PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

จนท.วางกำลังเข้มรับ สกน. เจรจา ม.ล.ปนัดดา ทบทวนแผนแม่บทป่าไม้

จนท.วางกำลังเข้มรับ สกน. เจรจา ม.ล.ปนัดดา ทบทวนแผนแม่บทป่าไม้

จนท.ทหาร-ตำรวจวางกำลังเข้มรอบศาลากลางเชียงใหม่ พร้อมกล่อมชาวบ้านที่รอฟังผลเจรจาระหว่าง ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล และผู้แทนเสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ โดยฝ่ายชาวบ้านเสนอให้ทบทวนคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 64 และ 66 รวมทั้งแผนแม่บทป่าไม้ที่ขัดขวางแนวทางคนอยู่ร่วมกับป่า
ดิเรก กองเงิน และตัวแทน สกน. 4 คน เดินเท้าจากอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย มาถึงศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเข้าเจรจาเรื่องป่าไม้และที่ดิน กับ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางการวางกำลังของเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจ รอบศาลากลาง (ที่มา: เพจพลิกฟื้นผืนดินไทย)
13 พ.ย. 2557 - ตามที่เมื่อวันที่ 9 พ.ย. ทหารจากมณฑลทหารบกที่ 33 (มทบ.33) ได้สกัดไม่ให้สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) และกลุ่มประชาสังคมต่างๆ ทำกิจกรรม "เดิน ก้าว แลก เพื่อการปฏิรูปที่ดินไทย" โดยระบุว่าขัดต่อกฎอัยการศึก และช่วงบ่ายทหารได้การจับกุมผู้พยายามเดินรณรงค์ ก่อนมีการเจรจาให้ปล่อยตัว และตกลงกับทหารว่าจะยุติการจัดกิจกรรม และรอพบ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ดาวพงศ์ รัตนสุวรรณ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)
ขณะที่เมื่อวานนี้ (12 พ.ย.) พ.อ.โภคา จอกลอย รอง ผบ.มทบ.33 เดินทางมาที่สำนักงาน สกน. เพื่อเจรจากับแกนนำ สกน. ที่จะเดินทางไปพบ ม.ล.ปนัดดา ที่ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ โดยขอให้งดสวมเสื้อสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม "เดิน ก้าว แลกฯ" อย่างไรก็ตามแกนนำไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ โดยระบุว่าไม่สามารถบังคับให้ใครใส่หรือไม่ใส่เสื้ออะไรได้ แต่จะพยายามทำให้กิจกรรมเป็นไปอย่างเรียบร้อย (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)
ต่อมาเช้าวันที่ 13 พ.ย. ดิเรก กองเงิน และตัวแทน สกน. รวม 4 คน ได้เดินเท้ามาจากอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ผ่าน ถ.ห้วยแก้ว ถ.คันคลองชลประทาน เพื่อมาที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ตามที่นัดเจรจากับ ม.ล.ปนัดดา รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ขณะที่ภายในอาคารศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ และด้านนอกมีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจตรึงกำลังเข้ม
ทหารเดินมาพูดคุยกับชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่มานั่งรอให้กำลังใจแกนนำ สกน. และมารอฟังผลเจรจาอยู่ภายนอกด้วย (ที่มา: เพจพลิกฟื้นผืนดินไทย)

ขณะเดียวกันในเพจ "พลิกฟื้นผืนดินไทย" เผยภาพทหารเดินมาพูดคุยกับชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่มานั่งรอให้กำลังใจแกนนำ สกน. และมารอฟังผลเจรจาอยู่ภายนอกด้วย
ต่อมาเมื่อเวลา 10.40 น. ที่ห้องประชุมชั้น 3 ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายดิเรก พร้อมตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ยื่นหนังสือต่อ ม.ล.ปนัดดา เสนอให้แก้ไขปัญหาผลกระทบจากแผนแม่บทป่าไม้ และคำสั่ง คสช.ที่ 64 และ 66/2557 การพิจารณาแนวทางการทบทวนแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และเสนอให้พิจารณาการดำเนินการของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ให้พิจารณาโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน การดำเนินการโฉนดชุมชน พิจารณาการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม แนวทางการผลักดันนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม ติดตามการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง และให้พิจารณาการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม

สถานการณ์ข่าว 14พ.ย.57

สนช.งด

สนช. งดประชุม ขณะ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ชัดรายชื่ออนุกรรมาธิการ 11 คณะ วันนี้ ยัน พร้อมทำงานสัปดาห์หน้า

ความเคลื่อนไหวที่รัฐสภา วันนี้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีคำสั่งงดประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ยังมีสมาชิก สนช. มาประชุมส่วนงานกรรมาธิการวิสามัญชุด
ต่าง ๆ หลายคณะ อาทิ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการผังเมืองและการใช้พื้นที่ คณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระ
ราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม ขณะเดียวกัน เวลา 09.30 น. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นัดประชุม โดยวันนี้จะมีความชัดเจนรายชื่อในคณะอนุกรรมาธิการทั้ง 11 คณะ ที่จะเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญ พร้อมประชุมได้ในสัปดาห์เป็นต้นไป และจากนี้ไป คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะยังเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ควบคู่ไปกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนด
------
"จเร" เตรียมเปิดโครงการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถ สปช. - กมธ.รธน. ขณะช่วงบ่าย "เทียนฉาย" บรรยายพิเศษ

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดโครงการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถในการปฏิบัติงานสนับสนุนกระบวนการนิติบัญญัติ สปช. และคณะ กมธ.ยกร่าง รธน.อย่างมืออาชีพ ประจำปีงบประมาณ 2558 เพื่อบูรณาการองค์ความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติงานของสำนักกรรมาธิการ 1, 2 และ 3 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ สปช. ทั้งนี้ งานจะเริ่ม เวลา 08.30-15.30 น. ที่ห้องประชุมรักตะกนิษฐ โรงแรมสวนดุสิตเพลส มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งในเวลา 09.30 น. นายจเร  พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะเป็นประธานในพิธีเปิดสัมมนาและบรรยายพิเศษเรื่อง “แนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับการดำเนินงานของคณะ กมธ.สปช. และคณะ กมธ.ยกร่าง รธน.”

นอกจากนี้ ในเวลา 13.00 น. นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.จะมอบนโยบาย และบรรยายพิเศษเรื่อง “มุมมองในการปฏิรูปประเทศ ทิศทางในการดำเนินงานของ สปช. และคณะ กมธ.”
---------
กมธ.ยกร่าง รธน. ทยอยร่วมประชุมแล้ว จับตาสถานะ สนช. - สปช. รวม 3 คน หลัง ป.ป.ช. มีมติส่งสำนวนถอด 38 ส.ว.

บรรยากาศที่รัฐสภา การรักษาความปลอดภัย ยังเป็นไปอย่างเข้มงวด ถึงแม้ไม่มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ล่าสุด กรรมาธิการเข้าประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนญแล้ว โดยมี นาย
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการดำเนินการประชุม ซึ่งวันนี้จะรวมรายชื่อในสัดส่วนต่างๆ ของคณะอนุกรรมาธิการทั้ง 11 คณะ ต้องเสร็จสิ้นในวันนี้ เพื่อประกาศแต่งตั้งและดำเนินงานในสัปดาห์หน้า ขณะเดียวกัน ภายหลัง คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติส่งรายงานไต่สวน 38 ส.ว. กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมิชอบ ประเด็นที่มา ส.ว. มาให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาถอดถอด พบว่ามีรายชื่อสมาชิก สปช. 2 คน คือ นายดิเรก ถึงฝั่ง พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ และสมาชิก สนช. 1 คน คือ พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์ ดังนั้น ต้องติดตามสถานะว่า ทั้ง 3 คน มีความเหมาะกับการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหรือไม่
---------------
สปช. "เสรี" จ่อชงโครงสร้างทางการเมือง เชื่อ รธน.ถาวร แก้ขัดแย้งได้ ขอ สผ. จัดสรรงบประมาณโปร่งใส

นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม กล่าวว่า ต้องการเสนอให้มีโครงสร้างทางการเมืองที่สมบูรณ์ และสร้างความเข้มแข็ง พร้อมคานอำนาจ เพื่อให้ประเทศมีความสงบสุข นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า ในการทำหน้าที่ของ สปช. จะต้องไม่มีการถอยหลัง และเชื่อว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องมีการเดินไปข้างหน้า และแก้ปัญหาความขัดแย้งในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ต้องการให้ทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดสรรงบประมาณการใช้จ่ายให้ชัดเจน โปร่งใส รวมถึงการกำหนดเงินประจำตำแหน่ง เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้งบประมาณ
--------------
"เทียนฉาย" มอบนโยบายแก่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เน้นย้ำทำงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้มอบนโยบาย และบรรยายพิเศษเรื่อง “มุมมองในการปฏิรูปประเทศ ทิศทางในการดำเนินงานของ สปช. และคณะ กมธ.” ให้แก่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการทำงานที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ยังได้กล่าวถึงวิธีการลงคะแนนแบบใส่ซองแล้วเปิดซองเพื่อนับคะแนน มองว่าการนับแบบนี้มันล่าช้าเกินไป จึงเสนอว่าในวันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน นี้ ที่จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ 5 คณะ ให้เขียนใส่กระดาษที่แจกเลย ไม่ต้องใส่ซอง

นอกจากนี้ นายเทียนฉาย ยังกล่าวว่า รู้สึกกังวลในการทำงานของสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หากระบบการทำงานยังคงเป็นแบบเดิม การปฏิรูปประเทศคงไม่สำเร็จทันกรอบระยะเวลา 1 ปี
อย่างไรก็ตาม ต้องการให้มีการกำหนดนิยามคำว่า "การมีส่วนร่วมของประชาชน" อย่างชัดเจน
-------------------
เทียนฉาย รับ การปฏิรูปต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด ควรยึดตามกรอบ ใน รธน.ชั่วคราว 

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า การปฏิรูปต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวความคิด หลักการ รวมทั้งองคาพยพ ต้องอาศัยการปรับรื้อระบบหรือโครงสร้างก่อนถึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งเป้าหมายของการปฏิรูปควรยึดกรอบตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ซึ่งมี 6 ข้อ คือ ต้องทำให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข มีความเหมาะสมกับสังคมไทย มีระบบเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกขจัดการทุจริต คอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม มีกลไกของรัฐที่ให้บริการกับประชาชนทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปได้แบ่งออกเป็น 18 ด้าน เพื่อไปสู่เป้าหมายทั้ง 6 ข้อ โดยอาจมีการแบ่งประเด็นแยกย่อยออกไปอีก เพื่อให้ชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น
--------------
"เทียนฉาย" ยัน ม.35 ไม่กระทบการยกร่าง รธน. ย้ำเป็นกลาง 17 พ.ย. นี้ เปิดศูนย์รับฟังความเห็นเป็นทางการ 

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า ในการเปิดรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน จะเปิดศูนย์อย่างเป็นทางการในวันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน นี้ ซึ่งจะเปิดรับความคิดเห็นอย่างเสรี ตามมาตรา 35 โดยมีความเป็นกลาง ไม่อคติ โปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม และจะทำอย่างมีกระบวนการ

นอกจากนี้ การรับฟังความเห็นประชาชนสามารถทำได้ท่ามกลางกฎอัยการศึก และไม่มีปัญหาต่อการทำงานของ สปช. ในการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนโดยจะต้องนำเรื่องนี้หารือต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขณะเดียวกัน ต้องมีกลไกที่จะทำให้กรรมาธิการปฏิรูปทั้ง 18 คณะที่ความเชื่อมโยงกัน

ทั้งนี้ ด้วยเวลาที่จำกัด สปช. อาจจะไม่สามารถปฏิรูปได้ในประเด็นที่ปลีกย่อยแต่จะต้องปฏิรูปในเรื่องหลัก ๆ ให้สำเร็จตามกรอบระยะเวลา
------------------
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เผย 3 พรรคการเมืองตอบรับแล้ว คาดเพื่อไทยมาต้นเดือนธันวาคม พร้อมยืนยันเลื่อนหารือไม่กระทบกรอบทำงาน

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้เปิดให้กรรมาธิการพิจารณาในหมวดที่ 7 การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และภาค 3 นิติธรรม ศาล และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รวมถึงได้รายชื่อของอนุกรรมาธิการ ทั้ง 10 คณะ อย่างไม่เป็นทางการเรียบร้อยแล้ว พร้อมรอประกาศแต่งตั้งเป็นทางการในวันที่ 17 พฤศจิกายน นอกจากนี้ ยังรายงานความคืบหน้าในการเชิญพรรคการเมืองต่าง ๆ และกลุ่มที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกัน ซึ่งยังไม่มีฝ่ายใดปฏิเสธการเข้าร่วมชี้แจงความเห็น โดยได้ประสานเป็นการภายในแล้ว แต่อาจมีการเลื่อน หรือเปลี่ยนแปลงกำหนดการ

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้มีพรรคการเมืองที่ตอบรับเข้าร่วมแล้ว 3 พรรค คือ พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังชล และพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคเพื่อไทย คาดว่า จะเข้าร่วมช่วงต้นเดือนธันวาคม พร้อมยืนยันการเลื่อนกำหนดการหารือออกไปใหม่ส่งผลกระทบต่อกรอบการทำงานของกรรมาธิการ
--------------
"เทียนฉาย" ไม่ทราบรายละเอียด ทหารบีบ ไทยพีบีเอส ยุติการนำเสนอ รายการเสียงประชาชนต้องฟังก่อนปฏิรูป

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงกรณีทหารกลุ่มหนึ่งเดินทางเข้าพบผู้บริหารไทยพีบีเอส ให้ยุติการนำเสนอ รายการเสียงประชาชนต้องฟังก่อนปฏิรูป และ ถอด นางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ ออกจากการเป็นผู้ดำเนินรายการ เนื่องจากไม่พอใจการตั้งคำถามและมีเนื้อหาพาดพิงการรัฐประหารรวมอยู่ด้วย ว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดของเรื่องนี้  แต่การรับฟังความเห็นในส่วนของ สปช. จะต้องรอการตั้งกรรมาธิการการมีส่วนร่วมก่อน รวมถึงกระบวนการเทคนิควิธีในการรับฟังความเห็น ซึ่งจะมีความชัดเจน ในวันจันทร์ที่ 17 พ.ย. นี้

นอกจากนี้ มองว่ากรณีที่เกิดขึ้น ไม่ได้นำมาเป็นเกณฑ์ที่จะรับฟังความเห็นประชาชนของ สปช. และการตีกรอบของ คสช. จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการดังกล่าวด้วย เนื่องจาก สปช. ดำเนินการตามกรอบของรัฐธรรมนูญ ซึ่งอยู่คนละส่วนกัน
/////
ถอดถอน

"กฤช" รับ เจตนาแก้ไข รธน. ที่มา ส.ว. เผย ยังไม่ได้พูดคุยกลุ่มเพื่อน ยัน เคารพการตัดสินใจผู้มีอำนาจ

นายกฤช อาทิตย์แก้ว อดีต ส.ว.กำแพงเพชร และผู้ถูกกล่าวหาลำดับที่ 267 กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. เปิดเผยสำนักข่าว INN หลัง ป.ป.ช. มีมติส่งสำนวน 38 อดีต ส.ว. ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาถอดถอน นั้น ว่า มีเจตนาแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. หากมีโอกาสและสามารถทำได้ เนื่องจากเป็นนโยบายขณะหาเสียง และพร้อมต่อสู้ แต่ยังไม่ได้มีการพูดคุยถึงการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวกับเพื่อน ส.ว. อีก 37 คน ซึ่งอาจจะมีการพูดคุยกับในกลุ่มเล็กที่สนิทกันก่อน

อย่างไรก็ตาม หากมีโอกาสเป็น ส.ว. อีกครั้ง และรัฐธรรมนูญ ยังไม่เป็นประชาธิปไตย ยืนยันว่าจะแก้ไขอีกครั้งอย่างแน่นอน ทั้งนี้ เคารพในการตัดสินใจของผู้มีอำนาจ และ สนช. จะรับเรื่องหรือมีมติในเรื่องดังกล่าวอย่างไร ก็ต้องรอ
-------------------
"จเร" เผย หลังมี 5 กมธ. จ่อตั้งคณะทำงานรวบรวมข้อเสนอแนะ ขณะ 17 พ.ย. ปธ.สปช. เปิดศูนย์รับฟังความเห็นปฏิรูป

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า การดำเนินของสำนักงานเลขาธิการฯ ขณะนี้ จะทำงานร่วมกันโดยแบ่งเป็นทีมการทำงาน เพื่อให้มีเจ้าหน้าที่เพียงพอ ทั้งนี้ มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการติดตามให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการรับฟังความเห็นประชาชน ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

นอกจากนี้ หลังจากตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 5 คณะ แล้ว สำนักงานสภาผู้แทนราษฎร จะต้องตั้งคณะทำงานเพื่อสนับสนุนและรวบรวมข้อมูล พร้อมเสนอต่อคณะกรรมาธิการ ซึ่งในส่วนการรับฟังความเห็นประชาชน จะใช้ 3 ช่องทาง คือ ไปรษณีย์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และเว็บไซต์รัฐสภา รวมทั้งจะเปิดรับฟังความเห็นผ่านรายการวิทยุรัฐสภา และสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 17 พ.ย. ช่วงบ่าย ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะเป็นประธานเปิดศูนย์รับฟังความคิดเห็นในการปฏิรูป ภายในอาคารรัฐสภา เพื่อรับข้อเสนอจากประชาชนที่สามารถเข้ามายื่นเรื่องด้วยตนเอง โดยเจ้าหน้าที่จะรวบข้อเสนอต่างๆ เป็นรายวัน เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความเห็นพิจารณา จากนั้น จึงรายงานให้ประชาชนรับทราบ
---------------
"พล.อ.เลิศรัตน์" เชื่อ เพื่อไทย เข้าร่วมถก กมธ.ยกร่าง แนะพรรคทำหนังสือขอ คสช. ชี้ ทำประชามติ ต้องแก้ รธน.ชั่วคราว

พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มั่นใจว่า ทุกพรรคการเมืองและกลุ่มคู่ขัดแย้งจะเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมาธิการยกร่างร่างรัฐธรรมนูญ เพราะคงต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แต่อาจจะติดในเรื่องของห้วงเวลาที่อาจต้องขอเลื่อนออกไปบ้างเพื่อการเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ที่มีกระแสข่าวจะไม่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นนั้น เห็นว่า อาจยังไม่พร้อมมาตามกำหนดเชิญ สำหรับข้ออ้างของพรรคการเมือง ที่ระบุว่า ยังไม่พร้อมให้ความเห็น เพราะไม่สามารถประชุมกรรมการบริหารพรรคได้ เนื่องจากติดคำสั่งห้ามของ คสช. นั้น พรรคการเมืองสามารถทำหนังสือ ถึง คสช. เพื่อขอประชุมกรรมการบริหารพรรคตามเงื่อนไขได้ และจะได้การตอบรับโดยเร็ว

อย่างไรก็ตาม หากจะมีการทำประชามติ ทาง คสช. และรัฐบาล ต้องกลับไปแกรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ก่อน
----------------
ปธ.สนช. - รองฯ เตรียมหารือ กรณีถอดถอน 38 อดีต ส.ว. "พล.ต.กลชัย" ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวหรือไม่

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติส่งรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาถอดถอน 38 ส.ว. กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว. ว่า ตามกระบวนการเมื่อสำนวนมาถึง ประธาน สนช. จะต้องบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมภายใน 30 วัน เพื่อพิจารณาถอดถอน ส่วน พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์ ที่เป็นสมาชิก สนช. จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวหรือไม่ คงต้องมาพิจารณาก่อนว่าตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ที่กำหนดว่า สนช. ทำหน้าที่ ส.ส.-ส.ว. แต่ถือว่าเป็น ส.ส.-ส.ว. หรือไม่

ขณะที่ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) คือ นายดิเรก ถึงฝั่ง และ พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ นั้น คงไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ในวันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายนนี้ ประธาน และ รองประธาน สนช. จะหารือกันเพื่อความชัดเจน
-------------
ประธาน ป.ป.ช. เผย อาจส่ง "วิชา - สรรเสริญ" เข้ารายงานข้อมูลต่อ สนช. วันแถลงเปิดคดี "ยิ่งลักษณ์"

นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงกรณีการส่งตัวแทนเข้าร่วมในวันแถลงเปิดคดีถอดถอนของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในกรณีไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าวว่า ขณะนี้ ยังไม่ได้รับหนังสือนัดหมายจากประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แต่เบื้องต้นคาดว่าจะส่ง นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. และตัวแทนคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีกล่าวเป็นผู้เข้าให้ข้อมูลกับ สนช. ซึ่งอาจจะมีการนำข้อมูลตัวเลขการสรุปปิดบัญชีข้าวของกระทรวงการคลังที่พบว่ามีความเสียหายกว่า 6 แสนล้านบาท รายงานต่อ สนช. ด้วย

อย่างไรก็ตาม นายปานเทพ เปิดเผยว่า สำหรับการตัวแทนคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในคดีโครงการรับจำนำข้าวของ นางสาวยิ่งลักษณ์ คือ นายวิชา มหาคุณ ซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงในคดีกังกล่าว
------------------
ป.ป.ช. บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สนง. ครบรอบ 15 ปี ขณะ 17 พ.ย. "อ.เฉลิมชัย" บรรยายพิเศษ “ทุจริตคิด โกงชาติ จะพินาศทั้งราษฎร์รัฐ”

วันนี้ ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีการจัดทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในสำนักงาน เนื่องจากอยู่ในช่วงครบรอบ 15 ปี ของ สำนักงาน ป.ป.ช.
โดย นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า ในวันนี้ทาง ป.ป.ช. ได้จัดพิธีทางศาสนาเนื่องในวันสถาปนาสำนักงาน โดยได้
มีการสักการะศาลเจ้าที่ ศาลตายายประจำสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อเป็นสิริมงคล โดยในวันที่ 17 พ.ย. 2557 จะมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ทุจริตคิด โกงชาติ จะพินาศทั้งราษฎร์รัฐ” โดย อ.เฉลิมชัย โฆษิต
พิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ และวันที่ 18 พฤศจิกายน มีการสัมมนาวิชาการ “คอร์รัปชันในระบบราชการ : ต้องทำอะไรต่อ?” ซึ่งถือเป็นกิจกรรมเนื่องในวันครบรอบ 15 ปี ป.ป.ช.

อย่างไรก็ตาม วันนี้ เวลา 14.29 น. คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะเดินทางไปบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำนักงาน ป.ป.ช. ถนนพิษณุโลก ด้วยเช่นกัน
----------------
ปธ.ป.ป.ช. เผย ประชุมร่วม อสส. ครั้งต่อไป ต้องได้ข้อสรุปคดี "ยิ่งลักษณ์" ยัน หาก อสส. ไม่ส่งฟ้อง จะดำเนินการเอง

นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงการประชุมของคณะทำงานร่วมอัยการสูงสุด (อสส.) และ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาคดีโครงการรับจำนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า กรณีที่ อสส. ขอให้ไต่สวนพยานเพิ่มเติมนั้น ป.ป.ช. เห็นว่าพยานเดิมนั้นเพียงพอแล้ว แต่ในส่วนของเอกสารจะพยายามหาเพิ่มเติให้ ซึ่งในการประชุมครั้งที่แล้ว ทาง อสส. รับปากว่าจะนำข้อเสนอของทาง ป.ป.ช. ไปพิจารณา

ทั้งนี้ ตามหลักการแล้วในการประชุมครั้งต่อไปควรได้ข้อสรุปว่า ทาง อสส. จะเป็นส่งสำนวนคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ ซึ่งทาง
ป.ป.ช. ยืนยันว่า ต้องการให้ อสส. เป็นผู้ส่งฟ้อง แต่หาก อสส. ไม่ส่ง ทาง ป.ป.ช. ก็จะนำเรื่องมาดำเนินการเอง

ขณะที่ นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ประชุมครั้งต่อไป แต่มีการตั้งคณะทำงานแต่ละฝ่ายเพื่อประสานงานกันในเบื้องต้นแล้ว

--------------
"นิคม" ไม่กังวลโดนถอดถอน แถลงค้าน ป.ป.ช. 12 ธ.ค. ขอ สนช. พิจารณารอบคอบ ขณะกำหนดวันลงมติ 26 ธ.ค. 

นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา เปิดเผย สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 57 จะเป็นการประชุมนัดแรกของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อกำหนดวันแถลงเปิดคดีถอนถอน พร้อมทั้งพิจารณาพยานหลักฐานเพิ่มเติม ทั้งนี้ ไม่มีความกังวลต่อการชี้แจงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. แต่ในวันดังกล่าว จะไม่ได้เดินทางไปด้วยตนเอง แต่จะเดินทางไปในวันแถลงเปิดคดี โดย สนช. จะประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง และวันลงมติคือวันที่ 26 ธันวาคม 57 โดยต้องได้เสียง 3 ใน 5 ขณะที่เชื่อว่า สนช. จะใช้วิจารณญาณพิจารณาอย่างรอบคอบ

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 12 ธันวาคม 57 ป.ป.ช. จะเดินทางไปแถลงต่อ สนช. และ นายนิคม จะแถลงค้านพร้อมหลักฐาน เชื่อว่า ในวันดังกล่าวหากมีการถ่ายทอด ประชาชนจะเข้าใจและทราบถึงข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว ว่าผู้ใดที่เจตนาจงใจไม่ปฏิบัติตามหลักนิติธรรม
----------------
"วิชา" ระบุ สนช.-สปช. มีชื่ถูกถอดถอน ไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ชี้ เพราะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดิมแล้ว

นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงกรณีที่มีรายชื่อสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จำนวน 3 ราย อยู่ในสำนวนถอดถอนอดีต 38 ส.ว. กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา ส.ว. โดยมิชอบที่ ป.ป.ช. มีมติส่งให้ สนช. พิจารณาถอดถอนว่า บุคคลดังกล่าวไม่จำเป็นต้องยุติปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 เนื่องจากขณะนี้ไม่ได้มีบทบาทหน้าที่เป็น ส.ว. แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็น สนช. และ สปช. ต่อไปได้ เนื่องจากทั้ง 3 คน ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดิมแล้ว

อย่างไรก็ตาม หาก สนช. เห็นว่า ทั้งสามคนจำเป็นต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อน ก็เป็นหน้าที่ของ สนช. ที่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความต่อไป แต่ ป.ป.ช. เห็นว่าไม่จำเป็น
////////////
นายกฯเคลื่อนไหว

นายกฯ เข้าปฏิบัติงานทำเนียบแล้ว ก่อนเดินทางบันทึกเทปกล่าวถวายราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุดในช่วงนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เดินทางเข้ามาที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว เมื่อเวลาประมาณ 10.05 น. โดยคาดว่าเข้ามาปฏิบัติงานตามปกติ เนื่องจากในช่วงเช้า ไม่มีวาระงานพิเศษ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี จะเดินทางไปบันทึกเทปโทรทัศน์ กล่าวคำถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2557 ที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ
-----------------
โฆษกรัฐบาล ประชุมตัวแทนทุกกระทรวง เตรียมแถลงผลงาน 3 เดือน 

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับผู้แทนทุกกระทรวง เพื่อวางแนวทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร โดยกล่าวก่อนการประชุมว่า เป็นการเตรียมวางแผนนำเสนอผลงานของรัฐบาลในรอบ 3 เดือน ซึ่งจะมีการแถลงให้ประชาชนได้รับทราบในช่วงต้นเดือน ธ.ค. หลังได้รวบรวมและสรุปผลการดำเนินงานทั้งหมด ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายที่ดำเนินการไปแล้ว และประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะเรื่องการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร การขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน การสนับสนุนการปฏิรูปและการสร้างความปรองดองในประเทศ

ขณะเดียวกัน โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังระบุว่า ส่วนของขวัญที่เตรียมจะมอบให้กับประชาชนในช่วงปีใหม่นั้น จะมีทั้งเรื่องของการดำเนินงานด้านกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และร่างกฎหมายที่ค้างการพิจารณาให้มีความทันสมัย รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์ดำรงธรรมทั่วประเทศ และศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ โดยให้ กระทรวงมหาดไทย เข้าดำเนินการอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งการดูแลประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในต่างประเทศด้วย
----------------
พล.อ.อนุพงษ์ รับ ผังเมืองยังมีปัญหาด้านกฎหมาย เร่งแก้ปัญหา รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ ลุยต้านคอร์รัปชั่น 

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์หลังจากที่ประธานหอการค้าไทย สภาหอการค้าไทย และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) เข้าพบ ว่า ได้มีการ
เสนอแนวความคิดที่จะทำให้การทำงานของ กรอ. ดีขึ้น ทั้ง กรอ. จังหวัด และ กรอ. กลุ่มจังหวัด รวมถึงในเรื่องของผังเมืองที่ยังมีปัญหาทางกฎหมายอยู่มาก เนื่องมาจากนโยบายที่นายกรัฐมนตรี
จะทำเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพราะหากจะให้ผังเมืองเกิดขึ้นได้เร็วก็อาจต้องแก้ไขกฎหมาย เพื่อตอบสนองโครงการแล้วจึงจะนำข้อสรุปไปเสนอต่อรัฐบาล นอกจากนี้ ยังได้หารือกันถึงเรื่องที่นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ถึงแนวทางขององค์กรต่อต้านคอรัปชั่น อย่างไรก็ตาม ในการหารือครั้งนี้ สภาหอหารค้า และ กรอ. ไม่ได้มีการเสนอให้ คสช. ยกเลิกกฎอัยการศึกแต่อย่างใด
-------------------
นายกฯ บันทึกเทปอาเศียรวาท วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. พร้อมคณะได้เดินทางมาที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เพื่อบันทึกเทปอาเศียรวาท เนื่องใน
โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบรอบ 87 พรรษา 5 ธันวาคม 2557 ซึ่งการบันทึกเทปวันนี้มี 6 คณะ ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นประธานนำกล่าวอาเศียรวาท ขณะเดียวกันยังมี คณะกระทรวงกลาโหม คณะกระทรวงการต่างประเทศ และคณะกองบัญชาการกองทัพเรือด้วย โดยจะมีการออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบบก ในวันที่ 5 ธันวาคมนี้
////////////
สปช.สายสื่อ เรียกร้อง คสช. - รัฐบาล ยกเลิกประกาศ 97 - 103 อ้างเหตุทหารบุก TPBS กดดันการทำงาน

นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านสื่อ กล่าวว่า สื่อมวลชนมีความสำคัญอย่างมากในช่วงที่มีการปฏิรูปประเทศ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การทำหน้าที่ของสื่อจะเป็นตัวชี้ว่า การปฏิรูปครั้งนี้จะสำเร็จหรือไม่ อยู่ที่บทบาทของสื่อ หากสื่อสามารถทำหน้าที่ได้โดยไม่ถูกขัดขวาง มีเสรีภาพบนความรับผิดชอบ ที่ผ่านมาตนได้นำปัญหาและอุปสรรคของการทำหน้าที่ของสื่อ ไปแจ้งต่อที่ประชุมวิป สปช. โดยเฉพาะประกาศ คสช. ฉบับที่ 97 และ 103 ที่เป็นอุปสรรคของสื่อในการเชิญบุคคลไปปออกรายการทีวี ทั้งนี้ เพื่อให้ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. สื่อสารไปยังนายกรัฐมนตรีและคณะคสช. ถึงอุปสรรคว่าควรมีการผ่อนคลาย ให้สื่อสามารถทำหน้าที่ได้อย่างตรงไปตรงมา อย่างกรณีเรื่องที่เกิดขึ้นกับรายการ “เสียงประชาชน” ของสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส (TPBS) ที่มีข่าวว่า มีทหารกลุ่มหนึ่งเข้าไปกดดัน จะทำให้เกิดความเข้าใจผิด และสร้างภาพลักษณ์ และบรรยากาศที่ไม่ดีของการทำหน้าที่ของสื่อ


