PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562

ปีนี้ 3งานสำคัญ “พระราชพิธีฯ-การเลือกตั้ง-ประธานAsean”

ปีนี้ 3งานสำคัญ “พระราชพิธีฯ-การเลือกตั้ง-ประธานAsean”
โฆษกกลาโหม ออกโรง ซัด นักการเมืองอดีต บิ๊กขรก.ป้ายสีกองทัพ-รร.ทหาร ใช้ถ้อยคำหยาบคาย วาจาก้าวร้าว ทำไม่เหมาะสม ชี้ควรสร้างสรรค์ รักษาความสงบเรียบร้อย แนะ ร่วมกันยกระดับบรรทัดฐานทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์ รับปีสำคัญ ทั้ง พระราชพิธีฯ-การเลือกตั้ง-ประธานอาเซี่ยน
พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. กล่าวว่า ปี 2562 เป็นปีแห่งความปลื้มปิติและความเป็นมงคลยิ่งของปวงชนชาวไทย
และเป็นวาระสำคัญของประเทศในการเลือกตั้งทั่วไป
และการร่วมกันทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพอาเซียน
รัฐบาล โดยฝ่ายความมั่นคง ยังคงเดินหน้าร่วมกันขับเคลื่อนงานหลักในการดูแลความมั่นคงปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของประเทศต่อเนื่องกันไป
โดยจะให้ความสำคัญกับงานด้านการข่าว และการคุมเข้มมาตรการบังคับใช้กฎหมาย ควบคู่กับการขอความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อรักษาบรรยากาศความสงบเรียบร้อยของสังคมร่วมกันโดยยึดเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง
สำหรับการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อและการลงพื้นที่หาเสียงของบางพรรคการเมือง ที่มีเจตนากล่าวพาดพิง พยายามชี้นำ บิดเบือน เชื่อมโยงข้อมูล ใส่ร้ายป้ายสีกองทัพ และสถาบันการศึกษาทางทหาร ให้มีภาพลักษณ์เสียหาย และเกิดความเข้าใจผิด ให้ประชาชนที่ผ่านมานั้น
ขอให้สังคมได้ใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบและร่วมกันพิจารณายกระดับบรรทัดฐานการทำงานการเมืองใหม่อย่างสร้างสรรค์ ควบคู่กันไป
โดยเฉพาะอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่อาสาเข้ามาทำงานการเมือง ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสังคม ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย วาจาก้าวร้าว พาดพิงสถาบันใดๆ เพียงเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่สร้างสรรค์และแสดงออกถึงวุฒิภาวะที่ไม่เหมาะสม
โดยเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นที่พึงปรารถนาของสังคมและเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่เด็กและเยาวชน
“ขอยืนยันว่า กองทัพมีจิตวิญญาณ และกำลังพลทุกคนของกองทัพ คือ พี่น้องประชาชนที่เสียสละหมุนเวียนกันเข้ามาทำหน้าที่ ปกป้องผลประโยชน์ของชาติสืบเนื่องกันมา ด้วยความตั้งใจ
ขณะเดียวกัน กองทัพ ก็เปิดกว้างรับฟังทุกข้อคิดเห็นจากสังคมอย่างสร้างสรรค์มาโดยตลอด เพื่อการปรับเปลี่ยนและพัฒนาบทบาทของกองทัพให้มีความเหมาะสมเพียงพอต่อการรับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนไป และความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
จึงขอความร่วมมือประชาชนทุกภาคส่วน ร่วมกันรักษาบรรยากาศความสงบเรียบร้อยและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสร้างสรรค์
//

“บิ๊กอ๊อด นายพลถั่งเช่า” เปืดเบื้องหลัง คลิปสนทนา”ทักษิณ”...เมื่อ6ปี ผ่านไป

“บิ๊กอ๊อด นายพลถั่งเช่า” เปืดเบื้องหลัง คลิปสนทนา”ทักษิณ”...เมื่อ6ปี ผ่านไป
เผย”ถั่งเช่า”เป็นเหตุ “ทักษิณ” กินถั่งเช่า แถมส่งให้”หญิงอ้อ”กิน เลยโกรธหนัก ไม่ได้อยู่ด้วยกัน แล้วกินทำไม....ยันพูดเล่น ไม่เคยกิน เพราะแพงมาก ไม่มีเงินซื้อ แต่พูดเล่น แหย่”ทักษิณ”ไปเท่านั้น ชี้ กก.ละ ล้านแปด ไม่มีเงินซื้อ แต่ไม่รู้ใครอัดเสียง บ่นอุบ “บ้า ฉิบโป๋ง”
“นายพลถั่งเช่า”....”บิ๊กอ๊อด” พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีตรมว.กลาโหม และรมช.กลาโหม ในรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” เปิดใจ ในรายการ “ลับลวงพรางBright” ถึงเหตุการณ์ เมื่อกค.2556 ที่ทำให้ถูกตั้ง ฉายาว่า “นายพลถั่งเช่า” เมื่อครั้งที่ถูกอัดเสียงสนทนากับ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกฯ จนมีการเปิดเผย แผนการต่างๆ ออกมาหลายเรื่อง
ด้วยเพราะในเวลานั้น ความรับรู้ของผู้คน ว่า ถั่งเช่า ช่วยเรื่องสมรรถนะทางเพศ ยังไม่รู้ว่า มีประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ด้วย จึงกลายเป็นต้นเหตุของ บทสนทนา ของ บิ๊กอ๊อด กับ คนแดนไกล ที่ต่างรู้กันว่า หมายถึง อดีตนายกฯทักษิณ
พลเอกยุทธศักดิ์ วัย81 ปี พูดไปหัวเราะไป ว่า ผมไม่มีตังค์ซื้อถังเช่าหรอก แต่ในคลิปอัดเสียงนั้น ผมพูดเล่น
“เล่าไปแล้ว คนก็จะหัวเราะ เพราะมันเกี่ยวกับ “อดีตนายกฯทักษิณ” บิ๊กอ๊อด เปรย
ทั้งนี้เป็นเพราะ มีคนไปเล่าให้ อดีต”นายกฯทักษิณ”ฟังว่า ผมแก่มาก โทรมเดินไม่ไหวแล้ว พวกที่ไปต่างประเทศ ไปพบไปคุยกับท่าน ไปปล่อยข่าว
“ท่านก็เลย โทรมาถามผม ถามว่า ได้ข่าวว่า พี่เดี๋ยวนี้แย่แล้วหรือ
ถามผมว่า ตอนนี้ ทำอะไรอยู่ ผมบอกว่าตีกอล์ฟ อยู่ที่สนามราชพฤกษ์ หลุม 11 แล้ว
ท่านบอกว่า ไหนขอดูหน้าหน่อยสิ. ผมก็เลยถ่ายรูปแล้วส่งไปให้ท่านดู
แล้วท่านก็บอกว่า ไม่เห็นเป็นอย่างที่เขาว่า เลย หน้าตา สดชื่น ดีนี่พี่
แล้วถามผมว่า รักษาร่างกายยังไงบ้าง
ตอนนั้น ผมรู้ว่า”ท่านทักษิณ”กินถั่งเช่า
ราคาสูงมาก ที่นอกจากกินแล้ว ยังส่งมาให้คนรู้จักกินด้วย
“ผมไม่อยากพูด ท่านส่งให้ภรรยาท่านด้วย แล้ว ภรรยาท่านก็โกรธสิว่า ไม่ได้อยู่ด้วยกันแล้ว ทำไมต้องกินถั่งเช่า ด้วย”
“ตอนนั้น ก็ไม่รู้ใครมาอัดเสียงผม นะ
วันนั้นใครก็ไม่รู้ เสร็จเลย”
“ผมเลยตอบท่านไปว่า ผมกินถั่งเช่า เพราะรู้ว่า ท่านกิน ผมก็เลยพูดเหมือนพูดเล่นไป”
“แต่ความจริง.ผมไม่ได้ทานถั่งเช่า เลย ราคาแพงมาก ใครจะไปมีเงินซื้อ
ตอนหลัง มีน้องชาย(เสธ.แอ๊ว พลเอก อัครเดข ศศิประภา) เอามาแบ่งให้ผม มีคนซื้อมาแบ่งให้เขานะ แล้วก็มี อีกคนซื้อมา ผมก็ถามว่าซื้อที่ไหนมา เขาบอก ซื้อมาจากธิเบต กิโลฯละ 1.8 ล้านบาท โอ้ย!! ผมไม่มีเงินซื้อหรอก ผมแค่พูดเล่นหัวไป ผมพูดเล่นจริงๆ แต่ก็กลายเป็นข่าวใหญ่ได้ ไม่รู้ใครอัดเสียงผม บ้า ฉิบโป๋ง เลย”
สมัยก่อน ผมไม่กล้าเล่าหรอก เพราะ มันเกี่ยวกับ อดีตนายกฯ แต่ก็เล่าให้ ผบ.เหล่าทัพ ในยุคนั้นฟัง กลายเป็นเรื่องตลก หัวเราะกัน จนตอนนั้น บิ๊กเจี๊ยบ พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สูงสุด ยังถามเลยว่า ทานแล้วเกิดผลมั้ยครับพี่ ผมบอกว่า ยังไม่ได้กิน ถ้าลองแล้วจะบอก จนแซวกันว่า ควรให้ ผบ.ทร.ตอนนั้น (บิ๊กหรุ่น พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ที่จะเกษียณ)
กินเพราะแก่ที่สุด แต่ผมไม่ได้กิน แหย่กันเล่น แต่กลายเป็นข่าวใหญ่เลย”
พลเอกยุทธศักดิ์ เล่า อย่างอารมณ์ดี
ศุกร์หน้า มีภาคต่อ ใน”ลับลวงพราง Bright” หลัง รายการลุงตู่
———-
ชม ย้อนหลัง รายการ”ลับลวงพรางBright” 11 มค.2562
- วันเด็ก เหล่าทัพ
—เลื่อนเลือกตั้ง ไม่สำคัญ เท่า การประกาศรับรองผลเลือกตั้งของ กกต. หลังพระราชพิธีฯ
—ย้อนอดีตสายสัมพันธ์”พี้ป้อม” กับ”น้องแม้ว” ก่อนมา สะบั้น หลัง เกาะโต๊ะ และยุติธรรมแบบป้อมๆ
-EU ปลดใบเหลือง ประมง ทัพเรือ ปิดทองหลังพระ
-เรือหลวงภูมิพล อดุลยเดช เรือฟริเกต สเต้ลท์ ราชนาวีไทย
-ผบ.ทร. เดินหน้า แข่ง ไตรกีฬา สนาม2 เชียงราย 2 มีค. คาดเลือกตั้งไม่กระทบ และเทคนิคการดูแลสุขภาพ
—เปิดใจ นายพล ถั่งเช่า บิ๊กอ๊อด พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา

ฮึ่ม!! นักการเมือง-คนอยากเลือกตั้ง มีเบื้องหลัง เตือน อย่าได้นำกองทัพไปเป็นคู่ขัดแย้ง



“โฆษก ทัพไทย” มาอีกคน!
ฮึ่ม!! นักการเมือง-คนอยากเลือกตั้ง มีเบื้องหลัง เตือน อย่าได้นำกองทัพไปเป็นคู่ขัดแย้ง หวังผลยั่วยุให้วุ่นวาย ความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ยันมีเลือกตั้งแน่ ไม่เกิน 9พค. ชี้ รัฐบาลจะต้องอำนวยการ พระราชพิธีสำคัญให้เรียบร้อย และบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ชี้ หน้าที่กองทัพ ดูแลความสงบ
พลตรี กฤษณ์ จันทรนิยม โฆษกกองทัพไทย กล่าวว่า จากสภาวะสถานการณ์ในปัจจุบัน ขอให้ประชาชนคนไทยมีสติ และใช้วิจารณญานในการรับรู้ข่าวสารต่างๆ ว่ามีเจตนาอย่างไร หวังให้เกิดผลอะไรหรือไม่
ทั้งนี้ การจัดการเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นตามที่ รธน.กำหนดในกรอบ 150 วัน คือ ไม่เกินวันที่ 9 พ.ค.
โดย กกต.จะพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในภาพรวมของประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลจะต้องอำนวยการ พระราชพิธีสำคัญให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์
ขอให้คอยรับฟังข่าวสารและเหตุผลจาก กกต.ต่อไป
แต่ขอให้เชื่อมั่นว่าทางคสช.หรือรัฐบาลจะร่วมบริหารจัดการตามที่ กกต.กำหนดวันเลือกตั้ง ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
กองทัพซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ และสร้างสภาวะแวดล้อมให้มีเกิดความสงบสุข
“ขออย่าได้นำกองทัพไปเป็นคู่ขัดแย้งกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือกลุ่มที่มีเบื้องหลัง หวังผลยั่วยุให้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายหรือความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง “
พี่น้องประชาชนควรเข้าใจในบริบทที่เกิดขึ้น ดูอย่างรอบด้านและช่วยกันนำพาประเทศไปสู่ความสงบเรียบร้อยต่อไป

สัญญาณ มา !!

สัญญาณ มา !!
ช่วง2 วันนี้ .....หลัง “บิ๊กแดง” พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ.และเลขาฯคสช. ฮึ่มๆๆ...ออกมาปราม “คนอยากเลือกตั้ง” เคลื่อนไหว หวังสร้างความวุ่นวาย ยันพระราชพิธีฯ มีความสำคัญ
“เสธ.ต๊อด”พันเอก วินธัย สุวารี โฆษกทบ. และ “เสธ.ตัอง”พลโท คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกลาโหม และ “เสธ.เวฟ” พลตรี กฤษณ์ จันทรนืยม โฆษกกลาโหม ที่ดาหน้าออกมา ตอบโต้ ทั้งนักการเมือง และกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ที่พาดพิงกองทัพ และกดดัน ไม่ให้เลื่อนเลือกตั้ง
โดยพบว่า มีการใช้ถ้อยคำในการตอบโต้ ที่เข้มข้น ตำหนิคนอยากเลือกตั้ง
โฆษก ทบ. ใช้คำว่า วุฒิภาวะประชาธิปไตยบกพร่อง. หากถูกมองไม่เหมาะไม่ควร ก็เป็นอารมณ์ประชาธิปไตย ที่จะคิดได้ เช่นกัน ชี้ กลายเป็น อาชีพ หนี่ง ไปแล้ว ตอบโต้กราดเกรี้ยว มีนัยะ
โฆษกกลาโหม ออกมาติง นักการเมืองอดีต บิ๊กขรก. “พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์” ป้ายสีกองทัพ-สถาบันการศึกษาทหาร ใช้ถ้อยคำหยาบคาย วาจาก้าวร้าว ทำไม่เหมาะสม ชี้ควรสร้างสรรค์ รักษาความสงบเรียบร้อย แนะ ร่วมกันยกระดับบรรทัดฐานทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์ รับปีสำคัญ ทั้ง พระราชพิธีฯ-การเลือกตั้ง-ประธานอาเซี่ยน
โฆษก ทัพไทย ฮึ่ม !!นักการเมือง-คนอยากเลือกตั้ง มีเบื้องหลัง เตือน อย่าได้นำกองทัพไปเป็นคู่ขัดแย้ง หวังผลยั่วยุให้วุ่นวาย ความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ยันมีเลือกตั้งแน่ ไม่เกิน 9พค. ชี้ รัฐบาลจะต้องอำนวยการ พระราชพิธีสำคัญให้เรียบร้อย และบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ชี้ หน้าที่กองทัพ ดูแลความสงบ

จรัญ พงษ์จีน : ข้อสรุป “การเลือกตั้ง” ที่รอความชัดเจน ภายใต้เงื่อนไขใหม่

จนป่านนี้แล้วยังหาบทสรุปไม่ได้ว่า “วันเลือกตั้ง” จะเลื่อนโปรแกรมไปลงตัวในวันไหน รู้แต่ว่า วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ไม่น่าจะได้เลือกตั้ง สาเหตุที่ยังไม่สามารถหาจุดลงตัวได้ เพราะ “รัฐบาล”กับ “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” ต่างมุมมอง

เลื่อนหรือไม่เลื่อนเลือกตั้ง ก็เป็นเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาล “กกต.” ต้องตัดสินใจเอง ขณะที่ “กกต.” ก็น่าเห็นใจไม่ใช่น้อย จะเลื่อนโปรแกรมหรือไม่ ต้องรอให้รัฐบาลประกาศพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ส.ส.ก่อน กกต.จึงกำหนดโปรแกรมเลือกตั้งอย่างเป็นทางการออกมาได้

เรื่องอย่างนี้ไม่อยากสุ่มเสี่ยง เคยมีหนังตัวอย่างให้ดูชมมาแล้ว เกิดจับพลัดจับผลู พวกหัวหมอไปยื่นฟ้องร้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ หรือฟ้องแพ่ง ฟ้องอาญา อาจถูกเช็กบิลเอาได้ง่ายๆ “7 เสือ กกต.” จึงต้องมากด้วยความระมัดระวัง

จุดที่ทำให้ กกต.เสียวตาปลามากที่สุด คือประเด็นว่าด้วยการจัดการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ระบุว่า “ต้องแล้วเสร็จภายใน 150 วัน” หมายถึง รวมอีก 60 วันในการรับรองผลการเลือกตั้ง เป็นเนื้อเดียวกันหรือไม่

เพราะมันคาบเกี่ยวอยู่ 2 มาตรา ระหว่าง “รัฐธรรมนูญฉบับถาวร” มาตรา 85 ที่กำหนดว่า ต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จไม่เกิน 60 วัน “ตั้งแต่วันเลือกตั้ง”

ขณะที่ “บทเฉพาะกาล” มาตรา 268 ระบุไว้ว่า ในการเลือกตั้งครั้งแรกให้จัดการให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน ซึ่งหมายถึงจัดการเลือกตั้งและเหมารวมการถึงนับผลคะแนนด้วย

เมื่อมันเสี่ยงเยี่ยงนี้ “กกต.” จึงต้องตีกรรเชียงดึงจังหวะ นี่คือที่มาว่า ทำไมไม่กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ซะที ไม่ได้ประชดหรืองัดข้อรัฐบาลแต่อย่างใด

 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรัฐบาล ก็ไม่ได้กดดันหรือแอบเขียน “ใบสั่ง” ให้ กกต.เลื่อนเลือกตั้งไปวันไหน การที่ “วิษณุ เครืองาม” รองนายกรัฐมนตรี มือกฎหมายเดินทางไปพบ 7 เสือ กกต.เมื่อวันที่ 3 มกราคม ก็ไม่ได้เสวนาประเด็นเลื่อนเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 หรือเลื่อนโปรแกรมเลือกตั้งแต่ประการใด

“รองวิษณุ” เพียงแต่แจ้งให้ กกต.ทราบว่า ระหว่างวันที่ 4, 5, 6 พฤษภาคม 2562 มี “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10” ซึ่งถือเป็นช่วงมหามงคลที่สำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย

เพื่อให้ “กกต.” นำไปประกอบการกำหนดวันเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาวันเลือกตั้งที่เหมาะสม เพราะนอกเหนือจาก 3 วันในส่วนของพระราชพิธีแล้ว ยังมีการประกอบพระราชพิธีก่อนและหลังวันพระราชพิธีตามโบราณราชประเพณี

โดย “อาจารย์วิษณุ” นำหมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9” ยกสาระสำคัญแห่งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ให้ดูพอสังเขป

และย้ำให้เห็นว่า พระราชพิธีไม่ได้เกิดขึ้นเพียง 3 วันเท่านั้น แต่ก่อนและหลังพระราชพิธี ยังต้องมีกิจกรรมอื่นนำหน้า 15 วัน กิจกรรมตามหลังอีก 15 วัน

อาทิ “พิธีทำน้ำอภิเษก” นำน้ำจาก 4 แหล่งคือ จากปัญจมหานที ในประเทศอินเดีย เอามาเจือปนกับน้ำที่จะได้ในแหล่งที่สอง คือแม่น้ำบริสุทธิ์ที่สำคัญหลายสายในประเทศไทย ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง เจ้าพระยา ป่าสัก แม่กลอง และเพชรบุรี มาเจือปนกับแหล่งที่สาม คือน้ำจากสระทั้ง 4 จากสุพรรณบุรี ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กับจากแหล่งสุดท้ายคือน้ำจากแหล่งศักดิ์สิทธิ์ 76 จังหวัดในประเทศไทย ซึ่งหมายเอาไว้แล้วว่า จะใช้น้ำจากห้วย หนอง คลอง บึง หรือสระใด

หลังพระราชพิธีทำน้ำอภิเษก จะต้องมี “พิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ” ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสนาราม เพื่อจารึกพระสุพรรณบัฏดวงพระบรมราชสมภพ

และพระราชลัญจกร จารึกพระนามสมเด็จพระสังฆราช จารึกพระสุพรรณบัฏพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับสถาปนาเลื่อนพระยศ

“พิธีถวายสักการะพระบรมอัฐิ พระอัฐพระราชบุพการี พิธีสรงน้ำพระมูรธาภิเษก และถวายน้ำอภิเษก” เป็นต้น

สำหรับวัน “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 10” วันที่ 4 พฤษภาคม 2562 พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเสด็จออกมหาสมาคม พระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล และพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร

5 พฤษภาคม 2562 พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศานุวงศ์ จากนั้นเสด็จเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

6 พฤษภาคม 2562 เสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท พสกนิกรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพรชัยมงคล

จากนั้นเสด็จออก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท คณะทูตานุทูต และกงสุลต่างประเทศ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล

หลังจากพระราชพิธี เป็นกิจกรรมที่ไม่ใช่พระราชพิธี และเป็นเรื่องที่รัฐบาลและประชาชนจัด เช่น กิจกรรมสวดมนต์ถวายพระพรชัยมงคล กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติจิตอาสา ด้วยการบูรณะแม่น้ำ ลำคลองทั่วประเทศ

และอาจจะมีกิจกรรมอื่นๆ ที่คณะกรรมการอำนวยการจะได้ประชุมหารือกัน เช่น การจัดงานสโมสรสันนิบาต

“สำหรับขั้นตอนแบบแผนตามโบราณพระประเพณี พระราชพิธีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในแต่ละรัชกาล ซึ่งบางรัชกาลโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีเต็มตามตำรา บางรัชกาลโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีอย่างย่อ ขึ้นอยู่กับพระราชดำริของแต่ละรัชกาล”

ผ่าสถานการณ์เร่งเลือกตั้ง “51 ล้านเสียง” ชี้ขาด : ร้อนตามเกม ติดบ่วงวิกฤติ

คลื่นลมพายุพัดผ่านภาคใต้ ฝนหลงฤดูประปรายที่ภาคเหนือและกรุงเทพฯ

อากาศแปรปรวนห้วงต้นปี

ล้อไปกับบรรยากาศทางการเมืองที่ขมุกขมัว เต็มไปด้วยฝุ่นควันฟุ้งกระจายภายใต้เงื่อนไขสถานการณ์โหมดเลือกตั้งที่คาบเกี่ยวกับพระราชพิธีสำคัญ

ตามความคืบหน้าล่าสุดที่ชัดเจนขึ้นอีกขั้น โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เปิดเผยภายหลังการประชุมนัดแรกของคณะกรรมการเตรียมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช. เป็นประธาน

มีการแบ่งขั้นตอนพระราชพิธีออกเป็น 3 ส่วน คือ การเตรียมการเบื้องต้น พระราชพิธีเบื้องกลาง และส่วนที่เป็นกิจกรรมต่อเนื่องเบื้องปลาย

โดยพระราชพิธีเบื้องกลางคือ ตัวพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่มี 3 วัน คือ วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม และวันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม 2562

แต่พิธีเบื้องต้นที่นำหน้ามาก่อนนั้น มีเกือบเต็มทั้งเดือนเมษายน ส่วนกิจกรรมเบื้องปลายต่อเนื่องหลังวันที่ 6 พฤษภาคม ในวันที่ 8-9 พฤษภาคม เป็นพระราชพิธีพืชมงคล และกิจกรรมของรัฐบาลและประชาชนที่จะจัดน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

รัฐบาลพยายามทำความเข้าใจกับทุกฝ่าย

ตามความสำคัญของห้วงเวลาพิเศษปีมหามงคลที่วนมาในรอบ 70 ปี

ท่ามกลางกระแสรายวันม็อบคนอยากเลือกตั้งเคลื่อนไหวกดดัน นักการเมืองโวยวายบีบคั้นรัฐบาล คสช.

เอาล่อเอาเถิด แตกประเด็นวุ่นวาย

แบบที่พวกร้อนวิชากฎหมายพูดไปถึงขั้นเสี่ยงขัดรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยประเด็น 150 วัน ต้องจัดเลือกตั้งหลังจาก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญสำคัญ 4 ฉบับมีผลบังคับใช้ ได้แก่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.

“เดดไลน์” คือวันที่ 9 พฤษภาคม 2562

สงสัยนับรวมช่วงเวลาที่ กกต.ต้องประกาศผลการเลือกตั้งภายใน 60 วันด้วยหรือไม่

เอากฎหมายหลักรัฐธรรมนูญมาตรา 268 มาโยงกับกฎหมายรอง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 267 ผูกปมให้ยุ่งไปกันใหญ่

และยังไม่ทันได้คำตอบ ก็มีพวก “นักร้องอาชีพ” แสดงตัวเป็นหน่วยหน้า อาสายื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความเลือกตั้ง แถมขู่เดินหน้ายื่นเรื่องถอดถอน กกต.

ส่อป่วน เถียงกันในเรื่องที่ยังไม่เกิด คาดการณ์ปัญหาล่วงหน้า

มันก็แค่ลีลาตีกินกระแส โชว์ฟอร์มทางการเมืองให้เข้าตากองเชียร์

ลืมเรื่อง “บังควร-มิบังควร”

ทั้งๆที่ฝ่ายปฏิบัติที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. ก็ยืนยันรอประกาศพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง กกต.จะประกาศวันเข้าคูหากาบัตรชัดเจน

และจะประกาศรับรองผลเลือกตั้งได้ทัน 150 วัน ไม่มีปัญหาขัดรัฐธรรมนูญแน่นอน

ตามรูปการณ์แค่ต่างคนต่างรู้หน้าที่ ทุกอย่างก็จะเดินหน้าคู่ขนานกันไป

โดยเฉพาะ “จุดอ่อนไหวสุด” คือสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ โฟกัสตลาดหุ้นก็ทรงตัวในแดนบวก จะมีตกบ้างก็ไม่ได้ทะรูด-ทะราด นักลงทุนมั่นใจพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศที่แข็งแกร่ง ไม่ตกใจกับการเลื่อนเลือกตั้ง

ทุกอย่างเดินหน้าไปได้อย่างเป็นธรรมชาติแบบที่ควรจะเป็น

แต่มันเป็นอะไรที่ยากกว่าคำโบราณว่า ห้ามฝนจะตก แดดจะออก คนจะขี้ แม่จะคลอดลูก กับการห้ามการเมืองไม่ให้ป่วนตามกาลเทศะ

ยิ่งในจังหวะสถานการณ์ “ได้เสีย” เดิมพันเกมพลิกขั้วอำนาจ

โอกาสสุดท้ายของคนแดนไกลที่จะลุ้นกลับบ้าน

ตามสถานการณ์แบบที่ “ไต๋โผล่” แต่หัววัน ในจังหวะล้อกับเกมกดดันไม่ให้เลื่อนคิวกาบัตรวันที่ 24 กุมภาพันธ์ หันไปอีกทาง นายยงยุทธ ติยะไพรัช หัวขบวนพรรคเพื่อชาติ แกนนำสายตรงดูไบ ก็โผล่มาจุดพลุเกม “อุ้มนายใหญ่” อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร กลับประเทศรอบที่ 4

“ค่ายเสื้อแดง” เปิดไพ่ตายกระตุกเรตติ้งกองเชียร์

วัดใจประชาชนให้เลือกระหว่าง “ทักษิณ” กับ “นายกฯลุงตู่”

เขี่ยชนวนศึก “ตะลุมบอน” ระหว่าง “นายใหญ่” กับ “พี่ใหญ่” อดีตนายกฯทักษิณเปิดฉากฟัดกับ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม แบบที่ไม่นับรุ่นพี่รุ่นน้อง ถึงขั้นขึ้น “ไอ้” ใส่กัน

จบข่าวเกาะโต๊ะ ปิดประตูดีลทุกช่องทาง

ฟางเส้นสุดท้ายระหว่าง “พี่ใหญ่” คสช.กับ “ทักษิณ” ขาดผึง

กระตุ้นดีกรีตึงเครียด เชื้อไฟขัดแย้งป่วนเมืองกลับมาระอุร้อนแรงกว่าเดิม

กระตุกต่อมผวาผู้คน ฝันร้ายวนมาหลอนรอบใหม่

ตามรูปการณ์ยั่วแหย่ เกมการตลาดชิงกระแสแบบเดิมๆ กับปรากฏการณ์ที่สื่อโซเชียลฯเครือข่าย “ทักษิณ” ตีปี๊บข่าว “น้องปู” อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้งานใหม่ นั่งแท่นประธานบอร์ดท่าเรือเมืองซัวเถา ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่

ตั้งใจโชว์อินเตอร์ เบิ้ลบลัฟผู้นำรัฐบาล คสช.

กระตุกภาพทีม “ทักษิณ” ยังถือแต้มต่อ เครดิตเหนือกว่าในเวทีโลก

แต่ไม่ทันข้ามวันที่ข่าว “ยิ่งลักษณ์” นั่งเป็นประธานบอร์ดท่าเรือซัวเถา ที่ลอกมาจากเว็บไซต์ข่าวของจีน ก็มีการลบข่าวออกจากเว็บไซต์ข่าวของทางการจีนหมด

พร้อมๆกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์เบื้องหน้าเบื้องหลังการถือ “พาสปอร์ตเขมร” ของอดีตนายกฯหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่ใช้หนังสือเดินทางกัมพูชาในการลงทุนที่เมืองจีน

ส่อลามเป็นปมปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างไทย กัมพูชา จีน

การเมืองภายในโยงไฟการเมืองภายนอกประเทศ

อีกมุมก็เป็นเหตุการณ์เร้ากระแส ขยายภาพประจานคสช.รังแกเอาเปรียบ ตามกระแสข่าวคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จ่อเร่งคดีค้างเก่ายุครัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” ล่อเป้านายชัชชาติ สิทธิพันธุ์

เจาะยาง “รัฐมนตรีแกร่งสุดในปฐพี”

เตะสกัดดาวรุ่งพุ่งแรง “นอมินี” ตัวจริงเสียงจริงของ “นายใหญ่”

ไล่ๆกับปมร้อนคำสั่งจากหน่วยเหนือ ล้มเวที หาเสียงพรรคเพื่อไทยที่จังหวัดพะเยา

ข่าวร้อนรายวัน “เผาหัว” กระตุกไฟแค้นในอารมณ์ของกองเชียร์ “ทักษิณ” ที่มอดไปในรอบ 4-5 ปี

คุโชนกลับมา ในจังหวะดีกรีความแค้นที่ยกระดับเดิมพันขึ้นอีกหลายเท่า

ตามกระแสข่าว “เจ๊แดง” นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ เจ้าแม่เมืองเหนือพรรคเพื่อไทย หายตัวไปอยู่ต่างประเทศ ในจังหวะที่คดีจำนำข้าว จีทูจีภาค 2 จ่อลุยรวบตัวใหญ่

พร้อมๆกับการจับตา “เสี่ยโอ๊ค” นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายคนโต “นายใหญ่” ทำเรื่องขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศ ในห้วงคดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทยให้กลุ่มกฤษดามหานคร กำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม

ตามรูปการณ์ที่คนตระกูล “ชินวัตร” ถูกไล่ต้อนจนกระดาน

โดยอาการ “ตั้งท่าวัดดวง” แบบที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง แกนนำสายบู๊พรรคเพื่อไทย ขู่ออกอากาศ ถ้าเลื่อนเลือกตั้ง คสช.เสี่ยงเจอแรงต้านจากประชาชน

เปิดเกมม็อบวัดใจท็อปบูต

ตามสูตรต่อรองเกมอำนาจ “นายใหญ่” ปั่นเดิมพันเลือกตั้ง ตีคู่ขนานห้วง “เวลาพิเศษ” สำคัญ

สร้างแรงกดดัน “บิ๊กตู่” กับทีม คสช.กระอักกระอ่วน

เล่นเอาฝ่ายคุมเกมอำนาจพิเศษเสียกระบวนมากสุด นับแต่ครองอำนาจมา 5 ปี

แต่ทั้งหมดทั้งปวง คำตอบสุดท้ายมันอยู่ที่ประชาชนคนไทย “51 ล้านเสียง” เจ้าของสิทธิเลือกตั้ง

จะร้อนตามสถานการณ์ตื่นเต้น ไหลเตลิดตามเกมปั่นเดิมพันพลิกขั้วหรือไม่

ไฮไลต์มันอยู่ตรงคำตอบสุดท้าย เลือกตั้งครั้งนี้ คนไทยจะตัดสินใจบนพื้นฐานอะไร เน้นอารมณ์เอามัน “สะใจ” ยอมเสี่ยงติดบ่วงวิกฤติ หรือทนหงุดหงิดกับทีมกู้สถานการณ์เพื่อเป้าหมายที่ต้องลุ้นรอในทางยาวๆ

ที่แน่ๆบทเรียนราคาแพงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา มันเพียงพอแล้วกับข้อมูลในการตัดสินใจ

กาบัตรเลือกตั้งยังไง อนาคตก็ต้องยอมรับผลแบบนั้น.

“ทีมการเมือง”



ขีดเส้นพรฎ.18ม.ค.



  โฆษก คสช.อัดกลุ่มคนอยากเลือกตั้งวุฒิภาวะทาง ปชต.บกพร่อง ใช้อารมณ์กราดเกรี้ยว ผลักคนเห็นต่างอยู่ฝ่ายตรงข้าม แจง ผบ.ทบ.ห่วงบ้านเมือง ช่วงพระราชพิธีมหามงคลอยากให้ประเทศสงบเรียบร้อย "ทษช." โต้ ผบ.ทบ.มีอคติป้ายสีคนค้านเลื่อนเลือกตั้งทั้งที่รัฐบาลไม่ชัดเจนเอง "เพื่อชาติ" เตือนฟางเส้นสุดท้าย ปชช.ลุกฮือทั่วประเทศขับไล่ ขณะที่กลุ่มอยากเลือกตั้งเหิมขีดเส้นภายใน 18 ม.ค.หากยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งพร้อมยกระดับการชุมนุมสู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โพลมองเลื่อนเลือกตั้งไม่คุ้มค่า 

     เมื่อวันอาทิตย์ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีนักการเมือง ตอบโต้ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ) ในฐานะเลขาธิการ คสช. ตำหนิการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งว่า เชื่อว่าประชาชนเข้าใจในสาระสำคัญที่ ผบ.ทบ.สะท้อนให้เห็นภาพด้วยความห่วงใย ในฐานะที่รับผิดชอบดูแลความสงบเรียบร้อย ที่กองทัพบกประสงค์ให้ในช่วงเวลาสำคัญนี้ วาระสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะการเตรียมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่เป็นมหามงคลยิ่งของพสกนิกร ที่ในตลอดห้วงชีวิตนี้จะมีโอกาสได้มีส่วนร่วมเพียงครั้งหนึ่ง ควรจะเป็นช่วงเวลาที่สังคมไทยมีบรรยากาศที่มีความสุขสงบเรียบร้อย
     พ.อ.วินธัยกล่าวว่า ในขณะนี้ภาคส่วนต่างๆ ส่วนใหญ่รับข่าวสารเรื่องการเลือกตั้งด้วยวิจารณญาณ มีความเข้าใจในเหตุและผล และเฝ้าดูการทำหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ มีความพร้อมที่จะร่วมสร้างบรรยากาศแจ่มใสให้ประเทศไทย เพื่อเตรียมสำหรับพระราชพิธีที่เป็นมหามงคลยิ่ง และสามารถจัดการเลือกตั้งได้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด อย่างไรก็ตามกองทัพบกเชื่อในความตั้งใจจริงของทุกฝ่าย ที่กำลังหารือเพื่อให้ได้การปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด สง่างามที่สุด ประชาชนเห็นด้วยที่สุด และเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในความเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
    โฆษก คสช.กล่าวอีกว่า หากสังคมไทยจะมองการตั้งใจเคลื่อนไหวอย่างมีนัยที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ด้วยความรู้สึกกังขา และมองว่าไม่เหมาะไม่ควร ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเป็นอารมณ์ประชาธิปไตย ที่ใครๆ ก็มีสิทธิจะเกิดความรู้สึกแบบนั้นขึ้นได้ และถ้ามองอย่างพิจารณา อาจตั้งข้อสังเกตได้ไหมว่าความเคลื่อนไหวบางอย่างได้กลายเป็นอาชีพหนึ่งไปเสียแล้ว และยังเป็นวิธีการเดิมๆ ที่บางกลุ่มบางส่วนนำมาใช้ โดยที่บางครั้งก็ไม่ได้สนใจบริบททางสังคมโดยรวม
     "การเคลื่อนไหวแบบมีนัยและการวิจารณ์ด้วยอารมณ์ที่เต็มไปด้วยทัศนคติเชิงลบ ไม่น่าจะเป็นการแสดงออกทางประชาธิปไตยที่งดงาม และยังไม่เกิดประโยชน์อันใดต่อสังคมไทยเลยแม้แต่น้อย ส่วนการให้ความเห็นของสมาชิกกลุ่มคนอยากเลือกตั้งนั้น คงไม่ต่างจากความเห็นเก่าที่ได้เคยประกาศไว้ตั้งแต่อดีต แต่ระยะหลังมีความกราดเกรี้ยวในถ้อยคำยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวาทะที่สังคมคงจะต้องไตร่ตรองให้ชัดเจน โดยเฉพาะการชูประเด็นว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตยแล้วผลักผู้อื่นให้ไปอยู่ตรงข้าม อาจมองได้ถึงวุฒิภาวะทางประชาธิปไตยที่กำลังบกพร่องก็เป็นได้" พ.อ.วินธัย กล่าว
    พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ปี 2562 เป็นปีแห่งความปลื้มปีติและความเป็นมงคลยิ่งของปวงชนชาวไทย และเป็นวาระสำคัญของประเทศในการเลือกตั้งทั่วไป และการร่วมกันทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพอาเซียน รัฐบาลโดยฝ่ายความมั่นคงยังคงเดินหน้าร่วมกันขับเคลื่อนงานหลักในการดูแลความมั่นคงปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของประเทศต่อเนื่องกันไป สำหรับการแสดงความคิดเห็นและการลงพื้นที่หาเสียงของบางพรรคการเมืองที่มีเจตนาพาดพิงชี้นำบิดเบือนเชื่อมโยงข้อมูลใส่ร้ายป้ายสีกองทัพและสถาบันการศึกษาทางทหารให้มีภาพลักษณ์เสียหาย และเกิดความเข้าใจผิดจากประชาชนนั้น ขอให้สังคมได้ใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบและพิจารณายกระดับบรรทัดฐานการทำงานการเมืองใหม่อย่างสร้างสรรค์ควบคู่กันไป โดยเฉพาะอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่อาสาเข้ามาทำงานการเมือง ควรเป็นตัวอย่างที่ดี ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย วาจาก้าวร้าวพาดพิงสถาบันใดๆ เพียงเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง เป็นพฤติกรรมที่ไม่สร้างสรรค์แสดงออกถึงวุฒิภาวะที่ไม่เหมาะสม เชื่อว่าไม่เป็นที่พึงปรารถนาของสังคม และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่เด็กและเยาวชน

กองทัพมีจิตวิญญาณ และกำลังพลทุกคนของกองทัพคือพี่น้องประชาชนที่เสียสละหมุนเวียนกันเข้ามาทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของชาติสืบเนื่องกันมาด้วยความตั้งใจ ขณะเดียวกัน ก็เปิดกว้างรับฟังทุกข้อคิดเห็นจากสังคมอย่างสร้าสร้างสรรค์มาโดยตลอด เพื่อการปรับเปลี่ยนและพัฒนาบทบาทของกองทัพให้มีความเหมาะสมเพียงพอต่อการรับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนไป และความต้องการที่แท้จริงของประชาชน จึงขอความร่วมมือประชาชนทุกภาคส่วน ร่วมกันรักษาบรรยากาศความสงบเรียบร้อยและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสร้างสรรค์" พล.ท.คงชีพกล่าว 

ซัด ผบ.ทบ.มีอคติ
    นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.อภิรัชต์ตำหนิกลุ่มที่เคลื่อนไหวคัดค้านการเลื่อนเลือกตั้ง ว่า ตนไม่กังวล และเห็นว่าทุกฝ่ายไม่ควรสร้างความขัดแย้ง ส่วนผู้ที่เคลื่อนไหว หากกระทำตามกรอบกฎหมายก็ถือเป็นสิทธิ์ พร้อมขอให้ทุกฝ่ายเดินไปข้างหน้า 
    "ส่วนการเลื่อนการเลือกตั้งนั้น จะเลื่อนไปนานเท่าใด ผมตอบไม่ได้ แต่เชื่อว่าการเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นภายในกรอบกฎหมาย 150 วัน ซึ่งการเปิดตัวคิกออฟในวันนี้ เป็นเครื่องยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมเดินหน้าสู่สนามการเลือกตั้ง และจะไม่กลับสู่วงจรรัฐประหารอีก" นายอภิสิทธิ์กล่าว 
    นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า การที่ ผบ.ทบ.พูดถึงกลุ่มคนอยากเลือกตั้งและประชาชนที่คัดค้านการเลื่อนการเลือกตั้ง แสดงถึงความไม่เข้าใจเรื่องเสรีภาพและประชาธิปไตย มีอคติ คับแคบ และเป็นการใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม การชุมนุมแสดงความคิดเห็นย่อมเป็นสิทธิเสรีภาพ ตราบใดที่ไม่ได้ทำผิดกฎหมายอะไร จะว่าเป็นความวุ่นวายได้อย่างไร การพูดว่าพวกนี้มีหน้าที่สร้างความวุ่นวายและมีคนสั่งให้ทำก็ไม่มีหลักฐานข้อเท็จจริงอะไรรองรับ เป็นการดูถูกประชาชนที่อยากให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วตามกำหนดที่ประกาศไว้
     "ผบ.ทบ.ได้พูดถึงพระราชพิธีเหมือนกับจะทำให้คนเข้าใจผิดว่าผู้ที่คัดค้านการเลื่อนการเลือกตั้งไม่คำนึงถึงพระราชพิธี ทั้งๆ ที่ไม่เป็นความจริงเลย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่รัฐบาลไม่ได้ชี้แจงให้ชัดเจนว่าต้องการอย่างไร มีเหตุผลอย่างไร คนจำนวนไม่น้อยก็คิดว่ายิ่งเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก็อาจจะเป็นผลเสียมากกว่าการเลือกตั้งตามกำหนดเดิม เป็นต้น การพูดของ ผบ.ทบ. จึงอาจทำให้คนโกรธเคืองกัน แทนที่จะรับฟังความเห็นที่อาจจะต่างกัน แต่ทุกฝ่ายก็มีความปรารถนาดีต่อบ้านเมืองด้วยกันทั้งสิ้น" 
    นายจาตุรนต์ระบุว่า สาเหตุที่ประชาชนทั่วประเทศอยากให้มีการเลือกตั้งเร็ว ก็เพราะอยากให้บ้านเมืองคืนสู่สภาพปกติ ทำให้เกิดโอกาสในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาอื่นๆ ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
    นายพงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ โฆษกพรรค ทษช.  กล่าวว่า เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่าในช่วงนี้ประเทศไทยกำลังจะมีพระราชพิธีสำคัญ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก แน่นอนคนไทยทุกคนล้วนให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก แต่สิ่งที่ ผบ.ทบ.ให้สัมภาษณ์ตำหนิกลุ่มคนอยากเลือกตั้งว่าคิดแต่อยากจะเลือกตั้ง และพยายามสร้างเงื่อนไขให้เกิดความวุ่นวายนั้น ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่เรียกร้องคงไม่ใช่เพียงแค่อย่าเลื่อนการเลือกตั้ง ความชัดเจนของรัฐบาล คสช.ในการกำหนดวันเลือกตั้งจะช่วยคลายความกังวลของทุกฝ่าย แต่ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา กลับไม่มีความชัดเจน เกิดการโยนกันไปมาระหว่างรัฐบาล คสช.และ กกต. จนประชาชนเกิดความสับสน 
    "สิ่งที่เราต้องการมากที่สุดก็คือความชัดเจน แม้ว่าพล.อ.ประยุทธ์ได้สัญญากับนานาประเทศว่าจะจัดการเลือกตั้งตั้งแต่หลายปีที่แล้ว จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน และมีแนวโน้มว่าอาจจะเลื่อนออกไปอีก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ประชาชนต้องการให้จัดการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด จึงอยากเรียกร้องให้ทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแสดงความชัดเจนออกมาเสียที หยุดย่ำยีประเทศ อย่าเพิกเฉยต่อความหวังของประชาชน และหยุดขวางโอกาสที่จะทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากความเสียหายไปมากกว่านี้" นายพงศ์เกษมกล่าว 
    น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่(อนค.) กล่าวว่า การที่ ผบ.ทบ.ออกมาพูดในลักษณะดังกล่าว เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ในฐานะที่ตัวท่านเองมีหน้าที่หนึ่งคือการดูแลความสงบเรียบร้อย เพราะเป็นการประกาศชัดเจนว่าอยู่ตรงข้ามกับผู้ชุมนุม และสะท้อนความไม่เข้าใจอารมณ์และความต้องการของประชาชน ที่ต้องการเปลี่ยนเข้าสู่การเมืองตามระบอบประชาธิปไตยอย่างสงบผ่านการเลือกตั้ง การเลือกตั้งไม่ได้เท่ากับความวุ่นวาย ความไม่ชัดเจนเรื่องวันเลือกตั้งต่างหากที่จะเป็นต้นเหตุของความไม่สงบในบ้านเมือง 
    "ที่สำคัญอย่างยิ่ง ผบ.ทบ.ไม่ควรหยิบยกเรื่องงานพระราชพิธีมาเป็นประเด็นในการปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน เพราะพระราชพิธีสำคัญกับการเลือกตั้งสามารถดำเนินการไปด้วยกันได้ในระบอบประชาธิปไตย หากผู้มีอำนาจไม่เจตนาจะสร้างเงื่อนไขให้เกิดปัญหา ดังนั้น การให้สัมภาษณ์ของ ผบ.ทบ.จึงไม่เหมาะสม และอาจจะถูกมองได้ว่าเจตนาจะสร้างเรื่องให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นเสียเอง" น.ส.พรรณิการ์กล่าว
ขู่ ปชช.ลุกฮือขับไล่
    นายรยุศด์ บุญทัน รองโฆษกพรรคเพื่อชาติ(พ.พ.ช.) กล่าวว่า จากการที่พรรคเพื่อชาติได้เดินสายพบปะประชาชนทั่วประเทศ ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันถึงความลำบาก เดือดร้อน โดยเฉพาะปัญหาปากท้อง ส่วนใหญ่ต่างต้องการให้เกิดการเลือกตั้งโดยเร็ว  ด้วยเป็นความหวังว่าทุกอย่างจะดีขึ้น แต่รัฐบาลเลื่อนการเลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า รวมถึงครั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 ก.พ.62 จึงเกิดกระแสต่อต้านขึ้น โดยเฉพาะครั้งนี้เป็นกระแสที่รุนแรงมากกว่าทุกครั้ง เพราะถือว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวได้ประกาศท่าทีอย่างชัดเจนว่าจะจัดเลือกตั้งขึ้นในวันดังกล่าว จึงเสมือนเป็นสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับคนไทย และเป็นที่รับรู้ต่อนานาอารยประเทศ ทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนต่างแสดงออกถึงความไม่พอใจเมื่อรัฐบาลที่จะเลื่อนการเลือกตั้งออกไปอีก
          นายรยุศด์กล่าวว่า กระแสในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก แม้กระทั่งกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่ไม่เคยสนใจการเมืองมาก่อน ก็ออกมาเรียกร้องไม่ให้เลื่อนการเลือกตั้ง รวมถึงกลุ่มคนอยากเลือกตั้งได้ออกมาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในรูปแบบแฟลชม็อบ ซึ่งได้ผลตอบรับดีเกินคาด เช่นเดียวกันยังมีองค์กรภาคประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา แสดงออกถึงการคัดค้านการเลื่อนเลือกตั้ง เป็นการชุมนุมอย่างไม่มีรูปแบบ แต่แฝงไปด้วยพลัง และอุดมการณ์อันแรงกล้า ที่รัฐบาล หรือ คสช. จะประมาทไม่ได้
          "เรากำลังรอฟางเส้นสุดท้ายสักเส้นหนึ่ง ที่ความอดทน อดกลั้นของประชาชนจะขาด และออกมาต่อต้านอย่างพร้อมเพรียงกันทั่วทั้งประเทศ หากถึงวันใดที่ประชาชนไม่ยอมอีกแล้ว กระแสสังคมถูกจุดติด ลุกลามบานปลาย จนยกระดับเป็นการชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศขึ้นมา เพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรี รัฐบาล ก็มีความเป็นไปได้สูง หาก คสช.เมินความรู้สึกของสังคม และประเมินพลังของประชาชนต่ำไป ซึ่งอาจส่งผลต่อรัฐบาล คสช.อย่างคาดไม่ถึง ประวัติศาสตร์ได้บอกแล้วว่า ผู้ก่อการรัฐประหารทุกคณะจุดจบเป็นเช่นไร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังทันยังพอลงได้ แม้จะลำบากหน่อย แต่ถ้าลงช้ากว่านี้ พล.อ.ประยุทธ์ รวมถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และคณะ ระวังจะลงไม่สวย" นายรยุศด์กล่าว  

ที่แยกราชประสงค์ เขตปทุมวัน กทม. ทางกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง นำโดยนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ “จ่านิว”, น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์, นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมปราศรัยแสดงพลังในจุดยืน “ไม่เลื่อน ไม่ล้ม ไม่ต่อเวลาการเลือกตั้ง” คู่ขนานไปพร้อมๆ กับการจัดกิจกรรมดังกล่าวที่บริเวณศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบคอยดูแลความสงบเรียบร้อยทั่วบริเวณ
    อย่างไรก็ตาม ในเวลา 17.00 น. มีเหตุชุลมุนเล็กน้อยระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เรื่องการใช้เครื่องขยายเสียง ก่อนจะเจรจากันสำเร็จ โดยเจ้าหน้าที่ยินยอมให้ใช้เครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่ได้ จากนั้นเวลาประมาณ 17.30 น. น.ส.ณัฏฐาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ โดยวางพวงหรีดเขียนชื่อ สนช., กกต., คสช., ครม., สปช. และ กรธ. หรือแม่น้ำทั้ง 6 สาย เพื่อเป็นการไว้อาลัยให้การเลือกตั้งวันที่ 24 ก.พ.62 ที่ถูกเลื่อนออกไป
          ด้านนายสิรวิชญ์อ่านแถลงการณ์ว่า ข้อเรียกร้องความชัดเจนเรื่องวันเลือกตั้งไม่ได้รับการตอบสนอง ทางกลุ่มขอยื่นคำขาดต่อรัฐบาล คสช. 3 ข้อ ดังนี้ 1.ไม่เลื่อนวันเลือกตั้งให้ล่วงเลยกว่าวันที่ 10 มี.ค. 2.ไม่ล้มการเลือกตั้งด้วยการใช้เล่ห์กล ข้ออ้าง หรือเทคนิคทางกฎหมายใดๆ และ 3.ไม่ต่อเวลาให้กับการอยู่ในอำนาจของตน ผ่านกลไกรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างความได้เปรียบ
    “หากภายในวันที่ 18 ม.ค.ไม่มีการประกาศ พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง เพื่อเปิดทางให้ กกต.กำหนดวันเลือกตั้ง มวลชนจะยกระดับการชุมนุมสู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เวลา 17.00 น. วันที่ 19 ม.ค.62” นายสิรวิชญ์กล่าว
    นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคปชป.และอดีต กกต. โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า มีบันทึกการประชุมระหว่างคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กับ กกต. ครั้งที่ 185 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2559 ที่เผยแพร่กันว่า ประธาน กรธ.และตน มีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จใน 150 วัน เป็นที่รู้เรื่องแล้วว่าหมายถึงการหย่อนบัตรอย่างเดียว เจตนาของการเผยแพร่เอกสารดังกล่าว เข้าใจว่าน่าจะต้องการให้สังคมเห็นว่า การยื้อการเลือกตั้งออกไปสามารถทำได้ถึงไม่เกินวันที่ 9 พ.ค.2562
เตือน กกต.ติดคุก
        เมื่อมาค้นดูรายละเอียดของการประชุม ปรากฏว่าที่เผยแพร่ต่อสาธารณะเป็นเพียงแค่สรุปการประชุม ไม่มีบันทึกการประชุมตามที่มีผู้เอามาเผยแพร่ต่อสาธารณะ เมื่อดูในรายละเอียดแล้ว เป็นดังนี้ 1) การประชุมครั้งที่ 185 ในวันนั้น มิใช่วาระเกี่ยวกับการพิจารณาตีความหมายมาตรา 268 ของรัฐธรรมนูญที่เป็นปัญหา แต่เป็นวาระการพิจารณา พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. ซึ่งเป็นกฎหมายลูก 2) จากเอกสารสรุปการประชุมที่เผยแพร่ต่อสาธารณะในเว็บไซต์ของ กรธ. ไม่มีข้อสรุปใดๆ เกี่ยวกับมาตรา 268 ของรัฐธรรมนูญเลย 3) การหยิบยกเรื่อง 150 วันนั้น เป็นการถามจากตนในช่วงท้ายของการประชุม เพราะเป็นสิ่งที่ กกต.กังวลว่าจะเป็นความผิด
         4) การตอบของอาจารย์มีชัย เป็นเพียงลมปากว่าแค่หย่อนบัตร แต่เมื่อตนบอกว่าจะขอทำหนังสือถามมาอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ได้คำตอบที่เป็นลายลักษณ์อักษร ท่านก็ว่าต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญ 5) บันทึกการประชุมที่เผยแพร่ ไม่เคยเผยแพร่ต่อสาธารณะ ไม่สามารถค้นได้ในเว็บไซต์ของ กรธ. และเพิ่งอาจจะเขียนเสร็จหรือเพิ่งแก้ไข มีใครลงนามรับรองบ้าง แทบไม่มีใครทราบเลย แต่มีเจตนาจะมาแก้ต่างว่า หย่อนบัตรใน 150 วัน ไม่ผิดกฎหมาย เพื่อความชอบธรรมในการยื้อการเลือกตั้ง 6) การปฏิเสธไม่ยอมตอบเอกสารที่เป็นทางการที่ กกต.สอบถามไปยัง กรธ. แสดงถึงความขลาดกลัวที่จะร่วมรับผิดชอบของ กรธ. หากมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในอนาคตว่า การจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จใน 150 วันนั้น ให้รวมประกาศผลด้วย
    นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.การคลัง โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ "กกต.จะทำให้ผู้เสียภาษีเป็นผู้รับความเสี่ยงหากการเลือกตั้งเป็นโมฆะ" ระบุว่า ตามที่เผยแพร่หนังสือของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธาน กรธ. ถึงประธาน กกต. ซึ่งระบุว่าการเลือกตั้งเมื่อ 23 ธ.ค.2550 ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งมีการประกาศผล 11 ครั้ง (ขณะนั้นกำหนดเวลา 90 วัน) พบว่า กกต.ประกาศผลภายใน 90 วัน 2 ครั้ง แต่ประกาศเลย 90 วัน 9 ครั้ง โดยใช้เวลาระหว่าง 88 วัน จนถึงสูงสุด 115 วัน มีผู้อ่านตั้งข้อสังเกตว่า เนื่องจากในปี 2550 ไม่มีการลงโทษ อาจแสดงว่าถ้าเกิน 150 วันตามรัฐธรรมนูญ 2560 ก็ไม่เป็นไร ตนไม่ทราบว่า กรณีปี 2550 นั้น การประกาศ 2 ครั้งที่อยู่ภายใน 90 วันเป็นประกาศใหญ่ที่ครอบคลุมจำนวน 95% หรือไม่ เพราะถ้าครอบคลุม และประกาศที่เกินเวลาเป็นการเลือกตั้งซ่อมบางเขตไม่กี่คนก็ไม่เป็นไร นอกจากนี้ ในปี 2550 ไม่มีผู้ใดฟ้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ดังนั้น กกต.ก็ปลอดภัย แต่การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีการเปลี่ยนกติกา ซึ่งจะทำให้มีการต่อสู้กันอย่างหนัก ไม่เฉพาะจากฝั่งผู้แพ้ แต่จะมีจากฝั่งผู้ชนะด้วย
         "จึงจะมีคนที่ไม่พอใจการชี้ขาดของ กกต.ทั้งสองฝั่ง ดังที่นายวิษณุ เครืองงาม รองนายกฯ ให้สัมภาษณ์เมื่อ 4 ม.ค.ว่า การเลือกตั้งในครั้งก่อนๆ ผู้ที่แพ้มักจะร้องเรียน แต่เลือกตั้งครั้งนี้ใช้ระบบใหม่นับทุกคะแนนเสียง ซึ่งจะได้เห็นคนชนะร้องเรียน เพื่อทำลายคะแนนที่จะเสียไปให้กับฝั่งตรงข้ามที่จะได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้นจะเห็นการร้องเรียนอุตลุดวุ่นวาย แม้หลายคนบอก กกต.สามารถแจกใบแดง ใบเหลืองไปก่อนได้ แต่นั่นเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และสุดท้ายคะแนนในการจัดตั้งรัฐบาลจะเรรวน คนที่ถูกเลือกเข้ามาแล้วอาจถูกสอยภายหลัง"
         นายธีระชัยระบุอีกว่า เป็นอันว่ารัฐธรรมนูญ 2560 จะกระตุ้นการฟ้องร้องกันมากกว่าเดิมอย่างแน่นอน ถ้ามีใครร้องว่าการประกาศผล 95% หลัง 150 วันทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ใครจะรับประกันได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะหยิบยกเจตนารมณ์ของ กรธ.ขึ้นมาประกอบการพิจารณาหรือไม่ ประเด็นที่ทุกคนต้องตระหนักคือ ในเมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 ขยายเวลาจาก 90 วันไปเป็น 150 วัน และในเมื่อปี 2550 การประกาศผลเลือกตั้งที่ล่าช้าที่สุดก็เกิดขึ้นใน 115 วัน ดังนั้น การวางปฏิทินให้ประกาศผลภายใน 150 วันย่อมปลอดภัยไร้กังวล เพราะกรณีถ้าหากการเลือกตั้งเกิดเป็นโมฆะ นอกจาก กกต.จะมีความผิดอาญาและต้องหารยาวรับชดใช้ค่าใช้จ่ายเลือกตั้งหลายพันล้านบาทเองแล้ว ยังไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีทั้งมวล และสร้างปัญหาต่อการจัดตั้งรัฐบาลอีกด้วย
    นายไพศาล พืชมงคล กรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถ้าจะตีความแบบศรีธนญชัย! กำหนดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ 150 วัน ยังสามารถตีความได้อีกอย่างหนึ่งว่า ระยะเวลา 150 วันนั้น เป็นเพียงระยะเวลาการออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ส่วนจะเลือกตั้งเมื่อใด นานเท่าใด ไม่เกี่ยว (ขณะนี้การตีความมี 2 อย่างคือ 1.ตีความตามที่ กกต.ตีความ คือต้องเลือกตั้งและประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน และ 2.ตีความตามที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญตีความว่า ระยะเวลาเลือกตั้งแล้วเสร็จคือวันหย่อนบัตรเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่มีและไม่ได้ ส.ส.เลยแม้แต่สักคนเดียว)
เลื่อนเลือกตั้งไม่คุ้มค่า
    วันเดียวกัน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไร กับการเลื่อนเลือกตั้ง โดยสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,029 คน ระหว่างวันที่ 8-12 ม.ค.62 สรุปผลได้ ดังนี้ 
    1.ประชาชนคิดอย่างไร กับการเลื่อนเลือกตั้ง อาจไม่ใช่วันที่ 24 กุมภาพันธ์  อันดับ 1 ร้อยละ 31.50 เห็นว่า ขอให้ทุกคนทุกฝ่ายเห็นแก่ส่วนรวม ไม่สร้างความวุ่นวายให้บ้านเมือง, อันดับ 2 ร้อยละ 23.32 กกต.ต้องประกาศวัน เวลา เลือกตั้งที่ชัดเจน, อันดับ 3 ร้อยละ 20.11 ส่งผลกระทบกับรัฐบาลและ กกต. มีกระแสข่าวในทางลบ, อันดับ 4 ร้อยละ 17.96 ถูกมองว่าเป็นการซื้อเวลา มีนัยแอบแฝง, อันดับ 5  ร้อยละ 15.68 ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ก็ต้องมีการเลือกตั้ง 
          2.“ข้อดี” ของการเลื่อนเลือกตั้งคือ อันดับ 1 ร้อยละ 48.45 เห็นว่าทั้งผู้สมัครและพรรคการเมืองมีเวลาเตรียมตัวลงพื้นที่หาเสียงได้มากขึ้น, อันดับ 2 ร้อยละ 29.19 กกต.มีเวลาเตรียมการต่างๆ เกี่ยวกับเลือกตั้งอย่างรอบคอบ รัดกุม, อันดับ 3 ร้อยละ 27.95 ประชาชนมีเวลาในการตัดสินใจมากขึ้น 
         3.“ข้อเสีย” ของการเลื่อนเลือกตั้งคือ อันดับ 1 ร้อยละ 49.17 เห็นว่าบ้านเมืองขาดเสถียรภาพ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ, อันดับ 2 ร้อยละ 44.97 ทิศทางการเมืองไม่ชัดเจน อึมครึม เสียเวลา, อันดับ 3 ร้อยละ 30.70 เกิดความขัดแย้ง ใส่ร้าย โจมตีทางการเมืองมากขึ้น 
         4.เมื่อพิจารณาแล้ว ประชาชนคิดว่าการเลื่อนเลือกตั้งจะทำให้เกิดความคุ้มค่าหรือไม่ อันดับ 1 ร้อยละ 63.75 เห็นว่าไม่คุ้มค่า เพราะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและเศรษฐกิจ การเมืองขาดเสถียรภาพ เสื่อมเสียภาพลักษณ์ เป็นประเด็นขัดแย้งทางการเมือง ฯลฯ
    ที่โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการ อาคาร B นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาผู้นำเยาวชน(YLDF) โดย ดร.วงษ์ภูมิ วนาสิน และเครือข่ายภาคประชาชนกว่า 100 คนทั่วประเทศ ร่วมแถลงจัดตั้ง “เครือข่ายปฏิบัติการเลือกตั้ง หรือ CEPP : Civic Election Participation Partnership” ภายใต้การรับรองของ กกต. เพื่อช่วยประเทศทำหน้าที่ 3 ประการ คือ 1) การรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  2) การชักจูงให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งกันให้มากๆ เพื่อทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และ 3) การสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน หรือให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้ง และให้มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
          นายศรีสุวรรณแถลงสรุปภารกิจของ CEPP จะมุ่งเน้นการตรวจสอบเพิ่มอีก 4 ประการ คือ 1) ตรวจสอบเล่ห์ฉลของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ส่อไปในทางซื้อสิทธิ์-ขายเสียง 2) ตรวจสอบพรรคการเมืองทุกพรรคว่ามีนโยบายที่ทำได้จริงและขัดต่อกฎหมายหรือไม่ 3) ตรวจสอบผู้มีอำนาจรัฐว่ามีความเป็นกลางในการเอื้อประโยชน์ในการหาเสียงให้พรรคการเมืองหรือผู้สมัครพรรคใด พรรคหนึ่งเป็นการเฉพาะหรือไม่ และ 4) ตรวจสอบ กกต.ว่าดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตามที่กฎหมายบัญญัติหรือไม่ด้วย
    ทั้งนี้ CEPP จะเปิดรับประชาชน หรือองค์กรภาคประชาสังคม หรือแนวร่วมทั่วประเทศที่ประสงค์จะเห็นการเลือกตั้งในทุกระดับเป็นไปโดยโปร่งใส สุจริต และเที่ยงธรรม ได้ผู้แทนของประชาชนมาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ สามารถอีเมลมาสมัครได้ที่ cepp.work@gmail.com ซึ่งระบบคัดกรองคือการเลือกตั้ง จะต้องไม่ถูกแทรกแซงโดยคนหรือกลุ่มคนที่เราเรียกว่า “มือที่มองไม่เห็น” และหาก CEPP พบความผิดปกติจะใช้มาตรการทางกฎหมายจัดการบุคคลหรือกลุ่มคนเหล่านี้ทันที แม้กระทั่งผู้ควบคุมกฎก็ไม่ละเว้น.


คสช.จับตาความเคลื่อนไหวกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง


การเคลื่อนไหวมีนัยที่เกิดขึ้นในช่วงนี้  ทำให้สังคมมีความรู้สึกกังขา และมองว่าไม่เหมาะไม่ควร เป็นการเคลื่อนไหวที่ทำเป็นอาชีพ เผยทุกฝ่ายสร้างบรรยากาศแจ่มใส เตรียมจัดพระราชพิธีฯ - เลือกตั้ง

พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษก คสช. กล่าวถึงกรณีสมาชิกพรรคการเมืองบางราย ได้ออกมากล่าวถึงการแสดงความคิดเห็นของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ในฐานะ เลขาธิการ คสช. ต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ว่า ตนเชื่อว่าประชาชน เข้าใจในสาระสำคัญที่ ผบ.ทบ. สะท้อนให้เห็นภาพด้วยความห่วงใย ในฐานะที่รับผิดชอบดูแลความสงบเรียบร้อย ที่กองทัพบกประสงค์ให้ในช่วงเวลาสำคัญนี้ วาระสำคัญของประเทศ 

โดยเฉพาะการเตรียมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่เป็นมหามงคลยิ่งของพสกนิกร ที่ในตลอดห้วงชีวิตนี้จะมีโอกาสได้มีส่วนร่วมเพียงครั้งหนึ่ง ควรจะเป็นช่วงเวลาที่สังคมไทยมีบรรยากาศที่มีความสุขสงบเรียบร้อย 

อีกทั้งในขณะนี้ ภาคส่วนต่างๆส่วนใหญ่รับข่าวสารเรื่องการเลือกตั้งด้วยวิจารณญาณ มีความเข้าใจในเหตุและผล และเฝ้าดูการทำหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ มีความพร้อมที่จะร่วมสร้างบรรยากาศแจ่มใส ให้ประเทศไทย เพื่อเตรียมสำหรับพระราชพิธีที่เป็นมหามงคลยิ่งและสามารถจัดการเลือกตั้งได้ตามที่ รัฐธรรมนูญกำหนด

อย่างไรก็ตาม กองทัพบกเชื่อในความตั้งใจจริงของทุกฝ่าย ที่กำลังหารือเพื่อให้ได้การปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด สง่างามที่สุด ประชาชนเห็นด้วยที่สุด และเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในความเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข 

พ.อ.วินธัย กล่าวว่า หากสังคมไทย จะมองการตั้งใจเคลื่อนไหว อย่างมีนัยที่เกิดขึ้นในช่วงนี้  ด้วยความรู้สึก”กังขา” และมองว่า ไม่เหมาะไม่ควรก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเป็นอารมณ์ ประชาธิปไตย ที่ใครๆก็มีสิทธิจะเกิดความรู้สึกแบบนั้นขึ้นได้ และถ้ามองอย่างพิจารณา อาจตั้งข้อสังเกตุได้ว่าความเคลื่อนไหวบางอย่าง ได้กลายเป็น “อาชีพ” หนึ่งไปเสียแล้ว และยังเป็นวิธีการเดิมๆที่บางกลุ่มบางส่วนนำมาใช้ โดยที่บางครั้งก็ไม่ได้สนใจบริบททางสังคมโดยรวม 

อีกทั้งการเคลื่อนไหวแบบมีนัยและการวิจารณ์ด้วยอารมณ์ ที่เต็มไปด้วยทัศนคติเชิงลบ ไม่น่าจะเป็นการแสดงออกทางประชาธิปไตยที่งดงาม และยังไม่เกิดประโยชน์อันใดต่อสังคมไทย เลยแม้แต่น้อย

ส่วนการให้ความเห็น ของสมาชิกกลุ่มคนอยากเลือกตั้งนั้น คงไม่ต่างจากความเห็นเก่าที่ได้เคยประกาศไว้ตั้งแต่อดีต แต่ระยะหลังมีความกราดเกรี้ยวในถ้อยคำยิ่งขึ้นซึ่งเป็นวาทะที่สังคมคงจะต้องไตร่ตรองให้ชัดเจน โดยเฉพาะการชูประเด็นว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตยแล้วผลักผู้อื่นให้ไปอยู่ตรงข้ามอาจมองได้ถึงวุฒิภาวะทางประชาธิปไตยที่กำลังบกพร่องก็เป็นได้



ประชาชนส่ายหัวมองจริยธรรมนักการเมืองดิ่งเหว

13 ม.ค.2562 นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง คุณธรรม จริยธรรม นักการเมือง จำนวนทั้งสิ้น 1,018 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 11 – 12 มกราคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา พบว่า  ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.4 ระบุการรับรู้ภาพลักษณ์นักการเมืองในสื่อมวลชนมีข่าวเสื่อมเสียมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ระบุมีข่าวภาพลักษณ์ดูดีมากกว่า 

ที่น่าเป็นห่วงคือ ความเห็นต่อข่าวสัมพันธ์รักนักการเมืองกับนักเคลื่อนไหวในคลิปที่เผยแพร่ในสื่อต่าง ๆ ส่งผลต่อพรรคการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.7 ระบุเสื่อมเสียต่อพรรคการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุไม่เสื่อมเสีย นอกจากนี้ ข่าว กกต ลงมติรัฐมนตรีถือหุ้นสัมปทานรัฐผลประโยชน์ทับซ้อนมีผลต่อพรรคการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.4 ระบุเสื่อมเสียต่อพรรคการเมืองต้นสังกัด ในขณะที่ร้อยละ 35.6 ระบุไม่เสื่อมเสีย และเมื่อถามความเห็นของประชาชนต่อคุณธรรมจริยธรรมนักการเมืองที่จะเป็นรัฐบาลในอนาคต พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.7 ระบุยังไม่มีคุณธรรมจริยธรรมมากพอ ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ในขณะที่ร้อยละ 23.3 ระบุมีมากพอแล้ว

ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมากกว่า พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.6 ระบุยังไม่มีใครเหมาะสมมากกว่า พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา ในขณะที่ร้อยละ 14.4 ระบุมีคนที่เหมาะสมมากกว่า


ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า รัฐมนตรีที่ถือหุ้นสัมปทานรัฐผลประโยชน์ทับซ้อนควรลาออกโดยเร็วที่สุดเป็นของขวัญวันเด็กให้แก่เด็กและเยาวชนของชาติ เพราะยุคนี้เป็นยุคที่รัฐบาลและ คสช. เข้ามาด้วยความหวังสูงสุดในการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปการเมืองให้ดีขึ้น แต่หากยังนิ่งเฉยรอเวลาต่อไปอีกอาจส่งผลกระทบกัดกร่อนฐานสนับสนุนและเสียหายต่อความเชื่อมั่นศรัทธาได้ เพราะวันนี้ผลสำรวจชี้ชัดว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นมีใครเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมากกว่า พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา ดังนั้นเพื่อไม่ให้กระทบต่อฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อนายกรัฐมนตรี รัฐบาล และ คสช. จึงเสนอให้รัฐมนตรีเหล่านั้นพิจารณาเสียสละลาออกทันทีเพื่อรักษาระบบคุณธรรมจริยธรมนักการเมืองเป็นของขวัญวันเด็กให้แก่เด็กและเยาวชนของชาติสืบทอดต่อไป

โหรคสช.ทำนายลุงตู่นั่งนายกหลังเลือกตั้งปูแม้วได้กลับแต่อีกนานกรรมตกลูกหลาน


12 ม.ค.62 - นายวารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ โหรคมช.ทำนายดวงเมืองว่า ขณะนี้มองเห็นทุกอย่างเริ่มเข้าสู่โหมดการเลือกตั้ง เป็นไปตามครรลองปกติ แม้ว่าจะมีความวุ่นบ้าง เพราะกำลังจะเข้าสู่ประชาธิปไตยเต็มใบ อาจมีปัญหาเรื่องผู้คนบ้าง  แต่เท่าที่ดูจะผ่านพ้นไปได้ ไม่มีอะไรหนักเหมือนที่ผ่านมา สิ่งเหล่านี้ผ่านพ้นไปหมดแล้ว 

ผู้สื่อข่าวถามว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 ก.พ.หรือไม่ นายวารินทร์ กล่าวว่า ตนเคยบอกว่าจะมีการขยับไปบ้างนิดหน่อย จะให้ตรงเป๊ะคงเป็นไปไม่ได้ เพราะวันที่ 24 ก.พ.เขาตั้งกันไว้ แต่จริงๆแล้วต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ โดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย 

เมื่อถามว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะดวงเมืองหรือไม่ นายวารินทร์กล่าวว่า เป็นจังหวะเวลามากกว่า โชคชะตาบ้านเมืองกำหนดมาแบบนั้น ดังนั้นทุกอย่างต้องเป็นไปตามนั้น การเลือกตั้งก็ดำเนินไปได้ด้วยดีและไม่มีเหตุอะไร 

ถามว่า หลังการเลือกตั้งนายกฯยังคงเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือไม่ นายวารินทร์ กล่าวว่า ตามที่ดูดวงไปก็ยังเป็นเหมือนเดิม ตอนนี้ยังเป็นหน้าที่ของพล.อ.ประยุทธ์อยู่ ท่านต้องทำหน้าที่ต่อไป หน้าที่ของท่านยังไม่หมด

เมื่อถามว่า องค์คาพยพที่จะมาช่วยพล.อ.ประยุทธ์ยังเหมือนเดิมหรือไม่ ทั้งพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย หรือบรรดานายทหารที่อยู่ในรัฐบาลนี้ นายวารินทร์ กล่าวว่า ท่านอื่นยังไม่ได้ดู ดูแค่นายกฯว่าท่านยังคงมีภารกิจที่ต้องทำให้สำเร็จลุล่วง และมีนักการเมืองที่จะช่วยทำหน้าที่ต่อไปด้วย 

ผู้สื่อข่าวถามอีกว่าตอนนี้ดวงของพล.อ.ประยุทธ์พุ่งแรงที่สุดใช่หรือไม่ เมื่อเทียบกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย หรือนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สมาชิกพรรคเพื่อไทย หรือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายวารินทร์กล่าวว่า ตนดูเพียงพล.อ.ประยุทธ์ว่าท่านยังมีหน้าที่อยู่ ท่านยังต้องทำหน้าที่จนกว่าจะหมดหน้าที่ จะลงมาเองเหมือน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ สมัยก่อน คล้ายๆกัน ส่วนระยะเวลาจะเท่าพล.อ.เปรมหรือไม่ ตนยังไม่ได้ดู แต่คงสักระยะหนึ่ง ซึ่งตนว่าระยะเวลาก็พอสมควร ส่วนคนอื่นยังไม่มีหน้าที่  ยังไม่ถึงเวลา 

เมื่อถามว่าพล.อ.ประยุทธ์เข้าบริหารประเทศรอบ 2 จะมีปัญหาการทำงานขลุกขลักหรือไม่ โดยเฉพาะการชุมนุมประท้วงต่อต้าน นายวารินทร์ กล่าวว่า ในรอบสองนี้จะไม่ราบรื่นเหมือน 4-5 ปีที่ผ่านมา เพราะหลายคนก็หลายความคิด จะให้สงบเหมือนที่ผ่านมาคงเป็นไปไม่ได้ แต่มันไม่รุนแรง บ้านเมืองยังสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้

อข้อถามที่ว่านายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯจะได้กลับมาหรือปิดประตูตาย นายวารินทร์กล่าวว่า ถ้าจะกลับก็อีกนาน อย่างที่ตนเคยบอกแต่แรกว่าไม่นายทักษิณ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หรือใครหลายคนที่เคยมีหน้าที่ พอหมดหน้าที่ต้องออกจากผืนแผ่นดินนี้ไป

เมื่อถามว่าตระกูลชินวัตรมีอาถรรพ์กับประเทศไทยหรือ  โหรคมช. กล่าวว่า ใครก็ตามที่ทำกรรมดี ผลดีจะปรากฎให้กับตระกูล ให้กับบุคคลผู้นั้น แต่ตระกูลใดที่สร้างกรรมเวรให้ชาติบ้านเมืองหรือทำให้เกิดความแตกแยก แตกความสามัคคีของบ้านเมือง ตระกูลนั้นต้องรับกรรมและหมดหน้าที่ไปเลย ทุกอย่างมาจากกรรม กรรมหนักตรงนี้จะตกทอดไปถึงลูกหลานด้วย 

ผ่านพ้นภัยวิบัติหรือไม นายวารินทร์กล่าวว่า เรายังไม่หลุดพ้น หลายๆประเทศยังต้องรับกรรมเกี่ยวกับภัยพิบัติ ธรรมชาติอยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ ซึ่งกรรมนี่รวมกับผลที่มนุษย์แอบทำทั้งสิ้น ฉะนั้นทุกคนต้องเตรียมตัวตั้งรับ โดยเฉพาะภัยจากน้ำและแผ่นดินไหว ปีนี้จะหนักที่สุดแต่ประเทศไทยโชคดีได้รับผลน้อยกว่าประเทศอื่น.


หุ้นสัมปทานทำพิษ 3 รมต.-1 ผู้ช่วยรมต. รอดยาก!?

(13/1/62)หากตีความตามลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน ใน หมวด  9 เรื่อง การขัดกันแห่งผลประโยชน์ บัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา  184 วงเล็บ (2)บัญญัติห้ามไม่ให้ ส.ส.และสว.  ไม่รับหรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ  หน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ  หน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจอันมีลักษณะ เป็นการผูกขาดตัดตอน  หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็น คู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว  ทั้งนี้  ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

ซึ่งกรณีดังกล่าว เมื่อไปดูรธน.อีกมาตราที่เชื่อมโยงกันคือมาตรา  186 บัญญัติชัดเจนว่า ให้นําความในมาตรา  184ข้างต้น  มาใช้บังคับแก่รัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม ซึ่งแม้มีข้อยกเว้นไว้หลายเรื่องในมาตราดังกล่าว แต่ไม่มีการเขียนล้อเอาไว้ เพื่อไม่ให้รมต.ถือครองหุ้นสัมปทาน

ดังนั้น หากรัฐมนตรีมีหุ้นสัมปทานไว้ในครอบครอง ก็จะไปเข้าข่ายต้องพ้นจากตำแหน่ง ตามรธน.มาตรา 170 ที่บัญญัติว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ในวงเล็บ  (5) กระทําการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา186หรือมาตรา187ที่ก็คือไปถือครองหุ้นสัมปทาน

ประเด็นสำคัญคือ รัฐธรรมนูญปี 60  ที่เป็นรธน.ฉบับปัจจุบัน รวมถึง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญปี  2553 ซึ่งตุลาการศาลรธน.ปัจจุบันหลายคน ก็อยู่ร่วมตอนเขียนคำวินิจฉัย ได้ตีความกรณีรัฐมนตรี-ส.ส.-สว.ถือหุ้นสัมปทานไว้ชัดเจน ที่สรุปได้ว่า  ทั้งรธน.และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ห้ามรัฐมนตรี-ส.ส.-สว. มีหุ้นสัมปทาน แต่ห้ามไว้ว่า หากเข้ารับตำแหน่งเช่น เป็นรัฐมนตรี ต้องไม่ถือครองหุ้นไว้ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือห้ามทุกกรณี พูดง่ายๆ หากมีไว้ ก็ต้องขายหมด จะเอาไปฝากไว้กับภรรยาที่เป็นคู่สมรส  ก็ไม่ได้ อันเป็นการเขียนรธน.ที่ก็ชัดเจนอยู่แล้วคือเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนเพราะรมต.อยู่ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการออกมติครม.หรือออกฎหมาย ทำโครงการที่อาจทำให้บริษัทที่มีสัมปทานกับรัฐแม้จะเป็นบริษัทกึ่งๆ รัฐวิสาหกิจอย่างบริษัทลูกของ ปตท.ก็ตาม ได้ประโยชน์ ได้โครงการ จนทำให้หุ้นขึ้น แล้วรัฐมนตรี-คู่สมรส คนในครอบครัวก็ได้ประโยชน์จากหุ้นที่เพิ่มขึ้น

แต่กรณีของส.ส.-สว. คำวินิจฉัยของศาลรธน.ที่เป็นบรรทัดฐาน มีดีกรีความเข้มข้นน้อยลงมาหน่อย คือ ให้ส.ส.-สว.หากมีหุ้นมาก่อนจะมาเป็นส.ส.-สว. ยังให้ถือไว้ได้ แต่ห้ามซื้อเพิ่ม ห้ามครอบครองเพิ่ม หลังเข้ารับตำแหน่งส.ส.-สว. แต่ของรมต. นั้น ห้ามถือไว้เลยแม้แต่หุ้นเดียว ต้องขายทิ้งหมด

ดังนั้น หากดูตามหน้าเสื่อ การสู้คดีในชั้นศาลรัฐธรรมนูญของ   3.รมต. คือ สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์ฯ , นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ, นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม และอีกหนึ่งอดีตรมต. ที่ปัจจุบันเป็น  กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ยุติธรรม คือ  ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล อดีต รมช.ศึกษาธิการ จึงลุ้นหนักไม่ใช่น้อย มีโอกาสสูงที่อาจถูกศาลรธน.ชี้ว่ามีคุณสมบัติขัดรธน.

เพราะบางคน เช่น ไพรินทร์ ชูโชติถาวรก็เข้ามาเป็นรัฐมนตรี หลัง รธน.ประกาศใช้  6 เม.ย. 60 จนไปแสดงบัญชีทรัพย์สินกับป.ป.ช.และถูก เรืองไกร เรืองกิจวัฒนะ นำไปร้องต่อกกต. นอกเสียจาก ฝ่ายทนายความของ ทั้งสี่คน ต้องไปสู้คดีในประเด็นต่างๆ เช่น หุ้นที่ถืออยู่  ไม่เคยรับสัมปทานจากรัฐ แต่ดูแล้ว ก็คงยาก เพราะบริษัทเหล่านี้ ตรวจสอบได้ง่ายว่ามีสัญญาสัมปทานจากรัฐ จริงหรือไม่ ซึ่งแค่เพียงหนึ่งสัญญา ก็ถือว่าเข้าข่ายแล้ว

ส่วนหากว่า ทั้งสี่คน ไม่รอดในศาลรธน.จะเป็นอย่างไร ก็พบว่ารธน.ปี  60 เขียนต่างจากรธน.ปี50  คือต่อให้ลาออกจากตำแหน่งรมต.ก่อน ศาลรธน. ตัดสินก็ไม่มีผล และสุดท้าย หากไม่รอด ก็ไม่สามารถกลับมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองเช่นรมต.ภายในสองปีนับแต่ศาลรธน.ชี้ขาด แต่ไม่ห้าม หากจะมีตำแหน่งในพรรคการเมืองเช่น รองหัวหน้าพรรค


ด้วยเหตุนี้ หาก สุวิทย์ เมษินทรีย์ แกนนำพรรคพลังประชารัฐ ที่ลงส.ส.ไม่ได้ เพราะขาดคุณสมบัติ หากหลังเลือกตั้ง พลังประชารัฐได้เป็นรัฐบาล ก็อดเป็นรมต. อยู่ดี 

ท่ามกลางข้อสงสัยกันว่า แล้วหน่วยงานอย่าง สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่เป็นด่านแรกในการตรวจสอบ คุณสมบัติ ให้คำแนะนำบุคคลที่จะมาเป็นรมต. ว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้ ต้องทำอย่างไรไมให้ขัดรธน. ไม่ได้ตรวจสอบ ให้คำแนะนำ  เรื่องพวกนี้ ได้อย่างไร ????

หุ้นสัมปทานทำพิษ 3 รมต.-1 ผู้ช่วยรมต. รอดยาก!?

(13/1/62)หากตีความตามลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน ใน หมวด  9 เรื่อง การขัดกันแห่งผลประโยชน์ บัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา  184 วงเล็บ (2)บัญญัติห้ามไม่ให้ ส.ส.และสว.  ไม่รับหรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ  หน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ  หน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจอันมีลักษณะ เป็นการผูกขาดตัดตอน  หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็น คู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว  ทั้งนี้  ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

ซึ่งกรณีดังกล่าว เมื่อไปดูรธน.อีกมาตราที่เชื่อมโยงกันคือมาตรา  186 บัญญัติชัดเจนว่า ให้นําความในมาตรา  184ข้างต้น  มาใช้บังคับแก่รัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม ซึ่งแม้มีข้อยกเว้นไว้หลายเรื่องในมาตราดังกล่าว แต่ไม่มีการเขียนล้อเอาไว้ เพื่อไม่ให้รมต.ถือครองหุ้นสัมปทาน

ดังนั้น หากรัฐมนตรีมีหุ้นสัมปทานไว้ในครอบครอง ก็จะไปเข้าข่ายต้องพ้นจากตำแหน่ง ตามรธน.มาตรา 170 ที่บัญญัติว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ในวงเล็บ  (5) กระทําการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา186หรือมาตรา187ที่ก็คือไปถือครองหุ้นสัมปทาน

ประเด็นสำคัญคือ รัฐธรรมนูญปี 60  ที่เป็นรธน.ฉบับปัจจุบัน รวมถึง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญปี  2553 ซึ่งตุลาการศาลรธน.ปัจจุบันหลายคน ก็อยู่ร่วมตอนเขียนคำวินิจฉัย ได้ตีความกรณีรัฐมนตรี-ส.ส.-สว.ถือหุ้นสัมปทานไว้ชัดเจน ที่สรุปได้ว่า  ทั้งรธน.และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ห้ามรัฐมนตรี-ส.ส.-สว. มีหุ้นสัมปทาน แต่ห้ามไว้ว่า หากเข้ารับตำแหน่งเช่น เป็นรัฐมนตรี ต้องไม่ถือครองหุ้นไว้ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือห้ามทุกกรณี พูดง่ายๆ หากมีไว้ ก็ต้องขายหมด จะเอาไปฝากไว้กับภรรยาที่เป็นคู่สมรส  ก็ไม่ได้ อันเป็นการเขียนรธน.ที่ก็ชัดเจนอยู่แล้วคือเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนเพราะรมต.อยู่ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการออกมติครม.หรือออกฎหมาย ทำโครงการที่อาจทำให้บริษัทที่มีสัมปทานกับรัฐแม้จะเป็นบริษัทกึ่งๆ รัฐวิสาหกิจอย่างบริษัทลูกของ ปตท.ก็ตาม ได้ประโยชน์ ได้โครงการ จนทำให้หุ้นขึ้น แล้วรัฐมนตรี-คู่สมรส คนในครอบครัวก็ได้ประโยชน์จากหุ้นที่เพิ่มขึ้น

แต่กรณีของส.ส.-สว. คำวินิจฉัยของศาลรธน.ที่เป็นบรรทัดฐาน มีดีกรีความเข้มข้นน้อยลงมาหน่อย คือ ให้ส.ส.-สว.หากมีหุ้นมาก่อนจะมาเป็นส.ส.-สว. ยังให้ถือไว้ได้ แต่ห้ามซื้อเพิ่ม ห้ามครอบครองเพิ่ม หลังเข้ารับตำแหน่งส.ส.-สว. แต่ของรมต. นั้น ห้ามถือไว้เลยแม้แต่หุ้นเดียว ต้องขายทิ้งหมด

ดังนั้น หากดูตามหน้าเสื่อ การสู้คดีในชั้นศาลรัฐธรรมนูญของ   3.รมต. คือ สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์ฯ , นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ, นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม และอีกหนึ่งอดีตรมต. ที่ปัจจุบันเป็น  กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ยุติธรรม คือ  ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล อดีต รมช.ศึกษาธิการ จึงลุ้นหนักไม่ใช่น้อย มีโอกาสสูงที่อาจถูกศาลรธน.ชี้ว่ามีคุณสมบัติขัดรธน.

เพราะบางคน เช่น ไพรินทร์ ชูโชติถาวรก็เข้ามาเป็นรัฐมนตรี หลัง รธน.ประกาศใช้  6 เม.ย. 60 จนไปแสดงบัญชีทรัพย์สินกับป.ป.ช.และถูก เรืองไกร เรืองกิจวัฒนะ นำไปร้องต่อกกต. นอกเสียจาก ฝ่ายทนายความของ ทั้งสี่คน ต้องไปสู้คดีในประเด็นต่างๆ เช่น หุ้นที่ถืออยู่  ไม่เคยรับสัมปทานจากรัฐ แต่ดูแล้ว ก็คงยาก เพราะบริษัทเหล่านี้ ตรวจสอบได้ง่ายว่ามีสัญญาสัมปทานจากรัฐ จริงหรือไม่ ซึ่งแค่เพียงหนึ่งสัญญา ก็ถือว่าเข้าข่ายแล้ว

ส่วนหากว่า ทั้งสี่คน ไม่รอดในศาลรธน.จะเป็นอย่างไร ก็พบว่ารธน.ปี  60 เขียนต่างจากรธน.ปี50  คือต่อให้ลาออกจากตำแหน่งรมต.ก่อน ศาลรธน. ตัดสินก็ไม่มีผล และสุดท้าย หากไม่รอด ก็ไม่สามารถกลับมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองเช่นรมต.ภายในสองปีนับแต่ศาลรธน.ชี้ขาด แต่ไม่ห้าม หากจะมีตำแหน่งในพรรคการเมืองเช่น รองหัวหน้าพรรค


ด้วยเหตุนี้ หาก สุวิทย์ เมษินทรีย์ แกนนำพรรคพลังประชารัฐ ที่ลงส.ส.ไม่ได้ เพราะขาดคุณสมบัติ หากหลังเลือกตั้ง พลังประชารัฐได้เป็นรัฐบาล ก็อดเป็นรมต. อยู่ดี 

ท่ามกลางข้อสงสัยกันว่า แล้วหน่วยงานอย่าง สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่เป็นด่านแรกในการตรวจสอบ คุณสมบัติ ให้คำแนะนำบุคคลที่จะมาเป็นรมต. ว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้ ต้องทำอย่างไรไมให้ขัดรธน. ไม่ได้ตรวจสอบ ให้คำแนะนำ  เรื่องพวกนี้ ได้อย่างไร ????