PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สำนักประธานศาลฎีกา แจงประธานศาลฎีกาเข้าเฝ้า ณ มหาสมาคม ศาลาราชประชาสมาคม

สำนักประธานศาลฎีกา แจงประธานศาลฎีกาเข้าเฝ้า ณ มหาสมาคม ศาลาราชประชาสมาคม
วันที่ 05 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เวลา 17:00:01 น.

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เว็บไซต์ของสำนักประธานศาลฎีกา เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ชี้แจงเรื่อง การจัดลำดับตำแหน่งเฝ้าฯ และการกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล ความว่า

ด้วยสำนักประธานศาลฎีกาเห็นสมควรแจ้งทำความเข้าใจในการจัดลำดับตำแหน่งเฝ้า ฯ ของผู้นำฝ่ายต่างๆในงานพระราชพิธี รัฐพิธีและงานสำคัญ และการกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลใน

พระราชพิธีศุภมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้

1.การจัดลำดับตำแหน่งเฝ้าฯ เป็นไปตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0207 /ว 19 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 ได้จัดเรียงตามลำดับกลุ่มผู้นำฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 นายกรัฐมนตรี 1.2

ประธานสภาผู้แทนราษฎร 1.3 ประธานวุฒิสภา 1.4 ประธานศาลฎีกา 1.5 ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 1.6 ประธานศาลปกครองสูงสุด


2. การกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลในพระราชพิธีศุภมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประจำปี เป็นไปตามหนังสือ "ข้อพึงปฏิบัติในการเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท"

ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร นายกรัฐมนตรี และประธานรัฐสภา กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล ในนามพระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่าย

บริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ตามลำดับ

เว้นแต่ในพระราชพิธีในโอกาสพิเศษ เช่น พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา  พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๗ รอบ หรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง

เสด็จออก ณ สีหบัญชร  จึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานศาลฎีกากราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลในนามของข้าราชการฝ่ายตุลาการเป็นกรณีพิเศษอีกตำแหน่งหนึ่ง


ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า ประธานศาลฎีกาไม่ได้เข้าเฝ้าด้วย  รายงานข่าวจากศาลฎีกาขอยืนยันว่า ประธานศาลฎีกาได้เข้าเฝ้า ณ มหาสมาคมในครั้งนี้ด้วย โดยยืนด้านหน้า แต่โทรทัศน์ไม่ได้จับภาพ


อ้างอิงจาก   http://www.opsc.coj.go.th/news_view.php?id_news=356
//////
ไขข้อข้องใจ! ถวายพระพรชัยมงคล ทำไมไม่มีชื่อ'ปธ.ศาลฎีกา'

ไขข้อข้องใจ เหตุใดพระราชพิธีถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวานที่ผ่านมา (5 ธ.ค.2556) จึงไม่ปรากฏรายนาม ประธานศาลฎีกา...
วันที่ 6 ธ.ค. อาจารย์ ดร.ชัชพล ไชยพร รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และข้าราชบริพารในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้เผยแพร่ข้อเท็จ

จริง กรณีที่ประชาชนมีข้อสงสัย เห็นว่าการถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา ณ วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวานที่ผ่านมา

จึงไม่มีประธานศาลฎีกา มาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคลด้วย
ข้อความมีดังต่อไปนี้

มีผู้ถามมามากมายว่า ทำไมประธานศาลฎีกาไม่ได้กราบบังคมทูลฯ แล้วร่ำลือมั่วไปต่างๆ นานา ขออธิบายดังนี้ว่า การเสด็จออกมหาสมาคมในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ เป็นไปตามโบราณราช

ประเพณี หมายกำหนดการ ระบุผู้กราบบังคมทูลเพียงผู้แทนพระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี (ในนามข้าราชการและประชาชน) ประธานรัฐสภา (ในนามสมาชิกรัฐสภา) มาแต่ไหนแต่ไร จะมี

ประธานศาลฎีกา (ในนามข้าราชการตุลาการ) เฉพาะการมหาสมาคม ณ พระที่นั่งกลางท้องสนามหลวง หรือสีหบัญชรเท่านั้น ซึ่งเป็นธรรมเนียมใหม่

หากจัดในท้องพระโรง จะยังคงราชประเพณีเดิม เนื่องจากข้าราชการตุลาการในอดีตยังอยู่ในกระทรวงยุติธรรม เป็นส่วนหนึ่งในบังคับบัญชาฝ่ายบริหาร ถามว่าแล้วก่อนหน้าปฏิรูประบบราชการล่ะ

ก็ต้องตอบว่า ตุลาการทั้งปวงสังกัดกรมต่างๆ เป็นศาลแยกกรม เช่น ศาลกรมวัง ศาลกรมนา ศาลกรมท่า การตุลาการ จึงอยู่ใต้เสนาบดีหรือเจ้ากรมนั้นๆ เมื่อเฝ้าฯ ในการออกขุนนาง ราชการตุลาการ

จึงไม่มีออกหน้า เพราะเสนาบดี ปลัดกรมต่างๆ รับผิดชอบ

นำมาปรับใหม่ ให้มีผู้พิพากษาตุลาการ กราบบังคมทูลฯ ในการเฝ้าฯ ในมหาสมาคมเมื่อชั้นหลัง และเฉพาะการมหาสมาคมนอกท้องพระโรงเท่านั้น ฉะนั้น อย่าร่ำลืออะไรผิดๆ เป็นเรื่องหมางหมอง

ในวันมงคลโดยปราศจากความเข้าใจเลย หมายกำหนดการทั้งหมดเป็นไปตาม "โบราณราชประเพณี" ภายใต้การปฏิบัติของ "สำนักพระราชวัง" ที่รับ "พระบรมราชโองการ" เหนือเกล้าฯ ครับ

สุภรณ์ แจ้งจับ มัลลิกา กล่าวหาจ้างมือปืนยิงนักศึกษารามคำแหง

สุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง แจ้งความจับ น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ฐานกล่าวหาจ้างมือปืนยิงนักศึกษารามคำแหงเสียชีวิต

วันนี้ (6 ธันวาคม 2556) ที่กองบังคับการปราบปราม นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พร้อมทนายความ เข้าพบ พ.ต.อ.ประสพโชค พร้อมมูล รอง ผบก.ป.เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับ น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 และนำข้อความที่มีการโพสต์ไว้ในเฟซบุ๊กส่วนตัวของ น.ส.มัลลิกา มามอบไว้เป็นหลักฐาน

นายสุภรณ์ กล่าวว่า น.ส.มัลลิกา ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กมีเนื้อหาพาดพิงตนว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณด้านหน้าสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และ น.ส.มัลลิกา ยังบอกขอบคุณกับช่างภาพช่อง 7 ที่จับภาพผู้ต้องสงสัยและขยายความอีกว่าเป็นทหารพรานจากค่ายปักธงชัย จ.นครราชสีมา ซึ่งตนจ้างมาเป็นการ์ดให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นผู้ที่ยิงนักศึกษา การกล่าวหาใส่ร้ายว่าตนได้ว่าจ้างมือปืนนั้นทำให้ได้รับความเสียหาย จึงต้องแจ้งความดำเนินคดีกับ น.ส.มัลลิกาในครั้งนี้

ส่วนการที่ตำรวจ สน.หัวหมาก สามารถจับกุมตัว จ.ส.อ.ธีรพัฒน์ แก้วไซอินทร์ อายุ 37 ปี และ นายวัฒนา พหลแพทย์ อายุ 63 ปี ที่พกอาวุธปืนได้นั้น นายสุภรณ์ ได้ปฏิเสธว่า ตนไม่รู้จักกับทั้งสองคนนี้ และทั้งสองคนก็ถูกดำเนินคดีข้อหาพกพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะเท่านั้น และทั้งสองคนก็ปฏิเสธว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการยิงนักศึกษารามคำแหงแต่อย่างใด


ทบ.โต้ ตู่ หา พล.อ.ประยุทธ์ ส่งทหาร32 ชุด มประกบ แกนนำเสื้อแดง

กองทัพบก โต้ ตู่ จตุพร กล่าวหา พล.อ.ประยุทธ์ ผบทบ. ส่งทหาร32 ชุด ตามประกบ แกนนำเสื้อแดง แกนนำรัฐหวังสร้างกระแส ยีนทบ.ตามตามหน้าที่อย่าเชื่อข่าวลือ

พ.อ.วินธัย รองโฆษก ทบ. ยืนยันว่า อาจเป็นเพียงการสร้างกรแสจากผู้ไม่หวังดี ทบ.ไม่มีเหตุผลใดที่จะไปดำเนินการในลักษณะอย่างที่เป็นข่าว ไม่อยากให้นำ ทบ.ไปเชื่อมโยงกับเรื่องทางการเมือง

ทบ.ยืนยันทำหน้าที่อยู่ในกรอบขอบเขตตามระบบงานราชการที่รับผิดชอบอยู่เป็นหลักเท่านั้น

ข่าวสารข้อมูลต่างๆในช่วงนี้มีมาในลักษณะที่หลากหลาย หากมีข้อสงสัยสามารถตรวจสอบกับ ทบ.ก่อนได้ ข่าวสารจำนวนมากในขณะนี้ยังมีความน่าเชื่อถือไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะของข่าวลือจำนวนมาก ซึ่งในหลายๆข้อมูลอยากให้มีการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนก่อนถูกนำเสนอ มิฉะนั้นจะสร้างความสับสนให้สังคมได้

ช่วงนี้อยากขอผู้บริโภคข่าวสารได้พิจารณาใช้หลักเหตุและผลประกอบด้วย


บทบาท'ทปอ.'กับข้อสงสัยของ'ประชาชน'

การเมือง : ข่าวทั่วไป
วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2556

บทบาท'ทปอ.'กับข้อสงสัยของ'ประชาชน' : กระดานความคิด โดยว่าที่ร้อนเอกเภสัชกร ดร.วฤษฏิ์ อินทร์มา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย มศว

              ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ออกแถลงการณ์เพื่อเสนอทางออกให้กับประเทศไทย โดยมีถ้อยแถลงบางประการที่อาจจะดูสุ่มเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่า "เข้าข้าง" ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล เช่น การเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียุบสภา
              และแน่นอน เมื่อถ้อยแถลงดังกล่าวซึ่งอาจจะดูเหมือนเอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่งได้ออกสู่สาธารณชน ผู้ที่เห็นต่างจาก ทปอ. โดยเฉพาะนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา จึงออกมาแสดงจุดยืน เรียกร้อง "ความเป็นกลาง" จาก ทปอ. และยังแสดงออกอย่างชัดแจ้งว่าอธิการบดีจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ที่ร่วมประชุม ทปอ. นั้น ไม่ได้รับฟังความเห็นของประชาคมในสถาบันของตน ก่อให้เกิดความสงสัยเกิดขึ้นว่า "บทบาทของ ทปอ. คืออะไร มีอำนาจหน้าที่อย่างไร และเป็นตัวแทนนักวิชาการใช่หรือไม่" 
              โดยพื้นฐานแล้วตำแหน่ง "อธิการบดี" นั้นเทียบเท่า "อธิบดี"  ซึ่งเดิมเป็นข้าราชการระดับ 10  และต้องได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยในการทำกิจการทั้งปวงตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามกฎหมายก่อตั้งสถาบันการศึกษา
              อธิการบดีนั้นได้มาโดยการสรรหาของสภามหาวิทยาลัยซึ่งมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันในเกือบทุกมหาวิทยาลัย โดยมีวาระ 4  ปี และดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ อธิการบดีเป็นตำแหน่งการเมือง อาจจะดูเหมือนเป็น "นายกรัฐมนตรี"  ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีอำนาจการบริหารกิจการทั้งปวงแต่ไม่รวมถึงงานด้านวิชาการ เพราะงานทางวิชาการนั้นจะดูแลโดยสภาวิชาการซึ่งส่วนมากเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางซึ่งอธิการบดีไม่สามารถเข้าแทรกแซงได้ ดังนั้นอธิการบดีจึงเป็นผู้แทนในการใช้อำนาจทางบริหารของสถาบันเท่านั้น "ไม่ใช่ตัวแทนทางวิชาการของสถาบัน" 
              และเมื่ออธิการบดีซึ่งเป็นองค์ประชุมของ ทปอ. เป็นเพียงตัวแทนอำนาจทางบริหารของสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น ก็ย่อมส่งผลว่า "ทปอ. ไม่ได้เป็นตัวแทนทางวิชาการของประชาคมในสถาบันอุดมศึกษา"  ดังนั้นแถลงการณ์ของ ทปอ. สะท้อนเพียงบทบาทของผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น และเมื่อเป็นบทบาทของผู้บริหารก็ย่อมเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่อธิการบดีจะแสดงออกในเชิงบริหารได้ ไม่ว่าจะโดยตรงหรือผ่าน ทปอ. ไม่จำเป็นที่ต้องรับฟังความเห็นของประชาชนในสถาบันของตน แต่หากจะรับฟังก็เป็นดุลยพินิจที่อธิการบดีจะรับโดยสมัครใจเท่านั้น
              เมื่ออธิการบดีใช้อำนาจของตนผ่าน ทปอ. และยินดีเข้าผูกพันต่อมติ ทปอ. ก็เป็นการผูกพันในขอบเขตอำนาจของอธิการบดีเท่านั้น และอธิการบดีเองต้องนำเอามติ ทปอ. มาปรับให้เป็นมาตรการที่ปฏิบัติได้ในสถาบันอุดมศึกษาที่ตนเป็นผู้บริหาร
              และดังที่กล่าวมาแล้ว มาตรการนั้นเป็นเพียงมาตรการในการบริหารเท่านั้น ไม่ใช่การกระทำในทางวิชาการแต่อย่างใด แต่ความน่าสับสนที่เกิดขึ้นนั้นมักจะมาจากการที่ "อธิการบดี"  เป็น "นักวิชาการ"  เมื่อแสดงออกมาจึงเกิดความสับสนว่าอธิการบดีท่านนั้น กล่าวในฐานะใด จะกล่าวในฐานะ "ผู้บริหาร"  หรือ "นักวิชาการ"  เพราะจะเป็นเหตุแห่งการโต้แย้ง เพราะหากจะโต้แย้ง "อธิการบดี"   จะเป็นการโต้แย้งที่อำนาจว่ากระทำนอกกรอบหรือไม่ และเหมาะสมหรือไม่  ต่หากจะโต้แย้ง "นักวิชาการ"  จะเป็นการโต้แย้งในเชิงทฤษฎี หากอธิการบดีแสดงตัวไม่ชัดเจนย่อมต้องถูกโจมตีจากทั้ง ๒ ฝ่าย อันจะยิ่งสร้างความสับสนให้กับประชาชน
              ข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกประการคือ ทปอ. เป็นที่ประชุมของอธิการบดี 27 สถาบัน ซึ่งเสมือน “27 อธิบดี” เป็นผู้บริหารระดับสูงที่มีอิสระทางความคิด โดยไม่ถูกครอบงำจากฝ่ายรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจ เพราะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาไม่สามารถสั่งการบังคับบัญชาโดยตรงได้ ดังนั้น ทปอ. จึงเป็นผู้บริหารที่ "กล้าพูด"  และ "กล้าสวนทาง"  กับผู้มีอำนาจได้
              การกระทำของ ทปอ. เมื่อ ทปอ. คิดอย่างไรจึงควรจะแสดงออกอย่างนั้น จะเข้าข้างใดก็จำเป็นต้องแสดงออก ถ้าพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ทปอ. จึงดูแข็งขืนต่ออำนาจรัฐ ซึ่งเป็นจุดยั่วยวนให้ผู้ที่นิยมชมชอบฝ่ายอำนาจรัฐเข้าโจมตี ดังนั้นเมื่อถูกเรียกร้องจากนักวิชาการให้แสดงออกถึงความเป็นกลาง จึงทำให้ประโยชน์เรื่องการแสดงออกอย่าง "อิสระ"  และ "กล้าฟัน"  ของ ทปอ. แทบจะไร้ค่าไปเลยทีเดียว
              สุดท้ายบทบาทของ ทปอ. ต่อทางออกของประเทศ จะเป็นเพียงเสียงกระซิบหรือเป็นเสียงตะโกนป่าวประกาศขึ้นอยู่กับว่า "ตรรกของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา"  นั้น จะเป็นเหตุเป็นผลมากเพียงใด มากเพียงพอที่จะขยายความต่อหรือไม่ หรือแค่สักแต่ได้ยินแล้วจบไป ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินเอง

.................

(หมายเหตุ : บทบาท'ทปอ.'กับข้อสงสัยของ'ประชาชน' : กระดานความคิด โดยว่าที่ร้อยเอกเภสัชกร ดร.วฤษฏิ์ อินทร์มา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย มศว)

แผนนองเลือด!! อดีตการ์ดพธม.โพสต์แฉ กปท.นัดประชุมโรงแรมชื่อดัง สั่งตั้งกองกำลังเตรียมป่วน เปิดทางอำนาจนอกระบบ

แผนนองเลือด!! อดีตการ์ดพธม.โพสต์แฉ กปท.นัดประชุมโรงแรมชื่อดัง สั่งตั้งกองกำลังเตรียมป่วน เปิดทางอำนาจนอกระบบ
สำนักข่าวเนชั่น รายงานถึงความเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ที่ขณะนี้ได้แตกออกเป็น 2 สาย โดยสายหนึ่ง ตบเท้ากลับไปปักหลักบริเวณที่ชุมนุมสวนลุมพิธี อีกส่วนกลับยกขโยงปิดถนนบริเวณแยกอุรุพงษ์ ตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 10 ต.ค.2556 เป็นต้นมา
http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=698237&lang=T&cat= )
แหล่งข่าวในกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ(กปท.)เปิดเผยถึงการยอมเคลื่อนย้าการชุมนุมจากทำเนียบรัฐบาลกลับไปยังสวนลุมพินีว่า เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดของเสนาธิการร่วม เพราะภายหลังที่ประกาศเคลื่อนกลับได้มีมวลชนจำนวนมากแสดงความไม่พอใจ อีกทั้งการตัดสินใจคั้งนี้เสียงยังไม่เป็นเอกฉันท์ด้วย โดยมีเสนาธิการร่วมฯ บางคนไม่เห็นด้วยกับการประกาศเคลื่อนมวลชนกลับ เพราะก่อนจะมีการเจรจาในเสนาธิการร่วมได้มีการตกลงกันแล้วว่า จะไม่ยอมเคลื่อนออกจากทำเนียบรัฐบาลเด็ดขาด อะไรจะเกิดก็เกิด แต่เมื่อผลการตัดสินใจของเสนาธิการส่วนใหญ่เป็นเช่นนี้ เสียงส่วนน้อยก็รู้สึกไม่พอใจและท้อแท้ ถึงกับพูดขึ้นมาว่า แล้วอย่างนี้ใครจะมาร่วมชุมนุมด้วย เสียไปหมด และถ้าเป็นอย่างนี้ที่สวนลุมพินีก็ต้องประกาศยุติการชุมนุมไปด้วย แต่เมื่อผลออกมาเป็นอย่างนี้ก็ต้องยอมรับ ส่วนแผนต่อๆไปก็พังลงหมดเพราะแผนหัวขบวนล้มลงแล้ว แผนทั้งหมดที่วางไว้ก็จบไปด้วย ทั้งนี้เสนาธิการร่วมฯ จะมีการประชุมหารือกันอีกครั้ง แต่ในเสนาธิการร่วมบางคนถึงกับบอกว่าจะคุยอะไร ไมรู้จะคุยอะไรแล้ว
นอกจากนี้แหล่งข่าวยังระบุด้วยว่า ในระดับการ์ดของกปท.เองก็มีปัญหากัน ด้วยความที่การ์ดมักวางท่าว่าเป็นใหญ่ จึงทำให้กลุ่มนักเรียนอาชีวะที่เข้าร่วมชุมนุมเกิดความไม่พอใจ ซึ่งเกิดความเขม่นกันอยู่ อีกไม่นานถ้าการ์ดกปท.ยังไม่ปรับปรุงก็จะมีการตีกันเองกับอาชีวะอย่างแน่นอน อีกทั้งมวลชนที่จะเข้าร่วมก็เกิดความไม่พอใจการ์ดด้วย และนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้มีมวลชนเข้าร่วมน้อย
สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวภายในโลกโซเชี่ยลของอดีตแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่ไม่ต้องการเข้าร่วมการชุมนุมของ กปท. ในครั้งนี้เนื่องจากพบว่าก่อนหน้านี้มีความเคลื่อนไหว เตรียมการเพื่อกระทำการอะไรบางอย่างที่ไม่ส่งผลดีต่อบ้านเมือง 
โดยเฟสบุ๊กไอดี “Wiput Sukprasert” ซึ่งระบุว่า ตัวเองเป็นหนึ่งในแนวร่วม พธม. โดยปฏิบัติการณ์ในหน้าที่การ์ด ที่มาจากพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ได้โพสต์ข้อความในวันที่ 9 ต.ค. 2556 ระบุถึงความเคลื่อนไหวของแกนนำ กปท.บางคนได้มีการเรียกประชุม “อดีตการ์ด พธม.” ที่โรงแรมแห่งหนึ่ง เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ เพื่อเตรียมความพร้อม โดยมีการะบุถึงแผนที่จะสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายเพื่อให้เอื้อต่อการเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองของอำนาจนอกระบบ
โดยระบุว่า
ถุย
และอีกโพสต์ ในเวลาใกล้เคียงกัน….
ถ่อย


สุดท้าย ก็ยังมีคอมเมนท์ เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงและเป้าหมายในการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้…
เถื่อน

เกิดเป็น สนธิ ลิ้มทองกุล แท้จริงแสนลำบาก !?

ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ 

"ไม่ออกมาพูดก็หาว่า ไม่ให้แสงสว่างกับมวลชน ไม่รับผิดชอบกับมวลชนที่ประกาศเชิญชวนให้ออกไปช่วยสุเทพ เทือกสุบรรณ"

"ออกมาพูดถ้ายุทธวิธีไม่ตรงกับขบวนการที่เคลื่อนไหวในเวลานี้ หรือไม่เห็นด้วยกับเบื้องหลังในบางประเด็น หรือท้วงติง ก็จะมีคนตำหนิว่า เตะตัดขา, มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ, ขี้อิจฉา, ทำลายขบวนการ ฯลฯ"

"ออกมาพูดสนับสนุนทุกยุทธวิธี ทั้งๆที่คุณสนธิ ไม่เห็นด้วย ก็เท่ากับไม่บอกความจริงกับประชาชน เสมือนส่งสัญญาณผิดๆ ให้กับประชาชน"

"ออกมาร่วมชุมนุมก็หาว่ากลัวตกขบวน ตีกิน แย่งชิงมวลชน หากินกับเงินบริจาค"

"ไม่ออกมาร่วมชุมนุม ก็หาว่ามีอัตตามากไป ขี้ขลาด รับเงินทักษิณ หรือ สนใจแต่ขายของ"

ไม่ว่าการตัดสินใจเป็นแบบใด คุณสนธิก็คงถูกด่าจากสังคมจากด้านใดด้านหนึ่งที่ไม่เข้าใจ หรือมีอคติอยู่ดี

เกิดเป็น สนธิ ล้ิมทองกุล ต้องเสียสละเงินทองจนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว องค์กรแทบล่มสลาย เอาชีวิตเข้าเสี่ยง ทั้งเสี่ยงคุกตะราง ทั้งเสี่ยงชีวิตจนถูกรุมสังหารใจกลางพระนครมาแล้ว มันเกินพอที่ไม่ต้องพิสูจน์อะไรอีกแล้ว ในฐานะเกิดมาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง

ขนาดทุกวันนี้ต้องมีค่าใช้จ่ายถ่ายทอดสดสถานการณ์การเมือง ต้องหยุดพักกิจกรรมหารายได้ใหัองค์กรเพื่ออุทิศเวลาให้กับการชุมนุม โดยที่ไม่มีการตั้งกล่องรับบริจาคในที่ชุมนุม ไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากคนจัดชุมนุมหรือนักการเมืองคนใด จนองค์กรแห่งนี้อาจเข้าสู่ภาวะวิกฤติอีกครั้งในเวลาอันใกล้นี้ จะมีใครสักกี่คนมองเห็นในแง่มุมนี้บ้าง?

คุณสนธิเป็นนักประวัติศาสตร์ การอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งอันสำคัญของประวัติศาสตร์ย่อมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้แล้ว และคุณสนธิก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ในช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ในทุกๆช่วงเสมอไป มันอยู่ที่ว่าใครเหมาะกับสถานการณ์ไหน จังหวะใด และเวลาใดมากกว่า

ดังนั้นการตัดสินใจของคุณสนธิในเวลานี้ก็ไม่ใช่เหตุผลว่าเพราะกลัวถูกด่า หรือกลัวว่าจะตกขบวน กลัวไม่มีบทบาท กลัวไม่ได้รับเงินบริจาค กลัวติดคุก ฯลฯ เพราะถ้าตัดสินใจบนเหตุผลความกลัวเหล่านั้น ก็เป็นเหตุผลในเรื่องของประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม และไม่ใช่อุปนิสัยของคนที่ชื่อ สนธิ ลิ้มทองกุล

แต่สิ่งที่คุณสนธิ ต้องชั่งน้ำหนักการแสดงท่าทีของตนเองคือ จะเกิดชัยชนะต่อประเทศชาติและประชาชนได้อย่างแทัจริงหรือไม่ ต่างหาก

คนทั่วไปมักจะโพสต์ว่าอยากเห็นคุณสนธิจับมือกับคุณสุเทพ เพราะคิดว่าจะทำให้ได้รับชัยชนะ หรือการเคลื่อนไหวมวลชนจะก้าวหน้าขึ้น 

แต่ในความเป็นจริงมวลชนที่ชุมนุมอยู่ในเวลานี้กลุ่มคนที่เคยร่วมกับพันธมิตรฯก็ออกไปมากจนเกือบหมดแล้วเพราะคนเหล่านี้เป็นพลเมืองที่มีความกระตือรือล้นสูง จึงห่วงใยชาติบ้านเมืองกันทั้งสิ้น ถึงแม้มีคุณสนธิและ ASTV เข้าร่วมการชุมนุม ผู้ชุมนุมก็อาจจะเพิ่มได้ไม่มากไปกว่านี้มากนัก

แต่ลักษณะโครงสร้างและจังหวะสุกงอมในเวลานี้ทำใหัเรามีมวลชนกลุ่มใหม่ที่เป็นนักศึกษาเยาวชน และวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ดังนั้นเพียงแค่การที่คุณสนธิส่งสัญญาณให้ช่วยเหลือการชุมนุมของคุณสุเทพจึงถือว่าได้ช่วยเติมความต้องการในการชุมนุมครั้งนี้ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว

แต่หากมีคุณสนธิ แสดงความเห็นหรือเข้าร่วมขบวนการในช่วงเวลานี้ อาจส่งผลเสียหลายประการ เพราะต้องไม่ลืมว่าคุณสนธิเป็นอดีตผู้นำมวลชนที่มีอาชีพสื่อมวลชนที่วิจารณ์คนในอาชีพเดียวกันอย่างหนักหน่วงก็เป็นที่เขม่น หมั่นไส้อยู่แล้ว แต่บทบาทสื่อมวลชนที่วิพากษ์วิจารณ์ทุกกลุ่มอำนาจที่โกงบ้านกินเมืองเพื่อเอาชาติเป็นตัวตั้ง ย่อมทำให้คุณสนธิขาดพันธมิตรฯหุ้นส่วนในโครงสร้างอำนาจไปโดยปริยาย โดยเฉพาะกลุ่มทหารที่ร่วมยิงคุณสนธิจนฝากบาดแผลไว้บนศีรษะด้านขวาทุกวันนี้ กลุ่มทหารเหล่านี้กำลังเป็นผูัถือดุลอำนาจสำคัญ ที่คงไม่อยากเห็น สนธิ ลิ้มทองกุล อยู่ในสมการการชุมนุมครั้งนี้อย่างแน่นอน

ไม่ต้องพูดถึงคนที่ตกเวทีพันธมิตรฯไป เพราะเลือกข้างพรรคประชาธิปัตย์ เพราะลงสมัครับเลือกตั้งพรรคการเมืองใหม่ทั้งๆที่พันธมิตรฯไม่เห็นด้วย คนใฝ่ฝันอยากเป็นแกนนำมวลชนคนใหม่ นักฉวยโอกาส รวมถึงคนที่คิดดีกับบ้านเมืองแต่ห่วงจะเสียแนวร่วมก็อาจไม่ต้องการการปรากฏตัวของสนธิ ลิ้มทองกุล อีกเช่นกัน

คุณสนธิ ลิ้มทองกุล จึงเข้าใจอย่างดีว่า ไม่ว่าคุณสนธิจะส่งสัญญาณส่งมวลชนไปช่วยคุณสุเทพ 2 ครั้งในยามวิกฤติอย่างไรก็ตาม จะไม่เคยมีแม้กระทั่งคำขอบคุณจากคุณสุเทพ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม ทั้งในทางลับหรือเปิดเผย เพราะมันเป็นเรื่องการพึ่งพาหุ้นส่วนโดยเฉพาะทหาร ที่คุณสุเทพอาจเชื่อว่าจะทำให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของคุณสุเทพ และคุณสนธิไม่ได้ติดใจหรือคาดหวังใดๆจากคุณสุเทพในการส่งสัญญาณสนับสนุนเท่าที่ผ่านมา แต่ทำไปเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ เพื่อเอาชาติเป็นตัวตั้งไว้ก่อน

และแม้คุณสนธิ จะยอมรับว่ากองทัพจะเป็นปัจจัยชี้ขาดในการเปลี่ยนแปลง แต่คุณสนธิก็ไม่เชื่อว่าการปล่อยให้อำนาจต่อรองของทหารกลุ่ม 200 นัด เป็นผู้ถือดุลอำนาจ ให้ความสำคัญและยกอำนาจต่อรองของกลุ่มทหารนี้ให้อยู่สูงกว่าอำนาจต่อรองของมวลมหาประชาชนจะเป็นหลักประกันในการได้รับชัยชนะที่แท้จริงได้ นอกจากจะกลายเป็นเครื่องมือสร้างอำนาจต่อรองให้กับทหารเหล่านี้อีกครั้งทั้งกับรัฐบาลและกับมวลมหาประชาชน โดยที่ประเทศชาติและประชาชนไม่ได้ประโยชน์อันใด 

เพราะทหารกลุ่มนี้สนใจแต่การถือดุลอำนาจอยู่ตรงกลาง อำพรางไม่ให้ใครจับได้ เพราะกลัวว่าหากเริ่มเลือกข้างแล้ว สุดท้ายอำนาจอาจไม่อยู่ในมือทหารกลุ่มนี้อีกต่อไป และจะทำให้ทหารกลุ่มนี้ตกอยู่ในฐานะต้องไปพึ่งพา "คนอื่น" ที่อาจควบคุมไม่ได้ หรืออาจทำให้มีอำนาจต่อรองไม่มากเท่านี้

ด้วยเหตุผลนี้ คุณสนธิ กลับคิดอีกด้านว่าหากการเคลื่อนไหวของคุณสุเทพมีมวลชนสนับสนุนมากมายมหาศาลเป็นประวัติการณ์ขนาดนี้แล้ว

"ต้องให้อำนาจต่อรองจากการเคลื่อนไหวของมวลมหาประชาชนเป็นตัวกำหนดท่าทีของทหาร มากกว่าการให้อำนาจต่อรองของทหารเป็นตัวกำหนดหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของมวลมหาประชาชน"

เหมือนตัวอย่างการที่ คปท. นำมวลชน เข้าไปใน บก.ทบ.และได้รับสัญญาณให้ออกไปโดยเร็ว เพียงเพื่อไม่ต้องการให้พิสูจน์ว่ากองทัพเลือกข้างใด

เหมือนการที่ กองทัพเจรจาให้หยุดยิงแก๊สน้ำตา เปิดทาง เพื่อให้มวลชนที่เข้าไปทำเนียบรัฐบาลจนมวลชนพอใจ แล้วให้มวลชนถอยออกมาเพราะเกรงใจทหารเพื่อให้รัฐบาลพอใจ

เหมือนการที่ ผบ.ทบ. บนโต๊ะเจรจา บอกว่ายืนข้างประเทศไทย เพื่อให้คุณสุเทพไปตีความเอาเองว่าไม่ยืนข้างรัฐบาล และรัฐบาลตีความว่าไม่ได้ยืนข้างคุณสุเทพ

ด้วยความคิดที่แตกต่างกัน คุณสนธิ จึงไม่สามารถออกมาให้ความเห็นในทางสาธารณะที่อาจกระทบการชุมนุมได้ ในขณะดียวกันแม้จะจะสนับสนุนให้มวลชนออกไป แต่จะให้พูดสนับสนุนทางยุทธวิธีที่คิดไม่เหมือนกันก็ไม่ได้เช่นกัน

คุณสนธิ พูดมาโดยตลอดว่าชัยชนะประชาชนจะเกิดขึ้นได้เพราะการเสียสละของพรรคประชาธิปัตย์ที่มีมวลชนสนับสนุนถึง 12 ล้านคน วันนี้ก็พิสูจน์แล้วว่า แม้ยังไม่มีการเสียสละทั้งพรรค แต่การที่มีสัญลักษณ์บางกลุ่มจากคนในพรรคประชาธิปัตย์เสียสละ ได้สร้างปรากฏการณ์มวลมหาประชาชนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และจะทำได้มากกว่านี้หากมีการเสียสละจากพรรคประชาธิปัตย์ที่มากกว่านี้ และชัยชนะจะเป็นไปได้มากกว่านี้อีก

คลื่นมวลมหาประชาชนได้พัดพาไป จนวันนี้ทุกกลุ่มผู้ชุมนุมได้พูดเรื่องการปฏิรูปประเทศอย่างเป็นเอกภาพ สิ่งที่คุณสุเทพได้พูดในเรื่องความล้มเหลวในโครงสร้างทางการเมือง และความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงประเทศ ฯลฯ เป้าหมายเหล่านี้จึงแทบไม่ต่างจากเป้าหมายของ สนธิ ลิ้มทองกุลเลยที่พูดมาแล้วหลายปี 

จะมีอยู่เพียงประเด็นสำคัญ เพียงประเด็นเดียวที่คุณสุเทพยังไม่เคยพูดถึงเลย คือเรื่อง "การปฏิรูปพลังงาน" 

ด้วยเหตุผลของเนื้อหาในเป้าหมายที่ปราศรัยกันในขณะนี้ที่ไม่ค่อยต่างกัน จึงไม่มีความจำเป็นที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ต้องเข้าไปร่วมอีก เพราะคุณสุเทพ ก็เสียสละในการเคลื่อนไหวครั้งนี้อย่างมาก และทำหน้าที่ในการนำได้ดีอยู่แล้ว ไม่ต่างจากสิ่งที่คุณสนธิได้เคยพูดและเสียสละมา

คุณสนธิ ได้พูดกับผมว่าภารกิจของเทียนเล่มแรกได้เสร็จสิ้นแล้ว การนับหนึ่งด้วยการจุดเทียนเล่มแรกเมื่อ 7 ปีที่แล้ว นั้นใช้ความยากลำบากอย่างยิ่ง มีต้นทุนที่ต้องจ่ายมาก ต้องขายทรัพย์สินจนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว องค์กรแทบอยู่ไม่ได้ ชีวิตขาดอิสระภาพเพราะตกอยู่ในอันตรายอยู่ตลอดเวลาถึงชีวิต ขึ้นศาลแทบทุกอาทิตย์ และยังมีคดีในศาลฎีการอคำพิพากษาในเร็ววันนี้อีก 6 คดี แต่ก็พึงพอใจว่าสิ่งที่พูดมา 7 ปีกว่าที่ต้องเอาชีวิตและธุรกิจเข้าแลก ตามคำขวัญ "ตายเป็นตาย เจ๊งเป็นเจ๊ง" ได้ผลิดอกออกผลเป็นเทียนมากมายมหาศาล แม้ว่าผู้ถือเทียนนำในวันนี้จะไม่ใช่คุณสนธิ ล้ิมทองกุล แล้วก็ตาม

ธนู 2 ดอกเหมือนกันยิงเป้าหมายเดียวกัน เมื่อ "ยิงพร้อมกันจากคันธนูเดียวกัน"ย่อมให้ผลเท่ากับยิงธนูดอกเดียวและเสียลูกธนูอีกดอกไปโดยไม่จำเป็น แต่เราควรเก็บ "เทียนเล่มแรก" และ "ธนูดอกสุดท้าย" เอาไว้ใช้ในยามจำเป็น เพลี่ยงพล้ำ หรือเมื่อถึงเวลาที่ควรกว่านี้ยังจะมีประโยชน์กว่า โดยเฉพาะเมื่อ"ยุทธวิธี"ไม่เหมือนกัน

แม้คุณสนธิจะส่งสัญญาณให้มวลชนออกไปช่วยคุณสุเทพเพื่อประโยชน์ของชาติบ้านเมือง แต่ก็ไม่ได้อยู่ในฐานะผู้นำหรือผู้วางแผน และวางยุทธวิธี ที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ ขอให้มวลชนที่มีเทียนแห่งปัญญาที่ได้จุดติดแล้ว ใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นบทเรียน ใช้สติในการเคลื่อนไหวอย่างรอบคอบ ระมัดระวังตัวไม่ตกเป็นเหยื่อในการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงเพื่ออำนาจของใคร และไม่ปล่อยให้ใครมาฉกฉวยโอกาส โดยปราศจากการปฏิรูปประเทศไทยให้ได้อย่างแท้จริง