PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ม็อบต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเดินเท้ารอรับ"บิ๊กตู่"ยื่นหนังสือ28พ.ย.นี้

ม็อบต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเดินเท้ารอรับ"บิ๊กตู่"ยื่นหนังสือ28พ.ย.นี้

เขียนวันที่
วันพฤหัสบดี ที่ 23 พฤศจิกายน 2560 เวลา 16:35 น.
เขียนโดย
เดลินิวส์

ม็อบต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาออกเดินเท้ารอรับ “บิ๊กตู่” ออกจากจุดสตาร์ทวันนี้เล็งถึงที่หมายยื่นหนังสือครม.สัญจร 28 พ.ย.
นายดิเรก เหมนคร  ผู้ประสานงานเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ออกแถลงการณ์  'เดิน....เทใจให้เทพา หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน เดิน....หานายก หยุดทำลายชุมชน' โดยระบุว่า สืบเนื่องจากการที่นายกรัฐมนตรีจะมาตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดปัตตานีในวันที่ 27 พ.ย. นี้ และประชุมครม.สัญจรที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ.เมืองสงขลา ในวันที่ 28 พ.ย. นี้ ชาวเทพาและเครือข่ายมีมติจะเดินเท้าจากพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาไปหานายกรัฐมนตรีในวันประชุม ครม.สัญจร เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะถึงความไม่เป็นธรรมที่ชาวบ้านได้รับจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีถึงเหตุผลของชาวบ้านที่ไม่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหินและอุตสาหกรรมสกปรก  แต่ต้องการการพัฒนาที่ยั่งยืน
                
'แม้ว่าจะมีการประเมินสถานการณ์แล้วว่ามีโอกาสสูงที่ชาวบ้านที่เดินไปหานายกรัฐมนตรี จะโดนฝ่ายความมั่นคงให้ยุติการเดินและรวบไปปรับทัศนคติ  แต่ชาวบ้านก็ตัดสินใจว่า พร้อมและยืนยันจะเดิน เพราะปัจจุบันอีเอชไอเอโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาได้ผ่านการพิจารณาอย่างไม่ชอบธรรมจากคณะกรรมการชำนาญการและ สผ.แล้ว รอเข้าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และ ใกล้จะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.เพื่ออนุมัติในไม่กี่เดือนนี้แล้ว หากไม่สู้เพื่อปกป้องลมหายใจและชุมชนในครั้งนี้ แล้วจะปกป้องแผ่นดินเกิดในครั้งไหน'นายดิเรกล่าว
             
  นายดิเรก กล่าวต่อว่า กำหนดการเดินทางจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย.ออกเดินจากบ้านบางหลิง ใจกลางพื้นที่ก่อสร้าง มุ่งหน้าสู่บ้านกรงอิตำ อ.เทพา  พื้นที่ที่ห่างจากสถานที่ก่อสร้าง 20 กม. แต่ก็ยังอยู่ในระยะเสี่ยงจากมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งทางอากาศและผลกระทบต่อการประมง จากนั้นในวันที่ 25 พ.ย. ออกเดินจากบ้านกรงอิตำ มุ่งหน้าสู่บ้านปากบางสะกอม อ.จะนะ   พูดคุยกับพี่น้องจะนะ จากบทเรียนการต่อสู้ของพี่น้องจะนะในโครงการโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย และโรงไฟฟ้าจะนะ ในวันที่ 26 พ.ย. ออกเดินจากปากบางสะกอม ถึงบ้านสวนกง อ.จะนะ พักค้างคืนที่หาดเต่าไข่ สันทรายชายหาด 6,000 ปี พื้นที่ใจกลางการคัดค้านโครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 อีกโครงการที่มีปัญหาการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน  
วันที่ 27 พ.ย. ออกเดินจากบ้านสวนกง ถึง อ.เมือง จ.สงขลา นัดหมายเครือข่าย เตรียมการเพื่อเตรียมยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้น  และในวันที่ 28 พ.ย. มุ่งหน้าสู่ที่ประชุม ครม. เพื่อยื่นหนังสือและทำความเข้าใจต่อนายกรัฐมนตรีถึงความเป็นธรรมมากมายที่ประชาชนได้รับจากโครงการพัฒนาทำลายล้างชุมชน ทั้งนี้ชาวบ้านจะใช้หลักอหิงสาเอากายใจเข้าแลกด้วยเสรีภาพและชีวิต  จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทั้งในจังหวัดสงขลาและทั่วประเทศ สนับสนุนร่วม “เทใจให้พี่น้องเทพา” ในกิจกรรมครั้งนี้ และติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เพจ “หยุดถ่านหินสงขลา” เพื่อการร่วมสร้างสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน

ท่า "ต้องห้าม"?!

ท่า "ต้องห้าม"?! ...โหม่งโลก ปัดหมุด ปักหัว ควรใช้ในการ ฝึกพิเศษ เท่านั้น หรือไม่ /แถกกระดี้ รถเจ๊ก
ท่าโหม่งโลก หรือ ปักหมุด ปักหัว กำลังถูกวิพากษณ์ วิจารณ์ หลังกลายเป็นท่าที่ "น้องเมย" นักเรียนเตรียมทหาร ภัคพงษ์. ถูก"ซ่อม" หรือลงโทษ ในรร.เตรียมทหาร เมื่อ23 สค.2560 จนสงสัยกันว่า จะเป็นสาเหตุหนึ่ง ทีัทำให้ น้องเมย วูบล้มลง เทื่อ 17 ตค.2560 หรือไม่....ท่านี้ มีผลต่อ สมอง หรือไม่ และ ควรจะเป็นท่า สำหรับเฉพาะการฝึก หลักสูตรพิเศษ เท่านั้น. แต่กลับถูกนำมาใช้ ในการทำโทษ
ครูฝึกทหาร หลักสูตรรบพิเศษ ให้ความเห็นว่า ปกติแล้ว ท่า ปักหัว แบบนี้ ฝึกเพื่อ สร้างความแข็งแกร่งของ ลำคอ และต้นคอ
แต่จะต้องฝึก ในท่า ในลักษณะที่ถูกต้อง ทั้ง การจัดวางร่างกาย การกางขาทั้ง สองข้าง เพื่อ บาล้านซ์ น้ำหนัก ที่ลงหัว
ที่สำคัญ จะต้อง มี "ครูฝึก" คอยกำกับดูแล อย่างใกล้ชิด แม้จะเป็นท่า ที่ใช้ในการลงโทษ แต่ ครูฝึก ก็ต้องคอยดู และห้ามไม่ให้ ทำนาน เกินกว่า 8-10 นาที ไม่เช่นนั้น อาจเกิดอาการ เลือดตกหัว อาการมึน ได้
และหลีกเลี่ยง การ กดเพิ่มน้ำหนัก ไปบนตัว ผู้ที่ กำลัง ปักหัว และห้ามไม่ให้ กระแทก ศีรษะ กับพื้น
ตั้งข้อสังเกตุ และสันนิษฐานว่า รุ่นพี่ เตรียมทหาร อาจเห็นภาพ ท่าปักหัว โหม่งโลก จากการฝึกหลักสูตรพิเศษ ตามสื่อ ที่มีอยู่ ทั้ง ซีล รีคอน อากาศโยธิน แล้ว นำมา สั่งลงโทษ รุ่นน้อง โดยไม่รู้หลักการที่ถูกต้อง
อีกทั้ง นักเรัยนเตรียมทหาร ปี1 เพิ่งเข้ามา ย่อมยังไม่มีประสบการณ์ ในการฝึก ท่านี้ ที่ถูกต้อง
เมื่อถูกสั่งให้ทำ อาจทำไม่ถูกต้องตามลักษณะของการบาล้านซ์ น้ำหนัก และสภาพพื้น ที่ศีรษะ กดลงไป
ที่สำคัญกว่านั้น ครูฝึก ที่จบ รร.เตรียมทหาร เป็นห่วงมาตลอด เริ่อง ระบบเกียรติศักดิ์. รุ่นพี่ปกครองรุ่นน้อง สามารถทำโทษรุ่นน้องได้ แม้จะมีกฏคือ ห้ามโดนตัว ก็ตาม
แต่อย่าลืมว่า เด็ก นร.เตรียมทหาร ยังเด็กมาก เทียบเท่า เด็กอายุ 14-15 หรือจบม.3 ม.4 มาแค่นั้น วุฒิภาวะ ยังไม่ถึงขั้นที่จะ ตระหนัก ตัดสินใจว่า สิ่งที่ทำนั้น อันตรายหรือไม่. เพราะอาจขาดประสบการณ์ อีกทั้ง ที่ผ่านมา ยังไม่เคย ปรากฏ กรณีเช่นนี้
มีการเปลี่ยน หลักสูตร ไปมา ในการรับ นักเรัยนเข้า รร.เตรียมทหาร จากเดิมที่ รับ ม.4 มาเรียน 2 ปีแล้ว ไปเรัยน รร.นายร้อยเหล่า อีก5 ปี ต่อมาเปลี่ยนเป็น รับ จบ ม.3 มาเรัยน เตรียมทหาร3 ปี แล้ว. เรียน รร.เหล่า อีก4 ปี แต่ที่สุด ก็กลับมาใช่หลักสูตร 2+5ปี เหมือนเดิม เพราะมองว่า ม.3 ยังเด็กไป และ เรัยนนายร้อยเหล่า 4 ปี ก็น้อยไป
เมื่ออายุยังน้อย แต่มารับผิดชอบชีวิต รุ่นน้อง จึงเสี่ยงอันตราย เพราะ เด็กอายุใกล้กัน รุ่นพี่รั่นน้อง ชั้นปี1 และ2 ต่างกันปีเดียว
ต่างจาก ระบบพี่ปกครองน้อง ใน รร.นายร้อย่เหล่า ที่ จะให้ นร.ชั้นปี5 ที่เรียกว่า King Of Cadets เป็นรุ่นปกครอง. ที่ถือว่า รุ่นพี่ พอมีวุฒิภาวะ แล้ว และอายุต่างกัน 3-4 ปี
อีก ทั้ง มีการคัดเลือก "นายทหารปกครอง "มาดูแล อีกชั้นหนึ่ง โดยจะต้องเป๋นนายทหาร ประวัติดี เรียนดี มีความเป็นผู้นำ และได้รับการโหวต มาด้วย
แต่ต่าง จาก รร.เตรียมทหาร ที่ยังเด็กๆกันอยู่ ดังนั้น นายทหาร และครูอาจารย์ จะต้องกำกับดูแล ใกล้ชิด. ไม่ปล่อยให้ พี่น้อง อยู่กันเอง ตามลำพัง
แม้ ผลทางการแพทย์ จะไม่อาจยืนยัน ได้ว่า ท่าโหม่งโลก อันตราย อย่างไรหรือไม่ ก็ตาม แต่ควรจะเป็น ท่าต้องห้าม สำหรับ ฝึกนักเรียนทหาร หรือ พลทหาร
แต่ เป็นท่าสำหรับ คนฝึกรบพิเศษเท่านั้น
เพราะในการฝึก SEAL หรือ Recon หรือ S.O. ของอากาศโยธิน นั้น ท่าปักหัว นี้เป็นท่าประจำปกติ เห็นกันจนชินตา ที่มักให้ปักลง พื้นซีเมนต์ หรือพื้นกรวด จนเป็นแผล เลือดไหล แต่เมื่อต่องทำบ่อยๆ ยอดศีรษะ ก็ปูด นูน แข็ง กลายเปฺนหัวแหลมหลิม กันเลย
บางปี ผบ.ฝึก ก็สั่ง มี ท่าต้องห้าม เช่น แถกกระดี่ และ รถเจ็ก ที่ทำให้เลือด อาบแผ่นอก และแผ่นหลัง ก้น และหน้าอก ที่ถูกไถกับพื้น แทนการใช้เท้าเดิน
แต่ในบางรุ่นครูฝึกก็แอบใช้ท่านี้ลงโทษเพราะแผลที่หน้าอก และก้น แผ่นหลังคือตราสัญลักษณ์ประทับว่า คุณได้ผ่านหลักสูตรเข้มข้น นี้มาแล้วนั่นเอง
เป็นรอยแผลเป็น ที่จะเป็นเครื่องเตือนใจว่าครั้งหนึ่งพวกเขาได้ผ่านหลักสูตรเข้ม และเอาชีวิตรอดมาได้
นี่คือความห่วงใย จาก รุ่นพี่ เตรียมทหาร และ ครูฝึก ที่ฝาก ข้อคิด มุมมองไว้ เป็นบทเรียนราคาแพง
แม้ตอนนี้ จะยังไม่รู้สาเหตุ ที่ทำให้น้องเมยเสียชีวิต จริงๆก็ตาม

"สุรชาติ" วิพากษ์ติดดาบ กอ.รมน. เครื่องมือกองทัพในสงครามการเมือง!

"สุรชาติ" วิพากษ์ติดดาบ กอ.รมน. เครื่องมือกองทัพในสงครามการเมือง!

เขียนวันที่
วันพฤหัสบดี ที่ 23 พฤศจิกายน 2560 เวลา 19:58 น.
เขียนโดย
ศูนย์ข่าวภาคใต้

การแก้กฎหมายเพื่อยกระดับ เพิ่มอำนาจ กอ.รมน.ขนาดนี้ ถูกตั้งคำถามจาก ศ.ดร.ดอกเตอร์ สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการด้านความมั่นคงชื่อดังว่า เป็นการตอกย้ำปรากฏการณ์ในการเมืองไทยถึงการขยายบทบาทของทหาร 
surachart
          อันที่จริงการขยายบทบาทในทางทฤษฎีนั้นจะเกิดในสงคราม เช่น ในยุคสงครามเย็น เพราะภารกิจทางทหารอาจจะเข้ามีส่วนทับซ้อนกับงานของฝ่ายพลเรือน อันอาจทำให้ทหารเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในสังคม
          แต่การขยายบทบาทของทหารไทยปัจจุบันไม่ได้มาจากเงื่อนไขสงคราม แต่มาจากการมีอำนาจด้วยการรัฐประหาร จึงทำให้กองทัพสามารถขยายบทบาทได้อย่างไม่มีข้อจำกัด การขยายบทบาทเช่นนี้ไม่มีความชัดเจนว่าภารกิจด้านความมั่นคงคืออะไร ซึ่งอาจทำให้ตีความได้ว่า กองทัพขยายบทบาทเพื่อการควบคุมการเมือง และอาจจะต้องมองคู่ขนานกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และอำนาจในการตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน
          บทบาทเช่นนี้จึงกลายเป็นว่า งานความมั่นคงของ กอ.รมน.ในอนาคต อาจกลายเป็นเครื่องมือในการต่อต้าน ตอบโต้กับองค์กรการเมืองของฝ่ายพลเรือน เช่น พรรคการเมืองที่กำลังจะกลับมามีบทบาทในอนาคต เพราะการเลือกตั้งที่อาจจะเกิดขึ้นตามโรดแมพหลังจากกฎหมายลูกถูกร่างเรียบร้อยแล้ว กอ.รมน.ในเงื่อนไขเช่นนี้อาจถูกวิจารณ์ว่าเป็นองค์กรที่จะเข้ามาเสริมบทบาททหารในทางการเมือง และในการต่อสู้ทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
          อย่างไรก็ตาม คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 51/2560 นี้ พยายามลดกระแสต่อต้านด้วยการสร้างให้เกิดภาพลักษณ์ว่า กอ.รมน.จะเป็นองค์กรในการแก้ปัญหาความมั่นคงภายใน ทั้งที่ในโครงสร้างปัจจุบัน รัฐบาลสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ได้อยู่แล้ว เช่น การสั่งการผ่านสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แต่การเลือกเอา กอ.รมน.มาใช้เช่นนี้ เป็นเพราะในความเป็นจริงแล้ว กอ.รมน. คือ "กองทัพบก" ไม่ใช่เป็นองค์กรของฝ่ายพลเรือน การออกคำสั่งเช่นนี้เท่ากับส่งสัญญาณว่า งานความมั่นคงทั้งหมดในอนาคตจะอยู่ในมือของทหารแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยเฉพาะในมือของกองทัพบกที่มีบทบาทสำคัญใน กอ.รมน.
          ในอีกด้าน คำสั่งนี้เป็นความพยายามในการยกระดับให้ กอ.รมน.เป็นเสมือน Homeland Security(กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ) ของสหรัฐ แต่ในความเป็นจริงแล้ว กอ.รมน. เป็นองค์กรทางทหาร และไม่มีขีดความสามารถที่จะทำได้เช่นนั้นได้
          ฉะนั้นภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดความกังวลว่า องค์กรนี้จะถูกใช้เพื่อภารกิจทางการเมืองมากกว่าจะทำงานด้านความมั่นคงจริงๆ ดังที่เห็นได้จากปรากฏการณ์หลังรัฐประหาร 2549 และ 2557 ที่ กอ.รมน.กลายเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนบทบาทของทหารทั้งในเมืองและชนบท และเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า กอ.รมน. เป็นเครื่องมือของกองทัพในสงครามการเมืองในปัจจุบัน
          ถ้าเป็นเช่นนี้ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคตที่อ่อนแอจากเงื่อนไขรัฐธรรมนูญของ คสช. จะยิ่งประสบปัญหาจากการขยายบทบาทของทหารเช่นนี้มากขึ้นไปอีก
-----------------------------------------------------------------------------------------

ครม.ไฟเขียว 'ข่าวกรอง' เชื่อมระบบหน่วยงานรัฐ ล้วงฐานข้อมูลประชาชน

ครม.ไฟเขียว 'ข่าวกรอง' เชื่อมระบบหน่วยงานรัฐ ล้วงฐานข้อมูลประชาชน
วันอังคาร ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

 
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนว่า ที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบให้สำนักข่าวงานกรองแห่งชาติ มีอำนาจสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับฐานข้อมูลของหน่วยงานราชการทุกหน่วยได้ โดยก่อนหน้านี้ สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ ได้เสนอกฎหมายฉบับนี้และผ่านความเห็นชอบครม.แล้ว แต่ขณะนี้อยู่ในขั้นปรับปรุงแก้ไขโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่เกิดช่องว่างขึ้นคือระหว่างที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ จึงขอความเห็นขอบครม.เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้

ทั้งนี้ สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ ชี้แจงว่า มีหน่วยงานราชการที่ทีมีความจำเป็นจะต้องเชื่อมโยงฐานข้อมูลทั้งสิ้น 34 ฐานข้อมูล โดยข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อมูลที่ลึกลับ แต่เป็นข้อมูลของประชาชนที่ถูกเปิดเผยอยู่แล้วจากการติดต่อราชการ เช่น ใบพกพาอาวุธ ใบขับขี่ ใบสมรส ซึ่งเป็นข้อมูลที่กระจายอยู่ตามหน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ จึงขอเชื่อมโยงข้อมูลที่ถือเป็นมาตรฐานสากล ซึ่งทุกประเทศปฏิบัติเช่นนี้ เพื่อให้หน่วยงานงานความมั่นคงสามารถดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องคดีความ เช่นฆาตกรรม ทุจริตประพฤติมิชอบ หรือก่อเหตุร้ายแล้วออกนอกประเทศ สิ่งเหล่านี้สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติจะสามารถดึงข้อมูลมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด โดยการขอเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวจะดำเนินการจนกว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้

ลงตัว !! "กฤษฏา" มาแน่ นั่ง "รมว.เกษตรฯ"

ลงตัว !! "กฤษฏา" มาแน่ นั่ง "รมว.เกษตรฯ"
"กฤษฎา" ผงาด คุม "กระทรวงเกษตรฯ" "อ.ยักษ์-ลักษณ์" แท็กทีม นั่ง "รมช." ลุ้น "บิ๊กตู่" ปลอบใจ เพื่อนรัก ให้ "บิ๊กฉัตร" นั่ง "รองนายกฯ" หรือ “รมว.แรงงาน”
22 พ.ย.60 - แหล่งข่าว เปิดเผยกับเครือเนชั่นถึงรายชื่อครม.ประยุทธ์ 5 ที่นายกรัฐมนตรีได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้วนั้น ล่าสุดในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ค่อนข้างชัดเจนแล้ว โดย นายกฤษฎา บุญราช อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่ แม้ที่ผ่านมาเจ้าตัวจะปฏิเสธแล้วก็ตาม
ขณะที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ มีชื่อของ นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ อาจารย์ยักษ์ อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) และอดีตประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา สปท. และ นายลักษณ์ วัจนานวัช อดีตผู้จัดการ ธ.ก.ส.
ส่วนพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ เพื่อนรักพล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งจะหลุดจากเก้าอี้รัฐมนตรีเกษตรฯ ค่อนข้างแน่นอนแล้ว ยังต้องจับตาต่อไปว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะปลอบใจด้วยการแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานตามที่มีข่าวมาตั้งแต่ต้นหรือไม่ หรือจะมาเป็นรองนายกฯ.

ลูกผมถูกทำโทษในห้องน้ำของนายทหาร

"คืนนั้น..จากปากลูกชายผม ...ลูกผมถูกทำโทษในห้องน้ำของนายทหาร เวลาประมาณ 4 ทุ่ม"
"เขาลงโทษลูกผม..ด้วยการเอาหัวปักไปที่พื้น เอาหัวลงไปพื้นมันมีเหล็กนะครับ เป็นเหล็กที่ท่อระบายน้ำ แล้วให้สลับขา"
เสียงจากพ่อ ...น้องเมย..!!

นาย พิเชษฐ ตัญกาญจน์ บิดา นตท.ภคพงศ์ ตัญกาญจน์ หรือ "น้องเมย" นักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 17ตุลาคมที่ผ่านมา ให้สัมภาษณ์ ไทยพีบีเอส เมื่อ วันที่ 21 พ.ย.2560
 
"น้องมอบตัววันแรก เดือนเมษายน เรียนมาได้เทอมนึงประมาณ 5 -6 เดือน
เริ่มมีปัญหา 23 สิงหาคม 2560 ... กลางคืน ไม่รู้ข่าว แต่ผมมาทราบเช้า 24 สิงหาฯ จากเพื่อนที่อยู่ รพ.จปร. แจ้งว่า ลูกชาย ผมอยู่ รพ.จปร.
ตีรถขึ้นไปดู เห็นอาการฟื้นแต่ไม่ดี มีสายน้ำเกลือ
ผมนอนกับเขาเฝ้าลูกที่จปร. 1 คืน คุยกันหลายอย่าง คำแรกที่ผมถึง จปร. ถามลูกว่า "ออกไหมลูก"
คำตอบที่เขาตอบ "พ่อครับ ผมเดินมาไกลแล้ว" ผมดีใจที่เขาทำตามที่เขาฝัน คุยอะไรกันต่างๆ นานา
ถามหลายสิ่งว่าเกิดอะไรกับเขา อะไร ยังไง เขาก็เล่า
คืนวันที่ 23 สิงหาคม ที่เขาถูกทำโทษ เพราะผมเห็นแขนที่มีรอยปากกาลบคำผิด (ลิขวิด) ปักเป็นรอยรูดลากมาเลย ผมรู้แล้วว่า อาการแบบนี้ต้องเป็นอาการคนโกรธมาก
เขาไม่เคยร้องไห้ แต่ครั้งนี้ร้องไห้ บอกผมว่า พ่อครับ ด้วยความที่เป็นรุ่นพี่กับรุ่นน้อง ผมทำอะไรเขาไม่ได้
ผมบอกลูกไปว่าดีแล้ว เพราะเราตั้งใจมาเรียน
คุยกันเรื่อยๆ จนค่ำมืด ถามเขาว่า เจ็บตรงไหนไหม
เขาบอก "พ่อครับ เจ็บที่หัว" ... ไอ้วันแรกที่หัว ท่าที่ปักลงไปที่รุ่นพี่ลงโทษคืนวันที่ 23 สิงหาคม มันยังไม่ช้ำเท่าไหร่ แต่ผมรู้ว่าเขาเจ็บ เพราะโดนปั๊ปแล้วเขาเจ็บ
++++++++++++
แต่พอกลับมาจาก รพ.จปร. เมื่อ 25 สิงหาคม มาอยู่ที่กองพยาบาลของโรงเรียนเตรียมทหาร
อาการเริ่มเห็น ผมมองหัวเขา มันจะเป็นน้ำเหลืองออก เจ็บมาก อาการเริ่มบวมแล้ว ผมถามว่า เป็นอย่างไร ไหนตั้งใจเล่าให้พ่อฟัง
เขาบอกว่า เขาโดนรุ่นพี่ลงโทษมา เมื่อ 23 สิงหาคม เขาเดินมากับพี่อีกหนึ่งคน ที่เป็นหัวหน้านักเรียน และแยกทางกันไป
ลูกบอกผมว่า เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่นักเรียนใหม่ "ห้ามเดิน" แต่เขาไม่ได้ใหม่แล้ว เพราะมีแหวนรุ่น รับแหวนแล้ว เดินได้
แต่จริงๆ เส้นทางตรงนี้ ผมถามทางโรงเรียนว่า ใครกำหนด..
ทางโรงเรียนแจ้งว่า โรงเรียนไม่ได้กำหนด นักเรียนกำหนดขึ้นเอง
ผมถามผู้พันที่โรงเรียนว่า แบบนี้ใครผิด ... เขาบอก ลูกคุณไม่ผิด อันนี้คุยกัน วันที่ 25 สิงหาคม ที่นำลูกกลับจาก รพ.จปร. มากองพยาบาล
ผมลงไปพบกับผู้พันที่ในกองพัน 2 สอบถามเรื่องทั้งหมดเป็นอย่างไร อยากรู้ว่าลูกผมผิดเรื่องอะไร
คืนนั้นจากปากลูกชายผม ...ลูกผมถูกทำโทษในห้องน้ำของนายทหาร ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 4 ทุ่ม
รอบแรก 2 ทุ่มลงโทษไปครั้งแล้ว
แล้วรุ่นพี่คนนั้นถามว่า ได้อ่านหนังสือหรือยัง ถ้ายังไปอ่านหนังสือก่อน แล้วค่อยกลับมา"แดก"ใหม่
ขอใช้คำว่า"แดก" เพราะคำนี้ กับคำว่า "ธำรงวินัย" เด็กในโรงเรียนจะใช้คำว่า "แดก"
+++++++++++++
หลังจาก 4 ทุ่ม..เขาอ่านหนังสือเสร็จ มาพบรุ่นพี่ ก็ได้ไปธำรงวินัยในห้องน้ำ
ผมถามผู้บังคับบัญชาเขา...บอกว่า ลูกผมไม่ผิด
ท่าที่รุ่นพี่สั่ง ... เขาผิด
ในห้องน้ำของนายทหาร .. ก็ผิด
แล้วเหตุแบบนี้เริ่มต้น ลูกผมไม่ผิด แต่เด็กคนนั้นลงโทษลูกผมหาว่าผิด เป็นรุ่นพี่ปี 3
ผมคิดว่าไม่น่ามีเรื่องอะไรกันมา เพราะมีรูป.. มีรูปถ่ายไปถ่ายตอนรับแหวนด้วยกัน
ผู้พันได้บอกว่า ลงโทษเด็กคนนั้นแล้ว ด้วยการปลดออกจากคอมแมน และตัดแต้ม 30 แต้ม
ผมยังถามว่า ผู้พันไม่ลงโทษแบบนั้นได้ไหม เพราะเขาอาจเสียโอกาส
หลังจากนั้น ผมถามผู้พันว่า แล้วมันจะจบไหม เรื่องในกองพัน เขาบอกว่า ต้องจบครับ.. ต้องจบ
+++++++++++++
เขาลงโทษยังไง..
เขาลงโทษลูกผม ด้วยท่าเอาแคงการู.. ด้วยการเอาหัวปักไปที่พื้น พื้นที่หัวลงไปเป็นเหล็กนะครับ เป็นเหล็กที่ท่อระบายน้ำ แล้วให้สลับขา
จริงๆ ผมว่าไม่เกิน 15 นาที คนธรรมดาเสร็จ เพราะเลือดมันลงไปอยู่ที่หัว
ผมถามคุณหมอ..ที่กองพยาบาล แจ้งว่า เลือดที่ลงไปอยู่ที่หัวนานๆ ความดันมันจะสูง สูงบ้างต่ำบ้าง สูงบ้างต่ำบ้าง แล้วจะหมดสติไปเอง
ผมไปพบคุณหมอที่กองพยาบาล โรงเรียนเตรียมทหาร ถามว่า ลูกผมแกล้งสลบได้ไหม ...
หมอบอกว่า แกล้งหลับลึกคงแกล้งได้... แต่แกล้งแบบไม่มีชีพจรเลย ..แกล้งไม่ได้
ผมถึง อ๋ออออ.. รู้ว่า "ลูกผมถูกกระทำ"
ในวันนั้นจริงๆ ผมคิดว่า ผมจะแจ้งความ ...แต่เพราะคิดว่า ลูกเขาบ้าง ลูกเราบ้าง ผมเลยไม่แจ้งความ
แต่ผลจากเหตุการณ์ 23 สิงหาคม ลูกผมอยู่กองพยาบาลตลอดเลย ไม่ทราบว่าเพราะอะไร
เด็กทุกคนไม่กล้าเอ่ย ไม่กล้าพูดว่า โดนอะไร
แต่มีบางคนที่เห็นแล้วบอกว่า ลูกผมโดนอะไร คือ การโดนเดี่ยว... คำว่าโดนเดี่ยว คือ โดนลงโทษคนเดียว นึกออกมา เป็นลักษณะนี้มาตลอด
 
+++++++++++++
ต้นเดือนกันยายน 2560 ลูกชายมาดูงานภาคตะวันออก
จากนั้นปิดเทอม ..มาพักที่บ้าน 1 สัปดาห์...
แล้วกลับเข้าโรงเรียน
และกลับไปเจอลักษณะเดิมๆ
จนเมื่อก่อนวันที่ 10 ตุลาคม 2560 ผมถามเขาว่า..ทำไมอยู่แต่กองพยาบาล เพราะสภาพภายนอกเขาก็ยังดี
แต่เพื่อนเขาบอกว่า เจอ"น้องเมย"โดนเดี่ยว แบบนั้น แบบนี้ แต่ทางผู้พันบอกว่า ไม่มีอะไร แต่ทำไมลูกผมต้องไปเจออะไรอีก
+++++++++++++
ถามลูก...ลูกบอก ไม่เป็นอะไร
ถามหนักๆ ก็ไม่บอก
เมื่อถาม.. ลูกก็บอกว่า.. "เป็นความลับทางราชการ ผมไม่อยากพูด"
จนมาถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2560 เขาโทรมาแล้วร้องไห้ แจ้งว่า เขาตกบันไดอีก แต่ตกจริง หรือไม่จริง ผมก็ไม่แน่ใจ
บอกเขาว่า 11 ตุลาคม จะขึ้นไปดูลูก
วันที่ 12 ..โรงเรียนปล่อยกลับ ประมาณ 5 โมง ผมรออยู่หน้าสโมสร รอรับเขากลับบ้าน
วันที่ 13 .. พาลูกไปโรงพยาบาล เพราะอยากรู้ว่าการล้มของเขาเป็นอย่างไร เอ็กซเรย์ดู หมอแจ้งว่า ไม่มีอะไร
วันที่ 14 .. อยู่บ้าน 1 วัน
วันที่ 15 .. ส่งลูกที่โรงเรียน ...ส่วนผมกลับบ้าน
วันที่ 16 ช่วงเช้า ... ผมได้รับข่าวจากเด็กนักเรียนว่า ลูกผมขึ้นไปอยู่ที่กองพยาบาลอีกแล้ว
ผมถามว่า สาเหตุอะไร ... เขาบอกว่า ถูกเพื่อนเดี่ยว (ลงโทษคนเดียว) ที่โรงเรียนของโรงอาหาร
จนลูกผมเขาสลบ...
แล้วถูกหามกันมาที่กองพยาบาล เพื่อมาให้น้ำเกลืออีก
ผมจึงรู้จากเจ้าหน้าที่คนหนึ่งว่า ลูกผมได้กลับมาให้น้ำเกลือวันที่ 16 อีกแล้ว
หลังจากวันที่ 16 ผมคิดว่าทำไมเป็นลักษณะนั้น ลงไปกองพันก็ไม่เจออะไร .... วันที่ 15 ผมไม่รู้ว่าเขาเจออะไร
ไม่มีใครมายืนยัน และกล้ารับว่าเกิดอะไรขึ้น... แม้แต่ผู้พัน บอกว่า จะพาเด็กที่ลงโทษมาคุยกับผม
แต่ผมบอกว่า ถ้าทำแล้วไม่สบาย ไม่ต้องมาหรอก...
วันที่ 17 ตุลาคม 2560 .. น้องเมย ... เสียชีวิต ...
วันนั้น เวลาเที่ยงกว่าๆ น้องโทรคุยกับแม่ นักข่าวลองไปถามแม่ดูว่าคุยอะไรกับลูก
บ่าย 3 กว่า ผมคุยกับลูก โดยแฟนผมส่งโทรศัพท์มาให้ หลังจากที่แฟนได้คุยกับลูก
แต่พอยื่นมาถึงผม ... ลูกคุยกับผม 3 คำ ..
"..พ่อครับ สตางค์หมดแล้ว.."
แล้วได้ยินเสียงสัญญาณโทรศัพท์ดัง ตื้ดๆๆๆ ตัดไป
+++++++++++++++++
มารู้อีกที ราวๆ 5 โมงเย็น ทางกองพยาบาลโทรมาบอกว่า ลูกผมฟุบลงไป..
นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมคิดตั้งแต่วันที่ 15-17 (ตุลาคม 2560) ว่าลูกผมเจอกับอะไร ที่เขาเสียชีวิต
แล้วทางกองพยาบาลฯ แจ้งแฟนผมว่า ให้รีบไปที่ รพ.จปร. ซึ่งห่างจากโรงเรียนเตรียมทหาร 5 กิโลฯ
ผมไปถึงประมาณ 2 ทุ่ม... เห็นสภาพในห้องฉุกเฉิน กำลังปั๊มหัวใจลูกผม ..
หลังจากเสียชีวิตแล้ว ลูกสาวผมไปขอรายละเอียดกับ รพ.จปร. และ กองพยาบาล ซึ่งให้เหตุผลไม่ตรงกัน
แต่ รพ.จปร. มีเอกสารยืนยันว่า มาถึง รพ. น้องเมย ไม่มีชีพจรแล้ว ...
และแจ้งว่า ลูกผมเสียชีวิต
.... "หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน" ....
แต่เพราะอะไร..? นี่เป็นสาเหตุที่ผมคลางแคลงใจมาตลอด.."

สนช.ผ่าน พรป.วิธีพิจารณาของศาลรธน.

