PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

เสนอใช้ม.44 เปลี่ยน 'ผู้ว่าฯกทม.' เป็น 'นายกเทศมนตรีกทม.'

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 23 เมษายน 2558

"สมาคมปกครอง" เสนอใช้ม.44 เปลี่ยนชื่อ "ผู้ว่าฯกทม." เป็น "นายกเทศมนตรีกทม." ค้านตั้งองค์กรบริหารภาค-ยุบส่วนราชการท้องถิ่น

ที่ห้องอรรถไกวัลวที สำนักปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีและประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับหนังสือจาก พ.ท.กมล ประจวบเหมาะ นายกสมาคมนักปกครองแห่งประเทศไทย ที่ขอให้มีการทบทวนแนวคิดและการผลักดันของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ให้มีการยุบราชการบริหารส่วนภูมิภาค

โดย พ.ท.กมล เปิดเผยว่า สมาคมได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องแนวทางการปฏิรูปการบริหารการปกครองราชอาณาจักรไทยโดยมีข้อเสนอ คือ ไม่เห็นด้วยที่จะต้องตั้งองค์กรบริหารภาคเนื่องจากจะเกิดความซ้ำซ้อนกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาคโดยเฉพาะการจัดตั้งผู้ว่าราชการภาคซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองในอดีตที่มีการยกเลิกไปแล้ว นั่นคือข้าหลวงประจำภาคต่างๆที่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นผู้ตรวจราชการซึ่งเข้ามาดูและการทำงานของกลุ่มจังหวัดซึ่งเห็นว่าเป็นการบริหารงานที่ลักลั่น

พ.ท.กมล กล่าวด้วยว่า ไม่เห็นด้วยที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะให้มีสภาท้องถิ่นมาดูแลท้องถิ่นโดยมีอำนาจเป็นเอกเทศ และเห็นว่าเป็นการทำงานที่ทับซ้อนกับการบริหารการปกครองระดับประเทศของรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ทางสมาคมฯเสนอให้กระทรวงมหาดไทย(มท.)เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการลือกตั้ง โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)กำกับดูแลกำกับนโยบาย เนื่องจากเห็นว่ากระทรวงมหาดไทยมีบุคลากรทุกระดับตั้งแต่ อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน โดยเฉพาะกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัคร ผู้นำท้องถิ่น รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศและมั่นใจว่าสามารถป้องกันการทุจริตการเลือกตั้งได้

“นอกจากนี้ขอเสนอให้เปลี่ยนชื่อตำแหน่ง ”ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร”เป็น”นายกเทศมนตรีกรุงเทพมหานคร“ โดยอาจใช้มาตรา 44 มาดำเนินการ เนื่องจากทางสมาคมเห็นว่าเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่าประเทศไทยมีการปกครองส่วนภูมิภาคจำนวน 76จังหวัดมิใช่ 77 จังหวัด เนื่องจาก การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ว่ากทมและผู้ว่าราชการจังหวัดมีความแตกต่างกัน”พ.ท.กมล กล่าวและว่า กล่าวคือ ผู้ว่ากทม. มาจากการเลือกตั้งเป็นนักการเมืองแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดอื่นๆเป็นตัวแทนรัฐบาลส่วนกลางที่เข้ามาดูแลความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในขณะที่แม้มีพื้นที่ปกครองพิเศษ เช่น เทศบาลนครเมืองพัทยา นายกเมืองพัทยาก็มาจากการเลือกตั้งแต่ยังมีผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีเป็นตัวแทนรัฐบาลกลาง ในขณะที่ผู้ว่ากทม.ไม่มีตัวแทนจากรัฐบาลกลาง ดังนั้น ตำแหน่งผู้ว่าราชการควรเหลือเพียงตำแหน่งนากยกเทศมนตรีกรุงเทพมหานครเท่านั้น
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/644181#sthash.t7v7yqzU.dpuf

ไม่มีความคิดเห็น: