PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

จุดบรรจบ เม.ย. อันตราย


จุดบรรจบ เม.ย. อันตราย
บทความ วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2556 15:15น.
441740
มีความน่าสนใจ กับการเคลื่อนขยับของ กลุ่มส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล อาทิ นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมการบริหารงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)

นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ที่ปรึกษาวิปรัฐบาล นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างท่อง พรรคชาติไทยพัฒนา นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อแผ่นดิน

นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา ส.ส.ชลบุรี เลขาธิการพรรคพลังชล นายอภิรัต ศิรินาวิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมหาชน และกลุ่มส.ว.เลือกตั้ง นำโดยนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี นายประสิทธิ์ โพธสุธน

ส.ว.สุพรรณบุรี ที่รัฐสภา เพื่อยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา๒๙๑ ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ (๒๐ มี.ค.๕๖) น่าสนใจทั้ง การเคลื่อนครั้งนี้ มี ส.ส. และส.ว.และแยกกันยื่นออกเป็น๓ร่าง โดยนายอุดมเดช ยื่นแก้ไขเรื่องที่มาของ ส.ว. ได้แก่มาตรา๑๑๑ ,๑๑๒ ,๑๑๓ ,๑๑๔ ,๑๑๕ ,๑๑๗ ,๑๑๘ และ

มาตรา ๑๒๐ โดยให้มี ส.ว.เลือกตั้งจำนวน ๒๐๐ คน และให้ ส.ว.เลือกตั้งสามารถลงรับสมัครรับเลือกตั้งได้ติดต่อกัน โดยไม่ต้องเว้นวรรค และให้ตัด ส.ว.สรรหาทิ้ง แต่ไม่กระทบกับ ส.ว.สรรหา

ที่ดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน แต่เมื่อครบวาระแล้วจะไม่มีการสรรหาใหม่ ในขณะที่ นายดิเรก ได้ยื่นร่างแก้ไขมาตรา ๒๓๗ เรื่องการยุบพรรคการเมือง พ่วงมาตรา ๖๘ เกี่ยวกับสิทธิในการยื่นเรื่องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญจะยื่นโดยตรงไม่ได้ ต้องยื่นให้อัยการสูง

สุดพิจารณาเท่านั้น พร้อมทั้งให้ยกเลิกการตัดสิทธิ์คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นเวลา ๕ ปีและห้ามยุบพรรคการเมือง ขณะที่นายประสิทธิ์ ยื่นแก้ไขมาตรา ๑๙๐เรื่องการให้รัฐสภารับรอง

การทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
น่าสนใจ อีกว่า จากจำนวน ส.ส. ส.ว. ที่ร่วมลงชื่อทั้ง ๓ ร่าง นั้น ร่างที่นายอุดมเดช ยื่นแก้ไขที่มาของส.ว. มีผู้เข้าชื่อทั้งสิ้นจำนวน๓๐๓ คน แยกเป็น ส.ส.๒๔๘ คน และ ส.ว.๕๕ คน โดยมี

ส.ว.สรรหาร่วมลงชื่อ ๘ คน ขณะที่ร่างของนายดิเรกยื่นให้แก้ไขมาตรา ๒๓๗ และมาตรา ๖๘ มีผู้เข้าชื่อทั้งสิ้น ๓๐๘ คน แยกเป็นส.ส. ๒๔๘ ส.ว.๖๐ คน ขณะที่ร่างของนายประสิทธิ์ ยื่นแก้ไขมาตรา

๑๙๐ มีผู้เข้าชื่อ ๓๑๐ คนแยกเป็นส.ส. ๒๔๘ คน ส.ว. ๖๒ คน
"ประธานรัฐสภา นายสมศักดิ์" บอกว่า จากตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อ ตามข้อบังคับการประชุมจะต้องบรรจุการแก้แก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาภายใน ๗ วัน จากนั้นเป็นเรื่องของสมาชิกจะพิจารณาให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนหรือไม่ ส่วนตนจะทำตามอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งร่างดังกล่าวนี้จะพิจารณาร่วมกันทั้ง ๓ ร่าง และตั้งกรรมาธิการขึ้นมา ๓ ชุด ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับร่างแก้ไชรัฐธรรมนูญของเก่าที่ยังคงอยู่ในสภาฯที่กำลังรอโหวตวาระ๓ ส่วน การเสนอแก้มาตรา ๖๘อาจถูกมองว่าเป็นการตัดสิทธิ์ประชาชนในการ

ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และลดทอนอำนาจของศาล นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นการมองต่างมุม ทุกคนมีสิทธิ์มองต่างมุมได้ เมื่อถามว่าจะเป็นชนวนความขัดแย้งครั้งใหม่หรือไม่

นายสมศักดิ์ตอบว่า แก้ไขไม่มาก คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร เท่าที่ดูเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งสมาชิกพิจารณาแล้วคิดว่าเหมาะสม การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ทุกเวลา

ขณะที่ นายดิเรก ระบุ ว่า คาดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเสร็จภายในเดือนส.ค.นี้ ส่วนกรณีที่ ส.ว.ยื่นในสิ่งที่ ส.ส.ต้องการ อาทิ มาตรา๖๘ และมาตรา ๒๓๗ ขณะที่ส.ส.ก็ยื่นแก้ไข

เรื่องที่มาของส.ว. เพราะหากส.ว.เป็นแกนนำยื่นเอง อาจถูกตีความเป็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนกันได้ อย่างไรก็ตาม รูปแบบการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบรายมาตราที่จะเสนอแก้ไขอยู่นี้ คิดว่าเป็นวิธี

การที่ถูกต้องแล้ว หากวิธีการนี้แก้ไขไม่สำเร็จก็ไม่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกแล้ว
สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น อย่าลืมว่า ก่อนหน้านี้ "นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา" รองนายกฯและรมว.ศึกษาธิการ หาทางออกด้วยส่งให้๓ มหาวิทยาลัยชื่อดังไปศึกษา “แนวทาง” การ

แก้ไข ไม่ว่าจะรายมาตรา ทั้งฉบับ ทำประชามติหรือเดินหน้าโหวตวาระ๓ แต่ขณะที่ “ทางออก” ที่รองนายกฯพงศ์เทพ ทำไว้ยังไม่ได้ข้อสรุปออกมา ก็ปรากฎการเคลื่อนไหวของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย

ที่นำโดย สงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน กับส.ว.เลือกตั้งที่มี ดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นโต้โผ ก็เตรียมจะผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” ท่ามกลางกระแสความเคลื่อนไหว"สายตรง"

จาก"พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"เข้ามายังที่ประชุมพรรคเพื่อไทยหลายละลอก ที่พูดถึงประเด็นเหล่านี้ โดยเฉพาะ๔มาตราโฟกัสอย่าง ม.๖๘,ม.๑๑๑,ม.๑๙๐,ม.๒๓๗ กระนั้น น่าสนใจที่การแก้ไขรายมาตราหนนี้ อยู่ตรงที่จะมีการแก้ไขในมาตรา ๖๘ มาตรานี้อยู่ในส่วนที่ ๑๓ เรื่องสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เขียนไว้ช่วงหนึ่งว่า บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรค ๑ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวอย่าลืมว่า มาตรา ๖๘ นี้ เคยมีข้อโต้แย้งกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๙๑ ว่า ตกลงเป็นเรื่องของ“อัยการสูงสุด” หรือ “ศาลรัฐธรรมนูญ” กันแน่
การแก้ไขมาตรานี้อาจถูกตั้งคำถามได้เช่นกันว่า เท่ากับมีเจตนาต้องการจะ “ตัด” ศาลรัฐธรรมนูญออกจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้หรือไม่
อีกประการ ที่น่าสงสัยไปกว่านั้น คือการเร่งกันในช่วงนี้เพราะส.ว.เลือกตั้งกลุ่มซึ่งเป็นแนวร่วม(มีส่วนได้เสีย)ในการแก้ไขเหลือวาระไม่ถึง ๑ ปีในการทำหน้าที่หรือไม่

กระนั้น เพื่อความชัดเจน สำหรับการแก้ไขรายมาตราที่ พลพรรคเพื่อไทยเสนอผ่านตามกระบวนการ(20มี.ค.) มารองอ่าน และ พิจารณารายละเอียด ในแต่ละรายมาตราดังนี้...

มาตรา ๖๘ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ

ในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าวในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว

มาตรา ๑๙๐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศหนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออก
พระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าวก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น
ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วยเมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็วเหมาะสม และเป็นธรรมให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

จากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไปในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด โดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม

มาตรา ๒๓๗ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าว

ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบ

ถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได

เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา ๖๘ และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการ

บริหารพรรคการเมืองดังกล่าวมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองมาตรา ๑๑๑ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนรวมหนึ่งร้อยห้าสิบคน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้นหัก

ด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และยังมิได้มีการเลือกตั้งหรือสรรหาขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง แล้วแต่กรณี ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้สมาชิกวุฒิสภาไม่ครบจำนวนตามวรรคหนึ่ง แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด ให้ถือว่าวุฒิสภาประกอบด้วย

สมาชิกจำนวนดังกล่าว แต่ต้องมีการเลือกตั้งหรือการสรรหาให้ได้สมาชิกวุฒิสภาครบจำนวนตามวรรคหนึ่งภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุการณ์ดังกล่าว และให้สมาชิกวุฒิสภาที่เข้ามานั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าอายุของวุฒิสภาที่เหลืออยู่ ถัดจากนี้ คงต้องติดตามกระบวนการบรรจุในระเบียบวาระตามไทม์มิ่งที่ประธานสภาระบุว่าใน ๑ สัปดาห์ ก่อนมีการเสนอขึ้นมาพิจารณาของสภาต่อไป ที่นอกจากประเด็นถกเถียง ยังมี

ความน่าสนใจสำหรับสถานการณ์ "จุดบรรจบ" อันตรายของความบานปลายที่อาจมีขึ้น ในห้วงเดือน เมษายน อีกหลายอีเว้นท์ รวมถึงสถานการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ที่จะไปกองกันในเวลานั้น ไม่

เว้นแม้แต่กรณีปัญหาการตรวจสอบ "นายกรัฐมนตรี" ในประเด็นการแสดงบัญชีทรัพย์สิน หรือแม้แต่ประเด็นร้อนเขาพระวิหาร และ อีเว้นท์กิจกรรมของ "คนเสื้อแดง" และกระบวนการขับเคลื่อนของมวลชนอีกหลายกลุ่มสีในประเด็นด้านเศรษฐกิจ-สังคม-สื่อมวลชน สถาบันระดับสูง และอีกหลายๆประเด็นที่ส่งผลกระทบ.

คอลัมน์ ดอกไม้หลายสี
โดย ศักดา จิวัธยากูล
21มี.ค.2556

ไม่มีความคิดเห็น: