PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

เสนอใช้ม.44 เปลี่ยน 'ผู้ว่าฯกทม.' เป็น 'นายกเทศมนตรีกทม.'

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 23 เมษายน 2558

"สมาคมปกครอง" เสนอใช้ม.44 เปลี่ยนชื่อ "ผู้ว่าฯกทม." เป็น "นายกเทศมนตรีกทม." ค้านตั้งองค์กรบริหารภาค-ยุบส่วนราชการท้องถิ่น

ที่ห้องอรรถไกวัลวที สำนักปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีและประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับหนังสือจาก พ.ท.กมล ประจวบเหมาะ นายกสมาคมนักปกครองแห่งประเทศไทย ที่ขอให้มีการทบทวนแนวคิดและการผลักดันของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ให้มีการยุบราชการบริหารส่วนภูมิภาค

โดย พ.ท.กมล เปิดเผยว่า สมาคมได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องแนวทางการปฏิรูปการบริหารการปกครองราชอาณาจักรไทยโดยมีข้อเสนอ คือ ไม่เห็นด้วยที่จะต้องตั้งองค์กรบริหารภาคเนื่องจากจะเกิดความซ้ำซ้อนกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาคโดยเฉพาะการจัดตั้งผู้ว่าราชการภาคซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองในอดีตที่มีการยกเลิกไปแล้ว นั่นคือข้าหลวงประจำภาคต่างๆที่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นผู้ตรวจราชการซึ่งเข้ามาดูและการทำงานของกลุ่มจังหวัดซึ่งเห็นว่าเป็นการบริหารงานที่ลักลั่น

พ.ท.กมล กล่าวด้วยว่า ไม่เห็นด้วยที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะให้มีสภาท้องถิ่นมาดูแลท้องถิ่นโดยมีอำนาจเป็นเอกเทศ และเห็นว่าเป็นการทำงานที่ทับซ้อนกับการบริหารการปกครองระดับประเทศของรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ทางสมาคมฯเสนอให้กระทรวงมหาดไทย(มท.)เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการลือกตั้ง โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)กำกับดูแลกำกับนโยบาย เนื่องจากเห็นว่ากระทรวงมหาดไทยมีบุคลากรทุกระดับตั้งแต่ อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน โดยเฉพาะกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัคร ผู้นำท้องถิ่น รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศและมั่นใจว่าสามารถป้องกันการทุจริตการเลือกตั้งได้

“นอกจากนี้ขอเสนอให้เปลี่ยนชื่อตำแหน่ง ”ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร”เป็น”นายกเทศมนตรีกรุงเทพมหานคร“ โดยอาจใช้มาตรา 44 มาดำเนินการ เนื่องจากทางสมาคมเห็นว่าเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่าประเทศไทยมีการปกครองส่วนภูมิภาคจำนวน 76จังหวัดมิใช่ 77 จังหวัด เนื่องจาก การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ว่ากทมและผู้ว่าราชการจังหวัดมีความแตกต่างกัน”พ.ท.กมล กล่าวและว่า กล่าวคือ ผู้ว่ากทม. มาจากการเลือกตั้งเป็นนักการเมืองแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดอื่นๆเป็นตัวแทนรัฐบาลส่วนกลางที่เข้ามาดูแลความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในขณะที่แม้มีพื้นที่ปกครองพิเศษ เช่น เทศบาลนครเมืองพัทยา นายกเมืองพัทยาก็มาจากการเลือกตั้งแต่ยังมีผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีเป็นตัวแทนรัฐบาลกลาง ในขณะที่ผู้ว่ากทม.ไม่มีตัวแทนจากรัฐบาลกลาง ดังนั้น ตำแหน่งผู้ว่าราชการควรเหลือเพียงตำแหน่งนากยกเทศมนตรีกรุงเทพมหานครเท่านั้น
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/644181#sthash.t7v7yqzU.dpuf

"บิ๊กตู่"หนักใจ! ทำไม่ได้อย่างหวัง วอน นักการเมือง-สื่อ-อจ. ต้องรู้ว่าตัวเองทำผิดด้วย

นายกฯชี้เชิญตัวแทนพรรคการเมืองคุยปรองดอง หากไม่หยุดให้สังคมตัดสินเอง รับหนักใจไม่สามารถแก้ปัญหาตามที่ตั้งใจไว้ได้

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. กล่าวถึงกรณีที่ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป หรือ ศปป. เชิญตัวแทนสองพรรคการเมืองใหญ่ สื่อมวลชน คอลัมนิสต์ และนักวิชาการมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549-2557 เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจในสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ ไม่ใช่เป็นการเรียกมาปรับทัศนคติ ซึ่งหลายคนเคยถูกเชิญตัวมาพูดคุยก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่เข้าใจและยังวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องซึ่งเรื่องนี้จะให้สังคมตัดสินเองไม่ใช่จะให้ตนใช้อำนาจทุกเรื่อง และเห็นว่าคนเหล่านี้ควรจะมีหัวใจที่ปรองดองที่จะช่วยกันทำให้บ้านเมืองเกิดความสมานฉันท์ ไม่ใช่จะให้ใช้กฎหมายที่แรงขึ้นเพราะหากมีการบังคับก็ไม่ยอมรับ ขณะเดียวกันต้องรู้ว่าตัวเองทำผิดด้วย ซึ่งการปรองดองต้องเริ่มที่หัวใจไม่ใช่ไปยกเลิกทางกฎหมาย และไม่ว่าใครกระทำผิดจะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรียอมรับว่ามีความหนักใจที่ไม่สามารถแก้ปัญหาตามที่ตั้งใจไว้ และยอมรับว่าทุกปัญหามีความท้าทาย มีความเสี่ยงตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาแก้ไขปัญหา แต่ไม่อยากเปิดเผยรายละเอียด เพราะหากต่างชาติรับรู้จะมองว่าประเทศไทยเสียหาย ยอมรับทุกคนหวังดีต่อประเทศรวมถึงนักการเมืองที่ดีมีจำนวนมาก แต่ต้องรู้ตัวและปรับตัว ขณะเดียวกันจะมากดดันการทำงานของตนไม่ได้เพราะตนไม่ได้ถูกเลือกเข้ามา แต่เข้ามาด้วยวิธีพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

นักวิชาการรัฐศาสตร์ วิเคราะห์ ยิ่งโลกล้อมไทย การใช้ ม.44 จะเข้มข้นหนักขึ้น



วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 14:35:28 น.


ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นในเฟสบุ๊กส่วนตัว วิเคราะห์ถึงการใช้อำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ตามมาตรา 44  ที่ให้อำนาจหัวหน้า คสช.ออกคำสั่งเรื่องต่างๆ โดย ดร.พิชญ์ เห็นว่า การใช้อำนาจตามาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 เป็นข้ออ้างในการเดินเกมกับนานาชาติ หากถูกกดดัน ก็จะยิ่งเพิ่มความเข้มข้นของการใช้อำนาจให้ขยายลงไปในเรื่องต่างๆ เช่นเรื่องการโยกย้ายข้าราชการ โดยไม่ต้องมีขั้นตอนใดๆ  นอกจากนี้ยังเห็นว่า มาตรา 44 ต่างกับการใช้อำนาจตามมาตรา 17 ในสมัยจอมพลสฤษฏิ์  เพราะจอมพลสฤษฏิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ หัวหน้าคณะปฏิวัติ ขณะที่ในปัจจุบัน แม้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กับนายกรัฐมนตรีจะเป็นคนเดียวกัน แต่ก็เป็นนายทหารที่เกษียณอายุราชการไปเเล้ว ไม่ได้เป็นผู้บัญชาการทางทหาร  จึงต้องจับตาความสัมพันธ์กับกองทัพ และในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ร่างอยู่นั้นจะมีการระบุถึงการสิ้นสุดลงของคสช. หรือไม่


"...แม้ว่าผมจะไม่เห็นด้วยกับมาตรา 44 แต่ผมคิดว่ารัฐบาลนี้กำลังใช้มาตรา 44 อย่างเมามันส์ และผมคิดว่าใครที่เป็นกองเชียร์มาตรา 44 อย่างจริงใจ (ไม่ใช่พวกที่บอกว่า ถ้าต้องเลือกก็ต้องยอม) นี่คงจะรู้สึกสะใจพวกฝรั่งตาน้ำข้าว ถ้าเชื่อในทฤษฎีที่ว่ามาตรา 44 เกิดจากการที่ถูกต่างประเทศกดดัน (ซึ่งผมไม่เคยเชื่อตั้งแต่แรก และผมกลายเป็นเสียงข้างน้อยในเรื่องนี้) ..."

ตัวอย่างล่าสุดก็คือ มาตรา 44 นั้นถูกใช้ในการแก้ปัญหาการบิน และ กำลังจะถูกใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องของแรงงานประมง ซึ่งกลายเป็นว่าในที่สุดแล้ว มาตรา 44 จะเป็นข้ออ้างในการเดินเกมส์กับฝรั่งมากขึ้นไปอีกว่า ก็ถ้ายูกดดันไอ ไอก็จะใช้มาตรา 44 ในทุกๆเรื่อง เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งตอนนี้ลามไปถึงการโยกย้ายข้าราชการโดยไม่ต้องมีขั้นตอนอื่นๆ - ถ้ายังนึกถึงชัยชนะของคุณถวิล เปลี่ยนสี จากการโยกย้ายในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้

สรุปง่ายๆก็คือ ยิ่งมีแรงกดดันจากต่างชาติ และแรงกดดันภายในประเทศมากเท่าไหร่ แรงกดดันเหล่านั้นก็ยิ่งทำให้ต้องใช้มาตรา 44 ในการแก้ไขในทุกๆเรื่องมากขึ้น หรือพูดง่ายๆว่า ยิ่งโลกล้อมไทย ไทยก็จะเป็นเผด็จการด้วยมาตรา 44 มากขึ้น ‪ (ผมนึกถึงภาพคนเมายาบ้าที่มีคนยืนมุงดูอย่างไรไม่รู้‬)

ในส่วนต่อมาที่ควรพิจารณาก็คือ มาตรา 44 นั้นไม่เหมือนกับมาตรา 17 สมัยจอมพลสฤษดิ์ อยากน้อยในแง่ของมิติในทางกฏหมาย (ไม่ใช่มิติของผลในการกระทำ) เพราะว่า ในมาตรา 17 ของจอมพลสฤษดิ์ นั้น คนที่ใช้คำสั่งคือ นายกรัฐมนตรี ภายใต้การเห็นชอบของ ครม. (ซึ่งก็คงจะพอตีความได้ว่ามีฐานเหมือนกับพระราชกำหนด ที่ใช้ในยามเร่งด่วน) แต่ในการใช้จริงนั้น นายกรัฐมนตรีนั้นเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ และยังเป็นผู้บัญชาการทางทหารในตำแหน่ง

แต่ในกรณีของมาตรา 44 คนที่ใช้คือ หัวหน้า คสช. ภายใต้ความเห็นชอบของคณะ คสช. ซึ่งหมายถึงคณะรัฐประหารเอง ซึ่งมีอำนาจสูงกว่านายกรัฐมนตรี และจะว่าไปแล้ว คำสั่ง คสช. เองก็ยังสามารถออกได้ และยังออกอยู่ ดังนั้นคนที่เป็นคนตัดสินใจก็คือคณะทหารที่ยังทำหน้าที่ในการกำหนดสภาวะยกเว้นอยู่ และชี้ให้เห็นว่าคณะรัฐประหารมีอำนาจเหนือรัฐบาล นอกจากนั้นเผอิญว่า หัวหน้า คสช. เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ได้เป็นผู้บัญชาการทหาร เพราะเกษียณอายุไปแล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไปก็คือ ขณะนี้ความสัมพันธ์ของคสช. ในฐานะคณะทหารที่เกษียณอายุจากราชการไปแล้ว (บ้างหรือบางส่วน) นั้นมีสายการบังคับบัญชากับกองทัพอย่างไร และในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ร่างอยู่นั้นจะมีการระบุถึงการสิ้นสุดลงของคสช. หรือไม่ หรือการประกาศใช้รัฐธรรมนูญนั้นถือเป็นการสิ้นสุดลงอย่างปริยายของการมีคณะคสช.ซึ่งมีการแต่งตั้งในเอกสารราชการตรงนี้จะต้องระบุให้ชัดไหมหรือเหมาๆเอาว่าเราเข้าใจตรงกัน?

"...ป.ล.ผมได้รับข้อมูลที่เป็นแรงบันดาลใจในการคิดเรื่องที่ความแตกต่างระหว่างมาตรา 17 ของจอมพลสฤษดิ์ และ มาตรา 44 ของ คสช. จากการชมรายการเจาะข่าวตื้นของจอห์น วิญญู และพ่อหมอครับ กระจ่างกว่าการแถลงของเนติบริกรมากมาย..."

นายกฯ วอนอย่าเอามาตรา 44 ไปเปรียบเทียบกับมาตรา 17

ม.44 กับ ม.17......
นายกฯ วอนอย่าเอามาตรา 44 ไปเปรียบเทียบกับมาตรา 17เพราะบังคับใช้กันคนละแบบ เตือนว่าอย่าทำอะไรที่เสียหายร้ายแรงกับประเทศ ก็แล้วกัน เผย งานนี้ท้าทายตั้งแต่วันแรกที่ผมตัดสินใจเข้ามาแล้ว มันเสี่ยง ตั้งแต่ 22 พ.ค. 57เสี่ยงว่าเข้ามาแล้วจะเกิดอะไรขึ้น อันตราย ?ทำสำเร็จไหม เผยเรียกก๊วนการเมืองถามที่ผ่านมารับปากไว้ว่าอย่างไร ยันไม่ได้ปรับทัศนคติ แนะสื่อช่วยเป็นพยานคดีเผาเมือง หวังสังคมเข้าใจมันเกิดอะไรขึ้น คนทำต้องรู้ตัว ชี้ปรองดองอยู่ที่หัวใจคนไทยทุกคน แนะหยุดพูดก่อน ทุกคนต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ย้ำ ม.44 เพื่ออำนวยความสะดวก ไล่พวกไม่ได้ดั่งใจไปขอรัฐบาลใหม่ เผยต่างชาติต้อนรับตน แต่ในชาติไม่รู้อะไรกันหนักหนา ถ้าจะลดเหลื่อมล้ำก็ต้องกระทบประชาชนบางกลุ่ม อ้างเสียงดังหูอื้อไม่ได้โมโห จวกสื่อชอบตั้งคำถามให้ไปรบกับใคร

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. กลับจากอินโดนีเซีย กล่าวถึงกรณีศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) เชิญตัวแทนพรรคการเมือง นักวิชาการ และคอลัมนิสต์ เข้าหารือที่สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดี ว่า เรียกมาเพื่อพูดคุย เพราะเคยบอกไปแล้วว่า การออกมาพูดกับสื่อ พูดกับสังคมหรือพูดข้างนอกมันไม่ได้ 

"เพราะขณะนี้สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ปกติมากนัก ดังนั้นการที่บางคนทั้งที่มีคดีความหรือเรื่องต่างๆ ที่สังคมยังสงสัยข้องใจก็ต้องเชิญมาพบกัน ซึ่งความจริงก็เชิญมาพูดคุยกันแล้วหลายครั้ง ซึ่งก็รับปากกัน พูดจากันเรียบร้อย แต่พอกลับไปก็เอาใหม่อีก ผมจึงได้สั่งการว่าให้เชิญมาพูดคุย เพื่อจะถามดูว่าที่ผ่านมาเคยพูด และรับปากไว้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในปี 2552-2553 เรื่องชายชุดดำ เรื่องจำนำข้าว มีอะไรก็ขอให้ว่ามา ซึ่งยังไม่ได้รับรายงานว่าทำได้แค่ไหนอย่างไร"

ผู้สื่อข่าวถามว่า การพูดคุยกันในครั้งนี้ถือเป็นการเรียกมาทำความเข้าใจกันอีกรอบหรือการปรับทัศนคติ แต่มีบางฝ่ายมองว่าเลยช่วงเวลาดังกล่าวไปแล้วรัฐบาลจะแก้ปัญหาอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า 
"ผมไม่ได้เรียกมาเพื่อปรับทัศนคติ แต่เป็นการเชิญมาทำความเข้าใจกัน สังคมเองก็ต้องเข้าใจลองฟังดู ที่ผ่านมารับได้กันหรือไม่ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2553 มีฝ่ายหนึ่งบอกว่ามีคนใช้กำลัง แต่อีกฝ่ายกลับบอกว่าเจ้าหน้าที่ใช้กำลังก็ต้องมาถกแถลงว่าสรุปแล้วมันคืออย่างไร สื่อมวลชนเองที่อยู่ในเหตุการณ์มีการถ่ายภาพไว้จำนวนมาก ก็ควรจะออกมาเป็นพยาน"

เมื่อถามว่า จะทำอย่างไรกับบุคคลที่เรียกมาทำความเข้าใจบ่อยครั้ง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "สังคมก็ต้องว่ากันมา และสังคมก็ต้องทำความเข้าใจกันเอง อะไรก็จะให้ผมใช้แต่อำนาจจะต้องให้ผมทำให้ มันเป็นอะไรประเทศไทย ผมอยากจะรู้นัก ทำไมไม่รู้จักคิดว่าจะมีหัวใจที่จะปรองดองทำเพื่อประเทศชาติกันบ้างทำไม่ได้เลยหรือ มันจะต้องขัดแย้งไปทุกเรื่อง กฎหมายก็มีอะไรก็มี จะขอแต่ให้มีกฎหมายที่แรงขึ้นๆ หรือลงโทษให้แรงขึ้น ถามว่าแล้วจะต้องให้มันแรงขึ้นอีกเท่าไหร่

ถ้าผมใช้มาตรการรุนแรงก็จะกล่าวหาผมอีกว่า ผมไปทำรุนแรงเกินไป มันไม่มีใครพอใจ ดังนั้นสิ่งที่ผมต้องการคือให้สังคมเข้าใจว่ามันเกิดอะไรขึ้น และเจ้าตัวต้องรู้ตัวเองว่าทำถูกหรือทำผิด และกฎหมายอยู่ที่ไหน หลายท่านบอกว่าการที่ผมเรียกมาเช่นนี้ก็จะใช้มาตรา 44 อีกเพื่อไปปรองดอง ผมบอกหลายครั้งแล้วว่าการปรองดองอยู่ที่หัวใจของทุกคนที่เป็นคนไทย ถ้าอยากปรองดองก็ขอให้หยุดกันเสียก่อนทุกเรื่อง หยุดพูด หยุดแสดงความคิดเห็นนั่นแหละคือปรองดองแล้ว แต่ไม่ใช่การยกโทษทางกฎหมาย ทุกคนต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไม่ว่าจะเป็นใครหรืออยู่ที่ไหน ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ถึงจะเรียกว่าเริ่มเข้าสู่การปรองดองแล้วถึงมีการตัดสินออกมาว่าถูกหรือผิด และมีการต่อสู้กันมา"

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขอให้เข้าใจกันเสียทีว่ามาตรา 44 อย่าเอาไปเปรียบเทียบกับมาตรา 17 เพราะบังคับใช้กันคนละแบบ เพียงแต่ขอร้องว่าอย่าทำอะไรที่เสียหายร้ายแรงกับประเทศก็แล้วกัน มาตรา 44 ที่ประกาศใช้มาก็เพื่ออำนวยความสะดวก อย่าลืมว่าตนเข้ามาทำงานเพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช่เข้ามาสร้างปัญหาเลยแม้แต่อย่างเดียวที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ แต่ตนไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบของตัวเอง

"เพราะผมอาสาว่าผมจะเข้ามา จะเต็มใจให้ผมหรือไม่เต็มใจผมก็เข้ามาแล้ว ถ้าไปคิดว่าผมเข้ามาแล้วทำไม่ครบอย่างที่ต้องการ ไม่ได้ไปล็อบบี้ยิสต์ ไม่ออก พรก.ดำเนินการกับผู้กระทำความผิดทั้งหมดก็ไปขอให้รัฐบาลใหม่เขาทำ แล้วดูสิว่ามันจะทำอย่างที่ผมทำไหม" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า จากวิกฤตปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท้าทายเพื่อพิสูจน์การทำงานของนายกฯ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "เป็นการท้าทายตั้งแต่วันแรกที่ผมตัดสินใจเข้ามาแล้ว เข้าใจกันหรือเปล่าว่ามันเป็นความเสี่ยง ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 57 แล้วมันเสี่ยงหรือไม่ เสี่ยงว่าเข้ามาแล้วจะเกิดอะไรขึ้น อันตรายกับตัวผมเองหรือไม่ ทำสำเร็จไหม เข้ามาแล้วจะแก้ปัญหาได้หรือไม่ สร้างความเข้าใจกับประชาชนคนในชาติได้หรือไม่ ทำความเข้าใจกับต่างประเทศได้หรือไม่ แต่วันนี้ผมไปต่างประเทศ ผมก็เห็นว่าเขายินดีต้อนรับผมทั้งหมด ส่วนในใจจะคิดอย่างไรก็ไม่รู้ แต่การพูดคุยหรือเสนออะไรไปเขาก็เห็นด้วยทุกอย่าง เขาเสนออะไรมา ผมก็รับได้ แต่ของเราไม่รู้อะไรหนักหนา จะเอาอะไรกันหนักหนา"

เมื่อถามว่า ความหนักใจที่สุดในการทำงานวันนี้คืออะไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แก้ปัญหาไม่หมด แก้ไม่เสร็จ คิดว่าเมื่อเข้ามาทำงานแล้วมันจะเสร็จ คงไม่หนักหนาสาหัสอะไรเท่าไหร่ เดี๋ยวเข้ามาแล้วใช้มาตรการที่เข้มแข็ง แต่พอเข้ามาแล้ว ซึ่งตนก็ไม่อยากจะบ่นเพราะบ่นมาแล้วหลายครั้งมันไม่ดี คนอื่นได้ยิน เขาก็ว่าประเทศไทยมันเน่า

เมื่อถามว่า ยังคิดว่ายังมีปัญหาอะไรที่ซ้อนอยู่และยังแก้ไม่ได้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่มีหรอก แต่วันนี้ยังมีเรื่องของการเอาใจใส่ เป็นเรื่องการกำกับดูแลและการลงในรายละเอียด และทุกอย่างที่ตนแก้ในขณะนี้มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งสิ้น ถ้าจะทำให้ประชาชนที่มีอยู่ 3 - 4 ระดับ สามารถลดความเหลื่อมล้ำ ความแตกต่างลงได้ ก็จะต้องทำอย่างที่ตนทำ เพราะฉะนั้นทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบ ใครมีรายได้สูงก็ต้องลดลงหน่อยหรืออยู่ตรงกลางก็ต้องลดลงมานิดหนึ่ง ถ้าจะเอาดีกว่านี้ก็ต้องไปหาระบอบอื่นเข้ามา ถ้าต้องการทุกอย่างหมดอะไรก็ได้ก็คงไม่มีใครในโลกนี้ทำได้

"ที่ผมเสียงดังอีกในวันนี้ผมไม่ได้โมโห แต่สงสัยเป็นเพราะหูอื้อ แต่ผมรู้ดีว่าทุกคนหวังดีต่อประเทศไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองดีๆ ไม่ใช่ว่านักการเมืองจะเลวทั้งหมด แต่ก็มีบางคนที่รู้ตัวอยู่แล้วว่าใครเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวคนเราก็ต้องปรับตัวเอง เมื่อประเทศชาติมีปัญหาแบบนี้ต้องดูว่าปัญหามันเกิดมาตั้งแต่เมื่อไหร่มีใครรับผิดชอบหรือแก้ไขกันบ้างหรือไม่ แล้วมากล่าวหาผมวันนี้ให้ความธรรมกับผมหรือไม่ วันนี้ทุกคนทำงานกันทั้งหมดและผมก็บอกว่าให้ใจเย็นๆ จะไปต่อว่าใครไม่ได้เพราะ 500 เรื่อง แม้เราจะแก้ได้ 300 เรื่อง เขาก็ยังไม่พอใจยังต้องการให้เราทำงานให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น อย่างการจัดลำดับของเทียร์ แม้เขาจะลดเกรดประเทศไทย แต่ก็ยังให้กำลังใจเพราะเห็นในความตั้งใจของรัฐบาลนี้ที่มุ่งมั่นแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เพียงแต่ขอเร่งรัดให้เป็นเวลาตามที่กำหนด เนื่องจากปัญหามีมายาวนานแล้ว"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

เมื่อถามว่า ถือว่ารัฐบาลนี้แจ็คพอตหรือไม่ที่เข้ามาแล้วเจอแต่ปัญหา พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่รู้ ไม่ต้องมาพูด เดี๋ยวสื่อก็จะกล่าวหาว่าผมโยนเรื่องไปให้ใคร แล้วจะเอาคำพูดของผมไปรบกับคนอื่น สื่อก็ชอบตั้งคำถามแบบนี้


ผบทร.เผย เสนอ โครงการซิ้อเรือดำน้ำ รอเข้าครม.แล้ว เผยไปดู เริอดำน้ำจีน มาแล้ว

ผบทร.เผย เสนอ โครงการซิ้อเรือดำน้ำ รอเข้าครม.แล้ว เผยไปดู เริอดำน้ำจีน มาแล้ว พอใจระบบAIP ตั้ง "พลเรือเอก ณรงค์พล" เป็นประธาน เร่งให้จบใน3 เดือน
พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เผยว่า ได้เสนอโครงการจัดหาเรือดำน้ำไปที่รัฐบาลแล้ว คาดว่าคงจะนำเข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรี ในเร็ว ๆ นี้ โดยเรื่องอยู่ที่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ระหว่างนี้กองทัพเรือ มีคณะกรรมการอำนวยการในการพิจารณาคัดเลือกแบบว่าจะจัดหาจากประเทศใดให้มีความเหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด
ทั้งนี้การพิจารณาจะดูในภาพรวมทั้งโครงการ ไม่ได้เจาะจงว่าต้องซื้อกี่ลำ แบบไหน หรือจากประเทศใด แต่ต้องดูในเรื่องระบบ การบำรุงรักษา การฝึกศึกษาด้วย
พล.ร.อ.ไกรสร กล่าวว่า หากรัฐบาลอนุมัติให้จัดหาเรือดำน้ำในขณะนี้ ก็ไม่สามารถซื้อแล้วมาใช้ได้ในทันที เพราะต้องมีระยะเวลาในการต่อเรือ เมื่อรวมกับการส่งบุคลากรไปฝึกศึกษาอบรมให้เกิดความเชี่ยวชาญอีก 1-2 ปี รวมเวลา 5-6 ปี ถึงจะนำเข้าประจำการได้ ถ้าไม่เริ่มดำเนินการในตอนนี้ก็คงรอไปอีกนาน
ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ก็มีเข้าประจำการมาหลายปีแล้ว เมื่อผมมาอยู่ตรงนี้เห็นว่าเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์แผนพัฒนากองทัพ เป็นหน้าที่ที่ต้องเสนอขึ้นไปให้รัฐบาลได้พิจารณา ส่วนรัฐบาลจะอนุมัติหรือไม่ก็แล้วแต่ โดยการดำเนินการต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส กองทัพเรือ พร้อมอธิบาย ชี้แจงข้อมูลทุกอย่างได้
ผบทร.เผยว่า ในการเดินทางไปเยือนประเทศจีน ได้เดินทางไปดูเรือดำน้ำ ชั้นหยวน ซึ่งเทคโนโลยีในการต่อเรือก็มาจาก เรือดำน้ำชั้นKilo ของรัสเซีย มีการติดตั้งระบบ AIP หรือ Air Independent Propulsion ซึ่งเป็นระบบขับเคลื่อนเรือดำน้ำรุ่นใหม่ ที่มีแบตเตอรรี่ อยู่ได้นาน
ในขณะที่เรือดำน้ำของเยอรมนี ชั้น U-206 ผมได้เดินทางไปดูแล้วนั้น ไม่ได้มีระบบนี้จะมีติดตั้งใน ชั้น U-212- U-214 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใหม่กว่า
นอกจากนี้ยังได้เดินทางไปดูเรือดำน้ำในอีกหลายประเทศ ซึ่งเสนอว่าจะขายให้ไทย ไม่ได้เจาะจงดูของประเทศไหนเป็นพิเศษ
ทั้งนี้ แหล่งข่าว เผยว่า ผบ.ทร.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกแบบ เรือดำน้ำ แล้ว โดยให้ พล.ร.อ.ณรงค์พล ณ บางช้าง ผู้ช่วย ผบ.ทร.เป็นประธานคณะกรรมการฯ โดยจะไปดูเริอดำน้ำหลายประเทศ และเร่งสรุป ภายใน3 เดือน ตามนโยบายของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว กห. ที่เห็นความสำคัญ แต่ให้เร่งทำในรัฐบาลนึ้ เพราะ ถ้าไม่ได้ ในรัฐบาลนึ้ก็ยากแล้ว โดยจะใช้งบฯ ทร. เอง3.6 หมื่นล้านบาท ซื้อ2 ลำ โดยให้ต่อรองในเรื้องการผ่อนระยะยาว ผูกพันงบประมาณ หลายปี
โดยคณะกรรมการจะเดืนทางไปดู ทั้งเรือดำน้ำ เกาหลีใต้ จีน รัสเซีย เยอรมัน และสวีเดน


ถึงคิวแฉ คนดัง พจมาน แม่ม้ายห่มเพชร

ถึงคิวแฉ คนดัง พจมาน แม่ม้ายห่มเพชร ...สนข.อิศราตรวจพบว่า กรณีของเจ๊อ้อ เป็นเจ้าของ น.ส.3 ก ต.หมูสี อ.ปากช่อง เนื้อที่ 33 ไร่ 2 งาน 20 วา ซื้อจากนายพงษ์ศักดิ์ กิตติธนากุล นางสำรวย สิริจรรยา และน.ส.นวล เจริญสุข โดย นายพงษ์ศักดิ์ กิตติธนากุล ดำเนินการแทน จดทะเบียนซื้อขาย เมื่อวันที่ 27 ก.ค.37 ในราคา 8,434,000 บาท นายสมบูรณ์ คุปติมนัส ดำเนินการแทน ซึ่งต่อมา น.ส.3 ก.แปลงนี้เปลี่ยนเป็นโฉนด เลขที่ 22054 เรียบร้อยแล้ว คงต้องตรวจสอบความถูกต้อง ถึงการออกโฉนดว่า จะเหมือนกรณีของกรณีของสรย้วย ที่ไถูกต้อง หรือไม่
นักการเมือง คนดังรายอื่นที่มีชื่อเข้าไปซื้อที่ดิน นอกโครงการโบนันซ่า แต่อยู่ในพื้นที่ ต.ขนงพระ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และบริเวณใกล้เคียงในพื้นที่ปากช่อง อาทิ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ นายพินิจ จารุสมบัติ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ฯลฯ รายหลังสุดมีการสร้างสนามบินบนเขาใหญ่ด้วย พร้อมสนามกอล์ฟบนเนื้อที่ 600 ไร่ที่เขาใหญ่ ตั้งอยู่บนเนินเขา อันเป็นจุดสูงสุดมองเห็นวิว 360 องศา มีสนามบินอยู่ภายในสนามกอล์ฟ ขนาด 18 หลุม