PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

กางระเบียบ-ประมวลจริยธรรมเทียบคำพูด“พรเพชร”ปม สนช.ตั้งเมีย-ลูกช่วยงาน?

กางระเบียบ-ประมวลจริยธรรมเทียบคำพูด“พรเพชร”ปม สนช.ตั้งเมีย-ลูกช่วยงาน?

เขียนวันที่
วันจันทร์ ที่ 02 มีนาคม 2558 เวลา 14:12 น.
เขียนโดย
isranews
“…การที่ สนช. แต่งตั้ง “ภรรยา-บุตร-เครือญาติ” เข้ามาช่วยงาน โดยรับเงินเดือนจากภาษีของประชาชนตั้งแต่ 1.5-2.4 หมื่นบาทนั้น ได้เข้ามาช่วยงานจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่การ “กรอกชื่อ” ไว้เพื่อรับเงินเดือนอย่างเดียว เพราะจะเห็นได้ว่า “บุตร” ของ สนช. บางรายยังคงศึกษาในระดับชั้นมหาวิทยาลัย หรืออายุอานามบางคนเพียงแค่ 20 กว่า ๆ เท่านั้น…”
PIC ponpet 2 3 58 1
กลายเป็นประเด็นร้อนแรงที่ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์กันเกรียวกราวในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา !
ภายหลังสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กว่า 50 คน แต่งตั้ง “ภรรยา-บุตร-เครือญาติ” เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว-ผู้ชำนาญการประจำตัว-ผู้ช่วยดำเนินงานของ สนช. รับเงินเดือนตั้งแต่ 1.5-2.4 หมื่นบาท
แม้ว่าต่อมา “พรเพชร วิชิตชลชัย” ประธาน สนช. จะออกโรงปกป้องแบบทันท่วงที โดยระบุว่า ตามระเบียบข้อบังคับ สนช. ไม่ได้ห้ามเรื่องการแต่งตั้งภรรยา บุตร หรือเครือญาติ เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ปฏิบัติงาน-ผู้ดำเนินงานประจำตัว สนช. แต่อย่างใด ซึ่งหลักการคุณสมบัติในตำแหน่งเหล่านั้นกำหนดเพียงว่า มีคุณวุฒิเหมาะสม และไม่เคยต้องคดีมาก่อน
ส่วนจะเหมาะสมหรือไม่นั้น “พรเพชร” ยืนยันว่า ที่ สนช. นำภรรยา-บุตรมาดำรงตำแหน่ง อาจต้องการคนที่มีความไว้วางใจมาช่วยงาน จึงดึงคนใกล้ชิดมาเป็น สนช. ซึ่งก็ปฏิบัติตามระเบียบเดิมของสภาที่มีมาก่อนหน้านี้ทุกอย่าง ไม่ได้แก้ไขอะไรแต่ประการใด
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org กางประกาศ-ระเบียบ-ข้อบังคับการประชุม สนช. มาเทียบกับคำพูดของ “พรเพชร” ให้เห็นกันชัด ๆ ดังนี้
ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้แก่ สนช. บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2557 ประกาศเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 มีนายพรเพชร ในฐานะประธาน สนช. ลงลายมื่อชื่อกำกับ 
สำหรับผู้เชี่ยวชาญประจำตัว-ผู้ชำนาญการประจำตัว-ผู้ช่วยดำเนินงานของ สนช. จะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
1.ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิก สนช. 
-มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
-สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก และมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ให้ สนช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ให้ สนช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ให้ สนช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
-มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการที่เป็นประโยชน์กับสมาชิก สนช.
2.ผู้ชำนาญการประจำตัวสมาชิก สนช.
-มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
-ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ให้ สนช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
-มีหน้าที่ศึกษาค้นคว้าข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายประกอบการดำเนินงานของสมาชิก สนช. ศึกษาสภาพปัญหาและข้อร้องเรียนต่าง ๆ เพื่อรวบรวม จัดทำญัตติ กระทู้ถาม ข้อหารือ หรือข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ สนช. 
3.ผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิก สนช.
-มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
-สำเร็จการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป และมีประสบการณ์กับงานที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ให้ สนช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือได้รับใบประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) และมีประสบการณ์กับงานที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ให้ สนช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และมีประสบการณ์กับงานที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ให้ สนช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ) และมีประสบการณ์กับงานที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ให้ สนช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 7 ปี
-มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่สมาชิก สนช. กำหนด
โดยทั้ง 3 ตำแหน่งจะต้องมีสัญชาติไทย เป็นผู้เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต ไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ไม่เป็นข้าราชการัฐสภาสามัญ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการในสังกัดรัฐสภา
และหากเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องมีหนังสือยินยอมจากส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจที่ผู้สังกัดนั้น แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติงานให้แก่ สนช. คนหนึ่ง ให้ดำรงตำแหน่งตามข้อ 1, 2 หรือ 3 ได้เพียงตำแหน่งเดียว และบุคคลดังกล่าวจะต้องไม่เป็นผู้ปฏิบัติงานให้แก่ สนช. คนอื่นในตำแหน่งตามข้อ 1, 2 หรือ 3 อีก
ขณะที่ในบทเฉพาะกาลตามข้อบังคับการประชุมของ สนช. พ.ศ.2557 ข้อที่ 219 ระบุว่า ให้นำข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ.2553 มาใช้บังคับเป็นการอนุโลม
โดยข้อบังคับประมวลจริยธรรมฯ พ.ศ.2553 ข้อที่ 25 ระบุว่า สมาชิกและกรรมาธิการพึงระมัดระวังการปฏิบัติงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญประจำตัว-ผู้ปฏิบัติงาน-ที่ปรึกษา-ผู้ชำนาญการ-นักวิชาการ และเลขานุการ มิให้กระทำการใด ๆ อันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สมาชิกกรรมาธิการและวุฒิสภา
ข้อ 26 ระบุว่า สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องละเว้นจากการแสวงหาผลประโยชน์ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่และไม่กระทำการที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน และจะต้องดูแลให้คู่สมรสและบุตรของสมาชิกและกรรมาธิการปฏิบัติตามเช่นเดียวกันด้วย
ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่ต้องถามกลับไปได้แก่
1.การที่ สนช. แต่งตั้ง “ภรรยา-บุตร-เครือญาติ” เข้ามาช่วยงาน โดยรับเงินเดือนจากภาษีของประชาชนตั้งแต่ 1.5-2.4 หมื่นบาทนั้น ได้เข้ามาช่วยงานจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่การ “กรอกชื่อ” ไว้เพื่อรับเงินเดือนอย่างเดียว
เพราะจะเห็นได้ว่า “บุตร” ของ สนช. บางรายยังคงศึกษาในระดับชั้นมหาวิทยาลัย หรืออายุอานามบางคนเพียงแค่ 20 กว่า ๆ เท่านั้น จะสามารถเข้ามาช่วยเหลืองานในสภา ซึ่งล้วนจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ในการวิเคราะห์ข้อกฎหมาย หรือข้อร้องเรียนจากประชาชนได้มากน้อยแค่ไหน 
2.ตามข้อบังคับประมวลจริยธรรมฯ ระบุชัดเจนว่า สมาชิกจะต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ หรือไม่กระทำการขัดกันแห่งผลประโยชน์ หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน แล้วการที่ สนช. แต่งตั้ง “ภรรยา-บุตร-เครือญาติ” ถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่
3.ตามประกาศ สนช. เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลปฏิบัติงานให้ สนช. นั้น ระบุว่า หากแต่งตั้งคนใดดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ชำนาญการ-ผู้ช่วยดำเนินงานแล้ว จะดำรงได้เพียงตำแหน่งเดียว แต่มี สนช. บางราย เช่น พล.ร.อ.ธราธร ขจิตสุวรรณ แต่งตั้ง พล.ร.ต.หญิง พวงพลอย ขจิตสุวรรณ คู่สมรส ดำรงทั้ง 3 ตำแหน่ง สามารถทำได้หรือไม่ และขัดกับประกาศ สนช. ด้วยหรือไม่
ขณะที่ "มาสเตอร์โพลล์" เผยผลสำรวจความคิดเห็นแกนนำชุมชน 600 ชุมชน ช่วงวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ระบุว่า สำหรับกรณี สนช. บางส่วนแต่งตั้งคนในครอบครัว คนใกล้ชิด เข้ามาช่วยงาน พบว่า ร้อยละ 56.3 ระบุว่าไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า อยากให้ได้คนมีความรู้ความสามารถจริง ๆ มาทำงาน อยากให้มีความคิดที่หลากหลายในการทำงาน เป็นการทำลายความเชื่อมั่นที่มีต่อ สนช. ทำให้ภาพลักษณ์ดูไม่ดี ควรเปิดโอกาสให้คนมีความรู้ความสามารถ จะเกิดข้อครหาได้  ถึงแม้เจตนาดี แต่ก็ไม่ควรทำ อาจจะดูไม่โปร่งใส
ทั้งหมดนี้คือคำถามที่โยนกลับไปถึง “พรเพชร” และบรรดา สนช. ทั้งหลายที่แต่งตั้งเครือญาติเข้ามาดำรงตำแหน่ง ตอบให้ชัด ๆ ว่า แต่งตั้งด้วยความจำเป็นอันใด และทำไมจึงต้องให้คนสำคัญใกล้ชิดแน่นแฟ้น เช่น ภรรยา หรือบุตร เข้ามาดำรงตำแหน่ง
เพื่อสร้างความกระจ่างให้สังคมว่า สาเหตุที่ทำลงไปนั้นไม่ใช่ “สภาเมีย-ลูก-เครือญาติ” อย่างที่ถูกกล่าวหาจริง ๆ

ชัด ๆ คำสั่ง“ธราธร”ตั้ง “เมีย”ช่วยงานควบ 3 ตำแหน่งรับเงินเดือน 5.9 หมื่น

ชัด ๆ คำสั่ง“ธราธร”ตั้ง “เมีย”ช่วยงานควบ 3 ตำแหน่งรับเงินเดือน 5.9 หมื่น

เขียนวันที่
วันพุธ ที่ 04 มีนาคม 2558 เวลา 14:59 น.
เขียนโดย
isranews
ดูชัด ๆ คำสั่งสำนักเลขาฯวุฒิสภามัด “พล.ร.อ.ธราธร” แต่งตั้ง “ภรรยา” ควบตำแหน่ง “ผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ชำนาญการ-ผู้ช่วยดำเนินงาน สนช.” ก่อนตั้ง "ลูก" ผู้ชำนาญการต่อ รับเงินรวดเดียว 5.9 หมื่นบาท
PIC sapa 4 3 58 1
ในที่สุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เริ่มขยับกาย !
ภายหลังสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบ สนช. จำนวนกว่า 50 ราย แต่งตั้งภรรยา-บุตร-เครือญาติ เข้าดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ชำนาญการ-ผู้ช่วยดำเนินงาน สนช. รับเงินเดือน 1.5-2.4 หมื่นบาท 
โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่ 1 ออกมาเปิดเผยถึงมติที่ประชุมคณะกรรมาธิการกิจการสามัญสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) ยืนยันว่า มติวิป สนช. ให้คำแนะนำกับ สนช. ที่มีการแต่งตั้งบุคคลใกล้ชิดเข้ามาทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยดำเนินงาน ว่าควรปรับเปลี่ยนให้บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเหล่านี้ ออกจากตำแหน่งไป หลังจากที่สังคมตั้งคำถามถึงความเหมาะสม
อย่างไรก็ดี มีบางฝ่ายครหาว่า พล.ร.อ.ธราธร ขจิตสุวรรณ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ที่แต่งตั้ง "ภรรยา" เข้ามาดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ชำนาญการ-ผู้ช่วยดำเนินงาน สนช. ทั้ง 3 ตำแหน่งนั้น ไม่เป็นความจริง ?
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำคำสั่งของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เรื่อง การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ชำนาญการ-ผู้ช่วยดำเนินงาน มาเผยแพร่ให้เห็นชัด ๆ ดังนี้
1.คำสั่งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ฉบับที่ 1660/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยประจำตัว สนช. ลงวันที่ 29 ก.ย. 2557 มีผล 1 ส.ค. 2557
พล.ร.อ.ธราธร แต่งตั้ง พล.ร.ต.หญิง พวงพลอย ขจิตสุวรรณ คู่สมรส รับเงินเดือน 15,000 บาท
PIC ธราธรแตงตง 1
PIC ธราธรแตงตง 2
2.คำสั่งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ฉบับที่ 1741/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ชำนาญการประจำตัว สนช. ลงวันที่ 14 พ.ย. 2557 มีผล 1 พ.ย. 2557
พล.ร.อ.ธราธร แต่งตั้ง พล.ร.ต.หญิง พวงพลอย รับเงินเดือน 20,000 บาท
PIC ธราธรแตงตง 3
ต่อมา คำสั่งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ฉบับที่ 44/2558 เรื่อง แต่งตั้งผู้ชำนาญการประจำตัว สนช. ลงวันที่ 12 ก.พ. 2558 มีผลเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2558
พล.ร.อ.ธราธร แต่งตั้ง เรือตรีหญิงอนพัทย์ ขจิตสุวรรณ บุตรสาว รับเงินเดือน 20,000 บาท
อย่างไรก็ดี ยังไม่ปรากฏคำสั่งที่ให้ พล.ร.ต.หญิง พวงพลอย พ้นจากตำแหน่งผู้ชำนาญการประจำตัวแต่อย่างใด
PIC ธราธรแตงตง 6
3.คำสั่งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ฉบับที่ 43/2558 เรื่อง แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว สนช. ลงวันที่ 15 ม.ค. 2558 มีผล 1 ม.ค. 2558 
พล.ร.อ.ธราธร แต่งตั้ง พล.ร.ต.หญิง พวงพลอย รับเงินเดือน 24,000 บาท
PIC ธราธรแตงตง 4
PIC ธราธรแตงตง 5
เท่ากับว่า หาก พล.ร.ต.หญิง พวงพลอย ยังไม่พ้นตำแหน่งผู้ชำนาญการ จะได้รับเงินเดือนทั้งหมด 15,000 + 20,000 + 24,000 = 59,000 บาท
อย่างไรก็ดีประกาศ สนช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้แก่ สนช. บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2557 ประกาศเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2557 มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ลงลายมือชื่อกำกับ ระบุชัดเจนว่า
“บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติงานให้แก่ สนช. คนหนึ่ง ให้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ชำนาญการ-ผู้ช่วยดำเนินงาน ได้เพียงตำแหน่งเดียว และบุคคลดังกล่าวจะต้องไม่เป็นผู้ปฏิบัติงานให้แก่ สนช. คนอื่นอีก”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ได้ติดต่อไปยัง พล.ร.อ.ธราธร เพื่อให้ชี้แจงต่อกรณีดังกล่าวแล้ว แต่ไม่สามารถติดต่อได้ โดยมีคนรับสายอ้างว่า พล.ร.อ.ธราธร ติดประชุมอยู่
ล่าสุด นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ได้ให้ น.ส.นันทนัช ศิรธรานนท์ บุตรสาว พ้นจากตำแหน่ง ตามคำสั่งเลขาธิการวุฒิสภา ที่ 101/2558 เรื่อง ให้ผู้ช่วยดำเนินงานของ สนช. พ้นจากตำแหน่ง แล้ว เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา 
ดังนั้น ต้องจับตาดูต่อว่า ท้ายสุด พล.ร.อ.ธราธร รวมไปถึง สนช. รายอื่น ๆ จะดำเนินการตามมติของวิป สนช. คือปรับเปลี่ยนคู่สมรสออกจากตำแหน่งหรือไม่
เพราะเมื่อท่านพูดเราจะฟัง เมื่อท่านลงมือทำเราถึงจะเชื่อ !

ข้อมูล ถอดถอนอดีต 38 สว.

ป.ป.ช.แถลงเปิดคดีถอดถอน 38 อดีตส.ว. จำแนกพฤติการณ์ 4 ฐานความผิด ชี้จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรธน.

(25/2/58)ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.เป็นประธานการประชุม โดยได้พิจารณาดำเนินการกระบวนการถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา
จำนวน 38 คนหรือ อดีตส.ว.38 คน ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ประกอบมาตรา64 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน  และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว.โดยมิชอบ ซึ่งเป็นขั้นตอนการแถลงเปิดสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และการแถลงโต้แย้งการเปิดสำนวนของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งนายพรเพชรได้เชิญตัวแทนฝ่ายผู้กล่าวหาคือ นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป.ป.ช. และตัวแทนฝ่ายผู้ถูกกล่าว จำนวน 29 คน เข้าสู่ห้องประชุม

นายวิชัย แถลงเปิดคดีว่า จากสำนวนถอดถอนอดีตส.ว.ที่ส่งให้ป.ป.ช.พิจารณามีการกล่าวหาอดีตส.ว. 50 คน มีพฤติการณ์ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว.โดยมิชอบ แต่จากการไต่สวนของป.ป.ช. เมื่อได้พิจารณาได้พฤติการณ์ของอดีตส.ว.ทั้ง 50 คน แล้ว พบว่า มีอยู่ 38 คน ที่มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและข้อกฎหมาย โดยแบ่งผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 38 คน เป็น 4 กลุ่มความผิดประกอบด้วย 1.ข้อกล่าวหานางภารดี จงสุขธนามณี และพล.ท.พงศ์เอก อภิรักษ์โยธิน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระที่ 3 แต่ไม่ได้พิจารณาลงมติในวาระ1 ขั้นรับหลักการ และวาระ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลำดับรายมาตรา โดยเฉพาะมาตรา 6 ที่มีการแก้ไขหลักการสำคัญ มีผลทำให้บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งส.ว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพลงสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ว.ได้อีก โดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 2 ปี

นายวิชัย กล่าวว่า 2 ข้อกล่าวหา นายประสิทธิ์ โพธสุธน นายสมชาติ พรรณพัฒน์ พล.ต.ต.องอาจ สุวรรณสิงห์ นายดิเรก ถึงฝั่ง นายประวัติ ทองสมบูรณ์ นายกฤช อาทิตย์แก้ว พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ นายภิญโญ สายนุ้ย นายไพบูลย์ ซำศิริพงษ์ นายสุเมธ ศรีพงษ์ พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ นายสุรพงษ์ ตันธนศรีกุล นายพีระ มานะทัศน์ นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล นายสุรชัย ชัยตระกูล

ทอง นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล นายรักพงษ์ ณ อุบล นายบวรศักดิ์ คณาเสน นายจตุรงค์ ธีระกนก นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ และนายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร รวม 22 คน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 , 2 และ 3

3.ข้อกล่าวหา นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ นายโสภณ ศรีมาเหล็ก นายต่วน อับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ นายประดิษฐ์ ตันวัฒนะพงษ์ พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์ นายวรวิทย์ บารู นายสุโข วุฑฒิโชติ นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง นายสุริยา ปันจอร์ นายถนอม ส่งเสริม นายบุญส่ง โควาวิสารัช และนายวรวิทย์ วงษ์สุวรรณ์ รวม 13 คน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 และ 3 และ 4. ข้อกล่าวหา นายวิทยา อินาลา กรณีร่วมรายมือชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 และ 2

นายวิชัย กล่าวว่า จากการไต่สวนพบว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ทั้ง 38 คน ได้เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไข กับ ร่างรัฐธรรมนูญที่บรรจุเข้าสู่วาระการประชุมเพื่อลงมติวาระ 1 2 และ 3 มีเนื้อหาไม่ตรงกัน โดยมีการแก้ไขหลักการสำคัญให้ส.ว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ สามารถลงสมัครเป็นส.ว.ได้อีก โดยไม่ต้องรอให้พ้นตำแหน่ง 2 ปี ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่ลงมติไม่ปรากฎว่า มีส.ว.ร่วมลงชื่อรับรองร่างดังกล่าว ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ชอบตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ โดยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยืนยัน ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร ดังนั้นจากการไต่สวนจึงวินิจฉัยได้ว่า ทั้ง 38 คน มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่รู้ว่าร่างที่ได้ลงมติไปนั้น เป็นร่างสอดไส้ ที่เสนอโดยมิชอบ ข้ออ้างที่ว่า ไม่ทราบว่า ร่างที่ลงมติเห็นชอบเป็นคนละฉบับกับที่ร่างที่เข้าชื่อเสนอ เป็นเรื่องที่รับฟังไม่ขึ้น

"ยืนยันว่า ป.ป.ช.มีอำนาจในการไต่สวนถอดถอนกรณีดังกล่าว แม้รัฐธรรมนูญปี 50 จะไม่มีผลบังคับใช้แล้ว แต่ประกาศคสช.ฉบับที่ 24/2557 ให้พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ยังมีผลบังคับใช้ต่อไป ประกอบกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 มาตรา 6 ให้สนช.ทำหน้าที่เป็นส.ส.และส.ว. ซึ่งสนช.มีข้อบังคับการประชุมปี 2557 ระบุให้สนช.มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ดังนั้นป.ป.ช.ย่อมมีอำนาจในการไต่สวนเรื่องดังกล่าว พร้อมส่งรายงานคำร้องถอดถอนมายังสนช.เพื่อดำเนินการถอดถอนได้"นายวิชัย กล่าว
//////////////////////
ปปช.พิจารณามีการกล่าวหาอดีตส.ว. 50 คนมีพฤติการณ์ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่ง ถอดถอน 38 สว. 4ฐานความผิดไม่ต้องรอ พ้นตำแหน่ง อีก 2 ปี


                วันนี้(25ก.พ.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 25 ก.พ. ที่รัฐสภามีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. เป็นประธานการประชุม  กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว.โดยมิชอบ ซึ่งเป็นขั้นตอนการแถลงเปิดสำนวนของคณะกรรมการป.ป.ช.และการแถลงโต้แย้งการเปิดสำนวนของผู้ถูกกล่าวหาจากนั้นนายพรเพชร ได้เชิญตัวแทนฝ่ายผู้กล่าวหา คือ นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป.ป.ช.และตัวแทนฝ่ายผู้ถูกกล่าว จำนวน 29 คน เข้าสู่ห้องประชุม

นายวิชัย เริ่มแถลงเปิดคดีว่า จากสำนวนถอดถอนอดีตส.ว.ที่ส่งให้ป.ป.ช.พิจารณามีการกล่าวหาอดีตส.ว. 50 คนมีพฤติการณ์ส่อว่า กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาส.ว.โดยมิชอบ แต่จากการไต่สวนของป.ป.ช. เมื่อได้พิจารณาได้พฤติการณ์ของอดีตส.ว.ทั้ง 50 คน แล้ว พบว่า มีอยู่ 38 คนที่มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และ ข้อกฎหมายโดยแบ่งผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 38 คน เป็น 4 กลุ่มความผิดประกอบด้วย 1.ข้อกล่าวหา นางภารดีจงสุขธนามณี และพล.ท.พงศ์เอก อภิรักษ์โยธิน  กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระที่ 3 แต่ไม่ได้พิจารณาลงมติในวาระ 1 ขั้นรับหลักการ และวาระ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลำดับรายมาตรา โดยเฉพาะมาตรา 6 ที่มีการแก้ไขหลักการสำคัญมีผลทำให้บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งส.ว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพลงสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ว.ได้อีกโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 2 ปี

นายวิชัย กล่าวว่า 2 ข้อกล่าวหา นายประสิทธิ์ โพธสุธน นายสมชาติ  พรรณพัฒน์ พล.ต.ต.องอาจ สุวรรณสิงห์ นายดิเรก ถึงฝั่ง นายประวัติ ทองสมบูรณ์นายกฤช อาทิตย์แก้ว พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ นายภิญโญ สายนุ้ย นายไพบูลย์  ซำศิริพงษ์ นายสุเมธ ศรีพงษ์ พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ นายสุรพงษ์  ตันธนศรีกุล นายพีระ มานะทัศน์  นายสิทธิศักดิ์  ยนต์ตระกูล นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล นายรักพงษ์ ณ อุบลนายบวรศักดิ์ คณาเสน นายจตุรงค์ ธีระกนก นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง นายยุทธนา ยุพฤทธิ์และนายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร รวม 22 คน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 , 2 และ 3

3.ข้อกล่าวหา นายประเสริฐประคุณศึกษาพันธ์ นายโสภณ ศรีมาเหล็ก นายต่วน อับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ นายประดิษฐ์ ตันวัฒนะพงษ์ พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์นายวรวิทย์ บารู นายสุโข วุฑฒิโชติ นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง นายสุริยา ปันจอร์นายถนอม ส่งเสริม นายบุญส่ง โควาวิสารัช และนายวรวิทย์ วงษ์สุวรรณ์   รวม 13 คน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 และ 3  4. ข้อกล่าวหา นายวิทยา อินาลากรณีร่วมรายมือชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 และ 2


นายวิชัย กล่าวว่า จากการไต่สวนพบว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ทั้ง 38 คนได้เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไข กับร่างรัฐธรรมนูญที่บรรจุเข้าสู่วาระการประชุมเพื่อลงมติวาระ 1 ,2 และ 3 มีเนื้อหาไม่ตรงกัน  โดยมีการแก้ไขหลักการสำคัญให้ส.ว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพสามารถลงสมัครเป็นส.ว.ได้อีก โดยไม่ต้องรอให้พ้นตำแหน่ง 2 ปี ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่ลงมติไม่ปรากฎว่า มีส.ว.ร่วมลงชื่อรับรองร่างดังกล่าวทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ชอบตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญโดยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร ดังนั้นจากการไต่สวนจึงวินิจฉัยได้ว่าทั้ง 38 คนมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายเพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่รู้ว่าร่างที่ได้ลงมติไปนั้น เป็นร่างสอดไส้ที่เสนอโดยมิชอบ ข้ออ้างที่ว่า ไม่ทราบว่าร่างที่ลงมติเห็นชอบเป็นคนละฉบับกับที่ร่างที่เข้าชื่อเสนอเป็นเรื่องที่รับฟังไม่ขึ้น

 นายวิชัย กล่าวว่า ยืนยันว่า ป.ป.ช.มีอำนาจในการไต่สวนถอดถอนกรณีดังกล่าว แม้รัฐธรรมนูญปี 50 จะไม่มีผลบังคับใช้แล้ว แต่ประกาศคสช.ฉบับที่ 24/2557 ให้พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ยังมีผลบังคับใช้ต่อไปประกอบกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 มาตรา 6 ให้สนช.ทำหน้าที่เป็น ส.ส.และส.ว. ซึ่งสนช.มีข้อบังคับการประชุมปี 2557 ระบุให้สนช.มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ดังนั้นป.ป.ช.ย่อมมีอำนาจในการไต่สวนเรื่องดังกล่าวพร้อมส่งรายงานคำร้องถอดถอนมายังสนช.เพื่อดำเนินการถอดถอนได้.

222222222222
'สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย' บอก สนช. เร่งออกแบบใบลงมติใหม่ถอดถอน 38 อดีต ส.ว. เพื่อความรวดเร็ว ชี้ 'ดิเรก' หากถูกถอด ต้องให้ ป.ป.ช. ตีความ พ้น สปช. หรือไม่

(26/2/58)นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ในการลงมติถอดถอน 38 อดีต ส.ว. ในวันที่ 13 มี.ค. นี้ ทาง สนช. กำลังออกแบบใบลงมติใหม่ เพื่อให้มีความสะดวก และรวดเร็ว สำหรับการลงคะแนนในครั้งเดียว ส่วนเรื่องการลงมติของสมาชิกแต่ละคน ก็ถือเป็นเอกสิทธิ์ของแต่ละบุคคล โดยเชื่อว่า การแถลงเปิดคดี และการตอบข้อซักถาม ของทั้ง 2 ฝ่าย ที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 มี.ค. นี้ จะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของทุกคน ว่าจะลงมติถอดถอนหรือไม่ ได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ นายสุรชัย ยังกล่าวด้วยว่า หาก สนช. มีมติถอดถอน อดีต 38 ส.ว. ในส่วนของ นายดิเรก ถึงฝั่ง ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้น จะต้องให้คณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตีความอีกครั้ง ว่า สปช. ถือเป็นตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ และต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ เหมือนกับที่ตีความเรื่องการยื่นบัญชีทรัพย์สินเป็นต้น ส่วนการถอดถอน อดีต ส.ส. 250 คน ที่ ป.ป.ช. มีมติไปนั้น ต้องรอให้มีการส่งสำนวนมายัง สนช. ก่อน จึงจะเริ่มกระบวนการต่าง ๆ ได้ตามข้อบังคับต่อไป

พิจารณาบทเฉพาะกาล รธน.50

พิจารณา "บทเฉพาะกาล" ในร่าง รธน. 50 วันนี้

ประชาไท - 10 เม.ย. 2550 วันนี้ (10 เม.ย.) ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะมีการพิจารณาหมวด"บทเฉพาะกาล" ซึ่งร่างรายมาตราที่ฝ่ายเลขานุการร่างมา มีดังนี้

00000000



บทเฉพาะกาล

(ร่างไว้ชั่วคราว)

มาตรา 306 ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549



มาตรา 307 ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและดำเนินการสรรหาวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้ให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา 306 มีผลใช้บังคับ



ในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมิได้ให้ความเห็นชอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา 306 ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดระเบียบที่จำเป็นขึ้นใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น เพื่อให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมและให้ดำเนินการเลือกตั้งหรือสรรหาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษา



ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปครั้งแรก ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าสามสิบวัน



มาตรา 308 ให้คณะองคมนตรีที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะองคมนตรีต่อไป



มาตรา 309 ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ทำหน้าที่รัฐสภาตามรัฐธรรมนูญนี้จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา 127



มาตรา 310 ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปและสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549



ให้บทบัญญัติมาตรา 30 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป



มาตรา 331 ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับเป็นคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้ และให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อมีการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่



นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งได้รับยกเว้นคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้



มาตรา 312 ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้ ซึ่งได้รับแต่งตั้งก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระตามรัฐธรรมนูญนี้ โดยให้เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง



(1) กรรมการการเลือกตั้ง

(2) กรรมการกป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(3) กรรมการสิทิมนุษยชนแห่งชาติ

(4) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

(5) สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ



ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปจนกว่าจะมีการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใหม่ใช้บังคับแทน เว้นแต่บทบัญญัติใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้รัฐธรรมนูญนี้แทน



มาตรา 313 ส่วนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญนี้ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งศาลรธน.ตามรธน.นี้ 



ให้บทบัญญัติมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งศาลรธน.



เมื่อมีการแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญแล้ว บรรดาคดีหรือการใดที่ค้างดำเนินการให้โอนไปอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ



ในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้



มาตรา 314 ให้ดำเนินการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินภายในระยะเวลา 90 วันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรและผู้ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรครบถ้วน



มาตรา 315 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกา จัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายใน 180 วัน นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ หรือนับแต่มีการแต่งตั้งสำหรับกรณีของศาลรธน.



ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่ได้รับร่าง และให้วุฒิสภาพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับร่าง



การลงมติให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกแต่ละสภา



มาตรา 316 ภายใต้บังคับมาตรา 315 ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการที่เป็นอิสระเพื่อดำเนินการจัดทำกฎหมายให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ



กฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพตามหมวด ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญใช้บังคับ



มาตรา 317 บทบัญญัติรองรับการดำเนินการหรือผลทางกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549



00000000