PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2561

อจ.จุฬาฯ ชี้ม.44 ตั้ง “สนธยา” นั่งนายกเมืองพัทยา วางเครือข่ายสืบทอดอำนาจคสช.

อจ.จุฬาฯ ชี้ม.44 ตั้ง “สนธยา” นั่งนายกเมืองพัทยา วางเครือข่ายสืบทอดอำนาจคสช.



สนธยา คุณปลื้ม (แฟ้มภาพ)


เมื่อวันที่ 25 กันยายน นายวีระศักดิ์ เครือเทพ นักวิชาการจากรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (กกถ.) เปิดเผยกรณีการใช้มาตรา 44 สั่งปลดพลตำรวจตรีอนันต์ เจริญชาตรี พ้นจากตำแหน่งนายกเมืองพัทยา จ.ชลบุรี และแต่งตั้งนายสนธยา คุณปลื้ม ที่ปรึกษารัฐมนตรีท่องเที่ยว ทำหน้าที่แทน จนกว่าจะมีการเลือกตั้งหรือมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงนั้นว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการดำเนินนโยบายที่ย้อนแย้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช). จากเดิมมีข้อกล่าวหาว่านักการเมืองโกงกินไร้ประสิทธิภาพในการทำงาน ต้องนำข้าราชการประจำไปทำหน้าที่ ที่สำคัญหากมีการแต่งตั้งบุคคลอื่นทดแทน คสช.ควรพิจารณา แต่งตั้งนายอิทธิพล คุณปลื้ม ซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง หลังจากถูกคำสั่งจากการใช้ ม.44 สั่งปลดในลักษณะเดียวกันเมื่อ 2ปีที่ผ่านมา ควรให้กลับมาทำหน้าที่เดิม เนื่องจากผลการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีข้อกล่าวหาว่ามีการทุจริตต่อหน้าที่เรื่องเตาเผาขยะและอีกหลายเรื่องยังไม่มีข้อสรุปหรือมีการชี้มูลความผิดที่ชัดเจน
“ มีการประเมินว่าการแต่งตั้งนายสนธยา เป็นการตอบโจทย์ที่ไม่อ้อมค้อมเป็นตัวอย่างให้เห็นแนวทางการสร้างรากฐานทางการเมืองของ คสช.ที่มีความชัดเจนเรื่องการสืบทอดอำนาจ เชื่อว่ามีเหตุผลมากกว่าการทำหน้าที่สนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว การค้าการลงทุน ขณะเดียวกันผู้บริหารที่ถูกปลดออก เนื่องจากทำงานแบบข้าราชการประจำก็ต้องยอมรับว่า 2 ปีที่ผ่านมาบริหารงานมีประสิทธิภาพหรือไม่ ทั้งการจัดการขยะ การแก้ปัญหาน้ำท่วม การทำผังเมืองใหม่ ปัญหาเหล่านี้ประชาชนชาวเมืองพัทยาต้องสูญเสียโอกาสในการพัฒนานานกว่า 2 ปี ผู้มีอำนาจจะออกมารับผิดชอบกับความเสียหายหรือไม่อย่างไร “ นายวีระศักดิ์ กล่าวว่าและว่าการแต่งตั้งนายสนธยา ถือเป็นการวางเครือข่ายทางการเมืองในภาคตะวันออกอย่างตรงไปตรงมาท่ามกลางกระแสดูดที่เข้มข้น แตกต่างจากการซื้อใจ 4 นายก อบจ.ในภาคเหนือและภาคอีสาน ด้วยการปลดล็อคให้ไปทำหน้าที่หลังจากถูกแขวน แต่ต่อมาพบว่าเครือข่ายนักการเมืองเหล่านั้นไม่ได้ตอบสนองความต้องการในการสร้างฐานทางการเมืองเท่าที่ควร