วันนี้ (23 พฤศจิกายน 2560) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติเเห่งชาติ(สนช.) พิจารณาเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ... เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเอกฉันท์ เห็นชอบ 188 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง จากทั้งหมด 193 เสียง
สาระสำคัญๆ ในร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่ “สิทธิประชาชนในการยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ” และ “การห้ามละเมิดอำนาจศาล”
“สิทธิประชาชนในการยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ” มาจากมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่บัญญัติไว้ว่า “บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ”
พ.ร.ป ฉบับนี้ได้กำหนดรายละเอียดเรื่องสิทธิประชาชนในการยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญไว้ดังนี้
๐ การฟ้องให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญหมวด 5
ประชาชนสามารถยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ในกรณีที่รัฐไม่ปฏิบัติตามหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐ อำนาจนี้ปรากฎอยู่ในมาตรา 7 (3/1) ซึ่งเป็นมาตราที่กมธ.วิสามัญได้พิจารณาเพิ่มขึ้นมาจากร่างของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)
โดยวิธีการยื่นคำร้องตามหมวด 5 อยู่ในมาตรา 44/1 แต่ประชาชนจะฟ้องต้องยื่นร้องต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก่อน หากหน่วยงานรัฐปฏิเสธ ไม่ดำเนินการภายใน 90 วัน ให้ประชาชนยื่นหนังสือโต้แย้งต่อหน่วยงานนั้นภายใน 30 วัน และให้ยื่นร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินภายใน 30 วัน หลังยื่นหนังสือโต้แย้งต่อหน่วยงานรัฐ และหากผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าหน่วยงานของรัฐปฏิบัติไม่ครบถ้วน ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอต่อคณะรัฐมนตรีสั่งการ เเต่ถ้าหากผู้ร้องเห็นว่าคณะรัฐมตรีปฏิบัติไม่ถูกต้อง จึงจะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้
๐ การฟ้องคดีถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ
ผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพสามารถยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งปรากฎอยู่ในมาตรา 7 (10) ซึ่งกมธ.วิสามัญได้แก้ไขมาตรา 46 บัญญัติเพิ่มเติมว่า การละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้นต้องเป็นการละเมิดสิทธิอันเกิดจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานซึ่งใช้อำนาจของรัฐ และจำกัดว่าต้องไม่ใช่การกระทำของรัฐบาล
โดยวิธีการยื่นคำร้อง อยู่ในมาตรา 47 ให้ยื่นคำร้องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน และให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 60 วัน โดยให้แจ้งผลให้ผู้ร้องทราบภายใน 10 วัน หลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว ดังนั้น ผู้ร้องจะต้องทราบผลภายใน 70 วัน แต่ถ้าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องหรือไม่ทำตามเวลาที่กำหนด ผู้ละเมิดมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลได้โดยตรง
"การห้ามละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ” ปรากฏอยู่ในมาตรา 38-39 ของร่างฉบับนี้
โดยกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อยของการพิจารณาคดี ในส่วนที่บุคคลเข้ามาในบริเวณที่ทำการศาล โดยศาลอาจมีคำสั่งให้บุคคลกระทำหรืองดกระทำเพื่อให้การพิจารณาคดีดำเนินไปโดยสงบเรียบร้อยและรวดเร็ว
นอกจากนั้น มาตรา 38 วรรคสาม กำหนดไม่ให้ "วิจารณ์คำสั่งและคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" ที่กระทำด้วยความไม่สุจริต และใช้ถ้อยคำหรือความหมายที่หยาบคาย เสียดสี อาฆาตมาดร้าย ให้เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลด้วย ซึ่งกมธ.วิสามัญฯ ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อความจากร่างฉบับเดิมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ที่กำหนดไม่ให้ “วิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ” เท่านั้น
การละเมิดอำนาจศาลมีบทลงโทษตามมาตรา 39 ตั้งเเต่ การตักเตือน การไล่ออกจากบริเวณศาล ไปจนถึงการลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ กมธ.วิสามัญฯ ยังได้แก้ไขมาตรา 39 ด้วยการเพิ่มเติมวิธีการตัดสินลงโทษการละเมิดอำนาจศาล โดยการสั่งลงโทษนั้นต้องมีมติสองในสามจากตุลาการฯ ซึ่งเท่ากับตุลาการฯ 6 คน จากทั้งหมด 9 คน
...
๐ ร่าง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ: ห้ามวิจารณ์และให้อำนาจแก้ 'เดดล็อคทางการเมือง' (ร่างเดิมจากกรธ.) https://www.ilaw.or.th/node/4657
๐ ร่าง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญฯ กมธ.พิจารณาเสร็จแล้วhttp://bit.ly/2A0TyR9

"เพิ่มเงินประจำตำแหน่งทหารวิชาการ"

สนช. เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหารฯ "เพิ่มเงินประจำตำแหน่งทหารวิชาการ"
วันนี้ 23 พฤศจิกายน 2560 เวลาประมาณ 10.15 น. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร ในวาระสองและสาม ร่างฉบับนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการ ประเภทวิชาการในสถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหม และเพิ่มบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการ ประเภทวิทยฐานะ (ครู)
ในวาระที่สอง ร่างพ.ร.บ.ฉบับ คณะกรรมาธิการฯ ไม่มีการแก้ไข และไม่มีการอภิปรายจากสมาชิกสนช. จนกระทั่งเวลาประมาณ 10.30 น. จะมีการลงมติในวาระสาม ผลคือที่ประชุมสนช. จำนวน 197 คน เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหารฯ เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเห็นชอบ เห็นชอบ 193 เสียง ไม่เห็นชอบ 0 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง
ร่างพ.ร.บ.ฉบับใช้เวลาเพียงสั้นๆ 15 นาที ในการเห็นชอบ เนื่องจากมีเนื้อหาสั้นๆ เพียงสี่มาตรา โดยมีสองประเด็นสำคัญ คือ
1.การแก้ไข “บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการทหาร ประเภทวิชาการในสถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหม” โดยไม่นำชั้นยศทางทหารมาเป็นหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพด้านการเรียนการสอน และขวัญกำลังใจ
สำหรับข้าราชการทหาร ประเภทวิชาการ คือทหารที่ทำงานในสถาบันระดับอุดมศึกษา ได้แก่ โรงเรียนนายรัอยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ วิทยาลัยพยาบาลเหล่าทัพ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ทั้งนี้ ปัจจุบันทหารวิชาการถ้าจะดำรงตำแหน่งวิชาการ เช่น จะเป็นศาสตราจารย์ได้ต้องมียศตั้งแต่ “พันเอก(พิเศษ)” ถึงยศ “พลโท” ซึ่งทำให้ถูกจำกัดความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งวิชาการ
2. เพิ่ม “บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการทหาร ประเภทวิทยฐานะ หรือครู ” เพื่อให้ข้าราชการทหารที่ทำหน้าที่สอนวิชาสามัญ วิชาชีพ และวิชาการทหาร มีสิทธิได้รับเงินวิทยฐานะ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการทำหน้าที่สอน
สำหรับข้าราชการทหาร ประเภทวิทยฐานะ คือทหารที่ทำงานในสถาบันการศึกษาต่ำกว่าอุดมศึกษาและหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนวิชาเฉพาะสาขาหรือวิชาเฉพาะทางตามความต้องการของกองทัพ เช่น โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนช่างฝีมือทหาร โรงเรียนนายสิบทหารบก โรงเรียนจ่าทหารเรือ โรงเรียนจ่าอากาศ เป็นต้น
.
การแก้ไขเพิ่มเติมร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้นับเป็นครั้งที่สามแล้ว ที่สนช. พิจารณากฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับการเพิ่มเงินให้กับทหารเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน
ย้อนกลับไป ครั้งแรก วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร โดยครั้งนั้นเป็นการแก้ไขกฎหมายกำหนดให้ตำแหน่งตุลาการพระธรรมนูญและอัยการทหารได้รับเงินเพิ่มเพื่อให้สามารถดำรงตนอยู่ในความยุติธรรมได้อย่างสมเกียรติ
และครั้งที่สอง วันที่ 19 มีนาคม 2558 สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร โดยครั้งนั้นเป็นการแก้ไขกฎหมายเพื่อปรับเงินเดือนข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้เหมาะสม เป็นธรรม และได้มาตรฐาน
...
ข้อมูลเพิ่มเติม
๐ สนช.รับหลักการร่างกฎหมาย "แก้ไขเพิ่มเติมเงินประจำตำแหน่งทหารวิชาการ" เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ http://bit.ly/2iSvKdD
๐ ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว http://bit.ly/2B1Pi32
๐ พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2558 http://www.senate.go.th/bill/bk_data/80-6.PDF
๐ ระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2558 http://www.senate.go.th/bill/bk_data/88-6.PDF
...
ภาพ: พ.อ.เจนวิทย์ เด็ดแก้ว กรรมาธิการวิสามัญฯ กำลังชี้แจงต่อที่ประชุมสนช.

สนช.ผ่านพ.ร.ป.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .

วันนี้ (23 พฤศจิกายน 2560) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติเเห่งชาติ(สนช.) พิจารณาเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ... เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเอกฉันท์ เห็นชอบ 188 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง จากทั้งหมด 193 เสียง
สาระสำคัญๆ ในร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่ “สิทธิประชาชนในการยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ” และ “การห้ามละเมิดอำนาจศาล”
“สิทธิประชาชนในการยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ” มาจากมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่บัญญัติไว้ว่า “บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ”
พ.ร.ป ฉบับนี้ได้กำหนดรายละเอียดเรื่องสิทธิประชาชนในการยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญไว้ดังนี้
๐ การฟ้องให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญหมวด 5
ประชาชนสามารถยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ในกรณีที่รัฐไม่ปฏิบัติตามหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐ อำนาจนี้ปรากฎอยู่ในมาตรา 7 (3/1) ซึ่งเป็นมาตราที่กมธ.วิสามัญได้พิจารณาเพิ่มขึ้นมาจากร่างของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)
โดยวิธีการยื่นคำร้องตามหมวด 5 อยู่ในมาตรา 44/1 แต่ประชาชนจะฟ้องต้องยื่นร้องต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก่อน หากหน่วยงานรัฐปฏิเสธ ไม่ดำเนินการภายใน 90 วัน ให้ประชาชนยื่นหนังสือโต้แย้งต่อหน่วยงานนั้นภายใน 30 วัน และให้ยื่นร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินภายใน 30 วัน หลังยื่นหนังสือโต้แย้งต่อหน่วยงานรัฐ และหากผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าหน่วยงานของรัฐปฏิบัติไม่ครบถ้วน ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอต่อคณะรัฐมนตรีสั่งการ เเต่ถ้าหากผู้ร้องเห็นว่าคณะรัฐมตรีปฏิบัติไม่ถูกต้อง จึงจะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้
๐ การฟ้องคดีถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ
ผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพสามารถยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งปรากฎอยู่ในมาตรา 7 (10) ซึ่งกมธ.วิสามัญได้แก้ไขมาตรา 46 บัญญัติเพิ่มเติมว่า การละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้นต้องเป็นการละเมิดสิทธิอันเกิดจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานซึ่งใช้อำนาจของรัฐ และจำกัดว่าต้องไม่ใช่การกระทำของรัฐบาล
โดยวิธีการยื่นคำร้อง อยู่ในมาตรา 47 ให้ยื่นคำร้องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน และให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 60 วัน โดยให้แจ้งผลให้ผู้ร้องทราบภายใน 10 วัน หลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว ดังนั้น ผู้ร้องจะต้องทราบผลภายใน 70 วัน แต่ถ้าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องหรือไม่ทำตามเวลาที่กำหนด ผู้ละเมิดมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลได้โดยตรง
"การห้ามละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ” ปรากฏอยู่ในมาตรา 38-39 ของร่างฉบับนี้
โดยกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อยของการพิจารณาคดี ในส่วนที่บุคคลเข้ามาในบริเวณที่ทำการศาล โดยศาลอาจมีคำสั่งให้บุคคลกระทำหรืองดกระทำเพื่อให้การพิจารณาคดีดำเนินไปโดยสงบเรียบร้อยและรวดเร็ว
นอกจากนั้น มาตรา 38 วรรคสาม กำหนดไม่ให้ "วิจารณ์คำสั่งและคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" ที่กระทำด้วยความไม่สุจริต และใช้ถ้อยคำหรือความหมายที่หยาบคาย เสียดสี อาฆาตมาดร้าย ให้เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลด้วย ซึ่งกมธ.วิสามัญฯ ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อความจากร่างฉบับเดิมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ที่กำหนดไม่ให้ “วิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ” เท่านั้น
การละเมิดอำนาจศาลมีบทลงโทษตามมาตรา 39 ตั้งเเต่ การตักเตือน การไล่ออกจากบริเวณศาล ไปจนถึงการลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ กมธ.วิสามัญฯ ยังได้แก้ไขมาตรา 39 ด้วยการเพิ่มเติมวิธีการตัดสินลงโทษการละเมิดอำนาจศาล โดยการสั่งลงโทษนั้นต้องมีมติสองในสามจากตุลาการฯ ซึ่งเท่ากับตุลาการฯ 6 คน จากทั้งหมด 9 คน
...
๐ ร่าง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ: ห้ามวิจารณ์และให้อำนาจแก้ 'เดดล็อคทางการเมือง' (ร่างเดิมจากกรธ.) https://www.ilaw.or.th/node/4657
๐ ร่าง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญฯ กมธ.พิจารณาเสร็จแล้วhttp://bit.ly/2A0TyR9