนก่อนที่"ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" ชนะได้นั้น 934,602 คะแนน คนที่ตามมาที่สองคือ นายยุรนันท์ ภมรมนตรี (เพื่อไทย) ได้ 611,669 คะแนน อันดับสามคือ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล (เพื่อไทย/แดง) ได้ 334,846 คะแนน
ครั้งนั้น มีการวิเคราะห์ว่า มีการตัดคะแนนกันเองระหว่าง ม.ล.ณัฏฐกรณ์ (334,846 คะแนน) กับ ยุรนันท์ (611,669 คะแนน) จนทำให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ชนะไป
ดังนั้น หนนี้จึงน่าจับตาว่า กลุ่มเป้าหมายคะแนนกลุ่มเดียวกันของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ จะส่งกระทบหรือไม่
ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังไม่นับรวมปฏิบัติการขับเคลื่อนแบบใต้ดิน บนดิน และกลเกมการเมืองการหาเสียงแบบดิสเครดิตทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม ที่จะส่งผลกระกับฐานการไหลเข้าออกเพิ่มขึ้นลดลง และการเข้ามาใหม่ของ คนกรุงเทพฯ อีกประมาณ 40% ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจด้วย
ที่น่าสนใจอย่าลืมว่า หากผลออกมาเช่นใด จะเป็น "ตัวชี้วัด" อีกครั้ง ระหว่าง 2 ขั้วอำนาจการเมือง ว่าแนวรบและการครอบคลุมพื้นที่สำคัญทางยุทธศาตร์ในเขตเมืองหลวง ยังคงสภาพ หรือเปลี่ยนแปลงไปแล้ว

จุดบรรจบ เม.ย. อันตราย


จุดบรรจบ เม.ย. อันตราย
บทความ วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2556 15:15น.
441740
มีความน่าสนใจ กับการเคลื่อนขยับของ กลุ่มส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล อาทิ นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมการบริหารงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)

นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ที่ปรึกษาวิปรัฐบาล นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างท่อง พรรคชาติไทยพัฒนา นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อแผ่นดิน

นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา ส.ส.ชลบุรี เลขาธิการพรรคพลังชล นายอภิรัต ศิรินาวิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมหาชน และกลุ่มส.ว.เลือกตั้ง นำโดยนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี นายประสิทธิ์ โพธสุธน

ส.ว.สุพรรณบุรี ที่รัฐสภา เพื่อยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา๒๙๑ ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ (๒๐ มี.ค.๕๖) น่าสนใจทั้ง การเคลื่อนครั้งนี้ มี ส.ส. และส.ว.และแยกกันยื่นออกเป็น๓ร่าง โดยนายอุดมเดช ยื่นแก้ไขเรื่องที่มาของ ส.ว. ได้แก่มาตรา๑๑๑ ,๑๑๒ ,๑๑๓ ,๑๑๔ ,๑๑๕ ,๑๑๗ ,๑๑๘ และ

มาตรา ๑๒๐ โดยให้มี ส.ว.เลือกตั้งจำนวน ๒๐๐ คน และให้ ส.ว.เลือกตั้งสามารถลงรับสมัครรับเลือกตั้งได้ติดต่อกัน โดยไม่ต้องเว้นวรรค และให้ตัด ส.ว.สรรหาทิ้ง แต่ไม่กระทบกับ ส.ว.สรรหา

ที่ดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน แต่เมื่อครบวาระแล้วจะไม่มีการสรรหาใหม่ ในขณะที่ นายดิเรก ได้ยื่นร่างแก้ไขมาตรา ๒๓๗ เรื่องการยุบพรรคการเมือง พ่วงมาตรา ๖๘ เกี่ยวกับสิทธิในการยื่นเรื่องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญจะยื่นโดยตรงไม่ได้ ต้องยื่นให้อัยการสูง

สุดพิจารณาเท่านั้น พร้อมทั้งให้ยกเลิกการตัดสิทธิ์คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นเวลา ๕ ปีและห้ามยุบพรรคการเมือง ขณะที่นายประสิทธิ์ ยื่นแก้ไขมาตรา ๑๙๐เรื่องการให้รัฐสภารับรอง

การทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
น่าสนใจ อีกว่า จากจำนวน ส.ส. ส.ว. ที่ร่วมลงชื่อทั้ง ๓ ร่าง นั้น ร่างที่นายอุดมเดช ยื่นแก้ไขที่มาของส.ว. มีผู้เข้าชื่อทั้งสิ้นจำนวน๓๐๓ คน แยกเป็น ส.ส.๒๔๘ คน และ ส.ว.๕๕ คน โดยมี

ส.ว.สรรหาร่วมลงชื่อ ๘ คน ขณะที่ร่างของนายดิเรกยื่นให้แก้ไขมาตรา ๒๓๗ และมาตรา ๖๘ มีผู้เข้าชื่อทั้งสิ้น ๓๐๘ คน แยกเป็นส.ส. ๒๔๘ ส.ว.๖๐ คน ขณะที่ร่างของนายประสิทธิ์ ยื่นแก้ไขมาตรา

๑๙๐ มีผู้เข้าชื่อ ๓๑๐ คนแยกเป็นส.ส. ๒๔๘ คน ส.ว. ๖๒ คน
"ประธานรัฐสภา นายสมศักดิ์" บอกว่า จากตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อ ตามข้อบังคับการประชุมจะต้องบรรจุการแก้แก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาภายใน ๗ วัน จากนั้นเป็นเรื่องของสมาชิกจะพิจารณาให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนหรือไม่ ส่วนตนจะทำตามอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งร่างดังกล่าวนี้จะพิจารณาร่วมกันทั้ง ๓ ร่าง และตั้งกรรมาธิการขึ้นมา ๓ ชุด ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับร่างแก้ไชรัฐธรรมนูญของเก่าที่ยังคงอยู่ในสภาฯที่กำลังรอโหวตวาระ๓ ส่วน การเสนอแก้มาตรา ๖๘อาจถูกมองว่าเป็นการตัดสิทธิ์ประชาชนในการ

ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และลดทอนอำนาจของศาล นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นการมองต่างมุม ทุกคนมีสิทธิ์มองต่างมุมได้ เมื่อถามว่าจะเป็นชนวนความขัดแย้งครั้งใหม่หรือไม่

นายสมศักดิ์ตอบว่า แก้ไขไม่มาก คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร เท่าที่ดูเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งสมาชิกพิจารณาแล้วคิดว่าเหมาะสม การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ทุกเวลา

ขณะที่ นายดิเรก ระบุ ว่า คาดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเสร็จภายในเดือนส.ค.นี้ ส่วนกรณีที่ ส.ว.ยื่นในสิ่งที่ ส.ส.ต้องการ อาทิ มาตรา๖๘ และมาตรา ๒๓๗ ขณะที่ส.ส.ก็ยื่นแก้ไข

เรื่องที่มาของส.ว. เพราะหากส.ว.เป็นแกนนำยื่นเอง อาจถูกตีความเป็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนกันได้ อย่างไรก็ตาม รูปแบบการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบรายมาตราที่จะเสนอแก้ไขอยู่นี้ คิดว่าเป็นวิธี

การที่ถูกต้องแล้ว หากวิธีการนี้แก้ไขไม่สำเร็จก็ไม่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกแล้ว
สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น อย่าลืมว่า ก่อนหน้านี้ "นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา" รองนายกฯและรมว.ศึกษาธิการ หาทางออกด้วยส่งให้๓ มหาวิทยาลัยชื่อดังไปศึกษา “แนวทาง” การ

แก้ไข ไม่ว่าจะรายมาตรา ทั้งฉบับ ทำประชามติหรือเดินหน้าโหวตวาระ๓ แต่ขณะที่ “ทางออก” ที่รองนายกฯพงศ์เทพ ทำไว้ยังไม่ได้ข้อสรุปออกมา ก็ปรากฎการเคลื่อนไหวของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย

ที่นำโดย สงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน กับส.ว.เลือกตั้งที่มี ดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นโต้โผ ก็เตรียมจะผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” ท่ามกลางกระแสความเคลื่อนไหว"สายตรง"

จาก"พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"เข้ามายังที่ประชุมพรรคเพื่อไทยหลายละลอก ที่พูดถึงประเด็นเหล่านี้ โดยเฉพาะ๔มาตราโฟกัสอย่าง ม.๖๘,ม.๑๑๑,ม.๑๙๐,ม.๒๓๗ กระนั้น น่าสนใจที่การแก้ไขรายมาตราหนนี้ อยู่ตรงที่จะมีการแก้ไขในมาตรา ๖๘ มาตรานี้อยู่ในส่วนที่ ๑๓ เรื่องสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เขียนไว้ช่วงหนึ่งว่า บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรค ๑ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวอย่าลืมว่า มาตรา ๖๘ นี้ เคยมีข้อโต้แย้งกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๙๑ ว่า ตกลงเป็นเรื่องของ“อัยการสูงสุด” หรือ “ศาลรัฐธรรมนูญ” กันแน่
การแก้ไขมาตรานี้อาจถูกตั้งคำถามได้เช่นกันว่า เท่ากับมีเจตนาต้องการจะ “ตัด” ศาลรัฐธรรมนูญออกจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้หรือไม่
อีกประการ ที่น่าสงสัยไปกว่านั้น คือการเร่งกันในช่วงนี้เพราะส.ว.เลือกตั้งกลุ่มซึ่งเป็นแนวร่วม(มีส่วนได้เสีย)ในการแก้ไขเหลือวาระไม่ถึง ๑ ปีในการทำหน้าที่หรือไม่

กระนั้น เพื่อความชัดเจน สำหรับการแก้ไขรายมาตราที่ พลพรรคเพื่อไทยเสนอผ่านตามกระบวนการ(20มี.ค.) มารองอ่าน และ พิจารณารายละเอียด ในแต่ละรายมาตราดังนี้...

มาตรา ๖๘ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ

ในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าวในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว

มาตรา ๑๙๐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศหนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออก
พระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าวก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น
ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วยเมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็วเหมาะสม และเป็นธรรมให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

จากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไปในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด โดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม

มาตรา ๒๓๗ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าว

ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบ

ถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได

เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา ๖๘ และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการ

บริหารพรรคการเมืองดังกล่าวมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองมาตรา ๑๑๑ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนรวมหนึ่งร้อยห้าสิบคน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้นหัก

ด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และยังมิได้มีการเลือกตั้งหรือสรรหาขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง แล้วแต่กรณี ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้สมาชิกวุฒิสภาไม่ครบจำนวนตามวรรคหนึ่ง แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด ให้ถือว่าวุฒิสภาประกอบด้วย

สมาชิกจำนวนดังกล่าว แต่ต้องมีการเลือกตั้งหรือการสรรหาให้ได้สมาชิกวุฒิสภาครบจำนวนตามวรรคหนึ่งภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุการณ์ดังกล่าว และให้สมาชิกวุฒิสภาที่เข้ามานั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าอายุของวุฒิสภาที่เหลืออยู่ ถัดจากนี้ คงต้องติดตามกระบวนการบรรจุในระเบียบวาระตามไทม์มิ่งที่ประธานสภาระบุว่าใน ๑ สัปดาห์ ก่อนมีการเสนอขึ้นมาพิจารณาของสภาต่อไป ที่นอกจากประเด็นถกเถียง ยังมี

ความน่าสนใจสำหรับสถานการณ์ "จุดบรรจบ" อันตรายของความบานปลายที่อาจมีขึ้น ในห้วงเดือน เมษายน อีกหลายอีเว้นท์ รวมถึงสถานการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ที่จะไปกองกันในเวลานั้น ไม่

เว้นแม้แต่กรณีปัญหาการตรวจสอบ "นายกรัฐมนตรี" ในประเด็นการแสดงบัญชีทรัพย์สิน หรือแม้แต่ประเด็นร้อนเขาพระวิหาร และ อีเว้นท์กิจกรรมของ "คนเสื้อแดง" และกระบวนการขับเคลื่อนของมวลชนอีกหลายกลุ่มสีในประเด็นด้านเศรษฐกิจ-สังคม-สื่อมวลชน สถาบันระดับสูง และอีกหลายๆประเด็นที่ส่งผลกระทบ.

คอลัมน์ ดอกไม้หลายสี
โดย ศักดา จิวัธยากูล
21มี.ค.2556

ประชุม.."คนพันธุ์ข่าวINN" จันทร์ 25 มีนาคม 2556

ประชุม.."คนพันธุ์ข่าวINN" จันทร์ 25 มีนาคม 2556

การประชุมข่าว ของ"คนข่าวINN"ประจำเดือน มีนาคม ๒๕๕๖ 

การประชุมกองบก.ข่าวทั้งคณะ นอกเหนือไปจากการประชุมรายวันของINN ลักษณะนี้ เพื่อแสดงพลังความพร้อมเพรียงกันในการทำข่าว ของ"คนข่าวINN"ในการมาประเมินผลการทำงานในรอบ ๑ เดือน และรับทราบ นโยบาย ทิศทาง ของ กองบก.ข่าว และ องค์กร

ชาวกาฬสินธุ์ขุดบ่อน้ำใต้ดินใช้ประทังชีวิต


กาฬสินธุ์แล้งหนัก! หลายพื้นที่แหล่งน้ำแห้งขอด ส่งผลชาวบ้านขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค พร้อมเร่งขุดบ่อน้ำตามไร่นา เพื่อนำน้ำขึ้นมาใช้ประทังชีวิตจนกว่าจะถึงหน้าฝน

                         26 มี.ค.56 ปัญหาภัยแล้งในจังหวัดกาฬสินธุ์หลายพื้นที่ยังคงวิกฤติ แหล่งน้ำธรรมชาติ ห้วย หนอง คลองบึง และแหล่งน้ำสาธารณะแห้งขอดลง 100 % ส่งผลให้ชาวบ้านต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้อย่างหนัก โดยจากข้อมูลของสำนักงานป้องกันและบรรเทาจังหวัดกาฬสินธุ์ระบุว่าจังหวัดกาฬสินธุ์ประสบภัยแล้ง เนื่องจากฝนทิ้งช่วงมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 ถึงปัจจุบัน รวม 18 อำเภอ มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน 132 ตำบล 1,493 หมู่บ้าน 111,000 ครัวเรือน 397,342 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 382,043 ไร่ มูลค่าเสียหายเบื้องต้น 2,451,304,960 บาท

                         ทั้งนี้จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ชาวบ้านในตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน และประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากทุกปี ล่าสุดปริมาณน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำสาธารณะต่างๆแห้งขอดลงแล้วทั้งหมด 100 % อีกทั้งบางแห่งน้ำใต้ดินก็หมดลงเช่นกัน ชาวบ้านต้องระดมแรงช่วยกันขุดบ่อน้ำในพื้นที่นาต่างๆ และนำพาชนะเดินทางไปไกลกว่า 2 กม.เพื่อนำน้ำขึ้นมาใช้อุปโภค บริโภค แต่ก็ยังพบว่าน้ำในบ่อที่ชาวบ้านช่วยกันขุดก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี ชาวบ้านต้องเข้าคิวรอน้ำที่ไหลซึมออกมาจากดินหลายชั่วโมงและต้องรอให้น้ำตกตะกอนเสียก่อนจึงสามารถนำน้ำมาดื่มได้ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่วิกฤติหนักสุดในรอบ 40 ปี

                         นายกระจ่าง ทรัพย์บ้านใหม่ อายุ 57 ปี ชาวบ้านหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ตังแต่เกิดมายังไม่เคยประสบภัยแล้งขาดน้ำหนักสุดเท่ากับปีนี้มาก่อน เนื่องจากปีนี้ชาวบ้านในตำบลหนองบัว 8 หมู่บ้าน 1,040 หลังคาเรือน ต่างประสบปัญหาขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ มาหลายเดือนแล้ว เนื่องจากฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้แหล่งน้ำต่างๆแห้งขอดทั้งหมด มีชาวบ้านหลายครัวเรือนลงทุนจ้างช่างมาขุดเจาะบ่อบาดาล แต่ก็ไม่สามารถนำน้ำขึ้นมาได้ เพราะน้ำใต้ดินก็หมดเหมือนกัน กระทั่งล่าสุดต้องระดมแรงงานชายช่วยกันขุดบ่อตามหัวไร่ปลายนา ซึ่งยังคงมีความชุ่มชื่นและพอมีน้ำใต้ดินหลงเหลือประทังชีวิตบ้าง แต่ก็ต้องประสบปัญหา โดยเฉพาะครอบครัวที่มีผู้สูงอายุและเด็ก อยู่กันตามลำพัง ซึ่งยากในการแบกหามน้ำ เพราะต้องเดินทางไปเอาน้ำไกลกว่า 2 กม. จึงอยากขอความช่วยเหลือไปยังรัฐบาลด้วย

สตูลแล้งหนัก! ชาวบ้านไร้น้ำกินน้ำใช้

                          ภัยแล้งกำลังคุกคามหลายพื้นที่ ล่าสุดที่จังหวัดสตูลก็เข้าขั้นน่าห่วง โดยพบว่า ชาวบ้านในพื้นที่เทศบาลตำบลคลองขุด อ.เมือง จ.สตูล ต้องประสบกับปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก โดยเฉพาะ บ้านใต้ ม.2 เทศบาลตำบลคลองขุด ชาวบ้านถึง 30 ครัวเรือนไม่มีน้ำประปาใช้ รวมทั้งต้องใช้น้ำบ่อบาดาล ซึ่งขณะนี้ภัยแล้งได้ลุกลามเป็นวงกว้าง ทำให้น้ำในบ่อแห้งขอดลง ส่งกลิ่นเหม็นและน้ำเป็นสีแดง เกิดเป็นตกตะกอนสนิม แต่ชาวบ้านก็ต้องทนใช้น้ำในการล้างจาน และอาบน้ำอยู่เนื่องจากไม่มีทางเลือก

                          วันเดียวกัน นายสุชาติ บริรักษ์กิจดำรง รองปลัดเทศบาลตำบลคลองขุดอ.เมือง จ.สตูลได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ตรวจดูความเดือดร้อนของชาวบ้าน พบว่าในบางพื้นที่ต้องประสบปัญหาภัยแล้ง หลังขยายวงกว้างไปยังอยู่ ม.3 ม.4 ม.5 ในเขตเทศบาลตำบลคลองขุด ซึ่งถือว่าชาวบ้านได้รับความเดือนร้อนขาดน้ำกิน น้ำใช้แล้ว รวมทั้งในด้านการเกษตรพืชผักไม่มีน้ำรถผัก รวมทั้งโคกระบือก็แทบไม่มีน้ำกินเช่นกัน

                           นายสุชาติกล่าวว่า ได้สั่งการให้รถดับเพลิง จำนวน 2 คันที่บรรทุกน้ำเร่งลงพื้นที่แจกจ่ายน้ำให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อน โดยวันหนึ่งต้องวิ่งตกวันละ 10 เที่ยวต่อวัน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น สำหรับเทศบาลตำบลคลองขุด อ.เมือง จ.สตูลมีพื้นที่ทั้งหมด 142,894 ตารางกิโลเมตร มี 7 หมู่บ้าน ประชากรจำนวน 7,479 ครัวเรือน

จันทบุรี-ภัยแล้งลุกลามหนัก เร่งขุดบ่อบาดาล

                          เทศบาลมะขามเมืองใหม่ อ.มะขาม จังหวัดจันทบุรี ได้ขานนับนโยบายของอำเภอมะขาม จ.จันทบุรี ที่ได้ประกาศให้พื้นที่เทศบาลตำบลมะขามเมืองใหม่ทั้ง 10 หมู่บ้าน เป็นพื้นที่ภัยแล้ง ทำให้เทศบาลตำบลมะขามเมืองใหม่ ประสาน ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 17 จันทบุรี เร่งดำเนินการขุดเจาะบ่อบาลน้ำตื้น ให้กับประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ หมู่ที่ 1 -10 ต.มะขาม อ.มะขาม จ.จันทบุรี นายดิลก บัวเกิด นายกเทศมนตรีตำบลมะขามเมืองใหม่ พร้อมด้วย นายสมบูรณ์ เสมราช วิศกรเครื่องกลชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานสนับสนุนทรัพยากรกู้ภัย ได้นำเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่หมู่ 1 ซอยเกาะยาว ต.มะขาม จ.จันทบุรี นำเครื่องเจาะมาดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาลน้ำตื้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร ลึก 20 เมตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ให้มีน้ำใช้สำหรับการอุปโภค บริโภค รวมทั้งน้ำใช้ในการเกษตร โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงที่เกษตรกรผู้ปลูกผลไม้มีความจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อเกษตรเป็นจำนวนมาก
                          สำหรับการดำเนินงานช่วยเหลือภัยแล้งในครั้งนี้ นายกเทศมนตรีตำบลมะขามเมืองใหม่ แจ้งว่า ปภ.เขต 17 จันทบุรี ได้พิจารณาดำเนินการขุดเจาะบ่อบาลน้ำตื้นในราคาบ่อละ 8,000 บาท  ที่ระดับความลึก ตั้งแต่ 10-20 เมตร พร้อมด้วยปอกปูนขนาดความกว้าง1เมตร หากมีความลึกเกิน 20 เมตร ประชาชนต้องออกค่าปอกปูน ลูกละ 200

ปราจีนบุรี-ภัยแล้งลามหนัก น้ำประปาขาดแคลน

                         ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรี รายงานสถานการณ์ภัยแล้ง จ.ปราจีนบุรี โดยภาพรวมได้ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินดังนี้ในพื้นที่ 2 อำเภอ 9 ตำบล 127 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอบ้านสร้าง ตำบลบางแตน 13 หมู่บ้าน อำเภอกบินทร์บุรี ตำบลนาแขม ตำบลย่านรี ตำบลวังดาล ตำบลวังท่าช้าง ตำบลลาดตะเคียน ตำบลวังตะเคียน ตำบลนนทรี และตำบลหาดนางแก้ว จำนวน 8 ตำบล 114 หมู่บ้าน

                         นายบุญเตือน อินคง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางแตน (อบต.) อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า ภาวะน้ำเค็มหนุนในหน้าแล้งนี้แย่หนักต้องส่งน้ำจืดเพื่ออุปโภค-บริโภค ให้กับชาวบ้านทุกวันโดยตลอดในทุกหมู่บ้าน เดือดร้อนหนักเฉพาะหมู่บ้านที่อยู่ติดกับริมแม่น้ำปราจีนบุรี ได้แก่ หมู่ 10 ,11 ,12 เนื่องจากไม่มีระบบประปา ที่ผ่านมาใช้รถบรรทุกน้ำวิ่งวันละ 2 คัน วันละ 10 กว่าเที่ยว แจกจ่ายราษฎรรวมกว่า 300 ครัวเรือน เป็นรถ อบต.บางแตน 1 คัน และรถส่วนตัวของตนเอง 1 คัน โดยนำน้ำดิบจากสระประปาบางครั้งประสานขอจากเทศบาลตำบลบางขนาก อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทราที่พื้นที่
รอยต่อกัน พร้อมกันนี้ปัญหาสำคัญคือ น้ำในคลองบางแตน คลองบางกระดาน เริ่มแล้วในขณะนี้

                         นายบุญเตือน กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ปัญหาคือ การหมดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารตั้งแต่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา  จะเลือกตั้งในวันที่ 7 เมษายน นี้ มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง 2 คนคือตนเองนายบุญเตือน อินคง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางแตน (อบต.) และนายสายพิณ ศรีเพ็ชร อดีตนายกอบต.บางแตนเช่นกัน ทำให้การดูแลประชาชนไม่ได้เต็มที่” นายบุญเตือน กล่าว

                         ขณะที่นายนิติภูมิ โภชากรณ์ ปลัดอำเภอ(เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ) อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรีกล่าวว่า “ ปัญหาภาวะน้ำเค็มหนุน-ภัยแล้ง อ.บ้านสร้างยังไม่เดือดร้อนมาก ท้องถิ่นดูแลเรื่องน้ำดื่ม น้ำใช้ไม่ถึงขั้นวิกฤติ ส่วนที่เป็นปัญหาคือเรื่องน้ำดื่ม น้ำใช้ของหมู่บ้านที่ไม่มีประปาหมู่บ้านแต่มีถังกลางในการรองรับน้ำไว้แล้วดูแลกันทั่วถึง ซึ่งภาวะน้ำเค็มหนุนหน้าแล้งแม่น้ำปราจีนบุรีเป็นเรื่องปกติทุกปีเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ” นายนิติภูมิ กล่าว

                         ด้านนายเกียรติ พิจารณ์สรรค์ ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรีกล่าวรายงานในที่ประชุมคณะกรรมการธรรมาภิบาล จ.ปราจีนบุรีว่า สถานการณ์ภัยแล้ง อ.กบินทร์บุรี โดยรวมอ.กบินทร์บุรีมีแม่น้ำสำคัญ 4 สาย ได้แก่แม่น้ำปราจีนบุรี แควพระปรง แควโสมง และแควหนุมาน ตั้งแต่เดือนม.ค.56เป็นต้นมา น้ำในแหล่งน้ำที่สำคัญมีระดับลดลงมาก ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนจากน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตรกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานอำเภอและอำเภอรายงานจังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ภัยแล้ง 8 ตำบล 114 หมู่บ้าน

                         นายเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ราษฎรได้รับความเดือดร้อนที่ผ่านมา จำนวน 8 ตำบล 81 หมู่บ้าน 9,912 ครัวเรือน ราษฎร 34,332คน ความเสียหายทางด้านการเกษตร ด้านประมงยังไม่มีความเสียหาย ด้านปศุสิตว์ยังไม่มีความเสียหาย ส่วนด้านการเกษตรกรรม มีการเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2 จำนวน 14 ตำบล 193 หมู่บ้าน 7,260 ไร่ ยังไม่มีความเสียหาย ใกล้ถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวแล้วประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์” นายเกียรติ กล่าว

                         ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม ที่ประชุมคณะกรรมการธรรมาภิบาล จ.ปราจีนบุรี ได้สรุปการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในภาวะน้ำเค็มหนุนที่ผ่านมา โดยโครงการชลประทานปราจีนบุรีได้ประสานกับโครงการชลประทานจังหวัดสระแก้วระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำแควพระปรงมาสนับสนุนวันละ 300,000 ลบ.ม. ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.56 ถึงวันที่ 30 เม.ย.56 เพื่อผลักดันน้ำเค็มในแม่น้ำปราจีนบุรีและสนับสนุนการผลิตน้ำอุปโภค บริโภคและสิ่งแวดล้อม

พิจิตร-ชาวบ้านจัดระเบียบการใช้น้ำบ่อกลางบ้าน

                         ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตรยังคงส่งผลกระทบกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยที่หมู่ที่ 1 ตำบลสายคำโห้ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ชาวบ้านที่มีกว่า 40 หลังคาเรือนต้องจำกัดการใช้น้ำจากบ่อน้ำกลางหมู่บ้านเนื่องจากปริมาณน้ำลดลง อย่างต่อเนื่อง น้ำประปาไม่เพียงพอกับความต้องการเนื่องจากน้ำใต้ดินมีไม่เพียงพอ ชาวบ้านจึงต้องหันมาใช้น้ำจากบ่อน้ำธรรมชาติขนาด 1 ไร่ ที่อยู่บริเวณกลางหมู่บ้านที่เคยใช้มาตั้งแต่สมัยบุกเบิกหมู่บ้าน วิธีการนำน้ำมาใช้ชาวบ้านจะใช้การต่อท่อลงไปในบ่อน้ำ ใช้แกลอนน้ำผูกติดเพื่อให้บริเวณหัวกะโหลกของเครื่องสูบน้ำลอยในจุดที่บริเวณน้ำสะอาด ส่วนเครื่องสูบน้ำจะติดตั้งไว้ที่บ้านเพื่อป้องกันการสูญหาย
                         จากสถานการณ์ภัยแล้งที่แล้งจัดติดต่อกันเป็นเวลานานนำประปามีไม่เพียงพอ ประชาชนจำเป็นต้องใช้น้ำบ่อกลางหมู่บ้าน โดยทั้งหมดต้องปฏิบัติตามกติกาของหมู่บ้านด้วยการสูบน้ำ เฉพาะการ อุปโภค บริโภคเท่านั้น ห้ามใช้ในการทำการเกษตร เนื่องจากน้ำในบ่อเหลือเพียงครึ่งบ่อเกรงว่าจะไม่เพียงพอใช้ในช่วงฤดูแล้งนี้

ที่มา :คมชัดลึก

ปัดนายกฯเจราจาปาปัวนิวกินีเรื่องก๊าซธรรมชาติ


ปัดนายกฯเจราจาปาปัวนิวกินีเรื่องก๊าซธรรมชาติ

(26มี.ค.56)น.พ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงตอบโต้พรรคประชาธิปัตย์ กรณีกล่าวหาว่าการเดินทางไปเยือนปาปัวนิวกินีของ นายกฯเพื่อไปเจรจาขอซื้อก๊าซโดยมีการหาผลประโยชน์ล่วงหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรอดีตนายกฯ ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนนั้น ว่า เดิมที่ประเทศปาปัวนิวกินีสามมารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้วันละ 70,000 ตันต่อวันแต่ปัจจุบันผลิตได้เพียงวันละ 30,000 ตันต่อวันจึงไม่เพียงที่จะนำไปทำอะไร ส่วนเรื่องก๊าซธรรมชาติเหลว แอลเอ็นจี นั้น ทาง ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ จีน ได้ ตกลงเรื่องสัมปทานกันหมดแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการลงทุนกว่า 1.5หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ดั้งนั้นเรื่องที่กล่าวหาว่ารัฐบาลเดินทางไปเพื่อเจรจาเพื่ออะไรบ้างอย่างนั้นจึงไม่เป็นความจริง

นพ.ทศพรกล่าวต่อว่าสำหรับเรื่องที่รัฐบาลได้ไปตกลงกับประเทศปาปัวนิวกินีนั้นคือเรื่องการขยายตลาดข้าว ที่ปัจจุบันมีการนำเข้าข้าวไทยกว่า 150,000 ตัน ซึ่งได้มีการตกลงร่วมกันที่จะขยายการส่งออกพร้อมทั้งมีการสอนวิธีการปลูกข้าวในประเทศปาปัวนิวกินีซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถปลูกเองได้ยังคงต้องสั่งนำข้าวจากไทยไปก่อนส่วนเรื่องอาหารทะเลก็ได้มีการตกลงร่วมกันที่จะเปิดตลาดอาหารทะเลในประเทศปาปัวนิวกินีเนื่องจากเป็นตลาดอาหารทะเลที่สามารถส่งออกไปอเมริกาโดยไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย

datanews