PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ท่องเว็บ บนมือถือ แบบไม่คิดค่าเน็ต ฟรี!! ด้วย Free Zone

หลายๆท่านมีโทรศัพท์มือถือติดตัวไว้สำหรับติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆ ติดต่อคุณพ่อคุณแม่ หรือติดต่อกับเจ้านาย ครู หรือผู้ร่วมงาน โดยเฉพาะใช้สำหรับโทรออก รับสาย และการส่งข้อความ SMS  แต่! สิ่งที่ผู้ใหญ่ที่ใช้มือถือฟีเจอร์โฟน หรือแม้แต่สมาร์ทโฟน ที่มีฟังก์ชั่นให้ใช้ internet บนมือถือได้ ยังไม่กล้าใช้มันเต็มที่นัก ก็คือ Mobile Internet  อาจด้วยเกรงว่าค่าใช้  mobile internet จะแพง หรือไม่แน่ใจในการคิดค่าบริการ จึงทำให้ไม่สามารถใช้ความสามารถของมือถือที่อยู่ในมือได้อย่างเต็มที่นัก……วันนี้จะแนะนำการค้นหาเว็บผ่านมือถือ การรับส่งอีเมลฟรี และสามารถดูรูปกิจกรรมเพื่อนๆ และ สื่อสารกับเพื่อนๆ ฟรี  ”โดยไม่เสียค่าบริการ Data” ด้วยบรืการ  AIS Free Zone Power by Google
ais-free-zone-power-by-google-01Ais Free Zone Power By Google เป็นบริการค้นหาข้อมูลอินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บบนมือถือ รองรับการใช้งานทั้ง Feature Phone  และ สมาร์ทโฟน บนระบบเครือข่าย AIS  ( ทั้ง Gsm Advance , 1-2-call , AIS 3G 2100 รายเดือน และ  AIS 3G 1-2-Call)  สามารถใช้งานบริการ AIS Free Zone ของ Google  ผ่านทาง EDGE และ 3G ของ AIS ได้ฟรี แบบไม่คิดค่า Data เลย ซึ่งบริการนี้ เป็นความร่วมมือกันระหว่าง AIS และ Google   ให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตบนมือถือมือใหม่ ผู้ใช้มือถือที่ไม่เคยสมัครแพคเก็จอินเตอร์เน็ตมาก่อน และผู้ที่ไม่เคยใช้อินเทอร์เนตบนมือถือเลย
ข้อมูลจาก AIS เผยว่า ปัจจุบันกลุ่มผู้ใช้ Data ของ AIS นี้ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 
  • กลุ่ม Heavy User ผู้ที่ใช้งานเป็นประจำ ซึ่งส่วนใหญ่ที่ใช้สมาร์ทดีไวซ์ และคุ้นเคยกับการใช้ดาต้าและแอพพลิเคชั่นต่างๆ อยู่แล้ว มีจำนวนกว่า 8 ล้านราย
  • กลุ่ม Lite User หรือผู้ที่ใช้งาน Data บ้างเป็นบางครั้ง มีจำนวนกว่า 5 ล้านราย
  • และกลุ่ม Non-Data User หรือผู้ที่ไม่เคยใช้งาน Data มีอยู่ราว 25 ล้านราย โดยในกลุ่มนี้ แบ่งเป็นกลุ่มที่มือถือรองรับการใช้เน็ต มีอยู่กว่า 10 ล้านราย และกลุ่มที่มือถือไม่รองรับการใช้เน็ตอีกกว่า 15 ล้านราย
ซึ่งโทรศัพท์ Feature Phone ธรรมดา ที่มีมากถึง 10 ล้านรายนั้น  จะรองรับการใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ลองใช้มือถือนี้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพราะกลัวเรื่องค่าใช้จ่ายที่ตามมา บริการ AIS Free Zone จึงเปิดบริการให้ผู้ใช้มือถือทั้ง Feature Phone และสมาร์ทโฟน บนเครือข่าย AIS สามารถค้นหาเว็บไซต์ , เช็คอีเมล และใช้สื่อสารกับเพื่อนๆได้ฟรี และเพื่อให้คุณสามารถลองสมัครแพคเก็จอินเทอร์เนตได้เป็น และใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เนตบนมือถือในการค้นหาความรู้และสิ่งต่างๆ ได้อย่างเต็มที่
วิธีเข้าเว็บ AIS Free Zone ของ Google เพื่อค้นหาเว็บไซต์ , เช็คอีเมล , และติดต่อกับเพื่อนๆผ่าน Google+ ฟรี
ais-free-zone-power-by-google-02เพียงนำมือถือที่ใส่ซิมบนเครือข่าย AIS กด *900*00# แล้วโทรออก ( ฟรี ) ระบบจะส่งลิงค์เว็บไซต์ AIS Free Zone ให้ ผ่านทาง SMS ให้คุณแตะที่ลิงค์ มือถือของคุณก็จะเปิดเว็บบราวเซอร์ แล้วเข้าสู่ AIS Free Zone ของ Google  ทันที และไม่คิดค่าบริการ data ด้วย นับว่าเข้าเว็บแบบฟรีๆไปเลย (*สำหรับสมาร์ทโฟน ต้องเปิดการใช้งาน data ด้วย)
ais-free-zone-power-by-google-03หรือเปิดเว็บบราวเซอร์ พิมพ์  wap.mobilelife.co.th/freezone ก็สามารถเข้าสู่บริการ AIS Free Zone ของ Google  ได้เช่นกัน โดยไม่คิดค่าบริการ data ทั้งนี้การที่ไม่คิดค่า data เฉพาะผู้ที่ใช้ edge หรือ 3G บนเครือข่าย AIS เท่านั้น (*สำหรับสมาร์ทโฟน ต้องเปิดการใช้งาน data ด้วย)
ais-free-zone-power-by-google-04สังเกตด้านบน ถ้ามีแถบสีเขียว  พร้อมตัวหนังสือสีขาวขึ้นข้อความว่า “หน้านี้ใช้ฟรี” หรือ “หน้าฟรี” ด้านบน ของจอละก็ แสดงว่าเข้าสู่การใช้บริการฟรี AIS Free Zone ของ Google แล้ว ซึ่งจะไม่คิดค่าบริการ data เลย หากอยู่ภายใต้หน้าเว็บ  “หน้านี้ใช้ฟรี”

คุณสมบัติต่างๆของ AIS Free Zone จาก Google  ที่คุณสามารถใช้บริการได้ฟรีมีดังนี้

ais-free-zone-power-by-google-05สมัครบัญชี Gmail , Google Account ได้ฟรี ไม่คิดค่าสมัครบริการและไม่คิดค่า data ด้วย และหากมีบัญชี gmail , google account อยู่แล้ว ก็สามารถลง username และ password เพื่อเข้าสู่ระบบ ใช้ gmail และ google+ บน AIS Free Zone ของ Google ได้ทันที โดยไม่คิดค่า data
ais-free-zone-power-by-google-06สามารถค้นหาเว็บต่างๆ ผ่านทาง Google Search และสามารถพิมพ์คำค้นเพื่อเช็คดูต่างๆเช่น , ผลฟุตบอล , เพลงใหม่ , พยากรณ์อากาศ ,  ข่าว , สถานที่  เนื้อหาละคร และอื่นๆอีกมากมาย อีกทั้งสามารถ ใช้ Google Search มาเป็นเครื่องคิดเลข ได้ด้วย โดยการแสดงผลลัพธ์การค้นหาไม่คิดค่า data
ais-free-zone-power-by-google-08สามารถเช็คอีเมล และเขียนจดหมายผ่านทาง gmail ได้ ฟรีโดยไม่คิดค่า data
ais-free-zone-power-by-google-09ใช้บริการ Google+ ฟรี  สามารถติดตามข่าวสารเพื่อนๆ หรือข่าวอื่นๆจากเว็บไซต์ชื่อดังได้ฟรี รวมทั้ง โพสสถานะตัวเอง แสดงความเห็น โพสรูปภาพ ดูอัลบั้มภาพของตัวเอง แชร์ หรือ Like แบบ +1  และ เช็คอิน  บน Google+ ได้ฟรี โดยไม่คิดค่า data
ais-free-zone-power-by-google-10           แต่ถ้าเราแตะเข้าเนื้อหา ที่จะพาไปสู่นอกบริการ Ais Free Zone จาก Google ไปที่เว็บอื่นๆ เพื่อชมเนื้อหา หรือชมวีดีโอบน youtube และอื่นๆที่นอกจากบริการ free zone นี้ คุณจะเห็นข้อความแจ้งเตือนจาก ais free zone ทันทีว่า เมื่อออกจากหน้านี้จะต้องเสียค่า data ตามอัตราปกติ หรือตามโปรโมชั่น data ที่คุณใช้งาน ซึ่งจะมีลิงค์นี้ให้เลือกว่า จะพาคุณเข้าไปสมัคร data ราคาพิเศษ ผ่านทาง wap  ของ ais  , เข้าชมเนื้อหาเว็บนั้นต่อทันที โดยยอมเสียค่าบริการ data และ กลับไปสู่หน้าหลักของ AIS Free Zone    ดังนั้นอุ่นใจได้ว่า ทันทีที่ลิงค์นั้นจะออกจาก ais free zone จะได้รับข้อความแจ้งเตือนแบบนี้เสมอ
ais-free-zone-power-by-google-11แต่เตือนไว้สักนิดว่า
  • ผู้ใช้บริการโรมมิ่ง จะไม่สามารถใช้บริการ AIS Free Zone ได้
  • เมื่อเชื่อมต่อด้วย WIFI จะไม่สามารถใช้บริการ AIS Free Zone ได้
  • เมื่อใช้ซิมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของ AIS แล้วมาใช้บริการเว็บ AIS Free Zone บนมือถือ จะเสียค่าบริการ
  • บริการ AIS Free Zone นี้ สามารถใช้บริการ Google+ , gmail และ Google Search ได้ฟรีบนหน้าเว็บ AIS Free Zone เท่านั้น ไม่รวมแอพพลิเคชั่นอื่นๆจาก Google หากทำงานผ่านแอพต่างๆจาก Google จะต้องเสียค่าบริการ Data
featurephone-smartphoneและนี่คือบริการดีๆที่ อยากให้ผู้ที่ไม่เคยใช้ Mobile Internet ผ่านทาง มือถือพวก Feature Phone หรือ SmartPhone ได้มาลองใช้กัน เพราะจะช่วยให้คุณใช้มือถือได้เต็มประสิทธิภาพ และคุ้มค่ามากขึ้น ดีกว่าที่ยังไม่ลองใช้ data เลย ซึ่งเสียดายมากๆเพราะมือถือ Feature Phone ส่วนใหญ่รองรับการใช้งานอินเทอร์เนตด้วย แต่คุณกลับไม่ได้ลองใช้มัน
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะมาลองค้นหาความรู้สิ่งใหม่ๆผ่านทาง Mobile Internet บนมือถือในมือคุณ
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ www.ais.co.th/freezone

ช็อก! WEF จัดอันดับคุณภาพการศึกษา"ไทย"รั้งท้ายอาเซียน"จาตุรนต์"เต้นสั่งสอบผลการจัด

ช็อก! WEF จัดอันดับคุณภาพการศึกษา"ไทย"รั้งท้ายอาเซียน"จาตุรนต์"เต้นสั่งสอบผลการจัด

วันที่ 03 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 15:56:05 น.


ที่มา มติชน

เมื่อวันที่ 3 กันยายน นายภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลการประชุมของ Word Economic Forum (WEF)-The Global Cometitiveness Report 2012-2013 ซึ่งเป็นการประชุม "เวทีเศรษฐกิจโลก" ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยองค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไรและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ โดยผลที่ได้จากการประชุม จะมีส่วนสำคัญในการเสนอแนะทิศทาง การกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม การพัฒนาระหว่างประเทศ ได้จัดอันดับคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยในกลุ่มอาเซียน อยู่ในกลุ่มสุดท้ายอันดับที่ 8 เป็นกลุ่มที่มีคะแนนต่ำที่สุด อันดับ 1.สิงคโปร์ 2.มาเลเซีย 3.บรูไน 4.ฟิลิปปินส์ 5.อินโดนีเซีย 6.กัมพูชา 7.เวียดนาม

 

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสนใจกับเรื่องนี้มากและได้สั่งการให้ตนวิเคราะห์ที่มาที่ไปของผลการจัดอันดับดังกล่าว ว่าผลการจัดอันดับที่ออกมามีความเที่ยงตรงมากน้อยแค่ไหนต้องดูวิธีการจัดว่าใช้อะไรมาเป็นตัวชี้วัดบ้าง

 

"ข้อมูลนี้ถือว่าน่าตกใจ เพราะอันดับของเราถือว่าต่ำมาก แต่เมื่อเทียบในอันดับโลก เราก็ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ ไม่ต่ำขนาดนี้ ดังนั้น จึงต้องไปวิเคราะห์ข้อมูลให้ชัดเจนก่อนว่าเป็นเพราะอะไร แต่


อย่างไรก็ตาม การศึกษาไทยก็จะต้องมีการปรับใหญ่ทั้งระบบ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน"

ม็อบสวนยางสุราษฎร์ปิดถนนสายเอเซีย41ลงภาคใต้ หลังมติครม.ไม่แทรกแซงราคายาง

ม็อบสวนยางสุราษฎร์ปิดถนนสายเอเซีย41ลงภาคใต้ หลังมติครม.ไม่แทรกแซงราคายาง ขีดเส้นนายกฯ-รองนายกฯเจรจาภายในเที่ยง4ก.ย.นี้

เมื่อเวลาประมาณ 15.15 น. วันที่ 3 ก.ย.กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง 14 จังหวัดภาคใต้ ที่ชุมนุมอยู่ บริเวณลานหน้าสหกรณ์สุราษฎร์ธานีจำกัด(โคออป) อ.พุนพิน จ.สุราฎร์ธานี ได้เข้าปิดถนนสายเอเซีย41 ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักในการสัญจรลงสู่ภาคใต้ ทั้งฝั่งขาขึ้นและขาล่อง เนื่องจากไม่พอใจมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้มีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่ 1,260บาทต่อไร่ โดยไม่เข้าแทรกแซงราคายางพาราให้อยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 92 บาท ตามข้อเสนอของเกษตรกร

ทั้งนี้เกษตรกรได้เรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี เดินทางลงมาเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมภายในเวลา 12.00น.วันที่ 4 ก.ย. ซึ่งหากรัฐบาลไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้อง กลุ่มเกษตรกรจะยกระดับการชุมนุมทันที

ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เสนอเพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรในระยะเร่งด่วน ที่ประชุมอนุมัติงบกลางกรณีฉุกเฉินวงเงิน 5,628 ล้านบาทเศษ เพื่อเป็นค่าปัจจัยการผลิตเป็นเงินทุนโอนผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้แก่เกษตรกรโดยตรง

ทั้งนี้เกษตรกรผู้ปลูกยางที่มีพื้นที่สวนยางตั้งแต่ 10 ไร่ลงมา จะได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต 1,260 บาทต่อไร่ คาดว่าจะมีจำนวนเกษตรกรที่ทำการเปิดกรีดยางแล้ว 9.8 แสนราย หรือ 80% จากเกษตรกรขึ้นทะเบียน 9.9 แสนราย ของผู้ปลูกยางทั้งประเทศ ขณะที่เกษตรกรที่มีพื้นที่มากกว่า 10 ไร่ให้ กนย.ที่จะมีการประชุมในวันที่ 5 ก.ย. พิจารณาแนวทางช่วยเหลืออีกครั้ง หากวงเงินไม่เพียงพอก็ให้มีการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม มติที่ประชุม ครม.จะต้องเสนอให้ กนย.รับทราบในวันที่ 5 ก.ย. พิจารณาก่อน ส่วนผู้ที่มีพื้นที่เพาะปลูก 25 ไร่นั้น จะพิจารณาอีกครั้งและไม่ซ้ำซ้อนกับที่ ครม.พิจารณาเห็นชอบแล้ว


รู้จักกลุ่มก่อการร้ายIRA

ช่งหนึ่งในการปาฐกถาของ โทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ(2ก.ย.2556)ที่กรุงเทพ ว่าด้วยเรื่องการแก้ปัญหาความปรองดองจากประสบการณ์ มีการ ยกตัวอย่างกรณี ปัญหาในไอร์แลนด์เหนือ ที่มี กลุ่มก่อการร้ายIRA เป็นตัวแปรสำคัญในสถานการณ์ความขัดแย้ง เราลองมาทำความรู้จัก หน่วยก่อการร้ายIRAหรือ Irish Republican Armyกัน__

-----

IRA หน่วยก่อการร้ายเพื่ออิสรภาพไอร์แลนด์

กลุ่มชาวคริสต์ไอริชนิกายคาทอลิก ซึ่งเริ่มกำเนิดมาจากกลุ่มเล็กๆ ที่คอยก่อความไม่สงบในปี ค.ศ.1916 และจัดตั้งองค์กรขึ้นทำงานในราวทศวรรษ 1920 ในฐานะของผู้อุทิศตนในทางมาร์กซิส ซึ่งมีเป้าหมายในการรวมไอร์แลนด์ให้เป็นชาติลัทธินิยมมาร์กซิส ต่อมาในปี ค.ศ.1969 กลุ่ม Irish Republican Army (IRA) ได้แตกออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่
๒.๑Official IRA ซึ่งเรียกร้องให้มีการเจรจาหยุดยิง และสิ้นสุดการใช้กำลังในปี ค.ศ.1969 ปัจจุบันไม่มีการเคลื่อนไหวก่อความรุนแรงอีก
๒.๒Provisional IRA อุทิศตัวสำหรับการต่อสู้เพื่อให้กองทัพสหราชอาณาจักรถอนกำลังทหารออกจาก Northern Ireland เทคนิคที่ใช้ในการก่อการร้าย ประกอบด้วย การวางระเบิด การลอบสังหาร การลักพาตัวเรียกค่าไถ่ การข่มขู่เรียกค่าคุ้มครอง และการปล้น เป้าหมายโจมตีของกลุ่ม Provisional IRA คือฝ่ายรัฐบาลของสหราชอาณาจักร กองทัพ ทหาร ตำรวจของอังกฤษในไอร์แลนด์เหนือ รวมถึงกองกำลังชาวไอริชที่สนับสนุนหรือเข้าร่วมกับสหราชอาณาจักร การโจมตีส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในไอร์แลนด์เหนือ Irish Republic, Great Britain และยุโรปตะวันตก อย่างไรก็ตาม กลุ่ม Provisional IRA หรือ PIRA ก็ได้ประกาศหยุดยิงในเดือนสิงหาคมปี ค.ศ.1994


กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Irish Republican Army : IRA)
กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ หรือ IRA เป็นชื่อขบวนการของชนกลุ่มน้อยชาวไอริส-คาทอลิกในดินแดนตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ที่ต่อสู้ด้วยอาวุธกับกองกำลังทหารอังกฤษและชนส่วนใหญ่ชาวสก๊อต-โปรแตสแตนท์ ด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ การซุ่มโจมตี การลอบสังหารการปล้นธนาคาร รวมทั้งการใช้ยุทธวิธีโดยการวางระเบิดเป้าหมายที่เป็นพลเรือนมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 30 ปี หรือตั้งแต่กลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (IRA) เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.. 2512 เพื่อกดดันให้อังกฤษถอนทหารออกจากไอร์แลนด์เหนือและยุติการปกครองของอังกฤษในเขตมณฑล 6 แห่งในไอร์แลนด์เหนือโดยต้องการเข้ารวมเป็นประเทศเดียวกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์(คาทอลิกซึ่งครอบครองดินแดนส่วนที่เหลือของเกาะ (สาธารณรัฐไอร์แลนด์แยกตัวออกจากเครือจักรภพบริติชและสถาปนาเป็นสาธารณรัฐอิสระ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.. 2491) กลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (IRA) มีพรรคชาตินิยมไอริชชื่อ ซินเฟน (Sinn Fein) ซึ่งเป็นปีกการเมืองที่ต่อสู้เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกันอย่างเปิดเผย

การที่กลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (IRA) ยืนหยัดต่อสู้กับกองทัพทหารอังกฤษและชนชาวชาวสก๊อต-โปรแตสแตนท์ส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือมาได้ยาวนาน เนื่องจากกลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (IRA) สามารถรักษาฐานมวลชนสนันสนุนที่เข้มแข็งไว้ได้ทั้งจากชุมชนไอริช-คาทอลิกในพื้นที่เอง และจากชุมชนไอริช-คาทอลิกพลัดถิ่นที่อาศัยอยู่ในต่างแดน โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของเงินทุนอุดหนุนผ่านองค์กรบังหน้าที่เรียกว่า นอร์เอด สมาชิกของกลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (IRA)มีความโดดเด่นอยู่ที่การมีอาวุธทันสมัยและมีความชำนาญสูง โดยที่องค์กรมีการจัดระบบเป็นหน่วยปฏิบัติการขนาดเล็กที่ประสานเชื่อมต่อกันอย่างรัดกุม ภายใต้การนำของสภากองทัพ (Army Council)
ในปี พ.. 2541 กลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (IRA) และซินเฟน (Sinn Fein) ได้ประกาศสงบศึกโดยมีการลงนามในสนธิสัญญากับกลุ่มไอริชอื่นๆ และอังกฤษ แต่การโต้แย้งในประเด็นเรื่องการปลดอาวุธได้ทำให้ความพยายามในการสร้างสันติภาพต้องล่าช้า จนทำให้สมาชิกบางคนของกลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (IRA) ไม่พอใจและได้แยกตัวออกจากองค์กรใหญ่ในปี พ..2542 แล้วประกาศให้กลุ่มตนเองเป็นกลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (IRA) แท้จริงแล้วกลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (IRA) ใหม่นี้ ได้ปฏิบัติการรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายการโจมตีหลักมักเป็นเจ้าหน้าที่ทางทหารของอังกฤษ นักการเมือง ผู้ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะกิจให้แก่รัฐบาลไอร์แลนด์เหนือ สมาชิกของกองกำลังอาสาสมัคร Ulster (Ulster Volunteer Force) ตลอดจนประชาชน พลเรือนทั้งที่อยู่ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือ จากการปฏิบัติการของกลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (IRA) ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากหลายพันคนตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา

European Terrorist Outfits



กลุ่มกบฏชาวบาสก์ (Basque Homeland and Freedom : ETA)
กลุ่มกบฏชาวบาสก์ หรือ ETA เป็นกลุ่มที่มีอุดมการณ์ชาตินิยมและได้รับอิทธิพลจากแนวคิดมาร์กซิสต์ ซึ่งนับเป็นองค์กรติดอาวุธที่มีศักยภาพมากที่สุดองค์กรหนึ่งของยุโรป กลุ่ม ETA ก่อตั้งขึ้นในปี พ.. 2502 โดยกลุ่มนักศึกษาที่ไม่พอใจกับแนวคิดชาตินิยมสายกลางของพรรคบาสก์เดิมเป้าหมายของกลุ่มที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสถาปนามาตุภูมิเอกราชในดินแดนส่วนที่เป็นของชาวบาสก์ที่มีจำนวนประชากรอยู่ประมาณ 3 ล้านคน ในเขต 5 จังหวัดชายแดนของประเทศสเปนติดกับประเทศฝรั่งเศส

การปฏิบัติการของกลุ่มในระยะเริ่มต้นเป็นไปในลักษณะของการลอบวางระเบิดในเมืองต่างๆของประเทศสเปน หลังจากที่การปฏิบัติการของกลุ่ม ETA ล้มเหลวในปี พ.. 2504 หรือแผนการที่จะทำให้รถไฟที่บรรทุกทหารตกรางเกิดความล้มเหลวขึ้นประธานาธิบดี ฟรังโก (Franco) จึงทำการปราบปรามอย่างหนัก จนทำให้ผู้นำของกลุ่มหลายคนต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ แต่ในช่วงทศวรรษที่ 1970ผู้นำเหล่านั้นก็มีโอกาสกลับเข้ามาในประเทศอีกครั้งหลังจากการเสียชีวิตของประธานาธิบดี ฟรังโก ในปี พ.. 2519 โดยที่รัฐบาลประชาธิปไตยที่ขึ้นมาปกครองประเทศก็ยอมมอบการปกครองตนเองที่ค่อนข้างมากในดินแดนของชาวบาสก์ แม้กระนั้นก็ตาม กลุ่มกบฏชาวบาสก์ก็ยังไม่พอใจ
ต่อมาภายหลังกลุ่มกบฏชาวบาสก์ ได้ปฏิบัติการโจมตีเจ้าหน้าที่กองกำลังความมั่นคงของสเปนอีก ตลอดจนนักการเมืองซึ่งปฏิบัติการดังกล่าวทำให้กลุ่มสูญเสียความนิยมจากประชาชนชาวบาสก์ไปในเดือนกรกฎาคม พ.. 2540 ชาวสเปนกว่า 6 ล้านคนได้รวมตัวกันบนท้องถนนเพื่อประณามความรุนแรงของกลุ่มกบฏชาวบาสก์ หรือ ETA อย่างไรก็ตามในเดือนกันยายน พ.. 2541ภายหลังจากมีการทำข้อตกลงสันติภาพในไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) กลุ่มกบฏชาวบาสก์ (ETA) จึงได้ประกาศแถลงการณ์พักรบแต่ฝ่ายเดียว ซึ่งการประกาศนี้ไม่ได้รับการตอบสนอง หรือการมีท่าทียอมรับจากฝ่ายรัฐบาลสเปนแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้กลุ่มกบฏชาวบาสก์ (ETA) จึงเริ่มเคลื่อนไหวอีกครั้งนับจากเดือนธันวาคม พ.. 2541 เป็นต้นมา ส่งผลทำให้ประชาชนจำนวนมากกว่า 800 คนต้องเสียชีวิตและมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีของกลุ่มกบฏชาวบาสก์ (ETA)นับจำนวนหลายพันคน โดยที่เงินทุนที่นำมาปฏิบัติการได้มาจากการลักพาตัวเพื่อเรียกค่าไถ่ การปล้นสะดมและการข่มขู่กรรโชกทรัพย์

ปาฐกถา ปรองดอง 5ข้อ จากโทนี่แบลร์


วันที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 13:59 น.  ข่าวสดออนไลน์ 

"โทนี่ แบลร์" ปาฐกถาปรองดอง - ยก 5 บทเรียนเน้นทุกฝ่ายมองอนาคตร่วมกัน

 เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 2 ก.ย. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงาน การปาฐกถาพิเศษ “ผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์” โดยมีนายมนัสวี ศรีโสดาพล อธิบดีกรมสารนิเทศ และนายธีรวัฒน์ ภูมิจิตร ผอ.สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมให้ความรู้เบื้องหลัง งานดังกล่าวจัดขึ้นจากวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเผยแพร่ความตระหนักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเรียนรู้จากประสบการณ์ของบุคคลสำคัญเกี่ยวกับการปรองดองแห่งชาติ ที่อาจนำมาปรับใช้เพื่อเยียวยาวิกฤตการเมืองของไทย

 ทั้งนี้ มีบุคคลสำคัญร่วมเป็นองค์ปาฐากถาสำคัญในช่วงเช้า ได้แก่ นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร นายมาร์ตี อาห์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ และนางพริซิลลา เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและที่ปรึกษาอาวุโสขององค์กร เซ็นเตอร์ ฟอร์ ฮิวแมนิแทเรี่ยน ไดอาล็อก หรือเอชดีซี รวมทั้งมี รศ.ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติศึกษา หรือไอซิส คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย เป็นพิธีกรดำเนินรายการ

 นายโทนี่ แบลร์ องค์ปาฐกถาคนแรก กล่าวว่า ปัญหาความขัดแย้งในประเทศ ควรต้องแก้ไขด้วยมือของคนในประเทศด้วยกันเอง ตนเป็นคนต่างชาติคงไม่สามารถมาสอนได้ โดยตนไม่ได้ถูกจ้างมา แต่ถูกเชิญให้มาแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัว เพื่อให้ได้ทุกฝ่ายนำไปปรับใช้ได้ตามเหมาะสม โดยจากประสบการณ์การเจรจาสันติภาพไอร์แลนเหนือ และตะวันออกกลาง ตนมีบทเรียนทั้งหมด 5 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่ 

 1.กรณีความสำเร็จของไอร์แลนด์เหนือ มาจากความเห็นพ้องของทั้งสองฝ่าย ที่ตระหนักถึงประโยชน์ที่จะมีร่วมกันหากความขัดแย้งยุติลง 2.อดีตนั้นไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ และยากมากที่จะนำมาตัดสินให้ถูกใจทุกฝ่าย สำคัญคือ ทุกฝ่ายจะพยายามเรียนรู้จากมัน 3.การปรองดองจำเป็นต้องมีกรอบในอนาคตที่แน่ชัด และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย 4.การเปลี่ยนมุมมอง หรือวิธีคิดต่อประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่การโหวต และผู้ครองเสียงข้างมากต้องได้ทุกอย่าง แต่เป็นเรื่องของความร่วมมือและเกื้อกูลกันของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้จะต้องยอมรับในกระบวนการนิติรัฐและนิติธรรมด้วย และ 5.การปรองดองจะดำเนินไปได้ง่ายขึ้น หากรัฐทำไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนอย่างแท้จริง ผ่านการสร้างสะพานเชื่อมกับประชาชน และทำให้ผู้คนรู้สึกจริงๆ ว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้น

 “สิ่งที่สำคัญที่สุดในการปรองดองแห่งชาติ คือ การไม่ท้อถอย ไม่ว่าจะต้องเจ็บปวดแค่ไหน จะแตกแยกกันมากเพียงใด เพราะมันคุ้มค่าเสมอที่กลับมาปรองดองกัน โดยผู้นำจะต้องเป็นผู้เริ่มและมีประชาชนส่วนใหญ่คอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง เพราะหากปราศจากพลังจากประชาชนแล้ว การปรองดองย่อมเป็นไปไม่ได้ และหากการปรองดองประสบผลสำเร็จผลประโยชน์ของมันก็ย่อมตกอยู่กับประชาชน”นายแบลร์ กล่าว

 นายแบลร์ กล่าวด้วยว่า กรณีของการเจรจาสันติภาพไอร์แลนเหนือนั้น บางครั้งก็มีการเอาคนนอกเข้ามา แต่ในที่สุดผู้ที่ลงมือปฏิบัติคือประชาชนในไอร์แลนด์ โดยต้องหาทางให้บุคคลที่มีส่วนสำคัญในความขัดแย้งได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เพราะการสื่อสาร รวมทั้งคำพูดเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ดีสุดท้ายก็อยู่ที่ความมุ่งมั่นของแต่ละฝ่ายที่จะก้าวข้ามความขัดแย้ง เพราะถ้าหากไม่มี ก็ทำอะไรไม่ได้

 “ผมแก้ไขด้วยการพยายามเข้าไปนั่งในหัวใจของอีกฝ่าย และจำเป็นต้องมีการสร้างบรรยากาศของการเจรจาก่อน ทำให้คนต่อต้านน้อยลงก่อน ให้คนรู้สึกยอมรับกลไกที่จะเกิดขึ้น ผู้คนข้างนอกสามารถช่วยได้ ค่อยๆไปทีละขั้น ไม่จำเป็นต้องพุ่งเป้าฉะกันทันที” นายแบลร์ กล่าวทิ้งท้าย

 ด้านนายมาร์ตี อาห์ติซารี กล่าวว่า บาดแผลในอดีตนั้นใช้เวลานานกว่าจะเยียวยาได้ แต่การปรองดองและการเคารพในกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคง และการปรองดองบางครั้งใช้เวลานานกว่า 10 ปีก็มี สิ่งสำคัญคือ ทุกฝ่ายต้องมีความจริงใจ และต้องมีความยืดหยุ่น ยอมถอยบ้าง เพื่อหาจุดร่วมสมานฉันท์ มุ่งไปที่จุดร่วมแห่งประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า

 นายอาห์ติชารี เห็นว่า การปรองดองควรเริ่มจากระดับชุมชนก่อน และทุกฝ่ายควรมีจุดร่วมกัน คือ การสร้างจุดเริ่มต้นใหม่ ปูทางไปสู่อนาคตที่อดีตอันเจ็บปวดเหล่านั้นจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้อีก

 “ต้องตระหนักว่าจะก้าวข้ามอดีตและต้องทำให้ดีกว่าในอดีต มองไปในอนาคต ความเชื่อใจซึ่งกันและกัน การเจรจาปรองดองเป็นเพียงขั้นตอน เพราะการปรองดองที่แท้จริงอยู่ที่ประชาชน การปรองดองสร้างความแตกต่างได้ และเราสามารถเริ่มต้นได้เสมอ”นายอาห์ติชารี กล่าว

 ด้านนางพริซิลลา เฮย์เนอร์ กล่าวว่า ความแตกแยกไม่ใช่สิ่งแปลกประหลาดในสังคมปัจจุบันที่มีความแตกต่าง ที่ผ่านมาไทยทำได้ดีแล้วในการตระหนักถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น คนต่างชาติสามารถเสนอประสบการณ์ได้ แต่คงไม่มีวันเข้าใจคนในประเทศได้ พร้อมเตือนว่าการปรองดองมักหมายความแตกต่างกันไปกับแต่ละคน ยิ่งโดยเฉพาะการปรองดองทางการเมือง ทำให้เกิดแต่ละฝ่ายวาดภาพอนาคตไว้แตกต่างกันไป นอกจากนี้บางฝ่ายอาจนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้

 นางเฮย์เนอร์ กล่าวว่า หนึ่งในความหมายของการปรองดอง เช่น การลืมอดีต เช่น การนิรโทษกรรมให้ผู้กระทำผิดโดยอ้างว่าเพื่อการปรองดอง แต่ก็ถูกต่อต้านโดยเหยื่อ อีกความหมายหนึ่งคือการเปลี่ยนขั้วอำนาจ เช่น ในอียิปต์ ภายหลังการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทำให้กองทัพอิยิปต์พยายามควบคุมสถานการณ์ ถือว่าเป็นการใช้ที่ผิด เพราะเป็นการปฏิเสธการมีอยู่ของอีกฝ่าย

 นางเฮย์เนอร์ กล่าวอีกว่า อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือการมุ่งเป้าไปที่กระบวนการหรือผลลัพธ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง หากแต่ละฝ่ายมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้น กระบวนการปรองดองก็เดินต่อไปไม่ได้ และการปรองดองไม่สามารถเร่งรัดได้ เพราะต้องดำเนินไปด้วยความระมัดระวัง ใช้การสื่อสาร การฟัง เพื่อหาจุดร่วมกันให้ได้ ด้วยความเคารพและให้เกียรติแต่ละฝ่ายด้วย

 นายเฮย์เนอร์ ระบุถึงกฎหมายนิรโทษกรรมที่กำลังเป็นเรื่องสำคัญในไทยว่า สามารถใช้รูปแบบของสากลเป็นแม่แบบได้ และต้องไม่เอนเอียง หรือยกประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือต้องอยู่บนพื้นฐานความยุติธรรม และสำคัญคือบนความเคารพต่อเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบ เช่น ความจริงที่เกิดขึ้นต้องได้รับการเปิดเผย

 “การหาจุดร่วม แปลว่าต้องมีความต่างระหว่างฝ่าย เป็นเรื่องธรรมดามาถกเถียงกันได้ แต่ทั้งสองฝ่ายต้องเคารพกฎหมายระเบียบที่มีอยู่ของบ้านเมือง และทั้งคู่ต้องยืนอยู่บนผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ถือเป็นหัวใจของการปรองดอง” นายเฮย์เนอร์ กล่าว

 ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นายโทนี่ แบลร์ มีกำหนดจะเดินทางกลับประทศอังกฤษคืนวันนี้ ขณะที่อีกสองคนที่เหลือจะเดินทางกลับในวันพรุ่งนี้ (3 ก.ย.)

 วันเดียวกัน นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ สรุปใจความสำคัญของสุนทรพจน์โดย โทนี่ แบลร์ เสนอหลักการ 5 ข้อในการปรองดอง ว่ามีดังนี้

 1.ยึดโอกาสร่วมกันในอนาคตเหนือความเจ็บปวดในอดีต ต้องมองให้เห็นประโยชน์ของสันติภาพและความเจริญเป็นรางวัลชิ้นใหญ่ร่วมกันที่รออยู่ข้างหน้า

 2.อดีตเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ แต่คงตัดสินให้ทุกฝ่ายพอใจไม่ได้ บางครั้งต้องยอมอดทนกับความเจ็บปวด เช่น การตกลงยอมปล่อยตัวนักโทษในไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งอาจถูกมองเป็นทั้งวีรบุรุษและผู้ก่อการร้าย

 3.วางกรอบความร่วมมือในอนาคต ที่เป็นธรรม และแก้รากเหง้าปัญหา เช่น ในไอร์แลนด์เหนือ มีข้อตกลงให้คู่ขัดแย้งมีช่องทางแบ่งปันอำนาจร่วมกัน

 4.ยึดประชาธิปไตยทั้งในเนื้อหา ไม่ใช่เฉพาะในรูปแบบ เสียงข้างมากต้องร่วมคิดกับเสียงข้างน้อยภายใต้หลักนิติธรรม ศาลต้องเป็นกลางและอิสระ

 5.การปรองดองต้องสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่เพียง
โปร่งใส ประโยชน์เข้าถึงทุกฝ่าย นักการเมืองต้องเป็นฝ่ายนำ โดยมีประชาชนหนุน

 "โทนี่ แบลร์ปิดท้ายด้วยการย้ำถึงความยากของการปรองดอง ต้องอดทนเพื่ออนาคตที่คุ้มค่า และเชื่อมั่นว่าคนไทยทำได้" นายวีรพัฒน์ ระบุ






 







นิยาม ปชต.จากโทนี่แบลร์

การเมือง : ข่าวทั่วไป
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2556

นิยาม'ปชต.บนเวทีปาฐกถาพิเศษ'โทนี่ แบลร์'

นิยามความหมาย'ปชต.จากเวทีปาฐกถาพิเศษ'โทนี่ แบลร์' : สำราญ สมพงษ์รายงาน

               งานการปาฐกถาพิเศษ “ผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์” หรือ "Uniting for the Future: Leaning form each other’s experiences"  ที่รัฐบาลจัดขึ้นภายใต้การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศ ที่รร.พลาซ่า แอทธินี วันที่ 2 กัยายน

               ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้สาธารณชนไทยได้รับฟังประสบการณ์จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ที่มีส่วนร่วมและประสบการณ์ในการส่งเสริมประชาธิปไตย และเสริมสร้างสันติภาพในหลายประเทศทั่วโลก ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับสังคมไทยในการสร้างอนาคตและส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตย  โดยมีองค์การระหว่างประเทศ นักวิชาการ มูลธิองค์การเพื่อประชาธิปไตย ภาคประชาชนเข้าร่วม

               งานนี้ได้เชิญนายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร นายมาร์ตรี อาห์ติซารี อดีตประธานธิบดีฟินแลนด์ นางพริซิลลา เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน และที่ปรึกษาอาวุโส Centre for Humanitarian Dialogue (HDC) ร่วมเป็นองค์ปาฐก โดยมีองค์การระหว่างประเทศ นักวิชาการ มูลธิองค์การเพื่อประชาธิปไตย ภาคประชาชนเข้าร่วม

               ดูจากวัตถุประสงค์แล้ว มีคำที่สำคัญอยู่ 2 คำคือ "ประชาธิปไตย" กับคำว่า  "สันติภาพ" ว่ามีนิยามความหมายอย่างไร เริ่มจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะที่เป็นประธานกล่าวเปิดงานที่ระบุว่า

               "เมื่อกล่าวถึงประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้เพียงหมายถึงระบบที่เสียงข้างมากเป็นรัฐบาลและเสียงข้างน้อยเป็นฝ่ายค้าน แต่หมายรวมถึงวัฒนธรรมที่ประชาชนทุกคนเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และที่ทุกคนยึดและเคารพต่อหลักนิติรัฐ นิติธรรม"

               นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ได้เสนอว่า "ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่ต้องรวมถึงการที่ผู้มีเสียงข้างมากเข้าไปดูแลเสียงส่วนน้อย ไม่ใช่ Winner takes all ไม่ได้หมายถึงอำนาจของพรรคการเมืองหนึ่ง แต่จะต้องสร้างโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมในสังคม ซึ่งในระบอบประชาธิปไตยจะต้องทำให้ระบบกฎหมายมีความน่าเชื่อถือ เป็นธรรม เพื่อที่คนในสังคมจะได้ยอมรับการบังคับใช้กฎหมายนั้นๆ"

               นายโทนี่ แบลร์ยังได้กล่าวถึงการสร้างความปรองดองในประเทศไทยว่า ปัญหาในประเทศไทยต้องแก้ด้วยคนไทยเท่านั้น คนนอกไม่เกี่ยว เพียงแต่จะเข้ามาเล่าประสบการณ์และกระบวนการว่าเคยทำอย่างไรบ้าง การสร้างความปรองดองจะต้องสร้างให้เกิดโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้กับทุกคนได้แบ่งปันร่วมกัน เพื่อทำให้ทิ้งผลประโยชน์ส่วนตนไว้ก่อน ยกตัวอย่างการสร้างความปรองดองในไอร์แลนด์ คือการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม เพื่อจะได้ทิ้งความขัดแย้งไว้ก่อน เราต้องยอมรับว่าเราย้อนดูประวัติศาสตร์ได้ แต่เราต้องอย่าไปย้อนตัดสินประวัติศาสตร์ เพราะไม่มีทำให้ใครพอใจได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความขัดแย้งในไอร์แลนด์ คือการปล่อยนักโทษ

               การทำให้คนเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับอดีต เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ดังนั้นจะต้องทำให้ทุกคนหันมาสร้างอนาคตใหม่ร่วมกันแทน และการออกจากความขัดแย้งคือต้องมองอนาคตร่วมกัน ชี้การปรองดองไม่ใช่ทำให้ทุกคนลืมอดีต ต้องยอมรับว่าความรู้สึกเจ็บปวดยังอยู่ แต่ต้องทำให้เห็นอนาคตที่ดีกว่าร่วมกัน ซึ่งการสร้างปรองดองจะต้องมีการทำ Frame work เพื่ออนาคต ป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก คงไม่สามารถย้อนไปแก้อดีตได้

               นายโทนี่ แบลร์ กล่าวต่อว่า การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ เมื่อการเมืองสามารถนำมาได้ซึ่งนโยบายที่เป็นผลประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ความโปร่งใส ความธรรมาภิบาลของรัฐบาลที่ขึ้นมาบริหารประเทศ จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ประชาชน และนำไปสู่ความปรองดองง่ายขึ้น การปรองดองจะเกิดขึ้นได้เมื่อรัฐบาลสามารถที่จะดำเนินการในสร้างความเป็นอยู่ให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่าดีขึ้น ด้วยความโปร่งใส ซึ่งตอนนี้เราอาจจะไม่เชื่อในการปรองดอง แต่อย่างน้อยต้องมีการเริ่ม อย่าเพิ่งท้อ และแม้จะมีความแตกต่างแค่ไหน แต่จะต้องใช้ความพยายาม และนักการเมืองที่มีความตั้งใจในการนำไปสู่ความปรองดองเพื่อคนทั้งประเทศ

               พร้อมกันนี้นายโทนี่ แบลร์ ยังได้แนะนำเพียวกับการปรองดองกับน.ส.ยิ่งลักษณ์โดยตรงว่า การสร้างความปรองดองไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความพยายามในการสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่าย จุดเริ่มต้นที่สามารถลดความขัดแย้งได้  นั่นคือการที่รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายที่ได้ประโยชน์แก่ประชาชนทุกฝ่ายเพื่อสร้างความไว้วางใจว่าจะไม่ทำประโยชน์ให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้ในระยะยาวจะต้องพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้พร้อมอย่างเต็มที่ในการที่จะสนับสนุนให้เกิดการปรองดองขึ้นในประเทศไทยด้วยการแบ่งปันประสบการณ์

               ด้านทางนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ที่เข้าร่วมงานด้วยเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย อยู่ที่หลักการและกระบวนการประชาธิปไตย ที่ถูกตีความไปตามแต่ละความเห็น ซึ่งสำคัญอยู่ที่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และเปิดพื้นที่ให้มีส่วนร่วม จะช่วยคลี่คลายปัญหาได้ แต่ทุกวันนี้ ฝ่ายค้านไม่สามารถทำงานได้ในรัฐสภา หรือองค์กรอิสระยังไม่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ทำให้ทำงานไม่มีสิทธิภาพ รวมทั้งสื่อมวลชนตกอยู่ในภาวะกีดกันเข้าถึงข้อมูล ทำให้ไม่มีเสรีภาพเท่าที่ควรจะเป็น สำหรับข้อเสนอแนะที่มีการพูดกันวันนี้ คงต้องให้ทุกฝ่ายได้เปิดรับและนำไปใช้ ก็เพื่อให้การปรองดองประเทศสามารถเกิดขึ้นได้ 

               นายสุรินทร์ ยืนยันว่า กระบวนการประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายค้านหรือรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังมีความพยายามผลักดันของบางคนจากนอกประเทศ ทำให้สิ่งที่ทำกันอยู่ในประเทศเกิดความไขว่เขว่ เพิ่มเชื้อความเข้าใจผิดๆ และทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกัน แล้วกระบวนการปรองดองประเทศจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อยังสิ่งรบกวนประชาธิปไตยและสันติสุขของประเทศอยู่

               ขณะที่นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้มองถึงเวทีดังกล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่สังคมไทยมีการตื่นตัวในเรื่องสันติภาพและสร้างความปรองดอง ซึ่งเมื่อสังคมตื่นตัวและเป็นตัวนำ ซึ่งจะบีบให้การเมืองต้องเดินเข้าสู่กระบวนการปรองดอง แม้จะมีนักการเมืองไม่เห็นด้วย แต่เป็นเรื่องที่ทำง่ายกว่าการให้รัฐเป็นผู้ริเริ่มหรือเป็นตัวนำ ซึ่งจะมีฝ่ายไม่เห็นด้วยออกมาขัดแย้ง และในวันที่ 6 ธ.ค.นี้ นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่น จะเชิญนายอดัม คาเฮน ผู้เขียน หนังสือเรื่อง Power and Love และหนังสือ Solving Tough Problems เป็นผู้เชี่ยวชาญแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระดับโลก ที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในโคลัมเบีย และอาร์เจนติน่า มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนไทย 

               “ผมยังเชื่อว่าปัญหาความขัดแย้งในประเทศไทยจะแก้ไขได้ง่ายกว่าปัญหาความขัดแย้งในประเทศอื่นๆ เพราะเราไม่ได้ขัดแย้งกันในเรื่องศาสนาหรือเชื้อชาติ เป็นเพียงความเห็นที่แตกต่างกันเท่านั้น อย่าไปท้อใจเราต้องช่วยกัน เราขัดแย้งกันได้ ทะเลาะกันได้แต่อย่าฆ่ากันตาย ขณะนี้แม่ว่าฝ่ายค้านจะยังไม่เห็นด้วยเราก็ต้องเปิดกว้างและมองคนที่ไม่เห็นด้วยให้เป็นพวกเดียวกัน วันข้างหน้าเขาอาจเห็นด้วยก็ได้”ราษฎรอาวุโสกล่าว

               ทั้งนี้นพ.ประเวศได้กล่าวในงานประชุมวิชาการ เรื่องสันติสุขเริ่มที่วิถีชุมชน ที่สถาบันพระปกเกล้าจัดขึ้นที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ที่มีประชาชนและนักศึกษาหลักสูตรสันติศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)เข้าร่วมรับฟัง

               จากเวทีดังกล่าวคงจะทำให้คนไทยเข้าใจความหมายของคำว่าประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น