คสช.ใส่เกียร์ถอย !! ยกเลิกคำสั่ง ‘ปิดปากสื่อ’

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 26 กรกฎาคม 2557 

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -อุ๊ตะ !! นึกว่าประเทศไทยกลายเป็น ‘เผด็จการทหาร’ สมบูรณ์แบบไปเสียแล้ว เพราะอยู่ๆ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่นำโดย ‘บิ๊กตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ออกประกาศฉบับที่ 97/2557 เมื่อวันที่ 18 ก.ค.2557 เรื่องการให้ความร่วมมือกับ คสช. และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าตกใจ และปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาซึ่งเสียงวิจารณ์จากสื่อแทบทุกสำนักว่าการเป็นการออกคำสั่ง 'ปิดปากสื่อ'
       
       เนื่องเพราะ ในข้อ 3 (3) และข้อ 5 ของประกาศฉบับดังกล่าวระบุชัดว่าห้ามวิพากษ์วิจารณ์ คสช. หากสื่อใดฝ่าฝืนก็มีโทษถึงขั้น 'ถูกปิด' กันเลยทีเดียว โดยข้อ 3 (3) ระบุว่า ..ให้งดเว้นการวิพากษ์ วิจารณ์การปฏิบัติงานของ คสช. เจ้าหน้าที่ของ คสช. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ในข้อ 5 ระบุว่า ...ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 2 หรือ 3 ให้ระงับการจำหน่าย จ่าย แจก หรือเผยแพร่สื่อพิมพ์ รวมทั้งการออกอากาศของรายการดังกล่าวโดยทันที และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายที่กำหนดความผิดฐานนั้นดำเนินการตามกฎหมาย
       
       นอกจากนั้นยัง ประกาศในข้อ 3(4) ยังระบุว่า..ห้ามเผยแพร่ ข้อมูลเสียง ภาพ วิดีทัศน์ ความลับของการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่างๆ ….....ซึ่งบรรดาองค์กรสื่อมองว่าข้อห้ามในลักษณะนี้เป็นอุปสรรคต่อการนำเสนอข่าวกรณีทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งสื่อจำเป็นต้องมีหลักฐานทางราชการมาประกอบการในการนำเสนอข่าว เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงและป้องกันการถูกฟ้องร้องจากผู้ที่เกี่ยวข้องว่าสื่อกลั่นแกล้งทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง
       
       แปลกันง่ายๆไม่อ้อมค้อมก็คือ คสช. กำลังสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นองค์กรที่ 'แตะต้องไม่ได้' และหากสื่อสำนักไหนกล้าแตะ ก็อาจถูก คสช.เล่นงานถึงขั้น 'สั่งปิด'
       
       ถามว่าหากเป็นเช่นนั้นจริงประเทศไทยจะต่างอะไรกับประเทศที่ปกครองด้วยเผ็ดการ ? เพราะคำสั่งดังกล่าวไม่ใช่เพียงแค่การ 'ปิดปากสื่อ' เท่านั้น แต่ยังเป็นการ 'ปิดหูปิดตาประชาชน' อีกด้วย
       
       ปฏิเสธไม่ได้ว่าขณะนี้ คสช.มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการจัดการทุกเรื่อง ทุกองค์กร ทุกโครงการ ในประเทศไทย ไม่เว้นแม้แต่เรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายและการจัดสรรงบประมาณ หนำซ้ำยังสามารถเรียกบุคคลใดมารายงานตัวก็ได้ ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นไปได้ อย่างไรที่ คสช.ซึ่งล้วนแต่เป็นทหารในกองทัพจะรู้ลึกรู้จริงและสามารถพิจารณาตัดสินใจในทุกเรื่องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไร้ข้อผิดพลาด และ คสช.ต้องไม่ลืมว่าสื่อไม่ได้มีหน้าที่พีอาร์หรือเชลียร์ผู้มีอำนาจ หากแต่มีหน้าที่นำเสนอข้อเท็จจริงและติดตามตรวจสอบการทำงานของผู้ที่อาสามารับใช้บ้านเมือง ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะมาจากกลไกการเลือกตั้ง หรือการปฏิวัติรัฐประหาร หาก คสช.ไม่รับฟังข้อท้วงติงของสื่อ คสช.จะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่พวกท่านกำลังทำนั้นก่อให้เกิดปัญหาอะไรตามมาหรือไม่ ? หรือกำลังพาประเทศไทยดิ่งเหวหรือเปล่า ? ขณะเดียวกันประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจะรู้ได้อย่างไรว่า คสช.กำลังทำอะไรกับบ้านนี้เมืองนี้ ? และจะส่งผลดีผลเสียอย่างไร ?
       
       และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ หาก คสช. ตั้งใจเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองอย่างแท้จริง มุ่งมั่นทำดี โปร่งใส เหตุใดต้องกลัวการตรวจสอบ ? และเหตุใดจึงรับไม่ได้กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ? 
       
       เป็นธรรมดาที่ทันทีที่มีประกาศดังกล่าวออกมา บรรดาสื่อทุกสำนักจึงออกมาคัดค้านกันถ้วนหน้า กลายเป็นประเด็นร้อนที่ทำเอา คสช.นั่งไม่ติด ต้องส่งเทียบเชิญตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อจาก 4 องค์กร อันประกอบด้วย นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย , นายวิสุทธ์ คมวัชรพงษ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย , นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย , นายจักรกฤษณ์ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และนายภัทระ คำพิทักษ์ อดีตนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ในฐานะตัวแทนสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มาพบปะหารือเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ โดยมี พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้รับมอบหมายจาก คสช.เป็นตัวแทนฝ่ายกองทัพมาเจรจาไกล่เกลี่ย
       
       งานนี้ พล.อ.สุรศักดิ์ กระแอมกระไออ้างว่าเป็นเรื่องของการเข้าใจผิด เนื่องจากสื่อสารไม่ตรงกัน เนื่องจากประกาศฉบับที่ 97 ของ คสช.นั้น เกิดจากการรวมประกาศฉบับที่ 14 และ 18 เข้าด้วยกัน ด้วยเจตนาที่ต้องการให้ 'องค์กรสื่อเข้มแข็ง' และอยากให้ 'สื่อคุมกันเอง' แต่ภาษาที่ใช้ในประกาศดังกล่าวอาจทำให้เกิดความใจผิด
       
       “ ผมเป็นหัวหน้าโครงการรับผิดชอบการสร้างความปรองดองของ คสช. สืบเนื่องจากมีประกาศ คสช.ฉบับที่ 97/2557 ทราบดีว่าพี่น้องสื่อไม่สบายใจบ้าง แต่ผมเป็นคนรับฟังความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ที่มีปัญหาในการปฏิรูปประเทศจึงเชิญองค์กรสื่อมาพูดคุยกันว่า มันเป็นประเด็นปัญหาอะไรตรงไหน ทั้งนี้อยากฟังความคิดเห็นว่า คิดเห็นอย่างไรกับประกาศฉบับดังกล่าว ตัวหนังสือมันออกมาแล้วตรงกับเจตนาหรือไม่อย่างไร ”
       
       หลังการหารือระหว่างตัวแทนวิชาชีพสื่อกับฝ่าย คสช. สุดท้ายก็ได้ข้อสรุปที่พอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย โดย คสช. ตัดสินใจใส่เกียร์ถอย ยอมแก้ไขประกาศฉบับที่ 97/2557 โดยเฉพาะรายละเอียดในข้อ 3 และข้อ 5
       
       โดยในช่วงดึกของวันที่ 21 ก.ค.2557 ได้มีประกาศฉบับที่ 103/2557 เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมประกาศฉบับที่ 97/2557 โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 (3) ซึ่งจากเดิมคือ ห้ามวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของ คสช. เจ้าหน้าที่ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ก็ให้เปลี่ยนเป็นคำว่า “การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของ คสช. โดยมีเจตนาไม่สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของ คสช.ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ”
       
       และข้อ 5 ที่กำหนดบทลงโทษถึงขั้นปิดสื่อ ก็เปลี่ยนมาเป็น “ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 2 หรือข้อ 3 พนักงานเจ้าหน้าที่อาจส่งเรื่องให้องค์กรวิชาชีพที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกดำเนินการสอบสวนทางจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ”
       
       ส่วน ข้อ 3(4) ที่ระบุว่า..ห้ามเผยแพร่ ข้อมูลเสียง ภาพ วีดิทัศน์ ความลับของการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่างๆ นั้น ในประกาศฉบับที่ 103/2557 นั้นไม่ได้มีการกล่าวถึง ซึ่งก็แปลว่าให้คงไว้เช่นเดิม
       
       ดังนั้น การออกประกาศ ฉบับที่ 103/2557เพื่อแก้ไขประกาศฉบับที่ 97/2557 จึงได้ข้อสรุปว่า หาก คสช. ไม่เห็นด้วยกับการนำเสนอข่าวของสื่อสำนักไหน หรือมองว่าสื่อใดนำเสนอข่าวไม่ต้องกับข้อเท็จจริง คสช. ก็จะส่งเรื่องให้องค์กรวิชาชีพสื่อที่เป็นสมาชิกสอบสวน โดยใช้มาตรการให้สื่อควบคุมกันเอง แทนการให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งมีบทลงโทษรุนแรงถึงขั้นปิดสื่อ
       
       อย่างไรก็ดี ด้าน นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หนึ่งในตัวแทนที่เข้าหารือกับ คสช. ระบุว่า
       
       “ แม้การแก้ไขประกาศฉบับที่ 97/2557 ในครั้งนี้ จะเป็นการแก้ไขบางส่วนเท่านั้น แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้แก้ไข เพราะองค์กรสื่อเสนอว่าควรยกเลิกข้อ 5 ในประกาศ เพราะอันเดิมคือ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งระงับการจำหน่ายจ่ายแจกหรือปิดสื่อได้ แต่ที่แก้ไขใหม่จะเป็นภาระขององค์กรวิชาชีพ ทั้งนี้ หากย้อนไปดูในข้อยกเว้นในข้อ 3 เดิม ตั้งแต่3 (1) ถึง 3 (7) เห็นว่าส่วนใหญ่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่มีอยู่ด้วย ซึ่งผมมองว่าในส่วนความผิดทางกฎหมายนั้น ควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายดำเนินการแทน ดังนั้น สภาการหนังสือพิมพ์ และองค์กรวิชาชีพต้องกลับมาดูกันใหม่ อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่า สภาการฯ ควรรับพิจารณาเฉพาะกรณีจริยธรรมสื่อเท่านั้น ซึ่งการแก้ไขใน ข้อ 3 (3) เป็นการแก้ไขเพื่อให้มีความชัดเจน เพราะหากยังคงไว้ สื่อจะไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ คสช.ได้เลย ซึ่งนอกจากกระทบสื่อมวลชนแล้วยังกระทบประชาชนที่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้เลยด้วย ขณะที่ข้อ 3 (4) ที่เป็นการห้ามเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความลับนั้น องค์กรสื่อแจ้งว่าควรแก้ไขให้ชัดเจนขึ้น เพราะเอกสารความลับทางราชการเป็นสิ่งที่สื่อใช้ทำข่าวการสืบสวนสอบสวน หรือทำข่าวการทุจริตคอร์รัปชั่น”
       
       อย่างไรก็ดี แม้สุดท้าย คสช. จะยอมยกเลิกประกาศที่ให้อำนาจตนเองในการ 'ปากสื่อ' ที่หาญกล้ามาวิพากษ์วิจารณ์เพราะทนกระแสต้านไม่ไหว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าประกาศที่ออกมาในครั้งแรกนั้นทำให้ประชาชนอดเคลือบแคลงใจไม่ได้ว่า เหตุใด คสช.จึงกลัวการตรวจสอบ ? ถึงขั้นที่จะลุกขึ้นมาใช้อำนาจ 'ปิดสื่อ' ? 
       /////////////////////////

นักวิชาการ จี้สื่อใน สปช.เสนอยกเลิกประกาศ คสช.103
เรื่องโดย Nation TV
วันที่ 27 สิงหาคม 2557 17:43 น.267 views
นักวิชาการด้านสื่อฯ เรียกร้องตัวแทนสื่อมวลชนใน สปช.เสนอยกเลิกประกาศ คสช.ฉบับที่ 103 หลังพบมีเนื้อหากำกวม สื่อเสี่ยงถูกฟ้อง
นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ฝากถึงตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนที่เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ  (สปช.) และได้รับคัดเลือกให้ไปทำหน้าที่ ให้เสนอยกเลิก ประกาศ คสช.ฉบับที่103/2557 ว่าด้วยการให้ความร่วมมือต่อคสช.และการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะที่ไม่มีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของคสช.ด้วยเจตนาไม่สุจริต เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคสช.ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ เนื่องจากมีเนื้อหากำกวมและยากต่อการทำงานของสื่อฯ ซึ่งจะทำให้สื่อมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องได้

ด้านนายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการด้านสื่อ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ หรือ สวส.บอกว่า ปัญหาที่ผ่านมาของสื่อฯ ประเด็นหลักคือการกำกับและตรวจสอบกันเองที่ไม่สามารถทำได้อย่างแท้จริง มีตัวอย่างที่สื่อถูกตรวจสอบแล้วไม่พอใจก็ลาออกจากการสังกัดองค์กรวิชาชีพ ทำให้การตรวจสอบนั้นไม่เกิดผลใดๆ ต่อไป และองค์กรวิชาชีพถูกเรียกว่าเป็นเสือกระดาษ นอกจากนั้นแล้วยังพบด้วยว่าสื่อ ใช้สิทธิเสรีภาพอย่างฟุ่มเฟือยและไม่รับผิดชอบ, ยอมรับและให้ความร่วมมือต่อการถูกแทรกแซง 


และหากจะคำนึงถึงการปฏิรูปสื่อ มี 5 ปัจจัยที่ต้องพิจารณา คือ 1.โครงสร้าง การออกใบอนุญาต หรือสัมปทาน ต้องมีการตรวจสอบและทบทวนการออกใบอนุญาตในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม แทนการให้ใบอนุญาตระยะยาว 15 ปี เป็นต้น, 2.กลไกการกำกับดูแล, 3. กฎหมาย โดยเฉพาะการกำหนดให้เป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพ และยอมรับบทลงโทษ, 4.ปรับปรุงจริยธรรมให้ทันสมัย  และ 5.เพิ่มบทบาทของภาคประชาชนหรือผู้บริโภคสื่อฯ เช่น ในส่วนของหนังสือพิมพ์ ต้องมีกระบวนการการควบคุมด้านสื่อหนังสือพิมพ์ ที่ประกอบด้วยภาคประชาชน และตัวแทนสื่อที่ไม่ใช่กลุ่มมาเฟีย


เบื้องหลัง!บทสนทนา "ทหาร"บีบผู้บริหารไทยพีบีเอสสะดุ้ง-"ณาตยา"ถอนตัว!

เบื้องหลัง!บทสนทนา "ทหาร"บีบผู้บริหารไทยพีบีเอสสะดุ้ง-"ณาตยา"ถอนตัว!

เขียนวันที่
วันศุกร์ ที่ 14 พฤศจิกายน 2557 เวลา 14:55 น.
เขียนโดย
isranews
"..ในระหว่างการพูดคุย นายทหารกลุ่มนี้ ได้มีการอ้างอิงถึงความสามารถในการตัดงบประมาณสนับสนุนของไทยพีบีเอสได้ รวมถึงพูดจาประหนึ่งว่ารู้ข้อมูลผู้บริหารทุกคนดี รวมไปถึงคนในครอบครัวด้วยว่าอยู่ที่ไหนด้วย จึงทำให้ผู้บริหารหลายคนมีความกังวล ไม่สบายใจเป็นอย่างมาก.."
peppeeenhh14-11-14
ดูเหมือนว่า “ไทยพีบีเอส” กำลังเจอบททดสอบสำคัญอีกบทหนึ่ง เกี่ยวกับ "จุดยืน"การทำหน้าที่เป็น “ทีวีสาธารณะ” ของประเทศไทย ที่มีความเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำหรือแทรกแซงการทำงานจากอำนาจทางการเมืองจริงหรือไม่ 
เมื่อมีข้อมูลสำคัญหลุดรอดออกมาว่า เมื่อเร็วๆ นี้ น.ส.ณาตยา แวววีรคุปต์ ไม่ได้ทำหน้าที่พิธีกรรายการ "เสียงประชาชนต้องฟังก่อนปฎิรูป" อีกแล้ว
ภายหลังจากที่มีนายทหารกลุ่มหนึ่ง จำนวน 4-5 คน นำโดยพันเอก ชื่อย่อ "ส." เดินทางมาพบผู้บริหารไทยพีบีเอสถึงสถานี
อ้างคำสั่งของ "ผู้บังคับบัญชา" ขอร้องไม่ให้ไทยพีบีเอส เข้าไปร่วมเผยแพร่รายการ "เสียงประชาชนต้องฟังก่อนปฎิรูป" อีกต่อไป ภายหลังจากไม่พอใจวิธีการตั้งคำถามของ น.ส.ณาตยา ซึ่งมีเนื้อหาการพาดพิงการรัฐประหารร่วมอยู่ด้วย ในการจัดเวทีปฎิรูปที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในช่วงต้นเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา 
ทั้งนี้ เพื่อให้สาธารณะชนได้เห็นภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกจากผู้เกี่ยวข้อง ถึงเบื้องหน้าเบื้องหลังเหตุการณ์และนำมาไล่เลี่ยงให้เห็นภาพที่ชัดเจนดังนี้
ช่วงที่หนึ่ง
จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในการจัดงานฟังเสียงคนใต้ก่อนการปฏิรูปที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่จัดไปในช่วงต้นเดือนพ.ย.57 ที่ผ่านมา ซึ่ง น.ส.ณาตยา รับหน้าที่เป็นพิธีกรและได้นำทีมงานเข้าไปถ่ายทำรายการ "เสียงประชาชนต้องฟังก่อนปฎิรูป" ก่อนจะนำมาแพร่ภาพออกอากาศไปเมื่อวันที่ 8 พ.ย.57 ที่ผ่านมา 
“ในการบันทึกเทปทำรายการที่เวทีหาดใหญ่ครั้งนี้ ระหว่างการจัดงาน ที่มีเนื้อหาคำพูดที่เกิดขึ้นและกระทบการทำงานของคสช.หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถามของ น.ส.ณาตยา เอง รวมถึงการที่ผู้เข้าร่วมรายการนำป้ายวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของคสช. ร่วมถึงเหตุการณ์รัฐประหารของมาชูไว้ระหว่างเข้าร่วมรายการ และเมื่อรายการนี้เผยแพร่ออกสู่สาธารณะ ในขั้นตอนการตัดต่อก็ไม่ได้มีการนำเนื้อหาและภาพป้ายส่วนนี้ออกไป กลับปล่อยให้มีการออกอากาศด้วย จึงทำให้ทหารไม่พอใจเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นการดำเนินการที่ฝ่าฝืนขั้นตอน โดยการรักษาความสงบไม่สร้างปัญหาขัดแย้งหรือแตกแยกระหว่างการจัดงาน”
จากนั้น ทหารเริ่มตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหารายการ และการทำหน้าที่พิธีกร ของ น.ส.ณาตยา อย่างละเอียด!
ช่วงที่สอง 
หลังการจัดงานเวทีหาดใหญ่ผ่านพ้นไปไม่นานนัก ในส่วนของจังหวัดนครปฐม ก็มีการจัดงานเวทีปฏิรูปเช่นกัน ซึ่งหัวเรือใหญ่ที่ริเริ่มจัดงาน คือ ผศ.สมเดช นิลพันธุ์. อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ส่วนสถานที่จัดงานก็อยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การจัดงานเวทีนครปฐม ถือเป็นการปฏิบัติตามแนวทางของสปช. ที่ต้องการให้สปช.ในแต่ละจังหวัด สร้างเครือข่ายการปฏิรูปในพื้นที่ของตนเอง ซึ่ง คสช.เปิดโอกาสให้ทำได้
และปัญหาก็เริ่มต้นขึ้น เมื่อการจัดงานเวทีนี้มีการเชิญ น.ส.ณาตยา มาทำหน้าที่เป็นพิธีกรด้วย ซึ่งในส่วนของน.ส.ณาตยา ก็มีการนำทีมรายการ "เสียงประชาชนต้องฟังก่อนปฎิรูป" มาบันทึกเทป เพื่อเตรียมออกอากาศทางไทยพีบีเอสเหมือนเดิม 
แต่เนื่องจากในขั้นตอนการจัดงานนี้จะต้องมีการทำตามกฎหมายระเบียบ โดยเฉพาะการขออนุญาตไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้การสนับสนุน รวมถึงฝ่ายทหาร เพื่อให้จัดส่งกำลังเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาดูแลรักษาความปลอดภัยให้ 
และทันทีที่ฝ่ายทหารทราบว่า ผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่เป็นพิธีกรเวทีนี้ คือ น.ส.ณาตยา ก็แสดงความเห็นคัดค้านไม่เอาด้วย โดยมีการส่งตัวแทนไปพูดคุยกับผู้จัดงานร่วมถึงตัวน.ส.ณาตยา เอง  ซึ่งเนื้อหาในบทสนทนามีลักษณะเหมือนการข่มขู่
จนทำให้น.ส.ณาตยา ตัดสินใจถอนตัวเองออกไป 
ขณะที่การบันทึกเทปรายการเพื่อนำไปออกอากาศทางไทยพีบีเอสที่ตั้งไว้เดิม ก็ยกเลิกเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการรายงานข่าวความเคลื่อนไหวการจัดงานแทน 
ช่วงที่สาม 
แต่ฝ่ายทหารเข้าใจผิดคิดว่า ยังมีการบันทึกเทปรายการอยู่ จึงส่งตัวแทน จำนวน 4-5 คน นำโดยพันเอก ชื่อย่อ "ส." เดินทางมาพบผู้บริหารไทยพีบีเอส ถึงสถานี
ซึ่งในระหว่างการเจรจาพูดคุย ฝ่ายทหารยืนยันว่า รายการนี้ สามารถจัดต่อไปได้ แต่ขอให้เปลี่ยนแปลงตัวพิธีกรใหม่ ไม่เอา น.ส.ณาตยา 
"ในระหว่างการพูดคุย นายทหารกลุ่มนี้ ได้มีการอ้างอิงถึงความสามารถในการตัดงบประมาณสนับสนุนของไทยพีบีเอสได้ รวมถึงพูดจาประหนึ่งว่ารู้ข้อมูลผู้บริหารทุกคนดี รวมไปถึงคนในครอบครัวด้วยว่าอยู่ที่ไหนด้วย จึงทำให้ผู้บริหารหลายคนมีความกังวล ไม่สบายใจเป็นอย่างมาก"
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่ได้ฟังข้อมูลจากทหารกลุ่มนี้ ผู้บริหารไทยพีบีเอส ไม่ได้แสดงความเห็นอะไร
เพราะเรื่องที่เกี่ยวกับ น.ส.ณาตยา ก็มีการพูดคุยกัน และเคลียร์กันไปก่อนแล้ว โดยผลสรุปอยู่ที่ น.ส.ณาตยา ขอถอนตัวไปเอง 
จนกระทั่งมีข่าวหลุดรอดออกมาสู่โลกออนไลน์ ว่า น.ส.ณาตยา ไม่ได้ทำหน้าที่พิธีกรรายการ "เสียงประชาชนต้องฟังก่อนปฎิรูป" อีกต่อไปแล้ว เพราะถูกทหารกลุ่มหนึ่งเดินทางไปข่มขู่ผู้บริหารไทยพีบีเอสถึงสถานี 
และมีการนำเรื่องนี้ เข้าบรรจุวาระในการประชุมคณะกรรมการนโยบายไทยพีบีเอส เพื่อรับทราบรายงานอย่างเป็นทางการ ในช่วงเช้าวันที่ 14 พ.ย.2557 ตามที่การนำเสนอข่าวไปก่อนหน้านี้
ขณะที่เสียงเพลง "กำลังใจ" ก็เริ่มดังกระหึ่มในเฟซบุ๊กของ น.ส.ณาตยา อย่างต่อเนื่อง!
ทั้งหมดนี่ คือ เบื้องหน้าเบื้องหลัง ของเหตุการณ์สำคัญที่กำลังท้าทายการทำหน้าที่สื่อสาธารณะของไทยพีบีเอส อีกครั้งหนึ่ง
และสะท้อนให้เห็นภาพที่แท้จริงของ นโยบาย "สื่อ" ประเทศไทย ภายใต้การบริหารงานยุครัฐบาลทหาร ที่มีนายกรัฐมนตรี ชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เป็นอย่างดี!  

(อ่านประกอบ : "พันเอก"อ้างคำสั่ง"นาย"ตบเท้าบีบThaiPBSถอด "ณาตยา-รายการเสียงปชช.")

เปิดปม “ปรส.” อภิมหาฮั้วแสนล้าน ตำนานสุมหัวถลุงทรัพย์สินชาติ ตราบาป ประชาธิปัตย์!?

เปิดปม “ปรส.” อภิมหาฮั้วแสนล้าน ตำนานสุมหัวถลุงทรัพย์สินชาติ ตราบาป ประชาธิปัตย์!

“องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.)” ในยุครัฐบาลชวน หลีกภัย ของพรรคประชาธิปัตย์ นำทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการมูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับประเทศไทยกว่า 660,000 ล้านบาทนั้น ในด้านของคดีอาญากำลังจะขาดอายุความวันที่ 30 พฤศจิกายน 2557 แบบที่ยังไม่สามารถจับมือใครดมได้
“คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)” ซึ่งมีหน้าที่ในการ “ตรวจสอบการทุจริต” ที่เกิดจากภาครัฐ ภาคการเมือง กลับไม่มีความชัดเจนว่า จะสามารถจัดการกับ “ตัวการใหญ่” ที่ทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศชาติ
ท้ายที่สุดสังคมไทย อาจจะต้องยอมให้ ความเสียหาย 8.5 แสนล้านบาท มลายหายไปพร้อมกับ “ตัวการใหญ่” ที่ลอยนวลไปเพราะ “คดีหมดอายุความ”
ซึ่งสะท้อน มาตรฐานการทำงานและศักยภาพการทำงานของ องค์กรตรวจสอบและกระบวนการยุติธรรมของไทยได้เป็นอย่างดี
แต่กรณี ปรส.ขายทรัพย์สินของชาติ นั้น “กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)” เคยแถลงไว้เมื่อ 15 พ.ย.2549 ระบุว่า สอบสวนพบการดำเนินการหลายกรณี ไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน10 ประเด็น 1.ปรส.ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส.เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินจากปรส.โดยมิชอบ
2.คณะกรรมการ ปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้องปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส
3.ข้อกำหนดของปรส.ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย
4.การโอนสิทธิของผู้ชนะการประมูล ไม่ชอบ ขัดต่อพรก.ปรส.
5.ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการปรส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6.คณะกรรมการปรส.และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรส.ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขายทรัพย์สิน
7.กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจากปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
8.มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
9.สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของปรส
และ 10. ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ปรส.บางคนขาดคุณสมบัติเนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อนกับสถาบันการเงินอีกแห่ง
ซึ่งประเด็นที่ “ถูกจับตา” มากที่สุดประเด็นหนึ่งมาตลอดเวลา ตั้งแต่ ปรส. ก่อการขายทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงิน
คือกรณีที่ “บริษัท เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิ้งค์” ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก ปรส. โดยยอดคงค้างทางบัญชี 24,616.95 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 11,520 ล้านบาท และ กรณี บริษัท โกลด์แมน แซคส์ เอเชีย ไฟแนนซ์ จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส. โดยยอดคงค้างทางบัญชี 115,890.96 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 22,454.87 ล้านบาท
โดยในส่วนของ “เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้งฯ” นั้นอีกด้านหนึ่ง “ผู้บริหารบริษัท” ก็ได้รับการแต่งตั้งจาก ปรส. ให้เป็น “ที่ปรึกษา ของ ปรส.” เอง 
ซึ่งเมื่อสอบสวนข้อมูลเพิ่มเติมย้อนหลังกลับไป ก็จะพบว่า สื่อมวลชนยุคนั้นหลายสำนักได้รายงานเอาไว้ตรงกันว่า เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2541 “นายอมเรศ ศิลาอ่อน ประธาน ปรส.ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ ได้ เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายอำนวย ยศสุข เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ถึงค่าใช้จ่ายที่ ปรส.ต้องเสียให้กับที่ปรึกษา คือ บริษัท เลห์แมนบราเดอร์ส ว่าเป็นจำนวนเงินที่ถูกมากๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่เคยจ้าง เลห์แมนบราเดอร์ส เป็นที่ปรึกษา ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงการคลังควรต้องขอบคุณ ปรส. ที่ช้วยประหยัดเงินในส่วนนี้ได้มาก”
ดังนั้นจึงต้องถามกันให้ชัดเจนว่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี นั้นคิดเห็นอย่างไรกับการที่ “ปรส.” ปล่อยให้ บริษัทในเครือของ “ที่ปรึกษา” ของตัวเอง เข้าร่วมประมูลทรัพย์สินของชาติ ในราคาถูกแสนถูก
และเหล่านี้ “พรรคประชาธิปัตย์” ที่มี “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง” ชื่อ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็น “มือ 1 ทางด้านเศรษฐกิจ” นั้นมองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคนั้นเป็นการอำนวยความสะดวก-สมยอม-ฮั๊ว-รวมหัว หรือที่ในยุคนี้เรียกกันว่า  “ผลประโยชน์ทับซ้อน” กับ “ขบวนการเร่ขายทรัพย์สินชาติหรือไม่ ?
ซึ่ง นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รมว.คลัง ของรัฐบาล ชวน หลีกภัย ในขณะนั้นก็สนิทชิดเชื้อดีกับ “วาณิชธนกิจ” ยักษ์ใหญ่ต่างชาติ เป็นอย่างดี โดยมีภาพข่าวปรากฏ ตามสื่อสารมวลชนไทยหลายสำนักว่า ในวันที่ 11 ธันวาคม 2540 นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รมว.คลัง นำ “นายเจอร์ราด คอร์ลิแกน กก.ผจก.โกลด์แมน แซคส์” ในฐานะ “ที่ปรึกษาส่วนตัว” เข้าหารือกับ “นายชวน หลีกภัย” นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล
“ที่ปรึกษาส่วนตัว รมว.คลัง” ระดับที่ “ชื่อ โกลด์แมน แซคส์”  น่าจะช่วยให้  “รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์” ยุคนั้น เข้าใจเทคนิควิธีการประมูลซื้อทรัพย์สินของชาติ จากการเร่ขายของ ปรส.ได้เป็นอย่างดี!
ที่มา : https://www.hereandthere.today/?p=1368


1qws

ฎีกายืนปรับ1.3แสนคนเก็บขยะขายซีดีเก่า ก่อนเข้าคุกเพราะไม่มีเงินจ่าย

'ฎีกา' ยืน พิพากษาปรับ 133,400 บาท 'หนุ่มลูกจ้างชั่วคราวกทม.' เก็บขยะขายซีดีเก่า แผ่นละ 20 ไม่มีใบอนุญาต ผิด พ.ร.บ.ภาพยนตร์-วีดิทัศน์ ไม่มีเงินจ่าย ขังแทน 1 ปี

                           13 พ.ย. 57  ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก  ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.3060/2552 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายรัต (ขอสงวนนาม) อายุ 28
ปี ลูกจ้างชั่วคราว เก็บขยะ ประจำเขตสะพานสูง กองรักษาความสะอาด กรุงเทพมหานคร เป็นจำเลย ในความผิดฐาน ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำนำภาพยนตร์ ซึ่งเป็นแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551

                           โดยอัยการโจทก์ ยื่นฟ้อง บรรยายพฤติการณ์ความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 51จำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำนำภาพยนตร์ ที่เป็นแผ่นวีซีดีภาพยนตร์อันเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพและเสียง ซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปิดจำหน่ายเป็นแผงลอย ไม่มีเลขที่ ตั้งอยู่ริมบาทวิถี ในตลาดนัดใกล้สี่แยกกรุงเทพกรีฑา เขตบางกะปิ กทม. และได้รับเงินตามราคาแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ที่ได้จำหน่ายในราคาแผ่นละ 20 บาท โดยไม่ได้รับใบอนุญาต เหตุเกิดที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม. ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวน ขณะที่ชั้นพิจารณา จำเลยให้การปฏิเสธ นำสืบต่อสู้ว่า จำเลยเป็นพนักงานเก็บขยะ ประจำเขตสะพานสูง กองรักษาความสะอาด กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราว เก็บขยะระหว่างเวลา 04.00 - 10.00 น. เมื่อเก็บขยะแล้วจะแยกขยะที่พอขายได้ไปขายที่แผงลอยตลาดหน้าหมู่บ้านนักกีฬา โดยขายปะปนกับหม้อหุงข้าว และรองเท้าเก่า ต่อมาถูกตำรวจ สน.หัวหมาก จับ โดยยอมรับว่าขายจริง แต่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการ

                           ต่อมาศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 53 เห็นว่าจำเลยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ ฯ มาตรา 38 วรรคหนึ่ง และ ม.79 ให้ปรับ 200,100 บาท แต่คำรับสารภาพจำเลยใน
ชั้นสอบสวนมีประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง เห็นควรลดโทษให้ 1 ใน 3 คงปรับจำนวน 133,400 บาท หากจำเลยไม่ชำระ ให้กักขังแทนค่าปรับไม่เกิน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และ 30 ขณะที่จำเลย ยื่นอุทธรณ์ และเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 55 ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลย ได้ยื่นฎีกาสู้คดี

                           ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว รับฟังได้ตามทางนำสืบว่า เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 51 จำเลย ได้นำแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ 83 แผ่น และแผ่นซีดีเพลง 13 แผ่น มาวางขายกับพื้น บริเวณตลาดนัดสี่แยกกรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม. ต่อมาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.หัวหมาก เข้าจับกุม ชั้นสอบสวนให้การรับสารภาพ ขณะที่ของกลาง ซึ่งเป็นหลักฐานพยานในชั้นสอบสวน มีเจ้าพนักงานของรัฐตรวจสอบ และมีบันทึกคำรับสารภาพในชั้นจับกุมที่มีลายมือชื่อจำเลย

                           ส่วนที่จำเลย ฎีกาว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์ ฯ ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ฯ จึงใช้บังคับกับคดีนี้ไม่ได้นั้น เห็นว่า ฎีกาของจำเลยไม่มีรายละเอียดว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ หมวดใด เรื่องใด เพราะอะไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง และที่จำเลยต่อสู้ว่า ไม่มีเจตนาประกอบธุรกิจค้าแผ่นซีดี ในลักษณะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ การกระทำผิดของจำเลยจึงไม่ต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้น ศาลเห็นว่า แม้จำเลยจะยกประเด็นขึ้นฎีกา แต่ไม่มีข้อความใดเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอำนาจฎีกา ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคแรก จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น จำเลยจึงมีผิดตามฟ้อง ที่ศาลล่างพิพากษามานั้นชอบแล้ว พิพากษายืน

                           ภายหลังอ่านคำพิพากษาฎีกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่า นายรัต จำเลย ไม่มีเงินชำระค่าปรับ จำนวน 133,400 บาท เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ จึงได้ควบคุมตัวนายรัต จำเลยไปกักขัง
แทนค่าปรับตามคำพิพากษาต่อไป

                           ขณะที่นายรัต ลูกจ้างชั่วคราว กทม. เปิดใจก่อนถูกควบคุมตัวไปกักขังว่า เตรียมใจมาแล้วว่า ต้องถูกตัดสินโทษ ซึ่งรับสารภาพมาแต่ต้นว่าเป็นคนขายซีดีจริง โดยตนก็ไม่รู้กฎหมาย ขณะที่เวลานั้นตนไม่ได้ขายซีดีอย่างเดียว แต่นำเอาสิ่งของอื่นที่ได้มาจากกองขยะ มาวางขายด้วย

                           นายรัต กล่าวอีกว่า วันนี้ ยังไม่มีค่าปรับที่จะจ่ายได้ทันที แต่จะลองให้ภรรยาไปหายืม หรือกู้เงินนอกระบบ มาชำระค่าปรับ ซึ่งหนทางเหมือนจะมืดมน ไม่รู้จะไปพึ่งใคร ตอนนี้สงสารแต่ลูก ซึ่งที่ผ่านมาทำงานเก็บขยะอยู่ที่เดิม โดยตั้งแต่เกิดเหตุ ตนก็ไม่กล้านำอะไรมาขายอีก
-------------
                ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตาม มาตรา ๓๐ ในการ กักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตรา สองร้อยบาทต่อหนึ่งวัน และ ไม่ว่าในกรณี ความผิดกระทงเดียว หรือ หลายกระทง ห้าม กักขัง เกินกำหนด หนึ่งปี เว้นแต่ ในกรณีที่ ศาลพิพากษา ให้ปรับตั้งแต่ แปดหมื่นบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้ กักขังแทนค่าปรับ เป็นระยะเวลา เกิน หนึ่งปี แต่ ไม่เกิน สองปี ก็ได้
               ในการ คำนวณระยะเวลานั้น ให้นับวันเริ่ม กักขังแทนค่าปรับ รวมเข้าด้วย และ ให้นับเป็น หนึ่งวันเต็ม โดยไม่ต้องคำนึงถึง จำนวนชั่วโมง
              ในกรณีที่ ผู้ต้องโทษปรับ ถูกคุมขัง ก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวัน ที่ถูกคุมขังนั้น ออกจาก จำนวนเงินค่าปรับ โดยถืออัตรา สองร้อยบาทต่อหนึ่งวัน เว้นแต่ ผู้นั้น ต้องคำพิพากษา ให้ลงโทษ จำคุกและปรับ ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้า จะต้องหักจำนวนวัน ที่ถูกคุมขัง ออกจากเวลาจำคุก ตาม มาตรา ๒๒ ก็ให้หักออกเสียก่อน เหลือเท่าใด จึงให้หักออก จากเงินค่าปรับ
เมื่อ ผู้ต้องโทษปรับ ถูกกักขังแทนค่าปรับ ครบกำหนดแล้ว ให้ปล่อยตัว ในวันถัดจาก วันที่ครบกำหนด ถ้านำเงินค่าปรับมาชำระครบแล้วให้ปล่อยตัวไปทันที
////////////
(ข่าวเดิม)

อัยการสำนึก-ตร.ปลอบใจ ฟ้องคนเก็บขยะขายซีดีเก่า

โดย ทีมข่าวอาชญากรรม
17 สิงหาคม 2553 16:25 น.

อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา แสดงความเห็นใจคนเก็บขยะ กทม.ที่ถูกศาลพิพากษาปรับเป็นเงินหลักแสน หลังจากที่ไปเก็บซีดีหนังเก่ามาขายตามตลาดนัด หาเงินค่าคลอดลูกให้ภรรยา ย้ำต่อไปจะทบทวนการวินิจฉัยสั่งคดี โดยเฉพาะคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ขณะที่โฆษกศาลยุติธรรม ระบุ ศาลพิจารณาพิพากษาไปตามตัวบทกฎหมาย ด้านโฆษกตำรวจรุดเข้าเยียวยา มอบเงินส่วนตัวครึ่งแสนให้ชำระหนี้ที่ไปกู้มาต่อสู้คดี ส่วนตำรวจ สน.หัวหมาก ที่เกี่ยวข้องกับคดีโยกย้ายกันไปหมดแล้ว 
     
       วันนี้ (17 ส.ค.) นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา กล่าวถึงคดีที่ นายสุรัตน์ มณีนพรัตน์สุดา พนักงานเก็บขยะ กทม.ถูกศาลพิพากษาปรับ 133,400 บาท ฐานเป็นผู้ประกอบการจำหน่ายให้เช่าภาพยนตร์ฯ โดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ พ.ศ.2551 ที่ประกาศใช้วันที่ 4 มี.ค.2551 ทำให้เกิดความกังวลและข้อวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ประชาชนและพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยอย่างกว้างขวางว่า รู้สึกเห็นใจ นายสุรัตน์ แต่ตนไม่เห็นสำนวนนี้ และไม่รู้ว่าสั่งฟ้องศาลไปแล้วด้วย ถ้ารู้จะเรียกมาดูอีกครั้งก่อน น่าเสียดายที่จำเลยไม่ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม เข้าในระหว่างการพิจารณาของอัยการ เพื่ออัยการจะได้เรียกพยานมาสอบ หรือสั่งพนักงานสอบสวนไปสอบเพิ่มเติมตามมาตรา 143 ว่า การที่ นายสุรัตน์ ที่มีอาชีพเป็นลูกจ้าง กทม.เก็บขยะมาขาย จะเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบกิจการจำหน่าย ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้หรือไม่ ความจริงกฎหมายก็ออกมา 2 ปีแล้ว แค่คนทั่วไปไม่รู้ ดังนั้น หากคำนึงถึงสภาพของคนที่เก็บขยะอย่างนี้ เขาจะมีเจตนาพิเศษไปกระทำผิดตามกฎหมายนี้หรือไม่
     
       นายกายสิทธิ์ กล่าวว่า ต่อไปอัยการจะทบทวนการวินิจฉัยสั่งคดี โดยเฉพาะหลักการไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมาใช้อย่างเคร่งครัด ดังเช่นคดีเด็กที่ขโมยซาลาเปา 2 ลูกมาเลี้ยงน้องที่อดอยาก ที่อัยการเคยสั่งไม่ฟ้องไปแล้ว คดีนี้จะว่าไปแล้วก็คล้ายคดีลักมะม่วงมาบรรเทาความหิวโหยเมื่อหลายสิบปีก่อน ซึ่งเราไม่ควรลงโทษกับคนเหล่านี้
     
       ผู้สื่อข่าวถามว่า นางนพรัตน์ อัญมณี น้องสาว นายสุรัตน์ บอกว่า ขณะถูกตำรวจจับ เวลานั้นก็มีการขายสินค้าแผ่นซีดีเถื่อน แต่ตำรวจไม่จับ มาจับคนจน นายกายสิทธิ์ ตอบว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็อาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เอาเป็นว่าเรื่องนี้หากนายสุรัตน์ ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ตามมาตรา 193 ทวิ แล้ว เขาต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อัยการอยู่แล้ว ซึ่งอัยการจะพิจารณาให้ อาจจะไม่อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษตามมาตรา 212 และอาจไม่อุทธรณ์ต่อสู้คดีกับนายสุรัตน์อีก ส่วนเรื่องดุลพินิจในการจับกุมนั้น ตนจะเชิญตำรวจมาถกปัญหานี้อีกครั้ง
     
       ขณะเดียวกัน ที่สำนักงานศาลยุติธรรม นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า ได้ติดตามข่าวคดีนี้แล้ว แต่ยังไม่ได้เรียกสำนวนมาดู เชื่อว่า ที่ศาลพิพากษาครั้งนี้เป็นไปตามการบังคับตามกฎหมาย ที่โทษปรับขั้นต่ำที่สุด คือ ปรับ 200,100 บาท และศาลได้พิจารณาหาทางลดโทษให้แล้ว โดยลดให้เหลือ 133,400 บาท ศาลจะมีดุลพินิจเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งต้องพิจารณาไปตามข้อกฎหมาย ที่อาจจะไม่ค่อยเป็นไปในทางเดียวกับกระแสสังคมเสมอไป
     
       สำหรับคดีนี้จำเลยเคยรับสารภาพในชั้นสอบสวน เท่ากับเป็นการปิดปากตัวเอง ศาลจึงต้องพิจารณาลงโทษตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ น่าจะใช้ลงโทษผู้ค้าราย
ใหญ่มากกกว่าพวกปลาซิวปลาสร้อย
     
       “คดีนี้ยังมีทางออก จำเลยสามารถอุทธรณ์ทั้งข้อเท็จจริงข้อกฎหมาย ขอลดโทษให้เบาลงก็ได้” โฆษกศาลยุติธรรม กล่าว
     
       เมื่อถามว่า ศาลมีแนวทางที่จะตัดสินคดีให้สอดคล้องกับความรู้สึกของสังคมหรือไม่ นายสิทธิศักดิ์ กล่าวว่า คดีแบบนี้ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ศาลจึงไม่มีบัญชีอัตราในการลงโทษ จึงถือเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาแต่ละคน เอาเป็นว่า คดีนี้รอให้จำเลยอุทธรณ์เข้ามา ขอให้เป็นดุลพินิจของศาลสูงว่าจะมีดุลพินิจอย่างไร
     
       ที่สภาทนายความ ว่าที่ พ.ต.สมบัติ วงศ์กำแหง โฆษกสภาทนายความ แถลงว่า ตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 คำว่า ในมาตรา 38 ที่ว่า ให้เอาผิดกับผู้ประกอบกิจการจำหน่ายให้
เช่าภาพยนตร์ วีดิทัศน์ ถ้าฝ่าฝืนให้ปรับ 2 แสน ถึง 1 ล้านบาทนั้น ต้องดูนิยามคำว่า “ผู้ประกอบการ” ซึ่งควรจะหมายถึง ผู้ประกอบการเป็นกิจวัตร อาชีพประจำ เช่น เปิดร้านเป็นกิจจะลักษณะหรือไม่
ซึ่งคำนี้น่าจะถือว่าเป็นองค์ประกอบความผิด ถ้าการกระทำของนายสุรัตน์ไม่ครบองค์ประกอบความผิด ก็ต้องถือว่า การกระทำนั้นไม่มีความผิด ตำรวจจะจับไม่ได้ ดังนั้นการที่นายสุรัตน์ เป็นพนักงานเก็บขยะ หารายได้เสริมโดยปูเสื่อและวางแผ่นหนังเก่าขาย ไม่น่าจะมีลักษณะเป็นผู้ประกอบการ อันเป็นกิจจะลักษณะดังความในมาตรา 38 ตำรวจไม่น่าจับ
     
       โฆษกสภาทนายความกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังต้องดูเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา ได้บัญญัติไว้ว่า ผู้กระทำผิดต้องมีเจตนาด้วยเสมอ คือ รู้สำนึกในการกระทำ โดยประสงค์ต่อผลหรือย่อม
เล็งเห็นผล ต่อการกระทำที่เกิดขึ้น ดังนั้นหากเขาไม่มีเจตนาจะขายเป็นล่ำเป็นสัน แต่ขายเพื่อเอาเงินไปซื้อข่าวให้ลูก อย่างนี้จะเรียกว่ามีเจตนากระทำผิดหรือไม่ ดูเทียบกับคดีเด็กขโมยซาลาเปาในห้างค้าปลีกเมื่อ 10 ปีก่อน อัยการก็สั่งไม่ฟ้องเป็นบรรทัดฐานมาแล้ว อย่างไรก็ตามนายสุรัตน์ยังมีสิทธิ์อุทธรณ์ และฎีกาต่อไปได้
     
       “ตำรวจเป็นด่านแรกในการกลั่นกรองคดี ไม่ให้คนต้องถูกลงโทษทางอาญาโดยไม่จำเป็น มิฉะนั้นคนจนที่ไม่มีสันดานเป็นโจร ต้องมาติดคุก นายสุรัตน์อาจจะกระทำผิดในฐานอื่น เช่น วางสิ่งของเกะกะบนทางวิถี ก็จับปรับไป แต่ข้อหาหนัก ๆ ตำรวจน่าจะพิจารณาด้วยความระมัดระวัง ว่าคนจนเขาจะเอาเงินค่าปรับสองแสนบาทมาจากไหน” โฆษกสภาทนายความ กล่าว
     
       วันเดียวกัน เมื่อเวลา 10.00 น.นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมว่าที่ร้อยตรี สมสิทธิ์ คงธนสารสิทธ์ ผอ.สำนักงานเขตสะพานสูง และคณะเดินทางไปที่ห้องเลขที่ 2/1 ชั้น 2 อาคารรุ่งอรุณบ้านเช่า เลขที่ 40/2531 ถนนสุขาภิบาล 2 ซอย 15 แยก 3 ชุมชน 40 ไร่ แขวงและเขตประเวศ เพื่อเข้าเยี่ยม นายสุรัตน์ นางส้มโอ มณีนพรัตน์สุดา อายุ 23 ปี ภรรยา และลูกสาวอีก 2 คน คือ ด.ญ.จันทิมา มณีนพรัตน์สุดา อายุ 7 ขวบ กับ ด.ญ.สกลดา มณีนพรัตน์สุดา อายุ 1 ขวบ 3 เดือน
     
       นายองอาจ กล่าวว่า จะประสานสภาทนายความให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์ โดยในวันพรุ่งนี้ (18 ส.ค.) เวลา 14.00 น.จะให้ทางสำนักงานเขตพาไปสภาทนายความ และในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ก็อยากให้ใช้ดุลพินิจในการจับกุมมากกว่านี้
     
       ด้าน นายสุรัตน์ กล่าวว่า ในวันเกิดเหตุ ตนกับภรรยาได้นำของเก่าที่เก็บมาจากกองขยะ เช่น หม้อหุงข้าว กระเป๋า และซีดี 30 แผ่น ไปวางขายแผ่นละ 20 บาท โดยยืนยันว่า เก็บมาจากกองขยะทั้งหมด และยังขายใครไม่ได้เลยด้วย จนกระทั่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 5 คน เข้ามาจับกุมไป สน.หัวหมาก ขณะนั้นกลัวมาก จึงให้ภรรยาติดต่อพ่อให้ช่วยประกันตัวออกมาสู้คดีดังกล่าว
     
       “ไม่ทราบว่าการขายซีดีนั้นต้องมีใบอนุญาต ส่วนสาเหตุที่นำมาขาย ก็เพราะเงินเดือนน้อย อีกทั้งช่วงนั้นภรรยากำลังท้องลูกคนที่สองได้ 3 เดือน จึงต้องการหาเงินเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการคลอด อย่างไรก็ตาม ผมและครอบครัวขอเคารพในการตัดสินของศาล ส่วนเงินประกันตัวเมื่อวานนี้นั้น ต้องขอขอบคุณ พี่เชน ทนายความของผมที่ช่วยหาหลักทรัพย์มาประกันตัว ถ้าไม่ได้พี่เชนช่วย ผมคงไม่ได้ออกมาแน่” นายสุรัตน์ กล่าว
     
       ขณะที่ นางส้มโอ ภรรยา นายสุรัตน์ กล่าวว่า ในวันที่ถูกจับกุมนั้น กำลังนั่งขายของอยู่กับสามี พอตำรวจมาเชิญตัวสามีไปโรงพัก ก็รู้สึกกลัวมาก ทำอะไรไม่ถูก ได้แต่นั่งร้องไห้ พอตั้งสติได้ก็โทร.ไปหาพ่อสามีให้ช่วยมาประกันตัวตอนนั้นทันที ตนก็ยังไม่มีงานทำ อีกทั้งยังตั้งท้องอยู่ จึงกลัวว่าถ้าสามีติดคุกตนไม่รู้จะหาเลี้ยงลูกอย่างลำพังได้อย่างไร
     
       ต่อมาเวลา 14.00 น.พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะโฆษก ตร.เดินทางเข้าเยี่ยมนายสุรัตน์ และนางส้มโอ เพื่อชี้แจงให้ทั้งสองเข้าใจ พร้อมเปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ที่ทางสำนักงานเขต จะพานายสุรัตน์เดินทางไปสภาทนายความนั้น ทางตำรวจก็จะส่งตัวแทนไปร่วมประสานงานด้วย เพื่อศึกษาแนวทางในการต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมนั้น เบื้องต้นได้สอบถามจาก ผกก.สน.หัวหมาก ก็ทราบว่า ส่วนใหญ่ย้ายออกไปหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม จะทำการติดตามสอบถามจากชุดจับกุมดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องก่อนเพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบในการใช้กฎหมายจับกุมในอนาคตต่อไป
     
       พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวต่อว่า สำหรับ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 นั้นเป็นกฎหมายใหม่ ที่พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงเนื้อหาสาระของข้อกฎหมายตัวนี้มากนัก ซึ่งหลังจากนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ตัวกฎหมายฉบับนี้ให้ รวมถึงกฎหมายฉบับอื่นที่ออกใหม่ เพื่อให้พี่น้องประชาชนให้ได้รับทราบถึงเนื้อหาสาระ เพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
     
       พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวด้วยว่า จากการสอบถาม นายสุรัตน์ และ นางส้มโอ ทราบว่า ขณะนี้มีหนี้สินอยู่จำนวน 50,000 บาท จากการไปหยิบยืมเงินมาจากญาติมาใช้ในการต่อสู้คดี ซึ่งในวันพรุ่งนี้ก็จะมอบเงินส่วนตัวจำนวน 50,000 บาท ให้กับทั้งคู่นำไปใช้หนี้เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมาอีก