PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

ข้อมูล ถอดถอนอดีต 38 สว.

ป.ป.ช.แถลงเปิดคดีถอดถอน 38 อดีตส.ว. จำแนกพฤติการณ์ 4 ฐานความผิด ชี้จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรธน.

(25/2/58)ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.เป็นประธานการประชุม โดยได้พิจารณาดำเนินการกระบวนการถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา
จำนวน 38 คนหรือ อดีตส.ว.38 คน ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ประกอบมาตรา64 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน  และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว.โดยมิชอบ ซึ่งเป็นขั้นตอนการแถลงเปิดสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และการแถลงโต้แย้งการเปิดสำนวนของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งนายพรเพชรได้เชิญตัวแทนฝ่ายผู้กล่าวหาคือ นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป.ป.ช. และตัวแทนฝ่ายผู้ถูกกล่าว จำนวน 29 คน เข้าสู่ห้องประชุม

นายวิชัย แถลงเปิดคดีว่า จากสำนวนถอดถอนอดีตส.ว.ที่ส่งให้ป.ป.ช.พิจารณามีการกล่าวหาอดีตส.ว. 50 คน มีพฤติการณ์ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว.โดยมิชอบ แต่จากการไต่สวนของป.ป.ช. เมื่อได้พิจารณาได้พฤติการณ์ของอดีตส.ว.ทั้ง 50 คน แล้ว พบว่า มีอยู่ 38 คน ที่มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและข้อกฎหมาย โดยแบ่งผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 38 คน เป็น 4 กลุ่มความผิดประกอบด้วย 1.ข้อกล่าวหานางภารดี จงสุขธนามณี และพล.ท.พงศ์เอก อภิรักษ์โยธิน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระที่ 3 แต่ไม่ได้พิจารณาลงมติในวาระ1 ขั้นรับหลักการ และวาระ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลำดับรายมาตรา โดยเฉพาะมาตรา 6 ที่มีการแก้ไขหลักการสำคัญ มีผลทำให้บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งส.ว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพลงสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ว.ได้อีก โดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 2 ปี

นายวิชัย กล่าวว่า 2 ข้อกล่าวหา นายประสิทธิ์ โพธสุธน นายสมชาติ พรรณพัฒน์ พล.ต.ต.องอาจ สุวรรณสิงห์ นายดิเรก ถึงฝั่ง นายประวัติ ทองสมบูรณ์ นายกฤช อาทิตย์แก้ว พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ นายภิญโญ สายนุ้ย นายไพบูลย์ ซำศิริพงษ์ นายสุเมธ ศรีพงษ์ พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ นายสุรพงษ์ ตันธนศรีกุล นายพีระ มานะทัศน์ นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล นายสุรชัย ชัยตระกูล

ทอง นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล นายรักพงษ์ ณ อุบล นายบวรศักดิ์ คณาเสน นายจตุรงค์ ธีระกนก นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ และนายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร รวม 22 คน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 , 2 และ 3

3.ข้อกล่าวหา นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ นายโสภณ ศรีมาเหล็ก นายต่วน อับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ นายประดิษฐ์ ตันวัฒนะพงษ์ พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์ นายวรวิทย์ บารู นายสุโข วุฑฒิโชติ นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง นายสุริยา ปันจอร์ นายถนอม ส่งเสริม นายบุญส่ง โควาวิสารัช และนายวรวิทย์ วงษ์สุวรรณ์ รวม 13 คน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 และ 3 และ 4. ข้อกล่าวหา นายวิทยา อินาลา กรณีร่วมรายมือชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 และ 2

นายวิชัย กล่าวว่า จากการไต่สวนพบว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ทั้ง 38 คน ได้เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไข กับ ร่างรัฐธรรมนูญที่บรรจุเข้าสู่วาระการประชุมเพื่อลงมติวาระ 1 2 และ 3 มีเนื้อหาไม่ตรงกัน โดยมีการแก้ไขหลักการสำคัญให้ส.ว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ สามารถลงสมัครเป็นส.ว.ได้อีก โดยไม่ต้องรอให้พ้นตำแหน่ง 2 ปี ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่ลงมติไม่ปรากฎว่า มีส.ว.ร่วมลงชื่อรับรองร่างดังกล่าว ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ชอบตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ โดยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยืนยัน ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร ดังนั้นจากการไต่สวนจึงวินิจฉัยได้ว่า ทั้ง 38 คน มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่รู้ว่าร่างที่ได้ลงมติไปนั้น เป็นร่างสอดไส้ ที่เสนอโดยมิชอบ ข้ออ้างที่ว่า ไม่ทราบว่า ร่างที่ลงมติเห็นชอบเป็นคนละฉบับกับที่ร่างที่เข้าชื่อเสนอ เป็นเรื่องที่รับฟังไม่ขึ้น

"ยืนยันว่า ป.ป.ช.มีอำนาจในการไต่สวนถอดถอนกรณีดังกล่าว แม้รัฐธรรมนูญปี 50 จะไม่มีผลบังคับใช้แล้ว แต่ประกาศคสช.ฉบับที่ 24/2557 ให้พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ยังมีผลบังคับใช้ต่อไป ประกอบกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 มาตรา 6 ให้สนช.ทำหน้าที่เป็นส.ส.และส.ว. ซึ่งสนช.มีข้อบังคับการประชุมปี 2557 ระบุให้สนช.มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ดังนั้นป.ป.ช.ย่อมมีอำนาจในการไต่สวนเรื่องดังกล่าว พร้อมส่งรายงานคำร้องถอดถอนมายังสนช.เพื่อดำเนินการถอดถอนได้"นายวิชัย กล่าว
//////////////////////
ปปช.พิจารณามีการกล่าวหาอดีตส.ว. 50 คนมีพฤติการณ์ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่ง ถอดถอน 38 สว. 4ฐานความผิดไม่ต้องรอ พ้นตำแหน่ง อีก 2 ปี


                วันนี้(25ก.พ.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 25 ก.พ. ที่รัฐสภามีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. เป็นประธานการประชุม  กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว.โดยมิชอบ ซึ่งเป็นขั้นตอนการแถลงเปิดสำนวนของคณะกรรมการป.ป.ช.และการแถลงโต้แย้งการเปิดสำนวนของผู้ถูกกล่าวหาจากนั้นนายพรเพชร ได้เชิญตัวแทนฝ่ายผู้กล่าวหา คือ นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป.ป.ช.และตัวแทนฝ่ายผู้ถูกกล่าว จำนวน 29 คน เข้าสู่ห้องประชุม

นายวิชัย เริ่มแถลงเปิดคดีว่า จากสำนวนถอดถอนอดีตส.ว.ที่ส่งให้ป.ป.ช.พิจารณามีการกล่าวหาอดีตส.ว. 50 คนมีพฤติการณ์ส่อว่า กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาส.ว.โดยมิชอบ แต่จากการไต่สวนของป.ป.ช. เมื่อได้พิจารณาได้พฤติการณ์ของอดีตส.ว.ทั้ง 50 คน แล้ว พบว่า มีอยู่ 38 คนที่มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และ ข้อกฎหมายโดยแบ่งผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 38 คน เป็น 4 กลุ่มความผิดประกอบด้วย 1.ข้อกล่าวหา นางภารดีจงสุขธนามณี และพล.ท.พงศ์เอก อภิรักษ์โยธิน  กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระที่ 3 แต่ไม่ได้พิจารณาลงมติในวาระ 1 ขั้นรับหลักการ และวาระ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลำดับรายมาตรา โดยเฉพาะมาตรา 6 ที่มีการแก้ไขหลักการสำคัญมีผลทำให้บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งส.ว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพลงสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ว.ได้อีกโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 2 ปี

นายวิชัย กล่าวว่า 2 ข้อกล่าวหา นายประสิทธิ์ โพธสุธน นายสมชาติ  พรรณพัฒน์ พล.ต.ต.องอาจ สุวรรณสิงห์ นายดิเรก ถึงฝั่ง นายประวัติ ทองสมบูรณ์นายกฤช อาทิตย์แก้ว พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ นายภิญโญ สายนุ้ย นายไพบูลย์  ซำศิริพงษ์ นายสุเมธ ศรีพงษ์ พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ นายสุรพงษ์  ตันธนศรีกุล นายพีระ มานะทัศน์  นายสิทธิศักดิ์  ยนต์ตระกูล นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล นายรักพงษ์ ณ อุบลนายบวรศักดิ์ คณาเสน นายจตุรงค์ ธีระกนก นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง นายยุทธนา ยุพฤทธิ์และนายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร รวม 22 คน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 , 2 และ 3

3.ข้อกล่าวหา นายประเสริฐประคุณศึกษาพันธ์ นายโสภณ ศรีมาเหล็ก นายต่วน อับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ นายประดิษฐ์ ตันวัฒนะพงษ์ พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์นายวรวิทย์ บารู นายสุโข วุฑฒิโชติ นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง นายสุริยา ปันจอร์นายถนอม ส่งเสริม นายบุญส่ง โควาวิสารัช และนายวรวิทย์ วงษ์สุวรรณ์   รวม 13 คน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 และ 3  4. ข้อกล่าวหา นายวิทยา อินาลากรณีร่วมรายมือชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 และ 2


นายวิชัย กล่าวว่า จากการไต่สวนพบว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ทั้ง 38 คนได้เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไข กับร่างรัฐธรรมนูญที่บรรจุเข้าสู่วาระการประชุมเพื่อลงมติวาระ 1 ,2 และ 3 มีเนื้อหาไม่ตรงกัน  โดยมีการแก้ไขหลักการสำคัญให้ส.ว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพสามารถลงสมัครเป็นส.ว.ได้อีก โดยไม่ต้องรอให้พ้นตำแหน่ง 2 ปี ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่ลงมติไม่ปรากฎว่า มีส.ว.ร่วมลงชื่อรับรองร่างดังกล่าวทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ชอบตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญโดยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร ดังนั้นจากการไต่สวนจึงวินิจฉัยได้ว่าทั้ง 38 คนมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายเพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่รู้ว่าร่างที่ได้ลงมติไปนั้น เป็นร่างสอดไส้ที่เสนอโดยมิชอบ ข้ออ้างที่ว่า ไม่ทราบว่าร่างที่ลงมติเห็นชอบเป็นคนละฉบับกับที่ร่างที่เข้าชื่อเสนอเป็นเรื่องที่รับฟังไม่ขึ้น

 นายวิชัย กล่าวว่า ยืนยันว่า ป.ป.ช.มีอำนาจในการไต่สวนถอดถอนกรณีดังกล่าว แม้รัฐธรรมนูญปี 50 จะไม่มีผลบังคับใช้แล้ว แต่ประกาศคสช.ฉบับที่ 24/2557 ให้พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ยังมีผลบังคับใช้ต่อไปประกอบกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 มาตรา 6 ให้สนช.ทำหน้าที่เป็น ส.ส.และส.ว. ซึ่งสนช.มีข้อบังคับการประชุมปี 2557 ระบุให้สนช.มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ดังนั้นป.ป.ช.ย่อมมีอำนาจในการไต่สวนเรื่องดังกล่าวพร้อมส่งรายงานคำร้องถอดถอนมายังสนช.เพื่อดำเนินการถอดถอนได้.

222222222222
'สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย' บอก สนช. เร่งออกแบบใบลงมติใหม่ถอดถอน 38 อดีต ส.ว. เพื่อความรวดเร็ว ชี้ 'ดิเรก' หากถูกถอด ต้องให้ ป.ป.ช. ตีความ พ้น สปช. หรือไม่

(26/2/58)นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ในการลงมติถอดถอน 38 อดีต ส.ว. ในวันที่ 13 มี.ค. นี้ ทาง สนช. กำลังออกแบบใบลงมติใหม่ เพื่อให้มีความสะดวก และรวดเร็ว สำหรับการลงคะแนนในครั้งเดียว ส่วนเรื่องการลงมติของสมาชิกแต่ละคน ก็ถือเป็นเอกสิทธิ์ของแต่ละบุคคล โดยเชื่อว่า การแถลงเปิดคดี และการตอบข้อซักถาม ของทั้ง 2 ฝ่าย ที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 มี.ค. นี้ จะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของทุกคน ว่าจะลงมติถอดถอนหรือไม่ ได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ นายสุรชัย ยังกล่าวด้วยว่า หาก สนช. มีมติถอดถอน อดีต 38 ส.ว. ในส่วนของ นายดิเรก ถึงฝั่ง ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้น จะต้องให้คณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตีความอีกครั้ง ว่า สปช. ถือเป็นตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ และต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ เหมือนกับที่ตีความเรื่องการยื่นบัญชีทรัพย์สินเป็นต้น ส่วนการถอดถอน อดีต ส.ส. 250 คน ที่ ป.ป.ช. มีมติไปนั้น ต้องรอให้มีการส่งสำนวนมายัง สนช. ก่อน จึงจะเริ่มกระบวนการต่าง ๆ ได้ตามข้อบังคับต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: